วจีพจน์อมตะของนักปราชญ์และนักคิดระดับโลกที่น่าสนใจและสามารถเตือนสติเราได้เป็นอย่างดี ดังนี้
1. ลีโอนาโด ดาวินชี (Leonardo da Vinci)
ลีโอนาโด ดาวินชี เมื่อกล่าวถึงชื่อนี้น้อยคนนักที่ไม่รู้จักเพราะท่านผู้นี้มีความสามารถ อย่างล้นเหลือจนเป็นที่กล่าวขวัญไปทั่วโลก เช่น ท่านเป็นมหาปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ จิตรกร นักปั้น นักพฤกษศาสตร์ และบิดาแห่งศิลปะทางด้านกายวิภาคศาสตร์ (Gross Anatomy) เป็นต้น สิ่งที่ดาวินชี่ได้ถ่ายทอดไว้ให้แก่ชาวโลกมีมากมายนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ปรัชญาในการดำรงชีวิตที่เป็นอมตะสามารถนำไป ประยุกต์ใช้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
หลักปรัชญาที่สำคัญที่นำเสนอมาจากหนังสือเรื่อง How to Think Like Leonardo da Vinci แต่งโดย Michael Gelb มีใจความสำคัญ ดังนี้
“คุณมองแต่คุณไม่เห็น (You look but you don’t see)
คุณฟังแต่คุณไม่ได้ยิน (You listen but you don’t hear)
คุณสัมผัสแต่คุณไม่รู้สึก (You touch but you don’t feel)
คุณพูดแต่ไม่ได้คิดก่อนที่จะพูด (You speak but you don’t think)”
กล่าวอย่างง่าย ๆ คือมนุษย์ส่วนใหญ่มักทำอะไรโดยขาดสติ เหม่อลอย ไม่รู้เนื้อรู้ตัว ทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น ลีโอนาโด ดาวินชี จึงแนะนำวิธีฝึกสติอย่างง่าย ๆ คือ เมื่อมองสิ่งใดก็ตามให้ตั้งใจมอง ฟังให้ตั้งใจฟัง สัมผัสสิ่งใดให้รู้สึกว่าสัมผัสอะไรอยู่ และก่อนจะพูดสิ่งใดให้คิดพิจารณาก่อนทุกครั้ง และให้พูดทีละคำฟังทีละเสียง
การมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้รวดเร็ว ว่องไว และเฉียบคม สามารถรู้ว่าตนเองกำลังทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และเพื่ออะไร สามารถเลือกเส้นทางชีวิตของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีชีวิตเป็นของตนเอง นอกจากนั้น การตั้งใจทำในทุกอิริยาบถในปัจจุบัน จะเป็นการตัดความคิดที่ฟุ้งซ่าน ความคิดที่เศร้าหมองภายในจิตใจ และความคิดในอดีตทั้งหลาย ออกไปได้อย่างสิ้นเชิง เมื่อจิตว่างจากความคิดทางต่ำจิตจึงจะเบา ความคิดที่สร้างสรรค์จะผุดขึ้นมามากมาย เมื่อคิดดี กิริยาก็งดงาม คำพูดก็ไพเราะเมื่อนั้นสิ่งที่ดีก็จะตามมา
“เหล็กที่ปล่อยไว้จะขึ้นสนิม น้ำที่ไม่มีการไหลเวียนจะเน่า ความเย็นที่ไม่มีการหมุนเวียนจะกลายเป็นน้ำแข็ง ฉันใดฉันนั้นสมองของมนุษย์หากปราศจากการครุ่นคิดใด ๆ ก็จะทื่อและเขลาได้ในที่สุด”
มนุษย์ที่ฉลาดจะต้องมีการประมวล และไตร่ตรองความคิด และการกระทำของตนเองอยู่ตลอดเวลา เมื่อเจอะเจอปัญหาเฉพาะหน้า จึงจะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที การคิดที่ถูกวิธีคือ คิดเพียงเรื่องเดียว แต่ครบทุกด้าน และลงลึกจนเข้าใจเรื่องนั้นอย่างทะลุปรุโปร่ง แต่การคิดหลาย ๆ เรื่องในเวลาเดียวกันคือ การฟุ้งซ่านซึ่งไม่ก่อประโยชน์และเป็นการเสียเวลาเปล่า นอกจากนั้น เรื่องที่จะคิดควรเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์เกิดประโยชน์ ทำให้เรามีความสุขขึ้นทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น สิ่งไหนที่ไร้สาระ หรือทำให้จิตใจเศร้าหมองขุ่นมัวให้ตัดทิ้งโดยการเปลี่ยนเรื่องคิดทันที
2. แจ็ค เวลช์ (Jack Welch)
Jack Welch อดีต CEO ของบริษัทจีอีที่มีค่าตัวสูงที่สุดในโลก สุดยอดแนวคิดของ Jack Welch นำมาจากหนังสือเรื่อง Control the Destiny or Someone Else Will คือการรู้จักกำหนดชะตาชีวิตของตนเองก่อนที่คนอื่นจะเข้ามาบงการชีวิตคุณ และอีกเล่มหนึ่งคือ Jack Straight from the Gut ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ได้แก่
“Live with the present reality as it is, not the kind of reality that used to be in the past or the reality that you want it to be”
“จงอยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบันที่คุณกำลังประสบอยู่ ไม่ใช่ความเป็นจริงที่มันเคยเป็น หรือความเป็นจริง ที่คุณอยากให้มันเป็น”
กล่าวโดยสรุปคือ ให้อยู่กับปัจจุบันนั่นเอง ธรรมชาติของมนุษย์มีความยึดมั่นถือมั่น ยึดติดกับความสุขในอดีต และคิดว่ามันจะต้องเป็นเช่นนั้น ดังเดิมตลอดไปแต่เมื่อปัจจุบันไม่เป็นอย่างที่หวังก็เศร้าโศกเสียใจ หรือติดกับความทุกข์ในอดีตจนไม่กล้าที่จะทำสิ่งใดต่อไปในอนาคต ชีวิตก็จมปรักอยู่กับที่ไม่เจริญก้าวหน้า Jack Welch จึงเสนอแนวคิดในการดำเนินชีวิตเพื่อไปสู่ความสำเร็จ คือการอยู่กับปัจจุบันทิ้งอดีต และทำวันนี้ให้ดีที่สุด
3. ขงจื๊อ (Confucius)
ขงจื๊อ นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ชาวจีนผู้มีคนให้ความเคารพศรัทธา และยึดถือแนวทางคำสอนกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ได้สอนหลักในการคบคนไว้ ดังนี้
“การคบคน ต้องเลือกคบคนที่มีคุณธรรมสูงกว่าหรือเท่า ๆ กับเรา”
เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องอาศัยอยู่ร่วมกับผู้อื่น ดังนั้น ในชีวิตประจำวันคำพูด ความคิด การกระทำ ความรุ้สึก และอารมณ์ของคน รอบข้างจะกระทบต่อเราอยู่ตลอดเวลาอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น หากเราคบหาสมาคมกับคนที่ขาดคุณธรรม จะทำให้จิตใจของเรา ตกต่ำตามไปด้วย ดังนั้น ถ้าอยากมีชีวิตที่ดี มีความสุข ประสบความสำเร็จ จะต้องเลือกคบคนดีมีคุณธรรมนั่นเอง
4. สก็อต เพ็ค (Scott Peck)
แนวคิดของ สก็อต เพ็ค นำมาจากหนังสือเรื่อง The Road Less Traveled ได้แก่
"Life is Difficult" –ชีวิตเป็นของยากมันไม่ง่ายอย่างที่เราคิดจึงไม่ควรประมาทหรือล้อเล่นกับชีวิต
การประสบกับปัญหาและอุปสรรคมากมายในชีวิตนับเป็นเรื่องธรรมดา ดั่งเมฆบนท้องฟ้าดั่งคลื่นในมหาสมุทรมันมาแล้วมันก็ไปไม่มีวันหยุดยั้ง หากเรายอมรับสัจธรรมข้อนี้ได้เมื่อเจอปัญหาเราจะไม่สะทกสะท้าน ไม่มีความเครียดเลยแม้แต่น้อยเพราะปัญหามันเกิดขึ้นได้ก็ย่อมหมดไปได้ แต่ที่มนุษย์ยังต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ทุกวันนี้ เพราะยึดมั่นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันต้องเหมือนเดิมโดยลืมไปว่า ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่จีรังและเหมือนเดิมตลอดไป
5. นโปเลียน ฮิลส์ (Napoleon Hills)
"ท่านทำได้ ถ้าท่านคิดว่าท่านทำได้"
การเชื่อมั่นในตนเองในที่นี้ไม่ใช่การหลอกตัวเองแต่เป็นการตั้งหลักในจิต ใจว่า เราจะต้องทำสิ่งเหล่านั้นให้จงได้ เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน พอที่จะเป็นไปได้ และท้าทายความสามารถในระดับหนึ่งรวมกับขั้นตอนและกลยุทธต่าง ๆ ที่จะต้องทำและแผนสำรอง เพื่อป้องกัน ความผิดพลาด ที่อาจจะเกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ความเชื่อมั่นว่าเราสามารถทำได้ เมื่อนั้นจิตจะรวมเป็นหนึ่งกอปรกับ การย้ำคิดย้ำทำในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างจริงจัง จะทำให้เกิดสติปัญญาที่จะให้เป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นจริง
"ว่าวจะลอยสูงได้ต้องมีลมมาปะทะ"
ผู้ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ ต้องรับได้ในทุกสถานการณ์ และเมื่อเจอปัญหาต้องนิ่งสงบใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาอย่างสุดความสามารถ
6. เดลล์ ไคน์เนกี้ (Dale Carnegie)
แนวคิดของ เดลล์ ไคน์เนกี้ นำมาจากหนังสือเรื่อง How to Win friends and Influence People และ How to Stop Worrying and Start Living คือ
"อยากได้น้ำผึ้งอย่าแตะรังผึ้ง"
เวลาจะขอร้องใครควรพูดถึง ผลประโยชน์ของอีกฝ่ายก่อน เช่น นักการขายอยากได้ยอดขายก็ต้องเสนอให้ลูกค้ารู้ว่า เขาจะได้ประโยชน์อะไรจากการซื้อสินค้าและบริการของเรา เป็นต้น
"อย่าเลื่อยขี้เลื่อย"
คนที่จมอยู่กับเรื่องราวในอดีตชีวิตย่อมไม่ก้าวหน้า ความผิดพลาดในอดีตมีไว้เพื่อให้สำนึกและเรียนรู้ อดีตมันผ่านไปแล้วแต่ชีวิตต้องก้าวต่อไป จงทำบทบาทและหน้าที่ของตนเองในปัจจุบันให้ดีที่สุด
7. ชอง ปอล ซาร์ท (Jean Paul Sartre)
"นรกคือสายตาของผู้อื่น—The Hell is Others"
คนที่ไม่มีจุดยืนและพยายามทำตามสิ่งที่ผู้อื่น คาดหวังอยู่ตลอดเวลา จะไม่มีชีวิตเป็นของตัวเอง ไม่เคยรู้จักตัวเองอย่างแท้จริง คอยอิจฉาริษยาและเปรียบเทียบกับผู้อื่นอยู่ร่ำไป จนลืมไปว่าจริง ๆ แล้วเราต้องการอะไรในชีวิต ดังนั้น จึงไม่ควรทำตามคนอื่นมากนัก ควรมีหลักเป็นของตัวเองด้วย
8. สตีเว่น โควี่ (Steven Covey)
แนวคิดนี้นำมาจากหนังสือเรื่อง The 7 Habits of Highly Effective People ได้แก่
- นิสัยรู้และเลือก (Be Proactive) --คือการมีสติรู้และเลือกอยู่ตลอดเวลา รู้ตัวว่าขณะนี้ตนเองกำลังทำอะไรอยู่ และจะเกิดผลอะไรตามมา
- สร้างเป้าหมายในชีวิตเป็นภาพจารึกไว้ในจิตใจ (Begin with the End in Mind)--คือการมีเป้าหมายที่สำคัญและแน่นอน
- ทำสิ่งสำคัญที่ก่อน (Put First Things First)--คือการเลือกทำในสิ่งที่นำพาเราไปสู่เป้าหมายก่อนเป็นอันดับแรก
- รู้จักแบ่งผลปันประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย (Think Win/Win) เลิกคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง
- พยายามเข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วค่อยทำให้เขาเข้าใจเราทีหลัง (Seek First to Understand, and Then to Be Understood) ในที่นี้คือการเป็นผู้ฟังที่ดีและรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ใช่สักแต่จะพูดสิ่งที่เราอยากจะพูดอย่างเดียว โดยไม่รู้ว่าผู้ฟังคิดอย่างไรหรือรู้สึกอย่างไร การพูดมากเกินไปไร้สาระนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังทำให้จิตเสื่อมอีก ด้วย ดังนั้น จึงควรพูดเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น
- สร้างทีมเวิร์ค (Synergize) อย่าแสดงว่าตนเองดีกว่าหรือเหนือกว่าผู้อื่น เพื่อให้เข้าสายตาเจ้านาย เพราะการกระทำดังกล่าว เป็นการสร้างศัตรูโดยไม่รู้ตัว และหากเราเป็นคนเก่งจริงดีจริง ย่อมไม่มีความจำเป็นต้องอวดใคร เพราะอย่างไรความสามารถ และความดีย่อมฉายแววออกมาอยู่วันยังค่ำ
- เพิ่มพลังชีวิต (Sharpen the Saw) คือการรู้จักดูแลสภาพร่างกายและจิตใจของตนเองให้แข็งแรงและกระปรี้กระเปร่าอยู่เสมอ
9. มาร์ติน เซลิกแมน (Martin Saligman)
แนวคิดนี้นำมาจากหนังสือเรื่อง Learned Optimism ได้แก่
ลักษณะของบุคคลที่มองโลกในแง่ร้าย (Negative-typed person) มีลักษณะ ดังนี้
- คนที่มองว่าปัญหาเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ ต้องยอมทนรับสภาพอย่างเดียว
- ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่เช่น เจอปัญหานิดเดียวก็ท้อแท้เลิกทำไปเลย
- มีอาการเศร้าสร้อย สลดหดหู่ หงุดหงิด ดวงตามีแต่ความอิดโรยและไม่พอใจ
2. แจ็ค เวลช์ (Jack Welch)Jack Welch อดีต CEO ของบริษัทจีอีที่มีค่าตัวสูงที่สุดในโลก สุดยอดแนวคิดของ Jack Welch นำมาจากหนังสือเรื่อง Control the Destiny or Someone Else Will คือการรู้จักกำหนดชะตาชีวิตของตนเองก่อนที่คนอื่นจะเข้ามาบงการชีวิตคุณ และอีกเล่มหนึ่งคือ Jack Straight from the Gut ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ได้แก่
“Live with the present reality as it is, not the kind of reality that used to be in the past or the reality that you want it to be”
“จงอยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบันที่คุณกำลังประสบอยู่ ไม่ใช่ความเป็นจริงที่มันเคยเป็น หรือความเป็นจริง ที่คุณอยากให้มันเป็น”
กล่าวโดยสรุปคือ ให้อยู่กับปัจจุบันนั่นเอง ธรรมชาติของมนุษย์มีความยึดมั่นถือมั่น ยึดติดกับความสุขในอดีต และคิดว่ามันจะต้องเป็นเช่นนั้น ดังเดิมตลอดไปแต่เมื่อปัจจุบันไม่เป็นอย่างที่หวังก็เศร้าโศกเสียใจ หรือติดกับความทุกข์ในอดีตจนไม่กล้าที่จะทำสิ่งใดต่อไปในอนาคต ชีวิตก็จมปรักอยู่กับที่ไม่เจริญก้าวหน้า Jack Welch จึงเสนอแนวคิดในการดำเนินชีวิตเพื่อไปสู่ความสำเร็จ คือการอยู่กับปัจจุบันทิ้งอดีต และทำวันนี้ให้ดีที่สุด
3. ขงจื๊อ (Confucius)ขงจื๊อ นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ชาวจีนผู้มีคนให้ความเคารพศรัทธา และยึดถือแนวทางคำสอนกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ได้สอนหลักในการคบคนไว้ ดังนี้
“การคบคน ต้องเลือกคบคนที่มีคุณธรรมสูงกว่าหรือเท่า ๆ กับเรา”
เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องอาศัยอยู่ร่วมกับผู้อื่น ดังนั้น ในชีวิตประจำวันคำพูด ความคิด การกระทำ ความรุ้สึก และอารมณ์ของคน รอบข้างจะกระทบต่อเราอยู่ตลอดเวลาอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น หากเราคบหาสมาคมกับคนที่ขาดคุณธรรม จะทำให้จิตใจของเรา ตกต่ำตามไปด้วย ดังนั้น ถ้าอยากมีชีวิตที่ดี มีความสุข ประสบความสำเร็จ จะต้องเลือกคบคนดีมีคุณธรรมนั่นเอง
4. สก็อต เพ็ค (Scott Peck)แนวคิดของ สก็อต เพ็ค นำมาจากหนังสือเรื่อง The Road Less Traveled ได้แก่
"Life is Difficult" –ชีวิตเป็นของยากมันไม่ง่ายอย่างที่เราคิดจึงไม่ควรประมาทหรือล้อเล่นกับชีวิต
การประสบกับปัญหาและอุปสรรคมากมายในชีวิตนับเป็นเรื่องธรรมดา ดั่งเมฆบนท้องฟ้าดั่งคลื่นในมหาสมุทรมันมาแล้วมันก็ไปไม่มีวันหยุดยั้ง หากเรายอมรับสัจธรรมข้อนี้ได้เมื่อเจอปัญหาเราจะไม่สะทกสะท้าน ไม่มีความเครียดเลยแม้แต่น้อยเพราะปัญหามันเกิดขึ้นได้ก็ย่อมหมดไปได้ แต่ที่มนุษย์ยังต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ทุกวันนี้ เพราะยึดมั่นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันต้องเหมือนเดิมโดยลืมไปว่า ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่จีรังและเหมือนเดิมตลอดไป
5. นโปเลียน ฮิลส์ (Napoleon Hills)"ท่านทำได้ ถ้าท่านคิดว่าท่านทำได้"
การเชื่อมั่นในตนเองในที่นี้ไม่ใช่การหลอกตัวเองแต่เป็นการตั้งหลักในจิต ใจว่า เราจะต้องทำสิ่งเหล่านั้นให้จงได้ เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน พอที่จะเป็นไปได้ และท้าทายความสามารถในระดับหนึ่งรวมกับขั้นตอนและกลยุทธต่าง ๆ ที่จะต้องทำและแผนสำรอง เพื่อป้องกัน ความผิดพลาด ที่อาจจะเกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ความเชื่อมั่นว่าเราสามารถทำได้ เมื่อนั้นจิตจะรวมเป็นหนึ่งกอปรกับ การย้ำคิดย้ำทำในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างจริงจัง จะทำให้เกิดสติปัญญาที่จะให้เป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นจริง
"ว่าวจะลอยสูงได้ต้องมีลมมาปะทะ"
ผู้ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ ต้องรับได้ในทุกสถานการณ์ และเมื่อเจอปัญหาต้องนิ่งสงบใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาอย่างสุดความสามารถ
6. เดลล์ ไคน์เนกี้ (Dale Carnegie)แนวคิดของ เดลล์ ไคน์เนกี้ นำมาจากหนังสือเรื่อง How to Win friends and Influence People และ How to Stop Worrying and Start Living คือ
"อยากได้น้ำผึ้งอย่าแตะรังผึ้ง"
เวลาจะขอร้องใครควรพูดถึง ผลประโยชน์ของอีกฝ่ายก่อน เช่น นักการขายอยากได้ยอดขายก็ต้องเสนอให้ลูกค้ารู้ว่า เขาจะได้ประโยชน์อะไรจากการซื้อสินค้าและบริการของเรา เป็นต้น
"อย่าเลื่อยขี้เลื่อย"
คนที่จมอยู่กับเรื่องราวในอดีตชีวิตย่อมไม่ก้าวหน้า ความผิดพลาดในอดีตมีไว้เพื่อให้สำนึกและเรียนรู้ อดีตมันผ่านไปแล้วแต่ชีวิตต้องก้าวต่อไป จงทำบทบาทและหน้าที่ของตนเองในปัจจุบันให้ดีที่สุด
7. ชอง ปอล ซาร์ท (Jean Paul Sartre)"นรกคือสายตาของผู้อื่น—The Hell is Others"
คนที่ไม่มีจุดยืนและพยายามทำตามสิ่งที่ผู้อื่น คาดหวังอยู่ตลอดเวลา จะไม่มีชีวิตเป็นของตัวเอง ไม่เคยรู้จักตัวเองอย่างแท้จริง คอยอิจฉาริษยาและเปรียบเทียบกับผู้อื่นอยู่ร่ำไป จนลืมไปว่าจริง ๆ แล้วเราต้องการอะไรในชีวิต ดังนั้น จึงไม่ควรทำตามคนอื่นมากนัก ควรมีหลักเป็นของตัวเองด้วย
8. สตีเว่น โควี่ (Steven Covey)แนวคิดนี้นำมาจากหนังสือเรื่อง The 7 Habits of Highly Effective People ได้แก่
* นิสัยรู้และเลือก (Be Proactive) --คือการมีสติรู้และเลือกอยู่ตลอดเวลา รู้ตัวว่าขณะนี้ตนเองกำลังทำอะไรอยู่ และจะเกิดผลอะไรตามมา
* สร้างเป้าหมายในชีวิตเป็นภาพจารึกไว้ในจิตใจ (Begin with the End in Mind)--คือการมีเป้าหมายที่สำคัญและแน่นอน
* ทำสิ่งสำคัญที่ก่อน (Put First Things First)--คือการเลือกทำในสิ่งที่นำพาเราไปสู่เป้าหมายก่อนเป็นอันดับแรก
* รู้จักแบ่งผลปันประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย (Think Win/Win) เลิกคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง
* พยายามเข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วค่อยทำให้เขาเข้าใจเราทีหลัง (Seek First to Understand, and Then to Be Understood) ในที่นี้คือการเป็นผู้ฟังที่ดีและรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ใช่สักแต่จะพูดสิ่งที่เราอยากจะพูดอย่างเดียว โดยไม่รู้ว่าผู้ฟังคิดอย่างไรหรือรู้สึกอย่างไร การพูดมากเกินไปไร้สาระนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังทำให้จิตเสื่อมอีก ด้วย ดังนั้น จึงควรพูดเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น
* สร้างทีมเวิร์ค (Synergize) อย่าแสดงว่าตนเองดีกว่าหรือเหนือกว่าผู้อื่น เพื่อให้เข้าสายตาเจ้านาย เพราะการกระทำดังกล่าว เป็นการสร้างศัตรูโดยไม่รู้ตัว และหากเราเป็นคนเก่งจริงดีจริง ย่อมไม่มีความจำเป็นต้องอวดใคร เพราะอย่างไรความสามารถ และความดีย่อมฉายแววออกมาอยู่วันยังค่ำ
* เพิ่มพลังชีวิต (Sharpen the Saw) คือการรู้จักดูแลสภาพร่างกายและจิตใจของตนเองให้แข็งแรงและกระปรี้กระเปร่าอยู่เสมอ
9. มาร์ติน เซลิกแมน (Martin Saligman)แนวคิดนี้นำมาจากหนังสือเรื่อง Learned Optimism ได้แก่
ลักษณะของบุคคลที่มองโลกในแง่ร้าย (Negative-typed person) มีลักษณะ ดังนี้
* คนที่มองว่าปัญหาเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ ต้องยอมทนรับสภาพอย่างเดียว
* ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่เช่น เจอปัญหานิดเดียวก็ท้อแท้เลิกทำไปเลย
* มีอาการเศร้าสร้อย สลดหดหู่ หงุดหงิด ดวงตามีแต่ความอิดโรยและไม่พอใจ
บทความที่เกี่ยวข้อง: