ขงเบ้ง (จูกัดเหลียง)
ศาลเจ้าจูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ที่มณฑลเสฉวน
จูกัดเหลียง (อังกฤษ: Zhuge Liang; จีนตัวเต็ม: 諸葛亮; จีนตัวย่อ: 诸葛亮; พินอิน: Zhūge Liàng) หรือ ขงเบ้ง
ที่มาภาพ: th.wikipedia.org
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จูกัดเหลียง (อังกฤษ: Zhuge Liang; จีนตัวเต็ม: 諸葛亮; จีนตัวย่อ: 诸葛亮; พินอิน: Zhūge Liàng) หรือ ขงเบ้ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ฉายาข่งหมิง (孔明, พินอิน: Kǒngmíng) ที่ผู้อื่นเรียกด้วยความเคารพ นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่นมังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์
จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งรัฐจ๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต วิชาการ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่ยิ่งใหญ่ โดยคิดค้นหมั่นโถว ธนูไฟ โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวกนักพรต และถือพัดขนนกกระเรียนอยู่ในมือเสมอ
วรรณกรรมสามก๊ก
ในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก จูกัดเหลียงถูกยกย่องว่าเป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ได้รับฉายาจากบังเต็กกงว่า "ฮกหลง" หมายถึงมังกรซุ่มหรือมังกรหลับ จากคำแนะนำของสุมาเต็กโชและชีซีที่หลงกลอุบายของโจโฉจำต้องหวนกลับไปอยู่วุ่ยก๊กด้วยความจำใจ ทำให้เล่าปี่ต้อง ดั้งด้นมาเชิญตัวจูกัดเหลียงด้วยตัวเองถึงสามครั้งสามครา จูกัดเหลียงมีความรู้เป็นเลิศ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชั่วอายุคน ภายหลังก่อนที่พระเจ้าเล่าปี่จะสวรรคต ได้ยกทรัพย์สมบัติและแผ่นดินของราชวงศ์ฮั่นให้แก่จูกัดเหลียง แต่จูกัดเหลียงปฏิเสธจึงฝากฝัง เล่าเสี้ยนให้ ดูแลบ้านเมืองต่อไปแต่ไม่อาจสำเร็จได้ เพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนหูเบา เชื่อแต่คำยุยงของขันทีฮุยโฮยกทัพไปปราบปรามชาวม่าน และได้สู้รบกับวุยก๊กหลายครั้ง
ประวัติ
จูกัดเหลียง มีชื่อจริงว่าจูเก๋อเลี่ยง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของจูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ จูกัดเหลียงมีพี่ชายและน้องชายอย่างละคนคือ จูกัดกิ๋นพี่ ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊กและน้องชายจูเก๋อจิ๋น จูกัดเหลียงมีอุปนิสัยและความคิดที่ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉานทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ ใจคอเยือกเย็นมีเมตตา ชอบอวดอ้างและลองดีกับผู้ที่มีนิสัยกล่าวโอ้อวดตนเอง อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้านที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน
จูกัดเหลียงมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี หรือ ตันฮก (ชื่อตันฮกใช้ในการหลบหนี) สื่อกวงเหวียน (โจ๊ะก๋งหงวน) เมิ่งกงเวย (เบงคงอุย) และซุยเป๋ง และจูกัดเหลียงมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่จูกัดเหลียงกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีและซุยเป๋งเท่านั้นที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ยิ่งไปกว่านั้นยอดปราชญ์แห่งสามก๊กอย่างอาจารย์สุมาเต๊กโช ยังยกย่องว่าไม่เพียงแค่เปรียบได้กับขวันต๋งและงักเยเท่านั้น ยังเปรียบได้กับเจียงไทกงผู้หนุนราชวงศ์จิวและเตียงเหลียงผู้หนุนราชวงศ์ ฮั่นอีกด้วย ทำให้รู้ว่านอกจากจูกัดเหลียงจะเป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องแล้วยังเป็นผู้มีความ จงรักภักดีเป็นอย่างมาก
จูกัดเหลียงมาเป็นที่ปรึกษาให้แก่เล่าปี่จาก การได้รับคำแนะนำจากชีซี และคำกล่าวยกย่องจูกัดเหลียงและบังทองจากสุมาเต๊กโช ซึ่งถ้าเล่าปี่ได้บุคลหนึ่งในสองนี้เป็นที่ปรึกษา จะสามารถทำการใหญ่กอบกู้แผ่นดินได้สำเร็จ โดยเล่าปี่ต้องดั้งด้นเดินทางท่ามกลางอากาศหนาวเย็น และเข้าคำนับผิดคนที่มีท่าที่และการเจรจาที่ฉลาดเฉลียวมาตลอดเส้นทางด้วย เข้าใจผิดคิดว่าเป็นจูกัดเหลียง เล่าปี่มาหาจูกัดเหลียงด้วยใจศรัทธาถึงกระท่อมไม้ไผ่ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 คราก็ไม่พบตัวจูกัดเหลียงแม้แต่ครั้งเดียว
จูกัดเหลียงเป็นผู้ชอบลองนิสัยของบุคคล ยิ่งเห็นเล่าปี่ศรัทธาในตนยิ่งนักจึงแกล้งลองใจเล่าปี่ด้วยการหลบออกจากบ้าน และแกล้งให้เด็กรับใช้แจ้งแก่เล่าปี่ว่าตนไม่อยู่บ้าน และครั้งสุดท้ายบอกว่าตนนอนหลับ เล่าปี่ก็ไม่ละความพยายามในความอุตสาหะที่จะเชิญตัวจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วย เมื่อจูกัดเหลียงนอนหลับจึงมายืนสงบที่ปลายเท้าด้วยกิริยาสำรวมรอคอยจน กระทั่งจูกัดเหลียงตื่น และได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เล่าปี่เอ่ยปากเชิญจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกันเพื่อกิจการบ้านเมือง จูกัดเหลียงเห็นความมานะพยายามของเล่าปี่รวมทั้งอุปนิสัยใจคอและการเป็นคน อาภัพวาสนา จึงยอมไปอยู่ด้วย ซึ่งขณะนั้นจูกัดเหลียงมีอายุได้เพียง 26 ปีเท่านั้น
เมื่อจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกับเล่าปี่ ซึ่งได้รับการเอาใจใส่ดูแลและให้การเคารพนับถือเช่นอาจารย์ ทำให้จูกัดเหลียงมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อจูกัดเหลียงได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของแฮหัวตุ้น แม่ทัพเอกของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว จูกัดเหลียงก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง
ครอบครัว
* บิดา จูกัดกุย (จูกัดฟอง)
* พี่ชาย จูกัดกิ๋น
* น้องชาย จูกัดกุ๋น (ในฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)ใช้ชื่อว่า จูกัดกิ๋นเช่นเดียวกับพี่ชายคนโต)
* ภรรยา นางอุยซี
* พ่อตา อองเสงหงัน
* บุตร จูกัดเจี๋ยม
* หลานปู่ จูกัดสง
* หลานอา จูกัดเก๊ก ลูกชายของจูกัดกิ๋น
* อา จูกัดเสียน
บทบาทหน้าที่
ยามออกศึก จูกัดเหลียงจะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว จูกัดเหลียงเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่าเป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า จูกัดเหลียงเป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยจูกัดเหลียงมีฐานะเป็นสมุหนายก (ไจ่เซียง, เสิงเสี้ยงในสำเนียงจีนกลาง) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก จูกัดเหลียงประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 6 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิตจูกัดเหลียงเจ็บออดๆ แอดๆ อยู่เสมอ จูกัดเหลียงสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี (จูกัดเหลียงฉบับการ์ตูนบอกว่าสิ้นอายุเมื่อตอน 52 ปี) บนรถม้ากลางสนามรบ ในหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เขียนไว้ดังนี้
ครั้นเวลาค่ำ จูกัดเหลียงอุตส่าห์เดินออกไปดูอากาศ เห็นดาวสำหรับตัว มันเศร้าหมองกว่าแต่ก่อน ก็ยิ่งตกใจเป็นอันมาก จึงพาเกียงอุยเข้าไปที่ข้างในแล้วว่า "ชีวิตเรานี้ เห็นทีจะตายในวันพรุ่งนี้แล้ว" เกียงอุยได้ฟังดังนั้นก็ตกใจ จึงถามว่า "เหตุใดมหาอุปราชจึงว่า ฉะนี้" จูกัดเหลียงจึงว่า "เราพิเคราะห์ดูอากาศ เห็นดาวสำหรับตัวเราวิปริต จึงรู้ว่าสิ้นอายุแล้ว" เกียงอุยเสนอให้จูกัดเหลียงทำพิธีต่ออายุ ด้วยการตั้งโต๊ะบูชาเทพยดาและจุดโคมเสี่ยงทายอายุ ถ้าไฟโคมยังสว่างไสวตลอดพิธีจะมีอายุยืนยาวได้อีกสิบสองปี แต่ถ้าไฟโคมดับก่อนเสร็จพิธี ชีวิตก็จะสิ้นสุด จูกัดเหลียงคิดถึงภาระหน้าที่และคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับเล่าปี่ว่าจะรวบรวม แผ่นดินถวายคืนสู่ราชวงศ์ฮั่น จำต้องทำพิธีต่ออายุแต่อุบัติเหตุก็เกิดขึ้น เมื่อนายพลอุยเอี๋ยนผลีผลามเข้ากระโจมเพื่อรายงานว่าสุมาอี้ส่งทัพมาท้ารบ ได้เตะเอาโคมเสี่ยงทายล้มไฟโคมดับ"
เรื่องการดูดาวประจำตัวนั้นจูกัดเหลียงรู้แต่สุมาอี้ก็รู้ สุมาอี้ต้องการยืนยันความรู้ของตนว่าจูกัดเหลียงใกล้ตายแล้วหรือไม่ด้วยการ ส่งทัพมาท้ารบ ถ้าทัพจูกัดเหลียงออกสู้ แสดงว่าจูกัดเหลียงยังไม่เป็นอะไรถ้าไม่สู้แสดงว่าจูกัดเหลียงแย่แล้วจะได้ ตีซ้ำบดขยี้ทัพจูกัดเหลียงให้แหลกลาญ จูกัดเหลียงรู้ทันความคิดแม้รู้ว่าชีวิตจะสิ้นยังคงสติได้ดีสั่งให้ทหารออก ปะทะขับไล่ทัพสุมาอี้ถอยไปตามเดิม
ถึงจูกัดเหลียงลาลับดับโลก แต่ยังได้ทำพิธีรักษาดวงดาวประจำตัวไม่ให้ร่วงหล่นจากฟากฟ้า เป็นการขู่สุมาอี้ มิให้ตามโจมตีเวลาถอยทัพ ซึ่งอุบายนี้สามารถรักษาชีวิตทหารของตนได้หลายหมื่น และยังทำให้อาณาจักร จ๊กก๊ก (ของเล่าปี่) ยืนยาวอยู่ได้อีกกว่ายี่สิบปี พระเจ้าเล่าเสี้ยนโศกเศร้าเสียพระทัยมาก ศพของจูกัดเหลียงถูกฝังอยู่ที่เชิงเขาเตงกุนสัน ปากทางเข้าเสฉวน
ภายหลังจากที่จูกัดเหลียงสิ้นชีวิตไปแล้ว 29 ปี เมื่อเตงงายแม่ทัพของวุยก๊กได้ ยกทัพผ่านมาทางเขาเหยียดฟ้าปากทางเข้าเมืองเสฉวนอีกทาง ได้พบกับป้อมค่ายที่ร้างบนเขาซึ่งปราศจากทหารดูแลเมื่อจูกัดเหลียงสิ้นชีวิต ไปแล้ว ซึ่งจูกัดเหลียงทำนายว่า ในอนาคตข้างหน้าจะมีแม่ทัพของวุยก๊กยกทัพผ่านทางนี้จึงให้เฝ้าระวังไว้ และเมื่อจงโฮยแม่ ทัพวุยก๊กอีกคนที่ยกทัพผ่านมาทางเขาเตงกุนสัน นอนหลับไปฝันเห็นว่าจูกัดเหลียงมาเข้าฝันว่า เมื่อยกทัพเข้าเสฉวนได้แล้วขอให้ไว้ชีวิตราษฎร ซึ่งจูกัดเอี๋ยนที่ เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊กได้เข้าต่อต้านทัพวุยและก็เสียชีวิตพร้อมบุตรชาย ตัวเองในครั้งนี้ด้วย ปัจจุบันมีศาลเจ้าจูกัดเหลียงและเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย และบรรดาขุนพลของจ๊กก๊กที่เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน ซึ่งได้รับการบูรณะในปีที่ 11 ของรัชสมัยจักรพรรดิคังซีของราชวงศ์ชิง
ผลงาน
1. กลเผาทุ่งพกบ๋อง ทำลายทัพของแฮหัวตุ้นที่มาโจมตี
2. เบื้องหลังความสำเร็จของยุทธนาการศึกเซ็กเพ็ก ทำลายทัพกำลังพลเป็นล้านของโจโฉหมดสิ้น นำหุ่นฟางไปลวงระดมธนูมาจากฝ่ายโจโฉ ขึ้นแท่นเรียกลมอ่านโองการบัญชาฟ้าดิน วางกลซุ่มดักตีทัพโจโฉยามแตกพ่าย
3. อุบายยึดเกงจิ๋วและหัวเมืองสำคัญทั้งหลายโดยใช้อุบายยืมกำลังจากง่อก๊กเข้าตีลวงแล้วจึงส่งกำลังเข้ายึดโดยไม่ต้องลงทุน
4. แก้อุบายจิวยี่จนเล่าปี่ได้ซุนฮูหยินเป็นภรรยา
5. อุบายลวงจิวยี่ มันสมองสำคัญของง่อก๊กจนกระอักเลือดตาย
6. อุบายให้เตียวสงมอบแผนที่เสฉวน
7. เคลื่อนทัพเข้ายืดแคว้นเสฉวนของเล่าเจี้ยงเพื่อสร้างสถานภาพสามก๊ก
8. เจริญสัมพันธไมตรีกับง่อก๊กหลังจากพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต ซึ่งก่อนหน้านี้เล่าปี่ได้เคลื่อนทัพหลวงบุกรุกง่อก๊กเพื่อแก้แค้นให้กับกวนอู ซึ่งในครั้งนั้น ทำให้พระเจ้าเล่าปี่สูญเสียแม่ทัพเตียวหุย และยังถูกลกซุนเผาทัพหลวงจนมอดใหม่หมดสิ้น
9. สยบเบ้งเฮ็กทำให้ทางใต้สงบ โดยไม่ต้องกังวลกับการบุกทางเหนือฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น
10. ออกอุบายปล่อยข่าวลือทำให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่งทางการเมืองเพื่อไม่ให้ต่อกรกับจ๊กก๊กได้
11. บุกกิสานครั้งที่หนึ่ง สามารถเคลื่อนทัพบุกยึดเทียนซุยและอันติ้งได้ด้วยอุบาย พร้อมทั้งได้ยอดทหารอย่างเกียงอุยมาเป็นขุนศึกคู่ใจด้วย
12. ครานั้นพระเจ้าโจยอยส่งทัพใหญ่ให้แม่ทัพโจจิ๋นเป็นแม่ทัพ และให้อองลองขุนนางเฒ่าข้าเก่าในสมัยพระเจ้าฮั่นเลนเต้เป็นที่ปรึกษานำทัพ ออกสู้รบเพื่อป้องกันการบุกของทัพจ๊กซึ่งมีจูกัดเหลียงเป็นแม่ทัพใหญ่ ครานั้นอองลองออกยืนหน้าทัพของฝ่ายตนหวังจะพูดจาเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวให้จู กัดเหลียงละอายใจและได้สำนึก จะได้ถอยทัพกลับไปโดยไม่ต้องรบ กลับถูกจูกัดเหลียงซึ่งนั่งอยู่บนรถเลื่อนพูดด่าประจานให้ได้อายฟ้าอายดินจน อองลองตกม้าตายอยู่ตรงหน้าทัพ ทหารเสียขวัญแตกพ่ายไม่เป็นขบวน เป็นการแสดงออกถึงอัจฉริยภาพด้านวาทศิลป์ไม่แพ้โซ้จิ๋น และเตียวยี่ในอดีต
13. ในยามคับขันครั้งหนึ่ง หลังจากเสียเกเต๋ง จูกัดเหลียงต้องถอยทัพใหญ่กลับเซงโต๋ (เฉิงตู) แต่ต้องขนถ่ายเสบียงกลับจากเมืองเล็กๆที่เสเสีย ภายในเมืองเสเสียมีแต่เสบียงกับทหารเพียงแค่สองพันห้าร้อยคน ในขณะที่กองทัพสุมาอี้มีกองทัพเรือนแสนยกมาประชิดกำแพงเมือง จูกัดเหลียงทำกลลวง เปิดประตูเมือง ลดธงทิวลง และขึ้นเล่นพินจีนบนกำแพงเมือง ลวงทัพสุมาอี้ ทำให้สุมาอี้ลังเลที่จะยกทัพบุกเข้าในเมืองเพราะกลัวจูกัดเหลียงซุ่มทัพโจม ตี ครั้งนี้เป็นการแสดงอัจฉริยภาพของจูกัดเหลียงในการแก้ปัญหายามคับขันถึง ชีวิตได้อย่างยอดเยี่ยมถึงแม้จะมีความเสี่ยงมากก็ตาม
14. ในการบุกกิสานครั้งที่สาม ใช้เนินไม้แปลกสร้างกองทัพผีทำกลลวงทัพสุมาอี้จนแม้แต่ยอดขุนพลเตียวคับยังไม่กล้าบุก จนสามารถตีได้ค่ายใหญ่ของสุมาอี้ เปิดทางเข้าสู่กิสานได้เต็มตัว
15. สร้างโคยนต์ม้ากลขึ้นใช้ลำเลียงเสบียงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการบุกกิสานในการบุกกิสานครั้งที่ 5
16. ลวงทัพสุมาอี้ให้ออกรบ โดยซุ่มกำลังไว้ที่ช่องเขาระหว่างทาง ทำการเผาทัพสุมาอี้ในการบุกกิสานครั้งที่ 6 ในครั้งนี้สุมาอี้ สุมาสู และสุมาเจียว บุตรทั้งสองของสุมาอี้ เกือบต้องมาสิ้นชีวิตที่ช่องเขานี้ แต่คงเป็นบุญญาพินิหารของตระกูลสุมาที่จะต้องให้กำเนิดพระมหากษัตริย์ที่ สามารถรวบรวมสามก๊กให้เป็นหนึ่งได้ ทำให้ฝนตกลงมาสามพ่อลูกตระกูลสุมาจึงหนีรอดไปได้
17. ก่อนจูกัดเหลียงสิ้นชีวิตในการบุกกิสานครั้งที่ 6 นี้เองได้วางกลลวงสุมาอี้เพื่อทำให้กองทัพเคลื่อนกลับเซงโต๋ได้อย่างปลอดภัย โดยให้นำหุ่นไม้ของจูกัดเหลียงขึ้นนั่งบนรถประจำตัวโดยในจุดนี้ บางฉบับกล่าวว่าจูกัดเหลียงให้นำเอาศพของตนเองขึ้นนั่งบนรถ แล้วให้เกียงอุยเป็น ทัพหลัง เมื่อเห็นทัพสุมาอี้เคลื่อนใกล้วเข้ามาตามตีก็ให้เข็นรถออกไปให้สุมาอี้เห็น ทำให้สุมาอี้ที่เคยโดนกลลวงจนเกือบโดนเผาตายไม่กล้ายกทัพตามตีต่อเพราะคิด ว่าจูกัดเหลียงยังมีชีวิตอยู่และเกรงกลัวจะต้องกลของจูกัดเหลียง และยังให้เตียวหงีกับม้าต้ายทำกลลวงกบฏอุยเอี๋ยนจนสามารถสังหารอุยเอี๋ยนได้ระหว่างทางกลับเซงโต๋นั่นเอง
วีรกรรมส่วนใหญ่ที่กล่าวมาส่วนใหญ่เป็นการสรรเสริญของกวี(ส่วนใหญ่ไม่เป็นเรื่องจริง)
รายชื่อบุคคลที่ถูกสังหารโดยจูกัดเหลียง
* เตียวหยิม ขุนพลของเล่าเจี้ยง
* ม้าเจ็ก ที่ปรึกษาของฝ่ายตนเอง เนื่องจากม้าเจ๊กไม่สามารถรักษาด่านเกเต๋งไว้ได้ จูกัดเหลียงจึงสั่งให้นำตัวไปประหาร (ด้วยน้ำตา)
* อองลอง ขุนนางวุยก๊ก จูกัดเหลียงใช้วาจาด่าอองลองจนตกม้าตาย
* ตันเซ็ก ขุนพลฝ่ายตนเอง เนื่องจากไม่ฟังคำสั่ง จนเกือบเสียทีแล้วยังป้ายความผิดให้กับอุยเอี๋ยนอีก จูกัดเหลียงจึงให้นำตัวไปสั่งประหาร
* แต้บุ้น ขุนพลวุยก๊กที่แสร้งทำเป็นสวามิภักดิ์ แต่จูกัดเหลียงจับได้
สิ่งประดิษฐ์ของจูกัดเหลียง
จูกัดเหลียงนอกจากจะเป็นยอดนักวางแผนแล้วยังเป็นยอดนักประดิษฐ์อีกด้วย สิ่งประดิษฐ์ส่วนใหญ่ของจูกัดเหลียงใช้เพื่อการสงคราม มีดังต่อไปนี้
* หน้าไม้กล สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ถูกใช้หลังจากจูกัดเหลียงตายไปแล้ว จูกัดเหลียงเพียงออกแบบเท่านั้น และนำแบบร่างให้เกียงอุยไปจัดการทำ กล่าวกันว่าหน้าไม้นี้สามารถยิงได้ครั้งละ 10 ดอก
* โคยนต์ จูกัดเหลียงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการขนส่งเสบียง
* โคมลอย ใช้สำหรับบอกตำแหน่งทางการทหาร เรียกกันทั่วไปว่า โคมจูกัดเหลียง (Kongming lantern : 孔明灯)
* ซาลาเปา หลังเสร็จศึกเบ้งเฮกแล้ว กองทัพจ๊กก๊กไม่สามารถข้ามแม่น้ำได้เนื่องวิญญาณทหารทั้งหลายที่ตายในสนามรบ ไม่ได้รับการปลดปล่อย จูกัดเหลียงจึงต้องทำพิธีบวงทรวงเซ่นไหว้ดวงวิญญาณด้วยการทำซาลาเปาแทนศีรษะ เหล่าทหาร และเชิญดวงวิญญาณกลับ
บทความที่เกี่ยวข้อง:
-----
อ้างอิง
* Chen Shou (c. 280). Sanguo Zhi (History of the Three Kingdoms). Reprint, 1959. Beijing: Zhonghua shuju. .
* Guanzhong, Luo (1976) [c. 1330]. Romance of the Three Kingdoms. Trans. Moss Roberts. New York: Pantheon Books. ISBN 0394407229. OCLC 2331218.
* Off, Greg (2005). Dynasty Warriors 5: Prima Official Game Guide. Roseville: Prima Games. ISBN 0761551417. OCLC 62162042. http://books.google.com/books?id=zMrwAAAACAAJ&dq=dynasty+warriors+5&hl=es.
ฉบับภาษาจีน
* Dawei, Zhu; Mancang, Liang (2007). 诸葛亮大传 (Zhuge Liang da zhuan). Beijing Shi: Zhonghua shu ju. ISBN 9787101056389. OCLC 173263137.