พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดทาน

  • ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก

  • ของที่ให้แล้ว ชื่อว่านำออกไปอย่างดีแล้ว

  • ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก

  • การเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญ

  • เป็นคนควรให้ปันบ้าง ไม่มากก็น้อย

  • คนฉลาด พลอยยินดีการให้ทาน

  • คนดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน

  • คนดี ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น

  • คนใจการุณ ช่วยแก้ไขคนให้หายโศกเศร้า

  • เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี

  • ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข

  • ผู้บูชา ย่อมได้บูชาตอบ

  • ผู้ใดสั่งสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย

  • จงช่วยเหลือคนเดือนร้อน ด้วยความตั้งใจ

  • ให้ของดี ย่อมได้ของดี

  • ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา

  • คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน

  • คนดีจัดการโภคทรัพย์ ทำประโยชน์แก่คนจำนวนมาก

  • ท่านว่า ทานและการรบ เสมอกัน

  • คนควรให้ของที่ควรให้

  • ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ

  • เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น

  • กินคนเดียว ไม่ได้ ความสุข

  • ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ

  • ในโลกนี้ เวรระงับด้วยเวร ไม่เคยมี

  • ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้

  • ไม่พึงบริโภคของอร่อยแต่ผู้เดียว

  • คนมีปัญญาอยู่ครองเรือน ก็เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมาก

  • นอกจากการแบ่งปันเผื่อแผ่กันแล้ว สัตว์ทั้งปวงหามีที่พึ่งอย่างอื่นไม่

  • ของที่ให้แล้ว ชื่อว่าออกผลเป็นความสุขแล้ว ส่วนของที่ยังไม่ได้ให้ ยังไม่มีผลเช่นนั้น

  • พึงนำสมบัติออกด้วยการให้, วัตถุที่ให้แล้วย่อมเป็นอันนำออกดีแล้ว, วัตถุที่ให้แล้วย่อมมีผลเป็นสุข, ส่วนวัตถุที่ยังไม่ได้ให้ก็ไม่เป็นอย่างนั้น

  • คนใด มั่งมีทรัพย์สินเงินทอง มีของกินของใช้มาก แต่บริโภคของอร่อยคนเดียว นั้นเป็นปากทางแห่งความเสื่อม

  • คนใด มารดาบิดาแก่เฒ่า ล้วงพ้นวัยหนุ่มวัยสาวไปแล้ว ตนเองสามารถก็ไม่เลี้ยงดู นั้นคือปากทางแห่งความเสื่อม

  • บัณฑิตสามารถปัดเป่าความเศร้าโศกของคนอื่นได้ จึงจัดว่าเป็นที่พึ่งยอดเยี่ยมของคนทั้งหลาย

  • การให้ทานนั้นปราชญ์สรรเสริญกันโดยมากอย่างแน่นอน แต่ กระนั้น บทธรรมก็ยังประเสริฐกว่าทาน

  • ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด, ทานที่ให้แต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น

  • ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในภพที่ตนเกิด

  • ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหณะ ชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ

  • ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ ให้ทานในคนที่ควรให้ เมื่อผู้นั้นประสบความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมได้สหาย

  • ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ

  • เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศ บุญอันเลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรต สุข และกำลังอันเลิศ ก็เจริญ

  • ให้ทานเป็นเบื้องต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้ เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย

  • ผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ไม่ให้ทานในคนที่ควรให้ เมื่อผู้นั้นถึงความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมไม่ได้สหาย

  • ชนเหล่าใด สร้างสวน ปลูกป่า ให้โรงประปา บ่อน้ำ และ ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้นย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ ทั้งคืนทั้งวัน

  • ตรวจดูด้วยจิต ทั่วทุกทิศแล้ว ไม่พบใครที่ไหน เป็นที่รักยิ่งกว่าตนเลย คนอื่นก็รักตนมากเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ผู้รักตน จึงไม่ควรเบียดเบียนคนอื่น

  • ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้านุ่งห่ม ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสะดวก ผู้ใดให้ที่พำนักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้ทั้งหมด

  • ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี ผู้ให้ของประเสริฐ ย่อมถึงฐานะอันประเสริฐ

  • นกชนิดหนึ่งเที่ยวบินอยู่ตามช่องเขา และ ไหล่เขา มีชื่อว่านกมัยหกะ มันบินไปสู่ต้นเลียบอันมีผลสุก แล้วร้องว่า *ของข้า ๆ* เมื่อนกมัยหกะร้องอยู่อย่างนั้นฝูงนกทั้งหลายก็พากันบินมาจิกกินผลเลียบ แล้วก็พากันบินไป นกมัยหกะก็ยังพร่ำอยู่อย่างเดิมนั้นเอง คนบางคนในโล

  • สัตว์ทั้งปวง ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวความตาย สัตว์ทั้งปวง ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา ชีวิตเป็นที่รักของทุกคน เราฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น สัตว์เหล่านี้ฉันใด เราก็ฉันนั้น นึกถึงเขา เอาตัวเราเข้าเทียบแล้ว ไม่ควรเข่นฆ่า ไม่ควรให้สังหารกัน