นั่งนานผลาญสุขภาพ



ไม่เชื่อก็ต้องฟัง ๆ กันบ้าง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ออกมาเตือนว่าการนั่งนาน ๆ กำลังสร้างผลเสียให้สุขภาพ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่าย ๆ

แม้แต่คนที่ออกกำลัง กายอย่างสม่ำเสมอที่คิดว่า จะปลอดภัยและมีภูมิต้านทานโรคชั้นเยี่ยมแล้ว ก็ไม่อาจละเลยได้

ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบัน วิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬาในสวีเดน เปิดเผยคำเตือนลงในวารสารการแพทย์เพื่อการกีฬาของอังกฤษว่า แม้จะมีงานศึกษามาก่อนหน้านี้หลายชิ้นแนะนำให้ผู้ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการ นั่งอยู่กับที่ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน ในห้องเรียน ในรถยนต์ หน้าจอโทรทัศน์ หรือจอคอมพิวเตอร์ ล้วนแต่ประสบปัญหากับ ความอ้วน หัวใจวาย และตายได้

พร้อมกับการแนะแนวทางการ ออกกำลังกายด้วยการระบุเวลาขั้นต่ำที่คนทั่วไปควรออกกำลังกาย แต่ยังไม่มีการระบุให้ชัดว่า คนคนหนึ่งควรนั่งอยู่กับที่ไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อวัน

อีลิน เอ็คบลอม-บัค ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬาสวีเดน ให้ข้อมูลว่า หลังจากนั่งอยู่กับที่นาน 4 ชั่วโมง ร่างกายจะเริ่มส่งสัญญาณอันตรายว่า ยีนที่ทำหน้าที่กำกับการทำงานของกลูโคสและไขมันในร่างกายจะหยุดทำงาน

ดังนั้นแพทย์จึงมีคำแนะนำ ให้ทุกคนออกกำลังกาย เพราะจะเป็นประโยชน์กับคุณเองมากที่สุด โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่ทำงาน ยิ่งต้องพยายามหาเวลาลุกเดินบ่อย ๆ เช่น เดินเอาเอกสารไปให้เพื่อนร่วมงานบ้าง หรือแทนที่จะเขียนอีเมล์คุยงานกัน ก็เปลี่ยนเป็นเดินไปคุยกันบ้าง เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้คุณหลุดพ้นภัยจากการนั่งนาน ๆ ได้

ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวจัดทำเมื่อปีที่ผ่านมา ด้วยการติดตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตของกลุ่มตัวอย่างชาวแคนาดา 17,000 คน เป็นเวลาติดต่อกัน 12 ปี และพบว่า คนที่นั่งอยู่กับที่นาน ๆ มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงมาก และไม่สำคัญว่า คนคนนั้นจะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ด้วยซ้ำ

ฟัง ๆ ดูแล้ว ตอนนี้ต้องขอตัว ไปเดินคลายเมื่อย คลายเครียดสักแป๊บนะคะ

โลว์-คาร์บ

ช่วยคนความดันสูง ลดอ้วน

คนที่เป็นโรคความดันและ ต้องการลดความอ้วน ควรเลือกวิธีลดความอ้วนด้วยการใช้สูตร ′ลด′ การรับประทานคาร์โบไฮเดรต หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า ′โลว์-คาร์บ′ เพราะโดยทั่วไปคนเป็นโรคความดันจะได้รับคำแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานยาลดความอ้วนหรือหากต้องการใช้ยาลดความอ้วน ก็ต้องใช้ภายใต้คำสั่งแพทย์

แต่ผลการศึกษาชุดใหม่ของ วิลเลียม เอส. ยานซี่ จูเนียร์ จากศูนย์การแพทย์วี เอ ในนอร์ท แคโรไลนา กลับพบว่า ผู้มีความดันโลหิตสูง ควรลดความอ้วนด้วยการลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรต

หลังจากเก็บผลวิจัยจากผู้ ป่วยความดัน 146 ราย และแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก ให้รับประทานอาหารตามคำสั่งแพทย์ ด้วยการลดความอ้วนด้วยวิธีโลว์-คาร์บ เริ่มจากการค่อย ๆ ลดคาร์โบไฮเดรตให้ต่ำกว่า 20 กรัมต่อวัน ส่วนกลุ่มที่สองให้รับประทานยาลดความอ้วนที่อยู่ภายใต้การกำกับของแพทย์ 120 มิลลิกรัม

หลังจากเก็บข้อมูลได้ 48 สัปดาห์จึงพบว่า กลุ่มโลว์-คาร์บน้ำหนักลดลง 9.5% ขณะที่กลุ่มรับประทานลดความอ้วนน้ำหนักลดลง 8.5% แน่นอนว่า ตัวเลขดังกล่าวดูไม่แตกต่างกันนัก แม้แต่ระดับคอเลสเตอรอลก็ยังไม่อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน

แต่สิ่งที่มีความแตกต่าง กันอย่างเห็นได้ชัดคือ ระดับความดันโลหิต ที่พบว่ากลุ่มโลว์-คาร์บ มีความดันโลหิตลดลง มาอยู่ในระดับที่เป็นปกติ ขณะที่กลุ่มรับประทานยาลดความอ้วนกลับไม่มีผลต่อระดับความดันโลหิตเลย

ด้วยเหตุนี้ แพทย์จึงได้นำข้อสรุปดังกล่าวมาแนะนำให้ผู้มีความดันโลหิตสูงที่ต้องการลด ความอ้วนใช้วิธีลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรต แทนการ รับประทานยาลดความอ้วนเพราะมีทั้งความปลอดภัยและเสียเงินน้อยกว่าด้วย


ประชาชาติธุรกิจ

FW : SWOT ตามราศี แม่นๆ



ราศีมังกร ( 22 ธันวาคม - 19 มกราคม)

จุดแข็ง
1. อ่านคนเก่ง มีลางสังหรณ์แม่นยำ
2. วางตัวดี ยากที่ใครอ่านออก
3. มีอารมณ์ขัน มีวาทศิลป์
4. มีความนอบน้อมถ่อมเคารพผู้อาวุโส
5. มีความซื่อตรงและยุติธรรม
6. รอบคอบ ละเอียดอ่อน
7. ใจบุญสุนทาน มีความรอบรู้ รักพ่อแม่พี่น้องมาก
8. เข้มแข็งแกร่งกล้า แม้จะเป็นคนอ่อนไหวง่าย

จุดอ่อน
1. เจ็บปวดง่าย ยากจะลืมเลือนหรือให้อภัยคนที่ทำร้ายตน
2. ชอบผูกมิตรกับคนแต่ไม่ชอบคบใครจริงจัง
3. ชอบแสดงความสดใสร่าเริง ทั้งที่ในใจรู้สึกโดดเดี่ยว
4. ทนไม่ได้กับการวิพากษ์วิจารณ์หรือการดูถูก
5. ยึดม! ั่นในหน้าที่ จนไม่มีเวลาใช้ชีวิตแบบที่ปารถนา
6. ใช้จ่ายเงินเก่ง
7. เชื่อว่าตนเองถูกเสมอ



ราศีกุมภ์ ( 20 มกราคม - 18 กุมภาพันธ์)


จุดแข็ง
1. มีความเป็นเพื่อนให้ทุกคนอย่างไม่เลือก
2. ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน มีจุดยืนที่มั่นคง
3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไม่เคยดับมอด
4. เด็ดเดี่ยว ไม่ท้อแท้
5. กล้าได้กล้าเสีย แก้ปัญหาเก่ง ไม่ตื่นตกใจง่าย
6. รู้จักกาลเทศะ
7. สร้างจุดสนใจได้ดีเสมอ สร้างความประทับใจให้กับทุกคน
8. สุขุมเยือกเย็น ไม่เคยทำอะไรสะเพร่า



จุดอ่อน
1. ต่อต้านกฎเกณฑ์อย่างจริงจัง จนบางครั้งก้าวร้าว
2. ไม่ลงให้ใครง่ายๆ
3. ไม่แสดงความคิดเห็นของตน แต่เก็บเกี่ยวความคิดของผู้อื่น
4. ชอบเสี่ยง ทั้งที่ไม่มีความมั่นใจเลย
5. ไม่ทนกับคนที่ตนคิดว่าไรสาระ
6. ไม่ชอบแสดงออกทางอารมณ์ แม้แต่จะทำสิ่งที่ดีๆให้กับคนที่ตนรัก
7. คาดหวังสูงกับความเป็นคนมีเสน่ห์และเป็นที่ยอมรับของคนรอบข้าง
8. ชอบคิด ชอบวางแผน แต่ไม่ชอบลงมือทำ



ราศีมีน ( 19 กุมภาพันธ์ - 20 มีนาคม)
จุดแข็ง
1. สามารถดึงเอาความเพ้อฝันมาใช้สร้างสรรค์ได้
2. ปรับตัวได้ดี รู้จักรอมชอม แม้จะฝืนใจตนเองบ้าง
3. วางตัวดี รู้จักพูดจา เป็นผู้ฟังที่ดี
4. ยินดีให้ความร่วมมือกับผู้อื่นแม้จะไม่เห็นชอบด้วยก็ตาม
5. ไม่เรียกร้องความโดดเด่น ไม่ยึดติดว่าตนต้องเป็นผู้นำ
6. มีความอดทน มีศักยภาพที่ไขว้คว้าความสำเร็จ
7. ฉลาดและรู้จักใช้โอกาส



จุดอ่อน
1. อารมณ์เปราะบาง
2. สับสนและเครียดได้สูงเพียงเพราะอารมณ์อ่อนไหวของตน
3. ไม่กล้าทำในสิ่งที่ลึกๆปรารถนา
4. ชอบหลอกตัวเองไม่ยอมรับความจริง
5. พอใจที่จะอยู่ในโลกแห่งจินตนาการมากกว่าโลกแห่งความจริง
6. ชอบหนีปัญหาของตนเอง ทั้งที่สามารถให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาของผู้อื่นได้
7. ไม่ชอบงานหนักหรือภาวะที่บังคับให้ต้องรับผิดชอบสูง
8. ขาดมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังกับชีวิต



ราศีเมษ ( 21 มีนาคม - 19 เมษายน)
จุดแข็ง
1. มีกำลังใจเข้มแข็ง ไม่ท้อถอยง่ายๆ
2. มีน้ำใจไมตรีต่อคนรอบข้าง
3. รู้จักสร้างความสดชื่นรื่นรมย์อยู่เสมอ
4. เป็นผู้นำที่ดี มีความยุติธรรมและซื่อตรงสูง
5. มีความคิดริเริ่มรักอิสระ
6. วางจุดหมายของตัวเองไว้ทุกระยะ
7. สนใจใฝ่รู้ มุ่งไปที่ความสำเร็จมากกว่าเงิน
8. กล้าสู้ปัญหา ยอมรับความกดดันได้ดี



จุดอ่อน
1. เชื่อแต่ความคิดและมุมมองของตนเอง
2. หลงตนเองต้องการเป็นหนึ่งเสมอ
3. อยากควบคุมความคิดคนอื่น เผด็จการพอตัว
4. บางครั้งก้าวร้าวและไม่ใคร่ตรองให้ลึกซึ้ง
5. อ่านคนไม่เก่ง แต่ชอบแข่งขันและชอบเอาชนะ
6. กลังคนไม่ยอมรับ
7. เก็บเงินไม่เก่ง
8. ไม่ค่อยอดทนไม่ชอบอยู่กับความซ้ำซากเป็นเวลานาน



ราศีพฤษภ ( 20 เมษายน - 20 พฤษภาคม)
จุดแข็ง
1. มีความบากบั่นสูง ยากที่จะยอมแพ้หรือเปลี่ยนแปลงจุดยืนของตนเอง
2. เป็นคนมีจิตใจดี ให้เกียรติให้ความสำคัญแก่คนอื่นเสมอ
3. เป็นคนจริงใจ รักมั่นคง รักครอบครัวรักเพื่อน อย่างแท้จริง
4. สามารถเก็บความรู้สึกเกรี้ยวกราดไว้ได้ ยากที่จะแสดงออกว่าไม่พอใจใคร
5. สามาร! ถจัดการชีวิตให้มีระเบียบวินัยอย่างพอเหมาะ
6. เป็นคนมีเหตุผล พูดจริง ทำจริง และไม่ไข่คว้าในสิ่งที่เกินตัว
7. มักไตร่ตรองให้รอบครอบอยู่เสมอ
8. เป็นคนสุภาพนอบน้อม ไม่ใจร้อนวู่วาม



จุดอ่อน
1. คิดและทำอะไรช้า
2. อยากทำตามความคิดตนมากกว่าจะเปลี่ยนแปลงเพราะฟังคนอื่น
3. โกธรได้ง่าย แต่หายยาก
4. ยอมทุ่มเทเงินทองให้กับสิ่งที่ชอบ
5. เจ้าระเบียบ ไม่ชอบให้ใครยุ่งกับคนของตน
6. ไม่ชอบที่จะให้เพื่อนพ้อง พี่น้องชื่นชมใครไปกว่าตน



ราศีเมถุน ( 21 พฤษภาคม - 20 มิถุนายน)
จุดแข็ง
1. มีความสดใสร่าเริง และมีอารมณ์ขันเสมอ
2. ช่างคิด ช่างสังเกต
3. ฉลาดคิดเร็วตัดสินใจเร็ว และไม่ชอบหยุดนิ่ง
4. ไหวพริบด! ี สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีความสามารถในการวางแผน
6. รักการเรียนรู้ สนุกที่จะหาประสบการณ์ ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง
7. สามารถให้ความช่วยเหลือ คำปรึกษา คำแนะนำแก่คนรอบข้างได้
8. เก็บความรู้สึกดี มักไม่แสดงความรู้สึกโกธรออกมา



จุดอ่อน
1. ขาดความมุ่งมั่นและไม่อดทนไม่มีความหนักแน่น
2. ไม่ค่อยเข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงของตน
3. เป็นคนเบื่อง่าย ขาดความจริงจังทั้งที่เป็นคนมีความทะยาน
4. แม้จะเป็นคนคิดการณ์ไกล แต่ไม่ชอบที่จะทำ มักวางมือเสียง่ายๆ
5. กล้าคิด กล้าทำแต่จริงๆแล้วขาดความรอบครอบ
6. ไม่ตรงต่อเวลานัก ไม่ต้องการความรับผิดชอบสูง
7. ขาดพลังในการควบคุมตน





ราศีกรกฎ ( 21 มิถุนายน - 22 กรกฎาคม)
จุดแข็ง
1. เป็นคนมีจิตใจดี ไม่เคยคิดเบียดเบียนทำร้ายใคร
2. สนใจเรื่องแสวงหาความมั่นคงในชีวิตความสำเร็จและความก้าวหน้า
3. รักบ้าน รักครอบครัว รักเพื่อน
4. มีความจำดี มีความรับผิดชอบสูง
5. ขยันขันแข็ง ไม่เหลวไหล
6. ยอมรับระบบระเบียบและกฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง
7. ยืดหยัดตามลำพังได้ด้วยตัวของตัวเองหากต้องเผชิญกับปัญหา
8. มีความละเมียดละไม ใฝ่หาความสุนทรีในชีวิต



จุดอ่อน
1. อ่อนไหวเกินไป เจ็บปวดง่าย เจ้าอารมณ์
2. ขาดเหตุผลเข้มงวดกับคนใกล้ตัวเกินไป
3. ช่างหวาดระแวงและวิตกกังวลเกินควร
4. บางครั้งก้าวร้าวเพราะยึดมั่นในความคิดของตนเกินไป
5. ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ทั้งที่ไม่คิดจะทำร้ายใครเลย
6. ไม่มีความกล้าได้กล้าเสี่ยงเท่าใด
7. มักมองโลกในแง่ร้ายและตัดสินใจเรื่องราวในแง่ลบเสมอ



ราศีสิงห์ ( 23 กรกฎาคม - 22 สิงหาคม)
จุด แข็ง
1. เป็นคนใจกว้างและมีน้ำใจ
2. ไม่ดึงตัวเองลงไปในความเครียด รู้จักสร้างความรื่นรมย์ให้ตนเองและคนรอบข้าง
3. เป็นคนที่มีระเบียบในการใช้ชีวิต
4. มีความทะเยอทะยานมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน
5. มีความมั่นอกมั่นใจและเป็นตัวเองสูง
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าพูดกล้าทำ กล้าเสี่ยง
7. ไม่หวาดกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง
8. ไม่ยอมล้มเหลวหรือพ่ายแพ้



จุดอ่อน
1. บางครั้งทระนงจนไม่ยอมขอโทษ ทั้งที่ตัวเองเป็นฝ่ายผิด
2. ชอบให้ทุกคนยกย่อง เอาอกเอาใจ ต้องการการยอมรับมากไป
3. ให้ความสำคัญกับการเที่ยวเตร่มากกว่าการมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง
4. การเลือกคบคมมากเกินไปจนดูเหมือนดูถูกคนที่ต้อยต่ำกว่า
5. ชอบโอ้อวดและหน้าใหญ่ในบางครั้ง
6. วู่วาม! ใจร้อนไร้เหตุผล
7. มักเห็นแก่ความต้องการของตนเป็นใหญ่เสมอ
8. กล้าคิดกล้าตัดสินใจแต่ขาดความรอบครอบ



ราศีกันย์ ( 23 สิงหาคม - 22 กันยายน)
จุดแข็ง
1. ซื่อสัตย์ภัคดี มีความตั้งใจจริงไม่เอาเปรียบใคร
2. มีความรับผิดชอบสูง ความตั้งใจสูง
3. ยินดีช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักออมเงิน
4. เก่งกาจในการติดต่อสื่อสาร การคิด การวิเคราะห์และการเก็บรายละเอียด
5. สามารถปรับตัวได้ไม่เบื่อหน่ายมีความอดทนสูง
6. เก่งด้านการจัดการ มีมาตรฐานในชีวิต
7. มีความทะเยอทะยานมีเป้าหมายในชีวิตชัดเจน



จุดอ่อน
1. ไม่เชื่อถือและไม่วางใจใครเหมือนกับที่คนอื่นวางใจตน
2. เข้มงวด เจ้าระเบียบ จุกจิกจู้จี้
3. มีความบากบั่นสูง! แต่บางครั้งก็ดันทุรังโดยไร้เหตุผล
4. ด้วยความสามารถในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้บ่อยครั้งช่างตำหนิติเตียนผู้คน
5. มักมีลับลมคมนัยเก็บความรู้สึกและความคิดที่แท้จริงของตนไว้ไม่แสดงออกมา
6. มักหวังสิ่งตอบแทนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
7. เป็นคนเอาใจยาก



ราศีตุลย์ ( 23 กันยายน - 22 ตุลาคม)
จุดแข็ง
1. มีมาตรฐานในการใช้ชีวิตของตนเอง รู้จักวางเป้าหมายและวางแผนอยุ่เสมอ
2. ดูแลชีวิตตนเองให้มีความสุขเสมอ
3. มีวาทศิลป์ มีคารมคมคาย รู้จักการเจรจาต่อรองได้เยี่ยม
4. ไม่ทำตัวขวางโลก
5. มีความเป็นผู้นำ
6. อ่อนโยน แคร์ความรู้สึกของผู้อื่น
7. มนุษย์พันธ์ดีเยี่ยม ค่อนข้างซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกตนเอง



จุดอ่อน
1. การตัดสินใจไม่เด็ดขาดเพราะมักเกิดการโลเล ไม่มั่นใจในตนเอง
2. ปรารถนาความเป็นหนึ่งมากจนเกินไป บางครั้งอาจผิดหวังและอิจฉาผู้อื่นได้
3. บางครั้งสุขุมเกินไปจนดูเหมือนเป็นคนเฉื่อยช้า
4. ยึดถือความถูกต้องเป็นใหญ่จนไม่ประนีประนอมให้เกิดความยืดหยุ่นบาง
5. มีความอ่อนไหวน้อยใจมากพอๆกับความยโส



ราศีพิจิก ( 23 ตุลาคม - 21 พฤศจิกายน)
จุดแข็ง
1. เป็นคนมีระเบียบวินัยและวางมาตรฐานให้กับชีวิตของตนอย่างเคร่งครัด
2. ไม่ชอบให้ใครเข้ามาในโลกส่วนตัวของตนเอง
3. มีความทรงจำเยี่ยม มีสมาธิดี มีความรับผิดชอบ
4. มีน้ำใจไมตรี ยินดีช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ชอบการประจบ
5. เป็นคมมีไหวพริบ
6. รู้จักใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ที่สุด
7. มีจุดยืนและเป้าหมายเด่นชัด



จุดอ่อน
1. ค่อนข้างเข้มงวดกับตนเองและคนอื่นมากไป
2. บางครั้งดูหมิ่นผู้อื่นอยู่ในใจและยากที่จะไว้ใจใคร
3. โมโหร้าย หวาดระแวง ยากที่จะประนีประนอม
4. แม้จะไม่ทำร้ายใครก่อน
แต่ก็มัก จะตอบโต้ด้วยการใช้เล่ห์เหลี่ยมชั้นเชิงอย่างจริงจัง
5. สามารถที่จะลืมความอ่อนโยนกลายเป็นคนก้าวร้าวได้ถ้าไม่พอใจ



ราศีธนู ( 22 พฤศจิกายน - 21 ธันวาคม)
จุดแข็ง
1. มีแนวคิดที่ชัดเจน มีหลักปรัชญาในการดูแลชีวิต
2. มีอารมณ์ขันเสมอ ไม่เครียดง่าย
3. ปรับตัวได้ดีมองการณ์ไกล
4. กล้าเผชิญกับสิ่งแปลกใหม่เสมอ
5. เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น
6. ตรงไปตรงมาไม่มีเล่ห์เหลี่ยมชั้นเชิง



จุดอ่อน
1. เก่งหลายอย่างแต่ไม่มุ่งมั่นซะอย่าง
2. มักเปรียบเทียบตนกับผู้อื่นจนท้อ
3. ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่เก่งเรื่องวางแผน
4. เก็บเงินไม่เก่ง
5. ทนไม่ได้หากถูกมองว่าไม่ชื้อ จะก้าวร้าวถ้าไม่ได้ดั่งใจ
6. บางครั้งใจแคบ ไม่รู้จักกาลเทศะ
7. ไว้ใจคนง่าย ชอบโต้คารม ชอบอวดความคิดตน
8. แม้ปัญญาดีแต่ขาดไหวพริบ

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1264656484&grpid=07&catid=no&sectionid=0225

ข้อคิดจากพิธีเผาศพ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ผมได้ไปเผาศพ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ณ วัดพระศรีมหาธาตุ (วัดที่คณะราษฎรสร้างขึ้น) คงไม่ต้องบอกว่าท่านเป็นภริยาของ ท่านปรีดี พนมยงค์ ผู้นำการปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475 เป็นบุคคลที่สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงแก่ประเทศไทยเกือบทุกด้าน ท่านผู้หญิงพูนศุขสิ้นชีวิตเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2550 พิธีเผาศพของท่านเป็นไปอย่างเรียบง่ายตาม “คำสั่งถึงลูกๆ ทุกคน” 10 ข้อ อันลือลั่นโดยเฉพาะ “ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น” “ ไม่สวดอภิธรรม” ผมได้ข้อคิดจากงานเผาศพท่านหลายประการ จึงใคร่นำมาเขียนสักอย่าง

แต่ก่อนอื่น ขอเริ่มด้วยเรื่องส่วนตัว ผมโชคดีที่ได้รู้จักกับท่านผู้หญิงพูนศุขมาตั้งแต่ท่านยังพำนักที่บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ต่อมา ผมเรียกท่านว่า “คุณยาย” มาตลอด ท่านเมตตาผมและครอบครัวเสมอ เมื่อผมแต่งงานใหม่ๆ ไปกราบเรียนเชิญท่านเป็นประธานพิธีสมรส ท่านก็ยินดี จากการที่ได้รู้จักกับท่านผู้หญิงพูนศุข ผมรู้สึกและมีความคิดเห็นว่าท่านเป็นคนยิ่งใหญ่ มีความคิดจิตใจเปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม ความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว มีหลักการและความเชื่อมั่นประชาธิปไตยอย่างสูง สมเป็นภริยาคู่ชีวิต ของท่านปรีดี พนมยงค์

ใครที่ได้ศึกษาชีวประวัติของท่านปรีดี ย่อมรู้ว่าท่านปรีดีประสบปัญหาความไม่มั่นคงปลอดภัยในชีวิตมาตั้งแต่หลังการปฏิวัติ 2475 โดยถูกกลุ่มอำมาตยาธิปไตยทั้งในและนอกรัฐบาลใส่ร้าย ป้ายสี โจมตีท่านว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ต้องเดินทางไปอยู่ต่างประเทศพักหนึ่ง เมื่อกลับมา ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นนายกรัฐมนตรี ครั้นเกิดคดีสวรรคต รัชกาลที่ 8 ท่านปรีดีก็ถูกใส่ร้ายว่าพัวพันกับคดีนี้ ในที่สุด ฝ่ายอำมาตยาธิปไตยที่มีกลุ่มนายทหารซึ่งเรียกตัวเองว่า “คณะรักชาติ” ร่วมกับนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกันโค่นล้มกลุ่มการเมืองของท่านโดยการทำรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 และมุ่งจับเป็นหรือตายท่านปรีดี จนทำให้ท่านต้องหลบหนีไปต่างประเทศ

รัฐบาลและคณะทหารได้กวาดล้างนักการเมืองกลุ่มท่านปรีดี ด้วยการจับกุมคุมขังและสังหารอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากท่านปรีดีพยายามยึดอำนาจทางการเมืองเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยล้มเหลว เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 ที่เรียกกันว่า “ขบถวังหลวง” ท่านผู้หญิงพูนศุขถูกจับกุมเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2492 ในข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร และถูกคุมขัง 84 วัน ท่านผู้หญิงพูนศุขแสดงความเข้มแข็ง ไม่เคยหลั่งน้ำตาเลย ภาพถ่ายที่ท่านเดินนำหน้าตำรวจในวันถูกจับ ย่อมยืนยันลักษณะนี้ของท่านอย่างชัดเจน

ภาพถ่ายนี้ เจ้าภาพได้อัดเป็นรูปขนาดใหญ่นำมาตั้งหน้าแท่นพิธีให้ญาติมิตร ลูกหลานและประชาชนผู้รักประชาธิปไตยไว้ความอาลัย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ปีที่แล้ว และในพิธีเผาศพได้นำมาตั้งไว้หน้าเมรุ ในขณะที่เดินขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์ ผมได้พูดกับคนที่รู้จักว่า ภาพถ่ายนั้น เจ้าภาพคงต้องการบอกว่าท่านผู้หญิงพูนศุขถูกจับกุมโดยคณะเผด็จการ ท่านผู้หญิงเป็นนักประชาธิปไตย และต่อต้านเผด็จการ ไม่รู้ว่าคนที่กำลังเดินขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์โดยเฉพาะคนที่เห็นด้วยกับรัฐประหาร สนับสนุนเผด็จการทหารของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหลายสิบคน เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายประสาร มฤคพิทักษ์ จะรู้สึกหรือคิดอย่างไร

นี่ยังไม่พูดถึงว่าครอบครัวของท่านผู้หญิงพูนศุขเป็นครอบครัวของ ท่านปรีดี พนมยงค์ ผู้นำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ถูกรังแก ทำร้ายจากพวกอำมาตยาธิปไตย ต้องระหกระเหินไปอยู่ต่างประเทศกว่า 30 ปี บรรดาคนที่เคยสนับสนุนเผด็จการ แล้วก็ยังอยู่ฟากอำมาตยาธิปไตยใส่เสื้อเหลือง มาเผาศพท่าน มีสักกี่คนที่คิดว่าตนมาร่วมพิธีเผาศพนักประชาธิปไตยผู้ยิ่งใหญ่ คู่ชีวิตของ ท่านปรีดี พนมยงค์ จะรำลึกนึกถึงและสืบทอดภารกิจของท่านทั้งสองอย่างไร

มิใช่เพียงแต่ถอดเสื้อเหลืองใส่ชุดดำมาร่วมพิธีตามประเพณีเท่านั้น

โดย จรัล ดิษฐาอภิชัย

www.prachatouch.com


Related Posts

*จดหมายจากท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์

*พูนศุข พนมยงค์ สตรีผู้ไม่ขอรับเกียรติใด ๆ ทั้งสิ้น

ข้อคิดจากอริสโตเติล กับรูปแบบการปกครองในปัจจุบัน



อริสโตเติล

สําหรับอริสโตเติลแล้ว การปกครองแบบประชาธิปไตยตัวแทนในปัจจุบันย่อมไม่ใช่ "ประชาธิปไตย" ในความเข้าใจของเขา เพราะอริสโตเติลถือว่า ถ้าที่ใดใช้การเลือกตั้งเป็นหลักสำคัญในการหาคนเข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชน ทั้งปวง ในการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการสาธารณะ การปกครองในที่นั่นย่อมไม่มีทางที่จะเป็นประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยที่แท้จริงจะต้องเชื่อว่า ประชาชนพลเมืองทุกคนมีความเท่าเทียมกันที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เกี่ยวกับกิจ การสาธารณะในสภาด้วยตนเอง

ด้วยเหตุนี้เองที่ประชาธิปไตยเอเธนส์ ซึ่งเป็นประชาธิปไตยทางตรงจึงใช้วิธีการจับฉลากให้พลเมืองเอเธนส์ ได้หมุนเวียนกันเข้าไปใช้สิทธิทางการเมืองได้อย่างเสมอหน้ากัน ดังนั้น การปกครองที่ไม่ยอมให้ประชาชน เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจได้โดยตรง แต่ใช้วิธีการเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่แทน จึงเข้าข่ายรูปแบบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อย ซึ่งอริสโตเติล จำแนกรูปแบบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อยนี้ออกเป็น 2 ชนิดที่แตกต่างกันในเรื่องของคุณภาพ แต่เหมือนกันในเชิงปริมาณ

ที่ว่าเหมือนกันในเชิงปริมาณ ก็เพราะว่า ในรูปแบบการปกครองทั้งสองชนิดนี้ อำนาจทางการเมืองอยู่ในมือของคนจำนวนหนึ่ง แต่ที่ว่าแตกต่างกันในเชิงคุณภาพ ก็เพราะว่า อริสโตเติลแบ่งรูปแบบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อยนี้ออกเป็น ชนิดที่ดี กับ ชนิดที่เลว

ชนิดที่ดี อริสโตเติลให้ชื่อว่า "อภิชนาธิปไตย" หรือ "Aristocracy" ส่วนชนิดที่เลว เขาเรียกว่า "คณาธิปไตย" หรือ "Oligarchy"

อริสโตเติลอธิบายรูปแบบการปกครองแบบอภิชนาธิปไตยไว้ว่า เป็นการปกครองโดยกลุ่มคนที่ดีที่สุดเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยผิวเผินแล้ว เราอาจเข้าใจได้ว่า คนกลุ่มที่ว่านี้คือ ประดาชนชั้นสูง ที่มีการศึกษาและได้รับการอบรมขัดเกลา มีพื้นเพกำเนิดที่ดี คนเหล่านี้มีคุณลักษณะที่คนในยุคปัจจุบันมักจะเห็นว่าเป็นคุณสมบัติของพวก อภิชน นั่นคือ มีฐานะมั่งคั่ง มีสถานภาพที่รวมถึงระดับของวัฒนธรรมและการศึกษา

ส่วนคณาธิปไตยนั้น อริสโตเติลอธิบายว่าเป็นการปกครองโดยคนกลุ่มน้อยที่ปกครองเพื่อผลประโยชน์ ของพวกพ้องตัวเอง ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดของคณาธิปไตยคือ การปกครองอยู่ในมือของกลุ่มคนที่มีอำนาจครอบงำทางเศรษฐกิจ เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะมั่งคั่ง ขณะเดียวกันก็อาจมีกำเนิดที่ดีและการศึกษาสูงคล้ายกับพวกอภิชน แต่กระนั้น ลักษณะสำคัญของคณาธิปไตยอยู่ที่เรื่องทรัพย์สินเหนือคุณสมบัติอื่นๆ ทั้งหมด

แม้ว่ากลุ่มผู้มีอำนาจในระบอบคณาธิปไตยคือ กลุ่มที่มีอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจ แต่ก็อาจจะรวมเอาพวกช่างฝีมือ ที่มีฐานะร่ำรวย หรือพ่อค้าที่มั่งคั่ง ซึ่งอาจเป็นคนที่ไม่มีชาติตระกูล และไม่มีวัฒนธรรมการศึกษา หรือได้รับการขัดเกลาอบรมอย่างชนชั้นสูง

อริสโตเติลยังแบ่งการปกครองแบบคณาธิปไตยนี้ออกเป็นสี่ ประเภทย่อย แบบแรกคือคณาธิปไตยแบบอ่อนๆ ในระบอบแบบนี้ ผู้ปกครองตามกฎหมายและคนที่จะมีโอกาสเข้าทำงานการเมือง หรืองานราชการจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีทรัพย์สินในระดับหนึ่ง แต่เกณฑ์ที่ว่านี้ไม่ได้เคร่งครัดมากนัก นั่นคือ คุณสมบัติเรื่องทรัพย์สินไม่ได้ตั้งไว้สูง และตำแหน่งทางการเมืองจะเปิดให้กับทุกคนที่เข้าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

อริสโตเติลชี้ให้เห็นถึงการกำหนดคุณสมบัติเรื่อง ทรัพย์สินไว้เป็นสองประเภท นั่นคือ แบบที่ตั้งไว้สูงสำหรับตำแหน่งที่สำคัญมากที่สุด และเกณฑ์ขั้นต่ำลงมาสำหรับตำแหน่งที่รองๆ มา แต่อย่างไรก็ตาม ในระบอบนี้ จำต้องกำหนดเกณฑ์ไว้บ้าง แม้จะเป็นขั้นต่ำ เพื่อให้แน่ใจว่า จะมีเสรีชนน้อยคนเท่านั้นที่จะสามารถมีส่วนร่วม ในตำแหน่งทางการเมือง

พูดง่ายๆ ก็คือ มีเกณฑ์ไว้เพื่อกันไม่ให้คนจนเข้ามามีส่วนร่วมในอำนาจทางการเมืองนั่นเอง

คณาธิปไตยแบบที่สอง เป็นแบบที่จำกัดเฉพาะมากขึ้น เกณฑ์คุณสมบัติสำหรับการมีสิทธิ์ในตำแหน่งทางการเมือง จะถูกกำหนดไว้สูงมากขึ้น และการแต่งตั้งตำแหน่งใหม่ๆ ก็กระทำโดยประดาผู้ซึ่งอยู่ในตำแหน่งทางการเมืองมาแล้ว โดยทั่วไปเท่าที่อริสโตเติลได้สังเกตศึกษาจากนครรัฐกรีกโบราณต่างๆ เขาพบว่า ผู้ปกครองในระบอบนี้จะมีน้อยกว่าและมีฐานะร่ำรวยกว่าในระบอบคณาธิปไตยแบบแรก (แบบอ่อนๆ) แต่อย่างไรก็ตาม พวกผู้ปกครองในคณาธิปไตยแบบที่สองนี้ ก็ยังคงปกครองตามกฎหมาย และด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงไม่ได้ใช้อำนาจไปเพื่อมุ่งแต่ผลประโยชน์ของพวกตนเสียทั้งหมด

ส่วนคณาธิปไตยแบบที่สาม อริสโตเติลหมายถึง คณาธิปไตยที่แคบขึ้นไปอีก และมีข้อจำกัดที่เคร่งครัดกว่าที่กล่าวไป จนถึงขนาดที่สมาชิกของกลุ่มผู้ปกครองในคณาธิปไตยแบบนี้ จะต้องมาจากการสืบสานเครือญาติเท่านั้น

แบบสุดท้ายคือคณาธิปไตยแบบที่สี่มีกลุ่มผู้ปกครองเป็นชน ชั้นร่ำรวยและมีจำนวนน้อยลงไปกว่าที่ผ่านมา และไม่ยอมอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายใดๆ อริสโตเติลถือว่ารูปแบบการปกครองนี้เป็นรูปแบบของคณาธิปไตยแบบบริสุทธิ์ สมบูรณ์ ไม่มีส่วนผสมของรูปแบบการปกครองอื่นใดเลย

จากที่อธิบายรูปแบบการปกครองแบบคณาธิปไตยโดยคร่าวๆ มานี้ หลายคนคงอดไม่ได้ที่จะนึกสะท้อนถึงการปกครองในบ้านเรา!

เอาว่าไม่ต้องพูดถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ตัดสินใจเรื่องบ้านเมืองโดยตรง เพราะนั่นคงจะเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่เลยทีเดียว เพราะการเปิดโอกาสเช่นนั้นถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบบตัวแทนมาเป็นประชาธิปไตยทางตรง เอาเป็นว่าเรามาลองพิจารณาถึงเกณฑ์ของการให้ประชาชน สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 กำหนดให้ผู้สมัครจะต้องมีวุฒิการศึกษาอย่างต่ำ ระดับปริญญาตรี

แค่นี้ก็เห็นได้ชัดแล้วว่า กีดกันคนจำนวนมากที่ไม่มีการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี ขณะเดียวกัน การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือระดับไหนก็ตามก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่า คนที่จบมาจะเป็นคนที่ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมเสมอไป ขณะเดียวกัน คนส่วนใหญ่ที่มีปัญญาเรียนระดับปริญญาตรี ก็มักจะมาจากครอบครัวที่มีฐานะพอจะสนับสนุนให้ลูกหลานได้เรียนหนังสือได้

นั่นหมายความว่า สิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการกำหนดเกณฑ์ปริญญาตรี ก็คือ เกณฑ์ของการมีทรัพย์สินนั่นเอง

ขณะเดียวกัน คนที่ไม่มีปริญญาตรีที่อยากเข้าสู่การเมือง พอเจอกฎเกณฑ์ข้อบังคับภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 หลายคนก็ต้องดิ้นรนให้ตัวเองได้ใบปริญญามาครอบครอง คนที่มีเงินมีเวลาก็หาทางไปเรียนหนังสือ โครงการปริญญาตรีภาคพิเศษตามสถาบันอุดมศึกษาก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดเพื่อรอง รับคนเหล่านี้ ทั้งนี้ ไม่ต้องถามถึงคุณภาพของบัณฑิตที่จบออกไป ดังนั้น ในที่สุดแล้วปริญญาตรีก็กลายเป็นของซื้อของขายไป คนที่มีเงินมีเวลาเท่านั้นที่จะสามารถทำตัวให้เข้าเกณฑ์ดังกล่าวนี้

นอกจากเกณฑ์เรื่องปริญญาตรีแล้ว การกำหนดค่าสมัครรับเลือกตั้งเป็นหลักหมื่น และไหนจะต้องมีค่าหาเสียงอะไรอีกจิปาถะ ดูๆ ไปแล้ว คนมีทรัพย์เท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์เข้าไปเล่นการเมืองได้ อย่างนี้คงไม่ต้องสงสัยเลยว่า รูปแบบการปกครองของไทยเราเข้าข่ายคณาธิปไตยของอริสโตเติลอย่างไม่ต้องสงสัย

แต่คำถามต่อมาคือ เป็นคณาธิปไตยแบบไหน? แบบอ่อนๆ กลางๆ หรือแบบบริสุทธิ์

ถ้าจะลองพิจารณากันเล่นๆ เราจะพบว่า นักการเมืองบางกลุ่มมีการสืบสานกันทางสายโลหิตเครือญาติ เช่น แต่ก่อนนี้ก็มีตระกูลอดิเรกสาร (เดี่ยวนี้ก็พยายามดิ้นรนต่อไป แต่อ่อนแรงลงไปมากแล้ว) ตระกูลสารสิน ตระกูลศิลปอาชา ตระกูลชิดชอบ ตระกูลพลซื่อ ตระกูลขจรประศาสน์ และถ้าไปดูตามต่างจังหวัดก็จะพบความพยายาม ในการสืบสานทางการเมืองหรือพูดง่ายคือ ผูกขาดอำนาจทางการเมืองให้อยู่ในวงแคบๆ เฉพาะสายโลหิตเครือญาติกันมากมาย

และที่กำลังสืบสานมาแรงให้เห็นกันชัดๆ ในอนาคตอันใกล้ หากไม่เกิดรัฐประหาร 19 กันยาเสียก่อน ก็คือ ตระกูลชินวัตร ตระกูลมหากิจศิริ ตระกูลมาลีนนท์ และอีกหลายตระกูลที่เกิดใหม่ทางการเมืองไม่นานมานี้

กล่าวโดยคร่าวๆ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า รูปแบบการปกครองของเรานั้นเป็นรูปแบบการปกครองแบบคณาธิปไตย และเป็นคณาธิปไตยแบบที่สามผสมแบบที่สอง แต่ดูทีจะมีความเป็นแบบที่สามเสียมากกว่า และถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังมีอำนาจทางการเมืองอยู่ต่อไป ก็คงจะกลายพันธุ์เป็นแบบที่สี่แน่ นั่นคือ อยู่ภายใต้กลุ่มผู้ปกครองเป็นชนชั้นร่ำรวย และมีจำนวนน้อยลงไปกว่าที่ผ่านมา และสืบสานอำนาจกันในหมู่เครือญาติพวกพ้อง และไม่ยอมอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายใดๆ อีกด้วย

หลายคนอาจจะท้วงติงว่า การปกครองไทยของเราไม่ได้เป็นคณาธิปไตยอย่างที่ว่า แต่เป็นอภิชนาธิปไตยต่างหาก เพราะรัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณมีนโยบายที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนส่วนใหญ่ (นอกจากการซื้อเสียงที่ส่วนใหญ่กระทำกันแล้ว นโยบายบางอย่างก็เป็นการให้แบบเลี้ยงไข้ บางอย่างก็เป็นการให้แบบชาวบ้านดีใจวันนี้ แต่ประเทศไปล้มละลายในวันหน้า)

คำตอบอยู่ที่ "เมื่อคณาธิปไตยโบราณผสมกับระบอบการเลือกตั้งตัวแทนสมัยใหม่" มันก็ต้องมีอะไรให้กับคนที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตนเข้าสภาบ้างนั่นเอง

หน้า 38


ข้อคิดจากอริสโตเติล กับรูปแบบการปกครองในปัจจุบัน (ต่อ)

คนแคระบนบ่ายักษ์ : แพทย์ พิจิตร มติชนรายสัปดาห์ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1389

ข้อคิดจากอริสโตเติลกับรูปแบบการปกครองในปัจจุบัน (ต่อ)

คราวที่แล้วได้กล่าวถึงรูปแบบการปกครองที่อำนาจทางการ เมืองอยู่ในมือของกลุ่มน้อย ซึ่งรูปแบบการปกครองที่ว่านี้สามารถดีหรือเลวก็ได้ ขึ้นอยู่กับเจตจำนงในการใช้อำนาจของผู้ปกครอง

ถ้ามุ่งสู่ผลประโยชน์ส่วนรวมก็ถือว่าดี เรียกว่า อภิชนาธิปไตย

ส่วนที่เลวเรียกว่า คณาธิปไตย ขณะเดียวกัน การปกครองแบบคณาธิปไตยก็ยังแบ่งซอยย่อยตามดีกรีของความเข้มข้นด้วย

เมื่อใช้ตัวแบบการปกครองแบบคณาธิปไตยเข้ามาจับรูปแบบการ ปกครองของไทยเรา ก็พบว่า เป็นคณาธิปไตยเสียมากกว่าที่จะเป็นอภิชนาธิปไตย แต่ก็หาใช่คณาธิปไตยแท้ๆ ไม่ เพราะคนกลุ่มใดที่จะเข้าไปมีอำนาจทางการเมืองต้องผ่านการเลือกตั้งลงคะแนน เสียงของประชาชน ซึ่งการปกครองแบบเลือกตั้งนี้มีคนตั้งชื่อว่า ประชาธิปไตยแบบตัวแทน แต่จริงๆ แล้วมันคือการผสมผสานระหว่างคณาธิปไตยกับระบบตัวแทนเสียเท่านั้น มิได้เป็นประชาธิปไตยในความเข้าใจของอริสโตเติล

เมื่อรูปแบบการปกครองในปัจจุบันทั้งของไทยและเทศมิได้ เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงในสายตาของอริสโตเติลแล้ว ก็หมายไม่ได้ความว่า อริสโตเติลจะตั้งแง่รังเกียจ เพราะจริงๆ แล้วอริสโตเติลไม่ได้คิดว่ารูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรงอย่างที่ เกิดขึ้นในเอเธนส์เป็นรูปแบบการปกครองที่ดีเด่อะไร

ประชาธิปไตยทางตรงเป็นรูปแบบการปกครองที่ไม่ดีในสาย ตาของอริสโตเติล เป็นหนึ่งในสามแบบที่ไม่ดี นั่นคือ นอกจากประชาธิปไตยแล้ว การปกครองโดยทรราช ซึ่งอำนาจอยู่ในมือของคนคนเดียวและใช้อำนาจนั้นไปเพื่อประโยชน์ของตนเป็น หลัก และการปกครองแบบคณาธิปไตยดังที่กล่าวไปแล้วถือเป็นการปกครองที่เลว ซึ่งไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรมากนัก เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเองอยู่แล้ว

ในบรรดาการปกครองที่เลวทั้งสามรูปแบบนี้ อริสโตเติลเทความสนใจให้กับระบอบประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะสำหรับอริสโตเติล มันเป็นระบอบที่ดำรงอยู่ในเอเธนส์เป็นเวลาถึงกว่าศตวรรษ และยังได้พัฒนาหลักการและแบบแผนอุดมคติสำคัญขึ้นชุดหนึ่งที่ตัวเขาคิดว่า น่าสนใจวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ในรายละเอียด ซึ่งจะว่าไปแล้ว ตัวเพลโต ซึ่งเป็นอาจารย์ของอริสโตเติลเองก็ให้ความสนใจกับระบอบประชาธิปไตยมากเช่น กัน แม้ว่าเขาจะประเมินว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่ไม่ดีก็ตาม

เพราะในหนังสือ the Republic ของเพลโตกล่าวไว้ว่า ระบอบนี้เป็นระบอบที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้คนจำนวนมาก เพราะมันมีความหลากหลายในตัวของมัน เมื่อเทียบกับระบอบอื่นๆ ที่คนส่วนใหญ่ไม่มีอำนาจทางการเมืองเหมือนระบอบนี้ ความหลากหลายของประชาธิปไตยเกิดจากการที่พลเมืองแต่ละคนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ เท่าเทียมกัน ทุกคนจึงปกครองตัวเอง และเป็นนายตัวเองกันทุกคน

ถ้าจะกล่าวในสำนวนของนักคิดสมัยใหม่ก็กล่าวได้ว่า "แต่ละคนเป็นกษัตริย์ของตัวเขาเอง" ดังนั้น ใครจะทำอะไร ดำเนินชีวิตไปอย่างไร ก็สามารถทำได้ ใช้เสรีภาพของตนได้ ตราบเท่าที่มันไม่ได้ไปหนักหัวกบาลใคร

เพลโตเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่มีสีสันตระการ ตา เปรียบได้กับผืนผ้าที่มีลวดลายต่างๆ ถักทอด้วยด้ายหลากสี ซึ่งสะท้อนถึงการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันไปตามรสนิยมความพอใจของผู้คน

ด้วยเสน่ห์ดังกล่าวของระบอบประชาธิปไตยทำให้ผู้คนส่วน ใหญ่มักจะพอใจที่จะใช้ชีวิตในสังคมแบบนี้ ประชาธิปไตยจึงเป็นระบอบที่มีพลัง อันเกิดจากความกระหายที่จะทำอะไรได้อย่างเสรี สร้างชีวิตชีวาให้กับคนที่อาศัยอยู่ในนั้น หลายคนที่เคยเดินทางไปประเทศที่ "มีเสรีภาพและความเท่าเทียมมากกว่า" ประเทศไทย คงจะสัมผัสถึงความรู้สึกที่ว่านี้ได้ ขณะเดียวกัน ก็คงมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกว่า "สังคมที่มีเสรีภาพและความเสมอภาคมากกว่า" ดูสับสนวุ่นวาย ไม่มีระเบียบทางสังคม ตัวใครตัวมัน แต่อย่างน้อยสังคมดังกล่าวเขาก็ยังปล่อยให้คนที่ไม่ชอบเสรีภาพและความเสมอ ภาคมากนักอยู่ได้โดยไม่มีปัญหาอะไร

เพราะจะว่าไปแล้ว ประชาธิปไตยเอเธนส์ก็เป็นระบอบการปกครองที่เพาะคนอย่างโสกราติสและเพลโตขึ้น มา อีกทั้ง ก็ยังปล่อยให้โสกราติสใช้ชีวิตอย่างที่เขาต้องการมาเกือบทั้งชีวิตของเขาได้ เพราะถ้าโสกราติสไปเกิดในสังคมเยอรมันช่วงนาซี และคอยตั้งคำถามอะไรต่อมิอะไรอยู่เสมอ เขาคงไม่ได้ใช้ชีวิตแบบนั้นจนแก่หรอก

เช่นเดียวกันกับที่บางคนเคยกล่าวไว้ว่า มหาตมะคานธีสามารถประท้วงขัดขืนต่อผู้ปกครองอังกฤษจนได้ชัยชนะก็เพราะผู้ ปกครองคือผู้ปกครองอังกฤษ เพราะถ้าอินเดียถูกปกครองด้วยคนอย่างฮิตเลอร์ หรือ อีดี้ อามิน แห่งอูกานดาหรือพอลพตที่เขมร ก็ยากที่เขาจะได้กลายเป็นมหาตมคานธีผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียไปได้

ด้วยเหตุผลบางประการที่กล่าวไปนี้เองที่ทำให้ประชาธิปไตย เป็นที่น่าสนใจของนักคิดนักปรัชญาการเมืองอย่างเพลโตและอริสโตเติล เป็นต้น

ประชาธิปไตยในความเข้าใจของอริสโตเติลคือ การปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่ที่ว่านี้คือ "demos" ที่เป็นคำหนึ่งในคำว่า "democracy" นั่นเอง

คำว่า "demos" นี้อาจหมายถึงประชาชนทั้งหมดหรือหมายถึงพลเมืองพวกหนึ่งเท่านั้นก็ได้

พลเมืองที่ว่านี้คือ คนธรรมดาสามัญชาวบ้าน ซึ่งแตกต่างไปจากชนชั้นสูงหรือคนรวย

ดังนั้น ประชาธิปไตยตามเข้าใจของอริสโตเติลคือ การปกครองของคนส่วนใหญ่ที่เป็นคนธรรมดาเป็นชาวบ้าน และคนส่วนใหญ่ที่ว่านี้ก็มักจะยากจนเสียด้วย เพราะอริสโตเติลเห็นว่า โดยทั่วไปในแทบทุกสังคมในสมัยของเขานั้น คนส่วนใหญ่มักจะยากจนเสมอ ซึ่งก็น่าคิดว่า ข้อสรุปของเขาเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้วนี้ ยังใช้ได้อยู่หรือไม่ในปัจจุบัน!?

ถ้ายังใช้ได้ ก็ให้น่าสงสัยว่า ทำไมมันถึงยังเป็นเช่นนั้นอยู่?

หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยในความคิดของอริสโตเติล คือ เสรีภาพ ซึ่งแบ่งได้เป็นสองส่วน

ส่วนแรก คือ การมีกำเนิดที่เสรี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เกิดมาเป็นเสรีชน ไม่ได้เกิดมาเป็นทาส หรือลูกทาส เพราะในสมัยนั้น ยังมีระบบทาสอยู่ การมีกำเนิดเสรีนี้เป็นคุณสมบัติหรือเป็นเกณฑ์สำคัญในระบอบประชาธิปไตย เพราะนั่นหมายถึง การมีสิทธิความเป็นพลเมือง

ส่วนที่สอง คือ เสรีภาพในความหมายของการ "ใช้ชีวิตตามแบบที่ตนชอบ" ซึ่งการสามารถกำหนดเป้าหมาย และรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคนอย่างเสรี ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของระบอบประชาธิปไตยเลยทีเดียว

ในระบอบประชาธิปไตยที่ว่านี้ มีหลักการความเชื่อที่สำคัญที่เชื่อว่า การมีส่วนร่วมทางการเมือง ที่ตั้งอยู่บนเกณฑ์ของกำเนิดเสรีมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่น กับหลักการเรื่องความเสมอภาคเท่าเทียมกัน คนที่สนับสนุนระบอบนี้เชื่อใน "การมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันทุกคน" ซึ่งความเท่าเทียมกันของคนทุกคนที่เป็นเสรีชนนี้ อริสโตเติลวิจารณ์ว่าเป็น "ความเท่าเทียมกันทางคณิตศาสตร์" หรือ "arithmetic equality" ซึ่งเป็นความเท่าเทียมกันในความหมายเชิงปริมาณ โดยมิได้นำเรื่องคุณภาพหรือคุณสมบัติที่แตกต่างกันของผู้คนมาพิจารณา

แม้ว่าอาจจะมีบางคนโต้แย้งว่า ความเท่าเทียมกันนี้เกิดขึ้นจากการใช้เกณฑ์คุณสมบัติของการเป็นเสรีชน ซึ่งการเป็นเสรีชนนี้เป็นคุณภาพที่แตกต่างจากการเกิดมาเป็นทาส แต่กระนั้น ภายใต้ร่มเงาของการเกิดมาเป็นเสรีชน ก็ใช่ว่า เสรีชนที่ว่านี้ทุกคนจะเป็นคนที่มี "คุณสมบัติอื่นๆ" เหมือนกันหรือเท่ากัน

นอกจากนี้ ความเท่าเทียมแบบคณิตศาสตร์หรือความเท่าเทียมกันในนัยที่ขาดการพิจารณา เรื่องคุณภาพนี้เองได้นำไปสู่ ความเชื่อในความสำคัญยิ่งใหญ่ของ "เสียงข้างมาก" (the supremacy of the majority)

จากการที่พื้นฐานของประชาธิปไตยอยู่ที่การอ้างอิงหลักการ ของเสียงข้างมากในการปกครอง มันจึงเป็นรูปแบบการปกครองโดยเสียงข้างมาก มากกว่าที่จะเป็นการปกครองโดยทุกๆคนอย่างที่กล่าวอ้างหรือชวนเชื่อกัน

และถึงแม้ว่า สิทธิของเสียงข้างน้อยจะไม่ได้ถูกจำกัดปิดกั้นอย่างเป็นทางการ แต่โดยปรกติผลลัพธ์ที่ออกมาจากการให้สิทธิการมีส่วนร่วมแก่เสรีชนทุกคนนั้น มักจะทำให้เกิดการครอบงำโดยกลุ่มเสียงข้างมากหรือมหาชนซึ่งเป็นชาวบ้านที่ ยากจนเสียส่วนใหญ่

การปกครองแบบประชาธิปไตยจะมีปัญหามาก หากสังคมมีความแตกต่างทางฐานะชนชั้นของผู้คนแยกเป็นสองขั้ว เช่น สังคมแบ่งออกเป็นคนรวยและคนจน ซึ่งคนจนก็ย่อมจะมีจำนวนมากกว่าคนรวย เมื่อยึดหลักเสียงข้างมากในการปกครอง คนจนย่อมลงประชามติไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่พวกของตน ย่อมทำให้คนรวยไม่พอใจ จึงเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงเสมอ

แต่การปกครองแบบประชาธิปไตยจะมีปัญหาน้อยลง หากสังคมนั้นมีความแตกต่างทางชนชั้นไม่มากนัก และไม่ได้แบ่งออกเป็นสองขั้วที่แตกต่างกันอย่างสุดโต่ง เช่น สังคมไม่ได้มีเพียงคนรวยกับคนจน แต่ยังมีคนระดับกลางๆ หากคนระดับกลางมีจำนวนที่มากกว่าคนรวยและคนจน เสียงของคนระดับกลางๆ ก็จะเป็นเสียงข้างมากที่กำหนดความเป็นไปในสังคมนั้น

ในความความเข้าใจของอริสโตเติล ประชาธิปไตยที่มีคนชั้นกลางเป็น "demos" เป็นรูปแบบการปกครองที่ดีกว่าประชาธิปไตยที่มีแบ่งเป็นคนรวย-คนจนที่แตกต่าง กันมาก และที่สำคัญ อริสโตเติลไม่เรียกรูปแบบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่ที่เป็นคน ระดับกลางว่า "democracy" เพราะนั่นเขาสงวนไว้เรียกประชาธิปไตยที่อำนาจอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่ที่ยาก จนไปแล้ว

ดังนั้น เขาจึงเรียกรูปแบบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือคนส่วนใหญ่ที่ดีที่ไม่สุดโต่ง ไปในทางใดทางหนึ่งว่า "polity"

การปกครองในแบบ "โพลีตี" นี้ดีอย่างไร คงต้องดูกันต่อไป!

หน้า 41


ข้อคิดจากอริสโตเติล กับรูปแบบการปกครองในปัจจุบัน

คนแคระบนบ่ายักษ์ : แพทย์ พิจิตร มติชนรายสัปดาห์ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1393

ในความความเข้าใจของอริสโตเติล ประชาธิปไตยที่มีคนชั้นกลางเป็น "คนส่วนใหญ่" เป็นรูปแบบการปกครองที่ดีกว่าประชาธิปไตยที่ดำเนินไปในสังคมคนส่วนใหญ่เป็น คนจน หรือสังคมที่มีการแบ่งขั้วชนชั้นเป็นคนรวย-คนจนที่แตกต่างกันมาก และที่สำคัญ อริสโตเติลไม่เรียกรูปแบบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่ที่เป็นคน ชั้นกลางว่า "democracy" เพราะนั่นเขาสงวนไว้เรียกประชาธิปไตยที่อำนาจอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่ที่ยาก จนเท่านั้น

ดังนั้น เขาจึงเรียกรูปแบบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือคนส่วนใหญ่ที่ดีที่ไม่สุดโต่ง ไปในทางใดทางหนึ่งว่า "polity" (โพลีตี้)

ส่วนประชาธิปไตย (democracy) หรือรูปแบบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่ที่นอกเหนือไปจาก "โพลีตี้" ล้วนแต่แย่กว่าทั้งสิ้น อริสโตเติลแบ่งประชาธิปไตยออกเป็นสี่แบบ ตั้งแต่แบบอ่อนๆ จนถึงแบบสุดโต่ง

ประชาธิปไตยแบบอ่อนๆ หรือในภาษาอังกฤษว่า "moderate democracy" การคัดสรรคนเข้าไปทำงานการเมืองยังพอมีเกณฑ์เรื่องทรัพย์สินอยู่บ้าง ในประชาธิปไตยแบบนี้ อริสโตเติลชี้ว่า เกิดขึ้นในสังคมที่ประชาชนพลเมืองส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรชาวไร่ชาวนามักจะไม่ ค่อยมีเวลามากพอที่จะใช้ไปกับเรื่องราวสาธารณะ คนพวกนี้มักจะพอใจที่จะให้บรรดาผู้ที่ได้รับเลือกเป็นเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ไปตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ หลายๆ เรื่องแทนพวกเขา ซึ่งคนที่ได้รับเลือกเหล่านี้มักจะมาจากชนชั้นสูง การปกครองแบบนี้ดำเนินไปตามข้อกำหนดกฎหมายที่บัญญัติขึ้น

อริสโตเติลมีทัศนะที่ค่อนข้างดีต่อประชาธิปไตยแบบ เกษตรกรรมนี้ แต่แน่นอนว่า ไม่ใช่เพราะคนส่วนใหญ่ในระบอบนี้---ซึ่งเป็นชาวนาชาวไร่---มีความสามารถใน เรื่องราวทางการเมืองมากกว่าคนที่ทำงานประเภทอื่นๆ แต่เป็นเพราะชาวนาชาวไร่ที่เป็นคนส่วนใหญ่ในระบอบนี้ ไม่ค่อยจะมีความทะเยอทะยานทางการเมืองและมักจะเป็นพวกที่ว่าง่ายหรือยอมรับ อะไรได้ง่ายกว่าคนอาชีพอื่นๆ

จะว่าไปแล้ว บ้านเราก็มีส่วนคล้ายประชาธิปไตยแบบที่หนึ่งนี้ไม่น้อยเลย!

แบบที่สอง เหมือนกับประชาธิปไตยเกษตรกรรมที่กล่าวไป แต่ต่างกันตรงที่ไม่มีเกณฑ์เรื่องทรัพย์สินสำหรับผู้ที่จะเข้าไปทำหน้าที่ สาธารณะ สิทธิในการเข้าไปทำงานบ้านงานเมืองเปิดให้กับคนทุกคนที่เป็นพลเมือง นั่นคือ คนที่มีพ่อแม่เป็นคนในรัฐนั้น อย่างไรก็ตาม จากการที่ไม่มีเงินค่าตำแหน่งสำหรับผู้ที่เข้าไปทำงานสาธารณะ ประชาชนพลเมืองจำนวนมากจึงไม่ค่อยจะสนใจไปเสียเวลากับงานบ้านงานเมืองนี้กัน เท่าไรนัก อย่างไรก็ตาม การปกครองก็ดำเนินไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่วางไว้

และเช่นกัน บ้านเราก็มีบางส่วนในแบบที่สองด้วย

แบบที่สาม ประชาธิปไตยแบบนี้ไม่ได้กำหนดเกณฑ์ของความเป็นพลเมืองไว้เคร่งครัดอย่างสอง แบบที่ผ่านมา สถานะความเป็นพลเมืองในประชาธิปไตยแบบที่สามนี้ อาจจะขยายรวมไปถึงบรรดาเสรีชนอื่นๆ อันได้แก่ คนต่างด้าว หรือบุตรของทาสที่ได้รับอิสระแล้ว เป็นต้น ซึ่งคนพวกนี้จะไม่มีทางได้สถานะพลเมืองในประชาธิปไตยสองแบบแรกที่กล่าวไปเลย อริสโตเติลยังชี้ให้เห็นอีกด้วยว่า องค์ประกอบทางสังคมของพลเมืองทั้งมวลในประชาธิปไตยแบบนี้มีลักษณะของความ เป็นชนบทน้อย แต่มีความเป็นเมือง (urban) มากกว่า

ประชาธิปไตยไทยยังห่างไกลจากแบบที่สามนี้ แต่เราจะพบประชาธิปไตยแบบนี้ปรากฏในสังคมตะวันตก เช่น อังกฤษบางยุคบางสมัย และประเทศแถบยุโรปเหนือ ขณะเดียวกัน ประชาธิปไตยแบบนี้เห็นทีจะอยู่ในจินตนาการของ คุณจอน อึ๊งภากรณ์ อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ ด้วย ที่เขาได้เสนอให้ขยายสิทธิประโยชน์ต่างๆไปสู่คนต่างด้าวหรือคนที่ไม่ได้มี สัญชาติไทย

แบบที่สี่ หรือที่เรียกว่า "ประชาธิปไตยแบบสุดโต่ง" ประชาธิปไตยแบบนี้ไม่มีข้อจำกัดหรือเกณฑ์ต่างๆ สำหรับความเป็นพลเมือง หรือการมีสิทธิเข้าไปทำหน้าที่สาธารณะ ขณะเดียวกัน ก็ยังมีการให้เงินค่าชดเชยสำหรับผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองอีกด้วย ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ทำให้การปกครองและการบริหารงานสาธารณะเป็นไปตามกฎหรือข้อกำหนดที่มาจาก ประชาชนในทุกๆ เรื่อง โดยไม่มีข้อจำกัดทางกฎหมายใดๆ มาตีกรอบการตัดสินใจของประชาชน ขณะเดียวกัน กิจการงานเมืองทั้งหลายก็ถูกกำหนดให้เป็นไปในทิศทางที่เป็นผลประโยชน์ของคน ส่วนใหญ่ (ซึ่งเป็นคนจน) ทั้งสิ้น

อริสโตเติลเทียบเคียงประชาธิปไตยแบบนี้กับการปกครองแบบ ทรราชสุดโต่ง ด้วยเหตุผลที่ว่า การปกครองทั้งสองรูปแบบนี้ดำเนินไปโดยเน้นที่ผลประโยชน์ส่วนตัวอย่างตาม อำเภอใจไม่มีกฎกติกาใดๆ นอกจากนี้ ประชาธิปไตยแบบสุดโต่งนี้ยังมักจะเอียงเอนไปตามกระแสอิทธิพลของ "นักการเมือง" หรือประชาชนบางคนที่มีความสามารถจะโน้มน้าวประชาชนส่วนใหญ่อื่นๆ ในสภาได้ โดยหวังจะมีบทบาทสำคัญในทางการเมือง

คนแบบนี้มักจะไม่มีจุดยืนทางการเมืองที่แน่นอน แต่ชอบแสดงทัศนะหรือเสนอนโยบายตามการคาดเดาต่อกระแสมวลชนเพื่อแสวงหาความ นิยม คนพวกนี้เป็นที่รู้จักกันในนามของ "demagogue" ความสัมพันธ์ของคนพวกนี้กับสภาประชาชนก็ไม่ต่างอะไรจากบรรดาพวกสอพลอที่ชอบ เลียทรราช

หลายคนคงคิดว่า ประชาธิปไตยของไทยเราก็มีบรรยากาศแบบสุดโต่งนี้ในบางเวลา บางขณะ!

จริงๆ แล้ว เดิมทีคำว่า "demagogue" นี้ มิได้มีความหมายในทางลบมาก่อน เพราะคำนี้แปลตรงตัวได้ว่า "ผู้พิทักษ์คนส่วนใหญ่" หรือ "ผู้พิทักษ์ประชาชน" แต่พอมีคนชอบอ้างกันมากๆ ว่า "ตนทำหรือเสนอสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่" แต่ในความเป็นจริงเพียงหวังคะแนนนิยมหรือผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น เมื่อพวกนี้มีมากๆ เข้า หนักๆ เข้า และทำความเสียหายให้กับสังคม คำว่าความหมายของคำว่า "demagogue" ก็เลยแผลงไปเป็น "พวกประจบสอพลอ หลอกประชาชนเพื่อหวังประโยชน์ส่วนตัวในทางใดทางหนึ่ง"

คงจะคล้ายๆ กับคำว่า "นักการเมือง" ในบ้านเรากระมัง!

อย่างไรก็ตาม รูปแบบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบที่ถือว่าดีได้ ก็ต่อเมื่อ คนส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลาง ซึ่งอย่างที่กล่าวข้างต้นว่า อริสโตเติลตั้งชื่อรูปแบบการปกครองแบบนี้ว่า "โพลีตี้" (polity)

จะว่าไปแล้ว นัยความหมายของคำว่า "polity" หมายถึง "ลักษณะรูปแบบการเมือง" หรือถ้าจะแปลให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ "รูปแบบการเมืองการปกครอง" นั่นเอง อริสโตเติลใช้คำว่า "polity" ในสองนัย นั่นคือ รูปแบบการเมืองการปกครอง และ รูปแบบการปกครองที่อำนาจอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่ที่เป็นคนชั้นกลาง

ในการทำความเข้าใจรูปแบบการปกครองที่มีชื่อว่า "โพลีตี้" นี้ เราจะสังเกตได้ว่า หลักการทั่วไป สถาบันและโครงสร้างในการปกครองรูปแบบนี้มีลักษณะที่ผสมผสานรวมเอาลักษณะของ ประชาธิปไตยและคณาธิปไตยเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ในกิจกรรมทางการเมืองหรือกิจกรรมสาธารณะอย่างการกำหนดนโยบาย อาจจะใช้สภาประชาชน แต่อำนาจของสภาจะต้องมีจำกัด

เช่นเดียวกัน ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บางตำแหน่งควรต้องใช้วิธีการแต่งตั้งตามวิถีคณาธิปไตย บางตำแหน่งก็ใช้การเลือกตั้ง ส่วนบางกลุ่มหรือบางคณะที่มีหน้าที่ในกระบวนการนิติบัญญัติและตุลาการ ก็ให้มาจากทุกชนชั้นในสังคม แต่บางคณะทำงานก็ต้องคัดสรรมาจากบางชนชั้นเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมแล้ว อริสโตเติลก็ยังไม่ค่อยจะมีความแน่นอนนักเกี่ยวกับการจัดองค์กรและสถาบันทาง การเมืองการปกครองของรูปแบบการปกครองนี้ อาจเป็นเพราะรูปแบบการปกครองดังกล่าวนี้มีส่วนผสมที่หลากหลายจากการปกครอง แบบคณาธิปไตยและประชาธิปไตย แม้ว่าอริสโตเติลจะยอมรับว่า ในทางทฤษฎี การปกครองแบบ "โพลีตี้" นี้อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยหลากหลายที่มา เพราะมันอาจจะเกิดจากการมีส่วนผสมของอภิชนาธิปไตยก็ได้ด้วย แต่ในทางความเป็นจริง มันเป็นรูปแบบการปกครองที่แทบจะไม่เคยเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นจริงได้ยากยิ่ง

เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้ว จากข้อสังเกตของเขา เขาพบว่า มันยากที่จะมีสังคมใดที่คนส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลาง เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว คนส่วนใหญ่ในสังคมโดยทั่วไปมักจะเป็นคนยากจน แม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ก็ตาม ข้อสังเกตของอริสโตเติลก็ดูจะยังเป็นจริงอยู่

จะว่าไปแล้ว อริสโตเติลอาจจะคิดรูปแบบการปกครองแบบ "โพลีตี้" นี้ขึ้นมาเพื่อเป็นรูปแบบบริสุทธิ์ในอุดมคติที่ใช้เป็นมาตรวัดความเบี่ยงเบน ของการปกครองแบบคณาธิปไตย อภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตยเสียมากกว่าที่เขาคิดว่ามันจะเกิดขึ้นและดำรง อยู่จริงๆ เป็นตัวให้เห็นจับต้องสัมผัสได้

Source: nidambe11.net

โลกใหม่ ทุนนิยมใหม่

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ได้ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยม โดยเฉพาะระบบทุนนิยมเสรีแบบอเมริกันอย่างรุนแรง

ทั้งจากกลุ่มนักวิชาการและผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก โดยเกือบทุกเวทีของการประชุมระดับผู้นำ จะต้องปรากฏข้อเรียกร้องให้มีการทบทวนและถอดบทเรียนจากระบบการเงินที่ล้ม เหลวในการควบคุมตรวจสอบการให้สินเชื่อ การเก็งกำไรและการจัดการความเสี่ยง ถึงขนาดที่ผู้นำประเทศอุตสาหกรรมบางคนถึงกับเรียกร้องให้มีการปฏิวัติทาง ความคิดเกี่ยวกับระบบทุนนิยมอย่างถึงราก ตัวอย่างที่สำคัญ คือ ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส ซึ่งได้ประกาศอย่างท้าทายในระหว่างการประชุม "โลกใหม่, ทุนนิยมใหม่ : คุณค่า การพัฒนาและการกำหนดกฎเกณฑ์ (New World, New Capitalism : Values, Development and Regulation)" ที่ปารีสเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ว่า "ทุนนิยมเสรี (laisser-faire capitalism) ได้ตายไปแล้ว!"


ในการประชุมครั้งนี้ ประเด็นเกี่ยวกับทุนนิยม "เก่า" และ "ใหม่" ได้กลายเป็นหัวใจหลักในการสนทนาซึ่งเน้นหนักไปที่ผลกระทบเชิงลบของโลกาภิวัต น์ (อาทิเช่น ความเหลื่อมล้ำและขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ) วิกฤติภาคการเงินซึ่งเป็นผลจากธรรมชาติของระบบทุนนิยมอเมริกัน ที่ถือกำไรระยะสั้นเป็นแรงจูงใจและมีระบบควบคุมตรวจสอบ (governance) การดำเนินธุรกิจที่บกพร่อง อีกทั้งยังมีการยื่นข้อเสนอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับกรอบความคิด เพื่อก้าวออกจากทุนนิยมที่กำลังครอบงำเศรษฐกิจโลกไปสู่ทุนนิยม ที่มี "จริยธรรม" นั่นคือ ระบบเศรษฐกิจซึ่งรัฐและธุรกิจมีจิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งเคารพข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม


ในเอกสารกำหนดประเด็นการสนทนา ซึ่งเตรียมโดยสถาบันวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ของฝรั่งเศส (Centre d’analyse stratégique) ยังได้อ้างถึงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เสนอให้นำกลไกเชิงสถาบันที่นอกเหนือจาก กลไกตลาด อาทิเช่น กลไกการรวมกลุ่มต่อรองทางสังคมมาช่วยจัดสรรทรัพยากรและแทรกแซงให้เกิดสังคม ที่เสมอภาคยิ่งขึ้น


แนวทางที่ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือเพื่อเป็นทางเลือก จึงไม่ใช่แค่แนวนโยบายแบบเคนส์เซียน (Keynesianism) ที่เราคุ้นเคย ซึ่งเสนอเพียงให้รัฐแสดงบทบาทนำในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยผ่านการใช้จ่าย เพื่อแก้ปัญหาการว่างงานในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวหรือตกต่ำ แต่เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เรื่องการพัฒนา โดยเสนอให้นำตัวแปร อาทิเช่น "Capabilities" (ขีดความสามารถ : แปลโดยผู้เขียน) มาใช้เป็นดัชนีวัดทั้งรายได้และความเป็นอยู่ของคนแทนรายได้ประชาชาติต่อหัวของประชากร


ทั้งนี้ "ขีดความสามารถ (capabilities)" เป็นหนึ่งในตัวแปรที่ได้รับการเสนอจากอมาตยา เซ็น (Amartya Sen) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลตั้งแต่สิบปีที่แล้ว และได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จนเป็นที่รู้จักในฐานะกรอบความคิดใหม่ที่เรียกว่า Capabilities Approach อันเป็นตัวสะท้อนความสามารถของบุคคลที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ซึ่งบุคคลนั้นปรารถนาที่จะทำ หรือจะเป็น (things that a person may value doing or being) โดยครอบคลุมตั้งแต่ความจำเป็นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ได้บริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ หรือได้อุปโภคเสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่มที่สะอาด ไปจนถึงการทำกิจกรรม/ดำรงสถานะ/อยู่ในสภาวะที่ซับซ้อนมากขึ้น อาทิเช่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง เป็นต้น


ในบทความล่าสุดของเซ็นเกี่ยวกับระบบทุนนิยมและวิกฤติ ที่ชื่อว่า Capitalism Beyond the Crisis (25 กุมภาพันธ์ 2552, เผยแพร่ใน New York Review of Books, 26 มีนาคม 2552) เซ็นได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า จริงๆ แล้ว สิ่งที่เราต้องการในขณะนี้ คือ ระบบทุนนิยม "ใหม่" ที่มีรูปแบบและวิธีการทำงานแตกต่างไปจากเดิม หรือว่าระบบเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่น หลากหลายและเคารพระบบคุณค่าทางสังคมและสถาบันที่แตกต่างกันไปในแต่ละสังคม กันแน่


เซ็น กล่าวว่า วิกฤติเศรษฐกิจคราวนี้ทำให้เราหวนกลับมาตั้งคำถามเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ที่ เราต้องการ กล่าวคือ วิชาเศรษฐศาสตร์แบบไหนที่เราจะสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือทำความเข้าใจ วิกฤติเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่เราควรทำอันดับแรก คือ ประเมินเศรษฐศาสตร์ที่ถูกสอนและถูกใช้กันอยู่ในปัจจุบันในฐานะคู่มือชี้นำ และกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เขายังพยายามชี้ให้เห็นว่าความเข้าใจที่ไม่แตกฉานในระบบตลาดและแยกแยะไม่ ออกว่ากลไกตลาดนั้น "จำเป็น" หรือ "พอเพียง" ก็เป็นอีกปัญหาสำคัญซึ่งทำให้เกิดการตีความ "มือที่มองไม่เห็น" ของ อดัม สมิท (Adam Smith) ผิดเพี้ยนไป


สำหรับเซ็นแล้ว อดัม สมิท คือ นักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า "ผลประโยชน์ส่วนบุคคล" สามารถทำงานได้อย่างน่าทึ่งเพียงใดในการจัดสรรทรัพยากรและเพิ่มความมั่งคั่ง ให้กับสังคมส่วนรวม และที่สำคัญ สมิทสนับสนุนกลไกตลาดในบริบทของสังคมเศรษฐกิจช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งการค้าเสรีโดยเอกชน ที่ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐ ได้ก่อให้เกิดผลได้ในแง่ของการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของประชากร ลดความยากจนและความอดอยากลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างไรก็ตาม พวกที่บูชาตลาดอย่างสุดโต่ง (market fundamentalists) มักจะกล่าวอ้าง "มือที่มองไม่เห็น" ของสมิทอย่างพร่ำเพรื่อ


นอกจากนี้ สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ยุคหลังมักไม่ค่อยตระหนักเกี่ยวกับงานของอดัม สมิท คือ สมิทเห็นว่าตลาดและกลไกตลาดสามารถทำงานได้ดีก็เพียงในปริมณฑลทางเศรษฐกิจ เท่านั้น แต่สังคมที่พึงปรารถนายังคงต้องการการสนับสนุนจากสถาบันอื่น อาทิเช่น บริการสาธารณะ โรงเรียน ฯลฯ นอกจากนี้ ในงานเขียนหลายชิ้นของเขา สมิทได้ให้ความสำคัญกับคุณค่าอื่นๆ ที่ไม่ใช่กำไร ไม่ว่าจะเป็นความยุติธรรมและมนุษยธรรม


การอธิบายความคิดและความเชื่อของอดัม สมิท ในบทความของเซ็น ทำให้เราเห็นว่าเศรษฐศาสตร์นั้นไม่ได้ขาดแคลนองค์ความรู้เกี่ยวกับทุนนิยม แม้แต่น้อย นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ยุคของอดัม สมิท ก็ได้เตือนให้เราตระหนักถึงข้อจำกัดของกลไกตลาดและระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพา เพียงกลไกตลาดโดยลำพังมาเป็นเวลานานแล้ว


การพิจารณาถึง "โลกใหม่ ทุนนิยมใหม่" อาจไม่สำคัญเท่าไรนัก หากเราสามารถเข้าใจโลก "เก่า" ที่เรายืนอยู่ได้อย่างดีเพียงพอ คำถามที่ผมอยากจะเสนอให้เราพิจารณาดู ก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ว่าวิกฤติที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ อาจมีสาเหตุสำคัญมาจากปัญหาเรื่อง "ความรู้ความเข้าใจ" ของเราต่อวิธีการทำงานของระบบทุนนิยมมากกว่าส่วนที่มาจาก ความบกพร่องที่เกิดขึ้นจากตัวระบบเอง


สุดท้ายแล้ว เราอาจตกใจระคนทึ่งหากได้ค้นพบว่าเราเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับ "โลกเก่า ทุนนิยมเก่า" คลาดเคลื่อนไปมากแค่ไหน !

Tags : ระบบทุนนิยม ทุนนิยมใหม่เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร


Source: bangkokbiznews.com

อาดัม สมิธ กับสังคม ศิวิไลซ์

มองมุมใหม่ : ผศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547



ผู้คนทั้งที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ และไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ มีความเข้าใจผิด เกี่ยวกับอาดัม สมิธ อยู่มากมายหลายประเด็น ถึงแม้จะเข้าใจถูกต้องตรงกัน อยู่ประเด็นหนึ่งว่า อาดัม สมิธ เป็นบิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์

นอกจากความเข้าใจผิดที่ว่า อาดัม สมิธ เห็นธาตุแท้ของปัจเจกชนเป็นความเห็นแก่ตัวแต่ด้านเดียว และยกย่องส่งเสริมความเห็นแก่ตัวว่า เป็นความดีในทางเศรษฐกิจแล้ว ความเข้าใจผิดที่แพร่หลายอีกประการหนึ่งคือ อาดัม สมิธ เป็นพวกเสรีนิยมสุดขั้วที่คัดค้านบทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจทุกรูปแบบ และต้องการให้ปัจเจกชนมีเสรีภาพทางเศรษฐกิจอย่างไร้ขอบเขต

สังคมในอุดมคติของอา ดัม สมิธ ที่เข้าใจกันอย่างผิดๆ จึงเป็นสังคมที่ปัจเจกชนแต่ละคนมุ่งทำร้ายและเอารัดเอาเปรียบคนอื่นได้ตาม อำเภอใจ คนแข็งแรงทำร้ายคนอ่อนแอ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก โดยที่รัฐบาลไม่ยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้อง

แต่นี่เป็นเพียงความ ไม่เข้าใจและอคติของนักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการประชานิยม ราษฎรอาวุโส และนักการเมืองอนุรักษนิยมสุดขั้ว ที่คัดค้านต่อต้านโลกาภิวัตน์

ในผลงานเศรษฐศาสตร์ การเมืองเรื่อง The Wealth of Nations หรือ ความมั่งคั่งของชาติ อาดัม สมิธ ได้วิเคราะห์บทบาทและผลกระทบของนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีต่อการทำงานของ กลไกตลาด และต่อการเจริญเติบโตของทุนนิยมในระยะยาว

อาดัม สมิธเห็นว่ารัฐบาลมีหน้าที่อย่างน้อย 3 ประการ ในระบบเศรษฐกิจ คือ

1. การป้องกันประเทศ

2. การให้บริการในสาขาที่เอกชนไม่สนใจทำหรือทำโดยไม่มีประสิทธิภาพ และ

3. การบังคับใช้กฎหมายอย่างเที่ยงตรงเคร่งครัด

ทุกวันนี้ นักเศรษฐศาสตร์รู้แล้วว่า การป้องกันประเทศเป็นบริการสาธารณะที่เอกชนไม่สามารถทำได้ เพราะเอกชนไม่มีมาตรการกีดกันผู้ที่ไม่ยอมจ่ายเงินซื้อบริการ กองทัพที่จัดตั้งโดยบริษัทเอกชน ไม่สามารถให้การปกป้องเฉพาะลูกค้าที่จ่ายเงินซื้อบริการ และปล่อยให้กองทัพศัตรูต่างชาติ ทำร้ายพลเมืองที่ไม่ได้จ่ายเงิน ฉะนั้น รัฐบาลจึงต้องเข้ามาดำเนินการด้วยการบังคับจัดเก็บภาษีจากทุกคนเอามาจัดตั้ง และบริหารกองทัพ แล้วให้บริการป้องกันประเทศแก่พลเมืองทุกคนอย่างถ้วนหน้า

รัฐบาลอาจเข้ามาให้ บริการในสาขาที่เอกชนไม่ทำหรือทำอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ถนน สะพาน สวนสาธารณะ สวัสดิการคนยากจน เด็ก สตรี คนชรา เป็นต้น เพราะเป็นบริการที่ไม่ทำกำไร หรือผู้ขายไม่สามารถกีดกันผู้ที่ไม่จ่ายเงินซื้อ

อาดัม สมิธ คัดค้านบทบาทของรัฐบาลที่เข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ ในกรณีที่ขัดขวางบิดเบือน การทำงานของกลไกตลาดเท่านั้น ซึ่งก็คือ การให้อำนาจผูกขาดแก่นายทุนนักธุรกิจเฉพาะกลุ่ม ในรูปของอภิสิทธิ์ สัมปทาน สิทธิบัตร และสิทธิผูกขาดอื่น ๆ

มาตรการดังกล่าวอาจ ให้ประโยชน์แก่รัฐบาล และข้าราชการในรูปของรายได้ภาษีที่จัดเก็บจากกำไรส่วนเกิน ของธุรกิจผูกขาดนั้น หรือเงินสินบนที่นายทุนผูกขาดจ่ายใต้โต๊ะ

แต่การสร้างอำนาจผูก ขาดดังกล่าวเป็นผลเสียต่อสังคมโดยรวม เพราะกลุ่มนายทุนจะสูบรีดเอากำไรส่วนเกิน ด้วยการผลิตสินค้าบริการ น้อยกว่าแต่ในราคาที่สูงกว่าที่สังคมต้องการ ผลก็คือ สังคมจ่ายมากเกินไป แต่ได้รับน้อยลง

การบังคับใช้กฎหมาย อย่างเที่ยงตรงเคร่งครัดเน้นถึงการคุ้มครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในทรัพย์สิน และการบังคับใช้สัญญาธุรกรรม อาดัม สมิธ ถือว่า นี่เป็นเงื่อนไขพื้นฐานของสังคมทุนนิยมที่เข้มแข็งและเจริญก้าวหน้า

เมื่อปัจเจกชนมี อำนาจสิทธิขาดในทรัพย์สินและผลงานของตนเอง และทุกคนทำตามสัญญาธุรกรรม ที่ทำไว้กับคู่ค้าอย่างตรงไปตรงมา เช่น ผู้ขายส่งมอบ และผู้ซื้อจ่ายเงินรับสินค้าบริการในปริมาณ ราคา และระยะเวลาที่ตกลงกันไว้อย่างถูกต้อง การดำเนินธุรกิจ การผลิต และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะดำเนินไปได้

ในเงื่อนไขเช่นนี้ พฤติกรรมเห็นแก่ประโยชน์ตนของปัจเจกชนจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น หากแต่ถูกกฎหมายและกลไกการแข่งขันแปรเปลี่ยนให้เป็นผลดีต่อผู้อื่นและต่อ สังคม เพราะหนทางเดียวที่ปัจเจกชนจะแสวงหาประโยชน์เข้าตัวได้คือ ต้องทำในสิ่งที่คนอื่นต้องการเท่านั้น

เช่น ผู้เป็นเจ้าของเงินต้องยอมให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์จากเงินของตนเพื่อให้ได้ ดอกเบี้ย เจ้าของที่ดินต้องยอมให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์จากที่ดินของตนเพื่อให้ได้ค่า เช่า ผู้ใช้แรงงานต้องแสวงหาการศึกษา ทักษะ และประสบการณ์ที่นายจ้างต้องการ ขณะที่นายจ้างในฐานะผู้ผลิตก็ต้องผลิตสินค้าบริการในคุณภาพ ปริมาณและราคาที่ผู้ซื้อต้องการ เป็นต้น นัยหนึ่ง ทุกคนต้องให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นเพื่อที่ตนเองจะได้ประโยชน์ตอบแทนเท่านั้น


ฉะนั้น ในสายตาของอาดัม สมิธ สังคมทุนนิยมที่เจริญก้าวหน้าจึงเป็นสังคมที่ ยุติธรรม อย่างแท้จริงบนพื้นฐานของรัฐบาลที่เข้มแข็ง มีความศักดิ์สิทธิ์ของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และปัจเจกชนทำเพื่อประโยชน์ตน แต่ท้ายสุด สังคมก็ยังสามารถเจริญก้าวหน้าไปได้


หากรัฐบาลย่อหย่อนใน การบังคับใช้กฎหมาย ปล่อยให้มีการละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและสัญญาธุรกรรม การพัฒนาทุนนิยมก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะปัจเจกชนแทนที่จะทำประโยชน์แก่ผู้อื่นเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ ปัจเจกชนกลับหันมาฉกฉวยประโยชน์จากผู้อื่นเป็นของตนโดยตรง เช่น จี้ปล้น ลักขโมย ฉ้อโกง หลอกลวง ผิดสัญญาธุรกรรม เอารัดเอาเปรียบกัน ซึ่งในที่สุด สังคมและระบบทุนนิยมก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้

มีแต่สังคมที่รัฐบาล อ่อนแอ ฉ้อโกงคอรัปชั่น ไร้ความรับผิดชอบ ปล่อยให้มีการละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และฉ้อโกงสัญญาธุรกรรมเท่านั้น พฤติกรรมเห็นแก่ประโยชน์ตนของปัจเจกชน จึงจะลุกลามไปทำร้ายผู้อื่น นำไปสู่สังคม มือใครยาวสาวได้สาวเอา ปลาใหญ่กินปลาเล็ก

และนี่เป็นสังคมที่ อาดัม สมิธ ประณามว่า ป่าเถื่อน