กูรูเผยเคล็ดลับแห่งความเป็นผู้บริหาร 3 คำที่คุณไม่ควรพูด



วินซ์ เป็นคนที่มีความมุ่งมั่นเต็มเปี่ยม เขาเชื่อว่าการที่คนเรามีความสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้ดำเนินการต่างๆสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างราบรื่น แต่จริงๆแล้ว วินซ์มักมาบ่นอย่างฉุนเฉียวกับผม



เกี่ยวกับเรื่องที่คนอื่นควรทำอย่างเช่น เขาพูดถึงลูกน้องของเขาว่า"เขาควรจะรู้ว่าเมื่อส่งอีเมลนี้แล้วมันจะส่งผลยังไง" หรือพูดถึงผู้บริหารว่า"แบร็ดควรจะรู้ว่าต้องบอกผม เรื่องเกี่ยวกับการประกาศด้วย"



หรือ พูดเกี่ยวกับทีมว่า "ทีมของผมควรจะต้องมีความ สามารถพอที่จะรับมือได้"


ไม่นานนักผมก็สังเกตได้ว่าเขามักใช้คำว่า "ควร"บ่อยๆ ผมเลยถามเขาว่าคำว่า"ควร"ที่คุณมักพูดใคร เป็นคนที่สื่อถึง ใครเป็นคนคิดว่า "ควร" เขาถามผมกลับมาว่า ที่ถามมานี่หมายความว่า

ยังไง ผมเลยยกตัวอย่างว่า เวลาที่คุณพูดว่า "แบร็ดควรจะรู้ว่าต้องบอกเกี่ยวกับเรื่องประกาศให้รู้" มันเป็นประโยคที่ใครน่าจะพูดได้บ้าง


เขาตอบกลับมาว่า "มันเป็นแค่เรื่องมารยาททั่วไป แค่นั้นเองไม่ใช่หรือ"


ผมตอบกลับไปว่า "ไม่ว่าผมจะคิดแบบนั้นหรือไม่ก็ ตาม ผมเห็นว่าคำว่า ′ควร′ ไม่มีความจำเป็นต้องมาอยู่ในประโยคเลย"


ผมอธิบายไปว่า สำหรับผมแล้วคำว่า "ควร" มันให้ความรู้สึกเหมือนมันเป็นเรื่องที่กำลังพูดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็น สัจธรรมที่จริงแท้และทุกคนต่างเห็นด้วยกับมัน แบบที่เราพูดว่า

"เราควรต้องทาครีมกันแดด "



"เราควรกินอาหารสำเร็จรูปให้น้อยลง"



"เราควรต้องนอนพักผ่อนให้ครบ 8 ชั่วโมงต่อคืน"



"เราควรต้องทำสิ่งเหล่านี้หากต้องการมีชีวิตที่ยืนยาว"


มันเป็นคำแนะนำที่ดีนะ แต่แน่นอนว่าหลายคนไม่ได้ทำตามสิ่งเหล่านี้และมีสุขภาพที่ดี มีชีวิตยืนยาวหรอก ซึ่งนอกเหนือจากที่คำว่า"ควร"ทำให้เรารู้สึกผิดแล้ว เจ้าคำว่า "ควร" มันให้ข้อดีอะไรเราอีกบ้าง


แล้วใครเป็นคนคิดว่า "ควร" กันแน่?


ผมถามวินซ์ว่า ตอนที่คุณพูดว่าแบร็ดควรบอกให้คุณรู้ก่อน คำว่า"ควร" นี่หมายถึงใครเป็นคนที่คิดว่ามัน"ควร" ?
แม่ของวินซ์, แม่ของแบร็ด หรือพระเจ้า ใครเป็นคนที่คิดว่า "ควร"


วินซ์ตอบว่า "ผมว่าตัวผมเองนะ มันเป็นความต้องการของผมเอง"


ผมเลยตอกกลับไปว่า เวลาที่คุณจะพูดคำว่า "ควร" น่าจะเรียบเรียงประโยคเสียใหม่ ให้มันเป็นประโยคที่เป็นความคิดเห็นส่วนตัว คุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของความต้องการของตน มากกว่าการที่พูดเหมือนกับว่ามันเป็นสัจธรรมที่ทุกคนต่างเห็นด้วย


ผมยกตัวอย่างประโยคอย่าง "แบร็ดควรจะบอกให้ผมรู้ เรื่องประกาศด้วย" อาจกลายเป็น "ผมอยากให้แบ ร็ดบอกผมก่อนเรื่องเกี่ยวกับประกาศอันนั้น"


"เขาควรจะรู้ว่าเมื่อส่งอีเมลนี้แล้วมันจะส่งผล ยังไง" กลายเป็น "ผมอยากให้เขาคิดก่อนที่จะกด ส่ง"


"ทีมของผมควรต้องมีความสามารถที่พอจะรับมือได้" กลายเป็น "ผมเชื่อว่าทีมของผมต้องมีความสามารถที่จะ รับมือได้"


"ควร" ไม่ใช่คำ แต่เป็นความคิด


วินซ์เริ่มมองเห็นแล้วว่า "ควร" เป็นตัวแทนของความคิดที่สร้างความรับผิดชอบให้กับคนอื่น ดังนั้น คนที่สินซ์กล่าวคำว่า "ควร" จะรู้สึกว่าเป็นเหยื่อของความต้องการที่ยิ่งใหญ่ของพวกคนไม่ดีทั้งหลายที่ ต้องการให้กดดันให้คนอื่นทำตามสิ่งที่เขาต้องการ คนทั่วไปจะต้องรู้สึกปลอดโปร่งปราศจากความรู้สึกที่ต้องรับผิดชอบใดๆแบบนั้น


วินซ์เริ่มไม่ชอบนัยยะของ "ควร" และตัดคำว่า"ควร"ออกไปจากวิธีคิดได้อย่างรวดเร็ว


ลองมาดูที่สถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันของโรซ่า หัวหน้ากลุ่มการจัดการข้อมูลกลุ่มหนึ่ง เธอได้รับเสียงวิจารณ์ตัวเธอว่า "เป็นคนที่ชาญฉลาดแต่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกหดหู่" "ถ้าถามว่าเธอรู้สึก ยังไงแล้วนะ คุณจะรู้สึกดิ่งตามเธอไปด้วยเลย"


ผมถามเธอว่าพวกคำวิจารณ์เหล่านั้นจริงหรือไม่เธอถอนหายใจอย่างหงอยๆและพูดว่า "ใช่แล้วหละ ฉันคิดว่าฉันควรจะเป็นคนที่ดีกว่านี้"


ผมถามต่อว่าคำว่า "คนที่ดีกว่า" หมายความว่าอย่างไร เธอตอบว่า "ฉันควรจะรมีความสุขมากกว่านี้"


"ใครบอกคุณแบบนั้นหละ" ผมถามต่อ


"ทุกคนเลย"เธอตอบ


"แล้วมันเป็นความต้องการของคุณด้วยหรือเปล่า? "


"ใช่นะ ฉันควรจะมีความสุขมากกว่านี้" เธอตอบกลับมาและนำเราไปสู่บทสนทนาต่อไป


โรซ่าไม่เหมือนวินซ์ตรงที่ว่า "ควร" ของวินซ์เป็น"ควร"ที่วินซ์มีนัยหมายถึงทุกๆคนต้องการให้เป็นแบบนั้น แต่"ควร"ของโรซ่าเป็น"ควร"ของเธอและเกี่ยวกับเธอเอง ทุกๆคำว่า "ควร" ของเธอเป็นตัวแทนของทุกๆจุดในความล้มเหลวของเธอ


คำว่า"ควร"ของโรซ่าทำให้เธอรู้สึกผิด แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเติมเต็มเธอได้เช่นเดียวกัน เมื่อเธอสามารถทำได้ตามระดับที่เธอตั้งไว้ว่า"ควร"เป็นแบบนั้น เธอก็จะก้าวต่อไปได้ ในครั้งต่อไปเมื่อรู้สึกอีกเธอก็จะตั้งคำว่า"ควร"ขึ้นมาใหม่ และก็ทำให้เธอรู้สึกไม่ดีอีกจากนั้นก็ก้าวต่อไปให้ได้แบบที่ตั้งความหวังไว้ มันจึงเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย


ถ้าคำว่า "ควร" ติดอยู่ในความคิดของคุณทำให้คุณรู้สึกต้องทำให้ได้ คิดซะว่า "ควร" ทุกๆคำเป็นคำที่เป็นสิทธิส่วนบุคคล เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะบุคคล


ทั้งนี้ "ควร" เป็นถ้อยแถลงที่บกพร่อง


ส่วนอีก 2 คำที่เหลือ เมื่อถึงเวลาประชุมสต๊าฟทั่วไป ทุกคนมาถึงสถานที่ประชุมแล้วยกเว้น ฮันนาห์ การประชุมเลยต้องชะงักเพราะว่า ทุกคนไม่อยากเริ่มประชุมโดยไม่มีเธอร่วมด้วย



ในที่สุด เคทลิน หัวหน้ากลุ่มประกาศว่า น่าจะเริ่มประชุมได้แล้ว


สิบนาทีต่อมา ฮันนาห์มาถึงที่ประชุมอย่างเร่งรีบ หายใจหอบ โค้งคำนับครั้งไม่ถ้วน และขอโทษ จากนั้นจึงนั่งลงที่นั่งของตัวเอง เคทลินพูดขึ้นมาอย่างเย็นชาว่า "แบบนี้มันรับไม่ได้แล้ว

เธอมาสายเป็นประจำเลยนะ"


ฮันนาห์จึงบอกเหตุผลต่างๆนาๆไป และก็โต้เถียงกันอย่างนั้นอยู่หลายนาที หลังจากนั้นเคทลินจึงเริ่มรู้ว่าเถียงกันไปก็คงไม่ได้อะไร และถามผมว่า มีวิธีอื่นที่จะรับมือกับเรื่องแบบนี้บ้าง

ไหม


ผมตอบว่า เหตุการณ์ทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าคุณไม่พูดคำว่า "ประจำ" ซึ่งเป็นคำที่กล่าวหาฮันนาห์ และนั่นเป็นเรื่องที่ไม่จริงเลย


ตอนนี้เคทลินต้องพูดปกป้องเธอเองบ้าง เธอกล่าวว่า "แต่เธอก็สายจริงๆ เธอเข้าประชุมสายในครั้งนี้ และยังมาสายตอนนัดเจอกันแบบตัวต่อตัว แม้แต่ประชุมในกลุ่มของเธอเองยังมา

สายเลย ฉันได้ยินเรื่องเธอหลายครั้งแล้ว"


ผมตอบกลับว่า "ผมเข้าใจว่าเธอสายประจำ แต่เชื่อว่าเธอไม่ได้มาสายทุกครั้ง"


จงพูดในสิ่งที่คุณต้องการหมายถึงจริงๆ และจงหมายถึงแบบในสิ่งที่คุณพูดจริงๆ


คำว่า "ประจำ" หรือ "ไม่เคย" เป็นคำคู่แฝดที่ตรงข้ามกัน เพราะว่ามันเป็นคำที่ไม่ถูกต้องอย่างเที่ยงตรง ลองฟังเวลาที่แพทย์คุยกันเกี่ยวกับช้อมูล ชีวิตคนมากมายแขวนอยู่บนข้อมูลการวิจัยของพวกเขา แพทย์จึงไม่ใช้คำว่า "ประจำ" หรือ "ไม่เคย" เพราะเป็นคำที่ไม่เที่ยงตรง (แต่ไม่ได้หมายความว่าคำเหล่านั้นจะ"ไม่เคย"ถูกต้องนะ)


เมื่อคำว่า"ประจำ"และ"ไม่เคย"ต้องมาเปรียบเทียบกัน ในสถานการณ์ของฮันนาห์ เธอสามารถเถียงได้อย่างมีเหตุผล เธอไม่ได้สาย"ประจำ" เธอสามารถบ่ายเบี่ยงได้ว่าหลักฐานที่กล่าวหาเธอนั้นบกพร่อง ไม่สมบูรณ์


คนเราจะสร้างความน่าเชื่อถือได้ในยามที่พูดสิ่งที่เราหมายความแบบนั้น จริงๆ การใช้คำว่า "ประจำ" และ "ไม่เคย" เป็นคำที่ทำให้หมดความน่าเชื่อถือ เพราะมันหมายถึงสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อถึงได้น้อยมาก


เราจะสร้างความน่าเชื่อถือได้เมื่อเราสื่อในสิ่ง ที่เราหมายถึงจริงๆ คำว่า "ควร" มักจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดถึงแม้ว่าเรามักจะพูดกันบ่อยๆว่า "เราควรทำแบบนั้น" หรือ "เราควรทำแบบนี้"



จริงๆแล้ว เรามักไม่ค่อยทำในเรื่องเหล่านั้นเลย หรือทำน้อยมากอย่างเช่น ประโยคว่า"เราควรนอนวันละ 8 ชั่วโมง" แต่มีน้อยคนมากที่นอนได้ถึง 8 ชั่วโมง


ที่เอ่ยมาทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าอย่าใช้ แต่เคล็ดลับก็คือ ใช้ให้น้อยๆเข้าไว้ และใช้ด้วยความตระหนักอย่างมาก ซึ่งมันจะช่วยเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือ และส่งเสริมภาพลักษณ์ของความเป็นผู้นำในถนนแห่งชีวิตได้อย่างดี

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์