ตำราพิชัยสงครามของซุนวู บทที่ 6. ความอ่อนแอ-เข้มแข็ง (จีนตัวเต็ม: 虛實; จีนตัวย่อ: 虚实)

1. SUNTZU กล่าวไว้ว่า

กองทัพที่มาถึงสนามรบก่อน และรอคอยข้าศึกเป็นฝ่ายที่สบาย
กองทัพที่มาถึงสนามรบทีหลัง และเข้าต่อสู้เป็นฝ่ายที่ลำบาก และทรมาน

ยอดนักรบนั้นฝ่ายตนจะต้องเป็นฝ่ายควบคุมการรบ
หมายถึง ทำให้ข้าศึกเป็นดั่งเช่นตนคิด และไม่เป็นอย่างที่ข้าศึกคิด

การที่ฝ่ายเราจะทำให้ข้าศึกออกมาได้นั้น ชี้ผลประโยชน์เข้าล่อ
การที่ฝ่ายเราจะทำให้ข้าศึกไม่เข้ามาได้นั้น ชี้ถึงผลเสียนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้จึงสามารถทำให้ข้าศึกที่สุขสบาย เหนื่อยล้าได้ ทำให้ข้าศึกที่ท้องอิ่ม หิวโหยได้
การหลอกล่อข้าศึกที่อยู่นิ่งๆ ให้เคลื่อนไหว จึงทำได้นั่นเอง ..

2. โจมตีสถานที่ที่ข้าศึกต้องออกมาอย่างแน่นอน รุกอย่างรวดเร็วเข้าไปในที่ที่ข้าศึกคาดไม่ถึงการเคลื่อนกำลังเข้าไปในสถาน ที่ไกลโดยไม่เหนื่อย ก็คือเข้าไปในเส้นทางที่ไม่มีการต้านทานจากข้าศึกหลังจากเข้าโจมตี แล้วสามารถยึดได้ ก็คือการเข้าโจมตีที่ไม่มีการป้องกันจากข้าศึก หลังจากวางกำลังป้องกันแล้วเข้มแข็งแน่นอน ก็คือการรักษาที่มั่นที่ข้าศึกจะไม่เข้าตี

นักรบที่รุกเก่ง ข้าศึกไม่รู้ที่ป้องกัน
นักรบที่รับเก่ง ข้าศึกไม่รู้ที่จะเข้าตี
แยบคายลึกซึ้ง สุดยอดต้องปราศจากรูป
ลี้ลับมหัศจรรย์ สุดยอดต้องปราศจากเสียง
จึงเป็นอุปราชชี้ขาดชะตากรรมของข้าศึกได้

3. รุกเข้าไปแล้วไม่สามารถป้องกันได้เพราะว่ารุกเข้าไปในช่องว่างของข้าศึก ถอยออกมาแล้วตามไม่ทันเพราะว่ามิได้ติดตามไปอย่างรวดเร็ว

ฉะนั้นเมื่อฝ่ายเราต้องการรบ แม้ข้าศึกจะอยู่ในที่มั่นเข้มแข็งไม่ยอมออกรบ แต่การที่ข้าศึกจะอย่างไรก็ต้องออกมา ก็เพราะว่าฝ่ายเราโจมตีในที่ที่ข้าศึกจะต้องยกกำลังมาช่วยนั่นเอง

เมื่อเราไม่ต้องการรบ แม้จะมิได้วางกำลังป้องกันใดใด แต่ข้าศึกอย่างไรก็จะไม่ออกมาก็เพราะว่าสถานที่นั้นถูกลวงนั่นเอง

4. เพราะฉะนั้น ถ้าเราลวงข้าศึกให้ทราบชัดเกี่ยวกับกำลังฝ่ายเรา แต่เราซ่อนกำลังจริงไว้เมื่อข้าศึกแยกกำลังออกไป และเรารวมกำลังไว้ ถ้าเรารวมกำลังเป็นหนึ่ง และข้าศึกแยกกำลังออกเป็น 10 ส่วน ผลการปะทะกันฝ่ายเราจะมีทหารมากกว่า 10 เท่า เราจะเป็นฝ่ายมีกำลังมาก ข้าศึกจะเป็นฝ่ายมีกำลังน้อย ถ้าเราสามารถใช้กำลังใหญ่เข้าปะทะกับกำลังน้อยของข้าศึก ข้าศึกก็จะเป็นฝ่ายที่อ่อนกว่าเราเสมอ เมื่อข้าศึกไม่ทราบที่เราจะรบ ไม่ทราบเวลาที่เราจะรบ ข้าศึกจะกระจายกำลังออกป้องกัน เมื่อทำเช่นนั้น การปะทะกับฝ่ายเรา ข้าศึกจะเป็นฝ่ายน้อยกว่าเราโดยตลอดดังนั้น เมื่อกำลังใหญ่อยู่หน้า กองหลังจะเป็นกำลังน้อย เมื่อกองหลังกำลังมาก กองหน้ากำลังน้อย กำลังหลักด้านขวากำลังน้อยด้านซ้าย กำลังหลักด้านซ้ายกำลังน้อยด้านขวา จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้

เพราะฉะนั้นรู้สถานที่รบ รู้เวลารบ แม้ไกลแต่ถ้าควบคุมได้ควรรบ ไม่รู้สถานที่รบ ไม่รู้เวลารบ ซ้ายจะช่วยขวาก็ไม่ได้ ขวาจะช่วยซ้ายก็ไม่ได้ กองหน้าจะช่วยกองหลัง กองหลังจะช่วยกองหน้าไม่ได้

“ ตามที่ข้าพเจ้าคิด แม้ฝ่ายหนึ่งจะมีกำลังมาก แต่หากถูกหลอกล่อ ถูกลวง
อีกฝ่ายหนึ่งก็จะรวมกำลังมากกว่าฝ่ายแรกอยู่ร่ำไป ฝ่ายแรกย่อมมิอาจรบด้วยได้ ”

5. ฉะนั้นก่อนออกรบ เพื่อเข้าใจการหลอกล่อ การลวงของข้าศึก ต้องเข้าใจผลได้ผลเสีย กับสถานการณ์ข้าศึกให้แตกเสียก่อน ใช้การล่อให้ข้าศึกเคลื่อนไหวเป็นหลัก จับท่าทีของข้าศึกให้ได้รู้ที่ใดรบได้รบไม่ได้ ที่ใดได้เปรียบเสียเปรียบ มีกำลังน้อยกำลังมาก และเมื่อไรนั่นเอง

6. เพราะว่าสุดยอดของศักย์สงครามคือ “ ปราศจากรูป ” การปราศจากรูปนี้ แม้ข้าศึกมีสายลับแทรกซึมลึกซึ้งก็ไม่อาจรู้เราได้ แม้ใช้คนมีความรู้ก็คิดไม่ออก เพราะปราศจากรูป อ่านท่าทีเขาให้แตกใช้ท่าทีนั้นเปลี่ยนรูปเรา นำชัยชนะที่คนธรรมดามิอาจเห็นได้ คนธรรมดาแม้รู้จักชัยชนะของตนแต่ไม่ทราบจะชนะอย่างไร เมื่อใด และที่ใด

ดังนั้น สภาพของชัยชนะไม่ควรให้เกิดขึ้นซ้ำสอง
เปลี่ยนแปลงตามศักย์สงครามข้าศึกนับไม่ถ้วนจึงดี

7. ฉะนั้น ศักย์สงคราม รูปแบบทางทหาร จึงเหมือนน้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ หลีกเลี่ยงที่สูงเหมือนไม่ปะทะข้าศึกที่มีการเตรียมการดี โจมตีที่ที่มีการเตรียมการหลอก เอาชัยข้าศึกเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ข้าศึก เหมือนน้ำไหลตามรูปแบบภูมิประเทศ

เพราะฉะนั้นรูปแบบที่แน่นอนของการใช้กำลัง และศักย์สงครามจึงไม่มีเช่นเดียวกับน้ำที่ปราศจากรูป เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ลึกซึ้งยากจะคะเนได้