ริชาร์ด เกียร์ ภาพจากอินเทอร์เน็ต
เมลวิน แม็คลอยด์ (Melvin Mcleod) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ SHAMBHALA SUN สัมภาษณ์ ริชาร์ด เกียร์ (Richard Gere) ดาราภาพยนตร์ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ที่ได้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนามาเป็นเวลาหลายปี และได้อุทิศเวลาติดตามองค์ดาไลย ลามะ ผู้นำชาวทิเบตด้านศาสนจักร และอาณาจักรเป็นเวลาหลายปีเช่นเดียวกัน
ถาม อะไรที่ทำให้คุณพบพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกในชีวิต
ตอบ มีอยู่ ๒ อย่าง อย่างที่หนึ่ง ก็ตอนที่ผมได้อ่านหนังสือธรรมะที่ผู้รู้เขียนไว้ อ่านแล้วดลใจผมมาก อย่างที่สอง เป็นตอนที่ผมได้พบกับพระอาจารย์ท่านหนึ่ง ก่อนหน้านั้น ผมได้ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาที่ทางโรงเรียนสอนสมัยเป็นนักเรียน ดังนั้นผมจึงถือว่า ผมมีความรู้เรื่องปรัชญาตะวันตกตามแนวของท่านบิช็อบ Berkeley เป็นหลัก ท่านสอนโดยตั้งเป็นคำถามว่า
“ถ้าต้นไม้ต้นหนึ่งล้มลงอยู่ในป่า และไม่มีใครได้ยิน ถามว่ามันเกิดขึ้นจริงหรือ” ท่านตอบเองว่า “จริง” โดยยึดหลักปรัชญาแนว “อุดมคตินิยมแบบอัตวิสัย” (Subjective idealism) ที่ท่านทำวิทยานิพนธ์ ท่านกล่าวว่า ความจริงเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของจิต หมายความว่า จิตมีหน้าที่ในการรู้ความจริง พูดโดยพื้นฐานแล้วหลักปรัชญาที่ท่านเทศน์สอนเป็นประจำ ก็คือกลุ่มปรัชญาที่ถือว่า “ใจอย่างเดียวเท่านั้น” เป็นสำคัญ และเป็นหลักขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักบวช ผมเองสนใจในตัวท่านมากทีเดียว และมีกลุ่มนักปรัชญาอีกกลุ่มหนึ่งที่ถือว่า “ทุกคนเป็นอิสระในตัวเองและรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง” (The existentialists) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผมสนใจมากเช่นเดียวกัน
ผมยังจำได้ติดใจว่าได้เคยหอบหนังสือชื่อ BEING AND NOTHINGNESS (ชีวิตและความไม่มีอะไร) ติดตัวไปไหนมาไหน โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่าทำไมจึงทำอย่างนั้น ต่อมาภายหลังจึงรู้ว่า คำว่า Nothingness (ความไม่มีอะไร) เป็นคำที่ไม่เหมาะสม ควรใช้คำว่า Emptiness (ความว่างเปล่า) จะเหมาะสมกว่า เพราะเป็นสิ่ง ที่พวกเขากำลังค้นหา ไม่ใช่เป็นคำที่มีความหมายว่าขาดสูญ แต่เป็นคำที่มีความหมายเชิงบวกมากกว่า
การพบพุทธธรรมครั้งแรกของผม เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่ผมยังอายุยี่สิบต้นๆ ผมมีความคิดเหมือนกับเด็กหนุ่มส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมรู้สึกว่าผมไม่มีความสุขเลย จนบางครั้งคิดว่าจะฆ่าตัวตายดีไหม ผมเป็นทุกข์เอามากๆ และรู้สึกมีคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า “ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น” ผมตระหนักดีว่าบางทีตัวเองก็หมดปัญญาที่จะตอบปัญหาเหล่านั้นได้ จึงออกสำรวจดูตามร้านหนังสือที่เปิดขายกลางคืนดึกๆ อ่านทุกอย่างเท่าที่หาอ่านได้ หนังสือของ Evans-Wentz เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแบบทิเบต มีผลต่อสภาพจิตใจของผมอย่างมาก ผมจึงทุ่มเทอ่านหนังสือเหล่านั้นอย่างเอาเป็นเอาตาย
ถาม พวกเราหลายคนก็ประทับใจในหนังสือเหล่านั้นเหมือนกัน อยากทราบว่า คุณพบอะไรในหนังสือเหล่านั้นที่ดึงดูดใจคุณถึงขนาดนั้น
ตอบ มันเป็นหนังสือมีลักษณะเป็นนวนิยายชั้นดีมีทุกรสชาติ ถ้าคุณได้อ่านแล้วจะติดใจจนวางไม่ลงเลยทีเดียว และในขณะเดียวกันก็อาจทำให้คุณต้องอยู่ที่นั่นไปเลย พร้อมกับทำให้คุณรู้สึกเป็นอิสระไปในตัวด้วย ผมไม่เคยแม้แต่จะคิดว่าเรื่องนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ผมเพียงต้องการที่จะออกไปจากความรู้สึกเดิม ๆ เพราะฉะนั้น ความคิดที่ว่าคุณสามารถจะอยู่ในสิ่งนี้และถอนตัวออกมาเพื่อออยู่อย่างอิสระ ในเวลาเดียวกัน คืออยู่ในความ “ว่าง” ซึ่งเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนวิถีชีวิตอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นการดำเนินชีวิตมาสู่แบบวิถีพุทธ โดยเฉพาะพุทธแบบทิเบตกำลังชักจูงจิตใจผมอย่างเห็นได้ชัด แต่พุทธนิกายแรกที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นพุทธแบบนิกายเซ็น (Zen)
อาจารย์ท่านแรกของผม คือท่านซาซากิ โรชิ (Sasaki Roshi) ผมจำได้ว่าได้เดินทางไป L.A. เพื่อเข้าร่วมโครงการปฏิบัติสมาธิแบบเซ็น (Sesshin)เป็นเวลา ๓ วัน ผมได้ปฏิบัติตัวตามหลักการทำสมาธิแบบเซ็นนี้ โดยการนั่งเหยียดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลาหายเดือน จนในที่สุดผมสำเร็จหลักสูตรการปฏิบัติสมาธิแบบ zen ผมได้รับประสบการณแห่งความจริง คือผมได้รู้ชัดว่า “ นี้คือผลของการปฏิบัติ” หาใช่เป็นเรื่องการเหาะเหินเดินอากาศ หรือเกี่ยวข้องกับอภินิหารย์ หรือจินตนาการเพ้อฝันแต่อย่างใดไม่ แต่เป็นงานทางจิตที่คุณต้องปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังโดยเคร่งครัดเสมอต้น เสมอปลายไม่ให้ขาดตกบกพร่อง นี้ก็คือส่วนที่สำคัญของวิถีชีวิตของผม ท่านซาซากิ โรชิ เป็นผู้ที่มีจิตใจมั่นคงหนังแน่นอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ก็เป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณามากในเวลาเดียวกัน ผมเป็นศิษย์ใหม่ที่ไม่รู้อะไรเลย ทั้งเป็นคนหยิ่งและไม่มั่นใจในตัวเอง แต่ภายในข้อจำกัดนี้ ผมก็เป็นคนเอาจริงเกี่ยวกับความต้องการที่จะเรียนให้รู้จริง มันเข้ามาถึงจุดสุดท้ายของการปฏิบัติสมาธิแบบเซ็นนี้เอง ที่ผมไม่อาจแม้แต่การจะเข้าสู่พิธี dokusan (การทดสอบโดยการสัมภาษณ์จากท่านเจ้าลัทธินิกายเซ็น) ผมรู้สึกว่าตัวเองได้รับการประสิทธิ์ประสาธน์วิชามาน้อยมาก จนกระทั่งหนังสือเหล่านั้นต้องเป็นตัวการลากจูงผมมา ในที่สุดก็มาถึงจุดที่ผมจะต้องเข้าไปนั่งตรงนั้น และผมก็จำได้ว่าท่านเจ้าลัทธิท่านยิ้มให้ผม เมื่อถึงตอนนี้ ท่านก็กล่าวว่า “เราจะเริ่มทำงาน ณ บัดนี้แล้ว” เราไม่มี เรื่องไร้สาระอะไรที่จำเป็นจะต้องพูดอีกต่อไป
“ผมคิดว่าตัวผมเองมีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่า การปฏิบัติคือชีวิตที่แท้จริงของผม”
ถาม เมื่อบุคคลสามารถระลึกถึงธรรมะหรือข้อปฏิบัติสำหรับชีวิตขึ้นในใจได้เองเช่น นั้นทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็น เพราะกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีตได้เคยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคำสอนนั้นไม่ ใช่หรือ
ตอบ ผมได้ถามอาจารย์หลายท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว รู้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้น ท่านเหล่านั้นหัวเราะเยาะผมอย่างที่ผมคิดเอาไว้ว่า มีบางสิ่งบางอย่างกำหนดกะเกณฑ์เอาไว้ หรือไม่ก็เป็นเรื่องของโอกาส หรือโชคลาภ กรรมไม่ได้ทำหน้าที่ในลักษณะนี้ และที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็ คือว่า มีบางอย่างที่สัมพันธ์หรือเกี่ยวโยงกับพระพุทธศาสนาแบบทิเบตอย่างชัดเจนและ เฉพาะเจาะจงมาก มิฉะนั้นเรื่องนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นชีวิตของผมคงไม่แสดงตัวเอง ออกมาในทำนองนี้แน่ ผมคิดว่าผมมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า การปฏิบัติคือชีวิตที่แท้จริงของผม ผมจำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมเริ่มปฏิบัติสมาธิครั้งแรกนั้นผมอายุได้ ๒๔ ปี ได้พยายามยึดปัญหาชีวิต ของผมเป็นโจทก์ ผมได้เก็บตัวเองอยู่แต่ใน apartment แคบ ๆ โทรม ๆ ของผมคราวละหลายเดือน เพื่อปฏิบัติ tai chi (ไต ชิ) และพยายามนั่งปฏิบัติอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผมมีความรู้สึกอย่างชัดเจนว่าตัวเองได้เข้าสมาธิตลอดเวลา และรู้ด้วยว่าตลอดเวลาดังกล่าวตัวเองไม่เคยละจากสมาธิเลย นี้เป็นความจริงที่มีสาระมากกว่าสิ่งที่เราถือว่ามันเป็นความจริงตามปกติ ธรรมดามาก นี้คือสิ่งที่ปรากฏต่อผมอย่างชัดเจนและแจ่มแจ้งมากในตอนนั้น แต่ก็ทำให้ผมต้องอุทิศเวลายาวนานในชีวิต กว่าผมจะได้นำสิ่งนี้ออกมาเปิดเผยต่อชาวโลก โดยผ่านการปฏิบัติที่ยาวนานเพื่อเฝ้าดูจิตใจของผมที่พยายามเสริมสร้าง โพธิจิต ขึ้นในตัวผม
ถาม คุณได้พบท่านดาไลย ลามะ ครั้งแรกเมื่อไร
ตอบ ผมเป็นนักศึกษาพระพุทธศาสนานิกาย Zen มาก่อนเป็นเวลาประมาณ ๕ หรือ ๖ ปีก่อนที่จะพบท่าน เจ้าพระคุณดาไลย ลามะ หลังจากที่ได้สนทนากันเล็กน้อยแล้ว ท่านได้ถามว่า “อุบาสกเป็นนักแสดงหรือ” ท่านคิดอยู่สักครู่แล้วก็ถามต่อว่า “อาตมาอยากรู้ว่า เวลาที่นักแสดง ๆ ความโกรธเกรี้ยวออกมา อุบาสกโกรธจริง ๆ หรือ หรือว่าเวลาแสดงบทเศร้าก็ดี หรือแสดงบทร้องให้ก็ตาม อุบาสกรู้สึกเศร้าหรือร้องให้จริง ๆ ไปตามบทนั้น ๆ ด้วย” ผมตอบท่านไปตามแบบฉบับของนักแสดงว่า ถ้าเราแสดงอารมณ์นั้น ๆ ให้ดูว่าเป็นเช่นนั้นจริง ๆ การแสดงนั้นก็ถือว่าประสบผลสำเร็จ ผมพูดจบท่านก็จ้องตาผมเขม็ง แล้วก็ระเบิดหัวเราะก๊ากออกมาอย่างชนิดคุมไม่อยู่ ท่านหัวเราะเยาะความคิดที่ผมเชื่อเรื่องอารมณ์ว่ามันเป็นจริงหัวเราะว่าผมจะ ต้องพยายามอย่างหนักมาก เพื่อให้เกิดอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารมณ์เศร้า อารมณ์เจ็บปวด หรืออารมณ์ทุกข์
ท่าน ( ดาไลย ลามะ ) หัวเราะเยาะความคิดของผมที่เชื่อเรื่องอารมณ์ว่ามันเป็นจริง หัวเราะว่าผมต้องพยายามอย่างหนักเพื่อ สร้างอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารมณ์เศร้า อารมณ์เจ็บปวด หรืออารมณ์ทุกข์ทรมาน
การพบกันครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นที่ ธรรมศาลา ในประเทศอินเดียตอนเหนือ ในห้องที่ผมไปหาท่านเป็นประจำในปัจจุบัน ผมไม่สามารถจะกล่าวได้ว่า ความรู้สึกของผมได้เปลี่ยนไปมากขนาดไหน ผมยังคงมีความรู้สึกประหม่าอย่างไม่น่าเชื่อ และคิดว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ผมคิดอยู่ในใจท่านก็คงจะทราบหมดแล้ว ซึ่งท่านมีญาณวิถีที่เคยใช้อยู่อย่างนี้เป็นประจำอยู่แล้ว พระองค์ท่านสามารถมองทะลุปัญหาที่ยาก ๆ ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะญาณปฏิภาณของท่านมีพลังเฉียบคมมาก มีญาณรอบรู้อย่างกว้างขวางมากจนกระทั่งเรียกได้ว่า ท่านเป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วยปัญญาญาณที่มีความคล่องตัวสูงยิ่งในการเข้าใจ เรื่องราวต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เองประชาชน เป็นจำนวนมากจึงต้องการที่จะไปพบท่าน ก็เพื่อต้องการให้ท่านช่วยกำจัดทุกข์ให้หมดไปจากจิตใจของเขา
ชีวิตของผมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเป็นครั้งแรกในชีวิต ที่ผมได้มีโอกาสได้เข้าไปนั่งอยู่เฉพาะหน้าท่าน ผมรู้สึกปลอดโปร่งไม่มีปัญหาใด ๆ ไม่เหมือนกับที่แล้ว ๆ มาที่ผมเคยมีความรู้สึกว่า “โอ้นี่ ผมจะต้องสละสมบัติของผมทั้งหมด และจะต้องเข้าวัดเดี๋ยวนี้เลยหรือนี่” แต่บัดนี้กลับเป็นเรื่องธรรมดาที่รู้สึกว่านี้เป็นสิ่งที่ผมต้องทำ ทำงานร่วมกับบรรดาพระคุณเจ้า พระอาจารย์ทั้งหลาย ทำงานร่วมกับคนในวงศ์ตระกูล ได้เรียนรู้สิ่งที่อยากจะรู้ นำตัวเองเข้าไปสู่ความรู้นั้น ๆ ทั้ง ๆ ที่ได้เคยมีความเครียดในระดับต่าง ๆ และผูกพันธ์อยู่กับความรู้สึกเดิม ๆ ที่ผ่าน ๆ มาก็ตาม ผมก็ได้หลุดพ้นจากสิ่งเหล่านั้น เพราะได้หันมายึดเอาการปฏิบัติตามวิถีพุทธเป็นวิถีชีวิตตราบจนทุกวันนี้
ถาม พระคุณเจ้าทำงานกับคุณเป็นการเฉพาะตัว กำจัดโรคประสาทของคุณในทำนองเดียวกันกับที่บรรดาอาจารย์ชาวพุทธทั้งหลายทำ อยู่อย่างนั้นหรือ หรือว่าท่านสอนอย่างอื่นให้แก่คุณโดยวิธีให้ดูการเป็นอยู่ของท่านเป็น ตัวอย่าง
ตอบ ไม่มีปัญหาเลย พระคุณเจ้าเป็น “คุรุ” หรือ อาจารย์ที่แท้จริงของผม และท่านก็เคยใจแข็งกับผมเป็นบางครั้งบางคราว ผมจำเป็นต้องอธิบายให้ประชาชนผู้ที่บางครั้งก็เชื่อว่าท่านเป็นคนดีแบบเลิศ ลอย ว่าบางครั้งบางคราวท่านก็เคยกริ้วกับผม แต่ก็ชั่วประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้น ในขณะที่ท่านทำอย่างนั้น ผมก็ไม่บอกว่านั่นเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจสำหรับผม และในส่วนตัวของท่านก็ไม่มีการถือพระองค์แต่อย่างใด
ผมรู้สึกเป็นพระคุณอย่างมากที่ท่านไว้วางใจผม และทรงเป็นกระจกเงาส่องให้ผมได้เห็นและรู้จักตัวเอง และท่านไม่เคยแสดงอำนาจบาทใหญ่แต่อย่างใด ในการพบท่านในตอนแรก ๆ ก็มิได้เป็นไปในลักษณะนั้น ผมคิดว่า ท่านเองคงจะตระหนักดีว่าผมเป็นคนเปราะบางขนาดไหน และผมเองก็ออกจะเป็นคนระมัดระวังตัวมากด้วย แม้ในขณะนี้เองผมก็คิดว่า ท่านก็ยังคงตระหนักในความเป็นคนเอาจริงเอาจังเกี่ยวกับคำสอนเพิ่มขึ้นของผม อยู่ และท่านก็คงรู้ด้วยว่าความมั่นคงในการปฏิบัติตามคำสอนของผมก็มีเพิ่มขึ้น ท่านสามารถที่จะเข้มงวดต่อผมในการปฏิบัติธรรมให้มากขึ้นได้
(โปรดอ่านต่อฉบับหน้า)
http://www.dmc.tv/index.php?module=articles&action=page&p=597รายงานโดย...พิพัฒน์ บุญยง
พิมพ์ลงในนิตยสาร “ธรรมจักษุ”
ปีที่ 88 ฉบับที่ 10 เดือน กรกฎาคม 2547
ริชาร์ด เกียร์ ให้สัมภาษณ์เล่าถึง
ชีวิตของเขาที่ปฏิบัติตามวิถีพุทธ
เมลวิน แม็คลอยด์ (Melvin Mcleod) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ SHAMBHALA SUN สัมภาษณ์ ริชาร์ด เกียร์ (Richard Gere) ดาราภาพยนตร์ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ที่ได้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนามาเป็นเวลาหลายปี และได้อุทิศเวลาติดตามองค์ดาไลย ลามะ ผู้นำชาวทิเบตด้านศาสนจักร และอาณาจักรเป็นเวลาหลายปีเช่นเดียวกัน
ถาม อะไรที่ทำให้คุณพบพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกในชีวิต
ตอบ มีอยู่ ๒ อย่าง อย่างที่หนึ่ง ก็ตอนที่ผมได้อ่านหนังสือธรรมะที่ผู้รู้เขียนไว้ อ่านแล้วดลใจผมมาก อย่างที่สอง เป็นตอนที่ผมได้พบกับพระอาจารย์ท่านหนึ่ง ก่อนหน้านั้น ผมได้ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาที่ทางโรงเรียนสอนสมัยเป็นนักเรียน ดังนั้นผมจึงถือว่า ผมมีความรู้เรื่องปรัชญาตะวันตกตามแนวของท่านบิช็อบ Berkeley เป็นหลัก ท่านสอนโดยตั้งเป็นคำถามว่า
“ถ้าต้นไม้ต้นหนึ่งล้มลงอยู่ในป่า และไม่มีใครได้ยิน ถามว่ามันเกิดขึ้นจริงหรือ” ท่านตอบเองว่า “จริง” โดยยึดหลักปรัชญาแนว “อุดมคตินิยมแบบอัตวิสัย” (Subjective idealism) ที่ท่านทำวิทยานิพนธ์ ท่านกล่าวว่า ความจริงเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของจิต หมายความว่า จิตมีหน้าที่ในการรู้ความจริง พูดโดยพื้นฐานแล้วหลักปรัชญาที่ท่านเทศน์สอนเป็นประจำ ก็คือกลุ่มปรัชญาที่ถือว่า “ใจอย่างเดียวเท่านั้น” เป็นสำคัญ และเป็นหลักขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักบวช ผมเองสนใจในตัวท่านมากทีเดียว และมีกลุ่มนักปรัชญาอีกกลุ่มหนึ่งที่ถือว่า “ทุกคนเป็นอิสระในตัวเองและรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง” (The existentialists) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผมสนใจมากเช่นเดียวกัน
ผมยังจำได้ติดใจว่าได้เคยหอบหนังสือชื่อ BEING AND NOTHINGNESS (ชีวิตและความไม่มีอะไร) ติดตัวไปไหนมาไหน โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่าทำไมจึงทำอย่างนั้น ต่อมาภายหลังจึงรู้ว่า คำว่า Nothingness (ความไม่มีอะไร) เป็นคำที่ไม่เหมาะสม ควรใช้คำว่า Emptiness (ความว่างเปล่า) จะเหมาะสมกว่า เพราะเป็นสิ่ง ที่พวกเขากำลังค้นหา ไม่ใช่เป็นคำที่มีความหมายว่าขาดสูญ แต่เป็นคำที่มีความหมายเชิงบวกมากกว่า
การพบพุทธธรรมครั้งแรกของผม เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่ผมยังอายุยี่สิบต้นๆ ผมมีความคิดเหมือนกับเด็กหนุ่มส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมรู้สึกว่าผมไม่มีความสุขเลย จนบางครั้งคิดว่าจะฆ่าตัวตายดีไหม ผมเป็นทุกข์เอามากๆ และรู้สึกมีคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า “ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น” ผมตระหนักดีว่าบางทีตัวเองก็หมดปัญญาที่จะตอบปัญหาเหล่านั้นได้ จึงออกสำรวจดูตามร้านหนังสือที่เปิดขายกลางคืนดึกๆ อ่านทุกอย่างเท่าที่หาอ่านได้ หนังสือของ Evans-Wentz เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแบบทิเบต มีผลต่อสภาพจิตใจของผมอย่างมาก ผมจึงทุ่มเทอ่านหนังสือเหล่านั้นอย่างเอาเป็นเอาตาย
ถาม พวกเราหลายคนก็ประทับใจในหนังสือเหล่านั้นเหมือนกัน อยากทราบว่า คุณพบอะไรในหนังสือเหล่านั้นที่ดึงดูดใจคุณถึงขนาดนั้น
ตอบ มันเป็นหนังสือมีลักษณะเป็นนวนิยายชั้นดีมีทุกรสชาติ ถ้าคุณได้อ่านแล้วจะติดใจจนวางไม่ลงเลยทีเดียว และในขณะเดียวกันก็อาจทำให้คุณต้องอยู่ที่นั่นไปเลย พร้อมกับทำให้คุณรู้สึกเป็นอิสระไปในตัวด้วย ผมไม่เคยแม้แต่จะคิดว่าเรื่องนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ผมเพียงต้องการที่จะออกไปจากความรู้สึกเดิม ๆ เพราะฉะนั้น ความคิดที่ว่าคุณสามารถจะอยู่ในสิ่งนี้และถอนตัวออกมาเพื่อออยู่อย่างอิสระ ในเวลาเดียวกัน คืออยู่ในความ “ว่าง” ซึ่งเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนวิถีชีวิตอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นการดำเนินชีวิตมาสู่แบบวิถีพุทธ โดยเฉพาะพุทธแบบทิเบตกำลังชักจูงจิตใจผมอย่างเห็นได้ชัด แต่พุทธนิกายแรกที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นพุทธแบบนิกายเซ็น (Zen)
อาจารย์ท่านแรกของผม คือท่านซาซากิ โรชิ (Sasaki Roshi) ผมจำได้ว่าได้เดินทางไป L.A. เพื่อเข้าร่วมโครงการปฏิบัติสมาธิแบบเซ็น (Sesshin)เป็นเวลา ๓ วัน ผมได้ปฏิบัติตัวตามหลักการทำสมาธิแบบเซ็นนี้ โดยการนั่งเหยียดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลาหายเดือน จนในที่สุดผมสำเร็จหลักสูตรการปฏิบัติสมาธิแบบ zen ผมได้รับประสบการณแห่งความจริง คือผมได้รู้ชัดว่า “ นี้คือผลของการปฏิบัติ” หาใช่เป็นเรื่องการเหาะเหินเดินอากาศ หรือเกี่ยวข้องกับอภินิหารย์ หรือจินตนาการเพ้อฝันแต่อย่างใดไม่ แต่เป็นงานทางจิตที่คุณต้องปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังโดยเคร่งครัดเสมอต้น เสมอปลายไม่ให้ขาดตกบกพร่อง นี้ก็คือส่วนที่สำคัญของวิถีชีวิตของผม ท่านซาซากิ โรชิ เป็นผู้ที่มีจิตใจมั่นคงหนังแน่นอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ก็เป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณามากในเวลาเดียวกัน ผมเป็นศิษย์ใหม่ที่ไม่รู้อะไรเลย ทั้งเป็นคนหยิ่งและไม่มั่นใจในตัวเอง แต่ภายในข้อจำกัดนี้ ผมก็เป็นคนเอาจริงเกี่ยวกับความต้องการที่จะเรียนให้รู้จริง มันเข้ามาถึงจุดสุดท้ายของการปฏิบัติสมาธิแบบเซ็นนี้เอง ที่ผมไม่อาจแม้แต่การจะเข้าสู่พิธี dokusan (การทดสอบโดยการสัมภาษณ์จากท่านเจ้าลัทธินิกายเซ็น) ผมรู้สึกว่าตัวเองได้รับการประสิทธิ์ประสาธน์วิชามาน้อยมาก จนกระทั่งหนังสือเหล่านั้นต้องเป็นตัวการลากจูงผมมา ในที่สุดก็มาถึงจุดที่ผมจะต้องเข้าไปนั่งตรงนั้น และผมก็จำได้ว่าท่านเจ้าลัทธิท่านยิ้มให้ผม เมื่อถึงตอนนี้ ท่านก็กล่าวว่า “เราจะเริ่มทำงาน ณ บัดนี้แล้ว” เราไม่มี เรื่องไร้สาระอะไรที่จำเป็นจะต้องพูดอีกต่อไป
“ผมคิดว่าตัวผมเองมีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่า การปฏิบัติคือชีวิตที่แท้จริงของผม”
ถาม เมื่อบุคคลสามารถระลึกถึงธรรมะหรือข้อปฏิบัติสำหรับชีวิตขึ้นในใจได้เองเช่น นั้นทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็น เพราะกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีตได้เคยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคำสอนนั้นไม่ ใช่หรือ
ตอบ ผมได้ถามอาจารย์หลายท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว รู้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้น ท่านเหล่านั้นหัวเราะเยาะผมอย่างที่ผมคิดเอาไว้ว่า มีบางสิ่งบางอย่างกำหนดกะเกณฑ์เอาไว้ หรือไม่ก็เป็นเรื่องของโอกาส หรือโชคลาภ กรรมไม่ได้ทำหน้าที่ในลักษณะนี้ และที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็ คือว่า มีบางอย่างที่สัมพันธ์หรือเกี่ยวโยงกับพระพุทธศาสนาแบบทิเบตอย่างชัดเจนและ เฉพาะเจาะจงมาก มิฉะนั้นเรื่องนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นชีวิตของผมคงไม่แสดงตัวเอง ออกมาในทำนองนี้แน่ ผมคิดว่าผมมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า การปฏิบัติคือชีวิตที่แท้จริงของผม ผมจำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมเริ่มปฏิบัติสมาธิครั้งแรกนั้นผมอายุได้ ๒๔ ปี ได้พยายามยึดปัญหาชีวิต ของผมเป็นโจทก์ ผมได้เก็บตัวเองอยู่แต่ใน apartment แคบ ๆ โทรม ๆ ของผมคราวละหลายเดือน เพื่อปฏิบัติ tai chi (ไต ชิ) และพยายามนั่งปฏิบัติอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผมมีความรู้สึกอย่างชัดเจนว่าตัวเองได้เข้าสมาธิตลอดเวลา และรู้ด้วยว่าตลอดเวลาดังกล่าวตัวเองไม่เคยละจากสมาธิเลย นี้เป็นความจริงที่มีสาระมากกว่าสิ่งที่เราถือว่ามันเป็นความจริงตามปกติ ธรรมดามาก นี้คือสิ่งที่ปรากฏต่อผมอย่างชัดเจนและแจ่มแจ้งมากในตอนนั้น แต่ก็ทำให้ผมต้องอุทิศเวลายาวนานในชีวิต กว่าผมจะได้นำสิ่งนี้ออกมาเปิดเผยต่อชาวโลก โดยผ่านการปฏิบัติที่ยาวนานเพื่อเฝ้าดูจิตใจของผมที่พยายามเสริมสร้าง โพธิจิต ขึ้นในตัวผม
ถาม คุณได้พบท่านดาไลย ลามะ ครั้งแรกเมื่อไร
ตอบ ผมเป็นนักศึกษาพระพุทธศาสนานิกาย Zen มาก่อนเป็นเวลาประมาณ ๕ หรือ ๖ ปีก่อนที่จะพบท่าน เจ้าพระคุณดาไลย ลามะ หลังจากที่ได้สนทนากันเล็กน้อยแล้ว ท่านได้ถามว่า “อุบาสกเป็นนักแสดงหรือ” ท่านคิดอยู่สักครู่แล้วก็ถามต่อว่า “อาตมาอยากรู้ว่า เวลาที่นักแสดง ๆ ความโกรธเกรี้ยวออกมา อุบาสกโกรธจริง ๆ หรือ หรือว่าเวลาแสดงบทเศร้าก็ดี หรือแสดงบทร้องให้ก็ตาม อุบาสกรู้สึกเศร้าหรือร้องให้จริง ๆ ไปตามบทนั้น ๆ ด้วย” ผมตอบท่านไปตามแบบฉบับของนักแสดงว่า ถ้าเราแสดงอารมณ์นั้น ๆ ให้ดูว่าเป็นเช่นนั้นจริง ๆ การแสดงนั้นก็ถือว่าประสบผลสำเร็จ ผมพูดจบท่านก็จ้องตาผมเขม็ง แล้วก็ระเบิดหัวเราะก๊ากออกมาอย่างชนิดคุมไม่อยู่ ท่านหัวเราะเยาะความคิดที่ผมเชื่อเรื่องอารมณ์ว่ามันเป็นจริงหัวเราะว่าผมจะ ต้องพยายามอย่างหนักมาก เพื่อให้เกิดอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารมณ์เศร้า อารมณ์เจ็บปวด หรืออารมณ์ทุกข์
ท่าน ( ดาไลย ลามะ ) หัวเราะเยาะความคิดของผมที่เชื่อเรื่องอารมณ์ว่ามันเป็นจริง หัวเราะว่าผมต้องพยายามอย่างหนักเพื่อ สร้างอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารมณ์เศร้า อารมณ์เจ็บปวด หรืออารมณ์ทุกข์ทรมาน
การพบกันครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นที่ ธรรมศาลา ในประเทศอินเดียตอนเหนือ ในห้องที่ผมไปหาท่านเป็นประจำในปัจจุบัน ผมไม่สามารถจะกล่าวได้ว่า ความรู้สึกของผมได้เปลี่ยนไปมากขนาดไหน ผมยังคงมีความรู้สึกประหม่าอย่างไม่น่าเชื่อ และคิดว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ผมคิดอยู่ในใจท่านก็คงจะทราบหมดแล้ว ซึ่งท่านมีญาณวิถีที่เคยใช้อยู่อย่างนี้เป็นประจำอยู่แล้ว พระองค์ท่านสามารถมองทะลุปัญหาที่ยาก ๆ ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะญาณปฏิภาณของท่านมีพลังเฉียบคมมาก มีญาณรอบรู้อย่างกว้างขวางมากจนกระทั่งเรียกได้ว่า ท่านเป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วยปัญญาญาณที่มีความคล่องตัวสูงยิ่งในการเข้าใจ เรื่องราวต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เองประชาชน เป็นจำนวนมากจึงต้องการที่จะไปพบท่าน ก็เพื่อต้องการให้ท่านช่วยกำจัดทุกข์ให้หมดไปจากจิตใจของเขา
ชีวิตของผมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเป็นครั้งแรกในชีวิต ที่ผมได้มีโอกาสได้เข้าไปนั่งอยู่เฉพาะหน้าท่าน ผมรู้สึกปลอดโปร่งไม่มีปัญหาใด ๆ ไม่เหมือนกับที่แล้ว ๆ มาที่ผมเคยมีความรู้สึกว่า “โอ้นี่ ผมจะต้องสละสมบัติของผมทั้งหมด และจะต้องเข้าวัดเดี๋ยวนี้เลยหรือนี่” แต่บัดนี้กลับเป็นเรื่องธรรมดาที่รู้สึกว่านี้เป็นสิ่งที่ผมต้องทำ ทำงานร่วมกับบรรดาพระคุณเจ้า พระอาจารย์ทั้งหลาย ทำงานร่วมกับคนในวงศ์ตระกูล ได้เรียนรู้สิ่งที่อยากจะรู้ นำตัวเองเข้าไปสู่ความรู้นั้น ๆ ทั้ง ๆ ที่ได้เคยมีความเครียดในระดับต่าง ๆ และผูกพันธ์อยู่กับความรู้สึกเดิม ๆ ที่ผ่าน ๆ มาก็ตาม ผมก็ได้หลุดพ้นจากสิ่งเหล่านั้น เพราะได้หันมายึดเอาการปฏิบัติตามวิถีพุทธเป็นวิถีชีวิตตราบจนทุกวันนี้
ถาม พระคุณเจ้าทำงานกับคุณเป็นการเฉพาะตัว กำจัดโรคประสาทของคุณในทำนองเดียวกันกับที่บรรดาอาจารย์ชาวพุทธทั้งหลายทำ อยู่อย่างนั้นหรือ หรือว่าท่านสอนอย่างอื่นให้แก่คุณโดยวิธีให้ดูการเป็นอยู่ของท่านเป็น ตัวอย่าง
ตอบ ไม่มีปัญหาเลย พระคุณเจ้าเป็น “คุรุ” หรือ อาจารย์ที่แท้จริงของผม และท่านก็เคยใจแข็งกับผมเป็นบางครั้งบางคราว ผมจำเป็นต้องอธิบายให้ประชาชนผู้ที่บางครั้งก็เชื่อว่าท่านเป็นคนดีแบบเลิศ ลอย ว่าบางครั้งบางคราวท่านก็เคยกริ้วกับผม แต่ก็ชั่วประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้น ในขณะที่ท่านทำอย่างนั้น ผมก็ไม่บอกว่านั่นเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจสำหรับผม และในส่วนตัวของท่านก็ไม่มีการถือพระองค์แต่อย่างใด
ผมรู้สึกเป็นพระคุณอย่างมากที่ท่านไว้วางใจผม และทรงเป็นกระจกเงาส่องให้ผมได้เห็นและรู้จักตัวเอง และท่านไม่เคยแสดงอำนาจบาทใหญ่แต่อย่างใด ในการพบท่านในตอนแรก ๆ ก็มิได้เป็นไปในลักษณะนั้น ผมคิดว่า ท่านเองคงจะตระหนักดีว่าผมเป็นคนเปราะบางขนาดไหน และผมเองก็ออกจะเป็นคนระมัดระวังตัวมากด้วย แม้ในขณะนี้เองผมก็คิดว่า ท่านก็ยังคงตระหนักในความเป็นคนเอาจริงเอาจังเกี่ยวกับคำสอนเพิ่มขึ้นของผม อยู่ และท่านก็คงรู้ด้วยว่าความมั่นคงในการปฏิบัติตามคำสอนของผมก็มีเพิ่มขึ้น ท่านสามารถที่จะเข้มงวดต่อผมในการปฏิบัติธรรมให้มากขึ้นได้
(โปรดอ่านต่อฉบับหน้า)
http://www.mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/july-47.html
ในขณะที่กระแสเห่อและคลั่งไคล้ตะวันตกกำลังถาโถม เข้าสู่คนไทย จนวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามกำลังจะเลือนหายไปจากสังคมไทย พร้อม ๆ กับการนับถือพุทธศาสนาเป็นหลักครองใจในการดำเนินชีวิต ก็กำลังจะกลายเป็น เพียงนับถือพุทธ ตามสำเนาทะเบียนบ้านเท่านั้น!!
หากจะตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับศาสนาพุทธ ก็คงจะไม่ถูกนัก เพราะแม้แต่นักปราชญ์ชาติต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ในยุโรป และสหรัฐอเมริกา อาทิ เบอร์ทรันด์ รัสเซล, อัลเบิร์ต ไอนสไตน์, อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ ฯลฯ รวมทั้งซุปเปอร์สตาร์ระดับโลก เช่น ริชาร์ด เกียร์, โรเแบร์โต บาจโจ ฯลฯ ก็ยังได้กล่าวคำสดุดีและยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
พุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักกันในตะวันตกเมื่อประมาณ ๑๕๐ ปีที่แล้ว โดยในระยะแรกนั้นเป็นเพียงการศึกษาทางวิชาการเท่านั้น แต่เมื่อ ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา จากความนิยมทางหลักวิชาการ ก็กลายมาเป็นที่นิยมในแง่ของการปฏิบัติมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธมากขึ้นนั้น เป็นเพราะความน่าเลื่อมใสศรัทธาของพระหรือครูผู้สอน ที่ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี และมีความรู้ความสามารถในการทำให้ผู้ที่เข้ามาปฏิบัติได้เข้าใจหลักธรรม และวิธีการปฏิบัติ จนประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ
ประเด็นสำคัญที่น่าคิด ก็คือ ทำไมที่ผ่านมาชาวตะวันตกจำนวนมากจึงหันมาหาพุทธศาสนา คำตอบก็คือ พวกเขาคิดว่า ศาสนาพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นมาก ในแง่ที่ว่า ชาวพุทธเป็นผู้รักสงบและไม่ใช้ความรุนแรง
ในประเทศอังกฤษเองนั้น เป็นที่ทราบกันดีแล้ว จากข่าวของ พระเขมธัมโม (พระไทยชาวอังกฤษ ศิษย์ของหลวงพ่อชา) ซึ่งได้เข้าไปสอนปฏิบัติธรรมให้แก่นักโทษในเรือนจำของอังกฤษกว่า ๒๖ ปี จนเกิดผลดีช่วยลด ปัญหาของเรือนจำได้มาก กระทั่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ ๒ แห่ง สหราชอาณาจักร ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังมีนักโทษจำนวนมากมายที่หันมานับถือพุทธศาสนา บางรายที่พ้นโทษ ออกมาก็ได้มาเป็นอาสาสมัครในการเผยแผ่พุทธธรรมด้วย พุทธศาสนิกชน ชาวอังกฤษเชื่อว่าศาสนาพุทธจะขยายตัวออกไปเรื่อยๆ และจะเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในตะวันตก[1]
คำสดุดีที่นักคิดนักเขียน นักปราชญ์ชาวตะวันตก กล่าวถึงพุทธศาสนา[2]
อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ (ค.ศ.1788-1860) นักปรัชญาชาวเยอรมัน กล่าวว่า
“ถ้าข้าพเจ้าจะถือเอาผลแห่งปรัชญาของข้าพเจ้าว่าเป็นมาตรฐานแห่งความ จริง ข้าพเจ้าก็ควรมีข้อผูกพันที่ต้องยอมรับพระพุทธศาสนาว่าเด่นเป็นพิเศษเหนือ ศาสนาที่เหลือ อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องเป็นที่น่ายินดีสำหรับข้าพเจ้าที่ได้พบว่า คำสอนของข้าพเจ้าเข้ากันได้อย่างใกล้ชิดกับศาสนาซึ่งมนุษย์ส่วนมากนับถือ การเข้ากันได้นี้ ต้องเป็นที่น่าพอใจมาก เพราะในการคิดปรัชญานั้น ข้าพเจ้ามิได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนานั้น(พระพุทธศาสนา)อย่างแน่นอน”
แมกซมึลเลอร์ (ค.ศ.1823-1900) ศาสตราจารย์ทางนิรุกติศาสตร์ ชาวเยอรมัน ผู้นำในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับตะวันออก กล่าวว่า
“ประมวลศีลธรรมของพระพุทธเจ้า สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยรู้จักมา”
เอช. จี. เวลส์ (ค.ศ.1866-1946) นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ และนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ริเริ่มการเขียนนวนิยายทางวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า
“พระพุทธศาสนาได้กระทำไว้มาก ยิ่งกว่าอิทธิพลอื่นใดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพื่อความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมของโลก และวัฒนธรรมที่แท้จริง”
เบอร์ทรันด์ รัสเซล (ค.ศ.1872-1970) นักปรัชญา นักเขียน นักคณิตศาสตร์ และนักต่อสู้คัดค้านอาวุธนิวเคลียร์ ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1950 กล่าวว่า
“พระพุทธศาสนาเป็นการรวมกันของปรัชญาแบบพินิจความจริง กับวิทยาศาสตร์ ศาสนานั้นสนับสนุน วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และติดตามวิธีการนั้นจนถึงที่สุด ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นศาสนาแห่งเหตุผล ในพระพุทธศาสนาเราจะได้พบคำตอบที่น่าสนใจ เช่น จิตใจกับวัตถุคืออะไร? ระหว่างจิตใจกับวัตถุนั้นอย่างไหนสำคัญมากกว่ากัน? เอกภพเคลื่อนไปหาจุดหมาย ปลายทางหรือไม่? พระพุทธศาสนาพูด ถึงเรื่องที่วิทยาศาสตร์ยังหานำทางไปได้ไม่ เพราะความจำกัดแห่งเครื่องมือ ของวิทยาศาสตร์ ชัยชนะของพระพุทธ ศาสนาเป็นชัยชนะทางจิตใจ”
ศาสตราจารย์คาร์ล กุสตาฟ จุง (ค.ศ.1875-1961) นักจิตวิทยา ชาว สวิสส์ กล่าวว่า
“ในฐานะเป็นนักศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยพบเห็น มา ปรัชญาของพระพุทธเจ้า ทฤษฎีวิวัฒนาการและกฎแห่งกรรม (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) ยิ่งใหญ่เหนือลัทธิอื่นอย่างห่างไกล”
อัลแบร์ต ชไวเซอร์ (ค.ศ.1875-1965) แพทย์นักสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส นักเทววิทยา และนักดนตรี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 1952 (พ.ศ.2495)บอกว่า
“พระองค์ (พระพุทธเจ้า)ได้ทรงแสดงออกซึ่ง สัจธรรมอันมีคุณค่าเป็นนิรันดร และได้ ทำให้จริยธรรมมิใช่ของอินเดียเท่านั้น แต่ของมนุษยชาติก้าวหน้าไป พระพุทธ เจ้าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาอัจฉริยมนุษย์ทางศีลธรรม ที่โลกเคยได้มา”
อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ (ค.ศ.1879-1955) นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ กล่าวว่า
“ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา (คืออ้างเทวดา เป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนความสำนึกทางศาสนาที่เกิดขึ้นจากประสบ- การณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจ อย่างเป็นหน่วยรวมที่มี ความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้ ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระ พุทธศาสนา”
อัลดัส ฮักซลี่ย์ (ค.ศ.1894-1963) นักเขียนนวนิยาย ชาวอังกฤษ กล่าวว่า
“ในบรรดาศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของโลกทั้งหมด พระพุทธศาสนาเพียงศาสนาเดียว ที่ดำเนินไปโดยปราศจากการเบียดเบียนทางศาสนา การตรวจควบคุม และการซักถามสอบสวน (ซึ่งมีลูกขุนหรือเจ้าหน้าที่ดำเนินการ เพื่อจะเอาผิด หรือควบคุมผู้ไม่นับถือ) ในแง่เหล่านี้ทั้งหมด ประวัติของพระพุทธ ศาสนายิ่งใหญ่มากเหนือศาสนาอื่นซึ่งดำเนินไปในระหว่างประชาชน ผู้ติดอยู่ กับระบบทหาร”
เจ.โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ (ค.ศ. 1904-1976) นักฟิสิกส์ ชาวอเมริกัน ผู้นำในการพัฒนาระเบิดปรมาณู กล่าวว่า
“ขอยกตัวอย่าง เช่นเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเป็นอันเดียวกันใช่หรือ ไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเปลี่ยนไปพร้อมกับกาลเวลาใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบ ว่าไม่ ถ้าถามว่า อิเล็กตรอนหยุดพักใช่ หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่ามันเคลื่อนไหวใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานคำตอบเช่นเดียวกัน เมื่อทรงได้รับคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ของตัวตนของมนุษย์ภายหลังความตาย แต่คำตอบเหล่านั้นมิใช่คำตอบที่คุ้นกับจารีตประเพณีของวิทยาศาสตร์ สมัยศตวรรษที่ 17และ 18”
สำหรับซุปเปอร์สตาร์ที่คนทั่วโลกชื่นชอบและคลั่งไคล้กันนั้น การที่เขาสนใจและบางรายถึงกับเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ พร้อมอุทิศตนทำงานเพื่อช่วยจรรโลงพุทธศาสนานั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งที่ระลึกของพวก เขาได้อย่างแท้จริง
ทอม ครูซ (Tom Cruise) ชาวอเมริกัน พระเอกหนุ่มเนื้อหอม ผู้มี ชื่อเสียงโด่งดังจากภาพยนต์เรื่อง “Misson Impossible” ได้กล่าวยกย่องพุทธศาสนา ในการแถลงข่าวงานเปิดรอบปฐมทัศน์ของหนังเรื่องใหม่ที่เขาแสดงนำคือ “The Last Samurai” ณ โรงแรมริซท์ กลางใจกรุงปารีส ว่า หลังจากที่ตน ได้ศึกษาบทนำจากหนังเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้อง ทำความเข้าใจในปรัชญาตะวันออก ทั้งพุทธศาสนาและศิลปะบูชิโดของญี่ปุ่น ทำให้ตนได้เรียนรู้หลักการดำเนินชีวิต ที่เรียบง่าย และยืดหยุ่น ซึ่งสามารถนำ มาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างน่าเหลือเชื่อ นอกจากนี้เขายังได้กล่าวยกย่องศาสนาพุทธว่าเป็นศาสนาที่เป็นรากฐานของวิทยา ศาสตร์ทั้งหมด ซึ่งสอนให้คนรู้จักตนเองและมอบความรักเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้ และถือว่าการได้สัมผัสกับพุทธศาสนาเป็นประสบการณ์ทีมีค่ายิ่งในชีวิตของเขา
ริชาร์ด เกียร์ (Richard Gere) ดาราชื่อก้องชาวอเมริกัน ได้ชื่อว่าเป็นดาราหนุ่มที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่งในปี 1980-1990 ภาพยนต์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากก็คือ Pretty Woman(1990) และเมื่อปี 2546 ที่ผ่านมา เขาก็คว้ารางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 60 ในฐานะดารานำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนต์เรื่องชิคาโก
ริชาร์ด เกียร์ หันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง จนพบว่าศาสนาพุทธให้คำตอบกับชีวิตของเขาได้ ด้วยเหตุนี้เองเขาจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และใช้เวลานอกจอช่วยเหลืองานขององค์ทะ ไลลามะ ในการเผยแผ่ศาสนา และเมื่อครั้งที่มีการประกาศรางวัลออสการ์ปี 1993 ท่ามกลางสายตาของผู้ชมนับล้านๆ คู่ ริชาร์ด เกียร์ ก็ใช้เวทีนี้เรียกร้องความรักและสัจธรรมให้กับมวลมนุษย์ และในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ถล่มตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 45 นั้น ริชาร์ด เกียร์ ให้สัมภาษณ์ว่า เขากำลังศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ที่รัฐแมสซาชูเซตส์
เกียร์เคยพูดว่า เราต้องคิดว่าบรรดาผู้ก่อการร้ายนั้นได้ก่อความเลวร้ายให้กับชีวิตภายหน้า ของพวกเขาไว้แล้ว เรียกว่าสร้างกรรมชั่ว และเราจะต้องมองให้กว้างไกลว่าเราทุกคนต่างเกี่ยวโยงกับการกระทำครั้งนี้ เช่นกัน เขาย้ำว่า เราต้องให้ความรักและเมตตากับทุกคน ไม่เว้นแม้พวกที่ก่อการร้าย ถ้าเราทั้งหลายสามารถที่จะมองพวกผู้ก่อการร้าย ด้วยความคิดว่าเขาเหล่านั้นคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ยาที่จะรักษาพวกเขาได้ก็คือ ความรักและเมตตานั้นเอง ไม่มีอะไรจะดีกว่านั้นอีกแล้ว
สตีเว่น ซีกัล (Steven Seagal) พระเอกนักบู๊ชื่อดังของฮอลลีวู้ด ชาวอเมริกัน โด่งดังขึ้นมาในฮอลลีวู้ดในฐานะพระเอกหนังแอ๊คชั่น หนังเรื่องล่าสุดของเขา คือ Exit Wounds ซีกัลได้ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งมีลามะในทิเบตบางรูปพูดถึงเขาว่า เขาเป็นอดีตลามะองค์สำคัญที่กลับชาติมาเกิดทีเดียว
โรเแบร์โต บาจโจ (Roberto Baggio) นักฟุตบอลชื่อดังชาวอิตาลี หันมาสนใจพุทธศาสนา หลังผ่าตัดเข่าข้างขวา และต้องหยุดเล่นนานถึง 2 ปี ช่วงนี้เขาต้องฝึกกายภาพ ด้วยความหวังที่เลือนลาง และไม่มีความสุข หงุดหงิด อารมณ์เสียบ่อยครั้ง เมาริซิโอ โบลดรินี เจ้าของร้านขายแผ่นซีดี ซึ่งโรเบอโต้เป็นลูกค้าประจำที่ร้าน จึงได้แนะนำให้เขาสวดมนต์ บาจโจรู้สึกดีขึ้นมาก และหันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนา จนนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง กระทั่งอาการบาดเจ็บที่เข่าของ เขาค่อยทุเลาลง และสามารถกลับมาเล่นฟุตบอลได้อีกครั้ง
บาจโจ บอกไว้เมื่อ พ.ศ.2539 ว่า แม้จะปฏิบัติธรรมได้เพียง 8 ปีเท่านั้น แต่บุญกุศลที่ได้รับนั้นมากมายเกินกว่าจะกล่าวได้หมด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเขาก็คือได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติของตนเอง เพราะก่อนหน้าที่จะหันมาปฏิบัติธรรมนั้น เขาเป็นคนที่จะต้องคิดในรูปแบบที่ตัวเองวางกรอบ หรือกำหนดไว้แล้ว หรือไม่ก็ตัดสินสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยใช้ความคิดของตนเองเป็นหลัก และคิดว่าการกระทำเช่นนี้ของตนถูกต้องเสมอ แต่หลังการปฏิบัติธรรมแล้วมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมายในชีวิตจิต วิญญาณของตัวเอง ซึ่งต้องใช้สติปัญญาในการตัดสินใจ แม้จะเป็นเรื่องที่ยากเพราะบางครั้งจิตใจก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางกาย
บาจโจบอกว่าสำหรับชาวอิตาเลียนแล้ว พุทธศาสนานั้นอยู่ห่างไกลและไม่เกี่ยวข้องอะไรกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และชาวอิตาเลียนจะมีความเชื่อในความคิดเห็นของตนเองมากและไม่ต้องการศึกษา เรียนรู้ หรือเข้าใจปรัชญาอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากที่ พวกเขาเคยรับรู้มา แต่จะตัดสินสิ่งต่างๆ ตามความคิดเห็นของตนเอง สำหรับเขาแล้วการตัดสินใจหันมานับถือพุทธศาสนา ไม่รู้สึกว่าขาดความ เชื่อมั่น และไม่แคร์ว่าใครจะพูดว่าอย่างไร เพราะเป้าหมายของตนคือต้องการจะเป็นบุคคลที่มีความสุขที่สุด
ไม่เพียงแต่คนดังเหล่านี้ที่หันมาสนใจและประพฤติปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมเท่า นั้น ยังมีชาวตะวันตกอีกมากมายที่มุ่งหน้าค้นหาสัจธรรมของชีวิต เดินทางเข้าสู่ดินแดนแห่งพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทิเบต ภูฐาน ศรีลังกา พม่า หรือประเทศไทย เพื่อการศึกษาหลักธรรมคำสอนและปฏิบัติกันอย่างจริงจัง คอร์สอบรมวิปัสสนาที่วัดหรือหน่วยงานบางแห่งในบ้านเราจัดขึ้นสำหรับชาวต่าง ชาตินั้นได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม[3]
พลังศรัทธาในพุทธศาสนาของ...ศ. ดร. CALORA ANDUJO M.D. (คาโลร่า)
ศ.ดร. คาโลร่า เล่าให้ฟังว่า หลังเรียนจบปริญญาเอกด้านคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ จากมหา- วิทยาลัยฮาร์วาร์ด ระหว่างที่ทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยแม็กซิโกนั้น ได้ให้ความสนใจอาหารเพื่อสุขภาพมาก โดยเน้นเรื่องการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารผัก รวมทั้งอาหารที่ปรุงมาจากธรรมชาติ (ไม่ใช่การกินเจและก็กินอาหารมังสวิรัติ) ซึ่งได้รับคำแนะนำจากเพื่อนชาวญี่ปุ่น
เมื่อรับประทานแล้วสุขภาพก็ดีขึ้น จึงลาออกจากงานมาเผยแพร่เรื่องการกินอาหาร เพื่อสุขภาพ โดยเปิดเป็นร้านอาหารเล็ก ๆ และสั่งนำเข้าพวกสาหร่ายและปลาอาหารจากจีนและญี่ปุ่นมาขาย ทั้งนี้จะเปิดขายวันละ ๑ มื้อเท่านั้น แม้ว่าจะเป็นอาหารที่ราคาค่อนข้างแพง แต่ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามลำดับ ในที่สุดก็ขยายร้านใหญ่ขึ้น ขณะเดียวก็เปิดสอนวิธีทำอาหารเพื่อสุขภาพด้วย ด้วยความเป็นนักวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เมื่อสุขภาพร่างกายมีความสมบูรณ์แล้ว จึงมีความคิดต่อว่า ทำอย่างไรถึงจะควบคุมจิตใจให้มีความสงบสุขได้ จากนั้นได้หันไปค้นคว้าอ่านหนังสือทางพวกฮินดู เซน ฯลฯ ขณะเดียวก็เข้าไปฝึกปฏิบัติธรรมโดยสมัครเป็นลูกศิษย์สำนักต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างจะได้ผล แต่ไม่มีข้อยุติเพราะได้แค่เรื่องสมาธิเท่านั้น
เธอเล่าต่อว่า ครั้งได้รู้จักกับนักเผยแพร่เรื่องสมาธิจากผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อทอง (พระเทพพรหมวชิรญาณ) วัดพระธาตุจอมทอง เมื่อปฏิบัติได้ ระยะหนึ่งเห็นว่าลูกศิษย์ของหลวงพ่อทอง ไม่สามารถอธิบายให้ความรู้เรื่องการกำหนดจิตสร้างสมาธิให้ซาบซึ้งได้ จึงลงทุนซื้อตั๋วเครื่องบินตั้งใจว่าจะมาเรียนกับหลวงพ่อทองโดยตรง
เมื่อมาถึงประเทศไทยได้เรียนกับลูกศิษย์หลวงพ่อทองเท่านั้น เนื่องจากท่านเป็นพระผู้ใหญ่จึงไม่มีเวลามาสอนโดยตรง ความตั้งใจที่จะมาเรียนกับอาจารย์โดยตรงแต่กลับมาได้เรียนกับลูกศิษย์ เมื่อเป็นเช่นนี้ความตั้งใจเดิมที่จะมาเรียนสัก ๑ ปี ก็เหลือเพียง ๒ เดือนเท่านั้น
ขณะเดียวกันก็พยายามค้นคว้าอ่านหนังสือจากห้องสมุดที่วัดตโปทาราม ในที่สุดก็ไปอ่านหนังสือของหลวงตาโสบิน ส.นามโท (Insight Meditation Practical Steps to Ultimate Truth) โดยอ่านถึง ๓ รอบ จากนั้นจึงมีความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติสมาธิกำหนดจิต
จากนั้นก็ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ วัดถ้ำตอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดวิปัสสนาฯ ใครไปอยู่วัดแห่งนี้ต้อง ปฏิบัติวิปัสสนาฯ เท่านั้น โดยนำหนังสือของ หลวงตาโสบินไปเป็นคู่มือด้วย ทั้งนี้ได้ฝึกปฏิบัติอยู่เป็นเวลา ๒ เดือน แต่ก็ยังมีข้อสงสัยบางประการ จึงตัดสินใจไปตามหาหลวงตาโสบินซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าว ซึ่งขณะนั้นยังเป็นฆราวาสอยู่ และเมื่อได้ฝึกปฏิบัติแล้วก็สามารถไขข้อข้องใจต่างได้ ขณะเดียวก็ติดต่อหลวงตาโสบินให้ไปสอนในศูนย์สุขภาพที่แม็กซิโก ซึ่งมีสมาชิกอยู่ประมาณ ๓๐๐ คน
รูปแบบของการปฏิบัติของสำนักทั่วๆ ไปส่วนใหญ่ จะเป็นความสงบสุขที่เกิดจากจินตนาการมากกว่า ไม่ได้เกิดจากการฝึกปฏิบัติสมาธิจริงๆ เป็นความสุข ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเท่านั้น ปัญหาของ การฝึกปฏิบัติของชาวต่างชาติ คือ ไม่รู้ว่าจะเข้าหาความรู้จากพระได้มากแค่ไหน ขณะเดียวกันพระก็ไม่มีความรู้ความสามารถ ในการอธิบายธรรมะมากน้อยเพียงใด
เมื่อถามถึงความเป็นพุทธ ศ.ดร.คาโลร่า ตอบว่า “เป็นพุทธหรือไม่เป็นพุทธไม่ใช่สาระสำคัญ ที่สำคัญ คือ เลื่อมใสในหลักธรรมและหลักปฏิบัติในแนวพุทธ เมื่อปฏิบัติแล้วจะมีผลต่อสุขภาพอย่างไร การ ศึกษาแสวงหาและปฏิบัติเพื่อทำให้ชีวิต ดีขึ้นไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ทุกคนมีสิทธิศึกษาหลักปฏิบัติของทุกศาสนา ส่วนจะดีขึ้นหรือไม่นั้นมันขึ้นอยู่กับคนๆ นั้น”
ส่วนเหตุที่ทำให้คนไทยไม่สนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมนั้น ศ.ดร.คาโลร่า มองว่า คนไทยเห็นพระ เห็นวัด ได้รับการปลูกฝังเรื่องหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่เกิด จึงมีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที่สำคัญ คือ สิ่งเหล่านี้เป็นของฟรีทุกคนสามารถเข้าถึงได้ จึงเห็นเรื่องการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องธรรมดา ในขณะที่ชาวต่างชาติต้องดิ้นรนแสวงหาเท่านั้น หนังสือธรรมะดีๆ สักเล่มก็หาอ่านยาก รวมทั้งอาจารย์ผู้สอนก็ยากยิ่งกว่า นอกจากนี้แล้วทุกอย่างต้อเสียเงินซื้อทั้งนั้น การได้เดินมาปฏิบัติธรรมในครั้งนี้จึงมีความพิเศษมาก แม้ว่าจะต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาคนละซีกโลก แต่มันคุ้มเกินคุ้มที่ จะแสวงหาประโยชน์จากการ่วมปฏิบัติธรรมในครั้งนี้
ขณะเดียวกัน ศ.ดร.คาโลร่า พูดไว้อย่างน่าคิดว่า “คนไทยมีบุญที่ได้เกิดอยู่ในเมืองพุทธ เมืองที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด แต่คนไทยไม่มีวาสนาที่จะเข้าถึงหลักธรรมหลักการปฏิบัติที่แท้จริง คนไทยส่วนใหญ่จะติดในพิธีกรรมทางศาสนามากเกินไป จนลืมแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คนไทยไม่ค่อยเข้าถึงหลักธรรมเท่าไรนัก แต่จะเน้นเรื่องประเพณีและพิธีกรรมมากกว่า แต่ตัวเองเริ่มต้นจากการเรียนรู้คำสอนก่อน ส่วนประเพณีและพิธีกรรมมาเรียนรู้ทีหลัง ถึงไม่ได้เกิดในเมืองพุทธแต่ก็มีวาสนาที่ได้เข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา”
เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก[4]
สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2543
เขียนโดย ธรรมสถานวิจันท์โล ที่ 23:03
http://wijunlo.blogspot.com/2010/01/blog-post.html
Thai | English | 中文 | 日本語
Search?VideoบทความGoogle User :
Password :
Login
สมัครใหม่ | ลืมรหัสผ่าน
HomeLive สด Videoธรรมะ Dhammaสมาธิ MeditationWebboardAbout DMC.
พุทธศาสนาในสายตาคนดังทั่วโลก
บทความ Articles > DMC NEWS
[ 11 ต.ค. 2549 ] - [ ผู้อ่าน : 608 ]
Share Facebook
พิมพ์บทความนี้
ทอม ครูซ (Tom Cruise) ชาวอเมริกัน พระเอกหนุ่มเนื้อหอม ผู้มี ชื่อเสียงโด่งดังจากภาพยนต์เรื่อง “Misson Impossible” ได้กล่าวยกย่องพุทธศาสนา ในการแถลงข่าวงานเปิดรอบปฐมทัศน์ของหนังเรื่องใหม่ที่เขาแสดงนำคือ “The Last Samurai” ณ โรงแรมริซท์ กลางใจกรุงปารีส ว่า หลังจากที่ตนได้ศึกษาบทนำจากหนังเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้อง ทำความเข้าใจในปรัชญาตะวันออก ทั้งพุทธศาสนาและศิลปะบูชิโดของญี่ปุ่น ทำให้ตนได้เรียนรู้หลักการดำเนินชีวิต ที่เรียบง่าย และยืดหยุ่น ซึ่งสามารถนำ มาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างน่าเหลือเชื่อ นอกจากนี้เขายังได้กล่าวยกย่องศาสนาพุทธว่าเป็นศาสนาที่เป็นรากฐานของวิทยา ศาสตร์ทั้งหมด ซึ่งสอนให้คนรู้จักตนเองและมอบความรักเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้ และถือว่าการได้สัมผัสกับพุทธศาสนาเป็นประสบการณ์ทีี่่มีค่ายิ่งในชีวิตของ เขา
ริชาร์ด เกียร์ (Richard Gere) ดาราชื่อก้องชาวอเมริกัน ได้ชื่อว่าเป็นดาราหนุ่มที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่งในปี 1980-1990 ภาพยนต์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากก็คือ Pretty Woman(1990) และเมื่อปี 2546 ที่ผ่านมา เขาก็คว้ารางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 60 ในฐานะดารานำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนต์เรื่อง ชิคาโก
ริชาร์ด เกียร์ หันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง จนพบว่าศาสนาพุทธให้คำตอบกับชีวิตของเขาได้ ด้วยเหตุนี้เองเขาจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และใช้เวลานอกจอช่วยเหลืองานขององค์ทะ ไลลามะ ในการเผยแผ่ศาสนา และเมื่อครั้งที่มีการประกาศรางวัลออสการ์ปี 1993 ท่ามกลางสายตาของผู้ชมนับล้านๆ คู่ ริชาร์ด เกียร์ ก็ใช้เวทีนี้เรียกร้องความรักและสัจธรรมให้กับมวลมนุษย์ และในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ถล่มตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 44 นั้น ริชาร์ด เกียร์ ให้สัมภาษณ์ว่า เขากำลังศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ที่รัฐแมสซาชูเซตส์
สตีเว่น ซีกัล (Steven Seagal) พระเอกนักบู๊ชื่อดังของฮอลลีวู้ด ชาวอเมริกัน โด่งดังขึ้นมาในฮอลลีวู้ดในฐานะพระเอกหนังแอ๊คชั่น หนังเรื่องล่าสุดของเขา คือ Exit Wounds ซีกัลได้ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งมีลามะในทิเบตบางรูปพูดถึงเขาว่า เขาเป็นอดีตลามะองค์สำคัญที่กลับชาติมาเกิดทีเดียว
โรเแบร์โต บาจโจ (Roberto Baggio) นักฟุตบอลชื่อดังชาวอิตาลี หันมาสนใจพุทธศาสนา หลังผ่าตัดเข่าข้างขวา และต้องหยุดเล่นนานถึง 2 ปี ช่วงนี้เขาต้องฝึกกายภาพ ด้วยความหวังที่เลือนลาง และไม่มีความสุข หงุดหงิด อารมณ์เสียบ่อยครั้ง เมาริซิโอ โบลดรินี เจ้าของร้านขายแผ่นซีดี ซึ่งโรเบอโต้เป็นลูกค้าประจำที่ร้าน จึงได้แนะนำให้เขาสวดมนต์ บาจโจรู้สึกดีขึ้นมาก และหันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนา จนนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง กระทั่งอาการบาดเจ็บที่เข่าของเขาค่อยทุเลาลง และสามารถกลับมาเล่นฟุตบอลได้อีกครั้ง
อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ (ค.ศ.1788-1860) นักปรัชญาชาวเยอรมัน กล่าวว่า “ถ้าข้าพเจ้าจะถือเอาผลแห่งปรัชญาของข้าพเจ้าว่าเป็นมาตรฐานแห่งความจริง ข้าพเจ้าก็ควรมีข้อผูกพันที่ต้องยอมรับพระพุทธศาสนาว่าเด่นเป็นพิเศษเหนือ ศาสนาที่เหลือ อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องเป็นที่น่ายินดีสำหรับข้าพเจ้าที่ได้พบว่า คำสอนของข้าพเจ้าเข้ากันได้อย่างใกล้ชิดกับศาสนาซึ่งมนุษย์ส่วนมากนับถือ การเข้ากันได้นี้ ต้องเป็นที่น่าพอใจมาก เพราะในการคิดปรัชญานั้น ข้าพเจ้ามิได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนานั้น(พระพุทธศาสนา)อย่างแน่นอน”
แมกซมึลเลอร์ (ค.ศ.1823-1900) ศาสตราจารย์ทางนิรุกติศาสตร์ ชาวเยอรมัน ผู้นำในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับตะวันออก กล่าวว่า “ประมวลศีลธรรมของพระพุทธเจ้า สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยรู้จักมา”
เอช. จี. เวลส์ (ค.ศ.1866-1946) นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ และนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ริเริ่มการเขียนนวนิยายทางวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “พระพุทธศาสนาได้กระทำไว้มาก ยิ่งกว่าอิทธิพลอื่นใดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพื่อความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมของโลก และวัฒนธรรมที่แท้จริง”
เบอร์ทรันด์ รัสเซล (ค.ศ.1872-1970) นักปรัชญา นักเขียน นักคณิตศาสตร์ และนักต่อสู้คัดค้านอาวุธนิวเคลียร์ ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1950 กล่าวว่า“พระพุทธศาสนาเป็นการ รวมกันของปรัชญาแบบพินิจความจริง กับวิทยาศาสตร์ ศาสนานั้นสนับสนุน วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และติดตามวิธีการนั้นจนถึงที่สุด ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นศาสนาแห่งเหตุผล ในพระพุทธศาสนาเราจะได้พบคำตอบที่น่าสนใจ เช่น จิตใจกับวัตถุคืออะไร? ระหว่างจิตใจกับวัตถุนั้นอย่างไหนสำคัญมากกว่ากัน? เอกภพเคลื่อนไปหาจุดหมาย ปลายทางหรือไม่? พระพุทธศาสนาพูด ถึงเรื่องที่วิทยาศาสตร์ยังหานำทางไปได้ไม่ เพราะความจำกัดแห่งเครื่องมือ ของวิทยาศาสตร์ ชัยชนะของพระพุทธ ศาสนาเป็นชัยชนะทางจิตใจ”
ศาสตราจารย์คาร์ล กุสตาฟ จุง (ค.ศ.1875-1961) นักจิตวิทยา ชาว สวิสส์ กล่าวว่า “ในฐานะเป็นนักศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยพบเห็น มา ปรัชญาของพระพุทธเจ้า ทฤษฎีวิวัฒนาการและกฎแห่งกรรม (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) ยิ่งใหญ่เหนือลัทธิอื่นอย่างห่างไกล”
อัลแบร์ต ชไวเซอร์ (ค.ศ.1875-1965) แพทย์นักสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส นักเทววิทยา และนักดนตรี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 1952 (พ.ศ.2495)บอกว่า “พระองค์ (พระพุทธเจ้า)ได้ทรงแสดงออกซึ่ง สัจธรรมอันมีคุณค่าเป็นนิรันดร และได้ ทำให้จริยธรรมมิใช่ของอินเดียเท่านั้น แต่ของมนุษยชาติก้าวหน้าไป พระพุทธ เจ้าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาอัจฉริยมนุษย์ทางศีลธรรม ที่โลกเคยได้มา”
อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ (ค.ศ.1879-1955) นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ กล่าวว่า “ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา (คืออ้างเทวดา เป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนความสำนึกทางศาสนาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้ง ปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจ อย่างเป็นหน่วยรวมที่มี ความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้ ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา”
อัลดัส ฮักซลี่ย์ (ค.ศ.1894-1963) นักเขียนนวนิยาย ชาวอังกฤษ กล่าวว่า “ในบรรดาศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของโลกทั้งหมด พระพุทธศาสนาเพียงศาสนาเดียว ที่ดำเนินไปโดยปราศจากการเบียดเบียนทางศาสนา การตรวจควบคุม และการซักถามสอบสวน (ซึ่งมีลูกขุนหรือเจ้าหน้าที่ดำเนินการ เพื่อจะเอาผิด หรือควบคุมผู้ไม่นับถือ) ในแง่เหล่านี้ทั้งหมด ประวัติของพระพุทธ ศาสนายิ่งใหญ่มากเหนือศาสนาอื่นซึ่งดำเนินไปในระหว่างประชาชน ผู้ติดอยู่ กับระบบทหาร”
เจ.โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ (ค.ศ. 1904-1976) นักฟิสิกส์ ชาวอเมริกัน ผู้นำในการพัฒนาระเบิดปรมาณู กล่าวว่า “ขอยกตัวอย่าง เช่นเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเป็นอันเดียวกันใช่หรือ ไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเปลี่ยนไปพร้อมกับกาลเวลาใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบ ว่าไม่ ถ้าถามว่า อิเล็กตรอนหยุดพักใช่ หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่ามันเคลื่อนไหวใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานคำตอบเช่นเดียวกัน เมื่อทรงได้รับคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ของตัวตนของมนุษย์ภายหลังความตาย แต่คำตอบเหล่านั้นมิใช่คำตอบที่คุ้นกับจารีตประเพณีของวิทยาศาสตร์ สมัยศตวรรษที่ 17และ 18”
---Ref: /www.dmc.tv
หนึ่งในคอลัมน์ของธรรมจักษุ
เรื่องริชาร์ด เกียร์ ให้สัมภาษณ์เล่าถึง
ชีวิตของเขาที่ปฏิบัติตามวิถีพุทธ
รายงานโดย...พิพัฒน์ บุญยง
พิมพ์ลงในนิตยสาร “ธรรมจักษุ”
ปีที่ 88 ฉบับที่ 10 เดือน กรกฎาคม 2547