วิถีขงจื้อ.. วิธีเหลาจื้อ

เรื่อง : ชัยวัฒน์ คุประตกุล kshaiwat2@hotmail.com
โดย โพสต์ Today--แมกกาซีน

คัมภีร์ เต๋าเตอจิง โดย เหลาจื้อ
Tao Te Ching, written by Lao-Tzu

เหลาจื้อเป็นใคร? เหลาจื้อ เป็นศาสดาผู้ให้กำเนิดลัทธิเต๋าใช่หรือไม่? เป็นประเด็นปัญหาที่ยังไม่มีข้อยุติเด็ดขาด เพราะเรื่องราวชีวิตและผลงานความคิดของเหลาจื้อไม่มีหลักฐานบันทึกไว้ ละเอียดชัดเจน

สิ่งที่ชัดเจน คือ ปรัชญาแบบเต๋า หรือแก่นแท้ของลัทธิเต๋า เป็นหนึ่งในสองปรัชญาหรือลัทธิจากจีนโบราณ ที่ยังมั่นคงในโลกยุคใหม่ไฮ-เทค คู่กับ ลัทธิขงจื้อ ซึ่งแตกต่างกันในแนวคิดพื้นฐานอย่างขาวกับดำ ทว่า ก็มีคุณค่าเกินพอที่นักคิดยุคใหม่จะศึกษา



Lao Tzu, the Patriarch of Taoism, riding his legendary green buffalo


ปรัชญาหรือวิถีแบบเต๋า เน้นความสันโดษ ความกลมกลืนกับธรรมชาติ ปัญหาของมนุษย์ไม่สามารถจะแก้ได้ด้วยการสร้างกฎกติกาขึ้นมาโดยมนุษย์ เพื่อใช้บังคับในสังคม ที่สุดของความสุข คือ ความนอบน้อมถ่อมตนอยู่กับธรรมชาติ...

ในขณะที่ ปรัชญาหรือวิถีแบบขงจื้อ ให้ความสำคัญของการมีกฎกติกาที่ดี ที่ยุติธรรม เพื่อการดำรงอยู่ของสังคมอย่างสันติสุข ลัทธิขงจื้อจึงไม่ปฏิเสธการใช้อำนาจในการปกครองบ้านเมือง แต่จะต้องเป็นอำนาจที่ถูกใช้อย่างถูกทำนองคลองธรรม อย่างยุติธรรม

เรื่องราวประวัติชีวิต ความคิด และผลงานของขงจื้อ เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีนที่มีการบันทึกไว้มากมาย ทั้งโดยนักประวัติศาสตร์จีน ล้วนเป็นบันทึกโดยขงจื้อเอง และบรรดาลูกศิษย์สาวกของขงจื้อที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับขงจื้อและยุคสมัย ต่อๆ มา...

แต่ในส่วนที่เป็นต้นแบบของผู้เป็นต้นกำเนิดลัทธิเต๋า มีปราชญ์จีนโบราณมากกว่า 1 คนที่ได้รับการกล่าวถึงว่า น่าจะเป็นผู้ให้กำเนิดลัทธิเต๋าตัวจริง และหนึ่งในบุคคลที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดว่าน่าจะเป็นเจ้าลัทธิเต๋าตัว จริงคือ เหลาจื้อ ผู้มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับขงจื้อ แต่มีอาวุโสมากกว่าขงจื้อ

ความเป็นตัวตนของเจ้าลัทธิเต๋าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง แต่จะยังไม่ใช่สาระหลักของเราวันนี้ เพราะสิ่งที่ผู้เขียนจะนำมาเล่าสู่คุณผู้อ่านต่อไปในวันนี้เป็นการถ่ายทอด เรื่องราวที่สำหรับผู้เขียนแล้ว น่าตื่นเต้น และมีสาระที่ชวนขบคิดอย่างที่สุด เพราะเห็นชัดเจนว่า แม้แต่เวลาที่ผ่านไปกว่า 2,000 ปีแล้ว ก็ยังไม่ทำให้เรื่องที่จะเล่าสู่คุณผู้อ่านเก่าไปเลย ทั้งในสาระและความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัญหาสังคมโลกวันนี้

เรื่องราวนั้นคือ การพบกันของขงจื้อ กับ เหลาจื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อคิดที่เหลาจื้อมอบให้ขงจื้อก่อนจากกัน


ขงจื้อ ( Confucius )


ขงจื้อ เกิดก่อนที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จสู่ปรินิพพาน 8 ปี ส่วนเหลาจื้อไม่มีหลักฐานว่าเกิดเมื่อไร แต่ค่อนข้างจะแน่ชัดคือ เหลาจื้ออาวุโสกว่าขงจื้อ โดยอาจจะอาวุโสกว่าขงจื้ออย่างน้อย 20 ปี บางเรื่องราวอ้างอิงก็กล่าวว่า เหลาจื้ออาวุโสกว่าขงจื้อถึงประมาณ 50 ปี

การพบกันระหว่างขงจื้อกับเหลาจื้อเกิดขึ้นเมื่อขงจื้อมีอายุประมาณ 35 ปี ขณะนั้นขงจื้อเริ่มมีชื่อเสียงในฐานะปราชญ์หนุ่มใหญ่ที่ปราดเปรื่อง และได้ตั้งสำนักเปิดรับลูกศิษย์เพื่อเล่าเรียนวิชา ทั้งทางด้านปรัชญาความคิดและการใช้อาวุธ ดังเช่น การยิงธนู มีลูกศิษย์มากมายทั้งจากคนมีฐานะต่ำต้อยทางสังคมที่มาจากชนบท และบุตรหลานขุนนางกับคนมีฐานะในเมือง ส่วนเหลาจื้อมีชื่อเสียงขจรไปไกลกว่าขงจื้อ ในฐานะเป็นปราชญ์ผู้นิยมวิถีแห่งธรรมชาติ หลังจากที่ได้สละตำแหน่งงานราชการระดับสูงอย่างไม่หวนคืนกลับ


ขงจื้อ ( Confucius )


ขงจื้อ เป็นคนใฝ่รู้ ถึงแม้จะมีฐานะเป็นอาจารย์เจ้าของสำนักมีลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ยังใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ และวันหนึ่งก็ออกเดินทางจากสำนักไปเสาะแสวงหาเหลาจื้อที่อยู่ต่างเมืองแสน ไกล แล้วก็ได้พบ

เมื่อขงจื้อพบกับเหลาจื้อ ขงจื้อก็แสดงความนอบน้อมในฐานะผู้มีอาวุโสน้อยกว่า บอกเหลาจื้อว่า เดินทางมาหาเพราะอยากเรียนรู้จากเหลาจื้อ...

เหลาจื้อต้อนรับขงจื้อ ชื่นชมในความอ่อนน้อมถ่อมตนของขงจื้อ แต่บอกขงจื้อว่า ยินดีต้อนรับขงจื้อในฐานะสหาย...

สหายแบบไหนหรือ?

สหายผู้มีนิสัยใฝ่รู้ที่ตรงกัน

ขงจื้อได้เรียนรู้ในวิถีของเหลาจื้อ ด้วยวิธีการสอนของเหลาจื้อคือ ให้ขงจื้อศึกษาด้วยตัวเอง จากธรรมชาติ จากภูมิปัญญาของปราชญ์ของนักปกครองในอดีต ที่วางกรอบจารีตปฏิบัติอย่างยุติธรรม อย่างมีคุณธรรม ทำให้บ้านเมืองที่มีนักปกครองยึดมั่นในจริยธรรมแห่งการเป็นนักปกครองที่ดี มีความสงบสุข ซึ่งตรงกับแนวคิดของขงจื้อ

ตลอดเวลาประมาณ 30 วันที่ขงจื้อพักอยู่ในสำนักของเหลาจื้อ ขงจื้อไม่ได้เรียนรู้อะไรโดยตรงจากเหลาจื้อ นอกเหนือไปจากการชี้แนะให้ขงจื้อศึกษาด้วยตนเอง อย่างที่ขงจื้อก็ไม่รู้สึกตัว โดยมีเพียงศิษย์ของเหลาจื้อคอยช่วยนำทางและชี้แนะบางอย่างแก่ขงจื้อ

ถึงแม้เหลาจื้อจะไม่ได้สนทนากับขงจื้อในช่วงเวลาประมาณ 30 วันนั้น เหลาจื้อก็เข้าถึงวิถีแนวคิดของขงจื้ออย่างลึกซึ้ง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากลูกศิษย์ของเหลาจื้อผู้ได้รับมอบหมายให้อยู่กับขงจื้อ เป็นผู้นำทางขงจื้อไปศึกษาด้วยตนเอง และก็จึงได้รับทราบความคิดของขงจื้ออย่างดี

ขงจื้อได้พบกับเหลาจื้ออีกครั้งก็เมื่อเหลาจื้อได้เห็นแล้วว่าขงจื้อได้ เรียนรู้สิ่งที่ขงจื้อปรารถนาแล้ว และจึงถึงเวลาที่ขงจื้อจะเดินทางกลับไปยังเมืองที่ขงจื้ออยู่

ในการพบกันของขงจื้อกับเหลาจื้อเป็นครั้งสุดท้าย ขงจื้อบอกเหลาจื้อว่า เข้าใจในวิธีการสอนของเหลาจื้อ และขงจื้อก็ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย

เหลาจื้อ บอกว่า มีคนมากมายมาขอเรียนรู้กับเหลาจื้อ แต่ส่วนใหญ่ก็ผิดหวัง เพราะไม่ได้เรียนรู้กับเหลาจื้อโดยตรง และจึงละทิ้งความตั้งใจไป มีแต่ขงจื้อที่มีความมุ่งมั่นและใฝ่รู้อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม เหลาจื้อก็เข้าใจในหลักคิดของขงจื้อในเรื่องการแก้ปัญหาของสังคมมนุษย์ ให้เกียรติในความยึดมั่นในหลักคิดของขงจื้อ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้ให้ข้อคิดในฐานะเป็นผู้อาวุโสกว่าแก่ขงจื้อ ดังบทสนทนาของสองปราชญ์แห่งอารยธรรมโบราณตะวันออกดังต่อไปนี้


เหลาจื้อ Lao Tzu


เหลาจื้อ : คนมั่งมี ยามจากกัน มอบสิ่งของ คนมีคุณธรรม ยามจากกัน ได้แต่มอบข้อคิด เหลาจื้อไม่ใช่คนมั่งมี แต่พอจะมีคนยกย่องว่าเป็นคนมีคุณธรรม จึงมอบได้แต่ข้อคิดเท่านั้น...

พ่อค้าที่ชำนาญ จะไม่นำสินค้าออกมาตั้งวาง คนรอบรู้ จะต้องไม่แสดงการโอ้อวด คนเราควรจำไว้ อย่าไปนินทาผู้อื่นโดยเด็ดขาด และทำอะไรก็อย่าเอาหน้า และเอาแต่ใจ ที่เหลาจื้อต้องพูดเช่นนี้ก็เพราะว่าท่าน (ขงจื้อ) เลือกทางที่ไม่เที่ยงแท้ อย่างไรก็ตาม ถึงเราจะต่างอุดมการณ์กัน แต่เหลาจื้อก็นับถือท่านมาก

ขงจื้อ : กล่าวคำอำลา ขอให้เหลาจื้อรักษาสุขภาพ

เหลาจื้อ : ท่านเป็นมิตรสหายที่หายากจริงๆ

หลังการพบกับปราชญ์อาวุโสกว่า ขงจื้อก็ยังมุ่งมั่นยึดแนวคิดอุดมการณ์ของตนในการเผชิญกับปัญหาสังคมมนุษย์ ทุกระดับ (ตั้งแต่ระดับการบ้านการเมืองถึงครอบครัว) ที่ให้ความสำคัญสูงสุดแก่จารีตประเพณีอันเป็นกฎกติกาดีงามที่ยึดถือกันมา ในขณะเดียวกัน ขงจื้อก็นำหลักคิดของเหลาจื้อในส่วนที่คอยเหนี่ยวรั้งสติตนเอง ไม่ยึดถือเอาทัศนะความคิดของตนเป็นใหญ่ ไม่หลงใหลยึดติดในตำแหน่งฐานะ จึงมีคำกล่าวของขงจื้อที่ถอดความได้ว่า...

“บัณฑิตย่อมไม่เป็นทุกข์ เพราะว่าไม่มีฐานะตำแหน่ง แต่ควรเป็นทุกข์เพราะไม่มีคุณธรรม”



Daruma-Hakuin1.jpg
Description:
Filesize: 24.03 KB
Viewed: 9017 Time(s)

Daruma-Hakuin1.jpg

http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=2032