หนังสือตัวกูของกู ของท่านพุทธทาสภิกขุ ฉบับย่อ

ที่มาจาก เว็บไซต์พุทธทาส.คอม www.buddhadasa.com หน้า 1 of 73

สารบัญ

หนังสือ ตัวกูของกู พุทธทาสภิกขุ ฉบับย่อ
คำนำ ……………………………………………………………………………………………. 3
บทที่ ๑. ปรับความเข้าใจ ที่ผิดๆ เกี่ยวกับพุทธศาสนา ………………………………………… 6
บทที่ ๒ พุทธศาสนามุ่งหมายอะไร ……………………………………………………………14
พุทธศาสนามิได้มุ่งหมายนำคนไปสู่สวรรค์ ที่เป็นดินแดนที่จะหาความสำราญกันได้อย่าง
เต็มเหวี่ยง ซึ่งใช้เป็นเครื่องล่อให้คนทำความดี แต่ก็ทำให้ไปติดยึดในตัณหาอุปาทาน ซึ่ง
เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนเข้าไม่ถึง จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนา
บทที่ ๓ ปมเดียวที่ควรแก้ ……………………………………………………………………….22
ความสับสนในการจับหลักพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญ ของการที่จะเข้าถึง
ตัวแท้ของพุทธศาสนา จริงๆแล้ว เรื่องมีอยู่เพียงสั้นๆ ว่า เราไม่ต้องศึกษาเรื่องอะไรเลย
นอกจาก เรื่อง "ตัวตน-ของตน"
บทที่ ๔ การเกิดขึ้นแห่งอัตตา …………………………………………………………………..30
มาจากจิตที่ตั้งไว้ผิด ทำให้เกิดลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาขึ้น ทำให้เกิดการอดอยาก การ
เบียดเบียน และการสงคราม ฯลฯ
บทที่ ๕ การดับลงแห่งอัตตา ……………………………………………………………………40
ภาวะของจิตเดิมแท้ ภาวะแห่งความว่างจากความวุ่น ภาวะแห่งความความสมบูรณ์ด้วย
สติปัญญา
บทที่ ๖ วิธีลดอัตตา …………………………………………………………………………….46
หลักเกณฑ์ที่รัดกุม นำไปสู่การลด "ตัวตน" อย่างมีประสิทธิภาพ
แผนผังลำดับแห่งปฏิจจสมุปบาท ……………………………………………………………..72

ดาวน์โหลดอ่านได้ตามลิ้งค์นี้ http://www.openbase.in.th/files/ptbook_self.pdf

ใกล้ใจ ไกลตา

เมื่อยังมีความสุขดีในชีวิต เรามักมองไม่เห็นค่าของอะไรหลายสิ่งหลายอย่างที่อยู่ข้างตัวเรา บางสิ่งนั้นอาจจะใกล้ตัวเกินไปจนมองไม่เห็น หรืออาจธรรมดาสามัญเกินกว่าจะนึกใส่ใจในคุณค่า เราจึงมักมองข้ามไป

จน เมื่อได้สูญเสียมันไปแล้วนั่นแหละ ถึงได้ตระหนักว่าทำผิดใหญ่หลวง แต่ก็ย้อนเวลากลับไปแก้ไขไม่ได้อีกแล้ว

เช่นเดียวกัน คนที่อยู่ใกล้หัวใจเราอย่างแท้จริง บ่อยครั้งเรากลับมองไม่เห็นเขา หรือเพียงมองผ่าน...แล้วไปใส่ใจกับสิ่งอื่นที่อยู่ไกลกว่า

เราถูก พร่ำสอนให้มีมารยาทกับคนแปลกหน้าตามท้องถนน คน...ที่อาจพบผ่านกันเพียงครั้งเดียวในชีวิตโดยไม่มีความทรงจำใด ๆ ให้สานต่อ แต่เราก็พร้อมที่จะกล่าวขอบคุณและขอโทษได้เต็มความรู้สึก

มารยาท เหล่านี้เป็นหน้ากากของคนดีตามบรรทัดฐานสังคม

เรามองเห็นโลกสวยงาม ตามแบบที่ถูกปรุงแต่งไว้แล้ว มองเห็นต้นไม่ร่มครึ้มนอกบ้านน่าชื่นชมยินดีเพราะไม่มีภาระที่ต้องดูแลมัน อิ่มเอมเปรมใจเสมอกับความเขียวขจีของภูมิทัศน์ที่คนอื่นสร้างขึ้น มีความสุขล้นเหลือกับถนนสายดอกไม้บาน ซึ่งเมื่อถึงฤดูกาลของมัน กลีบบอบบางก็จะผลิแย้มอ่อนโยน อวดสีสันสะพรั่งต้น แม้ยามทิ้งดอกหลุดร่วงปลิดปลิวไปกับสายลม พรมดอกไม้ใต้ต้น สีเหลือง แดง ชมพู ม่วงก็ยังงามตระการ

โลกในมุมนี้สวยงามเสมอในระยะห่างที่เราปลอด ภาระ

แต่ถ้าไม้ใหญ่ต้นนั้นอยู่ในบริเวณบ้านของเรา ดอกสวยที่ร่วงหล่นของมันคือภาระในการเก็บกวาด กิ่งใบที่เติบใหญ่ไม่หยุดยั้งก็เป็นปัญหาในการดูแลตัดแต่ง ปุ๋ยก็ต้องใส่ น้ำก็ต้องรด กลีบดอกตระการตาที่มันร่วงหล่นที่อื่นแล้วเรามองเห็นเป็นพรมดอกไม้งามจับใจ นั้น ก็กลายเป็นขยะจากต้นไม้ที่ต้องปัดกวาดดูแลในบ้านเรา

สวนของคน อื่นจึงสวยเสมอ ทำให้เราหลงรักได้ไม่ยาก แต่สวนของเราเอง กว่าจะไปเสาะหาต้นไม้ที่ต้องการ กว่าจะลงมือปลูก จัดแต่ง รดน้ำ พรวนดิน จนเติบใหญ่ให้ร่มใบ ให้ดอกละลานตา ให้ผลหอมหวาน ต้องผ่านการใส่ใจและทุ่มเทมากมาย

สวนในบ้านเราต้องดูแลฉันใด คนที่อยู่ใกล้ตัวเราก็คือภาระที่ต้องดูแลไม่ต่างกัน

และอะไรที่เป็น ภาระ เรามักจะมองไม่เห็นค่า

คนที่อยู่ใกล้หัวใจ คนที่จะต้องร่วมงาน ร่วมบ้าน ร่วมชีวิต ร่วมครอบครัวกันไปจนวันสุดท้าย เมื่อเป็นสิ่งใกล้ตัว แต่ไกลตา บางเวลาเราจึงมองผ่านเลย ไม่ได้รู้สึกว่าจะต้องใส่ใจ เห็นค่า หรือชื่นชมยินดีเหมือนกับที่เรารู้สึกต่อคนไกลที่ไม่เห็นหน้า

คนไกล ที่ไม่ได้เรียกร้องอะไรจากเรา ทำให้ไม่รู้สึกเป็นภาระ

คนไกลที่เรา ไม่มีโอกาสเห็นข้อตำหนิของเขา จึงไร้สิ่งบกพร่อง

คนไกลที่เราต้อง สุภาพอ่อนโยนด้วย ใส่ใจกับมารยาทสังคม ห่วงใยกับสุขทุกข์ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ไปฉลองวันเกิดกับเขา ไปงานแต่งงาน งานศพ ฯลฯ ด้วยความยินดีและเต็มใจ

คนไกลที่มักได้รอยยิ้มกับเราเสมอ เพราะไม่มีเหตุให้เราต้องโกรธขึ้งหรือบึ้งตึงใส่ แต่กับคนใกล้เรามักฉุนเฉียวหงุดหงิดได้ง่ายโดยไม่ต้องหาเหตุผล

คนไกล เหล่านั้นน่ารักน่าชื่นชมเสมอ และเราพร้อมที่จะให้โดยที่เขาไม่ได้เรียกร้อง แต่กับคนใกล้การให้คือภาระ

เราจึงแทบไม่รู้ตัวว่าบ่อยครั้งเราทิ้ง มารยาทอันดีไว้นอกประตูบ้าน นอกสำนักงาน...ปล่อยให้ความใกล้ชิดชินชาเข้าครอบงำเข่นฆ่าอีกฝ่ายด้วยความ ไม่ตระหนักรู้ในคุณค่าของคนใกล้

หัวใจที่อยู่ใกล้กันหลายดวงจึงเป็น ทุกข์ด้วยความประพฤติที่ไม่ใส่ใจตรวจสอบและหยั่งรู้ในคุณค่า ความดี ความงาม ความน่ารักของอีกฝ่าย

กว่าจะรู้ก็ถึงวันที่สูญเสียไปแล้ว

กว่า จะมองเห็นสวนในบ้านตัวเองสวย ต้นไม้นั้นก็ถูกโค่นทิ้งไปแล้ว ตอไม้ตายซากที่เหลือเป็นเพียงสิ่งเตือนใจ เมื่อนึกขึ้นได้หันกลับมารดน้ำพรวนดินใส่ปุ๋ยอีกครั้งหวังจะให้ไม้ใหญ่ฟื้น คืนชีวิตก็สูญเปล่า ด้วยสายเสียแล้ว

น่าเสียดายที่หลายคนปล่อยให้ทุกอย่างสายเกินไป ปล่อยให้สิ่งใกล้ใจเป็นของไกลตา ไม่เคยนึกถึง ไม่เคยชื่นชมในขณะที่ของสิ่งนั้นยังอยู่กับเรา แต่เมื่อหลุดลอยจากมือไปแล้ว กลับต้องมาทุกข์ทรมานกับความพยายามที่จะไขว่คว้าไว้แล้วก็ได้เพียงความว่าง เปล่า

ชีวิตก็ไม่ต่างไปจากฤดูกาล ผ่านร้อน ฝน หนาว แปรเปลี่ยนเป็นธรรมดา แต่เราคงไม่สามารถเบิกบานใจกับการมีชีวิตได้ หากมัวแต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นในวันวานหรือวันพรุ่ง มากกว่าการรู้จักชื่นชมยินดีกับการมีชีวิตในวันนี้ให้ดีที่สุด ด้วยความเข้าใจในสภาพที่มันเป็นอยู่

ในฤดูกาลแห่งชีวิต ธรรมชาติสอนให้เรารู้จักความผันแปรของสรรพสิ่ง ต้นไม้ใบหญ้าที่เติบโตแตกดับไปตามฤดูกาลเหล่านั้น คือรูปธรรมอันชัดเจนที่สุดของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

สำหรับบาง คนอาจให้ความสำคัญกับการมีอายุยืนยาว แต่บางคนกลับมองว่าคุณค่าของชีวิตมิได้อยู่ที่วันเวลาอันยาวนานเหล่านั้น หากอยู่ในสิ่งที่เราเก็บเกี่ยวได้จากกาลเวลาต่างหาก ดังนั้นคนที่มีอายุยืนยาวจำนวนมากอาจจะมี "ชีวิต" อยู่เพียงน้อยนิดเพราะไม่สามารถเก็บเกี่ยวคุณค่าแห่งชีวิตเอาไว้ได้

ถ้า หากถึงวันที่จะต้องเหลือแต่เพียงความทรงจำ ความทรงจำนั้นจะไม่ทำร้ายใครเลย หากเราไม่ยอมเพิกเฉยกับคนที่อยู่ใกล้หัวใจเราที่สุด :D (หน้าพิเศษ D-Life)

*ประชาชาติธุรกิจ

ออกกำลังกายตอนเช้าหรือตอนเย็นดี ??


สมมุติว่าตัวเราเป็นรถยนต์ เครื่องยนต์ของเราคือกล้าม เนื้อ แขน ขา ที่จะทำให้เราเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้ รถยนต์ต้องการน้ำมันเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงาน คนเราก็ต้องการอาหารเป็น พลังงานให้ร่างกาย เคลื่อนไหว ไปไหนมาไหนได้ โดยเฉพาะใช้ออกกำลังกาย ตื่นนอนเช้ารถยนต์และร่างกายเรา ไม่มีน้ำมัน ไม่มีพลังงานจำเป็นต้องเติมน้ำมันก่อน หรือกินอาหารก่อน รถยนต์จะได้มี พลังงานวิ่งไปได้ คนเราจะได้มีพลังงานให้กล้ามเนื้อแขน ขา ทำให้เราไปไหนมาไหนได้ รถยนต์ต่างกับร่างกายเรา ตรงที่พอเติมน้ำมันเต็มถังแล้ว สามารถขับรถไปได้ทันที

แต่คนเราหลังกินอาหารอิ่มเต็มที่ยังไปออกกำลังกายไม่ได้ เพราะหลังกินอาหาร 2 ช.ม. จะมีเลือดมารอรับอาหารที่จะถูกย่อยที่กระเพาะและลำไส้เป็นจำนวนมากหลังจาก อาหารถูกดูดซึมเข้ามาในเลือดแล้ว เลือดจะพาสารอาหารแจกจ่ายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าออกกำลังกายหนัก ๆ ตอนนี้ เช่น วิ่งออกกำลังซึ่งต้องการเลือดมาเลี้ยงที่ขาที่ใช้วิ่ง 20 เท่าตัวของสภาวะปกติ เมื่อเลือดมากองอยู่ที่กระเพาะเป็นจำนวนมาก บวกกับมาเลี้ยงที่ขาอีก 20 เท่าดังกล่าว ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้หน้ามืดเป็นลม หรือถ้าทำ ให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ เท่ากับกล้ามเนื้อหัวใจขาด เลือดเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ถึงชีวิตได้ จึงห้ามเด็ดขาด ห้ามออกกำลังหลังกินอาหาร 2 ช.ม. เมื่ออาหารย่อยหมดแล้ว ดูดซึมเข้าเลือดหมดแล้ว (2 ช.ม.) เลือดที่มารออยู่ที่กระเพาะก็จะกระจายไปหมด ถึงตอนนี้จะวิ่งก็ ปลอดภัย ทีนี้คนตื่นนอนตอนเช้า แล้วมาออกกำลัง เพราะตอนเช้าอากาศสดชื่น



มลพิษก็น้อย อากาศเย็น ร่างกายยังสดชื่นเพราะได้พักมาทั้งคืน แต่คงไม่มีใครกินอาหาร ก่อนออกกำลังแน่ เท่ากับรถยนต์ไม่ได้เติมน้ำมันรถยนต์จะวิ่งได้อย่าง ไร แต่คนออกกำลังกายได้โดยไม่ต้องกินอาหาร เพราะตอนเย็นกินอาหารเสร็จเข้า นอน ไม่ได้ใช้พลังงานขณะที่นอนหลับ ตับจะปรับเปลี่ยนสารอาหาร เช่น น้ำตาลเปลี่ยนเป็นไกลโคเจน ไตรกรีเซอร์ไรด์ ไขมันเปลี่ยนเป็นกรด ไขมัน โปรตีนเปลี่ยนเป็นฟอสฟาเจน เป็นต้น แล้วนำไปเก็บไว้ในอวัยวะต่าง ๆ เมื่อตื่นนอนจึงไม่มีพลังงานหลงเหลืออยู่ในเลือด เท่ากับรถยนต์น้ำมัน แห้งถัง สภาพนี้คนออกกำลังได้โดยตับจะดึงสารอาหารที่ปรับเปลี่ยนไปเก็บไว้ ในที่ต่าง ๆ ตอนนอนหลับ ให้กลับเป็นสารพลังงานในเลือดใหม่ จึงสามารถออกกำลังกาย ได้ มาลองคิดดู ตอนนอนตับทำงานหนักมาก เพื่อเอาสารอาหารไปเก็บ ตื่นตอนเช้าไปออกกำลังกายทันที ตับต้องดึงสาร อาหารที่เอาไปเก็บไว้เมื่อคืน ออกมาใช้ใหม่ ทำอย่างนี้บ่อย ๆ ทุกวัน ๆ ตับจะต้องทำงานหนักแค่ไหน จะทนสภาพนี้ได้นานเท่าไร เพราะไม่ได้พัก เลย เหมือนคนกินเหล้าแล้วไม่กินอาหาร ตับต้องไปดึงสารอาหารจากที่ต่าง ๆ มาให้แอลกอฮอลเผาผลาญ มาก ๆ เข้านาน ๆ เข้า ในตับมีแต่ไขมัน กลายเป็นตับแข็ง

ทีนี้ถ้าจะทำให้ถูกต้องก็ต้องกินอาหารเสียก่อน แต่ต้องรอถึง 2 ช.ม. จึงจะไปออกกำลังได้ เช่น กินอาหาร ตี 5 เจ็ดโมงเช้าจึงจะออกกำลังกายได้ จะมีใครทำอย่างนี้บ้าง ฉะนั้น ฝรั่งจึงมีแต่คำว่า morning walk ไม่เคยได้ยิน morning jogging เลย นั่นคือออกกำลังกายเบา ๆ ได้ เช่น เดิน ก่อนเดินก็กินอาหารเบา ๆ เช่น แซนวิช 1 ชิ้น กับโอวันติน 1 ถ้วย ซึ่งจะใช้เวลาย่อยอาหารสัก 1/2 - 1 ช.ม. ก็พอ ก็จะไปเดินออกกำลังกายได้ กินเล็กน้อยออกกำลังกายเบา ๆ ก็ใช้พลังงานน้อย ที่กินมาแค่นี้ก็พอไหว

ลองพิจารณาการออกกำลัง ตอนเย็นบ้าง เรากินอาหารเช้า อาหารกลางวัน ตกเย็นรับรองว่าพลังงานยัง เหลือเฟือ ขณะทำงานใช้ไปไม่หมด สามารถออกกำลังกายได้เลย เหมือนกับรถ ยนต์ น้ำมันยังไม่แห้งถัง แต่จะให้ดีอาจเติมอาหารเหมือนตอนเช้าอีกสักเล็ก น้อย ก่อนไปออกกำลัง จะทำให้ไม่รู้สึกระโหย ความจริงไม่ต้องไปกินอะไรเลยก็ได้ ข้อสำคัญ เมื่อออกกำลังตอนเย็นเสร็จแล้ว ให้ดื่มน้ำโดยค่อย ๆ ดื่มจนรู้สึกอิ่ม กลับถึงบ้านท่านจะไม่รู้สึกหิวและไม่อยากกินอะไรอีก และหลังออกกำลังกายตอนเย็นนี้แล้ว เมื่อถึงเวลาเข้านอน จะเหลือสารอาหาร น้อยที่สุด ตับไม่ต้องทำงานมาก สารอาหารไม่มีไปเก็บตามที่ต่าง ๆ จึงไม่ทำให้อ้วน และไม่มีสารอาหารเหลือค้างในหลอดเลือดโดยเฉพาะ ไขมัน จึงเป็นวิธีที่จะลดไขมันในเลือดได้ดีที่สุดโดยไม่ต้องกินยา


ถ้าพิจารณาตรงนี้ ออกกำลังกายตอนเช้า หรือตอนเย็นจะเป็นการออกกำลังที่ทำให้สุขภาพทั่ว ๆ ไปดี (แอโรบิก) เท่า ๆ กันทั้งคู่ แต่การออกกำลังกายตอนเย็นโดยไม่ไปกินอาหารภายหลัง ยังจะช่วยให้สารอาหารที่เหลือจากการกินตอนเช้าและตอนเที่ยง น้อยลงจนไม่สามารถทำร้ายร่างกายได้ด้วย การออกกำลังกายตอนเย็นจึงได้ 2 ต่อ

จากงานวิจัยต่างประเทศ เร็ว ๆ นี้ พบว่า การออกกำลังกายตอนเช้านั้น จะทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายลดลง และการออกกำลังกายตอนเย็น จะทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายเพิ่มขึ้น ดูในแง่นี้ถ้าไข้หวัดระบาด การออก กำลังกายตอนเย็นจะได้ 3 ต่อ มีกรณีเดียวที่ออกกำลังกายตอนเช้าได้ประโยชน์คือ พวกที่มีภูมิต้านทานมากไป เช่นโรคภูมิแพ้ได้แก่ หอบหืด แพ้อากาศ แพ้ฝุ่น หรือโรคพุ่มพวงดวงจันทร์ ออกกำลังกายตอนเช้า ช่วยลดภูมิต้านทาน จึงเท่ากับช่วยให้คน ๆ นั้น กินยาลดภูมิต้านทานน้อยลงได้

สรุปมาถึงแค่นี้ ท่านคงทราบแล้วนะครับว่า ออกกำลังกายตอนเช้าหรือตอนเย็นดี

มีข้อเสนอ อีกข้อหนึ่งคือออกกำลังกายแบบแอโรบิกก่อนนอน เช่น เดินบนสายพาน หรือขี่จักรยาน 30 นาที – 60 นาที ไม่ต้องกลัวว่าจะนอนไม่หลับ เพราะการออกกำลังกายแบบแอโรบิก 30 นาที ขึ้นไปนี้ ร่างกายจะหลั่ง “เอนดอร์ฟีน” ออกมาซึ่งมีฤทธิ์คล้าย ๆ มอร์ฟีน ที่ใช้ฉีดให้คนไข้หลังผ่าตัด จะทำให้ง่วงนอนคลายความเจ็บปวด คลาย เครียด ฉะนั้น ออกกำลังกายเสร็จ อาบน้ำแล้ว เข้านอนเลย ท่านจะนอนหลับสนิทชนิดไม่ฝัน การนอนหลับสนิทนี้ท่านต้องการ การนอนเพียง 5 ช.ม. ก็เพียงพอ จะทราบได้คือตอนทำงานกลางวัน จะไม่เพลีย ไม่ง่วง แสดงว่านอนหลับสนิท 5 ช.ม. เพียงพอแล้ว นอกจากนี้มีงานวิจัยใหม่ ๆ ออกมาพบว่า คนนอน 5 ช.ม. มีอุบัติการ โรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันน้อยกว่าพวกนอน 7-8 ช.ม.

ฉะนั้นการออกกำลังกายตอนเย็นหรือก่อนนอน ดีกว่าออกกำลังกายตอนเช้า

บทความจาก:สภากาชาดไทย ...โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์เสก อักษรานุเคราะห์ ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภาการชาดไทย

"เจ๋ง" และ "เท่" ในแบบผู้บริโภครุ่นใหม่

"มายด์แชร์" มีเดียเอเยนซี่ผู้นำด้านการตลาดและเครือข่ายสื่อ ได้ศึกษาวิจัยข้อมูลกลุ่มวัยรุ่น วัยระหว่าง 18-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ชี้นำเทรนด์ใหม่ ๆ เพื่อดูว่าคนกลุ่มนี้คิดว่าอะไรคือสิ่งที่ "เจ๋ง" หรือ "เท่" สำหรับพวกเขาบ้าง ภายใต้หัวข้อ "What"s Cool"

"ปัทมาวรรณ สถาพร" Head of Business Planning ค่ายมายด์แชร์บอกว่า จากการทำวิจัยพบว่า คือสิ่งที่ "เจ๋ง" หรือ "เท่" สำหรับพวกเขา คือคนที่มีบุคลิกสดใส มีชีวิตชีวา ดูดี มีสไตล์ มีความเป็นตัวของตัวเอง (individuality) ไม่เหมือนใคร สามารถทำอะไรก็ได้ที่ทำให้ตัวเองมีความสุข สนุกสนาน อยากเข้าหา

ขณะเดียวกัน ยังต้องมีความสามารถและประสบความสำเร็จ มีมุมมองที่แตกต่างจากคนทั่วไป มีความคิดใหม่ ๆ และสร้างสรรค์ เป็นคนดี ใส่ใจและแคร์คนอื่น

ทั้งนี้เพื่อมีชีวิตที่เป็นของตัวเอง มีอิสระ และทำให้คนหันมาสนใจ รวมทั้งยังต้องการเป็น somebody ที่คนอื่นก็อยากเป็น

โดย พฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มนี้จำแนกออกได้เป็น 5 อย่างคือ 1.The only one คือเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้นและใครก็ไม่สามารถ เลียนแบบได้ง่าย ๆ 2.To the extreme คือทำอะไรที่สุด ๆ และประสบความสำเร็จด้วย 3.Taste in trend คือเป็นผู้นำเทรนด์ แต่นำแบบมีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่เลียนแบบคนอื่น 4.Forward thinking คือมองโลกในมุมที่ต่างไป มองไปข้างหน้าและก็เป็นคนแรกที่เริ่มทำ

และ 5.Fame, power & money คือมองว่าคนที่ประสบความสำเร็จ แปลว่าต้องมีความมั่นคงทางด้านการเงิน เพราะเงินคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้พวกเขา "เจ๋ง" และ "เท่" ได้

ส่วนแบรนด์ที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะมอง "เจ๋ง" คือ X-BOX, Ray-Ban, Converse, Apple, You Tube, Mini, Nike, BMW, BlackBerry ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ไทยอีกหลาย ๆ แบรนด์ อาทิ สิงห์, แม่โขง, นันยาง, เสื้อตราห่านคู่ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้จะนิยมรับสื่อทีวีและ อินเทอร์เน็ตในสัดส่วนใกล้เคียงกัน แถมยังรับสื่อทั้ง 2 ประเภทนี้ ในเวลาเดียวกันอีกด้วย คือประมาณ 3 ชั่วโมงเศษ/วัน

นั่นหมายความว่า หากต้องการที่จะสื่อสารถึงผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องใช้ทั้งสื่อทีวีและอินเทอร์เน็ตควบคู่กันไป

ขณะเดียวกัน ต้องไม่ลืมที่จะสร้างแพลตฟอร์มการสื่อสารด้วยเนื้อหาเฉพาะกลุ่ม และตามความเหมาะสมของแต่ละช่องทางการสื่อสาร

ที่สำคัญต้องปรับ ทัศนคติและมุมมองเกี่ยวกับการสื่อสารใหม่ อาทิ เปลี่ยนจากที่เป็นผู้บอกเล่าและผู้ขายสินค้าเป็นผู้ฟังและผู้แลกเปลี่ยน ทัศนคติ จากที่เคยใช้แคมเปญใหญ่ไปลองใช้กลยุทธ์การสื่อสารเฉพาะกลุ่ม ปรับจากการพยายามควบคุมข้อมูลการสื่อสารของสินค้าไปเป็นการสร้างความโปร่งใส ในการสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ

เป็นการหยิบยื่นเวทีการแสดงออก ถึงความ "เจ๋ง" และ "เท่" ให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายในแบบที่เขาต้องการนั่นเอง
*ประชาชาติธุรกิจ

เปลี่ยนบรรยากาศ

" เบื๊อ เบื่อ มีอะไรกันที ก็อีแบบเดิมทุกที เริ่มต้นก็อีแบบนั้น แล้วก็มาจบลงอีแบบนี้..."

คุณเคยคิดจะเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของการร่วมรักจากแบบเดิมๆ กันบ้างไหมครับ หรือว่าคิดจะเปลี่ยนแต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร

ลองอ่านที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้ ดูว่าคุณพอจะทำได้ไหม และถูกรสนิยมกับคุณมากเพียงใด เพราะที่ผมจะแนะนำนี้ อาศัยจากสถิติการสำรวจพฤติกรรมทางเพศของมวลมนุษยชาติ จากตัวแทนประเทศต่างๆ ทั่วโลก ว่าพวกเขาอยากจะมีเพศสัมพันธ์กันที่ใดบ้าง และในรูปแบบใด


1. เริงรักกันในอ่างน้ำวน...สุดยอดปรารถนา ของหนุ่มสาวยุคใหม่

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า หนุ่มสาวยุคใหม่ทั้งไทยและเทศ พร้อมใจกันตอบคำถามว่า อยากเริงรักกันที่ไหนมากที่สุด... " จาคุซซี่ " เป็นคำตอบติดอันดับแรกออกมาเลย

ที่จริงการลงไปแต่ในอ่างน้ำวนจาคุซซี่ จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายหายเครียด จากการงานที่ทำมาอย่างหนัก แรงน้ำที่ไหลวนมานวดตัวของคุณทั้งสองจะทำให้รู้สึกเบาสบาย และผ่อนคลายเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้ามีกลิ่นหอมของมวลดอกไม้นานาพันธุ์ด้วยแล้วละก็ คุณเอ๋ยสวรรค์บนดินดีๆ นี่เอง ใครๆ ถึงอยากที่จะร่วมรักกันในอ่างน้ำวนนัก ก็เพราะเสน่ห์ประการฉะนี้เอง

นอกจากนี้ การร่วมรักกันในอ่าง จะได้สัมผัสรักที่แนบสนิทชิดเชื้อกันมากขึ้น เพราะสายน้ำจะชะล้างเอาคราบน้ำเมือกน้ำหล่อลื่นออกไป ทำให้อวัยวะส่วนนั้นของทั้งสอง สามารถสัมผัสรักกันได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ลื่นมากเกินไป เหมาะสำหรับสาวๆ ที่มีอารมณ์มาก และมีน้ำหล่อลื่นออกมามากกว่าปกติเป็นยิ่งนัก รวมทั้งคุณผู้หญิงที่ส่วนสงวนไม่ค่อยจะกระชับ เนื่องจากเคยคลอดบุตรมาก่อน การร่วมรักในน้ำก็จะทำให้เพิ่มความกระชับมากขึ้น ไม่เชื่อก็ลองดู

ยิ่งถ้าได้แชมเปญเย็นๆ หรือไวน์ขาวเย็นๆ สักแก้วด้วยแล้ว คุณเอ๋ย อะไรจะมาเปรียบปาน กับความสุขที่ได้รับ จากการร่วมรักในอ่างน้ำวนไปได้ ถ้าหาอ่างน้ำวนไม่ได้... อ่างน้ำธรรมดาก็สามารถใช้แทนกันได้ ไม่มีข้อจำกัดแต่อย่างใด

2. เราจะเป็นของกันและกันภายใต้ดวงดาว

ลองนึกฝันไปว่าคุณสองคนนอนอยู่บนนอกชานของบ้านปีกไม้ ในหุบเขาที่มีแต่เสียงหรีดหริ่งเรไรร้องระงม ในบรรยากาศของป่าเขา เดือนมืด ที่มีแต่ดาวระยิบระยับฟ้า มีลมหนาวแต่บางเบาโชยมา เป็นระยะๆ

คุณและเธอนอนกอดกัน กระซิบบอกรัก ลูบไล้สัมผัสผิวกายซึ่งกันและกันอย่างไม่รีบร้อน ปล่อยให้อารมณ์กระเจิดกระเจิงไปตามบรรยากาศแห่งป่าเขาที่เป็นส่วนตัวและร่วมรักกันอย่างไม่ต้องรีบเร่ง !!

3. ร่วมรักท่ามกลางเสียงกระซิบจากท้องทะเล

ชายหาดที่เงียบสงบ หาดทรายขาวสีนวล เป็นแนวยาว กลางแสงจันทร์คืนวันเพ็ญ ต้นมะพร้าวโอนเอน ส่งเสียงตามแรงลมทะเลที่พัดขึ้นบก เสียงคลื่นซัดชายหาด เป็นระยะๆ ช่างเป็นบทเพลงแห่งธรรมชาติที่แสนจะโรแมนติก

และเหมาะที่จะเป็นของกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นที่ริมชายหาด บนผืนผ้าที่ปูวางกับพื้นทรายละเอียด หรือในห้องนอนของบังกะโลริมทะเล ที่เปิดหน้าต่างไว้ ฟังเสียงจากธรรมชาติ เติมเต็มแห่งพิศวาส

4. โคลงเคลงในเรือรักเรือสำราญ

คุณคงเคยดูภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ เรื่องเรือรักเรือสำราญ กันบ้าง เคยนึกบ้างไหมครับว่า สักวันหนึ่งคุณจะไปลงเรือรักเรือสำราญสักลำหนึ่ง เพื่อที่จะมีบทรักที่สร้างความสุขสมให้แก่กันและกัน

ลองหลับตานึกภาพ เรือที่โคลงเคลงไปตามคลื่นลมในท้องทะเล แล้วคุณสองคนนอนกอดกัน ในชุดนุ่งลมห่มฟ้า ปล่อยให้อารมณ์รักใคร่ล่องลอยเข้าหากัน หลอมร่างกายและดวงใจเข้าด้วยกัน ขยับกายทั้งสองคน เพื่อที่จะได้สัมผัสความรักที่ลึกซึ้ง ภายในของกันและกัน ไปตามการโคลงของเรือรักเรือรำราญ...จนมีความสุขสมร่วมกัน

โดยเฉพาะการเริงรักยามรุ่งอรุณ ที่ดวงอาทิตย์เริ่มโผล่พ้นขอบฟ้าขึ้นมาเป็นลูกไฟดวงกลมโต ที่มองเห็นจากช่องหน้าต่างของห้องนอนในเรือ แค่คิดก็แสนจะโรแมนติกแล้ว... ถ้าทำได้จะขนาดไหน ไม่กล้านึก และไม่กล้าบอกว่าเคยลองมาแล้วหรือไม่...กลัวคุณอิจฉา

5. เบาะหลังรถยนต์...สวรรค์ของหนุ่มสาว

เคยไหมครับ มีอะไรกันกับแฟนบนเบาะหลังรถยนต์ที่จอดในสุมทุมพุ่มไม้ ที่เงียบสงัดในคืนเดือนมืด ปราศจากคนเห็น มันเป็นความตื่นเต้น เร้าใจ ของหนุ่มสาวในยุคที่ไม่มีเงินทองพอจะไปเช่าโมเต็ลร่วมรักกัน เป็นความฝันของหนุ่มๆ ในขณะเป็นนักศึกษาปีแรกๆ ของมหาวิทยาลัยในต่างแดน...และไม่แน่ว่า เมืองไทยก็เป็นเช่นกัน

ถ้าคุณสองคนคิดจะฟื้นความหลังครั้งสำคัญนี้ อย่าทำในสวนสาธารณะในเมืองไทยเลย เพราะอาจจะมีผู้หวังดีมาขอร่วมแจมด้วยอีกหลายคน... จะกลายเป็นโศกนาฏกรรมไปแทนที่จะมีความสุข

ลองไปทำที่สวนสาธารณะของประเทศเพื่อนบ้านสิงคโปร์ดูซิครับ ใกล้แค่นี้เอง ผมเคยอ่านพบข่าวว่า ทางการสิงคโปร์ตีพิมพ์แหล่งที่มีบรรยากาศโรแมนติก และมิดชิด เป็นส่วนตัว ที่จะให้หนุ่มสาวไปเริงรักกันในเบาะหลังรถยนต์ โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด เราจะลองไปใช้บริการบ้าง ก็น่าจะดี เพราะเรื่องแบบนี้ เราคงต้อง...ร่วมด้วยช่วยกัน

6. รถด่วนขบวนกลางคืน...ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ ช่าง

แน่นอนถ้าคุณสองคน จองห้องนอนชั้นหนึ่งของขบวนรถด่วน ที่เดินทางกลางคืน ไปยังจุดหมายปลายทางแห่งใดแห่งหนึ่ง และอยู่ด้วยกันสองต่อสองบนเตียงนอน พร้อมกับฟังเสียงล้อรถไฟบดรางไปด้วย เสียงว่า " ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง " คุณก็คงจะคิดอยากทำอะไรสักอย่าง แบบถึงก็ดีไม่ถึงก็จะพยายามทำให้ถึง ให้ได้กันบ้างก็ได้ ใครจะรู้ ผมเคยสอบถามพรรคพวกที่เคยมีกิจกรรมแห่งความรักใคร่บนรถด่วนในต่างประเทศดู แล้ว ได้ความว่า ถึงจะคับแคบไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความสุขลดลง กลับจะตื่นเต้นมากขึ้นเสียด้วย เพราะมีครั้งหนึ่งกำลังเข้าด้ายเข้าเข็มพอดีได้ยินเสียงเคาะประตูจากการ์ดรถ จะมาตรวจตั๋ว ก็เลยต้องรีบจ้ำพรวดจ้ำพรวดจนเสร็จกิจภายในเวลาไม่กี่วินาที พร้อมกันทั้งสองคน

" เป็นประสบการณ์ที่เราสองคนไม่ลืมเลย จนวันตาย " เขาเล่าให้ฟัง พร้อมกลั้วหัวเราะ ก่อนที่จะเล่าต่อว่า " ตาการ์ดรถโผล่หน้าเข้ามา แล้วบอกว่า มีอะไรให้ผมรับใช้ไหม " " เรียบร้อยแล้วครับ " ...เขาตอบ

7. บนโซฟาในห้องรับแขก...ใกล้แค่นี้เอง

ไม่ต้องไปหาที่ไกลๆ หรือแปลกใหม่หรอกครับ ปรับเปลี่ยนบรรยากาศไปร่วมรักกันห้องอื่นบ้าง นอกจากห้องนอนและบนเตียงนอน อาจจะทำให้หายซ้ำซากจำเจ เกิดบรรยากาศที่แปลกใหม่และเร้าใจก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นโซฟาในห้องรับแขก อ่างน้ำในห้องอาบน้ำ หรือแม้กระทั่งโต๊ะประกอบอาหารในห้องครัว ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสถานที่ที่สามารถจะประกอบกิจกรรมแห่งความรักใคร่ได้ทั้ง สิ้น แล้วคุณสองคนอาจจะพูดคำเดียวกับบุรุษไปรษณีย์ในภาพยนตร์เรื่อง THE POST MAN ALWAYS RING TWICE ว่า ครั้งเดียวไม่เคยพอ ก็ได้ใครจะรู้

8. ห้องนอน...สูงสุดคืนสู่สามัญ

เมื่อรักคืนเรือน ความฝันอันแสนจะบรรเจิด ก็กลับมาสู่ความเป็นจริง เหมือนกับสำนวนของนวนิยายจีนที่ว่า สูงสุดคืนสู่สามัญ...

...ห้องนอนจึงเป็นจุดแรกและจุดสุดท้ายของความเป็นจริงห้องนอนจึงมีไว้เพื่อนอนหลับพักผ่อนและร่วมรักกันอย่างสุขสม

ปรับปรุงโฉมห้องนอนของคุณเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนม่านหน้าต่าง เปลี่ยนวอลล์เปเปอร์ และผ้าปูที่นอน หมอน และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ให้สวยสดงดงามสะอาดเอี่ยม ชวนฝันถึง... ให้เกิดความสุขสบายในการอยู่อาศัยและประกอบกิจกรรมแห่งความรักใคร่ร่วมกัน

เปลี่ยนกลิ่น เปลี่ยนสี...และเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนได้แต่อย่าเปลี่ยนใจ...ที่จะรักกัน เพราะเราเกิดมาคู่กัน คู่บ้านนี้ คู่ห้องนอนนี้ เพื่อที่จะเป็นเพื่อนรักเพื่อนคู่คิดมิตรแท้... และเป็นคู่ชีวิต บ้าน...รังรักที่อบอุ่นของเราสองคน

แค่เขียนถึง...ก็คิดถึงบ้านแล้วครับ ขอตัวกลับบ้านก่อน เพราะบ้านมีความรักรออยู่ เหมือนคำกล่าวที่ว่า " กลับบ้านเรา รักรออยู่ "
...รอเดี๋ยวนะ จะรีบกลับไป

[ ที่มา... เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 453 วันที่ 17 - 23 ธ.ค. 2544 ]

สร้างบรรยากาศโรแมนติกให้กับห้องนอน

 เพียงใช้สิ่งของที่หาได้ง่ายๆทั่วไปไม่กี่อย่าง คุณก็สามารถสร้างบรรยากาศที่แสนจะโรแมนติก และยั่วยวนให้กับห้องนอนของ คุณได้แล้ว ลองทำดูนะคะแล้วคุณรู้สึกประทับใจ

1.เทียน การจุดเทียนสีสวยๆ สัก 2 -3 แท่งในห้องนอน จะช่วยสร้างบรรรยากาศที่อบอุ่น เชื้อเชิญ และยั่วยวน รวมทั้งทำให้ห้องดูลึกลับมีเสน่ห์อย่างประหลาด เปลวไฟร้อนแรงสีทองที่โบกไหว ก็ช่วยเร่ง เร้าอารมณ์ภายในได้อย่างมหัศจรรย์ การเลือกใช้เทียนนั้น ขอให้เลือกใช้เทียนรูปทรงสวยๆ ก้อนใหญ่เล็ก น้อย อย่าไปใช้เทียนสีเหลืองหรือสีขาวแท่งยาวที่ใช้ไหว้พระนะคะ เพราะดูแล้วมันจะกลายเป็นน่ากลัว มากกว่าน่ารัญจวน สำหรับการเลือกสีของเทียนนั้น เราพอแนะนำเคล็ดลับน่าสนใจได้บ้างดังนี้
               เทียน สีแดง : เทียนสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของความเร่าร้อน ทางเพศ ความรัก การตื่นตัว และมันยังถือ ว่าเป็นสุดยอดแห่งสีสันของชีวิตอีกด้วย เหมาะอย่างมากหากคุณต้องการกระตุ้นความปรารถนาทางเพศ ของอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นที่น่าแปลกเหมือนกันที่ว่า จากการทดสอบกับผู้ชายอเมริกันจำนวนสามสิบคนพบว่า มากกว่ายี่สิบห้าคน มีความหึกเหิมทางเพศมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อเห็นเทียนสีแดงพร้อมกับแสงไฟที่ลุกโชน
               เทียน สีชมพู : เทียนสีชมพูเป็นสัญลักษณ์ของความรักที่ อ่อนหวาน น่าทะนุถนอม มันเหมาะมากที่จะ จุดขึ้น ในยามที่คุณกอด หรือคลอเคลียเบาๆกับคนรักของคุณ
               เทียนสีขาว : เทียนสีขาวเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ ความเป็นจริงและอำนาจที่ซ่อนเร้นแห่งจิต วิญญาณ เหมาะที่จะวางสลับกับเทียนสีแดงในเวลาหัวค่ำ เพื่อสร้างบรรยากาศที่แสนประทับใจ
2.น้ำมัน หอมระเหย (Aromatherapy) กลิ่นอันจริงใจของน้ำมันหอมระเหย นอกจะช่วยสร้าง ความรัญจวนใจให้กับห้องนอนของคุณแล้วมันยังช่วยสร้างบรรยากาศของห้องนอนให้ ดูลึกลับยิ่งขึ้น กลิ่น ที่ยอมรับกันมากว่าโรแมนติกที่สุดคือกลิ่นดอกกุหลาบ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็หาซื้อไดไม่ยากนักในบ้านเรา วิธีใช้นั้นก็ ไม่ยาก เพียงหาชามแก้วใสสวยๆสักใบใส่น้ำอุ่นๆ หยดน้ำมันหอมระเหยเพียงแค่สองสามหยด พร้อมกับ ดอกไม้สดสวยๆสองสามดอก แค่นี้ก็พอแล้ว
3.ผ้าซาติน หรือผ้าแพร การใช้ผ้าปูเตียง ปลอกหมอนหนุน และปลอกหมอนข้าง ที่ทำด้วยผ้าซาติน หรือผ้าแพร เป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะผ้าชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ของความเซ็กส์ซี่ที่ปรารถนาความมัน วาวของมันช่วยกระตุ้นอารมณ์ภายในได้อย่างไม่น่าเชื่อ และที่สำคัญความลื่นของมันสร้างความรู้สึกที่สุด บรรยายเมื่อผิวสัมผัส ถ้าคุณต้องการกระตุ้นความกระหายทางเพศของอีกฝ่ายหนึ่ง เคล็ดลับมีง่ายๆก็คือ ให้ใช้ผ้าสีแดงทั้งหมดเลย แค่คิดก็......ว๊าว

4. ลายลูกไม้ หากผ้าม่านของคุณเป็นผ้าลายเรียบ ขอแนะนำให้ตบแต่งด้วยลวดลายของลูกไม้จะดีกว่า มันจะทำให้ห้องของคุณดูมีชิวิตชีวามากยิ่งขึ้น

5. ดอกไม้สด หาดอกไม้สีสดๆ พร้อมแจกันสีหวานๆสักใบ วางไว้ในมุมเด่นในห้อง นอกจากจะทำให้ ห้องของคุณดูสดชื่นมีชีวิตชีวาแล้ว ยังทำให้มีกลิ่นหอมอีกด้วย

6. เสียงเพลง เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า การเปิดเพลงบรรเลงแจ๊ซเบาๆ ช่วยสร้างความรู้สึก ที่แสนโรแมนติก และทำให้ห้องนอนของคุณดูเซ็กซี่กว่าที่คิด

           เป็นยังไงกันบ้างคะ กับเคล็ดลับดีๆที่เรานำมาแนะนำให้ ถ้ายังไงอย่าลืมลองไปทำกับห้องนอนของคุณ นะคะ เพื่อความโรแมนติกและความรักของคนทั้งคู่

แหล่งที่มา : www.pooyingnaka.com

ผู้ชาย "บอกรัก" ใน 6 เดือน



คอลัมน์ HEALTHโดย นับดาว   Bed Time Story

ผู้ชาย "บอกรัก" ใน 6 เดือน
MeetNLunch บริษัทจัดหาคู่ในเมืองไทย เปิดเผยผลสำรวจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ชายหญิง จากผู้ตอบแบบสอบถาม 800 คน เป็นเพศหญิง 70% เพศชาย 30% อายุระหว่าง 25-55 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป และที่สำคัญ...ยังโสด

พบว่า ระยะเวลาที่คบกันก่อนจะบอกรักนั้น ผู้ชาย มีแนวโน้มว่าจะใช้เวลาน้อยกว่าผู้หญิง โดย 55% ตอบว่า จะบอกรักภายใน 6 เดือน ขณะที่ฝ่ายหญิง 35% บอกว่าไม่แน่ใจ

โดยผู้หญิงวัย 23-29 ปี ประมาณ 37% บอกว่า

พวกเธออาจจะบอกรักแฟนภายใน 6 เดือนที่คบกัน

แต่ผู้หญิงวัย 30 ปีขึ้นไป 30% บอกว่าไม่แน่ใจว่าควร

จะใช้เวลาแค่ไหน แสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น ความมั่นใจในความสัมพันธ์ของพวกเธอมีแนวโน้มที่จะลดลง อาจเป็นเพราะความผิดหวังในอดีต หรือความ

ไม่แน่ใจในตัวฝ่ายชาย เช่น ถ้าเริ่มมีแฟนคนแรกตั้งแต่อายุ 18 ปี จนถึงปัจจุบันอายุ 30 ปี นั่นหมายถึงได้ ผ่านความผิดหวังมาหลายครั้งแล้ว และตรงนี้ย่อมมีผลกระทบกับทัศนคติด้านความสัมพันธ์ของพวกเธอแน่นอน

ส่วน ผู้ชายวัย 37 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มว่าจะใช้เวลา นานกว่า ก่อนจะแนะนำคนที่ชอบกับเพื่อน ๆ โดยประมาณ 50% ตอบว่า อาจใช้เวลา 3-6 เดือน ส่วนผู้ชายช่วงวัย 23-36 ปี จำนวน 35% ตอบว่า อาจจะแนะนำทันที หรือภายใน 1 เดือนเท่านั้น  


*ประชาชาติธุรกิจ

"พุทธทาส" กับทฤษฎีไร้ระเบียบ

บทความพิเศษ โดย ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์



1.โลกไร้ระเบียบของวันนี้และวันพรุ่ง

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงใหม่ๆ ป้อมค่ายทางเศรษฐกิจและการเมืองได้มีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายอย่างชัดเจน ฟากหนึ่งเป็นโลกทุนนิยมที่สหรัฐอเมริกาเป็นพี่เอื้อย ส่วนอีกฟากหนึ่งเป็นโลกสังคมนิยมที่มีสหภาพโซเวียต เป็นแกนและสาธารณรัฐประชาชนจีน

ณ เวลานั้นสามารถจำแนกมิตรและศัตรูกันได้ชัดเจน ถึงแม้จะมีกลุ่มไม่ฝักฝ่ายค่ายใดอยู่ประมาณ 30 ประเทศที่ขออยู่ตรงกลางไม่เป็นพวกใครเต็มตัวเป็นเกาะเล็กๆ ท่ามกลางทะเลแห่งการต่อสู้อย่างดุเดือดทางอุดมการณ์สองลัทธิ

การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต จะไม่ลดละให้แก่ฝ่ายใดสักนิ้วเดียว สองอภิมหาอำนาจไม่ยอมให้มีการเพลี่ยงพล้ำดุลแห่งกำลังเป็นอันขาด เพราะการไม่คานกำลังกันโดยเฉพาะด้านกำลังอาวุธมันจะกลายเป็นการคุกคามความ มั่นคงของแต่ละอภิมหาอำนาจ

พูดง่ายๆ เมื่อตาชั่งแห่งแสนยานุภาพทางทหาร เอียงไปข้างใดเกินไป โลกจะไม่มั่นคงทันที ในห้วงเวลาตั้งแต่พุทธศักราช 2488 ถึง 2533 แม้จะมีสงครามตัวแทนและสงครามเพื่อเอกราชประชา ธิปไตยในทวีปแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่โลกก็ยังมีเสถียรภาพอยู่ เพราะแต่ละอภิมหาอำนาจรู้ดีว่า "เส้นแบ่งเสถียรภาพ" นั้นอยู่ตรงจุดใด และไม่ควรล้ำเส้นนี้ออกไป

มันเป็นโลกที่ดูเหมือนอันตราย แต่แก่นแท้แล้วมีเสถียรภาพมั่นคง เพราะมันตรรกะที่ชัดเจน มองเห็น "เส้น" ชัดเจนแต่ละฝ่ายสามารถคำนวณและหยั่งเชิงกันได้ ไม่ให้ "ออกนอกกรอบ" แห่งดุลกำลัง ทั้งสองฝ่ายรู้ว่าตนเองต้องเล่นตามกฎและกติกา เพื่อจะได้ไม่ปล่อยให้เรื่องเล็กๆ ความไม่เข้าใจกันหรือความเข้าใจผิดเล็กน้อย (ดังกรณีคิวบาในปี 2505 เกิดขึ้นอีก) มาทำให้เรื่องบานปลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ ซึ่งพินาศย่อยยับกันทั้งคู่ มันเป็นโลกที่มีความชัดเจน และ "เป็นระเบียบ"

การพังทลายลงของกำแพงเบอร์ลินเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2532 โลกที่แบ่งค่ายและโลกที่ต่อสู้ กันทางเศรษฐกิจและการเมือง มีแสนยานุภาพที่ทำลายกันให้อีกฝ่ายย่อยยับนั้นได้สิ้นสุดลง มันกลายเป็นโลกใบเดียวทั้งทางกายภาพ ทางเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งถูกเสริมการพึ่งพากันและกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้วยสายใยเครือข่ายของการติดต่อสื่อสาร และสารสนเทศ โลกไร้พรมแดนที่มีเสถียรภาพและศานติ ดังเพลง Imagine ของจอห์น เลนนอน ส่อแววว่าจะเป็นความจริง

ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์การเมืองในเมื่อสหภาพโซเวียตและบริวารสังคมนิยม อันเป็นศัตรูสำคัญของระบบทุนนิยมเสรีได้ล้มครืนลงไปแล้ว จะมีใครหน้าไหนมาบังอาจตั้งตัว เป็นคู่ต่อสู้ของอภิมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาได้ มันมองไม่เห็นอันตรายที่จะคุกคามความสงบและเสถียรภาพของโลกได้เลย

จึงไม่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอันใดเลยเมื่อสหรัฐอเมริกาปราบกองทัพของซัดดัม ฮุสเซน ในสงครามที่ชื่อว่า "พายุทะเลทราย" ได้สำเร็จด้วยความเหนือกว่าหลายขุมของอาวุธเทคโนโลยี เมื่อเสียเวลาเพียงประมาณ 3 สัปดาห์ และทหารอเมริกันเสียชีวิตเพียงไม่กี่สิบคน ย่อมทำให้ประธานาธิบดีบุช (ผู้พ่อ) ประกาศอย่างมั่นใจเต็มเปี่ยมเกินร้อยว่า "เรากำลังจัดระเบียบโลกใหม่" โดยผู้นำอเมริกันคิดว่าเขาสามารถควบคุมโลกให้เดินไปตามเส้นทางที่วอชิงตัน กำหนดไว้ได้ โดยไม่มีการหักเหออกจากทิศทางที่วอชิงตันกำหนดไว้

แต่โลกที่เป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ สหรัฐอเมริกาแม้จะมีอำนาจทางการเมือง ทางการทหารและทางวัฒนธรรมก็ไม่สามารถสนตะพายโลกแล้วจูงไปตามเส้นทางที่ตนเอง ปรารถนาได้

มันมีปัจจัยตัวแปรต่างๆ ที่สำคัญ เช่น digitalization, individualization ของโลก ซึ่งได้มีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกันไปมา ของเหตุการณ์ด้านต่างๆ ที่ก่อกำเนิดสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง จนทำให้นักวิชาการในสาขาต่างๆ หันมาศึกษาค้นคว้าโลกที่สลับซับซ้อนยุ่งเหยิงไร้ระเบียบ เพื่อรับมือในการอยู่กับโลกที่วุ่นวายนี้ให้ได้

ในการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมไซเบอร์เนติกทางเศรษฐศาสตร์และสังคม เมื่อวันที่

4-5 ตุลาคม 2534 ที่เมืองอาเชน (Aachen) ประเทศเยอรมนี ศาสตราจารย์ไฮโย ริกมันน์ (Heijo Rieckmann) แห่งสถาบันเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยคลาเก้นเฟิร์ต (Klagenfurt) ประเทศออสเตรีย ได้พูดประโยคสำคัญในการสัมมนาทางวิชาการดังนี้ "เราได้ก่อสร้างโลกที่ซับซ้อน อ่อนไหวและตื่นตระหนกง่ายขึ้นมาแล้ว"

ศาสตราจารย์ไฮโยมองเห็นว่า "เรายิ่งมีอำนาจทางเทคโนโลยีมากขึ้นเท่าใด อำนาจในการควบคุมยิ่งลดลงไปเท่านั้น และความเสี่ยงยิ่งสูงเพิ่มเป็นเงาตามตัวด้วย" ความอหังการของมนุษย์ ซึ่งมีกระบวนทัศน์เก่าครอบงำอยู่กว่า 200 ปีที่มองเห็นโลกเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่เราสามารถควบคุมระบบการทำงานของ มัน ให้เดินไปตามตรรกะของเหตุและผลที่เป็นเชิงเส้นกำลังคลอนแคลนอย่างถึงรากถึง โคน


Charles Handy talking to the group
Photograph by Elizabeth Handy

ชาร์ลส์ แฮนดี้ (Charles Handy) ชาวอังกฤษผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น "ปราชญ์แห่งการบริหารจัดการ" ได้เขียนถึงโลกที่ขัดแย้ง และสวนทางกัน หรือโลกปฏิทรรศน์ (world of paradox) ไว้ในหนังสือ "คิดใหม่เพื่ออนาคต" (Rethink the Future) ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2540 เขาให้ทรรศนะว่าเราจำเป็นต้องมี "สัมผัสใหม่" เพื่อเอาตัวให้รอดในโลกที่เป็นอนิจจัง

ในบทความ "ค้นหาญาณในความไม่แน่นอน" (Finding Sense in Uncertainty) ชาร์ลส�แฮนดี้ ย้ำว่า "เรามีชีวิตอยู่ในห้วงเวลาที่สับสนยิ่ง เพราะเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ ที่ก่อกำเนิดโครงสร้างแห่งชีวิตของเรานั้นได้ปลาสนาการไปแล้ว อนาคตข้างหน้าไม่มีใครมากำหนดมันเป็นไปได้ตายตัว แม้กระทั่งวิทยาศาสตร์ยังพูดถึงผลกระทบผีเสื้อ ซึ่งเรื่องเล็กๆ สามารถสร้างผลสะเทือนใหญ่บานปลายอย่างไม่มีใครคาดถึงได้ ดูไปแล้วมันเป็นเรื่องน่าห่วง เพราะเรากำลังอยู่ในช่วงของความยากลำบาก โลกไม่มีเส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบอีกต่อไป

แต่ถ้ามองจากอีกมุมหนึ่งของโลกปฏิทรรศน์ในความไม่แน่นอนมันก็เป็นโอกาสของการเกิดสิ่งใหม่ ที่เราสามารถทำให้มันแตกต่างออกไปจากเดิมได้ หนทางสำคัญในการ

สร้างอนาคตให้แก่ตัวเราเอง ให้แก่องค์กรและสังคมนั้น มันไม่ได้อยู่กับใครที่ไหน มันอยู่ที่ตัวของเราเอง"

เราคงไม่ต้องอ้างนักวิชาการ หรือนักวิทยาศาสตร์คนใดมาเป็นหลักฐานยืนยันว่าโลกมันวุ่นวาย ไร้ระเบียบ ปั่นป่วน และเปลี่ยนแปลงฉับพลันอย่างคาดไม่ถึง เพราะเหตุการณ์ เช่น การถล่มตึกเวิรลด์เทรดฯ ในกรุงนิวยอร์กของคนในเครือข่ายของบินลาเดน เมื่อเดือนกันยายน 2544 การแพร่ระบาดของโรคซาร์ส และโรคระบาดไข้หวัดนกในทวีปเอเชีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตของผู้คนในที่ต่างๆ รวมไปถึงการระบาดของระเบิดพลีชีพและกิจการร้ายในทุกทวีป

สิ่งเหล่านี้คนไทยเคยได้ดูได้ฟังจากโทรทัศน์ วิทยุ และอ่านในหนังสือพิมพ์ แต่บัดนี้มันได้เข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราแล้ว จากเหตุร้ายรายวันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาสู่การวางระเบิดที่สนามบินหาดใหญ่และโรงแรมในจังหวัดสงขลา มันล้วนเป็นประจักษ์พยานของอันตรายอันมาจากความรุนแรงต่อชีวิตผู้บริสุทธิ์ ซึ่งเราคิดว่ามัน จะเกิดกับประเทศอื่น ความรุนแรงดังกล่าวเรา ไม่เคยอยู่ในจิตนาการมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นใน

ประเทศไทย

ในโลกใบเดียวที่เชื่อมโยงกันราวเป็นหมู่บ้านเดียวกัน ผลกระทบมันวิ่งถึงกันเร็วจี๋ ดูกรณีคลื่นยักษ์สึนามิที่ก่อตัวที่อินโดนีเซีย กวาดล้างชีวิตผู้คนนับแสน ยังกระทบมาถึงความตายของคนหลายพันคนในฝั่งทะเลอันดามันของไทยได้

ประโยคที่ว่า "มันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย มันมีแต่ในประเทศอื่น... มันคงจะไม่เกิดขึ้นกับเรา" จะนำมาใช้ไม่ได้อีกต่อไป



2.ว่าด้วยหลักคิดของ ทฤษฎีไร้ระเบียบในมุมของวิทยาศาสตร์

ความไร้ระเบียบในความหมายทางวิทยาศาสตร์ คือ สภาพและกระบวนการของระบบที่ไร้เสถียรภาพ (unstable) อันมีความอ่อนไหวสูงยิ่งและเปราะบาง เมื่อมีการกระทบเพียงเล็กน้อยในสาเหตุเบื้องต้น (initial condition) แต่เมื่อเกิดบ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหตุเล็กๆ เพียงเบื้องต้นทำให้เกิดพัฒนาของระบบที่ดำเนินไปอย่างไม่เป็นเส้นตรง เป็นเส้นทางคดเคี้ยว กวัดแกว่ง บางครั้งถึงก้าวกระโดดฉับพลัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงทำนายให้ถูกต้องแม่นยำได้ยาก

ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดหลักที่เชื่อถือกันมา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด ขอให้รู้สมมติฐานอันเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นให้ชัดเจน จริงๆ จะสามารถทำนายผลลัพธ์ออกมาได้อย่างแม่นยำ


Edward Lorenz


ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมนั้นเราสามารถศึกษาได้จาก Edward Lorenz แห่งสถาบัน MIT เมื่อกลางทศวรรษที่ 60 อาจารย์ด้านอุตุนิยมวิทยา (meteoro logy) ผู้นี้พยายามสร้างโมเดลการคำนวณในการพยากรณ์อากาศโดยใช้สมการง่ายๆ แสดงการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับกระแสลม เขาป้อนข้อมูลที่จุดทศนิยม 6 หลัก คือ 0.506127 เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งพิมพ์ผลออกมาทุกๆ นาทีด้วยความ เบื่อที่นั่งคอยผลลัพธ์นานๆ เพราะคอมพิวเตอร์ยุคนั้นทำงานช้า Lorenz จึงตัดตัวเลขหลังจุดทศนิยมออกไปเสีย 3 หลัก ให้เหลือ 0.506 เขาเอาผลลัพธ์จากระยะหนึ่ง มาเป็นจุดเริ่มต้นของการคำนวณ แล้วสตาร์ตโปรแกรมใหม่ ผลของการคำนวณระยะแรกเหมือนกับการทดลองเก่าๆ ที่เคยทำมาครั้งแล้วครั้งเล่า หลังจากลุกไปชงกาแฟแล้ว กลับมาดูตัวเลขใหม่ ปรากฏว่าผลลัพธ์ต่างกันโดยสิ้นเชิง โมเดลของดินฟ้าอากาศไปกันคนละทิศทาง

Lorenz คิดว่าเครื่องคอมพิวเตอร์คงจะมีอะไรผิดพลาด จึงทดลองซ้ำอีก ผลคำนวณยังคงยืนยันว่าความแตกต่างดังครั้งแรก เขาทดลองอีกสองสามครั้ง ซึ่งก็ย้ำความถูกต้องของคอมพิวเตอร์

จนในที่สุด เขาก็ได้รู้ว่าความแตกต่างของโมเดลนั้นมาจากการลดตัวเลข 3 หลักหลังจุดทศนิยมซึ่งเป็น "เงื่อนไขเบื้องต้น" (initial condition) ในการคำนวณ เพราะความต่างของตัวเลขหลังจุดทศนิยมเพียงน้อยนิด ในเหตุเบื้องต้นคือ 1 : 1,000 เกิดเป็นผลลัพธ์ที่ต่างออกไป จากจุดเริ่มต้นจำนวนมหา ศาลอย่างไม่น่าเชื่อ


ผลกระทบผีเสื้อ (butterfly effect)

เปรียบเสมือนการไหวตัวของกระแสลมเบาๆ ที่มาจากการกระพือปีกของผีเสื้อแต่กลับกลายไปสร้างผลกระทบใหญ่หลวง ทางดินฟ้าอากาศได้ Lorenz จึงขนานนามว่าเป็น "ผลกระทบผีเสื้อ" (butterfly effect) ซึ่งกลายเป็นถ้อยคำที่โด่งดังไปทั่วโลก

ศาสตราจารย์ Lorenz กล่าวว่า "ในทางทฤษฎีด้านอุตุนิยมวิทยา ผีเสื้อใหญ่ตัวหนึ่งกระพือปีกที่ฮ่องกง สามารถทำให้ดินฟ้าอากาศที่แคลิฟอร์เนียเปลี่ยนแปลงเป็นพายุได้เมื่อหนึ่ง เดือนให้หลัง"

ทฤษฎีไร้ระเบียบนอกจากพูดถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของสาเหตุเบื้องต้น แล้วยังพูดถึงเรขาคณิตเศษส่วน (fractal geometry) หรือ ไวยากรณ์แห่งทฤษฎีไร้ระเบียบ


Attractors

มีคนแปลคำว่า geometry ในเชิงภาษาว่า "การวัดแผ่นดิน" และคำว่า fractal มาจากภาษาละติน fractus หรือ fractrum ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า fragmented (or irregular) เมื่อแปลเป็นไทย คือ แตกเป็นชิ้น เป็นเศษ

ขณะที่เรขาคณิตคลาสสิกของยูคลิดที่เราเรียนกันเมื่อเป็นเด็ก เป็นเรขาคณิตที่สนใจต่อแบบฟอร์มและรูปร่างในอุดมคติ คือ มีรูปร่างเป็นเส้นตรง วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือวงรี รูปร่างและทรงต่างๆ ในเรขาคณิตยูคลิดจึงสะอาด ราบเรียบ สม่ำเสมอ และชัดเจน

แต่เรขาคณิตเศษส่วน หรือ fractal geometry สนใจค้นคว้ารูปทรงที่เป็นจริงของธรรมชาติซึ่งขรุขระ ไม่เรียบร้อย เช่น ใบไม้ ก้อนเมฆ สายฟ้าแลบ ชายฝั่งทะเล ภูเขาและโตรกผา ปอดของมนุษย์ เป็นต้น มิติของเรขาคณิตเศษส่วนจึงมีลักษณะคล้ายทศนิยมไม่รู้จบ เช่น มิติเศษส่วนของสมองเรา คือ 2, 79 และของก้อนเมฆ คือ 2, 35 มิติเศษส่วนหรือ fractal ในที่นี้จะเป็นสองมิติของพื้นที่ หรือเป็นสามมิติของพื้นที่ หรือเป็นสามมิติแบบทรงลูกเต๋า หรือลูกกลมก็ได้

คุณสมบัติสำคัญของ fractal หรือเศษส่วนไม่รู้จบ คือ "ความคล้ายตนเอง" (self-similarity) นั่นคือ โครงสร้างของเศษส่วนที่ขยายตัวออกไปอย่างไม่สิ้นสุด ไม่ว่าในมิติทางกาล (time) หรือมิติทางเทศะ (space) ล้วนแล้วแต่มีรูปร่างคล้าย คลึงซ้ำกับแบบแผน (pattern) อันแรก อันเป็นแม่แบบของมัน (ดูภาพประกอบ)


B.Mandelbrot, introduction to The Fractal Geometry of Nature


Benoit Mandelbrot ผู้ค้นคว้าทฤษฎีไร้ระเบียบทางคณิตศาสตร์ สรุปความเชื่อมโยงแนบแน่นระหว่างคณิตศาสตร์เศษส่วนกับทฤษฎีไร้ระเบียบไว้ดัง นี้

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างที่เป็นเศษส่วน (fractal) กับระบบที่ไร้ระเบียบ (chaotic system) เกิดจากคุณสมบัติข้อที่บอกว่า การเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นต่อ (depend) ความอ่อนไหวอย่างยิ่งยวดของเงื่อนไขเบื้องต้น ประกอบกับการพัฒนาลักษณะพลวัตอันซับซ้อนและยอกย้อนกลับไปกลับมา ทำให้เศษส่วนแต่ละอัน จึงไม่เหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์ รูปลักษณ์แต่ละภาพจะมีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง เช่น ปุยเมฆแต่ละก้อน ต้นไม้แต่ละต้น ใบไม้แต่ละใบ หัวใจแต่ละดวง และสมองแต่ละก้อน ย่อมต่างกันไปบ้าง

อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามองเห็นก็รู้ได้ทันทีว่านี่คือต้นมะม่วง นี่คือต้นมังคุด นี่คือใบโพธิ์ เป็นต้น และนี่เป็นสิ่งที่ทฤษฎีไร้ระเบียบ พยายามตอบคำถามว่า ทำไมเกล็ดหิมะแต่ละเกล็ดที่โปรยปรายลงมา จึงมีความแตกต่างกันไปเล็กน้อย ก็เนื่องจากว่าผลรวมของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเกิดเกล็ดแต่ละเกล็ดต่างกัน


Benoit Mandelbrot


การค้นคว้าในมิติเศษส่วน (fractal) จึงมิใช่การนิยามสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง แต่เป็นการนำเสนอให้เห็นคุณสมบัติอันแท้จริงของสภาพแวดล้อมในระดับต่างๆ ตั้งแต่ขนาดจิ๋ว (micro) จนถึงขนาดยักษ์ (macro) ซึ่งปรากฏอยู่ในโลก

การพัฒนาที่ดำเนินไปในลักษณะเศษส่วนและไร้ระเบียบนั้น น่าสนใจ มิใช่เพียงว่าได้แสดงให้เห็นโครงสร้างที่ไม่สม่ำเสมอ ในระบบพลวัตที่ไม่เป็นเส้นตรงเท่านั้น ความสำคัญอีกข้อหนึ่งซึ่งจะมีประโยชน์ในการสังเกตดูแบบแผนของสรรพสิ่งในโลก (รวมถึงสังคม) คือโครงสร้างไร้ระเบียบ (chaotic structure) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของกระบวนการสร้างสรรค์ในธรรมชาติ ธรรมชาติมีพลังสร้างสรรค์ในการจัดตั้งรูปแบบอย่างมหัศจรรย์ เมื่อได้สร้างแม่แบบเบื้องต้น ขึ้นแล้วรูปแบบอื่นก็จะลอกเลียนตามมา นักวิจัยไร้ระเบียบเรียกเศษส่วนคล้ายธรรมชาตินี้ว่า "ภาษาของธรรมชาติ" พวกเขาเชื่อว่าวิธีการและรูปแบบที่เรขาคณิตเศษส่วนและทฤษฎีไร้ระเบียบได้ ถ่ายทอดความเป็นจริงของโลกออกมานั้น พอจะกล่าวได้ว่าทฤษฎีไร้ระเบียบเป็นเสาหลักของโลกทัศน์ใหม่ได้ และความสำคัญของเศษส่วน (fractal) ในการวิจัยคือ การช่วยทำให้เข้าใจ "จุดดึงดูดไร้ระเบียบ" (chaotic attractors) ได้ดีขึ้น เพราะมันมีโครงสร้างเศษส่วน (fractal structure) อยู่ในนั้น



สรุปอีกครั้งหนึ่งว่า เมื่อระบบพลวัตเคลื่อนตัวเข้าสู่สภาพไร้ระเบียบ รูปแบบและโครง สร้างของความไร้ระเบียบสามารถใช้เรขา คณิตเศษส่วนอธิบายให้เข้าใจ และในทางกลับกัน ทฤษฎีไร้ระเบียบช่วยในการคิดค้นว่า โมเดลอะไร กลไกอะไร ที่มีส่วนทำให้เกิดโครงสร้างเศษส่วนขึ้นมา การค้นพบดังกล่าวทำให้เกิดประโยคที่ว่า การวิจัยความไร้ระเบียบคือรากฐานของศาสตร์แขนงใหม่ เป็น "ศาสตร์อนิจจัง" (science of becoming)



3.โลกไร้ระเบียบใน ทรรศนะของท่านพุทธทาส

ในหนังสือชื่อ "บันทึกนึกได้เอง" ที่ นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ได้จัดพิมพ์ขึ้นด้วยการถ่ายสำเนาลายมือท่านพุทธทาส ที่บันทึกไว้ในหนังสือไดอะรี่ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2495 ท่านได้เขียนว่า

"ครั้นบัดนี้โลกโคลง เร่าร้อนอย่างยิ่ง จนเราต้องเตรียมใจกันใหม่เพื่อรับหน้า"

ต่อมาวันที่ 16 เมษายน ท่านได้ตั้งคำถามว่า "โลกต้องการอะไรบ้าง เพื่อลดความเร่าร้อนรุนแรงให้เย็นลง" ซึ่งท่านได้วงเล็บภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้วย to cool the present turmoil

ในปีเดียวกันอีกนั่นเอง ท่านบันทึกไว้ในสมุดที่เป็นหน้าของวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2495 ท่านเขียนตัวโตไว้กลางกระดาษ เพื่อย้ำความสำคัญเป็นอักษรพาดหัวใหญ่ว่า "โลกหมุนเร็วขึ้นทุกที ?" แล้วเสริมรายละเอียดข้อสังเกตด้วยลายมือของท่านเองดังนี้

"นักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทาง physics ย่อมไม่เชื่อและเห็นด้วย แต่สำหรับนักธุรกิจ นักรัฐศาสตร์ หรือนักการเมือง และอื่นๆ อีกเป็นอันมากย่อมมองเห็นชัด และเชื่อว่าโลกหมุน "จี๋" ยิ่งขึ้นทุกที และจะหมุนเร็วขึ้นอีกจนละลายไป เพราะการหมุนเร็วเกินขอบขีดนั้นก็ได้"

นี่เป็นข้อห่วงใยที่ท่านพุทธทาสมีต่อโลกและมนุษยชาติ สิ่งที่ท่านได้เขียนเอาไว้และกล่าวไว้ในหลายๆ ที่ในเวลาต่อมา ไม่ได้ต่างไปจากช่วงเวลานั้นเลย

นักรัฐศาสตร์ นักธุรกิจและนักสังคมศาสตร์ ได้พูดถึงโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วจี๋ โลกที่พึ่งพิงอิงกันและกัน เขย่ากันไปมาจนโคลงเคลงเสียศูนย์ เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมานี้เอง

แต่ท่านพุทธทาส ท่านได้ "เห็น" โลกหมุนจี๋ เมื่อ 50 กว่าปีมาแล้ว อัจฉริยะอันน่าอัศจรรย์ในการมองเห็นภาพใหญ่ของโลก ได้อย่างถูกต้องของท่าน มีต้นตอหรือแหล่งที่มาจากแหล่งใด ?

ท่านพุทธทาสมีสายตาที่แหลมคมมองเห็นจุดเล็กนิดเดียวกับฝุ่นบางๆ ที่เกิดขึ้น ณ เบื้องขอบฟ้าอันไกลโพ้น แล้วท่านหยั่งรู้ได้ว่ามันนำไปสู่อะไร แค่เห็นเงื่อนไขเบื้องต้นเพียงนิดเดียวก็ประเมินผลลัพธ์ที่ใหญ่หลวงได้

นี่คือความหยั่งรู้ หรือญาณ หรือ sense ที่ชาร์ล แฮนดี้ พูดถึงใช่หรือไม่ ว่าเราต้องพัฒนาทักษะตัวนี้ขึ้นมาให้ได้ เพื่อรับมือกับโลกปฏิทรรศน์

เรื่องที่ท่านพุทธทาสเขียนไว้เมื่อปี พ.ศ.2495 สังคมไทยย่อมตามไม่ทัน มองไม่เห็น และเข้าใจได้ยากเพราะล้ำสมัยมากๆ

ขณะนั้นเรายังไม่มีโทรทัศน์ดูกัน โทรศัพท์ยังมีกันไม่มาก เครื่องบินไอพ่นที่นำนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาประเทศไทยก็ยังไม่มี การทำมาค้าขายกับธุรกิจต่างประเทศก็ยังมีไม่กี่รายการ ไม่มี CNN ไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มีมือถือและ MTV เรายังปฏิสัมพันธ์กับโลกอย่างช้าๆ และเบาบาง ไม่เข้มข้น และถี่ยิบเป็นวินาทีดังตลาดหุ้นวันนี้ ในบริบทดังกล่าวเป็นเรื่องยาก ที่คนธรรมดาจะมีจิตนาการได้ลึก

เมื่อพิจารณาตามสภาพของโลกเครือข่ายในวันนี้ เรื่องที่ท่านพุทธทาสสอนเอาไว้จึงมีความหมายอย่างยิ่งยวด สำหรับคนไทยในปัจจุบัน และอนาคตไปอีกหลายสิบปี

เราจำเป็นจะต้องศึกษาค้นคว้าสิ่งที่ท่านได้บรรยายเอาไว้ในที่ต่างๆ และเวลาต่างๆ อย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วย

มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนทั่วไปจะเข้าใจ "ความรู้" บางเรื่องที่ล้ำลึกและมาก่อนกาล ต้องใช้เวลานานกว่า ดูกรณีทฤษฎีสัมพันธภาพ (relativity theory) ของไอน์สไตน์ ซึ่งถูกเสนอเมื่อปี 2448 กว่านักฟิสิกส์จำนวนมากจะเข้าใจ และพิสูจน์ได้ว่าจริงก็ผ่านไปหลายสิบปี

"บันทึกนึกได้เอง" ของท่านพุทธทาส เมื่อปีพุทธศักราช 2495 ที่เตือนเรื่องโลกโยกโคลง และหมุนเร็วจี๋เกินขอบเขต กว่าที่คนทั่วไปจะตระหนักและเตรียมรับมือกับมันย่อมต้องใช้เวลาเช่นกัน



4.พุทธทาสกับทฤษฎีไร้ ระเบียบ

จากการได้ติดตามอ่านสิ่งที่ท่านพุทธทาสได้กล่าวเตือนเรื่องโลกที่กำลัง อันตรายจากการโยกโคลงและหมุนเร็วจี๋เกินขอบเขต ทำให้ผมอดถามตนเองไม่ได้ว่าท่านพุทธทาสสามารถมองเหตุการณ์ล่วงหน้าได้เร็ว กว่านักวิชาการตะวันตกถึง 30-40 ปีได้อย่างไร ? ท่านใช้หลักอะไร และวิธีการอะไร ในการมองทะลุ (insight) ทั้งๆ ที่สมัยนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ คำว่าโลกาภิวัตน์ยังไม่ได้บัญญัติ แต่ท่านบอกว่าโลกกำลังอยู่ใน turmoil ท่านก็รู้ล่วงหน้าแล้วว่าอันตรายใหญ่หลวงน่ากลัวต่อมนุษยชาติได้เกิดขึ้น แล้ว ท่านเตือนเรื่องการอยู่อย่างเท่าทันโลก ไม่ให้ถูก "เขี้ยวของโลก" ขบกัดได้ เสมือนลิ้นงูที่อยู่ในปากงูแต่ไม่ถูกเขี้ยวงูขบกัด

ถ้าจะเปรียบกับทฤษฎีไร้ระเบียบ ท่านพุทธทาสมีความเข้าใจลึกซึ้งต่อระบบที่ห่างไกลจากจุดสมดุล (system far from equilibrium) ท่านรู้กฎของวิทยาศาสตร์แห่งความอนิจจัง (science of becoming) เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อท่านจับการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขเบื้องต้น (initial condition) และเห็นการเชื่อมโยงป้อนกลับของปัจจัยต่างๆ ที่กระทำต่อกันและกัน ท่านจึงรู้เรื่อง "ผลกระทบผีเสื้อ" (butterfly effect) ที่เหตุเล็กๆ สามารถสร้างผลสะเทือนใหญ่ได้

พูดง่ายๆ ท่านเข้าใจแก่นแท้ของศาสตร์แห่งความไร้ระเบียบอย่างดียิ่ง โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องพูดตัวทฤษฎี

ปริศนาที่ผมถามตัวผมเอง และพยายามค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ผมพอสรุปเป็นข้อมูลสมมติฐานว่าอัจฉริยภาพของท่านพุทธทาสในการเข้าใจแก่นของ ทฤษฎีไร้ระเบียบ น่าจะมาจากการที่หลักการการคิดและวิธีการแสวงหาปัญญา ดังนี้

ข้อที่หนึ่ง ว่าด้วยหลักอิทัปปจยตา อันเป็นกฎที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นเรื่องการพึ่งพิงอิงกันของปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงกระทบถึงกันและกันหมด และเมื่อเหตุปัจจัยดังกล่าวได้มาพบพานพร้อมกัน "สิ่ง" นั้นจึงอุบัติขึ้นมา

"สภาวะต่างเป็นที่เกี่ยวพันกันอยู่อย่างไม่รู้จักจบสิ้น" นั่นก็คือ การพิจารณาการปรากฏขึ้นของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ต้องอิงอาศัยกันและกัน การพิจารณาเช่นนี้จะช่วยปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระจากบัญญัติแห่ง "เอกภาพ-ความหลากหลาย" หรือบัญญัติแห่ง "หนึ่ง-ทั้งหมด" การพิจารณานี้จะช่วยแยกสลายบัญญัติแห่ง "ตัวฉัน" เพราะว่าบัญญัติแห่งตัวตนนั้น สร้างอยู่บนพื้นฐานของความแตกต่างระหว่างเอกภาพกับความหลากหลาย เมื่อเราคิดถึงฝุ่นผงหนึ่งอณู ดอกไม้ดอกหนึ่งหรือมนุษย์ผู้หนึ่ง ความคิดของเรามิอาจหลุดพ้นออกมาจากความเป็นหนึ่งหรือเอกภาพนั้นได้ เรามองเห็นเส้นที่คั่นอยู่ระหว่างหนึ่งกับสิ่งอื่นๆ ที่มีอยู่มากหลายระหว่างหนึ่งกับสิ่งที่มิได้เป็นหนึ่งนั้น ในชีวิตประจำวัน เราต้องการสิ่งเดียวกันนี้ เช่นเดียวกับที่รถไฟอาศัยราง แต่ถ้าเราประจักษ์แจ้งในธรรมชาติที่ต้องอิงอาศัยกันและกันของฝุ่น ดอกไม้ และมนุษย์ เราจะสามารถมองเห็นได้ว่าเอกภาพนั้นมิอาจดำรงอยู่ได้โดยปราศจากความหลากหลาย ทั้งเอกภาพและความหลากหลายสามารถเหลื่อมล้ำกันได้อย่างเป็นอิสระ เอกภาพก็คือความหลากหลาย นี่คือหลักการของการต่างเป็นและต่างอยู่ในกันและกันของอวตังสกสูตร

ต่างเป็นนั้นหมายถึง "นี่ก็คือนั่น" และ "นั่นก็คือนี่" เมื่อเราพิจารณาลึกๆ ลงไปในความต่างเป็นและต่างอยู่ในกันและกัน เราจะเห็นว่าความคิดเรื่องหนึ่งกับมากมายนั้นคือสังขารที่จิตใจปรุงแต่งขึ้น มา ดุจเดียวกับถังที่ใช้โอบอุ้มน้ำ ครั้นเมื่อเราหลุดพ้นออกจากข้อจำกัดอันนี้ เราก็จะเหมือนกับรถไฟที่วิ่งไปได้โดยไม่ต้องอาศัยราง เช่นเดียวกับเมื่อเราประจักษ์ว่าเราอยู่บนโลกกลมๆ ที่หมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ บัญญัติเรื่องข้างบนข้างล่างก็จะสลายตัวไปเอง เมื่อเราประจักษ์แจ้งในการอิงอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เราก็จะเป็นอิสระจากความคิดเรื่อง "หนึ่ง-มากหลาย"

ในอวตังสกสูตรได้มีการใช้ภาพของร่างแหแห่งรัตนะ เพื่อแสดงถึงปฏิสัมพันธ์ และความเกี่ยวพันอันหลากหลาย และไม่มีที่สิ้นสุดของสรรพสิ่ง ร่างแหนั้นประกอบด้วยรัตนะอันทอประกายสดใส ซึ่งมีหลากหลายชนิด และแต่ละรัตนะนั้นก็เจียระไนให้มีหลายแง่หลายมุม รัตนะหนึ่งๆ ได้ประมวลภาพของบรรดารัตนะทั้งหลายเอาไว้ในตัว เช่นเดียวกับที่มีภาพตัวอยู่ในรัตนะอื่นๆ ทั้งมวล ในภาพนี้เองที่แต่ละรัตนะย่อมบรรจุไว้ด้วยรัตนะอื่นๆ ทั้งหมด

เราสามารถให้ตัวอย่างจากรูปทรงทางเรขาคณิตไว้ด้วย ยกตัวอย่างรอบวงกลมที่มี ก. เป็นจุดศูนย์กลางวงกลม ก็จะประกอบด้วยจุดต่างๆ รอบๆ ก. ที่มีความห่างจาก ก. เท่าๆ กัน วงกลมเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีจุดต่างๆ ทุกจุดอยู่ที่นั่น ถ้าขาดจุดใดจุดหนึ่งวงกลมก็จะไม่เป็นวงกลมเช่นเดียวกับบ้านที่สร้างขึ้นมา จากสำรับไพ่ หากชักไพ่ใบใดใบหนึ่งออกบ้านทั้งหมดก็จะพังลง ไพ่แต่ละใบต้องขึ้นต่อกันและกัน ถ้าขาดหายไปเพียงหนึ่งใบ บ้านก็จะไม่มี การปรากฏของจุดจุดหนึ่งในวงกลมขึ้นอยู่กับการปรากฏของจุดอื่นๆ ณ จุดนี้เราจะเห็นได้ว่า "หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง" จุดทุกจุดในวงกลมมีความสำคัญทัดเทียมกัน ไพ่แต่ละใบในบ้านที่สร้างด้วยไพ่ ย่อมมีความสำคัญเท่าๆ กัน แต่ละใบย่อมมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของทั้งหมด และย่อมหมายถึงความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของส่วนอื่นๆ ด้วย นี่ก็คือการอิงอาศัยกันและกัน...

...หลากหลายในหนึ่ง มองเห็นหนึ่งในความหลากหลาย มองเห็นหนึ่งในสิ่งที่มิอาจประมาณได้ มองเห็นสิ่งมิอาจประมาณได้ในหนึ่ง การเกิดและการดำรงอยู่ของธรรมทังหลายทั้งปวง มีธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งไม่จริงแท้ และไม่อาจแตะต้องสัมผัสผู้ตรัสรู้ได้ ดังที่ฉันได้กล่าวถึงความคิดประการหนึ่งในวิชาฟิสิกส์ร่วมสมัย คือความคิดเรื่อง "หูรองเท้าบูต" คือหูรองเท้าบูตที่ใช้จับเพื่อดึงเวลาสวมรองเท้าบูต ซึ่งเป็นความคิดที่ใกล้เคียงกับความคิดเรื่องต่างเป็นและต่างอยู่ในกันและ กันมาก ความคิดเรื่อง "หูรองเท้าบูต" เป็นความคิดที่ปฏิเสธความคิดหน่วยพื้นฐานของสสาร (ความคิดหน่วยพื้นฐานของสสารที่กล่าวไว้ว่า สสารนั้นเมื่อแยกย่อยลงไปเรื่อยๆ เราจะพบหน่วยที่เล็กที่สุดที่มิอาจแบ่งแยกอีกต่อไปได้ หน่วยดังกล่าวนั้นคือหน่วยพื้นฐานของสสาร) จักรวาลนี้ก็คือ เครือข่ายและโยงใยของปรากฏ การณ์ ที่ปรากฏการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้นจากการเกี่ยวโยงของปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งมวล สิ่งที่เราเรียกว่าอนุภาค แท้ที่จริงก็คือความสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคต่างๆ นั่นเอง"


Fritjof Capra

หนังสือที่เราเคยอ่าน เช่น "จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ" และ "ข่ายใยแห่งชีวิต" ได้สะท้อนโลกทัศน์แบบองค์รวมที่ฟริตจอฟ คาปรา (Fritjof Capra) นำไปพัฒนาเป็น "ระบบทัศน์แห่งชีวิต" (system view of life) ก็ดี และวิธีคิดกระบวนระบบ (system thinking) ที่ปีเตอร์ เซ็งเก้ ใช้อธิบายถึงการเปลี่ยนรูปของสังคม (social transformation) ก็ดี ล้วนมีหลักการเดียวกับอิทัปปจยตา ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยอยู่ที่การใช้ภาษาถ้อยคำและเทคนิคในการอธิบายเท่า นั้น

ข้อที่สอง การอธิบายเรื่องหลักการของอิทัปปจยตาเป็นเรื่องไม่ยาก แต่การฝึกให้เรามีทักษะในการคิดเป็นองค์รวม และเห็นความเชื่อมโยง มองทะลุปรากฏการณ์ไปสู่สาเหตุที่แท้จริงเป็นเรื่องยาก บทเรียนจากการฝึกเรื่องวิธีคิดกระบวนระบบหรือ system thinking ได้พิสูจน์มาแล้ว เพราะคนธรรมดาทั่วไปคิดแบบแยกส่วนมานาน และการคิดแบบธรรมดายังอาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย อันเป็นมูลฐานแห่งการสัมผัส ท่านพุทธทาสเห็นว่า "อายตนะต่างๆ เท่าที่เรามีนั้น อาจสัมผัสสิ่งต่างๆ ได้ภายในขีดอันจำกัด คือเท่าที่ประสิทธิภาพของมันพึงมี"

ดังนั้นการมองด้วยสายตาที่แหลมคมจนเห็น "การเชื่อมโยงที่ซ่อนเร้น" (hidden connection) ที่ ฟริตจอฟ คาปรา เขียนไว้จึงต้องอาศัย "ตาใน" หรืออินทรีย์พิเศษ อินทรีย์ขั้นพิเศษของท่านพุทธทาส คือ ปัญญา และตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ถูกควบคุมไว้ได้ภายใต้อำนาจของปัญญาอีกชั้นหนึ่ง แต่การที่เราจะเข้าถึงปัญญาที่ลึกซึ้งเช่นนี้ได้ ก็ต้องมีการปฏิบัติสมาธิให้จิตสงบแน่วแน่เสียก่อน

ข้อที่สาม การที่จะเข้าใจและรับมือกับโลกที่กำลังอยู่ในอันตรายได้นั้น จำเป็นจะต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่มีพลวัตสูง ต้องตระหนักว่าสิ่งที่เราเห็น เราเป็นอยู่ในวันนี้ วันพรุ่งก็จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นก็ได้ ในโลกยุคดิจิทัล ปัจจุบันเราสามารถเปลี่ยนเป็นอดีตในชั่วพริบตา ดังกรณีการพลัดพรากจากกันของครอบครัว การล้มครืนลงฉับพลันของธุรกิจและชีวิตชุมชน เมื่อครั้งเกิดคลื่นสึนามิ ที่พังงาและภูเก็ต

การเรียนรู้จากโลกที่จะผุดบังเกิด (emergence) จะต้องไม่ยึดมั่นอยู่กับทฤษฎีเก่าๆ และความคิดเก่าๆ ที่เชื่อตามกันโดยไม่ได้พิสูจน์ การทดลองค้นหาความจริงที่แท้นั้นต้องออกนอกกรอบของวิถีเดิมๆ ในหนังสือ "ภูมิปัญญาการนำทางสู่เนื้อธรรมของท่านพุทธทาส" ที่เขียนโดย อำนวย ยัสโยธา ได้อุปมาวิถีการค้นหาภูมิปัญญาแห่งอิสรภาพขั้นสูงสุดของท่าน ดุจดังนกนางนวล โจนาธาน ลิฟวิงสตัน ที่กล้าแตกฝูงไปพบโลกใหม่ด้วยความกล้าหาญที่ต้องการพิสูจน์ของสมมติฐานของตน ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ ด้วยการปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อยืนยันความเป็นวิทยาศาสตร์ และว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

ผมคิดว่าท่านพุทธทาสมีจิตใจที่เปิดกว้าง เป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆ ท่านจึงสามารถใช้ภาษาและความคิดใหม่ๆ ของศาสนาอื่น นิกายอื่น มาอธิบายธรรมะให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายดังตัวอย่างที่ท่านได้เขียนคำว่า โอปนยิโก ไว้ในสมุดบันทึกวันพุธที่ 26 มีนาคม 2495 ท่านตั้งข้อสังเกตไว้ดังนี้ "คำว่า โอปนยิโก ซึ่งเป็นคุณบทบทหนึ่งของพระธรรมนั้น พวกลังกาไม่ได้แปลว่าควรน้อมเข้ามาในตน เหมือนดังที่แปลกันในเมืองไทย แต่แปลว่า is free and open to all ว่าเป็นสิ่งที่ควรคิดดูอย่างยิ่ง"

การฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถและทักษะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ดังที่สรุปมาแล้ว ทั้งสามข้อน่าจะสร้างฐานกำลังของการรับมือกับโลกที่ปั่นป่วนและซับซ้อนได้



5.พุทธทาสกับโลกที่ กำลังจะเลี้ยวกลับ

เมื่อไม่นานมานี้ มีนักเขียนหนุ่มชาวอินเดีย ชื่อ ซาอิด ฮัสซัน (Zaid Hassan) ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่ง ชื่อ "อักษรยู : ภาษาแห่งการฟื้นฟูพลัง" (The U : Language of Regeneration) เขาพูดถึงความจำเป็นที่มนุษย์ในปัจจุบัน ต้องสนใจฝึกฝนตนเองให้มีวิธีมอง "แบบใหม่" เพื่อทำให้มีสายตาที่แหลมคม (insight) "วิธีมองแบบใหม่" นี้เป็นสิ่งที่ผู้รู้หรือนักปราชญ์ในอดีตสามารถทำได้เป็นกิจวัตร ซาอิดบรรยายถึงความสำคัญในการใช้ทักษะนี้พินิจพิจารณาโลก เพราะโลกวันนี้มันเปลี่ยนแปลงพลิกผันเร็วจี๋อย่างไม่มีใครคาดเดาได้ เปรียบเสมือนว่าเรากำลังเผชิญสัตว์ร้ายที่คาดเดาอารมณ์มันไม่ถูก เมื่อเราเผชิญหน้ากับสัตว์ร้ายตัวนี้ เราก็ต้องรับมือกับมันให้ได้

อุปมาอุปไมยที่ซาอิดยกขึ้นมาใน พ.ศ.2548 นั้น ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวเอาไว้เมื่อหลายสิบปีมาแล้วว่า เราต้องระวัง "เขี้ยวของโลก" อย่าให้เขี้ยวของโลกมาขบกัดเราได้ เราต้องทำตัวเสมือนลิ้นงูที่อยู่ได้ในปากงูโดยไม่ถูกเขี้ยวงูทำร้าย

ชีวิตประจำวันของเราคนไทย ไม่ว่าจะอยู่ในกรุงเทพฯหรือหมู่บ้านไกลปืนเที่ยงล้วนมีโอกาสถูก "เขี้ยว" ของโลกขบกัดได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอันตรายฉับพลันจากธรรมชาติ จากอาชญากรรม จากโรคระบาด จากอุบัติภัย ทุพภิกขภัย และภัยจากโรคระบาด หรือโอกาสของการพลิกผันของสถานการณ์ธุรกิจและการเมืองเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในระยะสิบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการล้มระเนนระนาดของเผด็จการในประเทศต่างๆ เช่น ในอดีตประเทศที่เคยอยู่กับสหภาพโซเวียตมาก่อน

ไม่เพียงแต่การล่มสลายของระบบการเมืองผูกขาด บรรษัทใหญ่ๆ ของโลกที่นิตยสารธุรกิจเคยยกย่องว่า มีอำนาจและอิทธิพลไปทั่วโลก เช่น Enron, WorldCom หรือ Adelphia ความมั่นคงแข็งแรงทางธุรกิจล้มครืนลงชั่วข้ามคืน และผู้บริหารบรรษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ก็ถูกจับในฐานะอาชญากรทางการเงิน

ข้อมูลที่ผ่าน BBC หรือ CNN หรือผ่านอินเทอร์เน็ตก็ดี ในหน้าหนังสือพิมพ์ก็ดี ล้วนสร้างบรรยากาศของความไม่ไว้วางใจไปทั่วโลก เมื่อ 2-3 ปีก่อนสหประชาชาติได้ตำหนิ 85 บรรษัทใหญ่ที่ได้มีส่วนร่วมในการ "ปล้น" ทรัพยากรธรรมชาติในคองโก และเมื่อรายงานทางด้านเศรษฐกิจฉายข้อมูลออกมาว่า ช่องว่างระหว่างคนรวยที่มีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์กับคนจนกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ละประเทศได้ถ่างกว้างออกไปอีก แล้วยังมีข่าวที่ไมเคิล ไอส์เนอร์ (Michael Eisner) ซีอีโอแห่ง บริษัทดิสนีย์ มีรายได้ถึง 576 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 23,040 ล้านบาท) ย่อมสร้างความขุ่นเคืองให้ผู้คนทั่วไป แม้กระทั่ง อลัน กรีนสแปน (Alan Greenspan) นายใหญ่แห่งธนาคารกลางสหรัฐ ยังเอ่ยปากตำหนิบรรดาซีอีโอใหญ่ๆ ทั้งหลาย "โรคไวรัสแห่งความโลภได้ระบาดในโลกธุรกิจเสียแล้ว"

การเคลื่อนไหวประท้วงองค์กรที่โลกเห็นแก่ได้ และขาดธรรมชาติ บางทีปรากฏถี่ขึ้นในสังคมตะวันตก เช่น เมื่อ 10 ปีก่อน กลุ่มกรีนพีซได้นำประชาชนในยุโรปตะวันตกประท้วงกรณี Brent Spar ทำให้บริษัทเชลล์ ต้องประสบความเสียหายทางธุรกิจน้ำมัน ต่อมากลุ่ม Free Burma Coalition ก็บีบบริษัทใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ต้องถอยออกจากพม่า และเครือข่าย Rain Forest Action Network รณรงค์คัดค้านบริษัทค้าไม้ Home Depot จนทำให้ต้องปรับนโยบายใหม่

การประท้วงของกลุ่มพลเมืองที่รักความเป็นธรรมและต้องการสันติภาพต่อธุรกิจ ที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคมมีถี่ขึ้นเรื่อยๆ โดยพุ่งเป้าเข้าสู่ความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ขององค์กร เมื่อปี 2546 และ 2547 ได้มีการประชุมเครือข่ายรากหญ้าที่นิวยอร์ก เรื่อง Brand Bashing Culture Jamming และ Subvertising การบ่อนเซาะภาพลักษณ์ของธุรกิจ ไม่อาจประมาทคนรากหญ้าได้เลย

ถึงแม้กลุ่มคนที่เอาการเอางานจะมีไม่มาก แต่พลังของพวกเขาอยู่ที่ระบบ IT ดังเช่น walmartwatch.com, chasebanksucks หรือ McSpotlight เมื่อเรื่องราวได้ถกกันมากใน "ห้องสนทนา" เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ การกระจายข่าวของผู้บริโภค สู่พนักงานบริษัท ไปยังนักข่าวแล้วกระจายออกสื่อสารมวลชน มันก็กลายเป็นแรงกดดันมหาศาลไปทั้งโลก กลุ่มนักกิจกรรมพูดว่า "ธุรกิจมีชีวิตและตายด้วยภาพลักษณ์" จึงไม่น่าแปลกใจอันใดที่ชนชั้นนำทั้งหลายเมื่อพบกันใน World Economic Forum ที่ Davos เมื่อปี 2003 จึงตั้งหัวข้อสนทนาว่า "การฟื้นฟูความเชื่อมั่น" (rebuilding trust)

ถ้ากวาดสายตาให้กว้างออกไปทั้งโลก จะพบว่าการฟื้นฟูความเชื่อมั่น มันไม่ได้จำกัดตัวอยู่ในภาคธุรกิจเท่านั้น ภาคการเมืองก็มีปัญหาหนักหน่วงไม่แพ้กัน งานวิจัยของโรเบิร์ต พุตนัม (Robert Putnum) ที่ได้ตีพิมพ์เมื่อปี 2539 พบว่าประชาชนในประเทศประชาธิปไตยมีความไว้วางใจพรรคการเมืองและนักการเมือง ของตน น้อยกว่าเมื่อ 30 ปีที่แล้วมาก นักหนังสือพิมพ์ชาวอิตาเลียนชื่อ อันโตนิโอ โปลิโต (Antonio Polito) ได้เกริ่นนำในหนังสือ "การสนทนาว่าด้วยวิกฤตประชาธิปไตย" ปี 2546 ว่า "หลังจากที่ได้ผ่านการทดสอบมาร่วมสองร้อยปี ระบอบประชาธิปไตยกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างหนักหน่วง จึงไม่รู้ว่าทางออกจะเป็นอย่างไร"

การหาทางออกที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีการ "ย้ายกระบวนทัศน์ใหม่" (paradigm shift) ทั้งในระดับปัจเจกและระดับองค์กรหรือสถาบัน (institution) ความสนใจเรื่องการพัฒนาองค์กรและสถาบันที่ไม่ได้เป็นเครื่องจักร แต่เป็นเรื่องของความลึกซึ้ง ด้านความหมายแห่งชีวิตและคุณค่าแห่งความ เป็นมนุษย์ได้เริ่มก่อร่างสร้างตัวอย่างเป็นกิจจะ ลักษณะ เมื่อ ชาร์ลี คีเฟอร์ (Charly Kiefer) และ ปีเตอร์ เซงเก้ ได้เขียนบทความที่กลั่นออกมาจากงานเป็นที่ปรึกษา และจัดสัมมนาปฏิบัติการ ตอนปลายทศวรรษที่ 70 ว่าด้วย "องค์กรเมทาโนอิก" (metanoic organization) คำว่า เมทาโนอิก เป็นภาษากรีก แปลว่า "การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของจิต" (fundamental shift of mind) ซึ่งต่อมาชาวคริสเตียนยุคต้น ได้ให้การอรรถาธิบายใหม่จากมุมของตนว่า เป็นการ "ตื่นแห่งศรัทธา" ซึ่งเห็นความสำคัญของวิสัยทัศน์และการมีคุณค่าแห่งชีวิต องค์กร "เมทาโนอิก" จึงไม่เพียงดำรงอยู่เพื่อทำเป้าหมายขององค์กรให้เป็นจริงเท่านั้น ทว่าต้องรับใช้สังคมด้วย



เมื่อปีเตอร์ เซงเก้ ได้อาศัยข้อมูลและผลวิจัยจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ได้ทำมากว่าสิบปี แล้วลงมือเขียนหนังสือ The Fifth Discipline (วิชาที่ห้า) เขาพบว่าคำว่า discipline ซึ่งแปลว่าวิชาหรือวินัยนั้น มีนัยซ่อนอยู่ การที่เราจะเชี่ยวชาญวิชาใดวิชาหนึ่งนั้นจำเป็นต้องมีวินัยในการเรียนรู้และ วินัยในการปฏิบัติ ดังชื่อในการสอนในวิชาศิลปะ หรือในศาสนา ที่มนุษย์จะบรรลุเป้าหมายที่ปรารถนาได้ ต้องมีวินัย ต้องฝึกฝนตนเองอย่างเข้มงวด

สิ่งที่ปีเตอร์ เซงเก้ ค้นพบจากงานฝึกอบรมและสัมมนาก็คือ การสร้างองค์กรเรียนรู้ (learning organization) หรือประชาคมแห่งการปฏิบัติ (communities of practice) นั้น ล้วนเกี่ยวพันกับเรื่องการเจริญสติและมีสมาธิ ยกตัวอย่างเช่น การทำ "ภาวนาสนทนา" (dialogue) ในกลุ่มจะต้องมีความเงียบเพื่อครุ่นคิดลึกๆ สำรวจความรู้สึกนึกคิดของตนเอง การฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการนิ่งอยู่ในความเงียบ และสงบจิตสงบใจ ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญของการบริหารจัดการสมัยใหม่ในโลกที่มีพลวัต ซับซ้อน


Peter Senge, ‘The Fifth Discipline Fieldbook’


ในขณะที่การบริหารจัดการเริ่มมีการย้ายกระบวนทัศน์ ก็มีปรากฏการณ์คู่ขนานที่น่าสนใจเกิดขึ้น คือนับแต่ทศวรรษที่ 90 เป็นต้นมา นั่นคือ การสร้างความรู้และปฏิบัติการเรียนรู้ภาคการบริหารจัดการ ได้นำความรู้ของวิทยาศาสตร์ใหม่ (new science) เช่น ทฤษฎีไร้ระเบียบ ทฤษฎีซับซ้อน (complexity theory) มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรที่ให้ความสำคัญ ของพลังจิตวิญญาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ในห้วงเวลาเดียวกันก็ได้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนมุมมอง และค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ใหม่ กับพุทธศาสนาถี่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราสามารถหาอ่านได้จากหนังสือหลายเล่ม เช่น The Lotus and Quantum, Buddhism and Breaking New Ground และ The Psychology of Awakening : Buddhism, Science and Our Day to Day Lives เป็นต้น

ในการสนทนาระหว่างภูมิปัญญาลึกล้ำของตะวันออกกับวิทยาศาสตร์ใหม่นั้น ทางฝ่ายพุทธศาสนามีท่านดาไลลามะเป็นผู้นำ และบางครั้งก็มีตัวแทนของไทยเข้าร่วมแลกเปลี่ยนด้วย

ตัวท่านพุทธทาสเองได้ศึกษาวิทยาศาสตร์ใหม่มาด้วยตนเองและสามารถนำไปใช้ในการ อธิบายเรื่องอิทัปปจยตามาแล้ว เมื่อท่านได้พูดถึง "ทฤษฎีของสี" ระหว่างปาฐกถาพิเศษเรื่อง "วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม" ณ พุทธสมาคม เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2483

การเชื่อมเข้าหากันของปราชญ์และมี "สนาม" อันเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดการสอดบรรสานของภูมิปัญญาตะวันออก และภูมิปัญญาตะวันตกในปัจจุบัน และการวิวัฒนา การต่อไปข้างหน้าสะท้อนการมองการณ์ไกลของท่านพุทธทาสได้ดี



6.Happiness is back

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2548 หนังสือพิมพ์รายวัน "ทาเกสสปีเกิล" ในกรุงเบอร์ลิน ได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์จิตแพทย์คนหนึ่งแห่งโรงพยาบาล "ชาร์ริแทร์" เธอพูดว่า ขณะนี้จำนวนผู้ป่วยจากความเครียดในประเทศเยอรมนีมีจำนวนเพิ่มสูงมากในระยะ 5 ปีหลัง ชาวเยอรมันจำนวนค่อนข้างมากมีความวิตกกังวลต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างคาดไม่ ถึงสูงขึ้น คำว่า angst อันเป็นภาษาเยอรมันซึ่งแปลว่า "ความกลัว" ปรากฏมากขึ้นในสื่อมวลชนเยอรมัน และที่น่าสนใจก็คือในนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษก็รับคำว่า angst ไปใช้มากขึ้น เพราะมันสะท้อนความกลัวที่ลึกไปกว่าคำว่า fear ในภาษาอังกฤษ

ถ้าเรากวาดสายตาไปรอบโลกจะพบว่าความกลัว (angst) ต่ออนาคตที่คาดเดาไม่ได้นั้น ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นในประเทศเยอรมนีเท่านั้น ประเทศอื่นๆ อีกมากน่าจะมีผู้คนที่หวาดหวั่นต่ออนาคตที่ยังมาไม่ถึง

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ทั้งๆ ที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก้าวไปไกลมากจนถึงสามารถชะลอความตายของมนุษย์ ได้ อายุโดยเฉลี่ยก็สูงขึ้น ความสมบูรณ์พูนสุขทางวัตถุก็มีจนล้นเหลือ แต่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะประเทศที่ก้าวหน้าในตะวันตกและญี่ปุ่นยังคงไม่ได้มี ความสุขกว่า 50 ปีก่อน หรือกล่าวให้ชัดลงไปความสุขกลับน้อยลงกว่าอดีต

มันเป็นโลกปริทรรศน์โดยแท้

จากความกลัวและความทุกข์ที่สังคมต่างๆ เผชิญในวันนี้ ทำให้นักคิด นักวิชาการ และประชาชน จำนวนหนึ่งเริ่มตั้งคำถามต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นตัวเลขของความ เจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ แต่ไม่ได้คำนึงถึงเงื่อนไขด้านอื่นๆ ของสังคมว่าเป็นเป้าหมายที่ยังคงต้องเดินไปหามันหรือไม่


ริชาร์ด เลยาร์ด (Richard Layard) ได้เขียนหนังสือ เล่มหนึ่งชื่อ "Happiness is back" พูดถึงความ จำเป็นที่รัฐจะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายสาธารณะเสียใหม่ และปัจเจกชนเองก็ต้องปรับทัศนคติหรือปรัชญาชีวิตเสียใหม่ด้วย โดยเอา "ความสุข" เป็นเป้าหมายแทนความร่ำรวยทางวัตถุฝ่ายเดียว

เรื่องที่ริชาร์ด เลยาร์ด นำเสนอนั้นเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเคลื่อนไหวของกระบวนการกระบวนทัศน์ใหม่ ถ้าบทความนี้ถูกเสนอเมื่อ 20 ปีก่อน ความคิดเช่นนี้อาจจะถูกโจมตีว่าเพ้อฝัน เพราะการวัดความสุขที่เกิดขึ้นในสมองมนุษย์ เป็นเรื่องที่วัดได้ยาก ทำให้ขาดน้ำหนักในการผลักดัน แต่วันนี้ "วิทยาศาสตร์ใหม่" โดยเฉพาะ neuroscience สามารถวัดความสุขได้จริง จึงน่าจะทำให้การผลักดันนโยบายสาธารณะมีพลังมากขึ้น ในสังคมไทยเองสำนักงานปฏิรูปสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ก็กำลังเคลื่อนไหวนโยบาย "อยู่เย็นเป็นสุข" ว่าเป็นเป้าหมายที่เราควรเพิ่มเข้าไป

อย่างไรก็ตาม การเอาชนะกลุ่มเศรษฐกิจกระแสหลักให้ได้มันยังเป็นหนทางที่ยาวไกลอยู่ ซึ่งควรศึกษาบทเรียน ของกระบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่ามีความคดเคี้ยวของการเดิน ทางอย่างไร


ดูจากจุดเริ่มต้นของความคิดซึ่งส่องประกายจากหนังสือ The Silent Spring (ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบงัน) ของ ราเชล คาร์สัน (Rachel Carson) ซึ่งออกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2505 ทำให้สังคมตะวันตกต้องตะลึงงันกับ "ความจริงใหม่" ที่ถูกมองข้าม และเริ่มก่อตัวเคลื่อนไหว น้ำหนักของกระบวนการเริ่มมีมากขึ้น เดนนิส มีดอฟ (Dennis Meadows) ได้เขียนหนังสือชื่อ "การเติบโตที่จำกัด" (limits to growth) ในปี 2515 ความคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนก็ได้มีการค้นคว้าทดลองทำอย่างจริงจัง จนหลายประเทศแถบสแกนดิเนเวียได้รับความสำเร็จค่อนข้างสูง และก็มีพรรคการเมืองที่ให้ความสำคัญ ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมดังที่เรียกกันว่า พรรคกรีน เกิดขึ้นในหลายประเทศ



อย่างไรก็ตามมองภาพรวมทั้งโลกการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมยังไม่สามารถยับยั้งทิศทางการทำลายโลก จากนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นความรวยและความโลภเป็นสรณะ แม้กระทั่งพรรคกรีนแห่งเยอรมนี ซึ่งมีทีท่าว่า จะเป็นพลังแห่งกระบวนทัศน์ใหม่ก็ขาดพลังทางสังคม และพลังทางการเมืองอย่างน่าใจหาย วิกฤตโลกมันโบยแส้ใส่เราทุกวันจากรายงานดินฟ้าอากาศที่วิปริตทำให้ผู้คนล้ม ตายลงครั้งละมากๆ จากภัยธรรมชาติ และยังไม่นับหายนะลูกใหม่ที่จ่อคอหอยมนุษยชาติอยู่คือ โรคระบาดไข้หวัดนกที่อาจกลายพันธุ์เข้าไป สู่ผู้คน แล้วกลายเป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ในยุคโลกาภิวัตน์ที่อาจจะมีผู้ตายนับล้านคน

มนุษย์จะต้องหันทิศทางการพัฒนาจากการสร้างงาน สร้างเศรษฐกิจของการผลิตเชิงปริมาณ มาสู่การผลิตเชิงคุณภาพด้วย ใช้หลักคิดเดียวกับเรขาคณิตเศษส่วน (fractal geometry) ที่มีอยู่ในทฤษฎีไร้ระเบียบสร้างเป็นโมเดลของการผลิตซ้ำในทางลึก ที่ละเอียดอ่อน แทนที่จะขยายออกในทางปริมาณ แต่กลับให้งานเกิดขึ้นจากการให้เวลานั่งผลิตงานแต่ละชิ้นให้ประณีต ให้มีคุณภาพ ทำให้ได้คุณค่าทางจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคด้วย เรขา คณิตเศษส่วนน่าจะเป็นโมเดลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ในยุคที่ทรัพยากรต่างๆ เริ่มจำกัดขณะที่ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ในจีนและอินเดียกำลังเติบโตอย่างรวด เร็ว เพราะโดยหลักคิดแบบเรขาคณิตเศษส่วนเรื่องการขยายตัวของ self similarity มันสามารถขยายซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างไม่มีวันสิ้นสุด


ลีโอ เนฟิโอดอฟ (Leo Nefiodow)

การเคลื่อนไหวสังคมไปสู่การพัฒนาทิศทางใหม่ที่เชื่อมวัตถุกับจิตใจเข้าเป็น หนึ่งเดียวกัน แม้จะมิใช่กระแสหลักแต่เมื่อศึกษางานเขียนชิ้นสำคัญๆ ในการทำนายอนาคตโลกก็พอมองเห็นแสงสว่างรำไรที่ปลายอุโมงค์ จากหนังสือ "คลื่นคอนดราเทียฟลูกที่ 6" ที่เขียนโดย ลีโอ เนฟิโอดอฟ (Leo Nefiodow) ซึ่งนำความรู้นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อ คอนดราเทียฟ (Kondratieff) ซึ่งวิเคราะห์คลื่นความยาวทางเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีอายุคลื่นแต่ละคลื่น ประมาณ 50 ปี ซึ่งมีช่วงคลื่นเศรษฐกิจขาขึ้นจนถึงขาลงว่ามาจากผลนวัตกรรมทางเทคโนโลยี คอนดราเทียฟวิเคราะห์ลูกแรกที่สำคัญเมื่อปี ค.ศ.1800 ว่าเกิดจากนวัตกรรมเครื่องจักรไอน้ำมาใช้ในการผลิตอุตสาหกรรมผ้าฝ้าย เนฟิโอดอฟนำความรู้นี้มาพัฒนาต่อเมื่อ 20 ปีก่อน เขาบอกว่าขณะนี้สังคมตะวันตกซึ่งเป็นหัวจักรเศรษฐกิจโลกนั้นกำลังอยู่ในช่วง คลื่นยาวคอนดราเทียฟลูกที่ 5 ซึ่งตัวเทคโนโลยีสำคัญคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ และผลิตผลสำคัญคือความรู้จะเป็นตัวขับเคลื่อนการจ้างงาน และสร้างรายได้ให้แก่สังคม เนฟิโอ ดอฟคาดคะเนว่าอีก 10 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีสำคัญในการสร้างความสามารถทางการผลิตของสังคม จะย้ายไปอยู่ที่จิตวิทยาสังคมอันเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ใช่วัตถุ และสุขภาวะจะเป็น "ผลิตภัณฑ์" ที่มนุษย์ปรารถนา (ภาษาเยอรมัน Psychosozial, Gesundheit )

เนฟิโอดอฟเชื่อว่าความสามารถของสังคมที่ดีจะเกี่ยวข้องกับสภาพความคิด และจิตใจของคนในสังคมที่สามารถร่วมกันคิดและร่วมกันทำ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดอย่างลุ่มลึก มีญาณทัสนะ และมีปัญญาจะเอาชนะความซับซ้อนและความผันผวนที่ถาโถมเข้ามาได้

เนฟิโอดอฟให้ความสำคัญต่อภูมิปัญญาตะวันออกที่มีปรัชญาพื้นฐานของการมองโลก แบบองค์รวม และเสนอว่าตะวันตกจะต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์เสียใหม่ และต้องสนใจ ศึกษาพัฒนาความลึกซึ้งทางจิตวิญญาณ (spiritual) อย่างจริงจังและเป็นวิทยาศาสตร์



สืบทอดปณิธานท่านพุทธ ทาส (จบ)

เมื่อเราได้เดินทางสืบค้นภูมิปัญญาของท่านพุทธทาสมาจนถึงบทนี้ เราจะพบว่าท่านพุทธทาสมี "อินทรีย์พิเศษ" ที่ทำให้ท่านมองได้อย่างแหลมคมและลึกซึ้งกว่าคนธรรมดาหลายสิบปี เนื่องจากท่านเดินบนเส้นทาง "พุทธมรรควิถี" อย่างแท้จริง ทำให้ท่านไม่จำเป็นจะต้องยึดมั่นถือมั่นดังที่ท่านได้บรรยายในหัวข้อ "หลุดพ้นเสียจากความหลุดพ้น" เมื่อท่านไม่ยึดติดกับเปลือกท่านจึงพลิกแพลงและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในการที่จะสื่อสารให้คนธรรมดาสามารถก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ตื่น ผู้รู้ และผู้เบิกบานได้

ท่านจึงสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาตร์ นำเรื่องจิตวิเคราะห์ของซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) หรืออัลเฟรด อาดเลอร์ (Alfred Adler) มา ทดลองใช้ในการสอนธรรมะได้ ท่านพุทธทาสยังคงให้ความสนใจเรื่องศิลปะและใช้งานศิลป์เป็นเครื่องมือในการ แสดงธรรม ดังตัวอย่างที่ท่านได้บรรยายในหัวข้อ "ศิลปะสำหรับการมีชีวิตอยู่ในโลก" และได้สร้างโรงมหรสพทางวิญญาณขึ้นดังข้อความบางตอนที่ท่านได้เขียนจดหมายถึง สหายธรรมทาน

"...อนึ่ง ขอวิงวอนผู้สนใจในการประกาศธรรมจงได้ร่วมมือกันสร้าง "โรงหนัง" แบบนี้ในลักษณะ ที่เหมาะแก่ท้องถิ่นของตัวกันขึ้นให้ทั่วหัวระแหงด้วยเถิด จะเป็น moral rearmament ทางศีลธรรมที่มีลักษณะเป็น dynamic อันมองไม่เห็นตัวอย่างรุนแรงในบรรยายกาศทั่วไป เพื่อประโยชน์แก่สันติภาพอันถาวรของมนุษย์เรา..."

ท่านพุทธทาสท่านก้าวเร็วล้ำหน้าคนทั่วไปมากจนสิ่งที่ท่านพร่ำเตือนไว้เมื่อ กว่า 50 ปีก่อนจึงยังไม่เข้าสู่หัวใจคนไทย เพราะคนทั่วไปยังไม่ประสบกับอันตรายอย่างชัดเจน แต่วันนี้สถานการณ์ของความเร้าร้อนรุนแรง (turmoil) มันอยู่รอบตัวเราทุกๆ วัน ตั้งแต่ความรุนแรงของวัยรุ่นในรูปแบบต่างๆ ความเสื่อมทางศีลธรรมของผู้นำทุกระดับและทุกวงการ จนถึงภัยพิบัติจากธรรมชาติ และการฆ่าฟันรายวันในทุกภาคโดยเฉพาะชายแดนภาคใต้ ไฟกำลังไหม้ห้องเก็บของของบ้านเราแล้ว ถ้าเราไม่ช่วยกันดับไฟนี้เราจะไม่มี "บ้าน" ให้อยู่กันอย่างอบอุ่นเป็นสุขอีกต่อไป

แต่เราจะมองแต่บ้านเราหลังเดียวไม่ได้แล้ว เพราะบ้านของเรานั้นอยู่ใน "หมู่บ้านโลก" ซึ่งมีอีกหลายหลัง ไฟกำลังลุกไหม้อยู่เราคงไม่เพียงแต่ต้องดับไฟของบ้านเราเท่านั้น เราต้องช่วยดับไฟของบ้านเพื่อนด้วย เพราะนอกจากช่วยเขาให้พ้นทุกข์แล้ว มันยังช่วยให้เราอยู่เย็นเป็นสุขด้วย

วันนี้คนไทยพุทธมีพันธกิจที่ต้องปฏิบัติเพื่อถวายเป็นการบูชาท่านพุทธทาส ด้วยการสืบทอดปณิธานของท่านที่เพียรพยายามทำให้เป็นจริง

ปณิธาน 3 ประการของท่านพุทธทาส

1.การเข้าถึงหัวใจของศาสนาตน เพราะทุกศาสนามุ่งให้คนเป็นคนดีอย่างแท้จริง

2.ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างศาสนา ซึ่งเป็นการลดความขัดแย้งต่างๆ ที่ติดตามมาทั้งในสังคมและในโลก

3.ทำให้หลุดออกจากวัตถุนิยมสุดโต่งมาสู่ความสมดุลของวัตถุนิยมและจิตนิยม อย่าให้วัตถุมาอยู่เหนือจิตใจ เพราะความสุขที่แท้จริงอยู่เหนือวัตถุ

นับแต่วันนี้เราต้องช่วยกันทำให้จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสังคมไทยได้ ไหม ?

ถ้า "ผีเสื้อ" ตัวกระจ้อยร่อยอย่างพวกเรามาช่วยกันกระพือปีกแรงๆ พายุใหญ่แห่งการอภิวัฒน์น่าจะเกิดขึ้นได้แม้เวลาที่เกิดขึ้นจริงจะทอดยาวออก ไปบ้าง

-----------
บทความที่เกี่ยวข้อง :
--พุทธทาส กับทฤษฎีไร้ระเบียบ
--ทฤษฎีไร้ระเบียบ กับซุนหวู่
--พุทธทาสภิกขุ "ธรรมะจงกลับมา"

**********
โดย ประชาชาติธุรกิจ

ประวัติผู้เขียน
ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ เป็นชาวนครศรีธรรมราช มาอยู่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เด็ก เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนมัธยมสาธิตประสานมิตร แล้วไปจบการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ไปเรียนต่อที่เยอรมัน เจ้าตัวอยากเรียนปรัชญาและการเมืองแต่พอแม่คัดค้าน “กลัวจะไส้แห้ง” เลยเรียนวิชาบริหารธุรกิจ ขณะที่ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ชีวิตได้มาถึงจุด “ทางแพร่ง” ที่สำคัญ
จากการได้อ่านหนังสือ สิทธารถะ ของ แฮร์มัน เฮสเส และได้สนทนากับท่านอาจารย์ ปรีดี พนมยงค์ จึงตัดสินใจเลือกเส้นทางชีวิตที่คิดว่าให้ “ความหมาย” ในการดำรงอยู่ ทิ้งการศึกษาในมหาวิทยาลัย มาเป็นนายกสมาคมนักเรียนไทยในสหพันธรัฐเยอรมันปี 2516 ทำให้สามารถจัดงานทางด้านวิชาการและการเมืองมากขึ้น พร้อมกับทำงานเป็นครูสอนภาษาไทยและวิชาการเมืองกับการพัฒนาให้แก่พัฒนากรชาว เยอรมันที่จะทำงานในประเทศไทย
ปลายปี 2517 กลับมาเมืองไทยทำงานอยู่ในหนังการเมืองสัปดาห์ ทำงานในขบวนการกรรมกรอยู่หลายปี
ปัจจุบันทำงานอาสาสมัครให้แก่สถาบันพัฒนาเพื่อชีวิต เป็นผู้อำนวยการ Bangkok Forum เป็นวิทยากรให้แก่สหภาพแรงงาน เกษตรกร นักศึกษาและประชาชนทั่วไป และเป็นล่ามภาษาเยอรมัน
11 ปี ที่ใช้ชีวิตอยู่ในเยอรมัน เป็นห้วงยุคทองของขบวนการนักศึกษา “1968” ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากถึงโคนทางวัฒนธรรมสังคมและการเมือง ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ความที่เป็น “พลังทวนกระแส” จึงติดตัวมาจนถึงทุกวันนี้.
(ที่มา : แนะนำผู้เขียน จากหนังสือ “ทฤษฎีไร้ระเบียบ กับทางแพร่งของสังคมสยาม” ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2, สิงหาคม 2538)
ผลงานหนังสือ
--ทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory) กับทางแพร่งของสังคมสยาม
--มองอนาคตการเมืองไทยกับทิศทางประชาธิปไตยโลก
: บทวิเคราะห์ว่าด้วยประชาสังคมกับการเมืองภาคประชาชน ผ่านวิธีคิดเชิงกระบวนระบบ (System Thinking)
--การประชุมอย่างสร้างสรรค์ : ศิลปะแห่งการสร้างพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลง
ฯลฯ
สถานที่ติดต่อ
สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม (Civicnet Institute)
693 ถ.บำรุงเมือง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ 10100 / โทรศัพท์ (02) 624-7814-5 / โทรสาร (02) 621-7816
E-Mail : chaiwatthirapantu@hotmail.com / WebSite : www.thaicivicnet.com

เส้นทางสู่ดวงดาว จากสามก๊ก

บทความนี้กล่าวถึงการเข้าสู่ตำแหน่งเพื่อความยิ่งใหญ่ของมืออาชีพระดับพระกาฬในสามกีก ซึ่งเปรียบได้กับการต่อสู้ทางการเมืองภายในองค์กรต่างๆในปัจจุบันก็ย่อมได้ จึงขอใช้แนวทางนี้ในการวิจารณ์ตัวละครทั้ง 10 ดังกล่าวตามสมมุติฐานข้างต้น

1. โจรโพกผ้าเหลือง (ลิขิตสวรรค์กำหนดไว้) กลุ่มโจรผู้จุดชนวนสงครามอันยาวนานนี้ อ้างอิงประกาศิตสวรรค์ ทำให้ประชาชนเข้าร่วมขบวนการเป็นจำนวนมาก การใช้จิตวิทยาขั้นสูง เช่น สิ่งเหนือธรรมชาติ เช่นนี้ เป็นวิธีการที่ใช้ได้ดีในยุคสมัยนั้น และเมื่อผ่านเวลาอันยาวนาน สิ่งสมมุติเหล่านั้น ก็กลับกลายเป็นตำนานที่ยากจะพิสูจน์ได้จริงแล้ว

หมายเหตุ จงโฮย แม่ทัพวุยก๊ก อ้างว่า ขงเบ้งมาเข้าฝันให้ละเว้นชีวิตราษฎรเมืองเสฉวน เมื่อยึดเมืองได้ นั่นก็เป็นสิ่งที่ยากพิสูจน์ แต่ก็ทำให้ชาวเมืองเสฉวนถอดใจยอมแพ้ได้ง่ายๆอย่างแน่นอน

2. ตั๋งโต๊ะ (ปฏิวัติยึดอำนาจ) การเข้าสู่อำนาจที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพที่สุด ย่อมเป็นการใช้กำลังเข้ายึดครอง ตั๋งโต๊ะฉวยโอกาสที่เมืองหลวงวุ่นวายไร้ผู้นำ จู่โจมเข้าราชสำนัก ปรับเปลี่ยนฮ่องเต้ที่ง่ายแก่การควบคุมเข้าแทน จึงเป็นใหญ่ในแผ่นดินได้ในทันที แต่การกระทำเช่นนี้ หักหาญและโจ่งแจ้งเกินไป ทำให้เกิดกระแสต่อต้านอย่างมากมาย อันนำไปสู่ความตายของเขาในที่สุด

3. อ้วนเสี้ยว (กำลังเข้มแข็ง ชื่อเสียงยาวนาน) จากศึกสิบเจ้าเมือง จะเห็นได้ว่าทัพอ้วนเสี้ยวแข็งแกร่งที่สุด (นับรวมทัพอ้วนสุดด้วย) และตัวเขาเองก็อยู่ในตระกูลขุนนาง สืบทอดมาหลายชั่วคน จึงได้เป็นผู้นำในหมู่เจ้าเมืองทั้งหลายโดยชอบธรรม เสียดายที่การกระทำของเขาเอง ไม่อาจยึดกุมจิตใจของเจ้าเมืองทั้งหลายได้ และทำให้การศึกไม่เกิดผลตามที่หวัง

4. โจโฉ (อิงอำนาจรัฐ) โจโฉช่วงชิงจังหวะที่เมืองหลวงเกิดสูญญากาศทางการเมืองเพราะการตายของตั๋ง โต๊ะ บุกเข้าเมือง ปราบสมุนทรราชย์ ค้ำจุนเหี้ยนเต้ จึงเกิดความชอบธรรมในการปกครอง และชูธงกองทัพแห่งราชวงศ์ฮั่นปราบขบถแข็งข้อ โดยเริ่มจากก๊กเล็กก๊กน้อยไปเรื่อย แล้วค่อยขยายผลไปสู่ศึกใหญ่ เช่น ศึกกัวต๋อ ศึกเซ็กเพ็ก ในที่สุด แม้ว่าจะแพ้บ้างชนะบ้าง แต่ด้วยความที่เป็นผู้ค้ำจุนบัลลังค์กษัตริย์ จึงคงอยู่ในตำแหน่งได้อย่างยาวนาน

5. ซุนเซ็ก (ยอมถอยเพื่อรุก) ซุนเซ็กยอมเสียสละดวงตราจักรพรรดิ์ให้อ้วนสุด เพื่อแลกกับกองกำลังจำนวนหนึ่ง และเขาก็เริ่มบุกลงใต้ สร้างเสริมขุมกำลังให้แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ นับเป็นการถอยจากจุดยุทธศาสตร์ที่วุ่นวาย ไปสู่จุดตั้งมั่นที่มั่นคงยิ่งกว่า ทำให้เขาสร้างตนขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว แต่การที่เขามาด่วนตายไปเสียก่อน ทำให้พลาดโอกาสในการรุกคืบหน้าไปอย่างน่าเสียดาย

6. เล่าปี่ (ใช้ภาพลักษณ์และสายสัมพันธ์) เล่าปี่เริ่มต้นด้วยการอ้างตนเป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น สาบานเป็นพี่น้องกับสองยอดฝีมือ จนมีโอกาสเข้าเฝ้า และได้รับการแต่งตั้งเป็น "พระเจ้าอา" ไปได้ เล่าปี่มักวางตนเป็นฝ่ายธัมมะ ยึดหลักการความถูกต้องอยู่เสมอ ทำให้หลายครั้งที่เล่าปี่ต้องไปอาศัยพึ่งพิงเส้นสายต่างๆบังเกิดผลดีต่อตัว เขาเอง เช่น เล่าเปียว ลิโป้ โจโฉ อ้วนเสี้ยว ซุนกวน เป็นต้น และในที่สุด เล่าเจี้ยงแห่งเสฉวน ก็หลงตามกระแส ยินยอมชักศึกเข้าบ้านตัวเองโดยแท้

7. ซุนกวน (เล่นบทที่ชำนาญ) ซุนกวนเข้าสู่อำนาจด้วยเชื้อสาย แต่รักษาอำนาจได้ดียิ่งนัก ทั้งนี้ เพราะเขาเล่นบทที่เขาชำนาญกว่าใคร ความที่เขาเป็นนักบริหาร จึงสร้างรูปแบบการทำงานแบบหนู่คณะ เพื่อให้คนที่เหมาะสมไปทำงานตามที่ตนถนัด เช่น จิวยี่ โลซก ดูแลการทหาร และ เตียวเจียว จูกัดกิ๋น ดูแลงานบุ๋น เป็นต้น นอกจากนี้ เขายังดำเนินนโยบายตั้งรับ ไม่บุกขยายผลอย่างพร่ำเพรื่อ จึงทำให้ก๊กนี้อยู่รอดได้ยาวนาน

8. ขงเบ้ง (ยืมร่างสร้างชีวิตใหม่) จากชาวนาแห่งโงลังกั๋ง กลับกลายมาเป็น รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของแคว้นหนึ่ง ย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก หากมิได้การเกื้อหนุนจากคนรอบข้าง ขงเบ้งอาศัยเล่าปี่ในการไต่เต้าตามเส้นทางของเขาจนมาในจุดที่มั่นคงได้แล้ว ส่วนการจะเข้าแทนที่เล่าเสี้ยนนั้น ไม่ใช่เรื่องยากเย็นแต่อย่างใด เพียงแต่รอจังหวะและโอกาสอันสมควรเท่านั้นเอง เช่น การยึดครองฮันต๋งและริดรอนอำนาจจากอุยเอี๋ยน (เจ้าฮันต๋ง - พี่เมียของเล่าปี่) การลดทอนความฮึกเหิมของจูล่งและลิเงียม (คนเก่าแก่ของเล่าปี่) เป็นต้น หากเขาไม่ด่วนตายไปเสียก่อน เขาคงไม่ปล่อยเล่าเสี้ยนผู้โง่งมครองราชย์ได้นานนัก

9. สุมาอี้ (แทรกซึมแล้วยึดครอง) ไต่เต้าจากขุนนางชั้นผู้น้อย สุมาอี้เดินบนเส้นทางคล้ายคลึงกับขงเบ้ง เขาทำให้เจ้านายไว้ใจและวางใจในตนเอง จนเหลือเพียงแต่การช่วงชิงอำนาจจากพวกแซ่โจให้สำเร็จเท่านั้น และแล้ว พรรคพวกของเขาจึงเริ่มผงาดเหนือราชวงศ์วุยเป็นเวลายาวนาน ประชาชนก็เริ่มจะคุ้นเคยกับการบริหารบ้านเมืองของพวกเขา จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานซึ่งรวบรวมแผ่นดินได้เป็นหนึ่งเดียว ก็ด้วยวิธีการแทรกซึมก่อนเช่นกัน ราชวงศืจิ้นจึงได้บังเกิดขึ้น ด้วยนโยบายอันลึกซึ้งและวิสัยทัศน์อันยาวไกลของสุมาอี้นั่นเอง

10. เกียงอุย (ยุยงให้ล้มตาย) เกียงอุยใช้โอกาสอันน้อยนิด ทุ่มทุนสุดตัวเพื่อให้จงโฮย เตงงายและสุมาเจียวต่อสู้กันให้บอบช้ำที่สุด โดยอาศัยทัพของจงโฮยเป็นใบเบิกทาง เพื่อให้ตนเองมีโอกาสพลิกฟื้นสถานการณ์ได้บ้าง เสียดายที่สุมาเจียววางแผนลึกซึ้งกว่า ทำให้แผนการณ์ของเขาล้มเหลวไปแค่ครึ่งค่อนทางเท่านั้นเอง


*bloggang.com


บทความที่เกี่ยวข้อง:

จุดอ่อนและความผิดพลาดของขงเบ้ง จากสามก๊ก


ศาลเจ้าจูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ที่มณฑลเสฉวน
จูกัดเหลียง (อังกฤษ: Zhuge Liang; จีนตัวเต็ม: 諸葛亮; จีนตัวย่อ: 诸葛亮; พินอิน: Zhūge Liàng) หรือ ขงเบ้ง
ที่มาภาพ: th.wikipedia.org
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความผิดพลาดของขงเบ้ง

ก๊กของเล่าปี่ ซึ่งมีขงเบ้งเป็นกุนซือ เปรียบเสมือนบริษัทใหม่ที่มาแรง พัฒนาจากบริษัทเล็กๆเป็นขุมกำลังอันกว้างใหญ่ แต่แล้ว เหตุไรการขยายตัวของอาณาจักรนี้จึงชะลอตัว และอ่อนแอไปในที่สุด ทั้งๆที่มีขุนพลขุนนางที่มีความสามารถปรากฏมากมายกว่าดินแดนอื่นๆ หรือเป็นเพราะว่าขงเบ้ง ท่านกุนซือใหญ่ ดำเนินการผิดพลาดในเรื่อง:

1. การกระจายงาน ขงเบ้งรับงานไว้กับตัวเองมากจนเกินไปทั้งด้านการทหารและการปกครอง ไม่ได้มอบหมายให้ใครมาช่วยแบ่งเบางานออกไป ขนาดว่าตัวเองออกทัพทำสงคราม ก็ยังเอานำงานการปกครองมาทำอีกด้วย ทำให้ตนเองหักโหมงานมากและสุขภาพทรุดโทรม สุดท้าย สุมาอี้รู้ทันในจุดอ่อน จึงตั้งรับเฉยๆ เพื่อให้ขงเบ้งแพ้ภัยตัวเองในบั้นปลาย

2. การใช้คน ขงเบ้งประมาทเกินไปที่ปล่อยให้กวนอูอยู่รักษาเมืองหน้าด่านสำคัญใกล้กับซุน กวน ทั้งที่รู้อยู่ว่ากวนอูนั้นเป็นคนดื้อ และพูดจาดุดัน ควรให้ออกรบหรือรักษาเมืองแบบการทหารนำหน้า ไม่เหมาะที่จะปกครองเมืองที่ต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้าน ดังนั้น ด้วยคำพูดที่ไร้ไมตรีของกวนอูนั่นเองที่ทำให้กวนอู เตียวหุย และเล่าปี่ ต้องมาตายตามกันไปหมด พร้อมด้วยกองทัพหลายสิบหมื่นคน ทำให้กำลังทหารของก๊กนี้ต้องเสียเวลาเลียแผลอยู่นาน

3. การใช้คำพูด ขงเบ้งมักใช้คารมยั่วยุและดูถูกเพื่อให้ผู้ฟังมีความโกรธ และอยากออกรบ เช่น จิวยี่ กวนอู ฮองตง และสุมาอี้ เรียกว่าทั้งมิตรทั้งศัตรูล้วนเจอไม้ตายของขงเบ้งทั้งสิ้น จริงอยู่ว่าในระยะสั้น วิธีนี้อาจจะได้ผลดีอยู่บ้าง แต่การอยู่ร่วมกันนานๆหรือมีการติดต่อสัมพันธ์กันเรื่อยๆแล้ว วาจาที่สุภาพไพเราะและการยกย่องให้เกียรติกันน่าจะให้ผลดีมากกว่า ดังจะเห็นว่า เล่าปี่เหนือกว่าขงเบ้งมากนักในเรื่องนี้ เพราะขนาดว่าเล่าปี่ใกล้ตายแล้ว ยังทิ้งคำพูดให้ขงเบ้งอยู่ทำงานต่อให้จนตายตามกันไปในที่สุด

4. ความเป็นผู้นำ ขงเบ้งมักจะทำงานแบบข้ามาคนเดียว คนอื่นให้ความเห็นก็ไม่สนใจจะรับฟัง เช่น บังทอง อุยเอี๋ยน ให้คำแนะนำก็ไม่ได้เชื่อถือ สุดท้าย คนแรกตายเปล่า คนหลังเป็นขบถไปในที่สุด และอาจเป็นสาเหตุนี้เองที่ไม่มีคนมีความสามารถเข้ามาร่วมในกองทัพเพิ่มขึ้น เลยในระยะหลังๆ

5. การสร้างคน ขงเบ้งไม่ได้ให้ความสำคัญในการสร้างคนให้รองรับงานในอนาคต ทำให้อาณาจักรอ่อนแอลงมากเมื่อขงเบ้งสิ้นอายุไป เกียงอุยที่รับช่วงการทหารต่อจากขงเบ้งไม่เคยได้รับยกย่องเท่าที่ควรทำให้ ทหารในบังคับบัญชากระด้างกระเดี่อง และเป็นเหตุให้อุยเอี๋ยนหาเหตุก่อการขบถได้ ส่วนการปกครองก็ขาดความเข้มแข็ง ทำให้เล่าเสี้ยน ลูกเล่าปี่ทำตัวเหลวแหลกจนอาณาจักรนี้ล่มสลายไปก่อนก๊กอื่น
ดูๆไปแล้วขงเบ้งก็เป็นเหมือนคนเก่ง มีความรู้ความสามารถเฉพาะตัวสูง แต่ขาดทักษะในเชิงบริหารสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ กลับกลายเป็น โจโฉ เล่าปี่ ซุนกวน 3ผู้นำ3สไตล์ ที่มีจุดเด่นในการบริหารมากกว่า และได้สะท้อน ประกายความคิดผ่านเหล่าขุนพลของพวกเขาได้อย่างล้ำลึก

บทความที่เกี่ยวข้อง:

36 กลยุทธ์การทำศึกสงคราม จากสามก๊ก


การวางแผนการศึกในเชิงรบระหว่างทัพ แม่ทัพผู้นำศึกต้องมีความรู้ความสามารถ มีภูมิปัญญาอันเป็นเลิศ มีความมั่นใจในตนเอง มีความเมตตา ความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่และความกล้าหาญชาญชัย รักไพร่พลของตนรวมทั้งมีการแม่นยำในสภาพภูมิศาสตร์ รู้สภาพดินฟ้าอากาศ ธรรมชาติและฤดูกาลต่าง ๆ อันส่งผลให้เกิดขอบเขตขีดจำกัดในการทำศึก ดั่งคำกล่าวของจูกัดเหลียงที่ว่า "อันธรรมดาเป็นชายชาติทหาร ถ้าไม่รู้คะเนการฤกษ์บนแลฤกษ์ต่ำ ก็มิได้เรียกว่ามีสติปัญญา" ถ้าแม่ทัพผู้นำศึกขาดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ย่อมเพลี่ยงพล้ำหลงกลศึกของแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย กลศึกทางบกเป็นการคำนวณระยะทางใกล้ไกล สภาพภูมิประเทศ และความยากง่ายต่อการเข้าถึงของพื้นที่ รวมทั้งการให้คุณให้โทษแก่ไพร่พลทหาร การจัดส่งเสบียงอาหารและกองกำลังหนุนยามเพลี้ยงพล้ำ

การวางแผนการศึกในเชิงรบระหว่างทัพเรือ แม่ทัพผู้นำศึกต้องมีความรู้ความสามารถ มีภูมิปัญญาอันเป็นเลิศ มีความมั่นใจในตนเอง มีความเมตตา ความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่และความกล้าหาญชาญชัย รักไพร่พลของตนรวมทั้งมีการแม่นยำในสภาพภูมิศาสตร์ ชำนาญในการเดินเรือ รู้สภาพดินฟ้าอากาศ โขดหินและร่องน้ำตามธรรมชาติ รวมทั้งรู้จักฤดูกาลต่าง ๆ อันส่งผลให้เกิดขอบเขตขีดจำกัดในการทำศึก ถ้าแม่ทัพผู้นำศึกขาดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว ย่อมหลงกลศึกของแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย กลศึกทางน้ำเป็นการคำนวณระยะทางใกล้ไกลในการเดินทัพเรือ สภาพภูมิประเทศ และความยากง่ายต่อการเข้าถึงของพื้นที่ รวมทั้งการให้คุณให้โทษแก่ไพร่พลทหาร การจัดส่งเสบียงกรังและกองกำลังหนุนยามเพลี้ยงพล้ำและพ่ายแพ้

ในสามก๊กมีการใช้กลศึกจำนวนมากมายในการหลอกล่อศัตรูเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ การต่อสู้ทางสติปัญญา สุดยอดแห่งกุศโลบายในการแสดงศักยภาพของกองทัพ แม่ทัพที่นำทัพในสนามรบนอกจากจะมีฝีมือในการที่สูงส่งแล้ว จะต้องรู้หลักและเชี่ยวชาญตำราพิชัยสงคราม เสนาธิการที่ปรึกษาทัพจะต้องรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน รู้แจ้งในกลศึกต่าง ๆ ของศัตรู รู้ถึงจิตใจของทหารภายใต้บังคับบัญชา และรู้จักฉกฉวยจังหวะสำคัญในการโจมตีจึงจะสามารถเอาชนะศัตรูได้ ตำราพิชัยสงครามซุนวู 13 บท กล่าวไว้ว่า "การบัญชาทัพชั้นเอกคือชนะด้วยอุบาย รองลงมาคือชนะด้วยการทูต รองลงมาอีกคือชนะด้วยการรบ"  จูกัดเหลียง จิวยี่ สุมาอี้ ตันฮก ลิบองลกซุน ตั๋งโต๊ะ โจโฉ กุยแกและบุคคลอื่นอีกมากมาย ล้วนแต่ชำนาญกลศึกและตำราพิชัยสงครามในการทำศึก ซึ่งกลศึกสำคัญและเป็นมาตรฐานของการทำสงครามสามก๊กในแต่ละครั้งมีดังนี้

1. กลยุทธ์ชนะศึก (Winning Stratagems)
2. กลยุทธ์เผชิญศึก (Enemy Dealing Stratagems)
3. กลยุทธ์เข้าตี (Attacking Stratagems)
4. กลยุทธ์ติดพัน (Chaos Stratagems)
5. กลยุทธ์ร่วมรบ (Proximate Stratagems)
6. กลยุทธ์ยามพ่าย (Defeat Stratagems)



36 กลยุทธ์การทำศึกสงคราม แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้


กลยุทธ์ที่ 1 ปิดฟ้าข้ามทะเล

กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล หรือ หมานเทียนกว้อไห่ (อังกฤษ: Deceive the heavens to cross the ocean; จีนตัวเต็ม: 瞞天過海; จีนตัวย่อ: 瞒天过海; พินอิน: Mán tiān guò hǎi) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่คิดหรือมองข้ามสิ่งใด ๆ ก็ตามที่คิดว่าตนเองนั้นได้ตระเตรียมไว้พร้อมสรรพแล้ว ก็มักจะมีความประมาทมองข้ามศัตรูไปอย่างง่ายดาย พบเห็นสิ่งใดที่มองเห็นเสมอในยามปกติ ก็ไม่เกิดความติดใจสงสัยในสิ่งนั้น เกิดความชะล่าใจในตนเอง การบุกเข้าโจมตีศัตรูโดยที่ศัตรูไม่รู้ตัวนับว่าเป็นการได้ชัยชนะมาแล้วครึ่งหนึ่ง สามารถเอาชนะได้อย่างง่ายดาย การปกปิดอำพรางซ่อนเร้น จึงเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในการทำศึกสงคราม ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลไปใช้ได้แก่ลิบองที่ลอบบุกเข้าโจมตีเกงจิ๋วโดยที่กวนอูไม่รู้ตัวแม้แต่น้อย

กลยุทธ์ที่ 2 ล้อมเวยช่วยจ้าว

กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว หรือ เหวยเวยจิ้วจ้าว (อังกฤษ: Besiege Wèi to rescue Zhào; จีนตัวเต็ม: 圍魏救趙; จีนตัวย่อ: 围魏救赵; พินอิน: Wéi Wèi jiù Zhào) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูรวบรวมกำลังทหารและไพร่พลไว้เป็นจุดศูนย์กลางของกองทัพ ทำให้มีกำลังและความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ควรที่จะใช้กลยุทธ์ในการดึงแยกศัตรูให้แตกออกจากกัน เพื่อให้กำลังไพร่พลทหารกระจัดกระจาย คอยเฝ้าระวังและมีความห่วงหน้าพะวงหลังในการทำศึกสงครามแล้วจึงบุกเข้าโจมตี ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ล้อมเวยจิ้วจ้าวไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกให้โจโฉนำทัพไปทำศึกสงครามกับซุนกวน และนำทัพบุกเข้ายึดฮันต๋งจากโจโฉมาเป็นของตนได้สำเร็จ

กลยุทธ์ที่ 3 ยืมดาบฆ่าคน

กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน หรือ เจี้ยเตาซาเหริน (อังกฤษ: Kill with a borrowed knife; จีนตัวเต็ม:借刀殺人; จีนตัวย่อ: 借刀杀人; พินอิน: Jiè dāo shā rén) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีความเข้มแข็งและแข็งแกร่งในศึกสงคราม ไม่จำเป็นที่จะต้องลงมือจัดการด้วยตนเอง พึงยืมกำลังและไพร่พลทหารของผู้อื่นเป็นฝ่ายกำจัดศัตรูโดยไม่ต้องออกแรง เพื่อเป็นการรักษากำลังและไพร่พลทหารของตนเองไว้สำหรับการศึกอื่น ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่หลอกให้โจโฉฆ่าซัวมอและเตียวอุ๋น แม่ทัพเรือของตนเองในคราวศึกเซ็กเพ็ก ระหว่างเล่าปี่และซุนกวนจนโจโฉถูกเผาเรือพ่ายแพ้ย่อยยับ

กลยุทธ์ที่ 4 รอซ้ำยามเปลี้ย

กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย หรือ อี่อี้ไต้เหลา (อังกฤษ: Substitute leisure for labour; จีนตัวเต็ม:以逸待勞; จีนตัวย่อ: 以逸待劳; พินอิน: Yǐ yì dài láo) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังคงมีความเข้มแข็ง กำลังไพร่พลทหารยังคงแข็งแกร่งยากจะต่อสู้ก็ไม่ควรจะเข้าปะทะโดยตรงด้วยกำลังที่มีอยู่ แต่ยามใดที่ศัตรูเกิดความอ่อนแอในกองทัพเมื่อใด ต้องรีบฉวยโอกาสบุกเข้าโจมตีโดยเร็ว เพื่อเป็นการข่มขวัญและป้องกันไม่ให้ศัตรูกลับมาแข็งแกร่งดั่งเดิม กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยเป็นการใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว ให้ระยะเวลาเป็นการบั่นทอนกำลังและจิตใจของศัตรู ฉวยโอกาสพลิกสถานการณ์จากเดิมที่กลายเป็นรองหรือเสียเปรียบให้กลายเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในสามก๊กยามเกิดศึกสงคราม กองทัพทุกกองทัพต่างใช้กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยเพื่อหาโอกาสเหมาะในการบุกเข้าโจมตีศัตรูยามเพลี่ยงพล้ำอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยไปใช้ได้แก่ลกซุนที่แนะนำซุนกวนให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนนำกำลังทหารไปตีลกเอี๋ยง

กลยุทธ์ที่ 5 ตีชิงตามไฟ

กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ หรือ เชิ่นหว่อต่าเจี๋ย (อังกฤษ: Loot a burning house; จีนตัวเต็ม:趁火打劫; พินอิน: Chèn huǒ dǎ jié) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนแอและย่ำแย่ ควรรีบฉกฉวยโอกาสนำทัพเข้าโจมตีเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือมอบหมายให้แม่ทัพหรือทหารที่มีความเข้มแข็งนำทัพเข้าโจมตี ซึ่งเป็นการฉกฉวยเอาผลประโยชน์จากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงและยุ่งเหยิง นำความดีความชอบมาเป็นของตน ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ตีชิงตามไฟไปใช้ได้แก่ตั๋งโต๊ะที่ฉกฉวยโอกาสยึดเอาเมืองหลวงและราชสำนักของพระเจ้าหองจูเหียบมาเป็นของตน และแต่งตั้งตนเองเป็นมหาอุปราชและเป็นบิดาบุญธรรมของพระเจ้าหองจูเปียน

กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม

กลยุทธ์ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม หรือ เซิงตงจีซี (อังกฤษ: Make a sound in the east, then strike in the west; จีนตัวเต็ม: 聲東擊西; จีนตัวย่อ: 声东击西; พินอิน: Shēng dōng jí xī) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการโจมตีศัตรู จะต้องเตรียมการและบุกโจมตีในจุดที่ศัตรูต่างคาดไม่ถึงเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรูวางแนวการตั้งรับได้ถูก โดยหลอกล่อศัตรูให้เกิดการหลงทิศกับการบุกโจมตีและนำกำลังทหารไปเฝ้าระวังผิดตำแหน่ง เกิดการหละหลวมต่อกำลังทหารและเปิดโอกาสให้สามารถเอาชนะได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิมไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกล่อเฮ็กเจียวให้เกิดความสับสนและหลงทิศในการนำกำลังทหารเฝ้าระวังการบุกเข้าโจมตีด่านตันฉองของจูกัดเหลียงและทหารจ๊กก๊ก

กลยุทธ์เผชิญศึก

กลยุทธ์ที่ 7 มีในไม่มี

กลยุทธ์มีในไม่มี หรือ อู๋จงเซิงโหย่ว (อังกฤษ: Create something from nothing; จีนตัวเต็ม:無中生有; จีนตัวย่อ: 无中生有; พินอิน: Wú zhōng shēng yǒu) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ภาพลวงในการหลอกล่อศัตรูเพียงครั้งคราวให้หลงเชื่อ แปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริงจากจริงเป็นลวง ทำให้ศัตรูเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าการ "ลวง" ก็คือการ "หลอกหลวง" ที่ว่า "มืด" ก็กลายเป็น "เท็จ" แสงสว่างจากมืดน้อยย่อมทวีความมืดไปจนถึงมืดมาก จากมืดมากย่อมแปรเปลี่ยนกลับกลายเป็นสว่าง การใช้ภาพลวงเพื่อเสแสร้งปกปิดภาพจริง การผันผวนคำเท็จจากลวงให้กลายเป็นความจริง ในจริงมีเท็จ ในเท็จมีจริง ทำให้ในการทำศึกสงครามย่อมมีกลลวงข้อเท็จจริงสลับเป็นฟันปลากันอยู่เสมอ ตัวอย่างการทำเอากลยุทธ์มีในไม่มีไปใช้ได้แก่โจโฉที่วางแผนหลอกลิโป้ให้หลงเชื่อว่าตนเองตายและลอบซุ่มบุกตีโจมตีกระหนาบจนลิโป้พ่ายแพ้ยับเยิน

กลยุทธ์ที่ 8 ลอบตีเฉินชาง

กลยุทธ์ลอบตีเฉินชาง หรือ อั้นตู้เฉินชาง (อังกฤษ: Openly repair the gallery roads, but sneak through the passage of Chencang; จีนตัวเต็ม: 暗渡陳倉; จีนตัวย่อ: 暗渡陈仓; พินอิน: Àn dù chén cāng) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้โอกาสที่ศัตรูตัดสินใจที่จะรักษาพื้นที่เขตแดนของตนไว้ และแสร้งทำเป็นนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีทางด้านหน้า แต่ลอบนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีในพื้นที่เขตแดนที่ศัตรูไม่ทันคาดคิดและสนใจวางแนวกำลังป้องกัน ในการศึกสงครามการใช้กลวิธีการวกวนลอบเข้าโจมตีย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบ สามารถบุกเข้าโจมตีศัตรูได้โดยที่ไม่ทันระวังตัวและเอาชนะมาเป็นของตนได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ลอบตีเฉินชางไปใช้ได้แก่ตันฮกที่ให้กวนอูคุมทหารลอบเข้าบุกยึดห้วนเสีย ทำให้โจหยินที่พ่ายแพ้ต้องหนีกลับฮูโต๋

กลยุทธ์ที่ 9 ดูไฟชายฝั่ง

กลยุทธ์ดูไฟชายฝั่ง หรือ เก๋ออั้นกวนหว่อ (อังกฤษ: Watch the fires burning across the river; จีนตัวเต็ม: 隔岸觀火; จีนตัวย่อ: 隔岸观火; พินอิน: Gé àn guān huǒ) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้โอกาสที่ศัตรูเกิดการแตกแยก วุ่นวายและปั่นป่วนอย่างหนักภายในกองทัพ พึงรอจังหวะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสงบ จับตาดูความเคลื่อนไหวของศัตรูทุกฝีก้าว ถ้าศัตรูเกิดความระแวงและใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกันเอง เกิดการเข่นฆ่าแย่งชิงความเป็นใหญ่ แนวโน้มความพินาศและวอดวายก็จะเกิดขึ้นภายในกองทัพ ในช่วงระยะเวลานี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของศัตรู เตรียมความพร้อมในกองทัพไว้ล่วงหน้า ช่วงชิงชัยชนะมาเป็นของตนโดยใช้การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของศัตรูให้เป็นประโยชน์ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ดูไฟชายฝั่งไปใช้ได้แก่กุยแกที่ให้คำแนะนำแก่โจโฉเพื่อนำกำลังทหารไปตีกิจิ๋วในขณะที่อ้วนซงขึ้นครองกิจิ๋วแทนอ้วนเสี้ยว

กลยุทธ์ที่ 10 ซ่อนดาบในรอยยิ้ม

กลยุทธ์ซ่อนดาบในรอยยิ้ม หรือ เสี้ยวหลี่ฉางเตา (อังกฤษ: Hide a knife behind a smile; จีนตัวเต็ม: 笑裏藏刀; จีนตัวย่อ: 笑里藏刀; พินอิน: Xiào lǐ cáng dāo) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการหลอกให้ศัตรูหลงเชื่อถึงความสงบ ไม่ให้ล่วงรู้ถึงความเคลื่อนไหวใด ๆ ของกองทัพ ทำให้ศัตรูเกิดความสงสัยและเกิดความสงบไม่เคลื่อนไหวในกองทัพเช่นกัน ทำให้เกิดความคิดที่มึนชาขึ้น และฉวยโอกาสเตรียมการเป็นความลับ เฝ้าคอยระวังมิให้ศัตรูล่วงรู้ความลับหรือรู้ตัว รอคอยโอกาสเพื่อจะจู่โจมโดยฉับพลันอันจะทำให้สถานการณ์เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นการแสร้งทำเป็นมิตรแต่แท้จริงจ้องหาโอกาสจะกำจัดศัตรูอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ซ่อนดาบในรอยยิ้มไปใช้ได้แก่ชีฮูหยินภรรยาของซุนเซียง น้องสะใภ้ของซุนกวนที่วางแผนลอบฆ่าอิหลำที่คิดข่มเหงตนเองเป็นภรรยาด้วยรอยยิ้มประดุจยินดีจะมีสามีใหม่

กลยุทธ์ที่ 11 หลี่ตายแทนถาว

กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว หรือ หลี่ไต้เถาเจียง (อังกฤษ: Sacrifice the plum tree to preserve the peach tree; จีนตัวเต็ม: 李代桃僵; พินอิน: Lǐ dài táo jiāng) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่เสียบเปรียบในศึกสงคราม ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ตนเองและกองทัพ เกิดความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อที่จะแปรเปลี่ยนจากสถานการณ์ที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบให้เป็นการได้เปรียบ จำต้องยินยอมเสีย "มืด" เพื่อที่จะได้ประโยชน์จาก "สว่าง" ซึ่งหมายความถึงการจะได้ประโยชน์จากการเสียเปรียบในสถานการณ์ขับคัน จำต้องเสียสละส่วนหนึ่งส่วนใดของกองทัพหรือของตน เสียค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับชัยชนะในทุก ๆ ด้าน ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์หลี่ตายแทนถาวไปใช้ได้แก่โจโฉที่ยอมเสียหัวของอองเฮานายทหารชั้นผู้น้อย เพื่อแลกกับขวัญและกำลังของทหารทั้งกองทัพ

กลยุทธ์ที่ 12 จูงแพะติดมือ

กลยุทธ์จูงแพะติดมือ หรือ ซุ่นโส่วเชียนหยาง (อังกฤษ: Take the opportunity to pilfer a goat; จีนตัวเต็ม: 順手牽羊; จีนตัวย่อ: 顺手牵羊; พินอิน: Shùn shǒu qiān yáng) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ความประมาทเลินเล่อของศัตรูเพียงเล็กน้อยให้เป็นประโยชน์ เมื่อพบเห็นโอกาสให้รีบฉกฉวยมาเป็นของตน แม้จะเป็นเพียงชัยชนะที่เล็กน้อยก็ตาม แต่เมื่อเป็นประโยชน์แก่กองทัพจำต้องช่วงชิงมาเป็นของตนให้ได้ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์จูงแพะติดมือไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกเอาลูกเกาฑัณฑ์จำนวนมากจากโจโฉ ตามคำสั่งของจิวยี่ที่สั่งให้จูกัดเหลียงทำลูกเกาฑัณฑ์จำนวนสิบหมื่นให้เสร็จภายในระยะเวลาสามวัน เพื่อหาทางกำจัดจูกัดเหลียงด้วยความอิจฉาริษาที่มีความฉลาดหลักแหลม รู้เท่าทันแผนการณ์ของตนเองตลอดเวลา
กลยุทธ์เข้าตี

กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น

กลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่น หรือ ต๋าเฉ่าจิงเสอ (อังกฤษ: Startle the snake by hitting the grass around it; จีนตัวเต็ม: 打草驚蛇; จีนตัวย่อ: 打草惊蛇; พินอิน: Dá cǎo jīng shé) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่มีสิงใดพึงสงสัย ผิดแผกไปจากเดิม ควรจักส่งคนไปทำการสอดแนมให้รู้ชัดแจ้งเพื่อเป็นการกุมสภาพศัตรูเอาไว้ เมื่อได้ข่าวคราวศัตรูแล้วจึงนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีให้พ่ายแพ้ย่อยยับ เรียกว่า "สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน" คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ใช้มรรควิธีเดิมกลับไปมา 7 วัน เมื่อละเอียดแล้วจึงเข้าใจสิ่งนั้นได้ หากศัตรูสงบนิ่งก็พึงสร้างสถานการณ์ให้ศัตรูเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดช่องโหว่ จากนั้นจึงหาโอกาสเอาชัย" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่นไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ต้องการดูชั้นเชิงกองกำลังทหารโจโฉเมื่อคราวเล่าปี่นำกำลังทหารไปตีฮันต๋ง

กลยุทธ์ที่ 14 ยืมซากคืนชีพ

กลยุทธ์ยืมซากคืนชีพ หรือ เจี้ยซือหวนหุน (อังกฤษ: Borrow a corpse to resurrect the soul; จีนตัวเต็ม: 借屍還魂; จีนตัวย่อ: 借尸还魂; พินอิน: Jiè shī huán hún) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ผู้ที่มีความสามารถและมีบทบาทในหน้าที่ต่าง ๆ จะใช้ความสามารถนั้นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างผลีผลามไม่ได้ ส่วนผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ก็มักจะขอความช่วยเหลืออยู่เป็นนิจ การที่ใช้ผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ มิใช่เป็นการที่จะมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติ หากแต่เป็นเพราะผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถต้องการความพึ่งพายามต้องการความช่วยเหลือ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมซากคืนชีพไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ให้นำเมล็ดข้าวสารใส่ไว้ในปากเพื่อเป็นการรักษาดาวสำหรับต่ออายุ และหลอกทหารสุมาอี้ให้หลงชื่อว่ายังมีชีวิตอยู่

กลยุทธ์ที่ 15 ล่อเสือออกจากถ้ำ

กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ หรือ เตี้ยวหู่หลีซาน (อังกฤษ: Entice the tiger to leave its mountain lair; จีนตัวเต็ม: 調虎離山; จีนตัวย่อ: 调虎离山; พินอิน: Diào hǔ lí shān) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ใช้ภาพลวงที่จงใจสร้างขึ้นเพื่อหลอกล่อให้ศัตรูเกิดความประมาท ชะล่าใจในการทำศึกสงคราม ละทิ้งแนวฐานการป้องกันของกองทัพซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ฉกฉวยจังหวะและโอกาสที่ศัตรูเกิดความอ่อนแอหลงเชื่อในภาพลวงที่สร้างขึ้น นำกำลังบุกเข้าโจมตีหรือทำลายเสียให้สิ้นซากช่วงชิงชัยชนะมาเป็นของตน ดั่งคำกล่าวว่า "อันธรรมดาเสือเมื่ออยู่ในถ้ำย่อมอันตราย จะจับเสือได้ก็ต่อเมื่อล่อให้มาตกในหลุมพรางที่ดักไว้" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำไปใช้ได้แก่อ้องอุ้นที่ใช้กลยุทธ์สาวงามทำให้ตั๋งโต๊ะผิดใจกับลิโป้และลวงไปฆ่าในวังหลวง

กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ

กลยุทธ์แสร้งปล่อยเพื่อจับ หรือ อวี้ฉินกู้จ้ง (อังกฤษ: In order to capture, one must let loose; จีนตัวเต็ม: 欲擒故縱; จีนตัวย่อ: 欲擒故纵; พินอิน: Yù qín gū zòng) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้สติปัญญาในการวางแผน การจับเชลยศึกสงครามได้นั้นถ้าหากบีบคั้นจนเกินไปจนไม่สามารถรีดเอาความต่าง ๆ ได้ เปรียบประหนึ่ง "สุนัขที่จนตรอก ย่อมต่อสู้จนสุดชีวิต" การปล่อยศัตรูให้เป็นฝ่ายหลบหนีก็จักเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจ ความเหิมเกริมของศัตรูได้ การปล่อยศัตรูหลบหนีจะต้องนำกำลังไล่ติดตามอย่าลดละ เพื่อเป็นการบั่นทอนกำลังทหารของศัตรูให้อ่อนแรง กะปลกกะเปลี้ยน ครั้นเมื่อหมดสิ้นเรี่ยวแรง มิได้มีใจคิดต่อสู้ด้วยก็จะยอมจำนนสวามิภักดิ์ เมื่อนั้นจึงจับเอาเป็นเชลยได้โดยง่าย ซึ่งเป็นการทำศึกสงครามที่ไม่เสียเลือดเนื้อและกำลังทหาร อีกทั้งยังเป็นเหตุให้ศัตรูแตกพ่ายยับเยินไปเอง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์แสร้งปล่อยเพื่อจับไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ทำศึกสงครามกับเบ้งเฮ็ก เมื่อจับได้เป็นเชลยก็ปล่อยตัวเสียเพื่อให้เบ้งเฮ็กไปรวบรวมผู้คนมาต่อสู้อีกครั้ง จนกระทั่งยอมแพ้และสวามิภักดิ์ต่อจูกัดเหลียง

กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก

กลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยก หรือ เพาจวนอิ่วอวี้ (อังกฤษ: Tossing out a brick to get a jade gem; จีนตัวเต็ม: 拋磚引玉; จีนตัวย่อ: 抛砖引玉; พินอิน: Pāo zhuān yǐn yù) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้สิ่งใดที่มีความคล้ายคลึงกันในการหลอกล่อศัตรู ให้ศัตรูเกิดความสับสนและต้องกลอุบายแตกพ่ายไป การใช้กลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยกนี้ เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นตามสภาพรูปธรรมของศัตรู ในยามทำศึกสงครามเมื่อได้รบพุ่งกับศัตรู แม่ทัพหรือขุนศึกฝ่ายตรงข้ามมีแต่ความโง่เง่า มิรู้จักการพลิกแพลงกลยุทธ์ในเชิงรบ จักหลอกล่อด้วยผลประโยชน์ อำนาจวาสนา ถ้าศัตรูหลงในลาภยศต่าง ๆ มิรู้ผลร้าย ขาดการไตร่ตรองใคร่ครวญในกลอุบาย ก็สามารถลอบซุ่มทหารโจมตีเอาชนะมาเป็นของตนได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยกไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่พึงพอใจฝีมือเกียงอุยจึงอยากได้ตัวไว้ จึงยอมเสียแฮหัวหลิมซึ่งมีตำแหน่งเป็นถึงบุตรเขยของโจโฉเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งนายทหารที่มีสติปัญญาเป็นเลิศ

กลยุทธ์ที่ 18 จับโจรเอาหัวโจก

กลยุทธ์จับโจรเอาหัวโจก หรือ ฉินเจ๋ยฉินหวาง (อังกฤษ: Defeat the enemy by capturing their chief; จีนตัวเต็ม: 擒賊擒王; จีนตัวย่อ: 擒贼擒王; พินอิน: Qín zéi qín wáng) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการทำศึกสงคราม จักต้องบุกเข้าโจมตีศัตรูในจุดที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของกองทัพ เพื่อสลายกำลังของศัตรูให้แตกกระจาย ศัตรูที่มีแม่ทัพฝีมือดีในการทำศึกสงครามย่อมเป็นขวัญและกำลังใจของเหล่าทหาร การวางแผนใช้กลอุบายหลอกล่อเอาชนะแม่ทัพที่มีฝีมือในเชิงยุทธ์ที่เก่งกาจ จักให้ต้องกลอุบายที่สับสน หลอกล่อให้หลงทิศและขจัดไปเสียให้พ้น เสมือน "มังกรสู้บนปฐพี ก็อับจนหมดหนทาง" ซึ่งเปรียบประหนึ่งดุจมังกรในท้องทะเลอาจหาญขึ้นมาต่อสู้กับศัตรูบนผืนแผ่นดิน ก็ย่อมได้รับความปราชัยแก่ศัตรูได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์จับโจรเอาหัวโจกไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่มีความกริ่งเกรงต่อสุมาอี้ในการทำศึกสงครามกับวุยก๊กจึงวางกลอุบายขจัดสุมาอี้ ซึ่งเมื่อปราศจากสุมาอี้แล้วจูกัดเหลียงก็ไม่เกรงกลัวต่อความยิ่งใหญ่ของกองทัพวุยก๊กอีกต่อไป
กลยุทธ์ติดพัน

กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ

กลยุทธ์ถอนฟืนใต้กระทะ หรือ ฝูตี่โชวซิน (อังกฤษ: Remove the firewood under the cooking pot; จีนตัวเต็ม: 釜底抽薪; พินอิน: Fǔ dǐ chōu xīn) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการพิเคราะห์เปรียบเทียบกำลังของศัตรูในการทำศึกสงคราม ถ้ากองทัพมีน้อยกว่าควรพึงหาทางบั่นทอนขวัญและกำลังใจ ความฮึกเหิมของศัตรูให้ลดน้อยถอยลง คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ" โดยคำว่า "น้ำ" หมายถึงความแข็งแกร่ง คำว่า "ฟ้า" หมายถึงความอ่อนแอ เมื่อรวมกันแล้ว "ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ" หมายความถึงความอ่อนชนะความแข็ง คือการพึงใช้วิธีอ่อนพิชิตแข็ง ฉกฉวยจังหวะและโอกาสในการทำลายกองทัพส่วนหนึ่งของศัตรูให้แตกพ่ายย่อยยับในภายหลัง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ถอนฟืนใต้กระทะไปใช้ได้แก่เกียงอุยที่วางกลอุบายให้พระเจ้าโจฮวนหลงเชื่อว่าเตงงายคิดหมายตั้งตนเองเป็นใหญ่และสั่งให้จับไปฆ่า

กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา

กลยุทธ์กวนน้ำจับปลา หรือ หุนเสว่ยออวี๋ (อังกฤษ: Catch a fish while the water is disturbed; จีนตัวเต็ม: 混水摸魚; จีนตัวย่อ: 混水摸鱼; พินอิน: Hún shuǐ mō yú) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการรู้จักฉกฉวยจังหวะที่ศัตรูเกิดความปั่นป่วนภายในกองทัพให้เป็นประโยชน์ แย่งยึดเอาผลประโยชน์นั้นมาเป็นของตน นำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ การเอาชัยชนะจากศัตรูโดยอาศัยความปั่นปวนภายในกองทัพ เป็นดุจดั่งพายุฝนที่พัดกระหน่ำในยามค่ำคืน ภูมิประเทศที่ต่ำกว่าก็จักขังน้ำฝนไว้เป็นแอ่ง ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อสัมผัสกับไอเย็นและละอองฝนจักเข้าสู่ห้วงนิทรา การเฝ้าระวังเวรยามย่อมหละหลวม กองกำลังป้องแนวสำคัญย่อมเพิกเฉยต่อหน้าที่ ทำให้สามารถบุกเข้าโจมตียึดครองได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์กวนน้ำจับปลาไปใช้ได้แก่อ้วนเสี้ยวที่วางกลอุบายหลอกใช้กองซุนจ้านในการนำกองกำลังทหารบุกร่วมเข้าโจมตียึดเอาเกงจิ๋วจากฮันฮก

กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ

กลยุทธ์จักจั่นลอกคราบ หรือ จินฉานทวอเชี่ยว (อังกฤษ: Slough off the cicada's golden shell; จีนตัวเต็ม: 金蟬脱殼; จีนตัวย่อ: 金蝉脱壳; พินอิน: Jīn chán tuō qiào) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการรักษาไว้ซึ่งตามแบบแผนการจัดแนวรบในรูปแบบเดิม ให้แลดูสง่าและน่าเกรงขาม เป็นการหลอกล่อไม่ให้ศัตรูเกิดความสงสัย ไม่กล้าผลีผลามนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตี เมื่อรักษาแนวรบไว้เป็นตั้งมั่นแล้วจึงแสร้งถอยทัพอย่างปกปิด เคลื่อนกำลังทหารให้หลบหลีกไป คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "เลี่ยงเพื่อสลายลวง" โดยคำว่า "เลี่ยง" หมายถึงการหลบหลีก คำว่า "ลวง" หมายถึงการทำให้เกิดความสับสนงงงวย เมื่อรวมกันแล้ว "เลี่ยงเพื่อสลายลวง" หมายความถึงการหลบหลีกโดยมิให้ผู้ใดล่วงรู้ ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์ในการถอยทัพโดยไม่เกิดความกระโตกกระตาก เพื่อให้บรรลุยังเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ หรือเป็นการหลีกเลี่ยงความสูญเสียเลือดเนื้อหรือการปะทะที่อาจเกิดขึ้นในกองทัพ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์จักจั่นลอกคราบไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่วางกลอุบายอำพรางการถอยทัพกลับจ๊กก๊กในการบุกวุยก๊กครั้งที่ 5 โดยไม่ให้สุมาอี้ล่วงรู้และนำกำลังทหารติดตามมา

กลยุทธ์ที่ 22 ปิดประตูจับโจร

กลยุทธ์ปิดประตูจับโจร หรือ กวนเหมินจวอเจ๋ย (อังกฤษ: Shut the door to catch the thief; จีนตัวเต็ม: 關門捉賊; จีนตัวย่อ: 关门捉贼; พินอิน: Guān mén zhōu zéi) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีความอ่อนแอแลด้วยจำนวนที่น้อยนิด พึงตีโอบล้อมแล้วบุกทำลายเสียให้สิ้นซาก เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นภัยต่อไปในภายหลัง คัมภีร์อี้จิ้งกล่าวว่า "ปล่อยมิเป็นคุณซึ่งติดพัน" โดยคำว่า "ปล่อย" หมายความถึงการแตกกระจายออกเป็นกองเล็กกองน้อยของศัตรู พละกำลังย่อมอ่อนเปลี้ย ไร้สมรรถนะ เสียขวัญและกำลังใจในการต่อสู้ คำว่า "ติดพัน" หมายความถึงการติดตามไล่ล่าอย่างไม่ลดละทั้งระยะทางใกล้หรือไกล ซึ่งคำว่า "มิเป็นคุณติดพัน" ก็คือเมื่อแม้นศัตรูจะแตกออกเป็นกองเล็กกองน้อย หากในการทำศึกสงครามแล้วปล่อยให้หลบหนีไปได้ด้วยเหตุอันใดก็ตาม แม้จะเป็นเพียงกองเล็ก ๆ แต่อาจนำภัยหวนย้อนกลับมาสร้างความยุ่งยากได้ในภายหลังจนต้องไล่ติดตามเพื่อทำลายเสีย เช่นนี้มิเป็นประโยชน์ในการทำศึกสงคราม ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ปิดประตูจับโจรไปใช้ได้แก่ลิบองที่วางกลอุบายดักจับกวนอูและกวนเป๋งที่นำกำลังทหารหวนกลับมาตีเกงจิ๋วคืน หลังจากกวนอูพลาดท่าเสียทีให้แก่ซุนกวน

กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้

กลยุทธ์คบไกลตีใกล้ หรือ เหวี่ยนเจียวจิ้นกง (อังกฤษ: Befriend a distant state while attacking a neighbour; จีนตัวเต็ม: 遠交近攻; จีนตัวย่อ: 远交近攻; พินอิน: Yuǎn jiāo jìn gōng) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อถูกจำกัดโดยสภาพภูมิศาสตร์ ควรจักตีเอาศัตรูที่อยู่ในบริเวณใกล้ตัวจึงจะเป็นประโยชน์ การบุกโจมตีศัตรูที่อยู่ห่างไกลออกไป จักกลายเป็นผลร้ายแก่กองทัพ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง บุรุษจักร่วมกันเพราะความผิดแผก" หมายความถึงในการหยิบยื่นไมตรีเพื่อผูกมิตรสัมพันธ์นั้น แม้นความคิดเห็นแต่ละฝ่ายอาจไม่ตรงกัน ก็สามารถที่จะยุติความขัดแย้ง และสามารถที่จะจับมือร่วมกันทำศึกสงครามได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูแม้ใกล้ไกล พึงมีนโยบายที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ผูกมิตรกับแคว้นไกลเพื่อเอาชัยชนะต่อแคว้นใกล้อย่างหนึ่ง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์คบใกล้ตีไกลไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงแนะอุบายให้เล่าปี่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือกังตั๋งของซุนกวนให้รอดพ้นจากเงื้อมมือการบุกโจมตีของโจโฉ

กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล

กลยุทธ์ยืมทางพรางกล หรือ เจี่ยเต้าฝากว๋อ (อังกฤษ: Obtain safe passage to conquer the State of Guo; จีนตัวเต็ม: 假道伐虢; พินอิน: Jiǎ dào fá Guó) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการทำศึกสงครามประเทศเล็กที่ตั้งอยู่ในระหว่างประเทศใหญ่สองประเทศ เมื่อถูกศัตรูบีบบังคับให้ยอมแพ้ด้วยความจำใจ ยอมสยบอยู่ภายใต้อำนาจ ถูกกดขี่ข่มเหงก็ควรจะให้การช่วยเหลือโดยฉับพลัน เพื่อให้ประเทศเล็กที่ถูกข่มเหงรังแก มีความเชื่อถือต่อประเทศที่ยอมช่วยเหลือประเทศที่ตกอยู่ภายใต้ความยากลำบาก หากการช่วยเหลือแต่เพียงการเจรจามิได้มีการกระทำที่แท้จริง ย่อมจะไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่เฝ้ารอคอยรับความช่วยเหลือ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมทางพรางกลไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่รู้เท่าทันการวางกลอุบายของจิวยี่ที่คิดยืมทางเพื่อไปตีเสฉวน และฉวยโอกาสฆ่าเล่าปี่ที่บิดพลิ้วไม่ยอมคืนเกงจิ๋วให้แก่ซุนกวน
กลยุทธ์ร่วมรบ

กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา

กลยุทธ์ลักขื่อเปลี่ยนเสา หรือ โทวเหลียงห้วนจวู้ (อังกฤษ: Replace the beams with rotten timbers; จีนตัวเต็ม: 偷梁換柱; จีนตัวย่อ: 偷梁换柱; พินอิน: Tōu liáng huàn zhù) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการต่อกำลังที่ร่วมทำศึกด้วยหรือต่อศัตรู จักต้องหาหนทางเปลี่ยนแปลงการจัดเตรียมแนวรบของศัตรูอยู่เสมอ การถอดถอนเคลื่อนย้ายจุดยุทศาสตร์และกองกำลังสำคัญของศัตรูไป รอให้ศัตรูเกิดความอ่อนแอเสียขวัญและกำลังใจ ประสบกับความพ่ายแพ้ จึงฉกฉวยโอกาสพลิกสถานการณ์ที่ศัตรูเกิดความย่ำแย่ให้เป็นประโยชน์แก่ตน นำกำลังบุกเข้าโจมตียึดครองและควบคุมกองทัพของศัตรูไว้ภายใต้การบังคับบัญชาเพื่อประโยชน์ต่อไปในภายหน้า ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ลักขื่อเปลี่ยนเสาไปใช้ได้แก่เทียเภาที่วางกลอุบายหลอกเอาตัวตันฮกมาจากเล่าปี่เพื่อให้เป็นที่ปรึกษาแก่โจโฉ ภายหลังที่ตันฮกวางกลอุบายซุ่มโจมตีกองทัพของโจหยินจนแตกพ่ายยับเยิน

กลยุทธ์ที่ 26 ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว

กลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว หรือ จวื่อซ่างม่าไหว (อังกฤษ: Point at the mulberry tree while cursing the locust tree; จีนตัวเต็ม: 指桑罵槐; จีนตัวย่อ: 指桑骂槐; พินอิน: Zhǐ sāng mà huái) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อฝ่ายที่มีความเข้มแข็งมากกว่า หรือแคว้นที่มีกองกำลังทหารภายใต้สังกัดมากมาย ข่มเหงรังแกแคว้นเล็กหรือผู้ที่มีกำลังทหารน้อยกว่า ควรที่จะใช้วิธีการตักเตือนให้เกิดความเกรงกลัวและยำเกรง แม้นหากแสดงความเข้มแข็งให้ได้ประจักษ์ ก็จักได้รับความสนับสนุนจากผู้ที่อ่อนแอกว่า ถ้าหาญกล้าใช้ความรุนแรง ก็จักได้รับความยอมรับนับถือจากผู้ที่อ่อนแอกว่า คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ นี่ถือหนทางปกครองแผ่นดินราษฏรจึงขึ้นต่อ" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหวไปใช้ได้แก่สุมาอี้ที่บุกเข้าควบคุมตัวของครอบครัวโจซองภายหลังจากที่ลิดรอนอำนาจของสุมาอี้เพียงเพื่อหวังในตำแหน่งอุปราช

กลยุทธ์ที่ 27 แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า

กลยุทธ์แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า หรือ เจี่ยชือปู้เตียน (อังกฤษ: Feign madness but keep your balance; จีนตัวเต็ม: 假痴不癲; จีนตัวย่อ: 假痴不癫; พินอิน: Jiǎ chī bù diān) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการแสร้งยอมทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหวอย่าอวดทำเป็นสู่รู้ทำบุ่มบ่าม การอวดรู้ย่อมกลายเป็นผลเสียแก่ตนเองได้ในภายหน้า คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ดุจดั่งอสนีบาตหยุดฟาดฟัน" โดยคำว่า "หยุด" หมายความถึง "อสนีบาตฤดูหนาวแฝงกายอยู่ใต้พื้นพสุธา จักแผดร้องก้องนภาคราฤดูใบไม้ผลิ" ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ที่มีสติปัญญามิพึงแสดงตัว แต่พึงเตรียมการทั้งปวงอย่างลับ ๆ มิให้ผู้ใดล่วงรู้ ประหนึ่งคมดาบที่แอบซ่อนอยู่ภายในฝัก มิปรากฏให้ผู้ใดได้เห็น ครั้นเมื่อถึงเวลาอันสมควรก็จักคำรนคำรามเสมือนสายฟ้า ที่จะกระหน่ำพสุธาให้แตกสลายไป ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์แสร้งทำบอแต่ไม่บ้าไปใช้ได้แก่เล่าปี่ที่แสร้งทำเป็นหวาดกลัวเสียงฟ้าร้องจนตะเกียบหลุดจากมือ เพื่อให้โจโฉตายใจและไม่คิดระแวงเล่าปี่ที่อ่านคิดการใหญ่ในภายหน้า

กลยุทธ์ที่ 28 ขึ้นบ้านชักบันได

กลยุทธ์ขึ้นบ้านชักบันได หรือ ซ่างอูโชวที (อังกฤษ: Remove the ladder when the enemy has ascended to the roof; จีนตัวเต็ม: 上屋抽梯; พินอิน: Shàng wū chōu tī) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการจงใจปกปิดซ่อนเร้นจุดอ่อนเพื่อมิให้ศัตรูมองเห็น สร้างเงื่อนไขและหลอกล่อให้ศัตรูเป็นฝ่ายบุกเข้าโจมตี แล้วตัดขาดส่วนหน้าที่คอยวางกำลังสมทบและส่วนหลังที่วางกองกำลังไว้เป็นกองหนุน ตีโอบศัตรูให้หลบหนีเข้าไปภายในกองทัพ เสมือนถุงที่อ้าปากไว้รับหรือวงล้อมหลุมพรางที่วางดักไว้ คัมภีร์อี้จิงกล่าวไว้ว่า "เจอพิษ มิควรที่" การขบเปรียบประดุจการบดเคี้ยวกระดูกหรือเนื้อที่มีความเหนียว รังแต่จะทำให้ฟันเกิดการชำรุดเสียหาย หรือเสมือนดั่งมักได้ในสิ่งที่มิควรได้ฉันใด ย่อมจักนำมาซึ่งความวิบัติฉันนั้น ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ชักบ้านขึ้นบันไดไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่วางกลอุบายให้ม้าต้ายนำเกวียนที่บรรทุกประทัดและดินดำไปซุ่ม เพื่อช่วยเหลืออุยเอี๋ยนในคราวทำศึกกับลุดตัดกุด

กลยุทธ์ที่ 29 ต้นไม้ผลิดอก

กลยุทธ์ต้นไม้ผลิดอก หรือ ซู่ซ่างไคฮวา (อังกฤษ: Deck the tree with false blossoms; จีนตัวเต็ม: 樹上開花; จีนตัวย่อ: 树上开花; พินอิน: Shù shàng kāi huā) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้แนวรบของพันธมิตร มาสร้างแนวรบป้องกันที่จะกลายเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ตนเอง แม้กองกำลังทหารจะเล็กน้อยก็สามารถทำให้แลดูเสมือนกองกำลังทหารที่ใหญ่โตได้ ดุจเดียวกับนกอินทรีที่ผกผินบินอยู่ในอากาศ เมื่อกางปีกทั้งสองข้างออกก็ช่วยทำให้นกอินทรีแลดูมีท่วงท่าที่สง่าและน่าเกรงขราม เฉกเช่นเดียวกับต้นไม้ที่ไร้ซึ่งดอกแลผล เมื่อนำดอกไม้มาเสียบติดไว้ทำให้ดูสวยงามขึ้น ผู้ที่ไม่ทันสังเกตก็จะไม่รู้ว่าดอกไม้ไม่ใช่ของจริง เป็นเพียงการสร้างสิ่งบังหน้าเพื่อสบโอกาสในการเคลื่อนไหว ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ต้นไม้ผลิดอกไปใช้ได้แก่โจโฉที่ฉวยจังหวะและโอกาสอาศัยพระนามของพระเจ้าหองจูเปียนบังหน้าในการนำกองกำลังทหารปราบปรามแคว้นต่าง ๆ ที่ไม่ยอมขึ้นแก่ตนเอง

กลยุทธ์ที่ 30 สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน

กลยุทธ์สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน หรือ ฝ่านเค่อเหวยจวู่ (อังกฤษ: Make the host and the guest exchange roles; จีนตัวเต็ม: 反客為主; จีนตัวย่อ: 反客为主; พินอิน: Fǎn kè wéi zhǔ) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเปิดช่องสบโอกาสให้สอดแทรก ควรสอดแทรกเพื่อกุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่ายไว้ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ค่อยผันสู่ชัยชนะ" โดยคำว่า "รุก" หมายความถึง "สรรพสิ่งใดในใต้หล้า เคลื่อนอย่าใจร้อนจักเสีย สงบแต่คล้อยตามจักได้ ค่อย ๆ ผันไปช้า ๆ จักเป็นคุณ เคลื่อนดังนี้จึงจะมีผล" โดย "ค่อยผันสู่ชัยชนะ" หมายความถึงการตอกลิ่มเข้าไปในฝ่ายตรงข้ามเพื่อยึดครองอำนาจการบังคับบัญชานั้น จักต้องค่อยเป็นค่อยไปจึงจะบรรลุซึ่งชัยชนะ การใช้อารมณ์วู่ว่ามบุ่มบามทำการใหญ่ไม่เป็นผลดีในการทำศึกสงคราม นอกจากจะเป็นการเปิดช่องโหว่ให้ศัตรูแล้ว ยังเสี่ยงต่อการพ่ายแพ้ในการศึกอีกด้วย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์สลับแขกเป็นเจ้าบ้านไปใช้ได้แก่เตียวสิ้วที่วางกลอุบาลลอบฆ่าโจโฉและเตียนอุยโดยใช้อาสะใภ้ตนเองเป็นเหยื่อล่อให้โจโฉหลงกล
กลยุทธ์ยามพ่าย

กลยุทธ์ที่ 31 สาวงาม

กลยุทธ์สาวงาม หรือ เหม่ยเหรินจี้ (อังกฤษ: The beauty trap; จีนตัวเต็ม: 美人計; จีนตัวย่อ:美人计; พินอิน: Měi rén jì) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีกำลังเข้มแข็ง ในการทำศึกสงครามจำต้องหาหนทางกำจัดแม่ทัพเสียก่อน หากปล่อยไว้จะเป็นภัยในภายหน้า ต่อแม่ทัพที่มีความเฉลียวฉลาด สติปัญญาเป็นเลิศ ชำนาญตำราพิชัยสงคราม รอบรู้ภูมิประเทศและจุดยุทธศาสตร์ เก่งกาจในเชิงยุทธ์ จักต้องโจมตีจุดอ่อนทางใจให้มีอุปสรรค ส่วนแม่ทัพที่หย่อนย่อท้อแท้ กำลังทหารไพร่พลที่กำลังถดถอย ก็จักอ่อนแอแลเสื่อมโทรมพ่ายแพ้ไปเอง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์สาวงามไปใช้ได้แก่อ้องอุ้นที่วางกลอุบายทำลายความสัมพันธ์ของตั๋งโต๊ะและลิโป้บุตรบุญธรรมด้วยการยกเตียวเสี้ยนให้เป็นภรรยา ทำให้ทั้งสองฝ่ายผิดใจกันจนเป็นเหตุให้ลิโป้ฆ่าตั๋งโต๊ะ

กลยุทธ์ที่ 32 ปิดเมือง

กลยุทธ์ปิดเมือง หรือ คงเฉิงจี้ (อังกฤษ: The empty fort strategy; จีนตัวเต็ม: 空城計; จีนตัวย่อ: 空城计; พินอิน: Kōng chéng jì) เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงในยามศึกสงคราม หากกำลังทหารไพร่พลเกิดความอ่อนแอหรือมีกำลังน้อย ยิ่งจงใจแสดงให้ศัตรูเห็นว่าในการศึกมิได้มีการวางแนวป้องกัน ทำให้ศัตรูเกิดความฉงนสนเท่ห์ ไม่กล้าผลีผลามนำกำลังเข้าบุกโจมตี ในสถานการณ์ที่ศัตรูมีกำลังมากกว่า การใช้กลยุทธ์ปิดเมืองเพื่อป้องกันกองทัพตนเองเป็นการเลือกใช้กลยุทธ์ที่มีความพิสดารพันลึกเป็นทวีคูณ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ท่ามกลางแข็งกันอ่อน" โดยคำว่า "แก้" ใช้ควบคู่กับคำว่า "พิสดาร ซ่อนพิสดาร" ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่ศัตรูมีกองกำลังแข็งแรง หากแต่กองกำลังแลไพร่พลอ่อนแอให้จัดกำลังทหารโดยใช้กลยุทธ์ "กลวงยิ่งทำกลวง" เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพิสดารในกลศึกที่ศัตรูคาดการณ์ไม่ถึง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ปิดเมืองไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ถอยทัพหลบหนีสุมาอี้หลังจากม้าเจ๊กเสียเมืองเกเต๋ง โดยแสร้งทำเป็นวางเฉยไม่สะดุ้งสะเทือนกับกองกำลังทหารสุมาอี้ที่ยกทัพติดตามมา

กลยุทธ์ที่ 33 ไส้ศึก

กลยุทธ์ไส้ศึก หรือ ฝ่านเจี้ยนจี้ (อังกฤษ: Let the enemy's own spy sow discord in the enemy camp; จีนตัวเต็ม: 反間計; จีนตัวย่อ: 反间计; พินอิน: Fǎn jiàn jì) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อศัตรูแสร้งวางกลอุบายหลอกล่อให้เกิดการแตกแยกภายในกองทัพ ขาดความไว้ใจ พึงซ้อนกลอุบายสร้างแผนลวงให้ศัตรูเกิดความแตกแยกร้าวฉาน ให้ศัตรูเกิดความระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน ใช้ประโยชน์จากความระแวงแล้วฉกฉวยโอกาสบุกเข้าโจมตีแย่งชัยชนะมาเป็นของตน คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "มีผู้แฝงอยู่ภายใน ไม่เสียหายแก่เรา" โดยคำว่า "ช่วย" หมายความถึงเมื่อมีการช่วยเหลือจากภายในของศัตรู ย่อมเป็นประโยชน์ในการทำศึก จึงเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการบุกเข้าโจมตีศัตรูให้ย่อยยับสิ้นซาก ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ไส้ศึกไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่แสร้งรับชัวต๋งและชัวโฮนายทหารไส้ศึกของโจโฉไว้ในคราวศึกเซ็กเพ็ก และวางกลอุบายซ้อนแผนเผากองทัพเรือของโจโฉจนวอดวาย

กลยุทธ์ที่ 34 ทุกข์กาย

กลยุทธ์ทุกข์กาย หรือ ขู่โร่วจี้ (อังกฤษ: Inflict injury on one's self to win the enemy's trust; จีนตัวเต็ม: 苦肉計; จีนตัวย่อ: 苦肉计; พินอิน: Kǔ ròu jì) เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงโดยสามัญสำนึกของมนุษย์ทั่วไป ย่อมไม่มีผู้ใดยากทำร้ายตนเอง หากบาดเจ็บก็เชื่อว่าคงเกิดจากการถูกทำร้าย ถ้าหากแม้นสามารถทำเท็จให้กลายเป็นจริง หลอกให้ศัตรูหลงเชื่อโดยไม่ติดใจสงสัย กลอุบายย่อมจะสัมฤทธิ์ผล การแสร้งทำให้ศัตรูหลงเชื่อ ก็พึงเข้าใจในจุดอ่อนของศัตรู ทำเท็จให้จริงจัง ให้เชื่อจริงแท้ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "อาศัยจุดอ่อนแห่งจิต ลู่ตามจึงพิชิต" โดยคำว่า "ปิด" หมายความถึงการอาศัยความไร้เดียงสาของทารก หลอกล่อโดยโอนอ่อนผ่อนตามไป ก็จักลวงให้ศัตรูหลงเชื่อและบรรลุตามความประสงค์ที่ตั้งไว้ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ทุกข์กายไปใช้ได้แก่อุยกายที่ยอมเสียสละร่างกายให้จิวยี่โบยหนึ่งร้อยที และแสร้งทำเป็นยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉเพื่อให้จิวยี่และจูกัดเหลียงใช้ไฟทำลายกองทัพเรือของโจโฉในคราวศึกเซ็กเพ็ก

กลยุทธ์ที่ 35 ลูกโซ่

กลยุทธ์ลูกโซ่ หรือ เหลียนหวนจี้ (อังกฤษ: Chain stratagems; จีนตัวเต็ม: 連環計; จีนตัวย่อ:连环计; พินอิน: Lián huán jì) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อกองกำลังศัตรูมีพละกำลังที่เข้มแข็งกว่าหลายเท่า จักปะทะด้วยกำลังมิได้โดยเด็ดขาด พึงใช้กลอุบายนานาให้ศัตรูต่างถ่วงรั้งซึ่งกันและกัน ทำลายความแข็งแกร่งของศัตรูหรือร่วมมือกับพลังต่าง ๆ ร่วมโจมตีเพื่อขจัดความฮึกเหิมของศัตรูให้หมดสิ้นไป คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า"แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์" ซึ่งหมายความว่าแม่ทัพผู้ปรีชาสามารถในการศึก ย่อมสามารถจะบัญชาการศึกสงครามได้อย่างคล่องแคล่วดุจดั่งตามคำ "ความประสงค์ของฟ้า" จักต้องได้รับชัยชนะในการศึกสงครามเป็นมั่นคง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ลูกโซ่ไปใช้ได้แก่โจโฉวางกลอุบายลอบโจมตีอ้วนเสี้ยวด้วยการตัดกำลังเสบียงของอ้วนเสี้ยวจนแตกพ่าย

กลยุทธ์ที่ 36 หลบหนี

กลยุทธ์หลบหนี หรือ โจ่วเหวยซ่าง (อังกฤษ: If everything else fails, retreat; จีนตัวเต็ม:走為上; จีนตัวย่อ: 走为上; พินอิน: Zǒu wéi shàng) เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงเมื่อทำการศึกสงครามกับศัตรู หากศัตรูมีกองกำลังทหารที่เข้มแข็ง มีกองทัพที่แข็งแกร่ง ชำนาญภูมิศาสตร์ อาจจะถอยร่นหลบหนีอย่างรวดเร็วเพื่อหลบเลี่ยงการปะทะและการเผชิญหน้า คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม" ซึ่งเป็นการชี้ชัดว่าการถอยหนีในการทำสงครามนั้น มิใช่ความผิดผลาด หากแต่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญในการทำศึก ที่มักจะพบเห็นเสมอ การถอยหนีเป็นการถอยเพื่อหาหนทางหลีกเลี่ยงความเสียหาย แลหาโอกาสชิงตอบโต้ในภายหลัง มิใช่เป็นการถอยหนีอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์หลบหนีไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ลอบหลบหนีจิวยี่ภายหลังจากทำพิธีเรียกลมสลาตันที่เขาลำปินสานเพื่อใช้ไฟเผากองทัพเรือโจโฉในคราวศึกเซ็กเพ็ก

บทความที่เกี่ยวข้อง: