ทัศพล แบเวเว็ลด์ หรือ "โจ" นักธุรกิจวัย 44 ปีที่สังคมพากันตั้งคำถามมาตลอดว่า ด้วยวัยเพียงเท่านี้ประสบความสำเร็จเร็วขนาดนี้ได้อย่างไรในฐานะนักบริหาร การบินธุรกิจซึ่งขึ้นชื่อว่าหินสุด ๆ
เขาอธิบายโดยใช้ศาสตร์พื้นฐาน ว่า ถึงจะอายุน้อยกว่าเจ้านายหรือลูกน้อง แต่อายุของซีอีโอก็เป็นแค่ตัวเลข หลักการบริหารสำคัญที่สุด คือ "คำพูดต้องเป็นนายเหมือนลายเซ็น" เมื่อพูดอะไรออกไปต้องรับผิดชอบคำพูดเหล่านั้น เหมือนกับการเซ็นชื่อย่อมมีผลบังคับใช้ในทางกฎหมายเอาผิดได้
เขาเล่า ด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้มบ่งบอกถึงความภาคภูมิใจที่ซ่อนลึกอยู่ในจิตวิญญาณว่า ประสบการณ์สุดท้ายในค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิค คือการ "บริหาร ศิลปิน" และหัวใจสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจก็คือ การ "บริหารคน" ถ้าผ่านการบริหารศิลปินที่โชกโชนต่อโลกมาได้ก็สามารถทำอะไรได้ทั้งหมด
ความ ทรงจำอันเลวร้ายของทัศพลที่หนักหนาสาหัส คือ 3 ปีแรกช่วงเข้าสู่วงการบินธุรกิจขาดทุนแทบกระอักเลือด เขาถูกบีบกึ่งบังคับทั้งจากต้นทุนน้ำมันและการเมืองจนถึงขั้นแพ้ภัยตนเองขาด ทุนย่อยยับ
เมื่อปี 2550 ขาดทุนถึง 5,000 ล้านบาท แต่ก็หาทางออกได้เร็วจนกระทั่ง วันนี้เหลือหนี้แค่ 1,000 ล้านบาท
เขา บอกว่าตอนนั้นต้องเอาโฉนดบ้านไปจำนอง นำเงินมาจ่ายพนักงานตามสัญญาต้องได้เงินทุกวันที่ 27 ของทุกเดือน ความช้ำใจมากสุดคือตอนเดินไปคุยกับแบงก์เพื่อขอทำ OD นำเงินล่วงหน้าออกมาหมุนเวียน ปรากฏว่าไม่มีแบงก์ไหนในไทยเห็นใจสักเจ้า
ต่าง จากวันนี้พอแบงก์ไทยรู้ว่ามีเงินสดหมุนเวียน 3,000 ล้านบาท พนักงานแบงก์เดินมาหากันให้ควัก อ้อนวอนให้นำเงินไปฝากแบงก์เหล่านั้น ผมสวนออกไปทันทีว่า...ส.ต.เถอะ ตอนเป็นหนี้ขอความช่วยเหลือไม่เคยชายตามองพอมีเงินมารุมตอมกันใหญ่
เป็นหัวอกและประสบการณ์ของ ซีอีโอวัย 44 ปี ไทย แอร์เอเชียที่วันนี้ผงาดขึ้นมาโลว์คอสต์เบอร์ 1 เอเชีย
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4283 ประชาชาติธุรกิจ |