พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดตน- ฝึกตน
  • บุคคลไม่ควรลืมตน

  • ตนนั่นแหละเป็นที่รักยิ่ง

  • ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตนอยู่เป็นนิจ

  • ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

  • ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี

  • ตระเตรียมตนให้ดีเสียก่อนแล้ว ต่อไปจะได้สิ่งอันเป็นที่รัก

  • รู้ตนว่าเป็นคนเช่นใด เหล่าเทพไท้ก็รู้เช่นนั้น

  • ผู้ฝึกตนได้ เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์

  • ไม่ควรพร่าประโยชน์แห่งตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้จะมีมาก

  • แน่ะ บุรุษ จริงหรือเท็จ ตัวท่านเองย่อมรู้

  • ฝึกตนได้แล้วจึงควรฝึกคนอื่น

  • จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น

  • ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น

  • ได้ยินมาว่า ตัวเราฝึกได้ยาก

  • ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว

  • ควรรักษาตนนั้นไว้ให้ดี

  • ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว

  • จงเป็นผู้ตามรักษาตน อย่าให้เดือดร้อน

  • อย่าฆ่าตัวเองเสียเลย

  • บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต

  • เป็นที่รู้กันว่า ตนนี่แหละ ฝึกได้ยาก

  • ความผิดของตน มองเห็นได้ยาก

  • ทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง

  • ไฉนจึงดูถูกตัวเองเล่า

  • ทุกท่านสามารถทำดีได้

  • พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน

  • ตนมีทางไป เป็นของตน

  • ติตนด้วยข้อใด อย่าทำข้อนั้นเสียเอง

  • บัณฑิต ย่อมฝึกตน

  • บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตนเอง

  • รักอื่นเสมอด้วยรักตน นั้นไม่มี

  • ไม่พึงอาศัยผู้อื่นยังชีพ

  • คนชั่วฆ่าตัวเองก่อน ภายหลังจึงฆ่าคนอื่น

  • ความผิดของผู้อื่นเห็นได้ง่าย

  • จงเตือนตนด้วย ตนเอง

  • บุรุษ ไม่พึงสละเสียซึ่งตัวเอง

  • ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นความโชติช่วงแห่งคน

  • ตนแล เป็นคติของตน

  • ความรักอื่น เสมอด้วยความรักตนเองไม่มี

  • คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้

  • จงพิจารณาตนด้วยตนเอง

  • ไม่ควรเอาตัวไปพัวพันกับความชั่ว

  • คนมิได้เป็นโจรเพราะคำของคนอื่น มิได้เป็นมุนีเพราะคำของคนอื่น

  • ตนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง

  • ผู้มีตน ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก

  • ชื่อว่าที่ลับ ไม่มีในโลก

  • บัณฑิตไม่ควรขุดโค่นความดีของตนเสีย พึงรักษาตนไว้ให้ได้ทุกเมื่อ

  • กำหนดประโยชน์ที่หมายของตนให้แน่ชัด แล้วพึงขวนขวายแน่วในจุดหมายของตนนั้น

  • ผู้ใดรักษาตนได้ ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันได้รับการรักษาด้วย

  • ท่านเอ๋ย ท่านก็สามารถทำดีได้ ไยจึงมาดูหมิ่นตัวเองเสีย

  • การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ถึงจะมากก็ไม่ควรให้เป็นเหตุ ทำลายประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของตน

  • จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง

  • ตนทำชั่ว ตัวก็เศร้าหมองเอง ตนไม่ทำชั่ว ตัวก็บริสุทธิ์เอง

  • มัวพะวงอยู่ว่า นี่ของเราชอบ นี่ของเรารัก แล้วปล่อยปละละเลยตนเองเสีย คนอย่างนี้จะไม่ได้ประสบสิ่งที่ชอบสิ่งที่รักเลย

  • โทษคนอื่นเที่ยวกระจาย เหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้ เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้

  • โทษคนอื่น เห็นง่าย แต่โทษตนเองเห็นยาก

  • ผู้ใดมีความไร้ศีลธรรมครอบคลุม เหมือนย่านทรายคลุมไม้สาละ ผู้นั้นชื่อว่าทำตนเหมือนถูกผู้ร้ายคุมตัว

  • บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน แล้วจึงสอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง

  • ชัยชนะใดกลับแพ้ได้ ชัยชนะนั้นไม่ดี ชัยชนะใดไม่กลับแพ้ ชัยชนะนั้นแลเป็นชัยชนะที่ดี

  • ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึ่งทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก

  • สิ่งที่รักอื่นเสมอด้วยตนไม่มี ทรัพย์อื่นเสมอด้วยข้าวเปลือกไม่มี แสงสว่างอื่นเสมอด้วยปัญญาไม่มี ฝนแลเป็นสระที่ใหญ่

  • กรรมไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย ส่วนกรรมใดดีและเป็นประโยชน์ กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง

  • ถึงผู้ใดจะชนะเหล่าชนได้พันคนพันครั้งในสงคราม ก็หาชื่อว่าผู้ชนะยอดเยี่ยมไม่ ส่วนผู้ใดชนะตนคนเดียว ผู้นั้นแลชื่อว่าผู้ชนะยอดเยี่ยมในสงคราม

  • ไม่ควรใส่ใจคำแสลงหูของผู้อื่น ไม่ควรแส่มองธุระที่เขาทำและยังไม่ทำ ควรตั้งใจตรวจตราหน้าที่ของตนนี่แหละ ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่กระทำ

  • ตนเองนี่แหละสำคัญกว่า สำคัญกว่าเป็นไหนๆ ตระเตรียมตนไว้ให้ดีก่อนแล้ว ต่อไปก็จะได้สิ่งที่รัก