หมวดทุกข์-พ้นทุกข์
การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก่อให้เกิดทุกข์
การพบเห็นสิ่งที่ไม่รัก ทำให้เกิดทุกข์
สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ความจน เป็นทุกข์ในโลก
ทุกเสมอด้วยขันธ์ ไม่มี
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
คนไม่มีที่พึ่ง.. อยู่เป็นทุกข์
ผู้แพ้.. ย่อมอยู่เป็นทุกข์
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
ทุกข์.. ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง
ผู้ดื่มธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข
การสะสมบุญ นำสุขมาให้
เมื่อหมดกังวล ทุกข์ก็ไม่มี
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข
ปฏิบัติชอบต่อมารดา เป็นความสุขในโลก
ปฏิบัติชอบต่อบิดา เป็นสุขเช่นกัน
การแสดงธรรม ทำให้เกิดสุข
ผู้ไม่มีอะไรให้กัลวล สุขจริงหนอ
ครองเรื่อนไม่ดี ก็เป็นทุกข์
ปฏิบัติชอบต่อสมณะ ย่อมเป็นสุข
ท่านผู้ไกลกิเลส ช่างสุขจริงหนอ
ศีลก่อให้เกิดสุขตราบเท่าชรา
ทุกข์ เท่านั้นเกิด
ศรัทธาที่มั่นคง ทำให้เกิดสุข
โลกตั้งอยู่บนฐานแห่งความทุกข์
คนมีตัณหาเป็นทุกข์บ่อยและนาน
ละทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นความสุข
เป็นคน พึงทำทุกข์ให้หมดไปได้
สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
การได้ปัญญา ทำให้เกิดสุข
การสะสมบาป เป็นทุกข์
การอยู่ร่วมกับคนไม่เสมอกันก็เป็นทุกข์
ไม่พบคนที่รักก็เป็นทุกข์
พอใจเท่าที่มี เป็นความสุข
ผู้ฉลาด พึงละทุกข์ในโลกนี้ให้ได้
การไม่เบียดเบียนกัน เป็นทุกข์ในโลก
คนโง่ ย่อมได้รักทุกข์บ่อย ๆ
กามมีความคับแค้นเป็นราก มีทุกข์เป็นผล
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้
สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี
บุญให้ความสุขเมื่อถึงคราวตาย
การไม่พบคนชั่วเลย มีความสุขทุกเมื่อ
ทุกข์ เสมอด้วยขันธ์ไม่มี
ผู้แพ้ ย่อมนอนเป็นทุกข์
พบคนไม่รัก ก็เป็นทุกข์
การไม่ทำชั่ว ทำให้เกิดสุข
ความทุกข์ เกิดขึ้นบ่อย ๆ
การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
ความจนเป็นทุกข์ในโลก
กามทั้งหลายมีสุขน้อย ทุกข์มาก
การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดสุข
ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป
อยากได้สุข เมื่อปฏิบัติถูกทาง ก็ย่อมได้สุข
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด
ทุกข์เป็นภัยใหญ่หลวงของโลก
หมวดบาป-เวร
บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกอื่น
คนมักทำบาปเพราะความหลง
บาปไม่มี แก่ผู้ไม่ทำ
คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน
พึงละเว้นบาปทั้งหลาย
การไม่ทำบาป นำสุขมาให้
ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้
คนพูดเท็จ จะไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี
คนสะอาด ไม่ยินดีในความชั่ว
ไม่ควรทำบาป เพราะเห็นแก่กิน
สาธุชนย่อมละบาปกรรมด้วยตปะ (ตบะ)
เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่แปดเปื้อน
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด, คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วบบาปฉันนั้น
ผู้ใดระงับบาปน้อยใหญ่ได้โดยประการทั้งปวง ท่านเรียกผู้นั้นว่าสมณะ เพราะเป็นผู้ระงับบาปทั้งหลายได้
คนพูดเท็จ ล่วงสัตยธรรมเสียอย่างหนึ่ง ไม่คำนึงถึงโลกหน้า จะไม่พึงทำบาปเป็นอันไม่มี
ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด, บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น
ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อย มีทรัพย์มาก เว้นหนทางที่มีภัย และ เหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น
บาปกรรม ที่ทำแล้วย่อมไม่มีเปลี่ยนแปลง เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น, บาปย่อมตามเผาคนเขลา เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรของผู้จองเวร ย่อมไม่ระงับ
ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมระงับด้วยเวรไม่ได้เลย
ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง, เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือนร้อน
หมวดกิเลส
คนทั้งหลาย อันถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้
ความอยาก ละได้ยากในโลก
กรรมทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์
ความอยา ก มีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี
ทุกข์อื่นยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี
ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
โกรธแล้ว ย่อมมองไม่เห็นธรรม
ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก
ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน
คนโกรธฆ่าได้ แม้แต่มารดาของตน
คนมักโกรธย่อมมีผิวพรรณไม่งาม
กามทั้งหลายที่ทำให้อิ่มได้ ไม่มีในโลก
ฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอนเป็นสุข
ความอยาก ย่อมชักพาคนไปต่าง ๆ
ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มี เพราะฝนคือ กหาปณะ (คือกามไม่มีที่สิ้นสุด)
ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือนร้อน เหมือนถูกไฟใหม้
คนโกรธจะผลาญสิ่งใด แม้สิ่งนั้นทำยาก ก็เหมือนทำง่าย
ผู้บริโภคกามเป็นอันมาก ไม่สิ้นทะเยอทะยาน เป็นผู้พร่อง อยู่เทียว ละร่างกายไปแท้ (ตายไปทั้งที่หื่นกระหายกาม)
ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย
คนโลภไม่รู้ทันว่าความโลภนั้น เป็นภัยที่เกิดขึ้นภายในตัวเอง
ท่านที่ตัดความอยากเสียได้ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้
ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่านไป สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า
โลภเข้าแล้ว มองไม่เห็นธรรม เมื่อความโลภเข้าครอบงำคน เวลานั้นมีแต่ความมืดตื้อ
ผู้ไม่โกรธตอบคนโกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่านไป สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์
ภิกษุผู้ถอนภวตัณหาได้แล้ว มีจิตสงบแล้ว สิ้นความเวียนเกิดแล้ว ย่อมไม่มีภพอีก
โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในทุกข์
ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก, สัตว์เป็นอันมาก ถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนาจนกถูกบ่วงรัดไว้ฉะนั้น
โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้ เพราะกำจัดความอยาก, เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น
คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ
ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา
หมู่สัตว์นี้ประกอบด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัด ถูกมานะมัดไว้ ทำความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ย่อมล่วงสงสารไปไม่ได้
สัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว ถูกชราปิดล้อมไว้ ถูกลูกศรคือตัณหาเสียบแล้ว ถูกอิจฉาคุกรุ่นแล้วทุกเมื่อ
ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูก มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป เพราะละตัณหาเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกได้ทั้งหมด
กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ กามทั้งหลายเป็นที่คนโง่หมกมุ่น เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาล
ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ไม่สำคัญตนว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญตนว่าต่ำกว่าเขาในโลก, ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีกิเลศเครื่องฟูขึ้น
ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม, ความโลภ เข้าครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่งอกงาม ในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้วย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม
เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่นในธรรม อย่าง เมื่อนั้นกิเลศเครื่องตรึงทั้งปวงของพราหณ์ผู้รู้นั้น ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
ผู้ใดไม่มีกังวลว่านี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้นเมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้
ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น และมีสติอยู่ทุกอิริยาบถเถิด
กามทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั้งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล
ผู้ใดข้ามพ้นกามในโลก และเครื่องข้องที่ข้ามได้ยากในโลก, ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก, ชื่อว่าไม่เศร้าโศก ไม่ยินดี
คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำ ความหลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้, ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความทะนงตัว
เมื่อผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่เราไม่สำนึกบุญคุณ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้
พราหมณ์ .. พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน, เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
ท่านทั้งหลายจงตัดป่า (กิเลศ) อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดจากป่า ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านจงตัดป่าและสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีป่า เถิด
ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้โภคทรัพย์
โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฏ เพราะความตระหนี่ (และความประมาท) เรากล่าวความอยากว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก เป็นทุกข์ภัยใหญ่ของโลกนั้น
สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำตนให้เป็นอุปมาล้าไม่ฆ่าเขาเอง ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า
ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว, ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
ผู้ใดไม่รู้ ย่อมก่ออุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ เพราะฉะนั้น ผู้รู้เห็นแดนเกิดแห่งทุกข์ จึงไม่ควรก่ออุปธิ
กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆ กัน บุคคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้วเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง, เพราะทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตาม ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง, เพราะเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตาม ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา ความร่าเริง การเล่น และ เมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย
- ทำดี ได้ดี
- ทำชั่ว ได้ชั่ว
- ความดี อันคนดีทำง่าย
- ความดี อันคนชั่วทำยาก
- ความชั่ว ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
- ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู
- ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า
- คนเราจะเลวเพราะการกระทำ
- ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ
- คนเราจะดีเพราะการกระทำ
- สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้
- ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ)
- กรรมชั่วของตน นำตนไปสู่ทุคติ
- พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ
- กรรมที่เป็นประโยชน์และดี ทำได้ยากยิ่ง
- กรรมจำแนกสัตว์ให้ดีเลวแตกต่างกัน
- ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
- คนชั่ว ย่อมเดือนร้อนเพราะกรรมชั่วของตน
- พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว
- ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
- สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย
- การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย
- อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย
- การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก
- พึงรักษาความดีของคนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
- รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว
- คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นในตนเอง
- ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
- บัณฑิตไม่ทำชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว
- ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้
- ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย, จึงควรอยู่ในราชการ
- เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือนร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
- ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว
- บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
- ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น
- ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
- ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนแต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย
- สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข
- สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข
- ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือนร้อนในภายหลัง ดุจมานพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น
- อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ
- คนพาลทรามปัญญา ย่อมดำเนินชีวิตโดยมีตนเองนั้นแหละเป็นศัตรู
- กรรมใด ทำไว้ ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือ ด้วยใจ กรรมนั้นแหละเป็นสมบัติของเขา ซึ่งเขาจะพาเอาไป
- การงาน 1 วิชา 1 ธรรม 1 ศีล 1 ชีวิตอันอุดม 1 คนบริสุทธิ์ด้วยสิ่งทั้ง 5 นี้ หาใช่ด้วยตระกูลหรือ ด้วยทรัพย์ไม่
- ธัญญาหาร ทรัพย์สิน เงินทอง หรือสมบัติที่ครอบครอง ไม่ว่าอย่างใดที่มีอยู่ คนรับใช้ คนงาน คนอาศัยทั้งหลาย ทุกอย่างล้วนพาเอาไปไม่ได้ ต้องทิ้งไว้ทั้งหมด
หมวดธรรม
ธรรม เหมือนห้วงน้ำไม่มีตม
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า
ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ
ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี
ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต
สัจจะ เป็นรสดียิ่งกว่าประดารสทั้งหลาย
บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว
ศีล เป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย
เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง มีหวังไปสุคติ
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต
การระมัดระวังกาย เป็นความดี
การระมัดระวังใจ เป็นความดี
ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ปราชญ์ พึงรักษาศีล
คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์
ทำได้แล้วค่อยพูด
ถึงพูดดี ก็ไม่ควรพูดเกินเวลา
โลก ถูกจิตนำไป
การฝึกจิต เป็นการดี
เมื่อจิตเศร้าหมอง มีหวังไปทุคติ
ศีล ยอดเยี่ยมในโลก
พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น
ความกตัญญูกตเวที เป็นพื้นฐานของคนดี
ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิต ย่อมเดือดร้อน
ธรรมะ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษควรรักษา
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้
ควรเคารพสัทธรรม
ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
ทำไม่ได้ อย่าพูด
ศรัทธา เป็นเพื่อนแท้ของคน
ความสะอาด รู้ได้ด้วยคำพูด
คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำโชคอยู่ตลอดเวลา
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี
พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป
ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
ผู้มีปิติในธรรม อยู่เป็นสุข
ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
ผู้ตั้งมั่นอยู่ในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง
เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม
คนมีสติ ย่อมดีขึ้นทุกวัน
สติ คือความตื่นในโลก
ผู้มีจิตใจตั้งมั่น ย่อมไม่เบียดเบียนคนอื่น และ แม้ตนเอง
ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้งอาศัย เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั่วไป ฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดเพ้อ มีปรีชา ไม่หยิ่ง มีใจมั่นคงนั้นแล ย่อมงดงามในธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
สัจจะ ธรรมะ อหิงสะ สัญญมะ และ ทมะ มีอยู่ในผู้ใด อารยชนย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก
ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง
ชนเหล่าใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้น จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก
ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี, ผู้นั้นย่อมห่างจากประสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ
โสรัจจะ และ อวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง สติ และ สัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า
ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ดารดาษด้วยดอกไม้คือวิมุติติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน
ผู้มีปัญญาทราม มีจิตใจกระด้าง ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนดินกับฟ้า
ผู้ใดสอนธรรมแก่คนที่ปฏิบัติไม่ถูก ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น จะไม่ไปสู่ทุคติ
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก, พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้
นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด ปัญญา สติ และนามรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น เพราะวิญญาณดับ
กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม คนสามัญไม่อาศัยธรรม ชนทั้ง นั้นละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ
ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียรละ ความเกิดความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน
กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร จัณฑาล และ คนงานชั้นต่ำ ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์
พึงเป็นผู้พอใจ และ ประทับใจ ในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน
คนมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวอยู่ช้านาน ไม่ล่วงพ้นสงสารที่กลับกลอกไปได้
ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ละกิเลศเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน
ผู้ถูกราคะย้อม ถูกกองมืด (อวิชชา) ห่อหุ้มแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม สำหรับฝืนใจอันละเอียดลออ ลึกซึ้ง ซึ่งเห็นได้ยาก
บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และ ป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี
ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก
พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และ ไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้นควรเป็นผู้ทรงธรรม
ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
เราตถาคต ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และ การสละสิ่งทั้งปวง
พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ
มหาราช ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรม นอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสุคติ
เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ก็ไม่มีภพต่อไปอีก
ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว
กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกันกระแสเหล่านั้น เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา
ผู้ละปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรม ที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าผู้ทรงธรรม
ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์, ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม อย่าง
บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว, ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง, ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ประเสริฐสุด, บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม ประเสริฐสุด, และ บรรดาสัตว์ เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ประเสริฐสุด
ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษ กับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้
จงเด็ดเยื่อใยของตนเองเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว
พึงขจัดปัญหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้น ๆ
สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์, แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว (บกพร่อง), เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน แม้ด้วยเหตุนี้ เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมุติของตน ๆ ว่าเป็นจริง
เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และ ฝั่งทะเลก็ไกลกัน แต่ธรรมของสัตบุรุษ กับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น
ท่านผู้ดับไป (คือปรินิพพาน) แล้ว ไม่มีประมาณ, จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี, เมื่อธรรมทั้งปวง (มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด
หมวดความสุข
ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้
ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว หลับและตื่นย่อมเป็นสุข
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี
ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก
การแสดงสัทธรรม นำความสุขมาให้
ความสงบระงับแห่งสังขารนั้น เป็นสุข
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล
ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง
การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุขมาให้เลย
ความดี โจรลักไม่ได้
คนเรานี้ ถ้ามีอันทำชั่วลงไป ก็อย่าพึงทำความชั่วนั้นซ้ำเข้าอีก
บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ
ความชั่ว ไม่ทำเสียเลย จะดีกว่า
ความดี ทำไว้แล จะดีกว่า
อย่าดูหมิ่นความชั่วว่าเล็กน้อย คงจักไม่มีผลมาถึงตัว
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว
ธรรมนั่นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำมาซึ่งความสุข
ผู้อิ่มในธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
เกียรติไม่ทิ้งผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
กรรมไม่ดี ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
การสร้างสมความดี นำสุขมาให้
ไม่ควรทำบาป แม้เพราะเห็นแก่กิน
การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตนนั้นทำง่าย
ความดี คนชั่ว ทำยาก
ความดี คนดี ทำง่าย
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญ นี้เป็นชื่อของความสุข
ถึงคราวจะสิ้นชีพ บุญก็ช่วยให้เป็นสุข
การไม่ทำความชั่ว ย่อมก่อให้เกิดความสุข
ความชั่ว คนชั่ว ทำง่าย
เพราะน้ำหยดทีละน้อย หม้อน้ำก็ยังเต็มได้
ความดีที่ทำไว้เองนี้แหละ เป็นทรัพย์ส่วนของตัวโดยเฉพาะ
ตายเพราะชอบธรรมดีกว่า อยู่อย่างไม่ชอบธรรม จะมีค่าอะไร
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือ ให้ทราม และประณีต
ความดีที่ทำไว้เองเป็นมิตรตามตัวไปเบื้องหน้า
ทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลดี
อย่าพึงสร้างความพอใจในความชั่วนั้น การสั่งสมความชั่ว เป็นการก่อความทุกข์
ทำกรรมใดแล้ว ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลไม่ดี
ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จแก่ตน โดยทางไม่ชอบธรรม
ธีรชนสร้างความดีทีละน้อย ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี
การใดเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง
พาลชนสร้างสมความชั่วทีละน้อย ก็เต็มเพียบไปด้วยความชั่ว
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม การชำระจิตของตนให้ผ่องใส สามนี้ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
คนมีความชั่วย่อมเดือนร้อน เพราะกรรมของตน
ไม่ได้แต่ชอบธรรมดีกว่า ถึงได้แต่ไม่ชอบธรรมจะดีอะไร
บัณฑิตไม่ประกอบความชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว
บัณฑิตนั้น ถึงถูกทุกข์กระทบ ถึงพลาดพลั้งลงก็คงสงบอยู่ได้ และ ไม่ละทิ้งธรรมเพราะชอบหรือชัง
ช่างดอกไม้ ร้อยพวงมาลัยได้มากมาย จากดอกไม้กองหนึ่ง ฉันใด คนเรา เกิดมาแล้วก็ควร สร้างความดีงามให้มาก ฉันนั้น
บุคคลใดเคยทำกรรมชั่วไว้ แล้วกลับตัวได้ หันมาทำดีปิดกั้น บุคคลนั้นย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์อันพ้นจากเมฆหมอก
บุคคลใดในกาลก่อนเคยผิดพลาด ครั้นภายหลังเขากลับตัวได้ไม่ประมาท บุคคลนั้น ย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์ อันพ้นจากเมฆหมอก
พึงสละทรัพย์ เพื่อเห็นแก่อวัยวะ พึงสละอวัยวะ ในเมื่อจะรักษาชีวิต พึงสละได้หมด ทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และ ชีวิต ในเมื่อคำนึงถึงธรรม
- บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต
- บุญ โจรนำไปไม่ได้
- บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ ในโลกหน้า
- คนสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
- ควรทำบุญอันนำสุขมาให้
- ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
- สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ , บุญทั้งหลายที่ตนทำเอง บุญนั้นจะเป็นมิตรในสัมปรายภพ
- ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมยินดีในโลกนี้ ตายแล้ว ย่อมยินดี ชื่อว่าย่อมยินดีในโลกทั้งสอง, เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไปแล้ว ไปสู่สุคติ ย่อมยินดียิ่งขึ้น
- ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อมบันเทิง ชื่อว่าย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง, เขาเห็นความบริสุทธิ์ แห่งกรรมของตนแล้ว ย่อมบันเทิงปราโมทย์
- ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อย จักไม่มาถึง, แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลง ฉันใด, ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญฉันนั้น
- ศรัทธาเป็นทรัพย์ ประเสริฐของคนในโลกนี้
- ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียงคือกุศล
- ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
- ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน
- ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้
- ผู้มีศรัทธาประกอบด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยศและโภคะ จะไปสู่ถิ่นใด ๆ ก็มีคนบูชาในถิ่นนั้น ๆ
- ผู้ใดใคร่เห็นผู้มีศีล ปรารถนาฟังพระสัทธรรม กำจัดมลทิลคือความตระหนี่ได้, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าผู้มีศรัทธา
- คนใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวด้วยศรัทธา, คนนั้นย่อมได้ข้าว ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้าเหมือนกัน
- ผู้มีศรัทธา มีปัญญา ตั้งในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล แม้คนเดียว ย่อมเป็นประโยชน์แก่ญาติ และ พวกพ้องผู้ไม่มีศรัทธา
หมวดปัญญา
ผู้มีปัญญา พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา
ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบด้วยหลายประการ
ปัญญาเป็นรัตนะแห่งนรชน
ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจพิจารณา
คนเราจะมองเห็นอรรถชัดแจ้งได้ด้วยปัญญา
ผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนมาก
ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตัว
รู้จักฟัง ย่อมได้ปัญญา
พึงวิจัยเรื่องราวตลอดสายให้ถึงต้นตอ
ความสิ้นปัญญาย่อมเกิดเพราะความไม่ประกอบ
คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา
ปัญญา ย่อมเกิดเพราะใช้การ
ไม่พึงละเลยการใช้ปัญญา
ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด
คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา
ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ได้เล่าเรียน
ปัญญาแล ประเสริฐกว่าทรัพย์
ปัญญา เป็นดวงแก้วของคน
ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ
ความพินิจ ไม่มีแก่คนไร้ปัญญา
คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐสูงสุด
คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
เมื่อขาดปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้
ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์
ปัญญาย่อมปกครองบุรุษนั้น
ผู้มีปัญญา รู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า
ปัญญาย่อมเจริญด้วยประการใด ควรตั้งตนไว้ด้วยประการนั้น
ราคะ โทสะ ความมัวเมา และ โมหะ เข้าที่ไหน ปัญญาย่อมเข้าไม่ถึงที่นั้น
ขาดตาปัญญาเสียแล้ว ก็เหมือนคนตาบอด เหยียบลงไปได้ แม้กระทั่งไฟที่ส่องทาง
คนมีปัญญา ถึงสิ้นทรัพย์ ก็ยังเป็นอยู่ได้
คนมีปัญญาประเสริฐกว่า คนโง่ถึงจะมียศก็หาประเสริฐไม่
คนที่อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาจะครอบงำเอาไว้ในอำนาจไม่ได้
ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญา ว่า ประเสริฐสุด
คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น
ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้, แต่อับปัญญา แม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้
ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้
ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ฟังแล้ว ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติ และชื่อเสียง คนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้ แม้ในความทุกข์ก็หาความสุขได้
บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ, ผู้อิ่มด้วยปัญญานั้นย่อมไม่เดือนร้อนด้วยกาม, ตัณหาครอบงำ ผู้อิ่มด้วยปัญญาไว้ในอำนาจไม่ได้
คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ
คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตามผู้มีปัญญา
ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล ประกอบความสงบใจนั่นแล
คนโง่ถึงมียศ ก็กลายเป็นทาสของคนมีปัญญา เมื่อมีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น บัณฑิตจัดการเรื่องใดอันเป็นเรื่องละเอียดก่อน คนโง่ย่อมถึงความหลงใหลในเรื่องนั้น
ในเวลาที่ควรลุกขึ้นทำงาน ไม่ลุกขึ้นทำ ทั้งที่ยังหนุ่มแน่น มีกำลัง กลับเฉื่อยชา ปล่อยความคิดให้จมปลัก เกียจคร้าน มัวซึมเซาอยู่ ย่อมไม่ประสบทางแห่งปัญญา
เมื่อน้ำใส กระจ่างแจ๋ว ย่อมมองเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และ ฝูงปลาได้ ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว ย่อมมองเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
คนโง่เขลามาประชุมกันแม้ตั้งกว่าพันคน พวกเขาไม่มีปญญา ถึงจะพร่ำคร่ำครวญอยู่ตลอดร้อยปี ก็หามีประโยชน์ไม่ คนมีปัญญารู้เนื้อความแห่งภาษิต คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า
สัตบุรุษสรรเสริญปัญญาแน่แท้ คนทั้งหลายชอบทรัพย์สมบัติ จึงใคร่ได้สิริ (ยศ) ก็ความรู้ของท่านผู้รู้ทั้งหลายชั่งไม่ได้ ทรัพย์จึงเกินกว่าปัญญาไปไม่ได้ ไม่ว่ากาลไหน ๆ
คนเขลามียศศักดิ์ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา, เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น คนฉลาดจัดการข้อได้แนบเนียน คนเขลาถึงความงมงายในข้อนั้น
ผู้ขบคิดปัญหาอันลึกซึ้งด้วยใจ ไม่ทำกรรมชั่วอันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเลย, ไม่ละทางแห่งประโยชน์ที่มาถึงตามเวลา, บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีปัญญา
หมวดจิต
ธรรมทั้งหลาย มีจิตนำหน้า
การฝึกจิตเป็นความดี
จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้
พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน
ผู้ประพฤติตามอำนาจของจิต ย่อมลำบาก
เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
โลกอันจิตย่อมนำไป
จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
จงตามรักษาจิตของตน
คนฉลาด ทำจิตของตนให้ซื่อตรง
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง
พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน
จิตของเรามีธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก
จิตนั้นเห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปหาอารมณ์ที่ใคร่
ผู้รู้จักควบคุมจิตใจ จะพ้นไปได้จากบ่วงของมาร
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ประเสริฐอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว, ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด, ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น
จิตของท่านย่อมเดือนร้อน เพราะเข้าใจผิด, ท่านจงเว้นเครื่องหมายที่สวยงามประกอบด้วยความรัก
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์, ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว
ผู้ใดมักหวาดสะดุ้งต่อเสียง เหมือนเนื้อทรายในป่า ท่านเรียกผู้นั้นว่ามีจิตเบา, พรตของเขาย่อมไม่สำเร็จ
ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย
จิตเกื้อกูลที่อบรมบริบูรณ์ดีแล้ว เป็นจิตหาประมาณมิได้, กรรมใดที่ทำแล้วพอประมาณ กรรมนั้นจักไม่เหลือในจิตนั้น
เมื่อมีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
จิตนี้ถูกยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ เพื่อละที่ตั้งแห่งมาร ย่อมดิ้นรน เหมือนปลาถูกจับขึ้นจากน้ำโยนไปบนบกฉะนั้น
ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่ประเสริฐล้วนก็ดี ขันติ และ โสรัจจะ ก็ดี จะเป็นผู้สนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้างด้วยน้ำ
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป, สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว
การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี, เพราะว่าจิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
โจรกับโจร หรือ ไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน, ส่วนจิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำให้เสียหายยิ่งกว่านั้น
ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด, บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น
คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก ให้ตรงได้ เหมือนช่างศร ทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่, เพราะว่าจิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีกายเป็นที่อาศัย, ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผูกมารได้
จิตที่ตั้งไว้ถูกต้อง ทำคนให้ประเสริฐ ประสบผลดี ยิ่งกว่าที่มารดาบิดา หรือ ญาติทั้งหลายใด ๆ จะทำให้ได้
คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุที่เกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้
ภิกษุเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น รู้ความเกิด และความเสื่อมแห่งโลกแล้ว มีใจดี ไม่ถูกกิเลศอาศัย มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์ พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้
ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์พี่น้อง พ่อแม่ ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา
ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด ประพฤติตบะ อันเศร้าหมองตั้งร้อยปี จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้ เขามีตนเลวจะถึงฝั่งไม่ได้
เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชา รบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้, เพราะว่าเวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลัง ย่อมสงบระงับ
บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว พึงรบมารด้วยอาวุธ คือปัญญา และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้ ไม่พึงยับยั้งอยู่
หมวดศีล
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
ศีลพึงรู้ได้เมื่ออยู่ร่วมกัน
ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา
นักปราชญ์พึงรักษาศีล
เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น
ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี ท่านว่าศีล เป็นความดี
ผู้ไม่มีศีล ไม่มั่นคง ถึงจะเป็นอยู่ตั้งร้อยปี, ส่วนผู้มีศีล เพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสิรฐกว่า
เวทมนต์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง นำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้, ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนำสุขมาให้ในสัมปรายภพได้
เมื่อภิกษุมีมานะ ประมาทแล้ว มีความหวังในภายนอก, ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์
ผู้มีปรีชา มั่นคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อมดีใจในสวรรค์ ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง
ถ้าเป็นพหุสูต มั่นคงดีในศีล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขา ด้วยคุณ ประการ คือ ด้วยศีล และ ด้วยสุตะ
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
คนเขลา ไม่มั่นคงในศีล ถูกติเตียนในโลกนี้ และ ละไปแล้วย่อมเสียใจในอบายชื่อว่าย่อมเสียใจในที่ทั้งปวง
คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียน และ ความเสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีลธรรม ได้รับชื่อเสียง และ ความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ
มารค้นหาอยู่ ย่อมไม่พบช่องทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์ ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะความรู้ชอบของท่าน
ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมาก ด้วยความสำรวม ส่วนผู้ไม่มีศีล ประพฤติชั่ว ย่อมแตกจากมิตร
ศีลนั้นเทียวเป็นเลิศในโลกนี้ ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ความชนะในหมู่มนุษย์และเทวดา ย่อมมีเพราะศีลและปัญญา
พึงรักษาศีลในโลกนี้ เพราะศีลที่รักษาดีแล้ว เสพแล้วในโลกนี้ ย่อมน้อมนำมาซึ่งสมบัติทั้งปวง
ศีลเป็นกำลัง ไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริญสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
ศีลเป็นสะพานอันมีศักดิ์ใหญ่ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องขจรไปทั่วทุกทิศ
ผู้มีปัญญา เมื่อปรารถนาสุข อย่าง คือ ความสรรเสริญ ความได้ทรัพย์ และ ความละไปบันเทิงในสวรรค์ ก็พึงรักษาศีล
ศีลเป็นคุณรวมกำลังอย่างเลิศ ศีลเป็นเสบียงทางอย่างสูงสุด ศีลเป็นผู้นำทาง อย่างประเสริฐสุด เพราะศีล มีกลิ่นขจรไปทั่วทุกทิศ
ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และ การสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นสุข, ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
ผู้ใดในโลกนี้ สำรวมทางกาย วาจา และ ใจ ไม่ทำบาปอะไร และ ไม่พูดพล่อย เพราะเหตุแห่งตน , ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีศีล
หมวดทาน
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก
ของที่ให้แล้ว ชื่อว่านำออกไปอย่างดีแล้ว
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
การเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญ
เป็นคนควรให้ปันบ้าง ไม่มากก็น้อย
คนฉลาด พลอยยินดีการให้ทาน
คนดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน
คนดี ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
คนใจการุณ ช่วยแก้ไขคนให้หายโศกเศร้า
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี
ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข
ผู้บูชา ย่อมได้บูชาตอบ
ผู้ใดสั่งสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย
จงช่วยเหลือคนเดือนร้อน ด้วยความตั้งใจ
ให้ของดี ย่อมได้ของดี
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
คนดีจัดการโภคทรัพย์ ทำประโยชน์แก่คนจำนวนมาก
ท่านว่า ทานและการรบ เสมอกัน
คนควรให้ของที่ควรให้
ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น
กินคนเดียว ไม่ได้ ความสุข
ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ
ในโลกนี้ เวรระงับด้วยเวร ไม่เคยมี
ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
ไม่พึงบริโภคของอร่อยแต่ผู้เดียว
คนมีปัญญาอยู่ครองเรือน ก็เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมาก
นอกจากการแบ่งปันเผื่อแผ่กันแล้ว สัตว์ทั้งปวงหามีที่พึ่งอย่างอื่นไม่
ของที่ให้แล้ว ชื่อว่าออกผลเป็นความสุขแล้ว ส่วนของที่ยังไม่ได้ให้ ยังไม่มีผลเช่นนั้น
พึงนำสมบัติออกด้วยการให้, วัตถุที่ให้แล้วย่อมเป็นอันนำออกดีแล้ว, วัตถุที่ให้แล้วย่อมมีผลเป็นสุข, ส่วนวัตถุที่ยังไม่ได้ให้ก็ไม่เป็นอย่างนั้น
คนใด มั่งมีทรัพย์สินเงินทอง มีของกินของใช้มาก แต่บริโภคของอร่อยคนเดียว นั้นเป็นปากทางแห่งความเสื่อม
คนใด มารดาบิดาแก่เฒ่า ล้วงพ้นวัยหนุ่มวัยสาวไปแล้ว ตนเองสามารถก็ไม่เลี้ยงดู นั้นคือปากทางแห่งความเสื่อม
บัณฑิตสามารถปัดเป่าความเศร้าโศกของคนอื่นได้ จึงจัดว่าเป็นที่พึ่งยอดเยี่ยมของคนทั้งหลาย
การให้ทานนั้นปราชญ์สรรเสริญกันโดยมากอย่างแน่นอน แต่ กระนั้น บทธรรมก็ยังประเสริฐกว่าทาน
ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด, ทานที่ให้แต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในภพที่ตนเกิด
ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหณะ ชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ
ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ ให้ทานในคนที่ควรให้ เมื่อผู้นั้นประสบความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมได้สหาย
ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ
เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศ บุญอันเลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรต สุข และกำลังอันเลิศ ก็เจริญ
ให้ทานเป็นเบื้องต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้ เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย
ผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ไม่ให้ทานในคนที่ควรให้ เมื่อผู้นั้นถึงความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมไม่ได้สหาย
ชนเหล่าใด สร้างสวน ปลูกป่า ให้โรงประปา บ่อน้ำ และ ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้นย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ ทั้งคืนทั้งวัน
ตรวจดูด้วยจิต ทั่วทุกทิศแล้ว ไม่พบใครที่ไหน เป็นที่รักยิ่งกว่าตนเลย คนอื่นก็รักตนมากเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ผู้รักตน จึงไม่ควรเบียดเบียนคนอื่น
ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้านุ่งห่ม ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสะดวก ผู้ใดให้ที่พำนักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้ทั้งหมด
ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี ผู้ให้ของประเสริฐ ย่อมถึงฐานะอันประเสริฐ
นกชนิดหนึ่งเที่ยวบินอยู่ตามช่องเขา และ ไหล่เขา มีชื่อว่านกมัยหกะ มันบินไปสู่ต้นเลียบอันมีผลสุก แล้วร้องว่า *ของข้า ๆ* เมื่อนกมัยหกะร้องอยู่อย่างนั้นฝูงนกทั้งหลายก็พากันบินมาจิกกินผลเลียบ แล้วก็พากันบินไป นกมัยหกะก็ยังพร่ำอยู่อย่างเดิมนั้นเอง คนบางคนในโล
สัตว์ทั้งปวง ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวความตาย สัตว์ทั้งปวง ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา ชีวิตเป็นที่รักของทุกคน เราฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น สัตว์เหล่านี้ฉันใด เราก็ฉันนั้น นึกถึงเขา เอาตัวเราเข้าเทียบแล้ว ไม่ควรเข่นฆ่า ไม่ควรให้สังหารกัน
หมวดพบสุข
ผู้ไม่มีอะไรให้กังวล ย่อมมีแต่ความสุข
ไม่มีอะไรเลย ไม่มีใครเบียดเบียน
ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ
คนมีห่วงกังวล ย่อมวุ่นวายอยู่
ตราบใดยังมีชิ้นเนื้อคาบไว้นิดหน่อย ตราบนั้นก็ยังถูกกลุ้มรุมยื้อแย่ง
พวกมนุษย์ผู้อ่อนปัญญา ไม่เห็นอริยธรรม สนทนาถกเถียงกันทั้งวันทั้งคืน แต่ในเรื่องที่ว่า เงินของเรา ทองของเรา
ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส
ผู้ที่มัวเพลินประมาทอยู่กับสิ่งที่ชอบใจ สิ่งที่รัก และสิ่งที่เป็นสุข จะถูกสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่รักและความทุกข์ เข้าครอบงำ
มัวเศร้าโศกอยู่ก็ซูบผอมลง อาหารก็ไม่อยากรับประทาน ศัตรูก็พลอยดึใจ ในเมื่อเขาถูกลูกศรแห่งความโศกเสียบแทงย่ำแย่อยู่
ชนทั้งหลายผู้ยังอ่อนปัญญา เฝ้าแต่เพ้อฝัน สิ่งที่ยังไม่มาถึง และหวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงไปแล้วจึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสด ที่เขาถอนขึ้น ทิ้งไว้ในกลางแดด
ผู้ใดพอใครถามถึงทุกข์ของตน ก็บอกเขาเรื่อยไป ทั้งที่มิใช้กาลอันควร ผู้นั้นจะมีแต่มิตรชนิดเจ้าสำราญ ส่วนผู้หวังดีต่อเขาก็มีแต่ทุกข์
ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ไม่มีความเที่ยงแม้แน่นอน อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม
คนฉลาด พึงรู้จักกาลอันสมควร กำหนดเอาคนที่มีความคิด ที่ร่วมใจกันได้แล้ว จึงบอกทุกข์ร้อน โดยกล่าววาจาสละสลวย ได้ถ้อยได้ความ
เราเดินทางไปในแดนสัตว์ร้าย ก็ไม่หวาดหวั่น ถึงจะนอนหลับในที่เช่นนั้น ก็ไม่กลัวเกรง คืนวันผ่านไปไม่มีอะไรให้เราเดือดร้อน เรามองไม่เห็นว่ามีอะไรที่จะเสีย ณ ที่ไหน ในโลก เพราะฉะนั้น เราจึงนอนสบาย ใจก็คิดแต่จะช่วยเหลือปวงสัตว์
ดอกบัว เกิดและเจริญงอกงามในน้ำแต่ไม่ติดน้ำ ทั้งส่งกลิ่นหอม ชื่นชูใจให้รื่นรมย์ฉันใด พระพุทธเจ้าทรงเกิดในโลก และอยู่ในโลก แต่ไม่ติดโลก เหมือนบัวไม่ติดน้ำฉันนั้น
หมวดเกื้อกูลสังคม
พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ
พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต
พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต เพื่อรักษาความถูกต้อง
ผู้ฉลาดควรสละสุขเล็กน้อย เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
หมวดสามัคคี
สามัคคีของหมู่ทำให้เกิดสุข
จงสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน
ความเพียรของหมู่ชนผู้พร้อมเพรียงกันทำให้เกิดสุข
สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสือโคร่งได้ เพราะใจรวมเป็นอันเดียว
ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ
พึงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรญเสริญแล้ว ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี
ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระ เป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม
ผู้ใดรู้โทษที่ตนล่วงละเมิด ผู้ใดย่อมรับรู้โทษ ที่เขามาสารภาพ คนทั้งสองนี้ย่อมพร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น มิตรภาพของเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย
ถ้าแม้สัตบุรุษวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อมแตกกันเหมือนภาชนะดิน เขาย่อมไม่ได้ความสงบเวรกันเลย
หมวดการปกครอง
ผู้มีภาระปกครองรัฐ จงอย่าได้ประมาทเลย
ถ้าผู้ปกครองทรงธรรม ประเทศชาติก็เป็นสุข
การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น
พึงระแวง สิ่งที่ควรระแวง
ผู้ปกครองชอบธรรมจึงจะดี
ผู้บริหารโง่ ถึงจะเข้มแข็ง ก็ไม่ดี
พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง
เมื่อมีความประมาท ก็เกิดความเสื่อม
เมื่อมีความเสื่อม ก็เกิดโทษประดัง
สักการะฆ่าคนชั่วได้
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
อิสรภาพ เป็นสุขทั้งสิ้น
คนพาล เป็นผู้นำไม่ได้
เมื่อมีความมัวเมา ก็เกิดความประมาท
ยกย่องผู้ควรยกย่องเป็นอุดมมงคล
ผู้บริหารฉลาดและเข้มแข็ง จึงจะดี
พึงข่มคนที่ควรข่ม
ผู้ปกครองที่ฉลาด พึงแสวงสุขเพื่อประชาชน
ผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ ได้ชื่อว่าผู้เที่ยงธรรม
ผู้เป็นใหญ่ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ย่อมตกจากอำนาจ
โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง
ถึงจะเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา ก็ควรมีความถ่อมตน
ท่านผู้ครองแผ่นดิน ทั้งหลาย การที่ทำโดยผลีผลามจะแผดเผาตัวได้
อย่าสำคัญตนว่า เรามีอำนาจยิ่งใหญ่ แล้วทำให้ประชาชนพลอยพินาศ
คนที่เป็นใหญ่ จะต้องใคร่ครวญให้ดีก่อน จึงลงโทษ
อำนาจเป็นใหญ่ในโลก
ถึงมีกำลังพลน้อย แต่มีความคิด ก็เอาชนะกองทัพใหญ่ที่ไร้ความคิดได้
ราชา เป็นสง่าแห่งแคว้น
ผู้บริหารหมู่ชน เป็นปราชญ์ และมีกำลังเข้มแข็งจึงจะเป็นผลดี
ผู้บริหารหมู่คณะ ถึงจะมีกำลังอำนาจ แต่เป็นคนพาลย่อม ไม่เป็นผลดี
ผู้ปกครองต้องทราบรายได้รายจ่ายด้วยตนเอง ต้องทราบกิจการที่ทำแล้ว และยังมิได้ทำด้วยตนเอง
ในแว่นแคว้นของราชาผู้มีเมตตา มีธรรมมั่นคง ประชาชนจะนอนเป็นสุข เหมือนนอนอยู่ในบ้านของตัว ในร่มเงาอันเย็นสบาย
ผู้ครองแผ่นดินที่เจ้าสำราญ แส่หาแต่กามารมณ์ โภคทรัพย์จะพินาศหมด นี่แลที่เรียกว่าทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน
เมื่อผู้ครองแผ่นดินประมาท โภคทรัพย์ในรัฐทั้งหมดย่อมพินาศ นี่แลเรียกว่าทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน
ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้โดยพลัน ผู้นั้นจะหลงเข้าไปในอำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนภายหลัง
เมื่ออนารชนก่อกรรมชั่ว อารชนใช้อาชญาหักห้าม การกระทำนั้น เป็นการสั่งสอน หาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิตทั้งหลายเข้าใจกันอย่างนี้
ดูเถิดมหาราช พระองค์จงเสด็จเที่ยวสดับ ดูความเป็นอยู่ ความเป็นไปในแว่นแคว้นแดนชนบท ครั้นได้เห็นได้ฟังแล้ว จึงปฎิบัติราชกิจนั้นๆ
เริ่มแรก แก้ไขข้อที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้เสร็จ ระงับความโกรธกริ้วและความบันเทิงไว้ก่อน จากนั้นจึงสั่งงาน ข้อนี้นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นวัตร(ระเบียบปฎิบัติ) ของผู้ปกครอง
ชาวชนบทไม่ได้รับการพิทักษ์รักษา ถูกกดขี่ด้วยค่าธรรมเนียมโดยไม่ชอบธรรม กลางคืนโจรปล้น กลางวันข้าราชการข่มเหง ในแว่นแคว้นผู้ปกครองชั่วร้าย ย่อมมีคนอาธรรม์มากมาย
เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้านำโคฝูงไปตรง โคทั้งหมดย่อมว่ายตรงไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนที่เหลือก็เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง ถ้าราชาตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอ
เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้านำฝูงไปคด โคทั้งหมดก็ว่ายคดไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าประพฤติอธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนที่เหลือ ถ้าราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมด
ผู้ใดทำความชั่วด้วยสำคัญตัวว่า เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ครั้นทำแล้ว ก็ไม่หวั่นเกรงต่อคนทั้งหลาย ผู้นั้นจะดำรงชีพอยู่ยืนยาวด้วยความชั่วนั้นก็หาไม่ แม้เทพทั้งหลาย ก็มองดูเขาด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม