พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก


คาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก มีคำกล่าวในหนังสือนำว่า ผู้ใดมีไว้ประจำบ้านเรือน มีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลก และป้องกันภยันตรายต่างๆ ทำมาหากินเจริญ 

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกคือขุมทรัพย์ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ผู้ใดได้สร้างยอดพระกัฒฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทานและได้สวดมนต์สักการะบูชาผลานิสงส์สุดที่จะพรรณนาให้ทั่วถึงได้ เป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ จะมีความสุขสิริสวัสดิ์เจริญต่อไปทั้งในปัจจุบันกาลและอนาคตกาลภายภาคหน้าตลอดบุตรหลานสืบไป ด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้ หรือสวดครบ 7 วัน ครบอายุปัจจุบันของตนจะบังเกิดโชคลาภ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง

ผู้ใดตั้งจิตเจริญเมตตาภาวนายอดพระกัณไตรปิฎกวันละสามจบ จะไม่มีบาปกรรม ทำสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา สวดวันละเจ็ดจบกระดูกลอยน้ำได้ (ของเก่า)

ประวัติกล่าวไว้ต้นฉบับเดิมว่า

หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกค่ำเช้าแล้ว ผู้นั้นจะไม่ตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือนก็ป้องกันอันตรายต่างๆ จะภาวนาพระคาถาอื่นๆ สัก 100 ปีอานิสงส์ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าอินทร์ พรหม ยมยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธ์จะเนรมิต แผ่นอิฐ เป็นทองคำ ก่อเป็นพระเจดีย์ ตั้งแต่มนุษยโลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ ก็ยังไม่เท่าภาวนาพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ และมีคำอธิบาย คุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมนั้นอีกหลายประการ 

ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลกจารึกเป็นอักษรขอม จารึกไว้ในใบลาน จึงแปลเป็นอักษรไทย หลวงธรรมาธิกรณ์ (พระภิกษุแสง) ได้มาแต่ท่าฯศิลาอาสน์ มณฑล พิษณุโลก ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์ สร้างถวาย ภิกษุ สงฆ์ สามเณร ญาติ มิตรสหาย หรือสวดจนครบ 7 วันครบอายุปัจจุบันของตนจะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง



พิธีไหว้พระและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

ก่อนเข้าห้องบูชาพระควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ ๓ หน แล้วสงบจิตระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเล่มด้านซ้ายต่อไป จุดธูป ๓ ดอก เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้วเอาจิต (นึกเห็น) พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่ง ชายพึงนั่งคุกเข่า หญิงนั่งท่าเทพนม ประนมมือ ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า ไตรสรณคมน์และนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก จะเพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต พึงทราบด้วยว่า การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการขออย่าได้ทำเล่น จะเกิดโทษแก่ตนเอง ยิ่ง ทำ ยิ่ง ได้ ยิ่ง ให้ ยิ่ง มี

คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ



คำนมัสการพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ ๑ หน)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ ๑ หน)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ ๑ หน)

คำนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

คำนมัสการไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

คำนมัสการพระพุทธคุณพระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสามระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ



พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (ต้นฉบับเดิม)

1. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะ โสภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชา จะระณะ สัมปันโน วัจจะ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะ โส ภะคะวาฯ


2. อะระหัน ตัง สะระณัง คัจฉามิ
อะระหัน ตัง สิระสาสัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
วิชชาจะระณะ สัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ
วิชชาจะระณะ สัมปันนัง สิระสา นะมามิ
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
สุคะตัง สิระสา นะมามิ.
โลกะวิทู สะระณัง คัจฉามิ
โลกะวิทู สิระสา นะมามิ


3. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะ สาระถิ วัจจะ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะ มะนุสสานัง วัจจะ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะ โส ภะคะวาฯ


4. อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
ปุริสะธัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
ปุริสะธัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทธัง สิระสา นะมามิ อิติปิ โส ภะคะวา ฯ


5. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะ ขันโธ อะนิจจะ ลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนา ขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญา ขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระ ขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวาฯ
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะ ขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวาฯ


6. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีจักกะวาฬะจาตุ มะหาราชิกา ตาวะติงสาธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา เตโช จักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสาธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสาธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสาธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกา วาฬะจาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ


7. อิติปิ โส ภะคะวา ยามา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ


8. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะนะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ


9. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ


10. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สักกิทาคาปฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ


11. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะปฏิผะละ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา สักกิทาคาอะระหัตตะ ปฏิผะละ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปฏิผะละ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะ ปฏิผะละ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโนฯ


12. กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชัมภูทีปัญญาจะ อิสระโร กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะ นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง อา ปา มะ จุ ปะ ที มะ สัง อังขุ สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะ สะเห ปาสายะ โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิเตชะ สุเนมะ ภูจะนา วิเว อะสัง วิสุโล ปุสะพะภะ อิสะวาสุ สุสะวาอิ กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิฯ


13. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญจะ อิสสะโร ธัมมา


14. กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติสัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติวิชชา จะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตาวิติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมาสัททะ ปัญจะ สัตตะ สัตตา ปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะ ขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิฯ


15. ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุกะยะปะ ปุริสะธัมมะ สาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิฯ


16. นิม มานะระตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะ มะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิฯ


17. ปะระนิม มิตตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิฯ


18. พรหมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ พุทธิลาโลกะ ลากะ กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู สะวาหายะฯ


19. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ วิตติ วิตตะ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะฯ



20. อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มะหาสัปปุริสะสาวัง พุทธสาวัง ปัจเจกะพุทธสาวัง อะระหัตตะวาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุฯ



21. สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ฐานังสีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง จะตุวีสะติ เสนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู สะวาหายะฯ


22. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิ โส ภะคะวาฯ


23. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวาตาธัมโมฯ


24. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวาตาธัมโมฯ


25. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวาโต สาวะกะสังโฆฯ


26. นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะ กะสังโฆ วาหะปะริตตัง.


27. นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะ ตัสสะ หาโยโมนะ อุอะมะ ทุกขัง อนิจจัง อะนัตตา อุอะมะอา วันทา นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อนิตจัง อนัตตาฯ


คำกรวดน้ำ ของยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าได้สร้างและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ขอให้ค้ำชูอุดหนุนคุณบิดา มารดา พระมหากษัตริย์ ผู้มีพระคุณ ญาติกา ครูอุปปัชฌา อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร และมิตรรักสนิทเพื่อน สรรพสัตว์น้อยใหญ่ พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พญายมราช นายนิริยบาลท้าวจตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริคุตอำมาตย์ ชั้นจาตุมมะหาราชิกาเบื้องบนสูงสุดจนถึงภวัคคะพรหม และเบื้องล่างต่ำสุด ตั้งแต่โลกันตมหานรกและอเวจีขึ้นมา จนถึงโลกมนุษย์ สุดรอบขอบจักรวาล อนันตจักรวาล คุณพระศรีรัตนะตรัยและเทพยดาทั้งหลายตลอดทั้ง อินทร์ พรหม ยมยักษ์คนธรรพ์ นาคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ ท่านทั้งหลาย ที่ต้องทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์ท่านทั้งหลายที่ได้สุข ขอให้ได้สุขยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศให้ไปนี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบัน และอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญฯ
พุทธัง อะนันตัง ธัมมัง จักกะวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโย โหนตุ