พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดวาจา
  • วาจาเช่นเดียวกับใจ

  • ไม่ควรเปล่งวาจาที่ชั่วเลย

  • คนพาลที่ยังไม่ถูกผูกมัด แต่พอพูดในเรื่องใด ก็ถูกผูกมัดในเรื่องนั้น

  • คนกล่าววาจาชั่วย่อมเดือดร้อน

  • ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ

  • คนโกรธมีวาจาหยาบ

  • คำสัตย์แลเป็นวาจาที่ไม่ตาย

  • คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก

  • ควรเปล่งวาจางาม

  • ควรเปล่งวาจาไพเราะ ที่มีประโยชน์

  • พูดดี เป็นมงคลอย่างสูงสุด

  • พูดอย่างใด ควรทำอย่างนั้น

  • ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน

  • ในกาลไหนๆ ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ

  • เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ

  • ระมัดระวังวาจา เป็นความดี

  • ความบริสุทธิ์พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ

  • วาจาสุภาษิต ย่อมมีผลแก่ผู้ปฎิบัติ เหมือนดังดอกไม้งาม ที่มีทั้งสีสวย และกลิ่นอันหอม

  • คนเกิดมาชื่อว่ามีขวานเกิดติดปากมาด้วย สำหรับให้คนพาลใช้ฟันตนเอง ในเวลาพูดคำชั่ว

  • ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป ควรกล่าววาจาที่ไม่ฟั่นเฝือ ควรกล่าวให้พอดีๆ เมื่อถึงเวลา

  • คนใดเมื่อถูกอ้างเป็นพยาน เบิกความเท็จ เพราะตนก็ด ีเพราะผู้อื่นก็ดี เพราะทรัพย์ก็ดี พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว

  • พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การเปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน

  • คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย นั่นเป็นธรรมเก่า สัตบุรุษ ทั้งหลายเป็นผู้ตั้งมั่นในคำสัตย์ที่เป็นอรรถ และเป็นธรรม

  • ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ

  • คนเขลา เมื่อกล่าวในเรื่องใดไม่ถูกผูก ก็ติดในเรื่องนั่น คนฉลาด เมื่อกล่าวในเรื่องใด แม้ถูกผูก ก็หลุดในเรื่องนั่น

  • ผู้ใดไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่รำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นมุนี มีวาจาสำรวมแล้ว

  • ควรกล่าววาจาที่น่ารักอันผู้ฟังยินดีเท่านั้น เพราะคนดีไม่นำพาคำชั่วของผู้อื่น คนดีจะกล่าวแต่คำไพเราะ

  • บุคคลพึงกล่าววาจา ที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแล เป็นสุภาษิต

  • ถ้ามีวาจาที่ประกอบด้วยข้อความแม้ตั้งพัน ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แล้ว ข้อความที่เป็นประโยชน์เพียงบทเดียว ที่ฟังแล้วสงบระงับได้ ย่อมประเสริฐกว่า

  • จะทำสิ่งใดพึงพูดสิ่งนั้น สิ่งใดไม่ทำไม่พึงพูดถึง บัณฑิตย่อมจะหมายเอาได้ว่า คนไม่ทำดีแต่พูด

  • บุคคลทำสิ่งใดควรพูดสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งใดไม่ควรพูดสิ่งนั้น บัณฑิตย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำ ได้แต่พูด

  • พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด ย่อมเป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน และเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย

  • ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมเก็บโทษของตนไว้ด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษแห่งปากนั้น

  • ผู้มีภูมิปัญญาย่อมไม่พูดพล่อยๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่นหรือตนเอง ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชา ในท่ามกลางชุมชน ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ

  • ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใครๆ ขัดใจ ไม่หยาบคาย เป็นเครื่องให้รู้ความได้และเป็นคำจริง เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์