วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warran Buffett)

สุดยอดผู้นำ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” อภิมหาเศรษฐีแห่งคุณธรรมและจริยธรรม



ประวัติและภูมิหลังชีวิตของวอร์เรน บัฟเฟตต์


1. ครอบครัวชีวิตเริ่มต้นและทางเลือก
วอร์เรน เอดเวิร์ด บัฟเฟตต์ (Warren Edward Buffett) (เกิด สิงหาคม .. 1930) นักลงทุนชาวอเมริกา เจ้าของบริษัท Berkshire Hathaway และใน ปี พ.. 2551 ได้ป็นเศรษฐีอันดับ 1 ของโลกแทนที่บิลล์ เกตส์ ด้วยจำนวนเงิน 62,000 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เกิดที่เมืองในเมืองโอมาฮา รัฐเนบราสกาทางตอนกลางของสหรัฐอเมริกา วอร์เรน เอดเวิร์ด บัฟเฟตต์ เป็นลูกคนเดียวของนักค้าหุ้น(Broker) พ่อ ของเขานอกจากจะมีอาชีพเป็นนักค้าหุ้นแล้วยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐ เนบราสกาด้วย เค้าเป็นนักอ่านตัวยง และมีแววฉลาดมาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะความถนัดด้าน คณิตศาสตร์และเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ เขาไปทำงานกับพ่อตั้งแต่อายุ 11 ปี และนั่นทำให้เขาได้ซื้อหุ้นเป็นครั้งแรกในชีวิต เป็นหุ้นของ Cities Services ในราคาหุ้นละ $ 38.25 และขายไปภายหลังในราคาหุ้นละ $ 40 ซึ่งในภายหลังหุ้นตัวนี้ได้ทะยานขึ้นถึงหุ้นละ $ 200 ในสองสามปีต่อมา ซึ่งสิ่งนี้เองที่สอนเขาถึงความสำคัญในการซื้อหุ้นระยะยาว
อายุ 14 เขา ก็เริ่มต้นทำธุรกิจโดยหุ้นกับเพื่อนคนหนึ่งซื้อเครื่องเล่นพินบอล แล้วไปขอเช่าที่วางในร้านตัดผม เขาเริ่มทำเงินได้มากขึ้นอีกจากการรับส่งหนังสือพิมพ์ตามบ้าน และเมื่ออายุ 16 ปี วอร์เรนก็เก็บเงินได้ถึง 5,000 ดอลล่า ร์ ซึ่งสมัยนั้นต้องถือว่าเป็นเงินมากพอดู วอร์เรนเริ่มคิดว่าการเรียนนั้นไม่จำเป็นและจะเป็นอุปสรรคสำหรับการทำธุรกิจ ของเขา แต่ก็ตัดสินใจเรียนต่อตามคำขอของพ่อ จาก Wharton School จนถึง University of Nebraska และเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่วอร์ตัน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และได้ย้ายไปเรียนจนจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเนแบรสกาหลังจากได้อ่านหนังสือเล่มสำคัญในชีวิตของเขา คือ “The Intelligent Investor“ ของ Benjamin Graham และได้เข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในปี ค.ศ. 1951 ซึ่งที่นี่เขาได้เรียนกับ เบนจามิน เกรแฮม และอาจารย์อีกสองสามคน ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมแนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่เขาใช้ในการลงทุนตลอดชีวิต และหลังจากที่เรียนจบด้วยเกรด A+ ทั้งหมด วอร์เรนก็หาทางจะเรียนรู้กับเบนจามิน เกรแฮมต่อ และได้ทำงานกับบริษัทด้านการลงทุน Graham – Newman ที่เกรแฮมเป็นหุ้นส่วนอยู่ในเวลาต่อมาและลาออกเมื่อเกรแฮมเกษียณในอีก 2 ปี ต่อมา พร้อมกันนั้นเขาก็รับจ๊อบเป็นอาจารย์ ภาคค่ำ สอนเรื่องหลักการลงทุน ที่มหาวิทยาลัยเนบราสกา ระหว่างนั้น เขาค่อยๆเก็บเล็ก ผสมน้อย และรวบรวมเงินจากสมัครพรรคพวกเพื่อการลงทุนร่วมกัน โดยตั้งตัวเป็นผู้จัดการกองทุนเสียเอง ซึ่งผลการดำเนินงานก็เป็นไปได้ด้วยดี โดยวอร์เรนลงทุน $ 100 และระดมทุนได้อีก $ 105,00 จากเพื่อนและคนในครอบครัวอีก 7 คน และเพิ่มอีกหลายคนในภายหลัง ซึ่งออฟฟิศของวอร์เรนก็คือภายในบ้านของเขานั่นเอง และโดยใช้หลักการต่างๆ จากอาจารย์ของเขา โดยเฉพาะหลักการของเบนจามิน เกรแฮม ทำให้วอร์เรนสามารถสร้างผลตอบแทนเงินลงทุนได้ในอัตรา 30 % ในช่วงปี1956 – 1969 ซึ่งคนอื่นโดยทั่วไปทำได้เพียง 7 – 11 % เท่านั้น จนกระทั่งถึงปี 1964 จึงเลิกกองทุนส่วนตัวนี้ไปเพราะว่าราคาหุ้นได้เพิ่มสูงขึ้นมาก (ซึ่งแน่นอน ว่าสูงกว่ามูลค่าจริงของกิจการ) กระทั่งเริ่มมีความเสี่ยงสูงมากจึงเลิกล้มไป วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัทสิ่งทอชื่อว่าบริษัท Berkshire Hathaway ซึ่งต่อมาบางคนบอกว่าเป็นความผิดพลาดอันเป็นกุศล เพราะต่อมาบริษัทนี้ก็ได้กลายเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์ ที่เข้าถือหุ้นในหลายๆ บริษัท
ในตลอดชีวิตการลงทุนของเขา แม้ว่าจะมีคนอื่นๆ ที่ใช้หลักการเดียวกันกับเขา วอร์เรนก็เป็นคนเดียวที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ เก่งกว่าแม้กระทั่งอาจารย์ของเขาเอง แนวทางการลงทุนของ บัฟเฟตต์ จะมองว่าการซื้อหุ้นเป็นเหมือนการเข้าร่วมเป็นเจ้าของบริษัทด้วย ดังนั้นเขาจะใช้มุมมองของผู้ที่จะเข้าเป็นเจ้าของธุรกิจ มากกว่าการที่มองเห็นหุ้นเป็นเพียงสินค้า (คือซื้อมา แล้วก็ขายไป) เขา จะต้องรู้แน่ชัดว่ากิจการนั้นทำอะไร มีอะไรเป็นผลิตภัณฑ์ ใครเป็นลูกค้า โครงสร้างรายจ่ายและรายได้เป็นเช่นไร อัตรากำไรเป็นเท่าไร มีคู่แข่งมากหรือไม่ แข่งกันด้วยอะไร (ราคา หรือความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์) เป็น ต้น ดังนั้น บัฟเฟตต์ จะไม่ค่อยลงทุนในกิจการที่ซับซ้อนจนตัวเขาเองไม่สามารถเข้าใจได้ เขาเองยังบอกว่า เมื่อซื้อหุ้นแล้ว แม้กระทั่งตลาดจะปิดไปสัก 10 ปีก็คงไม่รู้สึกอะไร นั่นคือเขาไม่ได้สนใจในตลาดเลยเนื่องจากมั่นใจในธุรกิจที่ได้ลงทุนไป และไม่จำเป็นต้องให้ใครมารู้เห็นด้วย (คือไม่สนใจราคาหุ้นในตลาดนั่นเอง)



นอกจากนั้นเค้ายังมองว่าการลงทุนเป็น เรื่องใหญ่สำหรับชีวิต อย่างเช่นการตั้งบริษัท การเข้าซื้อบริษัท หรือการทำกิจการใดๆ ในชีวิตคนเราจะมีได้ไม่มากคือเพียงไม่เกิน 20 ครั้งเท่านั้น ดังนั้นแล้วเขาจะพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบมาก เพราะหากว่าผิดพลาดพลั้งไป อาจจะไม่มีโอกาสให้ได้ทำอีก (ถ้าเกิดเจ็บตัวมากจนล้มแล้วลุกไม่ได้) และเค้ายังมีแนวคิดที่ว่าในการลงทุนหรือซื้อของ จะต้องมีส่วนต่างเพื่อความปลอดภัยเอาไว้ด้วย เพราะหากเราได้เผื่อค่านี้เอาไว้มากแล้ว (คือเผื่อทางด้านมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ กับราคาที่ซื้อ) ครั้นคราวจะขาดทุน ก็จะไม่มากนัก มูลค่าที่แท้จริงของกิจการ บัฟเฟตต์ มักจะใช้เครื่องมือคำนวณทางการเงินที่เรียกว่าวิธีส่วนลดกระแสเงินสด” (Discount Cash Flow) ในการหามูลค่าของกิจการ ซึ่งจะเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ปราศจากความเสี่ยงเช่นกับพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) หากว่าราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงอยู่มากๆ บัฟเฟตต์ ก็จะพิจารณาเข้าซื้อหุ้นหรือซื้อทั้งบริษัทในทันที และเค้าจะเลือกขายหุ้นออกไปต่อเมื่อ
1. มูลค่าที่แท้จริงของกิจการไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น นั่นคือไม่มี Contribute จากการดำเนินงานเมื่อเวลาผ่านไป
2. ราคาตลาดของกิจการ (ราคาหุ้น) สูง เกินกว่ามูลค่าของกิจการไปมาก อันนี้ บัฟเฟตต์ อาจจะขายหุ้นออกมา และซื้อกลับคืนเมื่อราคาตกต่ำลงมาอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเขาเชื่อว่า เมื่อราคาสูงเกินไป มันจะต้องกลับมาอยู่ที่พื้นฐานของมันเสมอ
สำหรับชีวิตส่วนตัวของบัฟเฟตต์ เขาแต่งงานกับซูซาน ทอมป์สันเมื่อปี 1952 มีลูกด้วยกัน 3 คนคือ ซูซี่, ฮาเวิร์ด และปีเตอร์ อย่างไรก็ดี ทั้งคู่แยกกันอยู่ในปี 1977 และยังคงสถานะแต่งงาน จนกระทั่ง ฝ่าย หญิงเสียชีวิตในปี 2004 หลังจากนั้นเขาก็ตัดสินใจ ลั่นระฆังวิวาห์อีกครั้ง ขณะฉลองวันเกิดครบรอบ 76 ปี โดยฝ่ายหญิงเป็นเพื่อนเก่าแก่ของครอบครัวชื่อว่าแอสทริด เม็งส์ชีวิตส่วนตัวอาจจะประหยัดมัธยัสถ์สุดๆ แต่บัฟเฟตต์ก็ได้ชื่อว่าเป็นนักบุญผู้ ยิ่งใหญ่ เมื่อกลางปี 2006 คุณเขาประกาศยกหุ้น 10 ล้าน หุ้นในกลุ่มธุรกิจเบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ บริจาค ให้มูลนิธิบิล แอนด์ เมลินดา เกตส์ สร้างสถิติการบริจาคสูงสุดในประวัติศาสตร์ เขายังประกาศ แผนบริจาคหุ้นเพิ่มเติม มูลค่า 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้ามูลนิธิการกุศลที่ก่อตั้ง ขึ้นในนาม ของภรรยาและลูกๆสาเหตุที่บัฟเฟตต์ตัดสิน ใจแบ่งความรวยให้องค์กรการกุศล แทนที่จะเหลือไว้เป็นมรดก ให้ลูกหลาน ก็เพราะไม่เห็นด้วยกับการสืบทอด ความรวยเป็น มรดกจากรุ่นสู่รุ่น… “ผม อยาก ให้ลูกๆมี ทรัพย์สิน เงินทองเพียงพอ ที่จะทำอะไรให้งอกเงย แต่ไม่ใช่มี มรดก กองโต จนไม่คิดทำอะไร นอกจากนอนเสวยสุขบนกองเงิน กองทองที่ผมสร้างมาเองกับมือ
บัฟเฟตต์มีปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่น่าสนใจเป็นคนที่เรียบง่าย ปรัชญาชีวิตของเขาเรียบง่ายแต่มีความลุ่มลึกประการหนึ่งว่า อย่าตั้งเป้าหมายที่เกินกว่าจะเอื้อมถึงผมจะไม่พยายามกระโดดข้ามที่สูง 7 ฟุต แต่ผมจะมองหาคานไม้ที่สูง 1 ฟุต ที่ผมจะสามารถที่จะเดินข้ามได้อย่างสบายๆวอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นคนที่สมถะในการใช้จ่าย และเป็นคนที่แต่งตัวแบบเรียบง่าย ไม่สนใจใส่เสื้อผ้าที่เป็นแบรนด์เนมราคาแพง จนเคยถูกนักข่าวคนหนึ่งเหน็บแนมเขา เรื่องที่เขาชอบใส่สูทราคาถูกๆ อย่างไม่ให้ความสนใจว่าผมเคยซื้อสูทราคาแพงๆ แต่เมื่อผมใส่มันแล้ว มันก็ดูเหมือนของราคาถูก
บัฟเฟตต์มีหัวด้านการลงทุนตั้งแต่ยังเล็ก อย่างเมื่อตอนอายุเพียง 6 ขวบ เขาได้ซื้อโค้กกระป๋องมาขายและทำกำไรในการขายได้ประมาณ 20% จาก ยอดรวมทั้งหมด โดยเขาได้เปรียบการลงทุนของตนเองไว้ว่า เหมือน สิงโตที่รอตะครุบเหยื่อในพงหญ้าสูงและจะเข้าจู่โจมเมื่อถึงเวลาที่เหยื่อ เข้ามาใกล้ (A lion in the tall grass) ซึ่ง เขาจะรอจนกว่าราคาหุ้นที่ต้องการเดินทางมาอยู่ในจุดที่น่าสนใจที่สุดเพื่อ เข้าครอบครอง และสิ่งสำคัญที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จจากการลงทุนนั้นคือ ไม่ใช้อารมณ์ในการลงทุน แต่ใช้ความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจแต่ละครั้ง
แนวทางหลักอีกอย่างของบัฟเฟตต์ในการ ซื้อหุ้นก็คือ เขาจะมองว่าการซื้อหุ้นคือการเข้าร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ไม่ใช่การซื้อสินค้าที่ต้องซื้อขายเพื่อทำกำไรอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นก่อนจะเข้าลงทุนก็ต้องศึกษาข้อมูลของบริษัทนั้น ๆ ให้ละเอียด รอบคอบ และเมื่อลงทุนแล้วต้องเชื่อมั่นในบริษัท ซึ่งแนวคิดนี้นั้นคล้ายกับ Value Investor มือทองของเมืองไทยท่านหนึ่ง คือ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ซึ่ง ส่วนใหญ่จะเข้าลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี และไม่ซื้อขายบ่อย ๆ และท่านก็มองว่านี่คือการทำธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ต้องดำเนินธุรกรรมเองทั้งหมด เพียงแต่คัดสรรกิจการที่ดีและร่วมเป็นเจ้าของ โดยเงินปันผลก็เหมือนเงินเดือนที่นำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ โดยไม่ต้องซื้อขายหุ้นเพื่อนำกำไรมาใช้ในระยะสั้น แต่ต้องมีวินัยในการลงทุนนั่นคือเก็บหุ้นไว้ให้มีมูลค่าเติบโตทบต้นทบดอก ด้วยตัวมันเอง และไม่หวั่นไหวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ

หลักการลงทุนของบัฟเฟตต์ ที่ใช้เป็นประจำในการเลือกซื้อหุ้นแต่ละตัวได้แก่
1. เป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน
2. เป็นธุรกิจที่ได้รับความ นิยม และมีฐานลูกค้าแข็งแกร่ง หรือเป็นธุรกิจที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ยกตัวอย่างหุ้นเขาถืออยู่ อาทิโค้กและอเมซอน
3. สามารถคาดเดารายได้ และรายจ่ายได้ไม่ยาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน ดังนั้นเขาจะสามารถคาดเดาได้อย่างไม่ยากว่าจะมีกำไร หรือขาดทุนในแต่ละปี
4. ผลตอบแทนต่อทุน (ROE) สูง บัฟเฟตต์ ให้ความสำคัญกับตัวเลขนี้ค่อนข้างมาก คือน่าจะต้องมากกว่า 12% สำหรับ ธุรกิจประเภทผลิตสินค้า แต่หากเป็นธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว ค่าตัวเลขนี้ปกติจะสูงมาก บัฟเฟตต์ จึงแนะนำให้ดูที่ตัวเลขของผลตอบแทนรวมของสินทรัพย์ (ROA) ประกอบด้วยหากสูงกว่า 10% ก็ถือว่าดี
5. มีกระแสเงินสดที่ดี เพราะธุรกิจที่ดี ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนสูงมากในการดำเนินงานและรักษาสถานภาพในตลาด เพื่อการแข่งขัน เพราะควรจะมีรายได้หล่อเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ
6. มีผู้บริหารที่ดี เห็นแก่ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
7. ลงทุนในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะไม่เพียงเลือกธุรกิจที่ดี แต่ควรเลือกช่วงเวลาที่ดีและราคาเหมาะสมด้วย
2 ประเด็นด้านการช่วยเหลือทางสังคม
เมื่อวอร์เรน อี. บัฟ เฟตต์ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นอัครมหาเศรษฐี มีทรัพย์สินรวมเป็นมูลค่าแล้วสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก ประกาศบริจาคทรัพย์สินมหาศาลของเขาเพื่อการกุศลนั้น แม้หลายคนในต่างแดนจะรู้สึกทึ่ง แต่สำหรับอเมริกันโดยทั่วไปแล้ว คำประกาศดังกล่าวเป็นเรื่องที่คาดหมายได้และดูเหมือนจะสอดคล้องกับวิถี ปฏิบัติของบุคคลระดับอภิมหาเศรษฐีของสหรัฐอเมริกา
การประกาศบริจาค 85 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินในบริษัทเบิร์กเชียร์ แฮธะเวย์ ของบัฟเฟตต์ ซึ่งเป็นมูลค่ามหาศาลไม่น้อยกว่า 37,400 ล้านดอลลาร์(ราว1.49 ล้านล้านบาท) เพราะทรัพย์สินทั้งหมดของเขามีไม่น้อยกว่า 44,000 ล้านดอลลาร์ (1.76 ล้านล้านบาท)นั้น ทำให้ชื่อของเขาขึ้นไปอยู่ในระนาบเดียวกับเศรษฐีผู้ใจบุญในอดีตอย่าง แอนดรูว์ คาร์เนกี, จอห์น ดี ร็อกกี้เฟลเลอร์, เซอร์ เฮนรี่ฟอร์ด, เจ. พอล เกตตี้, ดับเบิลยู. เค. เคลล็อกก์ รวมถึงเศรษฐีใจบุญร่วมสมัยอย่าง วิลเลี่ยมส์ เกตส์ ที่ 3 หรือที่ทั่วโลกรู้จักกันดีกว่าในชื่อของ บิลล์ เกตส์ เจ้าพ่อแห่งวงการซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
การบริจาคของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ครั้งนี้เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดแล้วกลับมีหลายประเด็นน่าสนใจ น่าใคร่ครวญหาเหตุผลและผลกระทบมากกว่าจะคำนึงเพียงแค่ว่านี่เป็นเพียงส่วน หนึ่งของวิถีอเมริกันดาดๆ เท่านั้น
ประการหนึ่งก็คือ การบริจาคดังกล่าวหนนี้เป็นการบริจาคที่เป็นมูลค่าเกือบทั้งหมดของทรัพย์สินที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีอยู่ คำถามง่ายๆ ประการหนึ่งก็คือ ทำไม? คำตอบง่ายๆ เช่นกันจากปากของบัฟเฟตต์ในวัย 77 ปีก็คือผมคิดว่ามันควรกลับคืนสู่สังคมและทั้งครอบครัวเห็นด้วยกันกับการตัดสินใจของผมสิ่ง หนึ่งซึ่งบัฟเฟตต์รู้สึก แต่ไม่ได้พูดออกมาก็คือ สังคมอเมริกันเป็นสังคมของการสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยตนเอง ให้ค่านิยมต่อคนที่สร้างตัวเองขึ้นมาเป็นปึกแผ่นสูงกว่าใครก็ตามที่คาบช้อน เงินช้อนทองแล้วมายืนรอรับความสำเร็จ พวกเขาเป็นผู้สร้างและเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สิน ไม่ใช่ปู่โสมผู้ปกปักรักษาทรัพย์สินเพื่อส่งต่อให้กับลูกหลานในอนาคต
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เองแม้จะถือกำเนิดในครอบครัวมั่งคั่ง เป็นลูกของนายหน้าค้าหุ้น และสมาชิกรัฐสภา แต่เขาสร้างความสำเร็จในวันนี้ขึ้นมาด้วยมือและสมองของตัวเอง เขาตัดสินใจซื้อหุ้นครั้งแรกด้วยตัวเอง เมื่ออายุเพียง 11 ขวบ ก่อตั้งบริษัทเองบริหารงานจนเบิร์กเชียร์ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทประกันภัยที่ดีที่สุดในโลกบริษัทหนึ่ง
ฉายาเสจ ออฟ โอมาฮา-ปราชญ์แห่งโอมาฮาของ บัฟเฟตต์จึงไม่ได้ได้มาอย่างฉาบฉวยอย่างแน่นอน บัฟเฟตต์เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าคนเราไม่ควรให้เงินทองกับลูกหลานจนท่วมหัวจมหู (ครั้งหนึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า การทำอย่างนั้นทั้งไม่ถูกต้องและไม่เป็นเหตุเป็นผล“) เพราะรังแต่จะกลายเป็นร้ายมากกว่าจะให้ผลในทางที่ดี อเมริกันจำนวนมากจึงมีทรัพย์สินเหลือตกทอดให้กับลูกหลานเพื่อให้พวกเขาทำอะไรๆ ได้ไม่ใช่เหลือให้มากมายจนพวกเขาไม่ต้องทำอะไรอีกเลยชั่วชีวิตนี้
คำถามประการถัดมาก็คือ ทำไมถึงเป็นตอนนี้? บัฟเฟตต์ เคยพูดเสมอไว้ถึงการบริจาคทรัพย์สิน แต่เจ้าตัวเองก็ยอมรับว่าที่คิดไว้ในตอนแรกนั้นคิดว่าจะให้ทุกอย่างเป็นไป หลังจากที่เขาสิ้นชีวิตไปแล้วนั้นทำให้มีเสียงพูดถึงสุขภาพของอัครมหาเศรษฐี สูงวัยรายนี้ แต่เมื่อไม่ นานมานี้หลังจากที่แพทย์ตรวจร่างกายหนล่าสุดแล้วไม่พบปัญหาอะไรเลยแม้แต่นิด เดียว ปัญหาสุขภาพจึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ บัฟเฟตต์ระบุไว้ในจดหมายเพื่อการบริจาคหนนี้ว่า การสูญเสียซูซาน ภรรยาอันเป็นที่รักไปทำให้เขาตัดสินใจทำเรื่องนี้ให้เร็วขึ้น และอีกเหตุผลหนึ่งคือการให้ความสำคัญกับการทำบุญของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เอง
เงิน 85 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินของบัฟเฟตต์ จะถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำหรับการทำบุญกับ 5 มูลนิธิดังนี้
ส่วนที่ 1 อันเป็นส่วนที่มากที่สุด 31,000 ล้านดอลลาร์จากทั้งหมดราว 37,400 ล้านดอลลาร์ถูกยกให้กับมูลนิธิ บิล แอนด์ เมลินดา เกตส์
ส่วนที่ 2 จะตกอยู่กับ ซูซาน ธอมป์สัน บัฟเฟตต์ ฟาวเดชั่น มูลนิธิที่ก่อตั้งขึ้นตามชื่อภรรยาผู้ล่วงลับ
ส่วนที่ 3 ตกอยู่กับ โฮเวิร์ด จี บัฟเฟตต์ ฟาวเดชั่น มูลนิธิที่ตั้งชื่อตามชื่อลูกชายและบริหารโดยลูกชาย 2 คนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์
ส่วนที่ 4 ตกอยู่กับ ซูซาน เอ บัฟเฟตต์ ฟาวเดชั่น อีกมูลนิธิที่ตั้งตามชื่อลูกสาวและเธอเป็นผู้บริหาร
ส่วนที่ 5 นั้นตกอยู่กับ โนโว ฟาวเดชั่น ที่บริหารโดย ปีเตอร์ บัฟเฟตต์ ลูกชายคนที่ 2 ของเขา
*** 4 มูลนิธิหลังนี้จะได้รับหุ้นเป็นมูลค่าเฉลี่ยเท่าๆ กันคือมูลนิธิละ 6,000 ล้านเหรียญ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ กับ บิลล์ เกตส์ เป็นเพื่อนสนิทต่างวัยกันมานาน แต่นั่นไม่ได้เป็นเหตุผลที่ทำให้
บัฟเฟตต์นำเงินนี้มาบริจาคให้กับ มูลนิธิของครอบครัวเกตส์ แทนที่จะให้กับมูลนิธิของลูกๆ หรือก่อตั้งมูลนิธิขึ้นในชื่อของตัวเอง เหมือนอย่างที่เป็นไปตามวิถีอเมริกันใน อดีตที่ผ่านมา แต่เหตุผลที่ทำให้เขามอบเงินให้กับบิล และ เมลินดา เกตส์ ฟาวเดชั่น ก็เพราะติดตามการทำงานของมูลนิธินี้มานานและเชื่อมั่นว่าจะทำให้เงินของตนก่อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ได้ดีที่สุด
บัฟเฟตต์ต้องการเห็นผลของการใช้เงินที่ว่านี้จนกระทั่งกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ว่าจะบริจาคให้ปีแรก 1,500 ล้านดอลลาร์ และในแต่ละปีอีกปีละไม่น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าหุ้นที่มีเหลืออยู่ในทุกๆ เดือนกรกฎาคม แต่ไม่ได้ต้องการให้นำเงินดังกล่าวเข้าไปสมทบอยู่ในกองทุนของมูลนิธิ ตรงกันข้าม ในทุกๆ ปี มูลนิธิมีหน้าที่ที่จะต้องนำเงินดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์จนหมด
ยีน เทมเปิล ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริจาคเงินเพื่อการกุศลประจำศูนย์ว่าด้วยการบริจาคเงิน เพื่อการกุศลของมหาวิทยาลัยอินเดียนา ได้กล่าวไว้ว่าเค้านึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออกว่าเคยมีเศรษฐีการุนราย ไหนที่บริจาคเงินโดยไม่พะวง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับชื่อเสียงและภาพลักษณ์อย่างเช่นที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ทำในครั้งนี้ การแสดงความไร้อัตตาออกมาอย่างนี้ต่างหากที่ไม่เพียงทำให้ทุกคนทั่วโลกทึ่ง แม้แต่คนอเมริกันเองยังทึ่งกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ในครั้งนี้!
ความเป็นสุดยอดของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่โลกทั้งโลกต้องยกย่องและคารวะให้อย่างหมดใจนั้น มิได้อยู่ที่ตัวเลขความร่ำรวย หรือความเป็นนักลงทุนที่เก่งฉกาจ แต่อยู่ตรงที่ความเป็นคนที่มีมนุษยธรรม มีหัวใจแห่งความเมตตา และมีปรัชญาการดำรงชีวิตที่ดีงาม นอกจากเค้าจะตระหนักในความโชคดีของตนเองและรู้จักพอเพียงแล้วเค้ายังอุทิศกำลังทรัพย์ส่วนหนึ่ง เพื่อ ช่วยกันขจัดปัญหาใหญ่ๆ ในชุมชนซึ่งตนอาศัยอยู่ ชุมชนนั้นอาจเป็นหมู่บ้านเล็กๆ หรือชุมชนขนาดใหญ่ในระดับประเทศและระดับโลกซึ่งสิ่งเหล่านี้เค้าถือว่าเป็น การตอบแทนสังคม อันเป็นการแสดงถึงความมีคุณธรรมและจริยธรรมของมหาเศรษฐีของโลกคนนี้ ซึ่ง สมควรเป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง เค้าแสดงให้เห็นว่าความร่ำรวยไม่ใช่ที่สุดในชีวิต แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ช่วยเหลือสังคมโดยไม่มีการแบ่งสีผิว หรือชนชั้นใดๆ ทั้งสิ้น โลกใบนี้จะไม่มีใครลืมเค้าอภิมหาเศรษฐีจริยธรรม
3 ประเด็นด้านการเป็นผู้นำการลงทุนที่แตกต่าง
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นตัวอย่างของนักลงทุน ที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของหุ้นที่เขาลงทุน (Value Investor) โดยเฉพาะซื้อหุ้น ด้วยการมองมูลค่าในระยะยาว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเขาจะเป็นผู้หนึ่ง ที่มีความสนใจทุนในหุ้นของบริษัทโคคา-โคลา เพราะเขาเห็นว่ามีคนบริโภคทั่วโลก โดยเขาได้เปรียบการลงทุนของตนเองไว้ว่า เหมือนสิงโตที่รอตะครุบเหยื่อในพงหญ้าสูงและจะเข้าจู่โจมเมื่อถึงเวลาที่เหยื่อเข้ามาใกล้ (A lion in the tall grass) ซึ่ง เขาจะรอจนกว่าราคาหุ้นที่ต้องการเดินทางมาอยู่ในจุดที่น่าสนใจที่สุดเพื่อ เข้าครอบครอง และสิ่งสำคัญที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จจากการลงทุนนั้นคือ ไม่ใช้อารมณ์ในการลงทุน แต่ใช้ความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจแต่ละครั้ง
3.1 ประเด็นความคิดนอกกรอบ
แนวทางหลักอีกอย่างของบัฟเฟตต์ในการ ซื้อหุ้นก็คือ เขาจะมองว่าการซื้อหุ้นคือการเข้าร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ไม่ใช่การซื้อสินค้าที่ต้องซื้อขายเพื่อทำกำไรอยู่ตลอดเวลา เหมือนที่นักลงทุนบางคนคิด ดังนั้นก่อนจะเข้าลงทุนก็ต้องศึกษาข้อมูลของบริษัทนั้น ๆ ให้ละเอียด รอบคอบ และเมื่อลงทุนแล้วต้องเชื่อมั่นในบริษัท โดย เค้าจะมองว่านี่คือการทำธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ต้องดำเนินธุรกรรมเองทั้งหมด เพียงแต่คัดสรรกิจการที่ดีและร่วมเป็นเจ้าของ โดยเงินปันผลก็เหมือนเงินเดือนที่นำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ โดยไม่ต้องซื้อขายหุ้นเพื่อนำกำไรมาใช้ในระยะสั้น แต่ต้องมีวินัยในการลงทุนนั่นคือเก็บหุ้นไว้ให้มีมูลค่าเติบโตทบต้นทบดอก ด้วยตัวมันเอง และไม่หวั่นไหวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
3.2 ประเด็นการใช้ชีวิตด้วยความพอเพียง
การเป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของ โลกไม่ได้ทำให้เขามีวิถีการดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากบุคคลทั่วไป วอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่ได้ยึดติดกับวัตถุนิยม ยังคงใช้ชีวิตปกติ จากบทสัมภาษณ์ของสถานีโทรทัศน์ CNBC จะทำให้เรารู้จักเค้าดีมากขึ้น….
· บัฟเฟตต์เป็นคนที่ขยันหาเงิน เก็บออม และลงทุน มาตั้งแต่เด็ก เขาเริ่มซื้อหุ้นครั้งแรกเมื่ออายุ 11 ขวบ แต่ก็ยังบอกว่าเขาเริ่มลงทุนช้าเกินไป พอถึงอายุ 14 ขวบ เขาก็สามารถเก็บเงินจากการส่งหนังสือพิมพ์ เพียงพอที่จะซื้อไร่ขนาดย่อมๆ ได้
· ทุกวันนี้ในฐานะของเศรษฐีที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 2 ของโลกด้วยความมั่งคั่งประมาณ 4- 5 หมื่นล้านดอลลาร์ เขาก็ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านขนาด 3 ห้องนอนหลังเดิมที่ซื้อไว้หลังจากแต่งงานเมื่อ 50 ปี ก่อน บ้านหลังนี้ไม่มีรั้วหรือกำแพงล้อม แต่เขาบอกว่ามันมีทุกอย่างที่เขาต้องการ
· เขาเป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัท เบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์ ที่มีมูลค่าตลาดของหุ้นที่ติดอันดับต้นๆ ของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา แต่เขาก็ยังขับรถไปไหนมาไหนด้วยตนเองโดยไม่มีคนขับรถ หรือผู้คุ้มกันอย่างผู้บริหารสูงสุดของบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ
· สิ่งที่ดูเหมือนว่าจะเป็นความฟุ่มเฟือยประการเดียวก็คือ การที่เขาเคยซื้อเครื่องบินส่วนตัวเก่าลำหนึ่งซึ่ง ชาร์ลี มังเกอร์ เพื่อนรักและหุ้นส่วนสำคัญเคยตั้งชื่อให้ว่าเถียงไม่ออก” (Indefensible) เพื่อใช้ในการเดินทางไปทำธุรกิจ แต่หลังจากที่เขาพบบริษัท Executive Jet ที่ให้บริการเครื่องบินส่วนตัวแบบแชร์เวลากันใช้ที่ใหญ่ที่สุด เขาก็ขายเครื่องบินเถียงไม่ออกทิ้ง และซื้อบริษัท Executive Jet และใช้บริการเดินทางโดยเครื่องบินของบริษัทนี้แทน
· ในการบริหารบริษัทในเครือ 63 แห่ง ของเบิร์กไชร์นั้น บัฟเฟตต์จะปล่อยให้ผู้บริหารของบริษัทเหล่านั้นดำเนินการอย่างอิสระ โดยเขาจะเขียนจดหมายถึงผู้บริหารเหล่านั้นเพียงปีละฉบับเดียวเพื่อให้เป้า หมายประจำปีที่จะต้องทำ เขาไม่เคยนัดประชุม หรือโทรคุยกับผู้บริหารเหล่านั้นเป็นประจำ กฎของบัฟเฟตต์ที่ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงสุดของเขามีเพียง 2 ข้อ นั่นคือ ข้อหนึ่ง อย่าทำให้เงินของผู้ถือหุ้นเสียหาย และข้อสองก็คือ อย่าลืมกฎข้อหนึ่ง
· บัฟเฟตต์ ไม่ได้คบค้ากับคนในวงการไฮโซ การพักผ่อนหย่อนใจของเขาเมื่อกลับบ้านก็คือ การทำข้าวโพดคั่วรับประทานและดูทีวี และที่สำคัญก็คือ การเล่นไพ่บริดจ์ผ่านอินเทอร์เน็ต
· บัฟเฟตต์ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่มีคอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงาน มีคนเคยถามว่า เขาคิดคำนวณหามูลค่าที่เหมาะสม ของหุ้น หรือการลงทุนขนาดใหญ่ต่างๆ ได้อย่างไร เขาตอบว่า มันอยู่ในหัวนั่น หมายความว่า การลงทุนสำหรับบัฟเฟตต์แล้ว จะต้องเป็นสิ่งที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน ขนาดที่จะต้องคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนเรื่องการไม่ใช้โทรศัพท์มือถือนั้น น่าจะเป็นการบอกว่าเรื่องของการลงทุนนั้น ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องรีบด่วน
· คำแนะนำสำหรับคนหนุ่มสาวของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็คือ จงหลีกห่างจากบัตรเครดิต และลงทุนในตัวคุณเอง นี่เป็นสิ่งที่น่าทึ่งในแง่ที่ว่า เขาไม่ได้แนะนำให้คนหนุ่มสาวลงทุนในหุ้น บัฟเฟตต์คงเห็นว่า การลงทุนในตัวเอง เช่น การศึกษาหาความรู้และฝึกฝนทักษะ นั้น น่าจะให้ผลตอบแทนดีกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด ในอีกด้านหนึ่ง การใช้จ่ายโดยอิงกับบัตรเครดิตนั้น น่าจะนำไปสู่การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย และเป็นสิ่งที่ทำร้ายคนหนุ่มสาวมากที่สุด
· การพบกันเป็นครั้งแรกระหว่างบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 2 คน คือ บิลล์ เกตส์ กับบัฟเฟตต์เมื่อ 5 ปี ก่อน ในครั้งนั้น บิลล์ เกตส์ คิดว่าบัฟเฟตต์กับตนนั้น ไม่มีอะไรเหมือนกันเลยยกเว้นว่าจะรวยพอๆ กัน จึงกำหนดเวลานัดพบเพียงครึ่งชั่วโมง แต่เมื่อพบกันจริงๆ พวกเขากลับคุยกันถึงสี่ชั่วโมง และบิลล์ เกตส์ กลายเป็นคนที่ศรัทธาในตัวบัฟเฟตต์อย่างลึกซึ้ง เช่นเดียวกับที่บัฟเฟตต์เองก็นับถือ และยอมรับ บิลล์ เกตส์ มากและนั่นก็นำไปสู่การบริจาคเงินครั้งใหญ่ที่สุดในโลกจำนวน 31 พันล้านดอลลาร์ของบัฟเฟตต์ให้แก่มูลนิธิของ บิลล์ เกตส์ เมื่อปี ค.. 2006
4 ลักษณะนิสัยและวิธีการทำงานของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่ส่งเสริมให้เขาประสบความสำเร็จ
4.1 การมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
การที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ตัดสินใจเทกโอเวอร์กิจการสิ่งทอบริษัทเบิร์กเชียร์ แฮธเวย์ใ น ปี 1965 แม้ ในเวลา นั้นจะด้องไร้อนาคต จนถูกวิจารณ์ว่าตัดสินใจผิด แต่ด้วยวิสัยทัศน์มองการณ์ไกล บริษัทดังกล่าว ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นโฮลดิ้ง คอมปานี เข้าลงทุนในธุรกิจ หลากหลายประเภท ทั้งธุรกิจประกันภัย, จิวเวลรี่, สาธารณูปโภค, อาหาร รวมทั้งถือหุ้น ในบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น โคคา-โคลา, เวลล์ส ฟาร์โก และแอนเฮอเซอร์บุสช์ และจากการที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ประกาศชัดเจนว่าในปีนี้ (ค.ศ. 2008) เขาจะเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีรายได้ที่ไม่ใช่เงินดอลลาร์สหรัฐฯในสัดส่วนที่มากขึ้น โดยจะลงในธุรกิจที่มีรายได้เป็นเงินยูโรในประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี และเงินปอนด์ในประเทศอังกฤษ เพราะเขาไม่มีความรู้สึกว่าเงินสกุลเหล่านี้ มีแนวโน้มที่จะลดค่าลงเหมือนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ บัฟเฟตต์ เชื่อว่าสหรัฐฯจะยังคงนโยบายทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนต่อไป เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ แต่เขาก็รู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องบริหารความเสี่ยงด้วยไปซื้อ บริษัทที่มีกำไรเป็นเงินสกุลอื่น โดยเขาได้เพิ่มการลงทุนในบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯอย่าง โคคา-โคลา ที่มีรายได้ส่วนใหญ่จากกำไรในต่างประเทศ ซึ่งเท่ากับเป็นการประกันความเสี่ยงโดยธรรมชาติ
4.2 การมีความอดทนควบคู่กับสติที่ตั้งมั่น
วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้เปรียบการลงทุนของตนเองไว้ว่า เหมือน สิงโตที่รออย่างมีสติเพื่อรอตะครุบเหยื่อในพงหญ้าสูงและจะเข้าจู่โจมทันที เมื่อถึงเวลาที่เหยื่อเข้ามาใกล้ (A lion in the tall grass) ซึ่งเขาจะรอจนกว่าราคาหุ้นที่ต้องการเดินทางมาอยู่ในจุดที่น่าสนใจที่สุดเพื่อเข้าครอบครอง
4.3 การมีกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ
โดยกลยุทธ์หลักๆในการลงทุนของบัฟเฟตต์ ที่ใช้เป็นประจำในการเลือกซื้อหุ้นแต่ละตัวได้แก่
1. เป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน
2. เป็นธุรกิจที่ได้รับความ นิยม และมีฐานลูกค้าแข็งแกร่ง หรือเป็นธุรกิจที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ยกตัวอย่าหุ้นที่เขาถืออยู่ อาทิ โค้ก และอเมซอน
3. สามารถคาดเดารายได้ และรายจ่ายได้ไม่ยาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน ดังนั้นเขาจะสามารถคาดเดาได้อย่างไม่ยากว่าจะมีกำไร หรือขาดทุนในแต่ละปี
4. ผลตอบแทนต่อทุน (ROE) สูง บัฟเฟตต์ ให้ความสำคัญกับตัวเลขนี้ค่อนข้างมาก คือน่าจะต้องมากกว่า 12% สำหรับ ธุรกิจประเภทผลิตสินค้า แต่หากเป็นธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว ค่าตัวเลขนี้ปกติจะสูงมาก บัฟเฟตต์ จึงแนะนำให้ดูที่ตัวเลขของผลตอบแทนรวมของสินทรัพย์ (ROA) ประกอบด้วยหากสูงกว่า 10% ก็ถือว่าดี
5. มีกระแสเงินสดที่ดี เพราะธุรกิจที่ดี ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนสูงมากในการดำเนินงานและรักษาสถานภาพในตลาด เพื่อการแข่งขัน เพราะควรจะมีรายได้หล่อเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ
6. มีผู้บริหารที่ดี เห็นแก่ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
7. ลงทุนในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะไม่เพียงเลือกธุรกิจที่ดี แต่ควรเลือกช่วงเวลาที่ดีและราคา เหมาะ สมด้วย และยังมีแนวคิดว่าการซื้อหุ้นก็คือ การเข้าร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ไม่ใช่การซื้อสินค้าที่ต้องซื้อขายเพื่อทำกำไรอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นก่อนจะเข้าลงทุนก็ต้องศึกษาข้อมูลของบริษัทนั้น ๆ ให้ละเอียด รอบคอบ และเมื่อลงทุนแล้วต้องเชื่อมั่นในบริษัท และ สิ่งสำคัญคือให้ถือว่านี่คือการทำธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ต้องดำเนินธุรกรรมเอง ทั้งหมด เพียงแต่คัดสรรกิจการที่ดีและร่วมเป็นเจ้าของ โดยเงินปันผลก็เหมือนเงินเดือนที่นำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้ โดยไม่ต้องซื้อขายหุ้นเพื่อนำกำไรมาใช้ในระยะสั้น แต่ต้องมีวินัยในการลงทุนนั่นคือเก็บหุ้นไว้ให้มีมูลค่าเติบโตทบต้นทบดอก ด้วยตัวมันเอง และไม่หวั่นไหวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
4.4 การชอบการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
วอร์เรน บัฟเฟตต์ไม่เคยหยุดนิ่งในการลงทุน หากเค้าได้เล็งเห็นถึงกลุ่มเป้าหมายที่หน้าสนใจ เค้ามักจะรีบดำเนินการด้วยความรอบคอบถี่ถ้วนในทันที ตัวอย่างเช่น การเดินทางเยือน 4 เมือง ในทวีปยุโรปในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008 โดยมีเป้าหมายที่จะกว้านซื้อหุ้นในบริษัทต่างๆ ที่อยู่นอกประเทศสหรัฐ เป้าหมายแรกในการเดินทางคือการเจรจากับ แองเจโล โมรัตติ ทายาทเจ้าของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของอิตาลี ซาราส เอสพีเอ โดยในสัปดาห์ที่ 3 บัฟเฟตต์ได้เดินทางไปยังเมืองมิลาน มาดริด และเมืองในเยอรมนีและสวิสเซอร์แลนด์
4.5 เป็นคนที่ไม่กลัวความเสี่ยง
วอร์เรน บัฟเฟตต์ต้องวิเคราะห์และแสวงหาวิธีการทางธุรกิจในแบบฉบับของตนเองและเขาเป็น คนที่สุขุมยิ่งนักเมื่อต้องเผชิญกับความเสี่ยง
4.6 เป็นผู้ที่มีเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจน
วอร์เรน บัฟเฟตต์ให้ความสำคัญกับเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กรมากที่สุดดังนั้นในทุก วินาทีเขาจึงพยายามหาหนทางเพื่อทำให้เป้าหมายดังกล่าวเกิดเป็นรูปธรรมที่ ชัดเจน ความสำเร็จของวอร์เรน บัฟเฟตต์ส่วนหนึ่งจึงเกิดจากความกล้าที่จะสู้กับทุกอย่าง เพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้นำในตลาดให้ได้ ในทุกวินาทีเค้าจึงพยายามหาหนทางเพื่อทำให้เป้าหมายดังกล่าวเกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
4.7 เป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง
วอร์เรน บัฟเฟตต์จะไม่ยอมปล่อยให้อารมณ์เข้ามามีผลต่อการตัดสินใจแต่กลับเป็นคนที่ พิจารณาความสมเหตุสมผลเป็นที่ตั้ง โดยมีเป้าหมายทางธุรกิจเป็นสำคัญ
4.8 ชอบพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ คิดว่าโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นคนที่หยุดนิ่งอยู่กับที่จะไม่สามารถแข่งขันกับคนอื่นได้
4.9 เป็นคนที่พยายามลองทำในสิ่งใหม่ๆ เสมอเมื่อมีโอกาสและความพร้อม
เป็นคนที่เชื่อว่าคนเราไม่ได้ประสบ ความสำเร็จกันในครั้งแรกที่ลงมือทำ ดังนั้นเมื่อมีโอกาสก็จะลงมือทำถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะมีความเสี่ยงก็ตาม โดยคิดว่าถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จแต่สิ่งหนึ่งที่ได้รับคือประสบการณ์และ เมื่อมีประสบการณ์เราก็มีมุมมองที่กว้างขึ้น โอกาสผิดพลาดก็น้อยลงในที่สุดความสำเร็จก็ต้องรออยู่ข้างหน้า
4.10 ชอบการเจรจาต่อรอง
เนื่องจากทำให้ได้พัฒนาทักษะในการโน้มน้าวจิตใจคน ได้เรียนรู้วิธีการในการเอาชนะใจคน และการสร้างความสัมพันธ์อันดีเพื่อโอกาสในอนาคต
4.11 มองโลกในแง่ดี
ถึงแม้ว่าจะประสบปัญหาหรืออุปสรรควอร์เรน บัฟเฟตต์จะถูกสอนให้หัวเราะทุกครั้งที่เจ็บปวด ยิ้มรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น
4.12 ทำธุรกิจด้วยใจรัก
ปรัชญาการทำธุรกิจด้วยใจรักนั้น เป็นสิ่งที่วอร์เรน บัฟเฟตต์เน้นอยู่เสมอ เพราะการทำธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องผูกพัน เราต้องใช้เวลาอยู่กับมัน ถ้าทำธุรกิจโดยเน้นแต่การกอบโกยเงินหรือผลประโยชน์เข้าหาตนเองแล้วนั้นเราก็ จะทำธุรกิจนั้นไม่ได้นานและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
4.13 การมีจุดยืนที่ชัดเจน
วอร์เรน บัฟเฟตต์มีจุดยืนแห่งปรัชญาการลงทุนที่ชัดเจนเพียง 2 ข้อ คือ กฎข้อที่หนึ่ง: อย่ายอมเสียเงิน และกฎข้อที่สอง: อย่าลืมกฎข้อ 1
4.14 รู้จักจุดประกายความคิด และทำให้ความคิดนั้นออกมาเป็นรูปธรรมในโลกแห่ง การลงทุน
วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีความเชื่อว่าคำตอบส่วนใหญ่มีอยู่แล้วในตัวของมันเองในทุกหนแห่ง เพียงแต่ว่าใครจะสามารถมองเห็นและเข้าถึงได้ด้วยวิสัยทัศน์เท่านั้น
4.15 มีปรัชญาการลงทุนที่โดดเด่นและชัดเจน
ปรัชญา การลงทุนที่สำคัญของบัฟเฟตต์ คือ การแสวงหาความรู้และข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญที่สุด รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง และไม่หวั่นไหวต่อสภาวะล้อมด้าน
4.16 มองการณ์ไกล มองต่างมุ
บัฟเฟตต์ให้ความสนใจลงทุนในตลาดปริวรรตเงินตราตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งทำเงินให้เขาสูงถึง 2.18 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2547และหลังจากนั้นเขาเริ่มสนใจเข้าซื้อหุ้นในบริษัทรอบนอกสหรัฐ ด้วยเหตุผลคือเขาเห็นว่าชาวอเมริกัน ส่วนใหญ่ชอบซื้อสินค้าที่ผลิตจากประเทศอื่นๆมากกว่าที่จะซื้อในประเทศของตน เอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้สหรัฐขาดดุลการค้ามูลค่ามหาศาล ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้สกุลเงินดอลลาร์อ่อนแอลง
4.17 การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
การประกาศบริจาค 85 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินในบริษัท เบิร์กเชียร์ แฮธะเวย์ของบัฟเฟตต์ ซึ่งเป็นมูลค่ามหาศาลไม่น้อยกว่า37,400 ล้านดอลลาร์(ราว 1.49 ล้านล้านบาท) เพราะทรัพย์สินทั้งหมดของเขาในขณะนั้นมีไม่น้อยกว่า 44,000 ล้านดอลลาร์ (1.76 ล้านล้านบาท) นั้น ทำให้ชื่อของเขาขึ้นไปอยู่ในระนาบเดียวกับเศรษฐีผู้ใจบุญในอดีตอย่าง แอนดรูว์ คาร์เนกี, จอห์น ดี. ร็อกกี้เฟลเลอร์, เซอร์ เฮนรี่ฟอร์ด, เจ พอล เกตตี้,ดับเบิลยู เค. เคลล็อกก์ รวมถึงเศรษฐีใจบุญร่วมสมัยอย่างวิลเลียมส์เกตส์ ที่ 3 หรือ ที่ทั่วโลกรู้จักกันดีกว่าในชื่อของ บิลล์ เกตส์ เจ้าพ่อแห่งวงการซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์โดยไม่มีการแบ่งสีผิว หรือชนชั้นใดๆ ทั้งสิ้น โลกใบนี้จะไม่มีใครลืมเค้าอภิมหาเศรษฐีจริยธรรม

ที่มา: วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warran Buffett)