ตำราพิชัยสงครามซุนวู (The Art of War )





ตำราพิชัยสงครามของซุนวู (จีนตัวเต็ม: 孫子兵法; จีนตัวย่อ: 孙子兵法; พินอิน: Sūn Zǐ Bīng Fǎ; ซุนจื่อปิงฝ่า, อังกฤษ: The Art of War; อาจแปลเป็นไทยได้ว่า "ศิลปะแห่งการยุทธ") เป็นตำรายุทธศาสตร์การทหารหรือตำราพิชัยสงครามของจีน ซึ่งถูกเขียนขึ้นเมื่อราวหกร้อยปีก่อนคริสตกาลโดยซุนวู นักยุทธศาสตร์คนสำคัญในยุครณรัฐของจีน เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามฉบับนี้มี 13 บท แต่ละบทเน้นถึงแต่ละแง่มุมของการสงคราม

ตำราพิชัยสงครามของซุนวูเป็นหนึ่งในตำรายุทธศาสตร์การทหารเล่มหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนับได้ว่าเป็นตำราเล่มแรกและเล่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเชิงยุทธศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อแนวคิดทางการทหาร กลยุทธทางธุรกิจ และแนวคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ซุนวูถือเป็นบุคคลแรกที่ตระหนักในความสำคัญของตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งจากเงื่อนไขเชิงรุกในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความคิดเชิงรับของฝ่ายคู่แข่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เขาได้สอนว่า ยุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงการวางแผนกำหนดสิ่งที่จะลงมือทำเท่านั้น แต่ยังต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใน สถานการณ์ต่างๆ ด้วย

ตำราพิชัยสงครามเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาตะวันตกครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1782 (พ.ศ. 2325) ซึ่งเป็นการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสโดยบาทหลวงฌอง โชแซฟท์ มารี อามีโอต์ (Jean Joseph Marie Amiot) นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายเยซูอิต ในปัจจุบันนี้ นอกจากการประยุกต์ใช้ในด้านการทหารแล้ว หลักการในตำราพิชัยสงครามของซุนวูยังได้มีการนำมาปรับใช้ในกลยุทธ์เชิงธุรกิจและด้านการจัดการอีกด้วย


ตำราพิชัยสงครามแบ่งเนื้อหาออกเป็น 13 บรรพ ดังนี้

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 1 วางแผน

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 2 การดำเนินสงคราม

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 3 ยุทธโธบาย

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 4 ลักษณะการยุทธ

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 5 ยุทธานุภาพ

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 6 ความตื้นลึกหนาบาง

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 7 การสัประยุทธ์ชิงชัย

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 8 นานาวิการ

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 9 การเดินทัพ

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 10 พื้นภูมิ

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 11 นวภูมิ


ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 12 พิฆาตด้วยเพลิง

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 13 การใช้จารชน





แปลและเรียบเรียง : เสถียร วีรกุล พ.ศ. 2495
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2495
พิมพ์ครั้งที่สองแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2529