เจาะเทรนด์ยักษ์จีนตะลุยซื้อบริษัทต่างชาติ

ถ้าหากใครอยากรู้ว่าทำไมมหาอำนาจอย่างจีน ถึงเดินหน้าซื้อธุรกิจต่างชาติเสียยกใหญ่ อาจต้องอาศัยเศรษฐศาสตร์ตุ๊กตาบาร์บี้ช่วยอธิบายแนวคิดนี้ เพื่อช่วยให้เข้าใจว่าทำไมบริษัทของจีนจึงพยายามซื้อกิจการแบรนด์ดังๆ อาทิ วอลโว่ เมื่อเร็วๆ นี้


เจ้าหน้าที่จีนและภาคธุรกิจได้อ้างการ วิเคราะห์ของตง เทา นักเศรษฐศาสตร์ของยูบีเอส ที่ให้ข้อมูลว่า ตุ๊กตาพลาสติกรูปผู้หญิงขายในราคา 20 ดอลลาร์ ขณะที่ผู้ผลิตจีนทำเงินได้เพียง 35 เซนต์จากยอดขายดังกล่าวเท่านั้น จึงสร้างบทเรียนที่ว่า "เงินก้อนใหญ่อยู่ที่แบรนด์ ไม่ใช่แค่รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทต่างชาติ"


การซื้อกิจการต่างชาติครั้งใหญ่ของจีน เป็นผลงานของบริษัทของรัฐบาล ซึ่งลงทุนในเหมืองแร่และแหล่งน้ำมัน เพื่อหาซัพพลายให้เพียงพอกับความต้องการวัตถุดิบในประเทศที่เศรษฐกิจกำลัง เติบโตอย่างรวดเร็ว


แต่บริษัทเอกชนที่มีความทะเยอทะยาน กำลังซื้อแบรนด์ต่างชาติด้วยความหวังจะผลักดันการพัฒนาของตัวเองเพื่อแข่ง ขันกับคู่แข่งต่างชาติ โดยเทรนด์นี้เริ่มขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่ากำลังเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน และอาจได้รับปฏิกิริยาเชิงลบในต่างประเทศ ขณะที่ตัวผู้ซื้อกิจการเอง บางครั้งก็มีประสบการณ์ระดับโลกน้อย และต้องดิ้นรนเพื่อสร้างความสำเร็จหลังซื้อกิจการมาครอบครองแล้วเช่นกัน


เหอ อวีซิน นักวิเคราะห์ของดราโกโนมิคส์ บริษัทวิจัยในปักกิ่ง แสดงความคิดเห็นว่า ปัจจุบันมีบริษัทจีนจำนวนมากติดอันดับฟอร์จูน 500 และบริษัทต้องการทำดีลบางอย่างเพื่อสะท้อนชื่อเสียงระดับนานาชาติ


ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้พยายามกระตุ้นบริษัทในประเทศให้คิดการใหญ่และขยายธุรกิจไปในต่าง ประเทศ เพื่อสร้างความหลากหลายของเศรษฐกิจ การลงทุนโดยตรงของต่างชาติ (FDI) ในจีนพุ่งขึ้นกว่า 2 เท่าในช่วงปี 2550-2551 เป็น 55.9 พันล้านดอลลาร์ และคาดกันว่าตัวเลขในปีนี้จะสูงกว่านั้นอย่างแน่นอน


การเข้าไปซื้อกิจการต่างชาติของจีน คล้ายกับแนวทางของญี่ปุ่นในยุคทศวรรษ 1980 ที่ญี่ปุ่นได้ทุ่มเงินซื้อสินทรัพย์อย่างเพบเบิ้ล บีช กอล์ฟ ลิงค์ ในแคลิฟอร์เนีย และร็อกกี้เฟลเลอร์ เซ็นเตอร์ ในนิวยอร์ก ซึ่งดีลเหล่านั้นได้จุดกระแสต่อต้านจากชาวอเมริกันที่หวั่นเกรงว่าญี่ปุ่น กำลังจะครองโลก


แรงต่อต้านที่คล้ายๆ กันเกิดขึ้นกับดีลขนาดยักษ์ของจีนบางดีล อีกทั้งยังมีการถกกันว่าจีนจะทำผิดพลาดเหมือนกับญี่ปุ่นหรือไม่ ในกรณีที่ว่าซื้อสินทรัพย์ในราคาสูงเกินจริง และบริษัทไม่สามารถบริหารจัดการได้


ฮัว เจียงกัว ประธานสภาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของจีน มองว่า จีนจะเผชิญกับแรงต้านที่มากขึ้นในต่างประเทศ หากพยายามซื้อหุ้นใหญ่ในธุรกิจที่มีความอ่อนไหวหรือเป็นกระดูกสันหลังของ ประเทศนั้นๆ แต่หากโครงการดังกล่าวตั้งอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกันและสร้างรายได้ภาษีและ สร้างงานให้แก่คนท้องถิ่น จีนก็จะได้รับการต้อนรับในต่างประเทศ


โดยดูได้จากบรรดาบริษัทที่ขาด สภาพคล่องทางการเงินที่ยินดีต้อนรับการลงทุนหรือการเข้าซื้อกิจการของบริษัท จีน อาทิ เช่น เจนเนอรัล มอเตอร์ส ที่รีบตะครุบโอกาสขายแบรนด์ "ฮัมเมอร์" ให้กับเสฉวน เทิงจง เฮฟวี่ อินดัสเทรียล แมชีนเนอรี คอร์ป ทว่าสุดท้ายรัฐบาลแดนมังกรไม่อนุมัติดีลดังกล่าว


นอกจากนี้บริษัทจีนยังไล่ซื้อแบรนด์ ดังอีกหลายแบรนด์ เช่น นานจิง ออโต้ กรุ๊ป ซื้อกิจการสปอร์ตคาร์ "เอ็มจี" ของอังกฤษ ขณะที่ ปักกิ่ง ออโต้โมทีฟ อินดัสทรี โฮลดิ้งก์ ซื้อเทคโนโลยีหลักของ "ซาบ ออโตโมบิล" จากเจนเนอรัล มอเตอร์ส ซึ่งดีลนี้ไม่รวมแบรนด์ซาบ หรือโรงงาน แต่การเข้าไปผูกพันกับค่ายรถยนต์ดังของสวีเดน จะสร้างคุณสมบัติพิเศษสำคัญให้กับค่ายรถยนต์จีนในตลาดท้องถิ่น


การเร่งขยายอาณาจักรในต่างประเทศของ บริษัทจีน เกิดขึ้นในช่วงที่บรรดาบริษัทต่างชาติในจีนระบุว่า บรรยากาศการทำธุรกิจในประเทศไม่ดีสำหรับตน โดยรายงานฉบับล่าสุดของหอการค้าอเมริกัน ประจำประเทศจีนกล่าวโทษว่ารัฐบาลปักกิ่งกำลังปิดโอกาสของบริษัทต่างชาติใน หลายตลาด โดยหวังหนุนบริษัทจีนแทน


อย่างไรก็ตามแอนดี้ เซีย นักเศรษฐศาสตร์อิสระในเซี่ยงไฮ้ ไม่คิดว่า 2 ปรากฎการณ์นี้จะเกี่ยวข้องกัน โดยระบุว่า เป็นเพียงการทะยานขึ้นมาของบริษัทรัฐบาล นโยบายหนุนบริษัทรัฐบาลมากกว่า และบริษัทเอกชนของจีนก็กำลังเผชิญกับปัญหาเดียวกัน


แต่จีนอาจกระตุ้นให้เกิดกระแสต่อ ต้านการกีดกันทางการค้า หากรัฐบาลควบคุมตลาดในประเทศ ขณะนี้เร่งขยายตลาดแบบเชิงรุกในต่างประเทศ


ด้านปีเตอร์ ธอร์ป หุ้นส่วนจัดการเอเชียของบริษัทกฎหมายอัลเลน แอนด์ โอเวอรี่ มองว่า การลงทุนในต่างประเทศของจีนยังคงเกิดจากบริษัทของรัฐบาล และเป็นการลงทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน


แต่รูปแบบการลงทุนจะเปลี่ยนแปลงใน อนาคตอันใกล้ โดยจะมีนักลงทุนและบริษัทเอกชนมากขึ้น หันไปลงทุนในด้านไบโอเทคโนโลยี เกษตรกรรม และเภสัชภัณฑ์ พร้อมเปิดเผยว่าปัจจุบัน ครึ่งหนึ่งของธุรกิจของสำนักงานในจีนของบริษัทตนเอง เกี่ยวข้องกับการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทจีน


"ไม่มีใครมั่นใจว่าอะไรจะเป็นธุรกิจ ที่ร้อนแรง แต่สิ่งที่เห็นตอนนี้คือ อสังหาริมทรัพย์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่กำลังแอคทีฟมากขึ้น" นอกจากนี้ ในช่วงไม่นานมานี้ ดีลใหญ่ๆ ก็เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วย


เมื่อบริษัทเจ้อเจียง จีลี่ โฮลดิ้ง กรุ๊ป ซื้อกิจการของวอลโวในราคา 1.8 พันล้านดอลลาร์ โดยเหอ นักวิเคราะห์ของดราโกโนมิคส์ชี้ว่ามีเหตุผลสำคัญ 2 ประการที่ทำให้บริษัทจีนลงทุนในต่างประเทศ คือ ประการแรก เป็นการซื้อกิจการในราคาถูก โดยได้ครอบครองแบรนด์ที่แข็งแกร่งในราคาที่ดี และประการที่ 2 คือ จีลี่ได้เทคโนโลยีซึ่งจะเสริมสร้างฐานะของบริษัทในตลาดจีน


ซึ่งคล้ายกับกรณีของเลอโนโว กรุ๊ป บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อันดับ 4 ของโลก ที่ซื้อธุรกิจพีซีของไอบีเอ็ม เมื่อปี 2548 ซึ่งช่วยให้บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นในตลาดจีน


ขณะที่ดีลซื้อกิจการรายอื่นๆ ถูกขับเคลื่อนด้วย "ความสิ้นหวัง" ของบริษัทที่ต้องดิ้นรนในภาวะที่มีมาร์จิ้นกำไรน้อยมาก ทั้งยังเผชิญกับอุปสรรคในการเติบโตในจีน ตัวอย่างเช่น ทีซีแอล กรุ๊ป ตั้งบริษัทร่วมทุนกับทอมสัน จากฝรั่งเศส และอาร์ซีเอ เมื่อปี 2546 ทว่าสุดท้ายการเป็นพันธมิตรดังกล่าวกลับห่างไกลจากเป้าหมายของการเป็นผู้ ผลิตโทรทัศน์ขายดีอันดับ 1 ของโลก โดยแบรนด์ทอมสันทำธุรกิจได้ไม่ดีในสหรัฐและยุโรป อีกทั้งยังไม่มีข้อได้เปรียบเชิงเทคนิคในตลาดจีนด้วย


การศึกษาการซื้อและควบรวมกิจการของ บริษัทจีน โดยอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต ระบุว่า บริษัทจีนยังคงเผชิญกับอุปสรรคสำคัญบางประการในการลงทุนในต่างประเทศ โดยข้อหนึ่งคือ บริษัทที่จดทะเบียนในจีนแผ่นดินใหญ่ต้องขออนุมัติจากรัฐบาลจีนเมื่อต้องการ ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งสร้างความล่าช้าสำหรับบริษัทจีนในการแข่งขันกับผู้ท้าชิงจากยุโรปและ อเมริกาซึ่งมีประสบการณ์ในการเจรจาและจัดหาเงินทุน


รายงานซึ่งสำรวจความคิดเห็นของผู้ บริหารจีน 110 คน พบว่า 82% ระบุว่า การขาดความเชี่ยวชาญด้านการบริหารเป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการลงทุนในต่าง ประเทศ ขณะที่มีเพียง 39% ที่รู้ว่าต้องทำอย่างไรเพื่อผนวกบริษัทต่างชาติที่ซื้อมา เข้ากับบริษัทของตนเอง


สตีเฟ่น จอส์ค ผู้อำนวยการฝ่ายบริการคาดการณ์จีนของอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต แสดงความคิดเห็นว่า การซื้อกิจการของจีนในช่วงที่ผ่านมาหลายดีลจะมีปัญหา "เราต้องรอดู แต่มันจะไม่ใช่กระบวนการง่ายๆ จีนต้องมีกระบวนการเรียนรู้อีกยาวเพื่อก้าวผ่าน ในแง่ของการเรียนรู้การบริหารตลาดต่างประเทศ และบริหารบริษัทต่างชาติในตลาดเหล่านั้น"

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์