ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า โดยหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ วัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี



ภาวนา... พุทโธกับหนอ...ขัดกันไหม? ...ไม่ขัดนะ อารมณ์เหมือนกันนั้นแหละ ลมในจมูก ลมในท้อง เพียง แต่กำหนดต่างกัน ที่จริงก็คือภาวนาแบบเดียวกันนั่นแหละ พุทโธก็กำหนดสั้นๆ อยู่ที่ลมหายใจเข้า ออกปลายจมูก หนอก็กำหนดท้องพอง ยุบ คนที่กำหนดลมไม่ได้ก็กำหนดท้องได้ คนที่กำหนดท้องไม่ได้กำหนดจมูกได้ บางคนกำหนดได้ทั้งสองอย่าง ได้ทั้งท้อง ได้ทั้งจมูก บางคนก็ไม่ได้ ท้องก็ไม่ได้ จมูกก็ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสติใครมากหรือน้อยต่างกัน ก็ไม่ต่างกันตรงที่ว่าตรงไหนก็ได้ถ้าคนรู้จักทำ รู้จักอุบาย เดินก็เหมือนกัน ขวาพุท ซ้ายโธ ก็เหมือนกับ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ นั่นแหละ ก็สุดแล้วแต่อุบาย เอาสติมาจับไว้ที่กายก็เป็นสมาธิเหมือนกันไม่ต่างกัน ต่างกันตรงที่แนะนำสั่งสอนหรือว่าเริ่มต้น แต่พอสงบแล้วก็เหมือนกัน ปัญญาก็เหมือนกัน บางคนก็สับสนว่า

เอ้! เอาไงดีหนอ เคยพุทโธ แล้วมาหนอ ยุ่งยากจังž

แท้จริงแล้วไม่มีอะไร ก็คือทำตัวสติให้เกิดขึ้น แล้วก็ทำให้รู้ทัน คือรู้กายให้มากขึ้น มีสติมากขึ้น

มีอะไรสงสัยไหม?Ž

พอมันเกิดปีติแล้ว พิจารณาปีติดับแล้วมันก็เกิดชุ่มเย็น เป็นสุข พอสุขดับแล้วก็พิจารณาอะไรต่อครับ?Ž

ก็พิจารณาเรื่อยไป ยกจิตขึ้นสู่ความสุขก็อยู่กับความสุข พอสุขดับก็เฉย นี่เป็นอารมณ์ธรรม อารมณ์ขององค์ฌาน ปีติ เอกคตา เป็นลำดับ แสดงว่าเรายังติดอยู่ในสุข ก็เหมือนมันเป็นผลของปีติ ผลของปีติก็ทำให้สุข ผลของสุขก็ทำให้อุเบกขา จะต่อเนื่องกัน ก็รักษาอารมณ์ไว้ พวกนี้มันไม่เที่ยงนะ มันเกิดแล้วมันก็หาย ไม่ตั้งอยู่ได้นานหรอก แต่ก็พัฒนาขึ้นมาแล้ว เรียกว่าเราได้สัมผัสกับความสุข แสดงว่าเราสงบ ถ้าไม่สงบก็ไม่เกิดปีติ ถ้าไม่มีวิตกวิจารก็ไม่เกิดปีติ แต่นี่ถ้าความสุขมันหายไป เราก็กลับมาเจริญวิตกวิจารอีก ก็เป็นปีติ ก็สุขอีก ก็ถอยกับมาอีก กลับมาวิตกวิจารดูภาวนาต่ออีก เช่นเราดูลมหายใจเราก็ดูต่อ แล้วก็เกิดปีติอีก เรียกว่าตั้งต้นใหม่ เรียกว่าไปติดอยู่ที่สุข ก็ต้องเจริญใหม่Ž

ไม่ทราบว่าจะต้องเจริญอย่างไรต่อครับ ถึงจะเป็นโพชฌงค์Ž

ก็เจริญสติมากๆ เจริญปีติ เจริญอุเบกขา ก็เจริญอย่างนี้แหละ ต้องมีความเพียรไปเรื่อยๆ อย่างนี้ใช้ได้ และที่เราทำก็เป็นโพชฌงค์ ๗ อยู่แล้ว (โพชฌงค์ ๗ องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ ๑ สติ (มีความรู้ตัวเต็มที่) ๒ ธัมมวิจยะ (มีปัญญาขบธรรมะ) ๓ วิริยะ (มีความเพียรพยายาม) ๔. ปีติ (มีความอิ่มใจ) ๕. ปัสสัทธิ (ความสงบใจ) ๖. สมาธิ (ตั้งใจมั่น) ๗. อุเบกขา (วางเฉย) ขยันเดินจงกรมหน่อยก็แล้วกันŽ

เดินจงกรมนี้ดี เดินจงกรมนี้ช่วยได้เยอะ แก้ความข้องใจ แก้ทุกอย่าง เดินให้ดับเวทนาได้ คลายเคลียดได้ ทุกอย่างจะปรับตัวได้หมด ถ้านั่งอย่างเดียวไม่สำเร็จก็ต้องเดิน เดินให้มาก ต้องขยันภาวนา นั่งอย่างเดียวก็ไม่ค่อยสำเร็จถ้าเดินก็ช่วยได้เยอะ เดินทำให้เกิดปัญญา แก้ปัญหาไม่ตกเดินแล้วจะแก้ตกŽ

ให้อาจารย์อธิบายการยืนŽ

ยืนโยมกำหนดที่ไหนหละ?

แยกกายแยกจิต พิจารณาร่างกายŽ

พิจารณาร่างกาย ใช้ได้ อะไรก็ได้ให้จิตอยู่กับกายก็แล้วกัน ยืนมาอุบายได้หลายอย่าง ยืนกำหนดที่ฝ่าเท้า ยืนกำหนดที่กลางทรวงอกได้ ยืนกำหนดที่หน้าผากได้ ยืนกำหนดที่ลมหายใจได้ หรือยืนกำหนดพิจารณาร่างกายได้ อยู่ในฐานกายใช้ได้หมด ขอให้มีสติสมบูรณ์

หลวงพอคะ โยมเกิดปีติ แต่เกิดแล้วรู้สึกกลัวค่ะŽ

กลัวอะไร กลัวใจตัวเองเหรอ?Ž

ไม่ทราบคะ ไม่ทราบเหมือนกันแต่รู้สึกกลัวค่ะ แต่ว่ามีความสุขนะเจ้าคะŽ

ก็กำหนดที่จิตปีติเรานั่นแหละ เจริญตรงนั้นแหละว่ากลัวอะไร กลัวอะไรก็พิจารณาตรงนั้น แล้วก็พยายามเริ่มต้นให้ได้ ว่าเราเกิดปีติมาจากอะไร ว่าเกิดมาจากการพิจารณาธรรมะข้อไหน หรือจากการกำหนดธรรมะข้อไหน แล้วก็กลับมาเริ่มต้นตรงนั้น ก็ไปสู่ปีติอีก ก็ให้ทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกลัว ไม่มีอันตรายŽ

เวลานั่งสมาธิ มีความรู้สึกว่าจิตนี้จะนิ่งเป็นสมาธิแต่ว่ารู้สึกว่ากายนี้โยกไปข้างหน้าแต่ว่าบังคับไม่ได้ และลมหายใจนี้รู้สึกว่าขึ้นลงเร็วมากแทบจะไม่มี แต่ว่ารู้สึกจิตใจจะเหนื่อย กายจะเหนื่อย ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร?Ž

เราต้องพิจารณาลมหายใจโดยที่ไม่บังคับตัวเองกับลม พยายามอย่างไปบังคับ เช่นโยกอย่างไปฝืน หรือลมหายใจพยายามอย่างไปตั้งลมหายใจเอง พยายามปล่อยตามธรรมชาติ พิจารณาไปตามที่เขาเป็นที่เขาเกิด อย่าไปให้สั้นให้ยาวให้หนักให้เบา อย่าไปเกร็งŽ

โยมก็ไม่ได้เกร็งหรอกคะ ก็พยายามรู้กายรู้ลมตลอด แต่มันก็ยังเหนื่อยคะŽ

ก็ไม่เป็นไรถ้ามันเหนื่อยก็ไม่เป็นไร เราไม่ได้เกร็งไม่ได้ฝืนก็ไม่เป็นไร ก็ให้รู้อยู่เรื่อยไปŽ

ถ้ารู้สึกว่ากายมันโยกก็ให้มันโยกไป ไม่ต้องฝืนอย่างนั้นหรือเปล่าคะŽ

เราก็ให้รู้ตัวว่าเราโยก แล้วก็กลับมาตั้งสติให้ตรงเท่านั้นแหละ พยายามเหยียดหลังตรงๆ มันโยกก็ให้รู้ว่ามันโยก แต่เราไม่ต้องไปโยกตามมัน ให้รู้ตัวไว้Ž

หลวงพ่อเจ้าคะ คนที่มีสติสัมปชัญญะกับคนที่มีสมาธินั้น เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรเจ้าคะŽ

คนที่มีสติสัมปชัญญะ หมายถึงว่าคือรู้ตัวชั่วขณะหนึ่ง คือทำอะไรก็ให้รู้สติสัมปชัญญะ สมาธิหมายถึงการฝึกให้จิตเป็นหนึ่งอย่างเช่นเราฝึกแล้วทำให้เกิดปีติ เกิดสุข อย่างนี้เรียกว่าฝึกสมาธิ แต่ถ้าสัมปชัญญะ สติก็เพียงรู้ว่าเราทำอะไรคิดอะไร นี่เป็นส่วนของสติ หน้าที่มันต่างกัน สตินี้อาจจะไม่เจอความปีติ เกิดความสุขอะไร แต่ว่ามันก็มีความรู้ตัว แต่ว่าสมาธินี้เป็นการฝึกให้จิตพัฒนาไปสู่ความสงบมากขึ้น ก็คนละอย่าง ผลก็มีทั้งสองอย่าง แต่มันมีหน้าที่ต่างกัน บางคนก็ไม่ได้สมาธิ ได้แต่สติ ปฏิบัติไปก็ได้แต่รู้ว่าคิดอะไร สงบไม่สงบ แต่ไม่เคยเกิดสมาธิชั้นสูง ก็ได้บ้าง..แต่ว่าไม่ได้ถึงองค์ฌาน ปีติสุข เอกัคตา (ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว) ได้แต่สัมปชัญญะได้สติ อันนั้นก็ถือว่าเขาก็ปฏิบัติได้ส่วนหนึ่ง แต่บางคนเขาฝึกแล้ว เขาจะเข้าสมาธิได้อยู่เรื่อย นั้นเป็นปัจจัยของเขา นั้นก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของผู้ฝึกได้สมาธิŽ

อย่างคนที่มีสติอย่างเดียว มีทางที่จะได้เป็นพระอริยเจ้าไหมเจ้าคะŽ

สติเป็นส่วนประกอบทุกอย่าง แม้แต่มีสมาธิก็ต้องมีสติมีสมาธิอย่างเดียวก็ไม่พอ มีสมาธิก็ต้องมีปัญญาอีกเป็นป่วนประกอบมีแต่สติอย่างเดียวไม่มีสมาธิก็ไม่พอ ก็ต้องมีธรรมประกอบกัน มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา การที่จะไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็ต้องมีสมาธิด้วย มีสติอย่างเดียวก็ไม่ถึง อย่างน้อยก็ต้องผ่านขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ) หรืออุปจารสมาธิ (สมาธิอันยังไม่ดิ่งถึงที่สุด) จึงจะได้ ต้องผ่านสมาธิ จิตจะต้องสงบกว่าปกติŽ

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอันไหนวิตก อันไหนวิจารณ์Ž

วิตกคือเรายกจิตขึ้นสู่ลมหายใจ เอาจิตมาไว้ที่ลมหายใจเราเอาสติมาไว้ที่ลมหายใจ เรียกว่าวิตก ไม่ให้ใจเราลอยไปคิดอย่างอื่น ให้ใจไปคิดถึงคนโน้นคนนี้ แต่เราหายใจอยู่ตลอดเวลานั้นคือไม่มีวิตก แต่ถ้าเราเอาจิตมาไว้ที่ลมหายใจหรือเอาไว้ที่ท้องยุบพอง หรือเอาจิตมาไว้ที่ยกเท้าก้าวไป เรียกว่าวิตกเหมือนกัน ยกขึ้น ก้าวไป วางลง วิจารณ์หมายถึงพิจารณาละเอียดขึ้นไปอีกว่ากายที่ก้าวไปนี้เบาหรือหนัก แล้วเราสงบหรือไม่สงบก็จะรู้ไปถึงตรงนั้น วิตกคือยกจิตขึ้นมาสู่ลมหายใจ วิจารณ์คือพิจารณาให้เห็นชัดในลมหายใจ พิจารณาเห็นชัดในกองลมมากขึ้นๆ แล้วก็รู้ว่าจิตสงบหรือไม่สบงแล้วก็วิจารณ์ออกมาได้ ถ้าหากเราทันอารมณ์มากขึ้นควบคุมจิตมากขึ้น จนจิตอยู่กับลมหายใจได้ชัดหรืออยู่กับการเคลื่อนไหว อยู่กับการทำสติก็เป็นปีติ พอเป็นปีติต้องให้มันสงบติดต่อกัน ต้องถือว่าอย่างนั้นจึงจะถือต้อง ธรรมะของพระพุทธเจ้าวางไว้ตายตัวอยู่แล้วเรื่องวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา เป็นหลักธรรมเบื้องต้น คนเราพอมีเอกัคตาแล้วจิตจึงจะพิจารณาอย่างอื่นได้ ถ้าไม่มีเอกัคตาแล้วจิตก็จะสับสนวุ่นวาย จะพิจารณาอะไรไม่แตกหัก เพราะไม่มีอุเบกขา ตัดสินใจไม่แน่วแน่ความเชื่อมั่นก็ไม่มี เข้าใจแล้วใช่ไหมวิตก วิจารณ์ ถ้าเราไม่ปฏิบัติแล้วเราจะไม่เข้าใจ ถ้าเราปฏิบัติแล้วเราจะเข้าใจ ทุกคนมีทั้งนั้นแหละวิตก ใช่ไหม? วิจารณ์ก็มีทุกคนนั่นแหละ แต่ปีติจะเกิดได้ต้องวิจารณ์ให้มากขึ้น ตามรู้จิตให้มากขึ้น ว่าจิตเราสงบหรือไม่สงบ ตามรู้ลมให้มากยิ่งขึ้นปีติจึงจะเกิด ถ้าตามไม่ทันปีติก็ไม่เกิดปีติก็ไม่ได้ ตัวปีตินี้เป็นตัวขยัน ถ้ามีปีติแล้วไม่ปวดไม่เมื่อย ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่หิว โรคภัยไข้เจ็บอะไรมันเบาบางลง และรู้สึกว่าเราไม่ท้อถอย แม้แต่ความหนาวก็เหมือนไม่หนาว หิวก็ไม่หิว ร้อนก็ไม่ร้อน เพราะปีติเป็นอาหารใจจะทำให้มีกำลังใจปฏิบัติ พอปีติดับนิวรณ์เข้ามาก็ขี้เกียจต่อ บางคนทำๆ ไปแล้วก็เลิกทำ บางคนก็ขยันเป็นพักๆ บางคนก็ทำสม่ำเสมอ ปีตินี้ถ้าผู้ปฏิบัติได้พบแล้วก็เหมือนกันทุกคนนั่นแหละ ถ้าปีติอย่างแรงกล้า เวลานั่งแล้วตัวลอยไปเลย ปีติอันนี้ถ้าพูดตามหลักสมัยนี้ตัวไม่ลอย แต่พอเข้าฌานแล้วก็จะเป็นนิมิตของตัวเองลอยออกไป ออกไปเที่ยวโน้นเที่ยวนี่ มันเป็นปีติ แล้วก็เอาจิตตรงนั้นมาไว้ที่ตัวเองไม่ให้นิมิตออกข้างนอกกาย เราจะเห็นตัวเองลอยออกจากร่างตัวเอง นอนอยู่ก็ลอย นั่งอยู่ก็ลอย ไปเที่ยวโน้นเที่ยวนี่ได้ ที่ว่าไปดูนรกสวรรค์นั่นแหละปีติออกไป เอากลับเข้ามาพิจารณาร่างกาย จนสงบ พอปีติดับไปแล้วมันก็สุข บางคนปีติเกิดขึ้นเป็นเดือนๆ เกิดทุกวันๆ นั่งเมื่อไรก็ปีติ นั่งพิจารณาธรรมอะไรก็ปีติ พอปีติดับแล้วธรรมะก็เกิดแล้ว ทุกคนต้องประสบ ถ้าปฏิบัติอย่างนี้จะได้เร็ว พอมาเข้าคอร์ส ปีติ สุข เอกัคตาจะเกิดได้เร็ว เพราะเรามีสติได้มากกว่าคนที่ไม่ภาวนาต่อเนื่องŽ

สมมติว่าปฏิบัติจนปีติเกิดแล้ว พอมาฟังธรรมเฉยๆ ก็เกิดน้ำตาไหล ขนลุกขนพองŽ

ก็เป็นได้ ธรรมะก็เหมือนกันนั่นแหละเพราะเราก็ปฏิบัติอยู่แล้ว การฟังธรรมจิตมันก็เป็นไปตามธรรมะเหมือนกัน สมัยพระพุทธเจ้าคนฟังธรรมไม่ต้องนั่งสมาธิก็สำเร็จ มีปีติ มีความสุขเหมือนกัน ก็ต้องอาศัยความเพียร ต้องขยันŽ

มีอยู่ข้อหนึ่งที่ได้มาจากหลวงพ่อสอนเรื่องการฉันอาหารกายกินแต่ใจไม่ได้กิน กายกับใจมันคนละส่วนกัน ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่ติดรสอาหารเท่าไรŽ

ก็ใช่..กายมันเคี้ยวแต่จิตไปคิดอย่างอื่น คนเวลาโกรธ ถ้าแยกใจได้ก็จะไม่โกรธ แยกจิตได้ก็จะไม่โกรธ เวลาคิดอะไรมากๆ แล้ว จิตกับกายก็ต้องแยกกันได้ ถ้าแยกกันได้จะรู้ทันจิตตัวเอง ก็จะดับทุกข์ที่จิตได้ คนที่ดับทุกข์ที่จิตไม่ได้โดยมากก็จะไม่ทันจิตตัวเอง คิดไปไหนก็จะไปตามจิต แต่ถ้ารู้ทันจิตก็จะหยุดอยู่ตรงนั้น จะดับอยู่ตรงที่จิตมันเกิดนั่นแหละ ก็เรียกว่ารู้จักสติรู้จักจิตตัวเอง เวลาปฏิบัติก็ต้องเจอตรงนี้ เจอจิตตัวเอง ไปเข้าใจจิตตัวเอง ไปรู้จักจิตตัวเองŽ

แล้วเราจะรู้จิตของตัวเองได้อย่างไรเจ้าคะ ด้วยการทำสมาธินี้หรือค่ะŽ

เรา..ยังไม่รู้จิตตัวเองอีกหรือ?Ž

ไม่แน่ใจคะŽ

ไม่แน่ใจ.! เวลานั่งแล้วใจคิดอะไรล่ะ..Ž

ก็คิดแต่พุทโธค่ะŽ

ไม่คิดถึงบ้านเลยเหรอ..ไม่คิดถึงคนโน้นคนนี้บ้างเหรอ..Ž

คิดถึงก็คิดถึงอยู่คะ แต่ว่าคิดอยู่ใกล้ๆ ตัวไม่ค่อยได้คิดไปไกลตัวเท่าไรŽ

ก็นั่นแหละจิตล่ะ แล้วเวลาที่เราไม่นั่งเราเคลื่อนไหวเราเห็นหรือเปล่าล่ะ เวลาเราคุยเราเห็นไหม? ไม่เห็นใช่ไหมŽ

ไม่เห็นค่ะŽ

ถ้าเห็นแล้วมันจะเห็นตลอดเวลา ต่อไปถ้าเห็นได้มันจะเห็นได้ตลอดเวลา แม้แต่คุยหรือคิดไปไหนก็เห็น ต้องดูไปเรื่อยๆ ก็ดูใกล้ตัวนั่นแหละจิตทั้งหมดนั่นแหละที่มันคิดอยู่ใกล้ตัว แว๊บไปหาคนโน้นแว๊บไปหาคนนี้ กังวลโน้นกังวลนี้ นั่นแหละคือจิต จิตไม่มีตัวตน แต่เราเห็นได้ใช่ไหมว่าคิดเรื่องอะไร ต้องตามดูตรงนั้นแหละจึงจะรู้ว่าเห็นจิตหรือไม่เห็นจิต นั่นเป็นเหตุของมันคำตอบอยู่ตรงนั้นแหละŽ

หลวงพ่อคะ เวลาเดินจงกรมต้องภาวนาด้วยใช่ไหม?Ž

เราเดินกำหนดที่ก้าวไป..ใช่ไหม?Ž

ใช่ค่ะŽ

ก็นั่นแหละกำหนดภาวนาแล้ว สติเป็นตัวภาวนาŽ

เวลาตอนเย็นก็เดินจงกรมอีกรอบหนึ่ง ตอนนี้ระหว่างเดิน ก็เพ่งสายตาไปที่จุดเดียว ตอนนี้แน่นหน้าอกเจ้าคะŽ

จิตออกนอก จิตต้องอยู่ที่เท้าซิ ตาก็เพียงแค่ทอดต่ำไปดูว่าเราเดินไปตรงนั้น แต่สติต้องอยู่ที่เท้า พอจิตเพ่งออกไปก็คล้ายกับว่ามันเพ่งเกินไปจึงเกิดกดดันขึ้น ทำให้เกิดแน่นหน้าอกขึ้นได้ เป็นเคลียดไปŽ

หลวงพ่อคะ พอจิตเกิดปีติแล้วบางคนเห็นเป็นปราสาทบางคนก็บอกว่าเห็นเป็นองค์พระ บ้างก็น้ำตาไหล แต่ละคนเหมือนกันหรือเปล่าเจ้าค่ะŽ

จะไปถามกับใครล่ะ..ของใครของมัน ขอให้เป็นปีติมันก็เหมือนกันหมดนั่นแหละ จิตมันก็ปีติเหมือนกัน ปีติขั้นต้นก็ปีติขนลุกน้ำตาไหลก็มี ตัวลอยตัวเบานี้เป็นปีติชั้นสูง ก็ถือว่าเป็นปีติทั้งนั้นแหละ เช่นว่าคุณนั่งขนลุกไหม? ถ้าขนลุกแสดงว่าเหมือนกัน น้ำตาไหลไหม?ไหลเหมือนกัน ตัวเบาเหมือนตัวลอยไปเลย ลักษณะจิตเหมือนกัน แต่การรู้เห็นเป็นเรื่องของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ปีติขั้นไหนก็เหมือนกันหมด ขั้นตัวเบาก็ตัวเบา ขั้นน้ำตาไหลก็น้ำตาไหลเหมือนกัน ขั้นขนลุกก็ขนลุกเหมือนกัน ถ้าเกิดปีติจะขยันภาวนา ก็อยากจะปฏิบัติต่อ พระพุทธเจ้าท่านมีปีติสุดยอดปีติท่านดับไปแล้วท่านเสวยวิมุติสุขอยู่ได้ถึงเจ็ดสัปดาห์ ปีติท่านมากกว่าคนธรรมดา เรา..ก็ปีติได้เหมือนกันแค่อดข้าวได้ตอนเย็นไม่ถึงกับอดเป็นสัปดาห์ถ้าปีติขนาดนั้นอดเป็นสัปดาห์ก็ไม่เป็นไร ถือว่าเป็นปีติแรงกล้า เสวยวิมุติเสวยปีติ เหมือนอย่างเทวดามีปีติมากเขาไม่กินอาหารได้สิบห้าวัน เทวดากินอาหารทิพยิ์อิ่มไปได้สิบห้าวัน อาหารของเขาละเอียดกว่าอาหารของเรา เรียกว่าอาหารทิพย์ อาหารบุญ นั่นเพราะเขามีปีติมาก. พระพรหม ไม่ต้องกินอาหาร ถือว่าเสวยพรหมวิหาร ๔ เขาไม่ต้องกินอาหารเพราะจิตละเอียดกว่าเทวดา ปีติมีมากกว่า สุขมากกว่า อุเบกขามากกว่า มนุษย์นี้มีปีติน้อย ก็ต้องกินอาหารหนัก พระพุทธเจ้ามีปีติมาก ไม่ต้องเสวยอาหารได้ ๗ สัปดาห์ อยู่ที่กำลังใจทุกอย่างมาจากใจเป็นส่วนใหญ่ จิตเป็นผู้ให้จิตเป็นผู้ได้ แต่กายเป็นเครื่องมือ ถ้าเราทำสมาธิชั้นสูงได้ ตายก็ไปเป็นพรหม ก็แสดงว่าได้จากจิต ถ้าเราทำไม่ถึงพรหมก็เป็นเทวดา นี่ก็ไปจากจิต ไปได้กินอาหารทิพย์ นี่มาจากจิต ถ้าหากเราทำได้สูงสุด ไม่ติดกายก็ไปถึงนิพพาน ถือว่าพ้นทุกข์ได้ ก็ไปจากจิต จิตทั้งนั้นแหละ กายนี้เป็นบ่าว คนที่เกิดมาบ้า ใบ้ หูหนวก ตาบอด พิกลพิการ พลัดที่นาคาที่อยู่ มีปัญหาก็มาจากจิตทั้งนั้นแหละ จิตคือผู้สร้างมา วิบากคือผลที่มันมาให้กับกาย แต่เราไปโทษปัจจุบันของโลกนี้ ไม่โทษว่าจิตเป็นผู้ห่อสิ่งเหล่านี้มาขยายผล มาเพาะพันธุ์ เพาะเชื้อ แต่พระพุทธเจ้าท่านค้นพบแล้ว ว่าจิตมี ๒ กรรม คือ กรรมดีกับกรรมชั่ว แล้วก็มาละกรรมดีกรรมชั่วก็มาเป็นพระพุทธเจ้า ที่จริงมนุษย์ได้มา ๒ กรรม แต่ยังมีกรรมพิเศษที่มนุษย์ได้มาอีกคือ กัมมะพันธุ กรรมเป็นเพราะเผ่าพันธุ์พวกพ้องพี่น้อง มาให้ผลกับพี่น้องตัวเอง กับครอบครัวตัวเองอีก นั่นก็เรียกว่ากัมมะพันธุ มาให้ผลคล้ายๆ กัน มีนิสัยก็เหมือนกัน สายเลือดเหมือนกัน มีDNA เหมือนกัน เป็นกรรมแยกกันไม่ออกเลยสายพันธุ์เหมือนกัน หน้าตาคล้ายกัน จิตใจคล้ายๆ กัน วิบากกรรมคล้ายกัน เพราะเป็นเรื่องของกัมมะพันธุ แต่ที่จริงก็มาจากจิตนั่นเอง เหมือนอย่างคนที่ถูกเผาบ้าน ถูกเผาเมือง พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า เป็นกรรมที่หนีไม่พ้นเพราะเคยฆ่าสัตว์ร่วมกันมาทั้งเมืองพวกเบื่อปลา หาปลากินกันตลอดชีวิต โดยที่ไม่ยอมแก้กรรมเลย พอกรรมนั้นมาให้ผลในชาตินี้ก็ ๕๐๐ ชาติ ต้องโดนฆ่าตาย โดนเผาบ้านอะไรอย่างนี้ นั่นเป็นเพราะกัมมะพันธุตามมา มาเป็นกับญาติพี่น้องของตัวเองหมดเลย เรียกว่าเป็นกรรมที่ยังใช้ไม่หมด ยิ่งคนสมัยนี้ยิ่งสร้างกรรมมากใหญ่เลย เพราะว่าอาชีพฆ่าสัตว์มาก ทำบาปมาก สมัยก่อนแค่ต้มเหล้ากิน ขายก็แค่หมู่บ้านเดียว แต่สมัยนี้ต้มขายทั่วโลกเลย ทำบุหรี่แค่หั่นยาสูบกันเอง แต่เดี๋ยวนี้มอมเมากันไปทั่วโลกเลย เปิดบ่อนก็แค่เล่นบ้านเดียว เดี๋ยวนี้เปิดบ่อนเล่นทั่วโลกเลย ใช่ไหม? เดี๋ยวนี้คนทำกรรมมาก ฆ่าสัตว์ก็ฆ่าแค่กินตัวเดียว ทั้งหมู่บ้านก็กินกันแค่ตัวเดียว แต่เดี๋ยวนี้วันหนึ่งฆ่าเป็นล้านๆ ชีวิต ปลาก็จับแค่ปลาที่มาตามหนองตามบึงกินกัน แต่สมัยนี้เลี้ยงขายกัน เลี้ยงฆ่ากันอย่างหนักเลย กุ้ง ปลา หมู เป็ด ไก่ คนสมัยนี้โอกาสทำบาปมากกว่าสมัยพระพุทธเจ้า ใช่ไหม? สมัยก่อนปืนผา หน้าไม้ ก็ไม่มี ใช่ไหม? จะฆ่ากันก็เอาอาวุธไปฆ่ากันแค่ตัวต่อตัวสมัยนี้เอาระเบิด ไปบอมส์ บึ๊ม!! แล้วคนที่ไม่รู้เรื่องด้วยก็ตายหมดเลย คนสมัยนี้จะทำบาปแรง ทำบุญก็ทำได้มาก เพราะว่าคนสมัยนี้ทำบุญก็ทำได้ข้ามโลกเลย อยู่เมืองไทยไปทำบุญที่อเมริกาก็ได้อยู่อเมริกามาทำบุญที่เมืองไทยก็ได้ มีเสื้อผ้า หยูกยารักษาโรค ส่งไปประเทศโน้นประเทศนี้ช่วยได้หมดเลย ฉะนั้นมนุษย์นี้มีโอกาสทำอะไรได้รุนแรงกว่าสมัยพระพุทธเจ้า จะเผยแพร่ก็เผยแพร่ได้เร็ว สมัยก่อนก็แค่บอกปากต่อปาก สมัยนี้ออกโทรทัศน์ ออกวิทยุ ออกหนังสือพิมพ์เผยแพร่ ฉะนั้นจึงว่าเป็นกัมมะพันธุ ทำไมคนจึงมาเกิดตอนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่สองเพราะเป็นกัมมะพันธุ เพราะชวนกันทำบาปเยอะ ใช่ไหม? แล้วจะยิ่งทำกันอีกเท่าไรนี่ยิ่งหาอะไรพิเศษได้ เหมือนสมัยก่อนนี้ก็หากันแค่ มีสุ่ม มียอ มีแห ใช้มือจับ สมัยนี้ใช้เรด้าจับเลย เรือไทยเรือต่างประเทศปลาอยู่ตรงไหนรู้หมดเลย ใช้เรด้าจับหมดเลย ร้ายกาจมากเลย แล้วก็เป็นเรื่องสนุกสนาน เป็นเรื่องถูกต้องตามกฎหมาย เป็นเรื่องที่คนต้องยึดอาชีพนี้จึงจะอยู่ได้ ต้องส่งออกนอกเพื่อจะมาเลี้ยงคน ถ้าไม่อย่างนั้นกำไรไม่มี ร่วมทำบาปกันทั้งประเทศเลยนะ หลวงพ่อเจ้าค่ะคนสั่งฆ่ากับคนฆ่าใครบาปมากกว่ากันเล่าคะ? ก็พอๆ กันนั่นแหละ แต่คนสั่งฆ่านั้นเขาใช้หัวสมอง เจ้าคนนี้จะต้องมีกรรมทางหัวสมอง คนที่ฆ่านี้ต้องมีกรรมทางกาย มันจะมีโทษต่างกัน คนที่สั่งฆ่านั้นก็จะเป็นโรคสมองฝ่อ สมองเสื่อม คนที่ฆ่าก็พิกลพิการอะไรอย่างนี้ ก็จะได้รับผลกรรมต่างๆ กัน พ่อสมองเสื่อมลูกพิการอาจจะอย่างนั้น แล้วคนที่รับประทานเล่าคะ? คนที่ทานเหรอ..คนที่ทานก็อิ่มไปซิ! คนที่รับประทานถ้ารับประทานแล้วยินดีนั่นถือว่าเป็นกรรมร่วมกันด้วย ถ้ารับประทานแล้วเราพิจารณาว่าอาหารที่ได้มาเป็นธาตุ ๔ เราไม่ได้ยิน เราไม่รู้ว่าเขาฆ่าเพื่อเรา เรากินเพื่อยังเวทนา แล้วกินเป็นธรรมะนี้ไม่บาป ฉะนั้นจึงว่าจิตนี้เป็นใหญ่ ในโลกนี้ถือว่าจิตเป็นใหญ่ที่สุด ไม่มีใครจะใหญ่เท่าจิต ถ้าพูดถึงอิทธิพลทั้งหมดนี้อยู่ที่จิต เรียกเป็นธรรมะว่าใหญ่ที่สุดในโลก มาจากเหตุอันเดียวกัน ฉะนั้นจึงต้องแก้จิตอย่างเดียว โลกนี้จะให้มีความสุขต้องแก้ที่จิต เพราะว่าถ้าจิตดีอะไรก็ดีหมด จิตเสียก็เสียหมด รู้อย่างนี้แล้วก็เหมือนน่าจะแก้ได้นะ! รู้ปัญหาแล้วไม่มีอะไรแก้ที่จิตอย่างเดียว คนเราจะทะเลาะกัน ทะเลาะเรื่องจิต ความเห็นไม่ตรงกัน ไม่ใช่เดินไม่ตรงกันใช่ไหม? คนจะโกงกันโกงที่จิต จะรักกันก็รักที่จิต ทำอะไรก็เรื่องจิตทั้งหมด ฉะนั้นพระพุทธเจ้าสอนไว้เลยว่า จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวังได้ ถ้าจิตเป็นทุกข์ก็ไปสู่ทุคติ จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ เมื่อจิตเป็นสุขก็ไปสู่สุคติ ฉะนั้นจึงว่าจิตเท่านั้นแหละจึงจะเป็นผู้นำโลกได้ นำความสุขและทุกข์มาให้แก่ตัวเองได้ ไม่มีใครเลย ถ้าพูดกันแล้วตำราทุกเล่มในมหาวิทยาลัยต้องมาลงที่จิตให้หมดจึงจะจบได้ดี ไม่ว่าวิชาใดทั้งหมดต้องมาลงที่จิตแล้วก็จะสงบโลกนี้จะไม่วุ่นวาย รู้ว่าทุกข์มาจากไหนค้นหาเหตุได้ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าท่านค้นหาเหตุได้ว่า ทุกข์มาจากไหน? ทุกข์มาจากการปรุงแต่ง ทุกข์มาจากการสับสนวุ่นวายทุกข์มาจากความอยากดิ้นรนไปทั่ว ความทุกข์เกิดจากสมุทัย ทำให้เกิดทุกข์ คือความอยากดิ้นรน คือทำอย่างไรจึงจะดับทุกข์ได้ บอกว่าต้องรู้ทันจิตตัวเอง พอรู้ทันจิตตัวเองก็ดับทุกข์เลย ถ้าไม่รู้ทันจิตก็ไม่ดับทุกข์ เท่านั้นเอง ให้ยืนเดินนั่งนอนถ้าไม่รู้ทันจิตตัวเองก็ไม่ดับทุกข์ พอรู้ทันจิตก็ดับทุกข์ได้เลย เข้าใจไหม? หลวงพ่อเจ้าคะ ให้ตัดใจเรื่องลูกโยมตัดไม่ได้เลยค่ะ? ตัดไม่ได้ก็อย่าไปตัดมันซิ..ไม่มีใครบังคับโยมนิ มันวางไม่ได้เลยคะ? ก็คิดให้มันเป็นแม่เราบ้างซิ..เราเป็นลูกมันบ้าง เดือนเดียวก็ตัดได้ คิดว่าเราเป็นลูกมันบ้าง มันจะได้คิดถึงเราเหมือนเราคิดถึงมันบ้าง เป็นแม่เป็นห่วงใช่ไหม? เป็นลูกมันไม่ห่วงแม่ใช่ไหม? แล้วโยมทำไมไม่คิดให้มันเป็นแม่เราบ้างล่ะ เราจะได้เป็นลูก จะได้ไม่ต้องคิดถึงแม่มั้ง โยมไปสมมุติว่าเป็นแม่อยู่เรื่อยนี่ ไม่ยอมเป็นลูกสักที เราไม่เข้าใจตัวเรา เราไม่เข้าใจจิตเรา มันเป็นกรรมร่วมกันนะโยม เราให้เขาหมดทั้งกายทั้งใจ เขาไม่ได้ให้เราเท่ากับที่เราให้เขา ให้ไม่เท่ากัน ถ้าลูกดีๆ ก็จะให้เราเท่ากับเราให้เขา เราก็จะไม่ห่วงเท่าไร ส่วนมากพ่อแม่ห่วงลูก กลัวลูกเอาตัวไม่รอด ห่วงลูกไม่เก่ง แต่ถ้าลูกเก่งแล้วจะไม่ห่วง ส่วนลูกสาวโยมไม่ห่วงเลย ห่วงลูกชายคนเดียว ปล่อยมันไปเถอะลูกชายคนเดียว มันก็ว่ามันเก่งกว่าโยมอีก โยมหาว่ามันไม่เก่งเอง มันก็ว่าแม่ไม่รู้เรื่องอะไรไม่เก่ง มันเก่งเอาตัวรอด เวลามันไม่มีมันมาแบมือขอเรามันก็เก่งกว่าเราอีก เราต้องให้มัน..นี่แหละทาสของความรัก มีรักมีทุกข์ พระพุทธเจ้าบอกว่า มีรักที่ไหน มีทุกข์ที่นั้น รักมากก็ทุกข์มาก ก็โยมอยากเลี้ยงลูกไม่เก่งเองนิ ต้องโทษแม่เลี้ยงลูกไม่เก่งเอง ถ้าเลี้ยงลูกเก่งก็เอาตัวรอด สมัยก่อนเขาเลี้ยงลูกเก่งเขาก็หมดห่วง ที่จริงที่ห่วง ห่วงลูกไม่เก่ง ลูกไม่ฉลาดทันเขา ลูกไม่ดีเท่าเขา ลูกไม่เจริญเท่าเขา เรียนไม่เท่าเขา ประพฤติตัวไม่ดีอะไรอย่างนี้จะห่วง แต่ถ้าลูกเราเป็นคนดีสังคมยอมรับ เป็นคนเก่งเอาตัวรอดได้ เราหมดห่วงเลย โดยมากพ่อแม่จะทุกข์กับลูกไม่เก่ง ไม่ปลื้มใจ ก็ให้มาบวชบ้างซิ มาเข้าคอร์สสมาธิบ้างซิ โยมก็บอกแล้วคะแต่ภรรยาเขาไม่ยอมให้มา ก็ยังเป็นทาสกันอยู่ ก็จะไปห่วงมันทำไมเขามีภรรยาแล้วยกให้ภรรยาเขาไปเถอะ ขนาดนั้นแล้วจะห่วงทำไมอีก ก็อย่างว่านะคนมันจะห่วง กลัวเขาเอาตัวไม่รอดอีก ลงทุนเท่าไรก็หมดตัวไม่เหลือ แล้วยังเป็นหนี้เขาอีกคะ ก็บอกให้มันมากราบเท้าแม่ทุกวันซิ...เขาบอกว่าอยากรวยให้มากราบเท้าแม่ทุกวัน เรื่องรวยไม่รวยหรอกคะหลวงพ่อ แต่มันเป็นปัญหาที่ว่าถ้าไม่ตามใช้หนี้ให้ก็จะโดนจับไปติดคุกอีก แล้วเขาก็ไม่ค่อยรู้หนังสืออีกด้วย ใครไม่รู้หนังสือ? ลูกชายเจ้าคะ ทำไมไม่รู้หนังสือล่ะ ไปอยู่ที่ไหนไม่ยอมเรียนหนังสือ ไปเรียนหนังสือต่างประเทศมาหรือไง? ไม่ใช่คะ..โรงเรียนก็ไป แต่เขาบอกว่าเวลาครูตี วันหลังก็ขึ้นรถไปแล้วก็ไปลงที่อื่น เวลาโรงเรียนเลิกก็กลับมาบ้าน แล้วบ้านโยมที่ลูกสาวซื้อให้ ใส่ชื่อลูกสาวไม่ได้ ก็ฝากใส่ชื่อน้องไว้ ภรรยาเขาก็นำไปจำนองจำนำหมด ไม่เป็นไรหรอก มันไม่หมดตัวหรอกตัวมันยังอยู่ ไม่เป็นไรมันหมดแล้วมันจะได้มาอยู่วัด เข้าวัดเลย มีหลายคนแล้วทำอะไรๆ ก็ขาดทุน ก็เลยมาอยู่ที่วัดสังฆทาน พี่น้องเป็นหมอ มีหน้าที่การงานใหญ่ๆ โต แต่เจ้าคนนี้มันเกเรไม่เรียนมาก ผลที่สุด พอไปมีลูกมีเมียทำอะไรก็ขาดทุนหมด แม่ก็เลยไปอธิษฐานต่อหน้าหลวงพ่อโต (ชื่อพระประธานวัดสังฆทาน) เมื่อไปชวนลูกชายมาวัดขอให้ลูกมาบวช คราวนี้พอมันหมดตัวก็มาเลยโยม นี่หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์เอามาได้ พอมาเจออาตมาก็คุยกัน ก็เลยตัดสินใจบวช ก็ให้บวชผ้าขาว เดี๋ยวนี้ได้บวชพระแล้วเกลี้ยงเกลาแล้วคราวนี้พอมาบวชพระ คิดว่าจะไม่มาเสียแล้ว ตอนนี้สบายไปแล้ว พอหมดแล้วมาได้ ต้องปล่อยให้มันหมดโยมเดี๋ยวมันมาเอง คนอย่างนี้ต้องปล่อยให้หมดโยม อย่าไปรับมัน ถ้าปล่อยให้หมดนั้นจะดีกว่าที่อยู่ ถ้าหากว่าโยมไม่ปล่อยให้หมดนะโยมจะต้องหมดไปด้วย แล้วจะไม่เหลือเลย ต้องปล่อยให้หมด เชื่ออาตมาซิ ให้หมดเร็วเท่าไรยิ่งดีคนอย่างนี้ นี่มันไม่เชื่อพ่อแม่หรอก มันก็ไปเชื่อผู้หญิงมากกว่าพ่อแม่ นี่โยมคิดผิดเองไม่ใช่ลูกโยมคิดผิด โยมคิดผิดลูกโยมก็เลยไม่กลับมาทางนี้ คนอย่างนี้ต้องปล่อยให้หมดตัว อย่าไปค้ำจุนอะไรทั้งหมดติดคุกติดตะรางก็ปล่อยให้มันติด ออกมาเดี๋ยวมันก็มาบวชได้ คนอย่างนี้ไม่ควรสนับสนุนเลยสักบาทเดียว ปล่อยเลย ตัดทิ้งเลยโยม โยมปล่อยทิ้งเลยนะ มันจะติดคุกติดตะรางช่างมัน แล้วโยมจะได้ลูกคืนมาแต่ถ้าโยมไม่ทำตามอย่างนี้นะ โยมจะไม่ได้ลูกคืนมา ลูกโยมจะไปหาเงินให้ผู้หญิงอยู่อย่างนั้นเอง ถ้าลักษณะอย่างนี้ปล่อยทิ้งได้ อย่างคนที่พูดถึงเมื่อกี้..เขาก็ยังไม่ถึงขนาดนี้นะ พอเขาเลี้ยงครอบครัวไม่ได้ ต่างคนก็ต่างไปเหมือนกัน พอไม่มีแล้วผู้หญิงก็ต้องไป มีลูกด้วยกันสองคน ญาติพี่น้องก็เก็บมาเลี้ยง พี่น้องทางผู้ชายฐานะดี ที่เป็นหมอก็นำลูกๆ มาเลี้ยงให้ ภรรยาไปทางคนนี้ก็ไปอีกทาง ที่สุดพอพ่อแม่ไม่ให้ พ่อแม่เข้าวัดปุ๊บ! ตัวเองก็ต้องมา แต่ถ้าพ่อแม่ยังตามช่วยอย่างนี้ เขาจะไม่มีทางมาตามแม่ ฉะนั้นลักษณะของโยมนี้ต้องปล่อยทิ้งเพราะคนที่ว่านี้เขาก็ต้องตัดสินใจเพราะว่าไม่มีจะให้แล้ว พอให้ก็หมดตัว แล้วพี่น้องก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เอาล่ะ..ฉันรับภาระเรื่องลูกแกได้ แต่ว่าเรื่องหนี้สินนั้นไม่รับ ฉันรับลูกแกมาส่งเรียนหนังสือได้ ส่วนตัวแกตัวใครตัวมัน ผลที่สุดเมื่อตัวเองอยู่ไม่ได้ ก็ต้องทิ้งลูกตัวเองทิ้งภรรยาตัวเอง ตัวเองก็ต้องร่อนเร่ซิ ไปอยู่แบบอดๆ อยากๆ พอกลับตัวใหม่ก็เริ่มต้นที่ดีได้โยมเป็นแม่ก็ต้องตัดสินใจได้แล้ว พอกลับบ้านไปแล้วทิ้งมันเลย บอกว่ากูไม่เอาแล้ว กูตัดกิเลสได้แล้ว บอกว่าหลวงพ่อบอกให้ตัดมึงแล้ว ไปไหนก็ไปเถอะ ที่จริงแล้วถ้าโยมไม่ตัดโยมจะพาลูกสาวโยมเดือดร้อนด้วยแล้วไม่มีที่สิ้นสุดคนๆ นี้ เพราะคนโง่นะ ลูกชายโยมไม่ฉลาดนะ ถ้าลูกฉลาดนี่ไม่เป็นไร แต่ถ้าเลี้ยงลูกโง่นี่ให้มันตายไปเลยเสียดีกว่า จริงนะจะหมดห่วง จะร้องไห้ไม่กี่วันหรอกถ้ามันตายนะ อย่างนี้โยมจะต้องร้องไห้ตลอดชีวิตเลย ถ้าเลี้ยงลูกโง่แล้วมันก็ทำไม่ถูกอย่างนี้ อาตมาก็คิดอย่างนี้แหละ ถ้ามันดีเราก็ควรจะบูชามัน ใช่..! แกไม่มีลูกแกก็ไม่รู้ใช่ไหม? ไม่ใช่ลูกของแก แกก็ไม่รู้! ใครจะตัดลูกได้ทั้งคน ใช่..จริงแหละ แต่ถ้ามันสุดทางก็ต้องหาทางตัดใช่ไหม? ลักษณะที่โยมเล่าให้อาตมาฟังนี้นะ อาตมาวิเคราะห์แล้วมีทางเดียวที่อาตมาพูดนี้คือต้องปล่อยเลย แล้วลูกของโยมจะกลับคืนมา จะได้ลูกคืน แต่ถ้าโยมไม่ปล่อยโยมจะไม่ได้ลูกคนนี้คืนในทางที่ดี ต้องไม่ใช้หนี้ใช้สินปล่อยมันเลย ตามเรื่องของมึง มึงจะติดคุกติดตะราง โยมไม่ต้องไปรับใช้หนี้ อันนี้จะเป็นบทเรียนสอนให้เขาฉลาดเราไม่ได้ดูถูกคนที่ไม่รู้หนังสือว่าโง่นะคนที่ไม่รู้หนังสือเมื่อสมัยก่อนก็ฉลาดเป็นพระอรหันต์ก็มี เอาตัวรอดก็เยอะแยะ แต่คนๆ นี้เขาไม่สามารถใช้ชีวิตของตัวเองให้ถูกต้อง เขาไม่เลือกคบคนที่นำลาภมาให้เขา มีแต่คนมาทำให้เขาเดือดร้อน เขาคบคนไม่เป็นเอง ถ้าเขาคบคนฉลาด คนที่ดีกว่าเขา เขาก็จะเอาตัวรอด ลูกสาวลงทุนให้เยอะเลยค่ะ ไปเปิดร้านขายเสื้อผ้าที่ห้างมาบุญครองให้ แต่พอทำแล้วก็เจ้ง.. คนๆ นี้มีอย่างเดียวต้องมาอยู่วัดแหละดีโยม ไปทำอะไรก็ไม่สำเร็วหรอก ถ้าอย่างนี้โยมจะอุปถัมภ์อย่างไรก็ไม่สำเร็จมีแต่ล้มละลายอย่างเดียว อย่างนี้เขาเรียกว่าคนดวงแตก ไปไม่รอดหรอก เห็นมาเยอะแล้วพวกที่ทำแบบนี้ ที่จริงโยมแก้ช้าเอง โยมควรจะปล่อยทิ้งตั้งนานเนแล้ว ได้ลูกไม่ดีก็ลำบากนะ โยมพยายามถามตัวเขาว่าทำไมถึงทำอย่างนี้ คือบางคนเขาก็คิดได้นะโยม คิดรวยทุกทีแหละเวลาทำ คิดทำอะไรใหญ่โตคิดรวยทุกทีแหละ แต่ว่าพอทำไปแล้วมันไม่ได้ คนพวกนี้พอคิดทำอะไรเขาจะคิดร่ำรวย คิดโน้นคิดนี่คิดสำเร็จหมดแหละพอทำไปแล้วมันพังทุกที คล้ายๆ กับว่าเขาไม่รู้จักเริ่มต้นเอาน้อยๆ เขาเอาทีเดียวให้รวยเลย โดยมากจะคิดเอาทีเดียวให้รวยเลย แล้วก็จะพังทุกที คนที่คิดให้รวยเลยนี่จะพัง ถ้าคนคิดน้อยๆ ว่าคิดจากน้อยไปหามากเขาจะไม่ค่อยพัง แล้วอีกอย่างคนที่สบายมาแล้วจะคิดลำบากไม่เป็น คิดแต่สบายอย่างเดียว คิดแต่จะลงทุนมากๆ อย่างเดียว แล้วก็แบมือขออย่างนี้ไม่มีทางเจริญ ไม่มีทางจะตั้งตัวได้ เพราะเขาวางแผนอยากได้เงินเอาไปลงทุนอย่างเดียว อย่างนี้มาทำขนมซาลาเปาขาย ไอติมขายยังรวยกว่าลูกชายโยมอีก แล้วก็ค่อยๆ ขยายไปเรื่อยๆ แต่นี้กะจะรวยเปิดห้างขาย..แล้วก็เจ้ง..ตัวเองก็ไม่ทันคนนี่ อย่างนี้ก็หมด ชักหน้าไม่ถึงหลัง เสียท่าเขาหมด อย่างนี้น่ากลัวนะ การลงทุนนี้ไม่ควรลงทุนเลย โยมก็ลงทุนให้เขาเป็นหลายครั้งแล้ว หยุดได้แล้วโยมอย่างพยายามเลย จบได้แล้ว ยิ่งยุคนี้ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย จบเลย..ทำบุญดีกว่า สบายใจกว่า

แสดงธรรมที่ วัดเขายายแสง วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๒

โดยหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ

แหล่งข้อมูล vimokkha.com