พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก


คาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก มีคำกล่าวในหนังสือนำว่า ผู้ใดมีไว้ประจำบ้านเรือน มีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลก และป้องกันภยันตรายต่างๆ ทำมาหากินเจริญ 

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกคือขุมทรัพย์ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ผู้ใดได้สร้างยอดพระกัฒฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทานและได้สวดมนต์สักการะบูชาผลานิสงส์สุดที่จะพรรณนาให้ทั่วถึงได้ เป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ จะมีความสุขสิริสวัสดิ์เจริญต่อไปทั้งในปัจจุบันกาลและอนาคตกาลภายภาคหน้าตลอดบุตรหลานสืบไป ด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้ หรือสวดครบ 7 วัน ครบอายุปัจจุบันของตนจะบังเกิดโชคลาภ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง

ผู้ใดตั้งจิตเจริญเมตตาภาวนายอดพระกัณไตรปิฎกวันละสามจบ จะไม่มีบาปกรรม ทำสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา สวดวันละเจ็ดจบกระดูกลอยน้ำได้ (ของเก่า)

ประวัติกล่าวไว้ต้นฉบับเดิมว่า

หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกค่ำเช้าแล้ว ผู้นั้นจะไม่ตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือนก็ป้องกันอันตรายต่างๆ จะภาวนาพระคาถาอื่นๆ สัก 100 ปีอานิสงส์ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าอินทร์ พรหม ยมยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธ์จะเนรมิต แผ่นอิฐ เป็นทองคำ ก่อเป็นพระเจดีย์ ตั้งแต่มนุษยโลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ ก็ยังไม่เท่าภาวนาพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ และมีคำอธิบาย คุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมนั้นอีกหลายประการ 

ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลกจารึกเป็นอักษรขอม จารึกไว้ในใบลาน จึงแปลเป็นอักษรไทย หลวงธรรมาธิกรณ์ (พระภิกษุแสง) ได้มาแต่ท่าฯศิลาอาสน์ มณฑล พิษณุโลก ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์ สร้างถวาย ภิกษุ สงฆ์ สามเณร ญาติ มิตรสหาย หรือสวดจนครบ 7 วันครบอายุปัจจุบันของตนจะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง



พิธีไหว้พระและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

ก่อนเข้าห้องบูชาพระควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ ๓ หน แล้วสงบจิตระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเล่มด้านซ้ายต่อไป จุดธูป ๓ ดอก เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้วเอาจิต (นึกเห็น) พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่ง ชายพึงนั่งคุกเข่า หญิงนั่งท่าเทพนม ประนมมือ ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า ไตรสรณคมน์และนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก จะเพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต พึงทราบด้วยว่า การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการขออย่าได้ทำเล่น จะเกิดโทษแก่ตนเอง ยิ่ง ทำ ยิ่ง ได้ ยิ่ง ให้ ยิ่ง มี

คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ



คำนมัสการพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ ๑ หน)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ ๑ หน)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ ๑ หน)

คำนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

คำนมัสการไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

คำนมัสการพระพุทธคุณพระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสามระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ



พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (ต้นฉบับเดิม)

1. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะ โสภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชา จะระณะ สัมปันโน วัจจะ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะ โส ภะคะวาฯ


2. อะระหัน ตัง สะระณัง คัจฉามิ
อะระหัน ตัง สิระสาสัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
วิชชาจะระณะ สัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ
วิชชาจะระณะ สัมปันนัง สิระสา นะมามิ
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
สุคะตัง สิระสา นะมามิ.
โลกะวิทู สะระณัง คัจฉามิ
โลกะวิทู สิระสา นะมามิ


3. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะ สาระถิ วัจจะ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะ มะนุสสานัง วัจจะ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะ โส ภะคะวาฯ


4. อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
ปุริสะธัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
ปุริสะธัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทธัง สิระสา นะมามิ อิติปิ โส ภะคะวา ฯ


5. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะ ขันโธ อะนิจจะ ลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนา ขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญา ขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระ ขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะ ขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวาฯ


6. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีจักกะวาฬะจาตุ มะหาราชิกา ตาวะติงสาธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา เตโช จักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสาธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสาธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสาธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกา วาฬะจาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ


7. อิติปิ โส ภะคะวา ยามา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ


8. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะนะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ


9. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ


10. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สักกิทาคาปฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ


11. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะปฏิผะละ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สักกิทาคาอะระหัตตะ ปฏิผะละ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปฏิผะละ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะ ปฏิผะละ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ


12. กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชัมภูทีปัญญาจะ อิสระโร กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะ นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง อา ปา มะ จุ ปะ ที มะ สัง อังขุ สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะ สะเห ปาสายะ โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิเตชะ สุเนมะ ภูจะนา วิเว อะสัง วิสุโล ปุสะพะภะ อิสะวาสุ สุสะวาอิ กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิฯ


13. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญจะ อิสสะโร ธัมมา


14. กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติสัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติวิชชา จะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตาวิติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมาสัททะ ปัญจะ สัตตะ สัตตา ปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะ ขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิฯ


15. ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุกะยะปะ ปุริสะธัมมะ สาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิฯ


16. นิม มานะระตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะ มะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิฯ


17. ปะระนิม มิตตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิฯ


18. พรหมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ พุทธิลาโลกะ ลากะ กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู สะวาหายะฯ


19. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ วิตติ วิตตะ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะฯ



20. อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มะหาสัปปุริสะสาวัง พุทธสาวัง ปัจเจกะพุทธสาวัง อะระหัตตะวาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุฯ



21. สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ฐานังสีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง จะตุวีสะติ เสนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู สะวาหายะฯ


22. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิ โส ภะคะวาฯ


23. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวาตาธัมโมฯ


24. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวาตาธัมโมฯ


25. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวาโต สาวะกะสังโฆฯ


26. นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะ กะสังโฆ วาหะปะริตตัง.


27. นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะ ตัสสะ หาโยโมนะ อุอะมะ ทุกขัง อนิจจัง อะนัตตา อุอะมะอา วันทา นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อนิตจัง อนัตตาฯ


คำกรวดน้ำ ของยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าได้สร้างและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ขอให้ค้ำชูอุดหนุนคุณบิดา มารดา พระมหากษัตริย์ ผู้มีพระคุณ ญาติกา ครูอุปปัชฌา อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร และมิตรรักสนิทเพื่อน สรรพสัตว์น้อยใหญ่ พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พญายมราช นายนิริยบาลท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริคุตอำมาตย์ ชั้นจาตุมมะหาราชิกาเบื้องบนสูงสุดจนถึงภวัคคะพรหม และเบื้องล่างต่ำสุด ตั้งแต่โลกันตมหานรกและอเวจีขึ้นมา จนถึงโลกมนุษย์ สุดรอบขอบจักรวาล อนันตจักรวาล คุณพระศรีรัตนะตรัยและเทพยดาทั้งหลายตลอดทั้ง อินทร์ พรหม ยมยักษ์คนธรรพ์ นาคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ ท่านทั้งหลาย ที่ต้องทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์ท่านทั้งหลายที่ได้สุข ขอให้ได้สุขยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศให้ไปนี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบัน และอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญฯ
พุทธัง อะนันตัง ธัมมัง จักกะวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโย โหนตุ

พุทธพจน์ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า





พุทธพจน์ หรือพระดำรัสของพระพุทธเจ้า, คำพูดของพระพุทธเจ้า จัดเป็นหลักแห่งพระพุทธศาสนา เป็นเครื่องอ้างอิงเทียบเคียงว่าคำสอนใดเป็นสัทธรรมแท้ (พุทธพจน์) หรือเป็นสัทธรรมเทียม (สัทธรรมปฏิรูป) เพราะคำสอนที่เป็นสัทธรรมแท้นั้นต้องเป็นไปเพื่อคลายกำหนัด เพื่อกำจัดทุกข์ เพื่อไม่สั่งสมกิเลส เพื่อมักน้อย เพื่อสันโดษ เพื่อสงัดจากหมู่เพื่อความเพียร และเพื่อเลี้ยงง่าย ถ้าตรงกันข้าม พึงรู้ว่าเป็นสัทธรรมเทียม


ข้อ 1.

โจรกับโจร คนคู่เวรกัน พบกันเข้า พึงทำความพินาศและความทุกข์ใดแก่กัน
จิตที่ตั้งไว้ผิด ทำแก่คน เลวร้ายยิ่งกว่านั้น
จิตที่ตั้งไว้ถูกต้อง ทำคนให้ประเสริฐ ประสบผลดี ยิ่งกว่าที่มารดาบิดา
หรือญาติทั้งหลายใด ๆ จะทำให้ได้
ข้อ 2.
ความแปรเปลี่ยนจากของรักของชอบใจทุกอย่าง จะต้องมี
ฉะนั้นจะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นมีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนสลายเป็นธรรมดา
เป็นไปไม่ได้ที่จะปรารถนาว่า ของสิ่งนั้น อย่าเสื่อมคลายไปเลย
ข้อ 3.
ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์
สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน
อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะเศร้าโศกไปทำไม
ข้อ 4.
ศรัทธาในพระตถาคตของผู้ใดตั้งมั่นอย่างดี ไม่หวั่นไหว
และศีลของผู้ใดงดงาม เป็นที่สรรเสริญที่พอใจของพระอริยเจ้า
ความเลื่อมใสของผู้ใดมีในพระสงฆ์ และความเห็นของผู้ใดตรง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของเขาไม่เปล่าประโยชน์
ข้อ 5.
ทุกข์มีเพราะยึด
ทุกข์ยึดเพราะอยาก
ทุกข์มากเพราะพลอย
ทุกข์น้อยเพราะหยุด
ทุกข์หลุดเพราะปล่อย
ข้อ 6.
คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา คนพูดมาก เขาก็นินทา
แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
ข้อ 7.
ภูเขาศิลาแห่งเดียว ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยลมฉันใด
บัณฑิตทั้งหลาย ก็ไม่หวั่นไหวด้วยการนินทา สรรเสริญ ฉันนั้น
ข้อ 8.
แม้กายจะกระสับกระส่าย ก็อย่าให้จิตกระสับกระส่าย
ข้อ 9.
ภิกษุเกิดมีอาพาธเล็ก ๆ น้อย ๆ เธอ (จึง) มีความคิดอย่างนี้ว่า
เรามีอาพาธเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้ว มีทางเป็นไปได้ที่อาพาธของเรา
อาจหนักเพิ่มขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด
ข้อ 10.
กาลล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป ช่วงแห่งวัยละไปตามลำดับ
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ ควรละโลกามิส มุ่งสู่สันติเถิด
ข้อ 11.
จะมีชีวิตอยู่ ก็ไม่เดือดร้อน ถึงจะตาย ก็ไม่เศร้าสร้อย
ถ้าเป็นปราชญ์ มองเห็นที่หมายแล้ว ถึงอยู่ท่ามกลางความเศร้าโศก ก็หาโศกเศร้าไม่
ข้อ 12.
ข้าพเจ้าไม่มีความชั่ว ซึ่งทำไว้ ณ ที่ไหน ๆ เลย เพราะฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง
ข้อ 13.
คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
ข้อ 14.
ผู้ใดทำการโดยรู้ประมาณ ทราบชัดถึงกำลังของตน แล้วคิดการเตรียมไว้รอบคอบ
ทั้งโดยแบบแผนทางตำรา โดยการปรึกษาหารือ และโดยถ้อยคำที่ใช้พูดอย่างดี
ผู้นั้นย่อมทำการสำเร็จมีชัยอย่างไพบูลย์
ข้อ 15.
ความรู้จักพอ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ข้อ 16.
นรชนผู้มีปัญญา อยู่ใกล้กับความทุกข์แล้ว ไม่พึงตัดความหวัง
เพราะนั่นคือหนทาง แห่งความเจ็บปวดและความตาย
โภคทรัพย์ทั้งหลายของสตรีหรือของบุรุษ หาสำเร็จได้ด้วยความคิดไม่
หากแต่สำเร็จได้ด้วยความเพียร
ข้อ 17.
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย (พุทธทาสภิกขุ)
ข้อ 18.
พึงใส่ใจแต่ส่วนดี
บุคคลใดมีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์
แต่มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
ความประพฤติทางวาจาที่ไม่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด
ไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นในเวลานั้น
ส่วนความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ของเขาส่วนใด
ภิกษุก็พึงใส่ใจแต่ส่วนนั้นในเวลานั้น
เปรียบเสมือนสระน้ำที่ถูกสาหร่ายและแหนคลุมไว้
คนเดินทางมาถูกความร้อนกระทบ ร้อนอบอ้าว
เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาจึงลงสระน้ำนั้น
แหวกสาหร่ายและแหนด้วยมือทั้งสอง
แล้วกอบน้ำขึ้นดื่มแล้วจึงจากไป
ภิกษุพึงกำจัดอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้
ข้อ 19.
ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่พร่ำเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้นผิวพรรณจึงผ่องใส
ส่วนชนทั้งหลายผู้ยังอ่อนปัญญา เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
และหวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงแล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง
เสมือนต้นอ้อสด ที่เขาถอนทิ้งขึ้นทิ้งไว้ในที่กลางแดด
ข้อ 20.
เพราะละความยึดมั่นถือมั่นได้ทั้งหมด ทุกข์จึงไม่เกิด
ข้อ 21.
ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธต่อเราผู้ไม่โกรธอยู่
ท่านมาทะเลาะกับเราผู้ไม่ทะเลาะอยู่ เราไม่รับคำด่าเป็นต้นของท่านนั้น พราหมณ์
ดังนั้นคำด่าเป็นต้นนั้น จึงเป็นของท่านผู้เดียว
ข้อ 22.
พึงชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
พึงชนะคำด่าว่า ด้วยการไม่ด่าว่า
พึงชนะคำตัดพ้อ ด้วยการไม่ตัดพ้อ
พึงชนะความไม่ดี ด้วยความดี
พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
พึงชนะคนพูดเท็จเหลวไหล ด้วยการพูดคำจริง
ข้อ 23.
โภคทรัพย์ย่อมทำลายคนโง่ แต่ทำลายคนที่ใฝ่แสวง “ ฝั่งโน้น ” ไม่ได้
เพราะโลภในโภคทรัพย์ คนโง่ย่อมทำลายคนอื่นและตนเอง
ข้อ 24.
คนผู้มีทรัพย์มาก มีเงินทองของกินเหลือเฟือ
กินของอร่อยเพียงคนเดียว นั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม
ข้อ 25.
เมื่อเรือนถูกไฟไหม้แล้ว เจ้าของเรือนขนเอาภาชนะใดออกไปได้
ภาชนะนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา
ส่วนสิ่งของที่มิได้ขนออกไป ย่อมถูกไฟไหม้ ฉันใด
โลกถูกชราและมรณะแล้ว ก็ฉันนั้น
ควรนำออกด้วยการให้ทาน เพราะทานที่บุคคลให้แล้ว ชื่อว่านำออกดีแล้ว
ข้อ 26.
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
ข้อ 27.
แม้ผู้ใดพึงมีชีวิตอยู่ถึง 100 ปี
ผู้นั้นก็มีความตายอยู่เบื้องหน้า
ความตายไม่ละเว้นใคร ๆ ย่อมย่ำยีสัตว์ทั้งหมดทีเดียว
ข้อ 28.
ผู้ที่มัวเพลินประมาทอยู่กับสิ่งที่ชอบใจ สิ่งที่รักและสิ่งที่เป็นสุข
จะถูกสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่รัก และความทุกข์เข้ามาครอบงำ
สิ่งที่ไม่น่ายินดี มักจะปลอบมาในรูปที่น่ายินดี
สิ่งที่ไม่น่ารัก มักจะมาในรูปแห่งสิ่งที่น่ารัก
ความทุกข์มักจะมาในรูปแห่งความสุข
เพราะดังนี้ คนจึงประมาทมัวเมากันนัก
ข้อ 29.
จงทำงาน ทุกชนิด ด้วยจิตว่า
ยกผลงาน ให้ความว่าง ทุกอย่างสิ้น
กินอาหาร ของความว่าง อย่างพระกิน
ตายเสร็จสิ้น แล้วในตัว แต่หัวที
ท่านผู้ใด ว่างได้ ดังว่ามา
ไม่มีท่า ทุกข์ทน หม่นหมองศรี
ศิลปะ ในชีวิต ชนิดนี้
เป็นเคล็ดที่ ใครคิดได้ สบายเอย (พุทธทาสภิกขุ)
ข้อ 30.
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว เหมือนผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ
ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้า ฉะนั้น
ข้อ 31.
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์
ธรรมเหล่านี้ในหมู่มนุษย์ ล้วนไม่เที่ยง
ไม่มั่นคง มีความแปรผันเป็นธรรมดา
แต่ท่านผู้มีปัญญาดี มีสติ รู้ธรรมเหล่านี้แล้ว
ย่อมพิจาณาเห็นว่า มีความแปรผันเป็นธรรมดา
อารมณ์ที่น่าปรารถนา จึงย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา
ข้อ 32.
ความรักความอาลัยเป็นสาเหตุแห่งทุกข์
เพราะฉะนั้นคนมีรักมากเท่าใด ก็มีทุกข์มากเท่านั้น
มีรักหนึ่งมีทุกข์หนึ่ง มีรักสิบมีทุกข์สิบ
มีรักร้อยมีทุกข์ร้อย
ความทุกข์ย่อมเพิ่มขึ้นตามปริมาณแห่งความรัก
เหมือนความร้อนที่เกิดแต่ไฟ ย่อมเพิ่มขึ้นตามจำนวนเชื้อที่เพิ่มขึ้น
ข้อ 33.
บุคคลประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นได้ชื่อว่า
เป็นฤกษ์ดี มลคลดี เช้าดี อรุณดี ขณะดี ยามดี
และเป็นอันได้ทำบูชาดีแล้ว ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย
แม้กายกรรมของเขาก็เป็นสิทธิโชค
วจีกรรมก็เป็นสิทธิโชค มโนกรรมก็เป็นสิทธิโชค ปณิธานของเขาก็เป็นสิทธิโชค
ข้อ 34.
ถ้าภรรยาและสามี หวังที่จะได้พบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
ทั้งคู่พึงมีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน
พวกเขาย่อมจะได้พบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
ข้อ 35.
มารดาบิดาเป็นพระพรหมของลูก เป็นเทวดาของลูก
เป็นครูคนแรกของลูก เป็นพระอรหันต์ของลูก
ข้อ 36.
ผู้ลอยบาปได้เรียกว่าพราหมณ์
ผู้สงบระงับกิเลสได้เรียกว่าสมณะ
ผู้กำจัดความเศร้าหมองของตนได้เรียกว่าบรรพชิต
ข้อ 37.
ระลึกถึงความตายสบายนัก มันหักรักหักหลงในสงสาร
บรรเทามืดโมหันต์อันธการ ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ (พระศาสนโสภณ)
ข้อ 38.
กาลเวลาก็ล่วงไป คืนวันก็ผ่านไป ช่วงแห่งวัยก็ละไปตามลำดับ
เมื่อมองเห็นภัยในมรณะอยู่ฉะนี้ ควรละอามิสในโลกเสีย มุ่งสู่สันติเถิด
ข้อ 39.
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรกะ
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
ข้อ 40.
คนเป็นอันมากได้พบกันในเวลาเช้า พอเวลาเย็นก็ไม่เห็นกัน
คนเป็นอันมากได้พบกันในเวลาเย็น พอถึงเวลาเช้าก็ไม่ได้เห็นกัน
ควรรีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายว่าจะมีในวันพรุ่งนี้
เพราะการผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้นไม่มีเลย
ข้อ 41.
มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน
แม้ด้วยการยอมสละชีวิตได้ ฉันใด
ผู้ฉลาดในประโยชน์ พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ
ในสัตว์ทั้งปวง ฉันนั้น
ข้อ 42.
นอกจากการแบ่งปันเผื่อแผ่กันแล้ว สัตว์ทั้งปวงหามีที่พึ่งอย่างอื่นไม่
ข้อ 43.
สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวความตาย สัตว์ทั้งปวงย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา
ชีวิตเป็นที่รักของทุกคน เราฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น
สัตว์เหล่านี้ฉันใด เราก็ฉันนั้น นึกถึงเขา เอาตัวเราเข้าเทียบแล้ว
ไม่ควรเข่นฆ่า ไม่ควรให้สังหารกัน
ข้อ 44.
บุรุษผู้เป็นวิญญาณ เมื่อจะคุ้มครองสัจจะ ไม่ควรลงความเห็นในเรื่องนั้น
เด็ดขาดลงไปอย่างเดียวว่า “ อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเหลวไหล ”




บทความที่เกี่ยวข้อง: