ตำราพิชัยสงครามของซุนวู บทที่ 4 ท่าที (จีนตัวเต็ม: 軍行; จีนตัวย่อ: 军行)

1. SUNTZU กล่าวไว้ว่า

ยอดนักรบ ตั้งมั่นในที่ซึ่งไม่มีใครอาจชนะเขาได้ รอคอยโอกาสซึ่งใครก็ได้อาจชนะต่อข้าศึกรูปแบบที่ไม่มีใครอาจชนะได้อยู่ที่ฝ่ายเรา รูปแบบที่ใครก็ได้อาจสามารถชนะได้อยู่ที่ฝ่ายเขาแม้จะเป็นยอดนักรบที่สามารถ ตั้งมั่นในที่ซึ่งไม่มีใครอาจชนะได้ ก็ไม่สามารถทำให้ข้าศึกตั้งอยู่ในที่ซึ่งใครใครก็อาจชนะได้จึงจำเป็นต้อง รู้จักอดทนรอคอย รูปแบบที่ไม่มีใครอาจชนะได้นั้น เป็นรูปแบบเกี่ยวข้องกับการตั้งรับ รูปแบบที่ใครก็อาจชนะได้ เป็นรูปแบบเกี่ยวข้องกับการรุก รับเนื่องจากกำลังรบไม่เพียงพอ และรุกเนื่องจากกำลังรบมีอยู่เพียงพอ นักรบที่ตั้งรับเก่งเหมือนซ่อนอยู่ใต้ของใต้แผ่นดิน นักรบที่รุกเก่งเหมือนเคลื่อนไหวอยู่เหนือของเหนือฟ้า ฉะนั้นจึงอยู่ในที่ปลอดภัย และสามารถเอาชัยเด็ดขาดได้สำเร็จ

2. ระดับชัยชนะที่คนทั่วไปมองออกยังมิใช่ยอด รบกันแล้วได้ชัยชนะคนทั่วโลกแซ่ซ้องสรรเสริญยังมิใช่เยี่ยม หยิบถือเส้นผมได้ว่ามีกำลังมิได้ มองดวงอาทิตย์จะบอกว่าตาดีไม่ได้ ฟังเสียงฟ้าร้องว่าหูดีมิได้ สมัยก่อนยอดนักรบคนทั่วไปมองไม่ออก เขาจะเข้ายึดโอกาสชนะง่ายแล้วชนะ เพราะฉะนั้น การต่อสู้ของยอดนักรบนั้นมิได้มีชื่อเสียง มิได้ใช้ความรู้ความสามารถหรือความมานะพยายามพิเศษพิศดารและกล้าหาญใดใด เนื่องเพราะเขาจะทำสงครามที่ชนะแน่นอนเท่านั้น สงครามที่ชนะแน่นอนก็คือเข้าตีข้าศึกที่แพ้แน่นอนแล้วชนะนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ยอดนักรบจะตั้งมั่นในที่ซึ่งไม่มีใครอาจชนะได้รอคอยโอกาสชนะ และไม่ปล่อยให้โอกาสชนะโอกาสแรกหลุดลอยไปนั่นเอง

“ กองทัพที่มีชัย คือกองทัพที่ก่อนออกศึกได้รับชัยชนะแล้วจึงรบ กองทัพที่พ่ายแพ้ คือกองทัพที่ออกรบแล้วจึงแสวงหาชัยชนะนั่นเอง ”

3. ยอดนักรบย่อมสามารถทำให้จิตใจคนทุกชั้นเป็นหนึ่งได้ สามารถจัดระบบ รักษาวินัย และกฎระเบียบได้ ฉะนั้นจึงสามารถตัดสินแพ้ชนะได้อย่างอิสระ

4. ปัญหาในการจัดการทางทหารก่อนรบจะเกิดขึ้น 5 ประการที่ต้องขบคิด

  • ปัญหาขอบเขตของการรบ
  • ปัญหาปริมาณสิ่งของที่ต้องทุ่มเทในการรบ
  • ปัญหาจำนวนทหารที่จะนำมาใช้ในการรบ
  • ปัญหาขีดความสามรถของหน่วยกำลัง จะมีมากน้อยขนาดใด
  • ปัญหาของชัยชนะ

กองทัพที่ได้ชัยต้องผ่านขั้นตอนดังกล่าว และมีความได้เปรียบ กองทัพที่พ่ายแพ้คือกองทัพที่เสียเปรียบจากปัญหาดังกล่าวนั่นเอง ...

5. ผู้ชนะซึ่งทำให้ผู้คนในชาติร่วมกันต่อสู้ได้ เหมือนกับแอ่งน้ำในหุบเขาซึ่งเกิดจากสายน้ำเล็กๆ หลายพันสายไหลมารวมกัน ซึ่งหากแอ่งน้ำนั้นตกลงมาเป็นน้ำตกก็จะมีพลังมหาศาลพลังที่ซ่อนอยู่ในแอ่ง น้ำกลางหุบเขานี้เปรียบได้กับ “ ศักย์สงคราม ” และพลังของน้ำที่กระทบเบื้องล่างเปรียบได้กับ “ จลน์สงคราม ” ฉันใดฉันนั้น ...