ขงเบ้ง (จูกัดเหลียง)


ศาลเจ้าจูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) ที่มณฑลเสฉวน
จูกัดเหลียง (อังกฤษ: Zhuge Liang; จีนตัวเต็ม: 諸葛亮; จีนตัวย่อ: 诸葛亮; พินอิน: Zhūge Liàng) หรือ ขงเบ้ง
ที่มาภาพ: th.wikipedia.org
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จูกัดเหลียง (อังกฤษ: Zhuge Liang; จีนตัวเต็ม: 諸葛亮; จีนตัวย่อ: 诸葛亮; พินอิน: Zhūge Liàng) หรือ ขงเบ้ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ฉายาข่งหมิง (孔明, พินอิน: Kǒngmíng) ที่ผู้อื่นเรียกด้วยความเคารพ นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่นมังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์

จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งรัฐจ๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต วิชาการ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่ยิ่งใหญ่ โดยคิดค้นหมั่นโถว ธนูไฟ โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวกนักพรต และถือพัดขนนกกระเรียนอยู่ในมือเสมอ

วรรณกรรมสามก๊ก

ในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก จูกัดเหลียงถูกยกย่องว่าเป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ได้รับฉายาจากบังเต็กกงว่า "ฮกหลง" หมายถึงมังกรซุ่มหรือมังกรหลับ จากคำแนะนำของสุมาเต็กโชและชีซีที่หลงกลอุบายของโจโฉจำต้องหวนกลับไปอยู่วุ่ยก๊กด้วยความจำใจ ทำให้เล่าปี่ต้อง ดั้งด้นมาเชิญตัวจูกัดเหลียงด้วยตัวเองถึงสามครั้งสามครา จูกัดเหลียงมีความรู้เป็นเลิศ รับใช้ราชวงศ์เล่าถึง 2 ชั่วอายุคน ภายหลังก่อนที่พระเจ้าเล่าปี่จะสวรรคต ได้ยกทรัพย์สมบัติและแผ่นดินของราชวงศ์ฮั่นให้แก่จูกัดเหลียง แต่จูกัดเหลียงปฏิเสธจึงฝากฝัง เล่าเสี้ยนให้ ดูแลบ้านเมืองต่อไปแต่ไม่อาจสำเร็จได้ เพราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนหูเบา เชื่อแต่คำยุยงของขันทีฮุยโฮยกทัพไปปราบปรามชาวม่าน และได้สู้รบกับวุยก๊กหลายครั้ง


ประวัติ

จูกัดเหลียง มีชื่อจริงว่าจูเก๋อเลี่ยง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของจูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ จูกัดเหลียงมีพี่ชายและน้องชายอย่างละคนคือ จูกัดกิ๋นพี่ ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊กและน้องชายจูเก๋อจิ๋น จูกัดเหลียงมีอุปนิสัยและความคิดที่ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉานทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ ใจคอเยือกเย็นมีเมตตา ชอบอวดอ้างและลองดีกับผู้ที่มีนิสัยกล่าวโอ้อวดตนเอง อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้านที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน

จูกัดเหลียงมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี หรือ ตันฮก (ชื่อตันฮกใช้ในการหลบหนี) สื่อกวงเหวียน (โจ๊ะก๋งหงวน) เมิ่งกงเวย (เบงคงอุย) และซุยเป๋ง และจูกัดเหลียงมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่จูกัดเหลียงกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีและซุยเป๋งเท่านั้นที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ยิ่งไปกว่านั้นยอดปราชญ์แห่งสามก๊กอย่างอาจารย์สุมาเต๊กโช ยังยกย่องว่าไม่เพียงแค่เปรียบได้กับขวันต๋งและงักเยเท่านั้น ยังเปรียบได้กับเจียงไทกงผู้หนุนราชวงศ์จิวและเตียงเหลียงผู้หนุนราชวงศ์ ฮั่นอีกด้วย ทำให้รู้ว่านอกจากจูกัดเหลียงจะเป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องแล้วยังเป็นผู้มีความ จงรักภักดีเป็นอย่างมาก

จูกัดเหลียงมาเป็นที่ปรึกษาให้แก่เล่าปี่จาก การได้รับคำแนะนำจากชีซี และคำกล่าวยกย่องจูกัดเหลียงและบังทองจากสุมาเต๊กโช ซึ่งถ้าเล่าปี่ได้บุคลหนึ่งในสองนี้เป็นที่ปรึกษา จะสามารถทำการใหญ่กอบกู้แผ่นดินได้สำเร็จ โดยเล่าปี่ต้องดั้งด้นเดินทางท่ามกลางอากาศหนาวเย็น และเข้าคำนับผิดคนที่มีท่าที่และการเจรจาที่ฉลาดเฉลียวมาตลอดเส้นทางด้วย เข้าใจผิดคิดว่าเป็นจูกัดเหลียง เล่าปี่มาหาจูกัดเหลียงด้วยใจศรัทธาถึงกระท่อมไม้ไผ่ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 คราก็ไม่พบตัวจูกัดเหลียงแม้แต่ครั้งเดียว

จูกัดเหลียงเป็นผู้ชอบลองนิสัยของบุคคล ยิ่งเห็นเล่าปี่ศรัทธาในตนยิ่งนักจึงแกล้งลองใจเล่าปี่ด้วยการหลบออกจากบ้าน และแกล้งให้เด็กรับใช้แจ้งแก่เล่าปี่ว่าตนไม่อยู่บ้าน และครั้งสุดท้ายบอกว่าตนนอนหลับ เล่าปี่ก็ไม่ละความพยายามในความอุตสาหะที่จะเชิญตัวจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วย เมื่อจูกัดเหลียงนอนหลับจึงมายืนสงบที่ปลายเท้าด้วยกิริยาสำรวมรอคอยจน กระทั่งจูกัดเหลียงตื่น และได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เล่าปี่เอ่ยปากเชิญจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกันเพื่อกิจการบ้านเมือง จูกัดเหลียงเห็นความมานะพยายามของเล่าปี่รวมทั้งอุปนิสัยใจคอและการเป็นคน อาภัพวาสนา จึงยอมไปอยู่ด้วย ซึ่งขณะนั้นจูกัดเหลียงมีอายุได้เพียง 26 ปีเท่านั้น

เมื่อจูกัดเหลียงไปอยู่ด้วยกับเล่าปี่ ซึ่งได้รับการเอาใจใส่ดูแลและให้การเคารพนับถือเช่นอาจารย์ ทำให้จูกัดเหลียงมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อจูกัดเหลียงได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของแฮหัวตุ้น แม่ทัพเอกของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว จูกัดเหลียงก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง

ครอบครัว

* บิดา จูกัดกุย (จูกัดฟอง)
* พี่ชาย จูกัดกิ๋น
* น้องชาย จูกัดกุ๋น (ในฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)ใช้ชื่อว่า จูกัดกิ๋นเช่นเดียวกับพี่ชายคนโต)
* ภรรยา นางอุยซี
* พ่อตา อองเสงหงัน
* บุตร จูกัดเจี๋ยม
* หลานปู่ จูกัดสง
* หลานอา จูกัดเก๊ก ลูกชายของจูกัดกิ๋น
* อา จูกัดเสียน

บทบาทหน้าที่

ยามออกศึก จูกัดเหลียงจะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว จูกัดเหลียงเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่าเป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า จูกัดเหลียงเป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยจูกัดเหลียงมีฐานะเป็นสมุหนายก (ไจ่เซียง, เสิงเสี้ยงในสำเนียงจีนกลาง) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก จูกัดเหลียงประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 6 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิตจูกัดเหลียงเจ็บออดๆ แอดๆ อยู่เสมอ จูกัดเหลียงสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี (จูกัดเหลียงฉบับการ์ตูนบอกว่าสิ้นอายุเมื่อตอน 52 ปี) บนรถม้ากลางสนามรบ ในหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เขียนไว้ดังนี้


ครั้นเวลาค่ำ จูกัดเหลียงอุตส่าห์เดินออกไปดูอากาศ เห็นดาวสำหรับตัว มันเศร้าหมองกว่าแต่ก่อน ก็ยิ่งตกใจเป็นอันมาก จึงพาเกียงอุยเข้าไปที่ข้างในแล้วว่า "ชีวิตเรานี้ เห็นทีจะตายในวันพรุ่งนี้แล้ว" เกียงอุยได้ฟังดังนั้นก็ตกใจ จึงถามว่า "เหตุใดมหาอุปราชจึงว่า ฉะนี้" จูกัดเหลียงจึงว่า "เราพิเคราะห์ดูอากาศ เห็นดาวสำหรับตัวเราวิปริต จึงรู้ว่าสิ้นอายุแล้ว" เกียงอุยเสนอให้จูกัดเหลียงทำพิธีต่ออายุ ด้วยการตั้งโต๊ะบูชาเทพยดาและจุดโคมเสี่ยงทายอายุ ถ้าไฟโคมยังสว่างไสวตลอดพิธีจะมีอายุยืนยาวได้อีกสิบสองปี แต่ถ้าไฟโคมดับก่อนเสร็จพิธี ชีวิตก็จะสิ้นสุด จูกัดเหลียงคิดถึงภาระหน้าที่และคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับเล่าปี่ว่าจะรวบรวม แผ่นดินถวายคืนสู่ราชวงศ์ฮั่น จำต้องทำพิธีต่ออายุแต่อุบัติเหตุก็เกิดขึ้น เมื่อนายพลอุยเอี๋ยนผลีผลามเข้ากระโจมเพื่อรายงานว่าสุมาอี้ส่งทัพมาท้ารบ ได้เตะเอาโคมเสี่ยงทายล้มไฟโคมดับ"


เรื่องการดูดาวประจำตัวนั้นจูกัดเหลียงรู้แต่สุมาอี้ก็รู้ สุมาอี้ต้องการยืนยันความรู้ของตนว่าจูกัดเหลียงใกล้ตายแล้วหรือไม่ด้วยการ ส่งทัพมาท้ารบ ถ้าทัพจูกัดเหลียงออกสู้ แสดงว่าจูกัดเหลียงยังไม่เป็นอะไรถ้าไม่สู้แสดงว่าจูกัดเหลียงแย่แล้วจะได้ ตีซ้ำบดขยี้ทัพจูกัดเหลียงให้แหลกลาญ จูกัดเหลียงรู้ทันความคิดแม้รู้ว่าชีวิตจะสิ้นยังคงสติได้ดีสั่งให้ทหารออก ปะทะขับไล่ทัพสุมาอี้ถอยไปตามเดิม

ถึงจูกัดเหลียงลาลับดับโลก แต่ยังได้ทำพิธีรักษาดวงดาวประจำตัวไม่ให้ร่วงหล่นจากฟากฟ้า เป็นการขู่สุมาอี้ มิให้ตามโจมตีเวลาถอยทัพ ซึ่งอุบายนี้สามารถรักษาชีวิตทหารของตนได้หลายหมื่น และยังทำให้อาณาจักร จ๊กก๊ก (ของเล่าปี่) ยืนยาวอยู่ได้อีกกว่ายี่สิบปี พระเจ้าเล่าเสี้ยนโศกเศร้าเสียพระทัยมาก ศพของจูกัดเหลียงถูกฝังอยู่ที่เชิงเขาเตงกุนสัน ปากทางเข้าเสฉวน

ภายหลังจากที่จูกัดเหลียงสิ้นชีวิตไปแล้ว 29 ปี เมื่อเตงงายแม่ทัพของวุยก๊กได้ ยกทัพผ่านมาทางเขาเหยียดฟ้าปากทางเข้าเมืองเสฉวนอีกทาง ได้พบกับป้อมค่ายที่ร้างบนเขาซึ่งปราศจากทหารดูแลเมื่อจูกัดเหลียงสิ้นชีวิต ไปแล้ว ซึ่งจูกัดเหลียงทำนายว่า ในอนาคตข้างหน้าจะมีแม่ทัพของวุยก๊กยกทัพผ่านทางนี้จึงให้เฝ้าระวังไว้ และเมื่อจงโฮยแม่ ทัพวุยก๊กอีกคนที่ยกทัพผ่านมาทางเขาเตงกุนสัน นอนหลับไปฝันเห็นว่าจูกัดเหลียงมาเข้าฝันว่า เมื่อยกทัพเข้าเสฉวนได้แล้วขอให้ไว้ชีวิตราษฎร ซึ่งจูกัดเอี๋ยนที่ เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊กได้เข้าต่อต้านทัพวุยและก็เสียชีวิตพร้อมบุตรชาย ตัวเองในครั้งนี้ด้วย ปัจจุบันมีศาลเจ้าจูกัดเหลียงและเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย และบรรดาขุนพลของจ๊กก๊กที่เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน ซึ่งได้รับการบูรณะในปีที่ 11 ของรัชสมัยจักรพรรดิคังซีของราชวงศ์ชิง

ผลงาน

1. กลเผาทุ่งพกบ๋อง ทำลายทัพของแฮหัวตุ้นที่มาโจมตี

2. เบื้องหลังความสำเร็จของยุทธนาการศึกเซ็กเพ็ก ทำลายทัพกำลังพลเป็นล้านของโจโฉหมดสิ้น นำหุ่นฟางไปลวงระดมธนูมาจากฝ่ายโจโฉ ขึ้นแท่นเรียกลมอ่านโองการบัญชาฟ้าดิน วางกลซุ่มดักตีทัพโจโฉยามแตกพ่าย

3. อุบายยึดเกงจิ๋วและหัวเมืองสำคัญทั้งหลายโดยใช้อุบายยืมกำลังจากง่อก๊กเข้าตีลวงแล้วจึงส่งกำลังเข้ายึดโดยไม่ต้องลงทุน

4. แก้อุบายจิวยี่จนเล่าปี่ได้ซุนฮูหยินเป็นภรรยา

5. อุบายลวงจิวยี่ มันสมองสำคัญของง่อก๊กจนกระอักเลือดตาย

6. อุบายให้เตียวสงมอบแผนที่เสฉวน

7. เคลื่อนทัพเข้ายืดแคว้นเสฉวนของเล่าเจี้ยงเพื่อสร้างสถานภาพสามก๊ก

8. เจริญสัมพันธไมตรีกับง่อก๊กหลังจากพระเจ้าเล่าปี่สวรรคต ซึ่งก่อนหน้านี้เล่าปี่ได้เคลื่อนทัพหลวงบุกรุกง่อก๊กเพื่อแก้แค้นให้กับกวนอู ซึ่งในครั้งนั้น ทำให้พระเจ้าเล่าปี่สูญเสียแม่ทัพเตียวหุย และยังถูกลกซุนเผาทัพหลวงจนมอดใหม่หมดสิ้น

9. สยบเบ้งเฮ็กทำให้ทางใต้สงบ โดยไม่ต้องกังวลกับการบุกทางเหนือฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น

10. ออกอุบายปล่อยข่าวลือทำให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่งทางการเมืองเพื่อไม่ให้ต่อกรกับจ๊กก๊กได้

11. บุกกิสานครั้งที่หนึ่ง สามารถเคลื่อนทัพบุกยึดเทียนซุยและอันติ้งได้ด้วยอุบาย พร้อมทั้งได้ยอดทหารอย่างเกียงอุยมาเป็นขุนศึกคู่ใจด้วย

12. ครานั้นพระเจ้าโจยอยส่งทัพใหญ่ให้แม่ทัพโจจิ๋นเป็นแม่ทัพ และให้อองลองขุนนางเฒ่าข้าเก่าในสมัยพระเจ้าฮั่นเลนเต้เป็นที่ปรึกษานำทัพ ออกสู้รบเพื่อป้องกันการบุกของทัพจ๊กซึ่งมีจูกัดเหลียงเป็นแม่ทัพใหญ่ ครานั้นอองลองออกยืนหน้าทัพของฝ่ายตนหวังจะพูดจาเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวให้จู กัดเหลียงละอายใจและได้สำนึก จะได้ถอยทัพกลับไปโดยไม่ต้องรบ กลับถูกจูกัดเหลียงซึ่งนั่งอยู่บนรถเลื่อนพูดด่าประจานให้ได้อายฟ้าอายดินจน อองลองตกม้าตายอยู่ตรงหน้าทัพ ทหารเสียขวัญแตกพ่ายไม่เป็นขบวน เป็นการแสดงออกถึงอัจฉริยภาพด้านวาทศิลป์ไม่แพ้โซ้จิ๋น และเตียวยี่ในอดีต

13. ในยามคับขันครั้งหนึ่ง หลังจากเสียเกเต๋ง จูกัดเหลียงต้องถอยทัพใหญ่กลับเซงโต๋ (เฉิงตู) แต่ต้องขนถ่ายเสบียงกลับจากเมืองเล็กๆที่เสเสีย ภายในเมืองเสเสียมีแต่เสบียงกับทหารเพียงแค่สองพันห้าร้อยคน ในขณะที่กองทัพสุมาอี้มีกองทัพเรือนแสนยกมาประชิดกำแพงเมือง จูกัดเหลียงทำกลลวง เปิดประตูเมือง ลดธงทิวลง และขึ้นเล่นพินจีนบนกำแพงเมือง ลวงทัพสุมาอี้ ทำให้สุมาอี้ลังเลที่จะยกทัพบุกเข้าในเมืองเพราะกลัวจูกัดเหลียงซุ่มทัพโจม ตี ครั้งนี้เป็นการแสดงอัจฉริยภาพของจูกัดเหลียงในการแก้ปัญหายามคับขันถึง ชีวิตได้อย่างยอดเยี่ยมถึงแม้จะมีความเสี่ยงมากก็ตาม

14. ในการบุกกิสานครั้งที่สาม ใช้เนินไม้แปลกสร้างกองทัพผีทำกลลวงทัพสุมาอี้จนแม้แต่ยอดขุนพลเตียวคับยังไม่กล้าบุก จนสามารถตีได้ค่ายใหญ่ของสุมาอี้ เปิดทางเข้าสู่กิสานได้เต็มตัว

15. สร้างโคยนต์ม้ากลขึ้นใช้ลำเลียงเสบียงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการบุกกิสานในการบุกกิสานครั้งที่ 5

16. ลวงทัพสุมาอี้ให้ออกรบ โดยซุ่มกำลังไว้ที่ช่องเขาระหว่างทาง ทำการเผาทัพสุมาอี้ในการบุกกิสานครั้งที่ 6 ในครั้งนี้สุมาอี้ สุมาสู และสุมาเจียว บุตรทั้งสองของสุมาอี้ เกือบต้องมาสิ้นชีวิตที่ช่องเขานี้ แต่คงเป็นบุญญาพินิหารของตระกูลสุมาที่จะต้องให้กำเนิดพระมหากษัตริย์ที่ สามารถรวบรวมสามก๊กให้เป็นหนึ่งได้ ทำให้ฝนตกลงมาสามพ่อลูกตระกูลสุมาจึงหนีรอดไปได้

17. ก่อนจูกัดเหลียงสิ้นชีวิตในการบุกกิสานครั้งที่ 6 นี้เองได้วางกลลวงสุมาอี้เพื่อทำให้กองทัพเคลื่อนกลับเซงโต๋ได้อย่างปลอดภัย โดยให้นำหุ่นไม้ของจูกัดเหลียงขึ้นนั่งบนรถประจำตัวโดยในจุดนี้ บางฉบับกล่าวว่าจูกัดเหลียงให้นำเอาศพของตนเองขึ้นนั่งบนรถ แล้วให้เกียงอุยเป็น ทัพหลัง เมื่อเห็นทัพสุมาอี้เคลื่อนใกล้วเข้ามาตามตีก็ให้เข็นรถออกไปให้สุมาอี้เห็น ทำให้สุมาอี้ที่เคยโดนกลลวงจนเกือบโดนเผาตายไม่กล้ายกทัพตามตีต่อเพราะคิด ว่าจูกัดเหลียงยังมีชีวิตอยู่และเกรงกลัวจะต้องกลของจูกัดเหลียง และยังให้เตียวหงีกับม้าต้ายทำกลลวงกบฏอุยเอี๋ยนจนสามารถสังหารอุยเอี๋ยนได้ระหว่างทางกลับเซงโต๋นั่นเอง

วีรกรรมส่วนใหญ่ที่กล่าวมาส่วนใหญ่เป็นการสรรเสริญของกวี(ส่วนใหญ่ไม่เป็นเรื่องจริง)


รายชื่อบุคคลที่ถูกสังหารโดยจูกัดเหลียง

* เตียวหยิม ขุนพลของเล่าเจี้ยง
* ม้าเจ็ก ที่ปรึกษาของฝ่ายตนเอง เนื่องจากม้าเจ๊กไม่สามารถรักษาด่านเกเต๋งไว้ได้ จูกัดเหลียงจึงสั่งให้นำตัวไปประหาร (ด้วยน้ำตา)
* อองลอง ขุนนางวุยก๊ก จูกัดเหลียงใช้วาจาด่าอองลองจนตกม้าตาย
* ตันเซ็ก ขุนพลฝ่ายตนเอง เนื่องจากไม่ฟังคำสั่ง จนเกือบเสียทีแล้วยังป้ายความผิดให้กับอุยเอี๋ยนอีก จูกัดเหลียงจึงให้นำตัวไปสั่งประหาร
* แต้บุ้น ขุนพลวุยก๊กที่แสร้งทำเป็นสวามิภักดิ์ แต่จูกัดเหลียงจับได้

สิ่งประดิษฐ์ของจูกัดเหลียง

จูกัดเหลียงนอกจากจะเป็นยอดนักวางแผนแล้วยังเป็นยอดนักประดิษฐ์อีกด้วย สิ่งประดิษฐ์ส่วนใหญ่ของจูกัดเหลียงใช้เพื่อการสงคราม มีดังต่อไปนี้

* หน้าไม้กล สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ถูกใช้หลังจากจูกัดเหลียงตายไปแล้ว จูกัดเหลียงเพียงออกแบบเท่านั้น และนำแบบร่างให้เกียงอุยไปจัดการทำ กล่าวกันว่าหน้าไม้นี้สามารถยิงได้ครั้งละ 10 ดอก
* โคยนต์ จูกัดเหลียงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในการขนส่งเสบียง
* โคมลอย ใช้สำหรับบอกตำแหน่งทางการทหาร เรียกกันทั่วไปว่า โคมจูกัดเหลียง (Kongming lantern : 孔明灯)
* ซาลาเปา หลังเสร็จศึกเบ้งเฮกแล้ว กองทัพจ๊กก๊กไม่สามารถข้ามแม่น้ำได้เนื่องวิญญาณทหารทั้งหลายที่ตายในสนามรบ ไม่ได้รับการปลดปล่อย จูกัดเหลียงจึงต้องทำพิธีบวงทรวงเซ่นไหว้ดวงวิญญาณด้วยการทำซาลาเปาแทนศีรษะ เหล่าทหาร และเชิญดวงวิญญาณกลับ


บทความที่เกี่ยวข้อง:


-----


อ้างอิง


* Chen Shou (c. 280). Sanguo Zhi (History of the Three Kingdoms). Reprint, 1959. Beijing: Zhonghua shuju. .
* Guanzhong, Luo (1976) [c. 1330]. Romance of the Three Kingdoms. Trans. Moss Roberts. New York: Pantheon Books. ISBN 0394407229. OCLC 2331218.
* Off, Greg (2005). Dynasty Warriors 5: Prima Official Game Guide. Roseville: Prima Games. ISBN 0761551417. OCLC 62162042. http://books.google.com/books?id=zMrwAAAACAAJ&dq=dynasty+warriors+5&hl=es.

ฉบับภาษาจีน

* Dawei, Zhu; Mancang, Liang (2007). 诸葛亮大传 (Zhuge Liang da zhuan). Beijing Shi: Zhonghua shu ju. ISBN 9787101056389. OCLC 173263137.

ปรัชญาความรัก



1 - 2


"เหมือนรอยจูบจากสวรรค์ ไม่ต้องเรียกร้อง ไม่ต้องแสวงหา ความรักเกิดขึ้นเอง
ความรักคือการให้"
ลองเฟลโล่ว์

"เราจะรู้สึกเป็นสุขมาก ขณะที่เรากำลังหลง ความรักจนหลง ทำให้เรามีความสุขมากกว่าความรักแแท้"
ลา โร เช่ ฟู คอลด์

"รักใครเพียงเพื่อให้ได้รักตอบ นั่นคือวิสัยมนุษย์ แต่รักเพื่อรัก เป็นวิสัยสวรรค์"
ลา มาร์ ตีน

"ถ้าฉันรักเธอ มันก็ไม่ใช่ธุระของเธอ"
โกเต้.

"เขามีทุกสิ่งเพื่อความรัก แต่สิ่งเล็กๆน้อยๆที่ขาดไม่ได้ คือ ขวดเหล้า"
ชาร์ลส์ ดิบบิ้น

"ความรัก คือ ความเมตตาอันสูงสุด ความรักต้องมีระยะอันยาวไม่เปลี่ยนแปลง
ความรัก คือความดีทุกอย่างมารวมกัน กับความพอใจ"
แพททริก แฮนเนย์

"ความรักนั้นหวาน ไม่ว่าจะรับหรือให้ ผู้อยู่ในความรักจึงเป็นผู้โชคดี แต่ผู้ที่เป็นสุขมากกว่าคือผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วม เพียงแต่คิดฝันนั่นแหละ จะเป็นสุขกว่า"
เชลลี่

"แม้เธอไม่จากฉันไป หากเธออยากเป็นอิสระ เธอก็คิดเอาได้... อย่ารักฉันอีกต่อไปเลย ขอเพียงรักความรักของฉันที่มีต่อเธอ ก็มากพอแล้วล่ะ สุดที่รัก"
สะวินเบิร์น

"ฉันมีแต่ความรัก ไม่มีอะไรมากกว่านั้น และที่นี่โลกนี้.... ความรักเท่านั้นทำให้เรามีชีวิตอยู่ แม่ไม่รักลูกไม่ให้นมลูกกินลูกก็ตายด้วยขาดความรัก"
สะวินเบิร์น

"ผู้ที่ปิดความรักไม่ให้เข้ามาทางหน้าต่าง มักจะถูกความรักโยนออกทางประตู"
เท็นนีซัน.

"ผู้หญิงมักจะดูถูกผู้ชายที่หลงรักเธอ แต่หล่อนจะไม่ดูถูกเขา ถ้าหล่อนหลงรักเขาเหมือนกัน"
อลิซาเบ็ธ สต๊อคคาร์ด.

"ความรักครั้งแรก เกิดจากการจ้องมอง"
จอห์น คลาร์ค

"ความรักอธิบายไม่ได้ ไม่ใช่เพราะความงาม ไม่ใช่เพราะคำพูด บางครั้งเห็นครั้งแรกก็รัก ความรักจึงเป็นสิ่งลึกลับมาตลอด"
รัดยอร์ด คิปปลิ้ง

"อย่าถามฉันว่าความรักคืออะไร เหมือนถามว่า อะไรคือพระเจ้า และพระเจ้าดีอย่างไร อะไรคือดวงอาทิตย์ อะไรคือบาป อะไรคือการให้อภัย อะไรคือความสุข อะไรคือสวรรค์ อะไรคือความบ้าคลั่งของฝูงชนเวลารวมกันมากๆ อะไรคือแฟชั่นของผ้าบังสกุล อะไรคือความหวานของรอยจูบ อะไรคือความงาม ไม่มีใครตอบได้...."
พี.เจ.เบลลี่


"ความรักนั่นหรือ เป็นทั้งปีศาจ เป็นทั้งไฟ เป็นทั้งสวรรค์ เป็นทั้งนรก เป็นทั้งความเศร้า ความเจ็บปวด ความเสียใจ และความสุขระคนกัน"
ริชาร์ด บาร์นฟิลด์

"ความรักคือทางโคจรของวิญญาณที่ทุรนทุราย เส้นรอบวงของเส้นทางที่อยู่สุดอวกาศ ความรักเดินทางไกลไปถึงที่สุดแห่งที่สุด"
ยอร์จ เฮ็นรี่ โบค เค่อร์

"ความรักคือ งานหนักของคนขี้เกียจ แต่เป็นความขี้เกียจของคนมีงานยุ่ง"
บัตเล่อร์ ลิตตอล

"ความรักคือ จุดเริ่มต้นของความรู้ เหมือนไฟ จุดเริ่มต้นแห่งแสงสว่าง"
คาร์ไลล์

"ความรักคือ ขุมทรัพย์ทางธรรมชาติ"

"ความรักคือสิ่งสวยงาม ความรักทำให้คนเลี้ยงแกะเที่ยบเท่าพระราชา
ความรักหวานหอม และมีค่าเหมือนพระราชาเห็นค่าของมงกุฎตอนรอขึ้นลังลังก์
ความรักทำให้เกิดการเป็นห่วง จนทำให้บางคนต้องขมวดคิ้วจนใบหน้าย่น"
โรเบิร์ต กรีน

"ความรักเป็นหนามแหลมคอยทิ่มตำ ความรักคือพิษแมลงที่กัดต่อย ความรักคือ ไฟและถ่าน ที่สามารถลุกไหม้ได้ทุกที่"
ยอร์ช พีล

ความรักคือความอ่อนแอ เป็นความบอบบางของจิตใจ มันเกิดขึ้นเมื่อคนลดละความทะเยอทะยานแล้ว"
คอนกรีฟว์

"ความรักคือความอ่อนแอ ที่มีเกียรติที่สุดของจิตใจ"
ไดร เด้น

"ความรักคือ การหาเหตุผลในการกระทำที่ไม่มีเหตุผล"
ไดรเด้น

"ความรักเหมือนความป่วยไข้ ที่ไม่ยอมกินยา ความรักเหมือนกิ่งไม้ ที่ยิ่งตัดยิ่งงอกงาม
ความรัก เหมือนคนอยากได้บุตร แต่เป็นหมัน"
แซมมวล แดเนี่ยล

"ในความรัก ถ้ากระตือรือร้น และเทิดทูนมากเกินไป ความรักจะไม่เป็นความรัก
จะกลายเป็นการถือโชคลาง และบูชาในสิ่งที่งมงายไร้สาระ"
ริชาร์ด คอร์เบ็ต

"มีชื่อหลายชื่อที่ใช้แทนคำว่ามิตรภาพ แต่เมื่อเกิดขึ้นระหว่างคนหนุ่มสาว ความสวยงามก็กลายเป็นชื่อของความรัก ที่ถูกสมมุติขึ้นว่าเป็นนางฟ้าที่สวยที่สุด"
ดิ โอ คริช โซ โดม

"ความรักที่มีเกียรติ ต้องผสมด้วยความนับถือ เหมือนอากาศปะปนอยู่ในท้องฟ้าสีคราม"
ยอร์ช อีไลอ๊อต

"ในการวิจัยครั้งสุดท้าย ความรักคือ แสงสะท้อนให้เห็นว่า มนุษย์คนหนึ่งมีค่าต่อมนุษย์อีกคนหนึ่งเพียงใด... แค่ไหน"
อีเมอร์สัน

"ความรัก เหมือนดอกไม้ที่บานสะพรั่ง ความรักเหมือนกับทุกสิ่งที่กำลังเติบโต และมีชีวิต...."
กิลเล็ช เฟลตเช่อร์

"ความรัก คือจุดหมายปลายทางของชีวิต ความรักคือจุดจบที่ไม่รู้จักจบสิ้น"
กิลเล็ช เฟลตเช่อร์

"ความรักคือ ทรราชย์ของหัวใจ ความรักมักไม่ต้องการความสำรวม ความรัก
ทำให้คนหูหนวก ตาบอด และพร้อมที่จะเป็นบ้า"
จอห์น ฟอร์ด

"ความรักคือ หัวใจของพระเจ้า ความรักอยู่เหนืออำนาจใดๆ"
ริชาร์ด การ์เน็ตต์

"ท่านไม่อาจแสวงหาพระเจ้า โดยไม่มีความรัก แต่ท่านอาจแสวงหาความรักโดยไม่สนใจพระเจ้า"
ริชาร์ด การ์เน็ตต์

"ความรัก คือสถานที่ที่คนทุกชั้น สามารถพบกันได้"
ดับบลิว เอส กิลเบิร์ต

"ความรัก และความปรารถนา เป็นปีกแห่งกำลังใจที่จะบินไปสู่ความยิ่งใหญ่
ต่อหน้าที่การงาน และการกระทำที่ยิ่งใหญ่"
โกเต้.

"ความรัก คือ แม่กุญแจที่ใช้ล็อคเชื่อมหัวใจไว้ด้วยกัน ความศรัทธาเป็นลูกกุญแจใช้ไขประตู
เข้าสู่สถานที่ที่ประดับไว้ด้วย น้ำพุแห่งความรัก"
โรเบิร์ต กรีน

"ความรักคือวงกลมที่หมุนวน ไม่นิ่ง... เคลื่อนไหวตลอดเวลา เข่นเดียวกับปริมาณของ
ความรัก ที่มีไม่จำกัด"
โรเบิร์ต เฮอร์ริค

"เราสามารถผูกพันธ์กับความรัก โดยมีโชคชะตาคอยอิจฉา"
แอนดรูว์ มาร์เวลส์

"ความรัก เหมือนเปลงเพลิงที่ไหม้ใจมนุษย์ ความรัก เหมือนไฟร้อนคอยกระตุ้นจิตใจ ความรัก เคลือบยาพิษไว้ที่ลูกศร แห่งโชคชะตา"
จอห์น เมสฟิลด์

"ความรักเหมือนอยู่ในกองไฟ ที่เหน็บหนาว
ความรักเหมือนชัยชนะ ที่พ่ายแพ้
ความรักเหมือนความเจ็บไข้ ที่ไม่รู้จักตาย
ความรักเหมือนความจริง ที่เป็นเท็จ
ความรักเหมือนความสุภาพ ที่บ้าคลั่ง
ความรักเป็นทุกสิ่ง ทั้งที่ไม่ได้เป็นอะไรเลย"
โทมัส มิดเดลตัน

"ถ้าพระเจ้าเป็นผู้พิพากษา ข้าพเจ้าขอร้องเรียนพระองค์ด้วยความรัก ว่าพระองค์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธานุภาพก็เพราะความรักนั่นเอง"
วินเซ็นต์ มิลเล่ย์

"จะรู้จักความรัก ต้องรู้จักกับความเสียสละด้วย"
จอห์น โอริเวอร์ ฮอบส์

"ความรักเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกคลั่งไคล้ ความรักเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตที่สามารถทำลายความสำคัญส่วนอื่นของชีวิตได้"
แซมมวล จอห์นสัน

"ความรักทำให้เราหายหนาว ดีกว่าสวมเสื้อคุม และความรักนั่นเองที่ได้จัดหา อาหาร
และเสื้อผ้าให้แก่โลก"
ลองเฟลโล่ว์

"ความรักแท้ เป็นสิ่งที่สุภาพนอบน้อม เกิดอยู่ทั่วไป แม้ในสถานที่ต่ำต้อย
ความรักแท้ พร้อมจะผสมอยู่ในอาหาร ที่บรรจุในหม้อดิน ราคาถูก
ความรักแท้ พร้อมที่จะเดินเคียงคู่ไปกับทุกคนที่จริงจัง และตั้งใจแสวงหา"
เจ.อาร์.โลเวลล์.

"ความรัก คือดอกไม้ที่ลมพัดผ่าน ทำร้ายกลีบงามให้อับเฉา ความรัก คือคลื่นใหญ่ที่ซัดสาดส่งเสียงขู่อยู่ริมฝั่ง"
วินเซ็นต์ มิลเล่ย์.

"คาวมเป็นหนุ่มสาว ผ่านไปรวดเร็วเหมือนเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง ความงามเป็นเหมือน
ดอกไม้ ที่รอวันเหี่ยวแห้ง แต่ความรักเป็นเพชรแท้"
มาเรีย โอ นีล.

"ความรัก คือความยินดีสูงสุด ที่มิอาจจะบรรยาย แม้ศิลปินก็ยังมิอาจจะจินตนาการภาพ
ของความรักได้ชัดเจน"
โทมัส เพน.

"ความรัก คือการเห็นแก่ตัวของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป"
อันโต เดอ ชาลล์.

"หลายคนเมื่ออยู่ในห้วงแห่งรัก อยากจะหนีโลกไปอยู่ในรูแคบๆ กับคนรักสองต่อสอง
เพราะทั้งคู่ต้องการฟังคำชมเชย ทั้งๆที่ไม่น่าจะได้รับ... เพราะต้องการรับคำยกย่อง
ด้วยคำหนาวๆ ทั้งที่ไม่ควรจะได้รับ..."
เบอร์แทรนด์ รัชเซล

"ความรักแท้ คือของขวัญจากพระเจ้า ความรักเป็นความเห็นอกเห็นใจที่ลึกลับ
เชื่อมโยงด้วยหัวใจ ต่อหัวใจ จิตใจต่อจิตใจ"
สก๊อตต์


"ความรัก ทำให้เกิดเสียงถอนใจและน้ำตา
ความรัก ทำให้เกิดความศรัทธา และการช่วยเหลือผู้อื่น
ความรัก คือความฟุ้งซ่านทั้งปวง มารวมกัน"
เช็คสเปียร์

"ความรัก คือความบ้าเท่านั้นเอง คนผู้ตกอยู่ในความรักสามารถทำอะไรบ้าๆ เหมือนคน
บ้าทำ จึงไม่น่าแปลกใจอะไรเลย"
เช็คสเปียร์

"ความรัก คือความจริงในคฤหาสน์แห่งความเพ้อฝัน"
ทอลลีย์ แรนด์

"ความรัก เป็นความงงงันอันน่าแปลกประหลาด ที่ไล่ตามทันคนคนหนึ่ง ในนามของคน
อีกคนหนึ่ง"
เจมส์ เทอร์เบอร์

"ความรัก คือความตายที่ยังมีชีวิต และเป็นชีวิตที่กำลังตายทีละน้อยๆ..."
โทมัส วัตสัน

ปรัชญาความรัก




1 - 2


"พวกเราเกิดมาเพื่อรัก นั่นคือหลักใหญ่ของชีวิต และจุดหมายปลายทางของมัน"
เบนจามิน ดีสราเอลลี่

"ถ้าไม่อยากเห็นความชั่วของมนุษย์ ก็อย่าไปรักใครเข้า เพราะถ้ารักต้องได้เห็นแน่ว่ามนุษย์ทุกคนมีตราบาป"
โทมัส แคมเปียน

"ถ้าเราให้อภัยความชั่ว ไม่จดจำความผิดเราก็รักคนอื่นได้นาน"
หลุยส์ อินเตอร์ เมเยอร์

"หนึ่งชั่วโมงแห่งความรัก ดีกว่าตลอดชีพแห่งความเกลียดชัง"
อะบราเบน

"ชีวิต เวลาอยู่ในความรัก ไม่อยากให้กลางคืนมีตอนรุ่งเช้า"
เบิร์นส์

"ถ้าคุณจำเรื่องเหลวไหลเกี่ยวกับคนรักไม่ได้ คุณก็รักไม่เป็น"
เช็คสเปียร์

"คนที่ฉลาดที่สุดมักจะยอมแพ้ความรัก แต่คนโง่ทึ่มมักจะท้าทายลองดี"
แท็ค เดอ เรย์

"ความรักคือ สองวิญญาณรวมกัน และสองหัวใจเต้นพร้อมๆกัน"
วอน เบลลิงเฮาเซ่น

"ความรัก คือการตกลงยิมยอม สหภาพสองหัวใจ รวมสองหัวใจ วิญญาณรวมกันทั้งความคิด ความหวัง และความรู้สึก"
ออสการ์ ไวลด์

"คนบาป สองคนที่มีความรัก ทำให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาได้"
อี.บี. บราวนิ่ง

"ความรัก อย่าสร้างด้วยกระจกเลยจะตกแตกง่าย"
เซอร์ โทมัส บราวน์

"ความสงสาร คือความรักที่โตเต็มที่แล้ว"
โรเบิร์ต โฮวาร์ด

"ความรักไม่ว่าจะอยู่ในตัวใคร ต่างก็มีคุณภาพเดียวกันหมด"
เวอร์จิล

"ความรักมองไม่เห็นด้วยดวงตา แต่มองเห็นด้วยดวงใจ"
เช็คสเปียร์

"ความรักเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นของพระราชาหรือของขอทาน"
เอ็ดวาร์ด ไดเยอร์

"ความสงสารคือ บิดามารดาของความรักในอนาคต"
บิวมอนต์ และ แฟล์ตเชอร์

"ความรักและความทะเยอทะยาน ไม่ต้องการเพื่อนมาก"
ริชาร์ด โบรเม่

"คนที่มีความรัก มักจะเชื่อในเรื่องสิ่งมหัศจรรย์เสมอ"
เจ.ที. โพวิส

"ใส่เครื่องเทศด้วยความรัก แล้วอาหารจะอร่อยทุกจาน"
พลา อูตัส

"ความรักเป็นของมนุษย์ ความอดทนและการให้อภัยก็ต้องตามมา"
พลา อูตัส

"ข้าพเจ้าไม่ชมเชยในสิ่งที่ข้าพเจ้ารัก และข้าพเจ้าจะไม่รักในสิ่งที่ข้าพเจ้าชมเชย"
โจเซฟ รุกซ์

"การแสวงหาความรักเป็นสิ่งดี แต่การไม่แสวงหาความรักดีกว่า"
เช็คสเปียร์

"ความรัก จะค่อยๆคืบคลานเข้าไป แม้แต่ในที่ที่คิดว่าเข้าไปไม่ได้"
เช็คสเปียร์

"คนหนุ่มสาวมักจะทำผิดครั้งใหญ่ในชีวิต คือ พวกเขากินอุดมคติเกินไปในเรื่องของความรัก"
เบนจามิน โจเวตต์

"มีความรักชนิดเดียว แต่คนเลียนแบบกันเป็นล้านๆคน ล้านๆแบบ"
ลาโรเช่ฟูคอลด์


"ยากนักที่จะรักคนที่เราไม่รัก แต่ยากกว่าที่จะรัก คนที่เรารักให้มากกว่าตัวเอง"
ลาโรเช่ฟูคอลด์

"ความรักทำลายหัวใจ เหมือนข้าวที่หุงไม่สุก ทำลายกระเพาะ"
สวิฟต์

"ความรักแท้ ไม่ต้องการพิธีกรรมมากมาย"
ดับบลิว เอส กิลเบิร์ต

"ความรักเรียนรู้ได้ทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะจากคนที่เรารัก"
โกเต้

"ความรักสอนภาษารัก ให้แก่คนที่ไม่จำเป็นต้องรู้หนังสือ"
ยูริพิเดส

"แม้ข้าพเจ้าจะพยากรณ์ได้ และเข้าใจในข้อลึกลับทั้งปวง และมีความรู้ทั้งสิ้นมีความเชื่อมากที่สุด พอจะยกภูเขาไปได้ แต่ถ้าไม่มีความรัก ข้าพเจ้าก็ไม่มีค่าอะไร"
เปาโล

"แม้ข้าพเจ้าจะบริจาคสิ่งของสารพัดเพื่อเลี้ยงคนยากจน หรือยอมเอาตัวไปเผาไฟเสียแต่ถ้าไม่มีความรัก ก็หาประโยชน์แก่ข้าพเจ้าไม่"
เปาโล.

"ความรักนั้นต้องอดทน และกระทำคุณให้ ความรักไม่อิจฉา ไม่อวดตัว ไม่จองหองไม่ได้กระทำในสิ่งอันเป็นที่น่าละอาย กระดาก"
เซ็นต์ปอล.

"ความรักไม่คิดเห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว ไม่มีใจหงุดหงิด ไม่ช่างจดจำความผิดไม่ยินดีในความประพฤติผิด แต่ยินดีในความประพฤติชอบ"
เปาโล

"ความรัก ไม่แคะไม่คุ้ยเขี่ยความผิดของผู้อื่น เชื่อในส่วนดีของผู้อื่นเสมอ ความรักมีความหวังอยู่เสมอ และความรักต้องอดทนทุกอย่าง"
เซ็นต์ปอล

"ในชีวิตมนุษย์ ต้องยึดมั่นใน 3 สิ่งคือ ความเชื่อ ความหวัง และความรักแต่ความรักยิ่งใหญ่ที่สุด"
1 โครินโท 13

"มนุษย์ผู้ชายต้องเข้มแข็ง เป็นที่พึ่งได้ เพราะชีวิตที่เขารักนั้นอ่อนแอและต้องการความช่วยเหลือ"
จอร์จ อีลิเอียท

"ความรักทำให้ผู้หญิงเข้มแข็งขึ้น และทำให้ผู้ชายอ่อนแอลง"
จีนพอล ริชเตอร์

"ความรัก คือ ประวัติศาสตร์ของชีวิตผู้หญิง แต่ใช้ฉากเหตุการณ์ในชีวิตผู้ชาย"
มาดาม เดอะ สะตาล

"ผู้ชายสามารถมีความสุขได้กับผู้หญิงทุกคน ตราบใดที่เขายังไม่ได้รักเธอ"
ออสการ์ ไวลด์

"จงใช้ความรัก เอาชนะความรัก"
อเล็กซานเดอร์ บาร์เคลย์

"ของขวัญอย่างเดียวที่ความรักต้องการก็คือ ความรัก...."
จอห์น เกย์

"แน่นอนที่สุด ความรักย่อมประทานความรัก เหมือนความชอบพอ ร้องขอความชอบพอ"
เซอร์ จอห์น ฮาร์ริงตัน

"ความรักย่อมอธิษฐานภาวนาอย่างจริงจัง เมื่อความรักนั้น อธิษฐานเพื่อความรัก"
โทมัส ฮู๊ด.


"ถ้ามีความปิติยินดีในความรัก ก็มีความปิติยินดี เมื่อรู้ว่าหัวใจของผู้อื่นสูบฉีดโลหิตเพื่อเรา
เพราะมีความรักต่อเรา"
คอน กรีฟ.

"เราจะมีความสุข เมื่อผู้อื่นที่มีคนยกย่องสรรเสริญมากมาย กลับมายกย่องสรรเสริญเราเพราะความรัก"
แซมมวล จอห์นสัน.

"เวลาของมนุษย์ในโลกนี้น้อยนัก ความรู้สึกต่อโลกก็มีน้อยด้วย สิ่งที่มากมายและยาวนาน คือความรัก และให้ความรัก ทั้งมนุษย์ และเทวดา ไม่อาจพบแบบทะลุปรุโปร่ง หรือรอบรู้หมด ความรักยังเป็นความรัก ไม่อาจพัฒนาหรือแปรเปลี่ยน"
ราฟ วอลโด อีเมอร์สัน

"ถ้าเราคิดเสมอว่า ความรักคือ จุดหมายปลายทางของความรัก นั่นแหละปีศาจเริ่มจะหลอกลวงเราแล้ว รู้ไว้เถิด"
ฟิลด์ ดิ้ง

"ผู้ที่อยู่ในความรัก มักจะคิดว่าตนเป็นสุข ผู้ที่รักผู้อื่นมากที่สุด ก็จะได้ความรักตอบ"
ฟินนิส เฟลตเชอร์

ริชาร์ด เกียร์ ให้สัมภาษณ์เล่าถึง ชีวิตของเขาที่ปฏิบัติตามวิถีพุทธ

                                                 ริชาร์ด เกียร์ ภาพจากอินเทอร์เน็ต

เมลวิน แม็คลอยด์ (Melvin Mcleod) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ SHAMBHALA SUN สัมภาษณ์ ริชาร์ด เกียร์ (Richard Gere) ดาราภาพยนตร์ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ที่ได้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนามาเป็นเวลาหลายปี และได้อุทิศเวลาติดตามองค์ดาไลย ลามะ ผู้นำชาวทิเบตด้านศาสนจักร และอาณาจักรเป็นเวลาหลายปีเช่นเดียวกัน

ถาม อะไรที่ทำให้คุณพบพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกในชีวิต

ตอบ มีอยู่ ๒ อย่าง อย่างที่หนึ่ง ก็ตอนที่ผมได้อ่านหนังสือธรรมะที่ผู้รู้เขียนไว้ อ่านแล้วดลใจผมมาก อย่างที่สอง เป็นตอนที่ผมได้พบกับพระอาจารย์ท่านหนึ่ง ก่อนหน้านั้น ผมได้ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาที่ทางโรงเรียนสอนสมัยเป็นนักเรียน ดังนั้นผมจึงถือว่า ผมมีความรู้เรื่องปรัชญาตะวันตกตามแนวของท่านบิช็อบ Berkeley เป็นหลัก ท่านสอนโดยตั้งเป็นคำถามว่า
“ถ้าต้นไม้ต้นหนึ่งล้มลงอยู่ในป่า และไม่มีใครได้ยิน ถามว่ามันเกิดขึ้นจริงหรือ” ท่านตอบเองว่า “จริง” โดยยึดหลักปรัชญาแนว “อุดมคตินิยมแบบอัตวิสัย” (Subjective idealism) ที่ท่านทำวิทยานิพนธ์ ท่านกล่าวว่า ความจริงเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของจิต หมายความว่า จิตมีหน้าที่ในการรู้ความจริง พูดโดยพื้นฐานแล้วหลักปรัชญาที่ท่านเทศน์สอนเป็นประจำ ก็คือกลุ่มปรัชญาที่ถือว่า “ใจอย่างเดียวเท่านั้น” เป็นสำคัญ และเป็นหลักขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักบวช ผมเองสนใจในตัวท่านมากทีเดียว และมีกลุ่มนักปรัชญาอีกกลุ่มหนึ่งที่ถือว่า “ทุกคนเป็นอิสระในตัวเองและรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง” (The existentialists) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผมสนใจมากเช่นเดียวกัน
ผมยังจำได้ติดใจว่าได้เคยหอบหนังสือชื่อ BEING AND NOTHINGNESS (ชีวิตและความไม่มีอะไร) ติดตัวไปไหนมาไหน โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่าทำไมจึงทำอย่างนั้น ต่อมาภายหลังจึงรู้ว่า คำว่า Nothingness (ความไม่มีอะไร) เป็นคำที่ไม่เหมาะสม ควรใช้คำว่า Emptiness (ความว่างเปล่า) จะเหมาะสมกว่า เพราะเป็นสิ่ง ที่พวกเขากำลังค้นหา ไม่ใช่เป็นคำที่มีความหมายว่าขาดสูญ แต่เป็นคำที่มีความหมายเชิงบวกมากกว่า
การพบพุทธธรรมครั้งแรกของผม เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่ผมยังอายุยี่สิบต้นๆ ผมมีความคิดเหมือนกับเด็กหนุ่มส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมรู้สึกว่าผมไม่มีความสุขเลย จนบางครั้งคิดว่าจะฆ่าตัวตายดีไหม ผมเป็นทุกข์เอามากๆ และรู้สึกมีคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า “ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น” ผมตระหนักดีว่าบางทีตัวเองก็หมดปัญญาที่จะตอบปัญหาเหล่านั้นได้ จึงออกสำรวจดูตามร้านหนังสือที่เปิดขายกลางคืนดึกๆ อ่านทุกอย่างเท่าที่หาอ่านได้ หนังสือของ Evans-Wentz เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแบบทิเบต มีผลต่อสภาพจิตใจของผมอย่างมาก ผมจึงทุ่มเทอ่านหนังสือเหล่านั้นอย่างเอาเป็นเอาตาย

ถาม พวกเราหลายคนก็ประทับใจในหนังสือเหล่านั้นเหมือนกัน อยากทราบว่า คุณพบอะไรในหนังสือเหล่านั้นที่ดึงดูดใจคุณถึงขนาดนั้น

ตอบ มันเป็นหนังสือมีลักษณะเป็นนวนิยายชั้นดีมีทุกรสชาติ ถ้าคุณได้อ่านแล้วจะติดใจจนวางไม่ลงเลยทีเดียว และในขณะเดียวกันก็อาจทำให้คุณต้องอยู่ที่นั่นไปเลย พร้อมกับทำให้คุณรู้สึกเป็นอิสระไปในตัวด้วย ผมไม่เคยแม้แต่จะคิดว่าเรื่องนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ผมเพียงต้องการที่จะออกไปจากความรู้สึกเดิม ๆ เพราะฉะนั้น ความคิดที่ว่าคุณสามารถจะอยู่ในสิ่งนี้และถอนตัวออกมาเพื่อออยู่อย่างอิสระ ในเวลาเดียวกัน คืออยู่ในความ “ว่าง” ซึ่งเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนวิถีชีวิตอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นการดำเนินชีวิตมาสู่แบบวิถีพุทธ โดยเฉพาะพุทธแบบทิเบตกำลังชักจูงจิตใจผมอย่างเห็นได้ชัด แต่พุทธนิกายแรกที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นพุทธแบบนิกายเซ็น (Zen)
อาจารย์ท่านแรกของผม คือท่านซาซากิ โรชิ (Sasaki Roshi) ผมจำได้ว่าได้เดินทางไป L.A. เพื่อเข้าร่วมโครงการปฏิบัติสมาธิแบบเซ็น (Sesshin)เป็นเวลา ๓ วัน ผมได้ปฏิบัติตัวตามหลักการทำสมาธิแบบเซ็นนี้ โดยการนั่งเหยียดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลาหายเดือน จนในที่สุดผมสำเร็จหลักสูตรการปฏิบัติสมาธิแบบ zen ผมได้รับประสบการณแห่งความจริง คือผมได้รู้ชัดว่า “ นี้คือผลของการปฏิบัติ” หาใช่เป็นเรื่องการเหาะเหินเดินอากาศ หรือเกี่ยวข้องกับอภินิหารย์ หรือจินตนาการเพ้อฝันแต่อย่างใดไม่ แต่เป็นงานทางจิตที่คุณต้องปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังโดยเคร่งครัดเสมอต้น เสมอปลายไม่ให้ขาดตกบกพร่อง นี้ก็คือส่วนที่สำคัญของวิถีชีวิตของผม ท่านซาซากิ โรชิ เป็นผู้ที่มีจิตใจมั่นคงหนังแน่นอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ก็เป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณามากในเวลาเดียวกัน ผมเป็นศิษย์ใหม่ที่ไม่รู้อะไรเลย ทั้งเป็นคนหยิ่งและไม่มั่นใจในตัวเอง แต่ภายในข้อจำกัดนี้ ผมก็เป็นคนเอาจริงเกี่ยวกับความต้องการที่จะเรียนให้รู้จริง มันเข้ามาถึงจุดสุดท้ายของการปฏิบัติสมาธิแบบเซ็นนี้เอง ที่ผมไม่อาจแม้แต่การจะเข้าสู่พิธี dokusan (การทดสอบโดยการสัมภาษณ์จากท่านเจ้าลัทธินิกายเซ็น) ผมรู้สึกว่าตัวเองได้รับการประสิทธิ์ประสาธน์วิชามาน้อยมาก จนกระทั่งหนังสือเหล่านั้นต้องเป็นตัวการลากจูงผมมา ในที่สุดก็มาถึงจุดที่ผมจะต้องเข้าไปนั่งตรงนั้น และผมก็จำได้ว่าท่านเจ้าลัทธิท่านยิ้มให้ผม เมื่อถึงตอนนี้ ท่านก็กล่าวว่า “เราจะเริ่มทำงาน ณ บัดนี้แล้ว” เราไม่มี เรื่องไร้สาระอะไรที่จำเป็นจะต้องพูดอีกต่อไป
“ผมคิดว่าตัวผมเองมีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่า การปฏิบัติคือชีวิตที่แท้จริงของผม”

ถาม เมื่อบุคคลสามารถระลึกถึงธรรมะหรือข้อปฏิบัติสำหรับชีวิตขึ้นในใจได้เองเช่น นั้นทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็น เพราะกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีตได้เคยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคำสอนนั้นไม่ ใช่หรือ

ตอบ ผมได้ถามอาจารย์หลายท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว รู้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้น ท่านเหล่านั้นหัวเราะเยาะผมอย่างที่ผมคิดเอาไว้ว่า มีบางสิ่งบางอย่างกำหนดกะเกณฑ์เอาไว้ หรือไม่ก็เป็นเรื่องของโอกาส หรือโชคลาภ กรรมไม่ได้ทำหน้าที่ในลักษณะนี้ และที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็ คือว่า มีบางอย่างที่สัมพันธ์หรือเกี่ยวโยงกับพระพุทธศาสนาแบบทิเบตอย่างชัดเจนและ เฉพาะเจาะจงมาก มิฉะนั้นเรื่องนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นชีวิตของผมคงไม่แสดงตัวเอง ออกมาในทำนองนี้แน่ ผมคิดว่าผมมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า การปฏิบัติคือชีวิตที่แท้จริงของผม ผมจำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมเริ่มปฏิบัติสมาธิครั้งแรกนั้นผมอายุได้ ๒๔ ปี ได้พยายามยึดปัญหาชีวิต ของผมเป็นโจทก์ ผมได้เก็บตัวเองอยู่แต่ใน apartment แคบ ๆ โทรม ๆ ของผมคราวละหลายเดือน เพื่อปฏิบัติ tai chi (ไต ชิ) และพยายามนั่งปฏิบัติอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผมมีความรู้สึกอย่างชัดเจนว่าตัวเองได้เข้าสมาธิตลอดเวลา และรู้ด้วยว่าตลอดเวลาดังกล่าวตัวเองไม่เคยละจากสมาธิเลย นี้เป็นความจริงที่มีสาระมากกว่าสิ่งที่เราถือว่ามันเป็นความจริงตามปกติ ธรรมดามาก นี้คือสิ่งที่ปรากฏต่อผมอย่างชัดเจนและแจ่มแจ้งมากในตอนนั้น แต่ก็ทำให้ผมต้องอุทิศเวลายาวนานในชีวิต กว่าผมจะได้นำสิ่งนี้ออกมาเปิดเผยต่อชาวโลก โดยผ่านการปฏิบัติที่ยาวนานเพื่อเฝ้าดูจิตใจของผมที่พยายามเสริมสร้าง โพธิจิต ขึ้นในตัวผม

ถาม คุณได้พบท่านดาไลย ลามะ ครั้งแรกเมื่อไร

ตอบ ผมเป็นนักศึกษาพระพุทธศาสนานิกาย Zen มาก่อนเป็นเวลาประมาณ ๕ หรือ ๖ ปีก่อนที่จะพบท่าน เจ้าพระคุณดาไลย ลามะ หลังจากที่ได้สนทนากันเล็กน้อยแล้ว ท่านได้ถามว่า “อุบาสกเป็นนักแสดงหรือ” ท่านคิดอยู่สักครู่แล้วก็ถามต่อว่า “อาตมาอยากรู้ว่า เวลาที่นักแสดง ๆ ความโกรธเกรี้ยวออกมา อุบาสกโกรธจริง ๆ หรือ หรือว่าเวลาแสดงบทเศร้าก็ดี หรือแสดงบทร้องให้ก็ตาม อุบาสกรู้สึกเศร้าหรือร้องให้จริง ๆ ไปตามบทนั้น ๆ ด้วย” ผมตอบท่านไปตามแบบฉบับของนักแสดงว่า ถ้าเราแสดงอารมณ์นั้น ๆ ให้ดูว่าเป็นเช่นนั้นจริง ๆ การแสดงนั้นก็ถือว่าประสบผลสำเร็จ ผมพูดจบท่านก็จ้องตาผมเขม็ง แล้วก็ระเบิดหัวเราะก๊ากออกมาอย่างชนิดคุมไม่อยู่ ท่านหัวเราะเยาะความคิดที่ผมเชื่อเรื่องอารมณ์ว่ามันเป็นจริงหัวเราะว่าผมจะ ต้องพยายามอย่างหนักมาก เพื่อให้เกิดอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารมณ์เศร้า อารมณ์เจ็บปวด หรืออารมณ์ทุกข์
ท่าน ( ดาไลย ลามะ ) หัวเราะเยาะความคิดของผมที่เชื่อเรื่องอารมณ์ว่ามันเป็นจริง หัวเราะว่าผมต้องพยายามอย่างหนักเพื่อ สร้างอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารมณ์เศร้า อารมณ์เจ็บปวด หรืออารมณ์ทุกข์ทรมาน
การพบกันครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นที่ ธรรมศาลา ในประเทศอินเดียตอนเหนือ ในห้องที่ผมไปหาท่านเป็นประจำในปัจจุบัน ผมไม่สามารถจะกล่าวได้ว่า ความรู้สึกของผมได้เปลี่ยนไปมากขนาดไหน ผมยังคงมีความรู้สึกประหม่าอย่างไม่น่าเชื่อ และคิดว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ผมคิดอยู่ในใจท่านก็คงจะทราบหมดแล้ว ซึ่งท่านมีญาณวิถีที่เคยใช้อยู่อย่างนี้เป็นประจำอยู่แล้ว พระองค์ท่านสามารถมองทะลุปัญหาที่ยาก ๆ ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะญาณปฏิภาณของท่านมีพลังเฉียบคมมาก มีญาณรอบรู้อย่างกว้างขวางมากจนกระทั่งเรียกได้ว่า ท่านเป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วยปัญญาญาณที่มีความคล่องตัวสูงยิ่งในการเข้าใจ เรื่องราวต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เองประชาชน เป็นจำนวนมากจึงต้องการที่จะไปพบท่าน ก็เพื่อต้องการให้ท่านช่วยกำจัดทุกข์ให้หมดไปจากจิตใจของเขา
ชีวิตของผมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเป็นครั้งแรกในชีวิต ที่ผมได้มีโอกาสได้เข้าไปนั่งอยู่เฉพาะหน้าท่าน ผมรู้สึกปลอดโปร่งไม่มีปัญหาใด ๆ ไม่เหมือนกับที่แล้ว ๆ มาที่ผมเคยมีความรู้สึกว่า “โอ้นี่ ผมจะต้องสละสมบัติของผมทั้งหมด และจะต้องเข้าวัดเดี๋ยวนี้เลยหรือนี่” แต่บัดนี้กลับเป็นเรื่องธรรมดาที่รู้สึกว่านี้เป็นสิ่งที่ผมต้องทำ ทำงานร่วมกับบรรดาพระคุณเจ้า พระอาจารย์ทั้งหลาย ทำงานร่วมกับคนในวงศ์ตระกูล ได้เรียนรู้สิ่งที่อยากจะรู้ นำตัวเองเข้าไปสู่ความรู้นั้น ๆ ทั้ง ๆ ที่ได้เคยมีความเครียดในระดับต่าง ๆ และผูกพันธ์อยู่กับความรู้สึกเดิม ๆ ที่ผ่าน ๆ มาก็ตาม ผมก็ได้หลุดพ้นจากสิ่งเหล่านั้น เพราะได้หันมายึดเอาการปฏิบัติตามวิถีพุทธเป็นวิถีชีวิตตราบจนทุกวันนี้

ถาม พระคุณเจ้าทำงานกับคุณเป็นการเฉพาะตัว กำจัดโรคประสาทของคุณในทำนองเดียวกันกับที่บรรดาอาจารย์ชาวพุทธทั้งหลายทำ อยู่อย่างนั้นหรือ หรือว่าท่านสอนอย่างอื่นให้แก่คุณโดยวิธีให้ดูการเป็นอยู่ของท่านเป็น ตัวอย่าง

ตอบ ไม่มีปัญหาเลย พระคุณเจ้าเป็น “คุรุ” หรือ อาจารย์ที่แท้จริงของผม และท่านก็เคยใจแข็งกับผมเป็นบางครั้งบางคราว ผมจำเป็นต้องอธิบายให้ประชาชนผู้ที่บางครั้งก็เชื่อว่าท่านเป็นคนดีแบบเลิศ ลอย ว่าบางครั้งบางคราวท่านก็เคยกริ้วกับผม แต่ก็ชั่วประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้น ในขณะที่ท่านทำอย่างนั้น ผมก็ไม่บอกว่านั่นเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจสำหรับผม และในส่วนตัวของท่านก็ไม่มีการถือพระองค์แต่อย่างใด
ผมรู้สึกเป็นพระคุณอย่างมากที่ท่านไว้วางใจผม และทรงเป็นกระจกเงาส่องให้ผมได้เห็นและรู้จักตัวเอง และท่านไม่เคยแสดงอำนาจบาทใหญ่แต่อย่างใด ในการพบท่านในตอนแรก ๆ ก็มิได้เป็นไปในลักษณะนั้น ผมคิดว่า ท่านเองคงจะตระหนักดีว่าผมเป็นคนเปราะบางขนาดไหน และผมเองก็ออกจะเป็นคนระมัดระวังตัวมากด้วย แม้ในขณะนี้เองผมก็คิดว่า ท่านก็ยังคงตระหนักในความเป็นคนเอาจริงเอาจังเกี่ยวกับคำสอนเพิ่มขึ้นของผม อยู่ และท่านก็คงรู้ด้วยว่าความมั่นคงในการปฏิบัติตามคำสอนของผมก็มีเพิ่มขึ้น ท่านสามารถที่จะเข้มงวดต่อผมในการปฏิบัติธรรมให้มากขึ้นได้

(โปรดอ่านต่อฉบับหน้า)

http://www.dmc.tv/index.php?module=articles&action=page&p=597รายงานโดย...พิพัฒน์ บุญยง

พิมพ์ลงในนิตยสาร “ธรรมจักษุ”

ปีที่ 88 ฉบับที่ 10 เดือน กรกฎาคม 2547

ริชาร์ด เกียร์ ให้สัมภาษณ์เล่าถึง
ชีวิตของเขาที่ปฏิบัติตามวิถีพุทธ

เมลวิน แม็คลอยด์ (Melvin Mcleod) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ SHAMBHALA SUN สัมภาษณ์ ริชาร์ด เกียร์ (Richard Gere) ดาราภาพยนตร์ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ที่ได้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนามาเป็นเวลาหลายปี และได้อุทิศเวลาติดตามองค์ดาไลย ลามะ ผู้นำชาวทิเบตด้านศาสนจักร และอาณาจักรเป็นเวลาหลายปีเช่นเดียวกัน

ถาม อะไรที่ทำให้คุณพบพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกในชีวิต

ตอบ มีอยู่ ๒ อย่าง อย่างที่หนึ่ง ก็ตอนที่ผมได้อ่านหนังสือธรรมะที่ผู้รู้เขียนไว้ อ่านแล้วดลใจผมมาก อย่างที่สอง เป็นตอนที่ผมได้พบกับพระอาจารย์ท่านหนึ่ง ก่อนหน้านั้น ผมได้ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาที่ทางโรงเรียนสอนสมัยเป็นนักเรียน ดังนั้นผมจึงถือว่า ผมมีความรู้เรื่องปรัชญาตะวันตกตามแนวของท่านบิช็อบ Berkeley เป็นหลัก ท่านสอนโดยตั้งเป็นคำถามว่า
“ถ้าต้นไม้ต้นหนึ่งล้มลงอยู่ในป่า และไม่มีใครได้ยิน ถามว่ามันเกิดขึ้นจริงหรือ” ท่านตอบเองว่า “จริง” โดยยึดหลักปรัชญาแนว “อุดมคตินิยมแบบอัตวิสัย” (Subjective idealism) ที่ท่านทำวิทยานิพนธ์ ท่านกล่าวว่า ความจริงเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของจิต หมายความว่า จิตมีหน้าที่ในการรู้ความจริง พูดโดยพื้นฐานแล้วหลักปรัชญาที่ท่านเทศน์สอนเป็นประจำ ก็คือกลุ่มปรัชญาที่ถือว่า “ใจอย่างเดียวเท่านั้น” เป็นสำคัญ และเป็นหลักขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักบวช ผมเองสนใจในตัวท่านมากทีเดียว และมีกลุ่มนักปรัชญาอีกกลุ่มหนึ่งที่ถือว่า “ทุกคนเป็นอิสระในตัวเองและรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง” (The existentialists) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผมสนใจมากเช่นเดียวกัน
ผมยังจำได้ติดใจว่าได้เคยหอบหนังสือชื่อ BEING AND NOTHINGNESS (ชีวิตและความไม่มีอะไร) ติดตัวไปไหนมาไหน โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่าทำไมจึงทำอย่างนั้น ต่อมาภายหลังจึงรู้ว่า คำว่า Nothingness (ความไม่มีอะไร) เป็นคำที่ไม่เหมาะสม ควรใช้คำว่า Emptiness (ความว่างเปล่า) จะเหมาะสมกว่า เพราะเป็นสิ่ง ที่พวกเขากำลังค้นหา ไม่ใช่เป็นคำที่มีความหมายว่าขาดสูญ แต่เป็นคำที่มีความหมายเชิงบวกมากกว่า
การพบพุทธธรรมครั้งแรกของผม เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่ผมยังอายุยี่สิบต้นๆ ผมมีความคิดเหมือนกับเด็กหนุ่มส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมรู้สึกว่าผมไม่มีความสุขเลย จนบางครั้งคิดว่าจะฆ่าตัวตายดีไหม ผมเป็นทุกข์เอามากๆ และรู้สึกมีคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า “ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น” ผมตระหนักดีว่าบางทีตัวเองก็หมดปัญญาที่จะตอบปัญหาเหล่านั้นได้ จึงออกสำรวจดูตามร้านหนังสือที่เปิดขายกลางคืนดึกๆ อ่านทุกอย่างเท่าที่หาอ่านได้ หนังสือของ Evans-Wentz เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแบบทิเบต มีผลต่อสภาพจิตใจของผมอย่างมาก ผมจึงทุ่มเทอ่านหนังสือเหล่านั้นอย่างเอาเป็นเอาตาย

ถาม พวกเราหลายคนก็ประทับใจในหนังสือเหล่านั้นเหมือนกัน อยากทราบว่า คุณพบอะไรในหนังสือเหล่านั้นที่ดึงดูดใจคุณถึงขนาดนั้น

ตอบ มันเป็นหนังสือมีลักษณะเป็นนวนิยายชั้นดีมีทุกรสชาติ ถ้าคุณได้อ่านแล้วจะติดใจจนวางไม่ลงเลยทีเดียว และในขณะเดียวกันก็อาจทำให้คุณต้องอยู่ที่นั่นไปเลย พร้อมกับทำให้คุณรู้สึกเป็นอิสระไปในตัวด้วย ผมไม่เคยแม้แต่จะคิดว่าเรื่องนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ผมเพียงต้องการที่จะออกไปจากความรู้สึกเดิม ๆ เพราะฉะนั้น ความคิดที่ว่าคุณสามารถจะอยู่ในสิ่งนี้และถอนตัวออกมาเพื่อออยู่อย่างอิสระ ในเวลาเดียวกัน คืออยู่ในความ “ว่าง” ซึ่งเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนวิถีชีวิตอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นการดำเนินชีวิตมาสู่แบบวิถีพุทธ โดยเฉพาะพุทธแบบทิเบตกำลังชักจูงจิตใจผมอย่างเห็นได้ชัด แต่พุทธนิกายแรกที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นพุทธแบบนิกายเซ็น (Zen)
อาจารย์ท่านแรกของผม คือท่านซาซากิ โรชิ (Sasaki Roshi) ผมจำได้ว่าได้เดินทางไป L.A. เพื่อเข้าร่วมโครงการปฏิบัติสมาธิแบบเซ็น (Sesshin)เป็นเวลา ๓ วัน ผมได้ปฏิบัติตัวตามหลักการทำสมาธิแบบเซ็นนี้ โดยการนั่งเหยียดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลาหายเดือน จนในที่สุดผมสำเร็จหลักสูตรการปฏิบัติสมาธิแบบ zen ผมได้รับประสบการณแห่งความจริง คือผมได้รู้ชัดว่า “ นี้คือผลของการปฏิบัติ” หาใช่เป็นเรื่องการเหาะเหินเดินอากาศ หรือเกี่ยวข้องกับอภินิหารย์ หรือจินตนาการเพ้อฝันแต่อย่างใดไม่ แต่เป็นงานทางจิตที่คุณต้องปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังโดยเคร่งครัดเสมอต้น เสมอปลายไม่ให้ขาดตกบกพร่อง นี้ก็คือส่วนที่สำคัญของวิถีชีวิตของผม ท่านซาซากิ โรชิ เป็นผู้ที่มีจิตใจมั่นคงหนังแน่นอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ก็เป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณามากในเวลาเดียวกัน ผมเป็นศิษย์ใหม่ที่ไม่รู้อะไรเลย ทั้งเป็นคนหยิ่งและไม่มั่นใจในตัวเอง แต่ภายในข้อจำกัดนี้ ผมก็เป็นคนเอาจริงเกี่ยวกับความต้องการที่จะเรียนให้รู้จริง มันเข้ามาถึงจุดสุดท้ายของการปฏิบัติสมาธิแบบเซ็นนี้เอง ที่ผมไม่อาจแม้แต่การจะเข้าสู่พิธี dokusan (การทดสอบโดยการสัมภาษณ์จากท่านเจ้าลัทธินิกายเซ็น) ผมรู้สึกว่าตัวเองได้รับการประสิทธิ์ประสาธน์วิชามาน้อยมาก จนกระทั่งหนังสือเหล่านั้นต้องเป็นตัวการลากจูงผมมา ในที่สุดก็มาถึงจุดที่ผมจะต้องเข้าไปนั่งตรงนั้น และผมก็จำได้ว่าท่านเจ้าลัทธิท่านยิ้มให้ผม เมื่อถึงตอนนี้ ท่านก็กล่าวว่า “เราจะเริ่มทำงาน ณ บัดนี้แล้ว” เราไม่มี เรื่องไร้สาระอะไรที่จำเป็นจะต้องพูดอีกต่อไป
“ผมคิดว่าตัวผมเองมีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่า การปฏิบัติคือชีวิตที่แท้จริงของผม”

ถาม เมื่อบุคคลสามารถระลึกถึงธรรมะหรือข้อปฏิบัติสำหรับชีวิตขึ้นในใจได้เองเช่น นั้นทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็น เพราะกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีตได้เคยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคำสอนนั้นไม่ ใช่หรือ

ตอบ ผมได้ถามอาจารย์หลายท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว รู้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้น ท่านเหล่านั้นหัวเราะเยาะผมอย่างที่ผมคิดเอาไว้ว่า มีบางสิ่งบางอย่างกำหนดกะเกณฑ์เอาไว้ หรือไม่ก็เป็นเรื่องของโอกาส หรือโชคลาภ กรรมไม่ได้ทำหน้าที่ในลักษณะนี้ และที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็ คือว่า มีบางอย่างที่สัมพันธ์หรือเกี่ยวโยงกับพระพุทธศาสนาแบบทิเบตอย่างชัดเจนและ เฉพาะเจาะจงมาก มิฉะนั้นเรื่องนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นชีวิตของผมคงไม่แสดงตัวเอง ออกมาในทำนองนี้แน่ ผมคิดว่าผมมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า การปฏิบัติคือชีวิตที่แท้จริงของผม ผมจำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมเริ่มปฏิบัติสมาธิครั้งแรกนั้นผมอายุได้ ๒๔ ปี ได้พยายามยึดปัญหาชีวิต ของผมเป็นโจทก์ ผมได้เก็บตัวเองอยู่แต่ใน apartment แคบ ๆ โทรม ๆ ของผมคราวละหลายเดือน เพื่อปฏิบัติ tai chi (ไต ชิ) และพยายามนั่งปฏิบัติอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผมมีความรู้สึกอย่างชัดเจนว่าตัวเองได้เข้าสมาธิตลอดเวลา และรู้ด้วยว่าตลอดเวลาดังกล่าวตัวเองไม่เคยละจากสมาธิเลย นี้เป็นความจริงที่มีสาระมากกว่าสิ่งที่เราถือว่ามันเป็นความจริงตามปกติ ธรรมดามาก นี้คือสิ่งที่ปรากฏต่อผมอย่างชัดเจนและแจ่มแจ้งมากในตอนนั้น แต่ก็ทำให้ผมต้องอุทิศเวลายาวนานในชีวิต กว่าผมจะได้นำสิ่งนี้ออกมาเปิดเผยต่อชาวโลก โดยผ่านการปฏิบัติที่ยาวนานเพื่อเฝ้าดูจิตใจของผมที่พยายามเสริมสร้าง โพธิจิต ขึ้นในตัวผม

ถาม คุณได้พบท่านดาไลย ลามะ ครั้งแรกเมื่อไร

ตอบ ผมเป็นนักศึกษาพระพุทธศาสนานิกาย Zen มาก่อนเป็นเวลาประมาณ ๕ หรือ ๖ ปีก่อนที่จะพบท่าน เจ้าพระคุณดาไลย ลามะ หลังจากที่ได้สนทนากันเล็กน้อยแล้ว ท่านได้ถามว่า “อุบาสกเป็นนักแสดงหรือ” ท่านคิดอยู่สักครู่แล้วก็ถามต่อว่า “อาตมาอยากรู้ว่า เวลาที่นักแสดง ๆ ความโกรธเกรี้ยวออกมา อุบาสกโกรธจริง ๆ หรือ หรือว่าเวลาแสดงบทเศร้าก็ดี หรือแสดงบทร้องให้ก็ตาม อุบาสกรู้สึกเศร้าหรือร้องให้จริง ๆ ไปตามบทนั้น ๆ ด้วย” ผมตอบท่านไปตามแบบฉบับของนักแสดงว่า ถ้าเราแสดงอารมณ์นั้น ๆ ให้ดูว่าเป็นเช่นนั้นจริง ๆ การแสดงนั้นก็ถือว่าประสบผลสำเร็จ ผมพูดจบท่านก็จ้องตาผมเขม็ง แล้วก็ระเบิดหัวเราะก๊ากออกมาอย่างชนิดคุมไม่อยู่ ท่านหัวเราะเยาะความคิดที่ผมเชื่อเรื่องอารมณ์ว่ามันเป็นจริงหัวเราะว่าผมจะ ต้องพยายามอย่างหนักมาก เพื่อให้เกิดอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารมณ์เศร้า อารมณ์เจ็บปวด หรืออารมณ์ทุกข์
ท่าน ( ดาไลย ลามะ ) หัวเราะเยาะความคิดของผมที่เชื่อเรื่องอารมณ์ว่ามันเป็นจริง หัวเราะว่าผมต้องพยายามอย่างหนักเพื่อ สร้างอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารมณ์เศร้า อารมณ์เจ็บปวด หรืออารมณ์ทุกข์ทรมาน
การพบกันครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นที่ ธรรมศาลา ในประเทศอินเดียตอนเหนือ ในห้องที่ผมไปหาท่านเป็นประจำในปัจจุบัน ผมไม่สามารถจะกล่าวได้ว่า ความรู้สึกของผมได้เปลี่ยนไปมากขนาดไหน ผมยังคงมีความรู้สึกประหม่าอย่างไม่น่าเชื่อ และคิดว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ผมคิดอยู่ในใจท่านก็คงจะทราบหมดแล้ว ซึ่งท่านมีญาณวิถีที่เคยใช้อยู่อย่างนี้เป็นประจำอยู่แล้ว พระองค์ท่านสามารถมองทะลุปัญหาที่ยาก ๆ ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะญาณปฏิภาณของท่านมีพลังเฉียบคมมาก มีญาณรอบรู้อย่างกว้างขวางมากจนกระทั่งเรียกได้ว่า ท่านเป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วยปัญญาญาณที่มีความคล่องตัวสูงยิ่งในการเข้าใจ เรื่องราวต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เองประชาชน เป็นจำนวนมากจึงต้องการที่จะไปพบท่าน ก็เพื่อต้องการให้ท่านช่วยกำจัดทุกข์ให้หมดไปจากจิตใจของเขา
ชีวิตของผมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเป็นครั้งแรกในชีวิต ที่ผมได้มีโอกาสได้เข้าไปนั่งอยู่เฉพาะหน้าท่าน ผมรู้สึกปลอดโปร่งไม่มีปัญหาใด ๆ ไม่เหมือนกับที่แล้ว ๆ มาที่ผมเคยมีความรู้สึกว่า “โอ้นี่ ผมจะต้องสละสมบัติของผมทั้งหมด และจะต้องเข้าวัดเดี๋ยวนี้เลยหรือนี่” แต่บัดนี้กลับเป็นเรื่องธรรมดาที่รู้สึกว่านี้เป็นสิ่งที่ผมต้องทำ ทำงานร่วมกับบรรดาพระคุณเจ้า พระอาจารย์ทั้งหลาย ทำงานร่วมกับคนในวงศ์ตระกูล ได้เรียนรู้สิ่งที่อยากจะรู้ นำตัวเองเข้าไปสู่ความรู้นั้น ๆ ทั้ง ๆ ที่ได้เคยมีความเครียดในระดับต่าง ๆ และผูกพันธ์อยู่กับความรู้สึกเดิม ๆ ที่ผ่าน ๆ มาก็ตาม ผมก็ได้หลุดพ้นจากสิ่งเหล่านั้น เพราะได้หันมายึดเอาการปฏิบัติตามวิถีพุทธเป็นวิถีชีวิตตราบจนทุกวันนี้

ถาม พระคุณเจ้าทำงานกับคุณเป็นการเฉพาะตัว กำจัดโรคประสาทของคุณในทำนองเดียวกันกับที่บรรดาอาจารย์ชาวพุทธทั้งหลายทำ อยู่อย่างนั้นหรือ หรือว่าท่านสอนอย่างอื่นให้แก่คุณโดยวิธีให้ดูการเป็นอยู่ของท่านเป็น ตัวอย่าง

ตอบ ไม่มีปัญหาเลย พระคุณเจ้าเป็น “คุรุ” หรือ อาจารย์ที่แท้จริงของผม และท่านก็เคยใจแข็งกับผมเป็นบางครั้งบางคราว ผมจำเป็นต้องอธิบายให้ประชาชนผู้ที่บางครั้งก็เชื่อว่าท่านเป็นคนดีแบบเลิศ ลอย ว่าบางครั้งบางคราวท่านก็เคยกริ้วกับผม แต่ก็ชั่วประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้น ในขณะที่ท่านทำอย่างนั้น ผมก็ไม่บอกว่านั่นเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจสำหรับผม และในส่วนตัวของท่านก็ไม่มีการถือพระองค์แต่อย่างใด
ผมรู้สึกเป็นพระคุณอย่างมากที่ท่านไว้วางใจผม และทรงเป็นกระจกเงาส่องให้ผมได้เห็นและรู้จักตัวเอง และท่านไม่เคยแสดงอำนาจบาทใหญ่แต่อย่างใด ในการพบท่านในตอนแรก ๆ ก็มิได้เป็นไปในลักษณะนั้น ผมคิดว่า ท่านเองคงจะตระหนักดีว่าผมเป็นคนเปราะบางขนาดไหน และผมเองก็ออกจะเป็นคนระมัดระวังตัวมากด้วย แม้ในขณะนี้เองผมก็คิดว่า ท่านก็ยังคงตระหนักในความเป็นคนเอาจริงเอาจังเกี่ยวกับคำสอนเพิ่มขึ้นของผม อยู่ และท่านก็คงรู้ด้วยว่าความมั่นคงในการปฏิบัติตามคำสอนของผมก็มีเพิ่มขึ้น ท่านสามารถที่จะเข้มงวดต่อผมในการปฏิบัติธรรมให้มากขึ้นได้

(โปรดอ่านต่อฉบับหน้า)

http://www.mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/july-47.html



ในขณะที่กระแสเห่อและคลั่งไคล้ตะวันตกกำลังถาโถม เข้าสู่คนไทย จนวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามกำลังจะเลือนหายไปจากสังคมไทย พร้อม ๆ กับการนับถือพุทธศาสนาเป็นหลักครองใจในการดำเนินชีวิต ก็กำลังจะกลายเป็น เพียงนับถือพุทธ ตามสำเนาทะเบียนบ้านเท่านั้น!!
หากจะตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับศาสนาพุทธ ก็คงจะไม่ถูกนัก เพราะแม้แต่นักปราชญ์ชาติต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ในยุโรป และสหรัฐอเมริกา อาทิ เบอร์ทรันด์ รัสเซล, อัลเบิร์ต ไอนสไตน์, อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ ฯลฯ รวมทั้งซุปเปอร์สตาร์ระดับโลก เช่น ริชาร์ด เกียร์, โรเแบร์โต บาจโจ ฯลฯ ก็ยังได้กล่าวคำสดุดีและยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
พุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักกันในตะวันตกเมื่อประมาณ ๑๕๐ ปีที่แล้ว โดยในระยะแรกนั้นเป็นเพียงการศึกษาทางวิชาการเท่านั้น แต่เมื่อ ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา จากความนิยมทางหลักวิชาการ ก็กลายมาเป็นที่นิยมในแง่ของการปฏิบัติมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมาสนใจปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธมากขึ้นนั้น เป็นเพราะความน่าเลื่อมใสศรัทธาของพระหรือครูผู้สอน ที่ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี และมีความรู้ความสามารถในการทำให้ผู้ที่เข้ามาปฏิบัติได้เข้าใจหลักธรรม และวิธีการปฏิบัติ จนประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ
ประเด็นสำคัญที่น่าคิด ก็คือ ทำไมที่ผ่านมาชาวตะวันตกจำนวนมากจึงหันมาหาพุทธศาสนา คำตอบก็คือ พวกเขาคิดว่า ศาสนาพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นมาก ในแง่ที่ว่า ชาวพุทธเป็นผู้รักสงบและไม่ใช้ความรุนแรง

ในประเทศอังกฤษเองนั้น เป็นที่ทราบกันดีแล้ว จากข่าวของ พระเขมธัมโม (พระไทยชาวอังกฤษ ศิษย์ของหลวงพ่อชา) ซึ่งได้เข้าไปสอนปฏิบัติธรรมให้แก่นักโทษในเรือนจำของอังกฤษกว่า ๒๖ ปี จนเกิดผลดีช่วยลด ปัญหาของเรือนจำได้มาก กระทั่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ ๒ แห่ง สหราชอาณาจักร ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังมีนักโทษจำนวนมากมายที่หันมานับถือพุทธศาสนา บางรายที่พ้นโทษ ออกมาก็ได้มาเป็นอาสาสมัครในการเผยแผ่พุทธธรรมด้วย พุทธศาสนิกชน ชาวอังกฤษเชื่อว่าศาสนาพุทธจะขยายตัวออกไปเรื่อยๆ และจะเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในตะวันตก[1]



คำสดุดีที่นักคิดนักเขียน นักปราชญ์ชาวตะวันตก กล่าวถึงพุทธศาสนา[2]


อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ (ค.ศ.1788-1860) นักปรัชญาชาวเยอรมัน กล่าวว่า
“ถ้าข้าพเจ้าจะถือเอาผลแห่งปรัชญาของข้าพเจ้าว่าเป็นมาตรฐานแห่งความ จริง ข้าพเจ้าก็ควรมีข้อผูกพันที่ต้องยอมรับพระพุทธศาสนาว่าเด่นเป็นพิเศษเหนือ ศาสนาที่เหลือ อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องเป็นที่น่ายินดีสำหรับข้าพเจ้าที่ได้พบว่า คำสอนของข้าพเจ้าเข้ากันได้อย่างใกล้ชิดกับศาสนาซึ่งมนุษย์ส่วนมากนับถือ การเข้ากันได้นี้ ต้องเป็นที่น่าพอใจมาก เพราะในการคิดปรัชญานั้น ข้าพเจ้ามิได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนานั้น(พระพุทธศาสนา)อย่างแน่นอน”

แมกซมึลเลอร์ (ค.ศ.1823-1900) ศาสตราจารย์ทางนิรุกติศาสตร์ ชาวเยอรมัน ผู้นำในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับตะวันออก กล่าวว่า
“ประมวลศีลธรรมของพระพุทธเจ้า สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยรู้จักมา”

เอช. จี. เวลส์ (ค.ศ.1866-1946) นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ และนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ริเริ่มการเขียนนวนิยายทางวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า
“พระพุทธศาสนาได้กระทำไว้มาก ยิ่งกว่าอิทธิพลอื่นใดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพื่อความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมของโลก และวัฒนธรรมที่แท้จริง”

เบอร์ทรันด์ รัสเซล (ค.ศ.1872-1970) นักปรัชญา นักเขียน นักคณิตศาสตร์ และนักต่อสู้คัดค้านอาวุธนิวเคลียร์ ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1950 กล่าวว่า
“พระพุทธศาสนาเป็นการรวมกันของปรัชญาแบบพินิจความจริง กับวิทยาศาสตร์ ศาสนานั้นสนับสนุน วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และติดตามวิธีการนั้นจนถึงที่สุด ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นศาสนาแห่งเหตุผล ในพระพุทธศาสนาเราจะได้พบคำตอบที่น่าสนใจ เช่น จิตใจกับวัตถุคืออะไร? ระหว่างจิตใจกับวัตถุนั้นอย่างไหนสำคัญมากกว่ากัน? เอกภพเคลื่อนไปหาจุดหมาย ปลายทางหรือไม่? พระพุทธศาสนาพูด ถึงเรื่องที่วิทยาศาสตร์ยังหานำทางไปได้ไม่ เพราะความจำกัดแห่งเครื่องมือ ของวิทยาศาสตร์ ชัยชนะของพระพุทธ ศาสนาเป็นชัยชนะทางจิตใจ”

ศาสตราจารย์คาร์ล กุสตาฟ จุง (ค.ศ.1875-1961) นักจิตวิทยา ชาว สวิสส์ กล่าวว่า
“ในฐานะเป็นนักศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยพบเห็น มา ปรัชญาของพระพุทธเจ้า ทฤษฎีวิวัฒนาการและกฎแห่งกรรม (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) ยิ่งใหญ่เหนือลัทธิอื่นอย่างห่างไกล”

อัลแบร์ต ชไวเซอร์ (ค.ศ.1875-1965) แพทย์นักสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส นักเทววิทยา และนักดนตรี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 1952 (พ.ศ.2495)บอกว่า
“พระองค์ (พระพุทธเจ้า)ได้ทรงแสดงออกซึ่ง สัจธรรมอันมีคุณค่าเป็นนิรันดร และได้ ทำให้จริยธรรมมิใช่ของอินเดียเท่านั้น แต่ของมนุษยชาติก้าวหน้าไป พระพุทธ เจ้าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาอัจฉริยมนุษย์ทางศีลธรรม ที่โลกเคยได้มา”

อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ (ค.ศ.1879-1955) นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ กล่าวว่า
“ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา (คืออ้างเทวดา เป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนความสำนึกทางศาสนาที่เกิดขึ้นจากประสบ- การณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจ อย่างเป็นหน่วยรวมที่มี ความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้ ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระ พุทธศาสนา”

อัลดัส ฮักซลี่ย์ (ค.ศ.1894-1963) นักเขียนนวนิยาย ชาวอังกฤษ กล่าวว่า
“ในบรรดาศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของโลกทั้งหมด พระพุทธศาสนาเพียงศาสนาเดียว ที่ดำเนินไปโดยปราศจากการเบียดเบียนทางศาสนา การตรวจควบคุม และการซักถามสอบสวน (ซึ่งมีลูกขุนหรือเจ้าหน้าที่ดำเนินการ เพื่อจะเอาผิด หรือควบคุมผู้ไม่นับถือ) ในแง่เหล่านี้ทั้งหมด ประวัติของพระพุทธ ศาสนายิ่งใหญ่มากเหนือศาสนาอื่นซึ่งดำเนินไปในระหว่างประชาชน ผู้ติดอยู่ กับระบบทหาร”

เจ.โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ (ค.ศ. 1904-1976) นักฟิสิกส์ ชาวอเมริกัน ผู้นำในการพัฒนาระเบิดปรมาณู กล่าวว่า
“ขอยกตัวอย่าง เช่นเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเป็นอันเดียวกันใช่หรือ ไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเปลี่ยนไปพร้อมกับกาลเวลาใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบ ว่าไม่ ถ้าถามว่า อิเล็กตรอนหยุดพักใช่ หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่ามันเคลื่อนไหวใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานคำตอบเช่นเดียวกัน เมื่อทรงได้รับคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ของตัวตนของมนุษย์ภายหลังความตาย แต่คำตอบเหล่านั้นมิใช่คำตอบที่คุ้นกับจารีตประเพณีของวิทยาศาสตร์ สมัยศตวรรษที่ 17และ 18”



สำหรับซุปเปอร์สตาร์ที่คนทั่วโลกชื่นชอบและคลั่งไคล้กันนั้น การที่เขาสนใจและบางรายถึงกับเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ พร้อมอุทิศตนทำงานเพื่อช่วยจรรโลงพุทธศาสนานั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งที่ระลึกของพวก เขาได้อย่างแท้จริง
ทอม ครูซ (Tom Cruise) ชาวอเมริกัน พระเอกหนุ่มเนื้อหอม ผู้มี ชื่อเสียงโด่งดังจากภาพยนต์เรื่อง “Misson Impossible” ได้กล่าวยกย่องพุทธศาสนา ในการแถลงข่าวงานเปิดรอบปฐมทัศน์ของหนังเรื่องใหม่ที่เขาแสดงนำคือ “The Last Samurai” ณ โรงแรมริซท์ กลางใจกรุงปารีส ว่า หลังจากที่ตน ได้ศึกษาบทนำจากหนังเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้อง ทำความเข้าใจในปรัชญาตะวันออก ทั้งพุทธศาสนาและศิลปะบูชิโดของญี่ปุ่น ทำให้ตนได้เรียนรู้หลักการดำเนินชีวิต ที่เรียบง่าย และยืดหยุ่น ซึ่งสามารถนำ มาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างน่าเหลือเชื่อ นอกจากนี้เขายังได้กล่าวยกย่องศาสนาพุทธว่าเป็นศาสนาที่เป็นรากฐานของวิทยา ศาสตร์ทั้งหมด ซึ่งสอนให้คนรู้จักตนเองและมอบความรักเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้ และถือว่าการได้สัมผัสกับพุทธศาสนาเป็นประสบการณ์ทีมีค่ายิ่งในชีวิตของเขา
ริชาร์ด เกียร์ (Richard Gere) ดาราชื่อก้องชาวอเมริกัน ได้ชื่อว่าเป็นดาราหนุ่มที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่งในปี 1980-1990 ภาพยนต์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากก็คือ Pretty Woman(1990) และเมื่อปี 2546 ที่ผ่านมา เขาก็คว้ารางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 60 ในฐานะดารานำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนต์เรื่องชิคาโก
ริชาร์ด เกียร์ หันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง จนพบว่าศาสนาพุทธให้คำตอบกับชีวิตของเขาได้ ด้วยเหตุนี้เองเขาจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และใช้เวลานอกจอช่วยเหลืองานขององค์ทะ ไลลามะ ในการเผยแผ่ศาสนา และเมื่อครั้งที่มีการประกาศรางวัลออสการ์ปี 1993 ท่ามกลางสายตาของผู้ชมนับล้านๆ คู่ ริชาร์ด เกียร์ ก็ใช้เวทีนี้เรียกร้องความรักและสัจธรรมให้กับมวลมนุษย์ และในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ถล่มตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 45 นั้น ริชาร์ด เกียร์ ให้สัมภาษณ์ว่า เขากำลังศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ที่รัฐแมสซาชูเซตส์
เกียร์เคยพูดว่า เราต้องคิดว่าบรรดาผู้ก่อการร้ายนั้นได้ก่อความเลวร้ายให้กับชีวิตภายหน้า ของพวกเขาไว้แล้ว เรียกว่าสร้างกรรมชั่ว และเราจะต้องมองให้กว้างไกลว่าเราทุกคนต่างเกี่ยวโยงกับการกระทำครั้งนี้ เช่นกัน เขาย้ำว่า เราต้องให้ความรักและเมตตากับทุกคน ไม่เว้นแม้พวกที่ก่อการร้าย ถ้าเราทั้งหลายสามารถที่จะมองพวกผู้ก่อการร้าย ด้วยความคิดว่าเขาเหล่านั้นคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ยาที่จะรักษาพวกเขาได้ก็คือ ความรักและเมตตานั้นเอง ไม่มีอะไรจะดีกว่านั้นอีกแล้ว
สตีเว่น ซีกัล (Steven Seagal) พระเอกนักบู๊ชื่อดังของฮอลลีวู้ด ชาวอเมริกัน โด่งดังขึ้นมาในฮอลลีวู้ดในฐานะพระเอกหนังแอ๊คชั่น หนังเรื่องล่าสุดของเขา คือ Exit Wounds ซีกัลได้ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งมีลามะในทิเบตบางรูปพูดถึงเขาว่า เขาเป็นอดีตลามะองค์สำคัญที่กลับชาติมาเกิดทีเดียว
โรเแบร์โต บาจโจ (Roberto Baggio) นักฟุตบอลชื่อดังชาวอิตาลี หันมาสนใจพุทธศาสนา หลังผ่าตัดเข่าข้างขวา และต้องหยุดเล่นนานถึง 2 ปี ช่วงนี้เขาต้องฝึกกายภาพ ด้วยความหวังที่เลือนลาง และไม่มีความสุข หงุดหงิด อารมณ์เสียบ่อยครั้ง เมาริซิโอ โบลดรินี เจ้าของร้านขายแผ่นซีดี ซึ่งโรเบอโต้เป็นลูกค้าประจำที่ร้าน จึงได้แนะนำให้เขาสวดมนต์ บาจโจรู้สึกดีขึ้นมาก และหันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนา จนนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง กระทั่งอาการบาดเจ็บที่เข่าของ เขาค่อยทุเลาลง และสามารถกลับมาเล่นฟุตบอลได้อีกครั้ง
บาจโจ บอกไว้เมื่อ พ.ศ.2539 ว่า แม้จะปฏิบัติธรรมได้เพียง 8 ปีเท่านั้น แต่บุญกุศลที่ได้รับนั้นมากมายเกินกว่าจะกล่าวได้หมด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเขาก็คือได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติของตนเอง เพราะก่อนหน้าที่จะหันมาปฏิบัติธรรมนั้น เขาเป็นคนที่จะต้องคิดในรูปแบบที่ตัวเองวางกรอบ หรือกำหนดไว้แล้ว หรือไม่ก็ตัดสินสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยใช้ความคิดของตนเองเป็นหลัก และคิดว่าการกระทำเช่นนี้ของตนถูกต้องเสมอ แต่หลังการปฏิบัติธรรมแล้วมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมายในชีวิตจิต วิญญาณของตัวเอง ซึ่งต้องใช้สติปัญญาในการตัดสินใจ แม้จะเป็นเรื่องที่ยากเพราะบางครั้งจิตใจก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางกาย
บาจโจบอกว่าสำหรับชาวอิตาเลียนแล้ว พุทธศาสนานั้นอยู่ห่างไกลและไม่เกี่ยวข้องอะไรกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และชาวอิตาเลียนจะมีความเชื่อในความคิดเห็นของตนเองมากและไม่ต้องการศึกษา เรียนรู้ หรือเข้าใจปรัชญาอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากที่ พวกเขาเคยรับรู้มา แต่จะตัดสินสิ่งต่างๆ ตามความคิดเห็นของตนเอง สำหรับเขาแล้วการตัดสินใจหันมานับถือพุทธศาสนา ไม่รู้สึกว่าขาดความ เชื่อมั่น และไม่แคร์ว่าใครจะพูดว่าอย่างไร เพราะเป้าหมายของตนคือต้องการจะเป็นบุคคลที่มีความสุขที่สุด
ไม่เพียงแต่คนดังเหล่านี้ที่หันมาสนใจและประพฤติปฏิบัติตามหลักพุทธธรรมเท่า นั้น ยังมีชาวตะวันตกอีกมากมายที่มุ่งหน้าค้นหาสัจธรรมของชีวิต เดินทางเข้าสู่ดินแดนแห่งพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทิเบต ภูฐาน ศรีลังกา พม่า หรือประเทศไทย เพื่อการศึกษาหลักธรรมคำสอนและปฏิบัติกันอย่างจริงจัง คอร์สอบรมวิปัสสนาที่วัดหรือหน่วยงานบางแห่งในบ้านเราจัดขึ้นสำหรับชาวต่าง ชาตินั้นได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม[3]




พลังศรัทธาในพุทธศาสนาของ...ศ. ดร. CALORA ANDUJO M.D. (คาโลร่า)



ศ.ดร. คาโลร่า เล่าให้ฟังว่า หลังเรียนจบปริญญาเอกด้านคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ จากมหา- วิทยาลัยฮาร์วาร์ด ระหว่างที่ทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยแม็กซิโกนั้น ได้ให้ความสนใจอาหารเพื่อสุขภาพมาก โดยเน้นเรื่องการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารผัก รวมทั้งอาหารที่ปรุงมาจากธรรมชาติ (ไม่ใช่การกินเจและก็กินอาหารมังสวิรัติ) ซึ่งได้รับคำแนะนำจากเพื่อนชาวญี่ปุ่น

เมื่อรับประทานแล้วสุขภาพก็ดีขึ้น จึงลาออกจากงานมาเผยแพร่เรื่องการกินอาหาร เพื่อสุขภาพ โดยเปิดเป็นร้านอาหารเล็ก ๆ และสั่งนำเข้าพวกสาหร่ายและปลาอาหารจากจีนและญี่ปุ่นมาขาย ทั้งนี้จะเปิดขายวันละ ๑ มื้อเท่านั้น แม้ว่าจะเป็นอาหารที่ราคาค่อนข้างแพง แต่ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามลำดับ ในที่สุดก็ขยายร้านใหญ่ขึ้น ขณะเดียวก็เปิดสอนวิธีทำอาหารเพื่อสุขภาพด้วย ด้วยความเป็นนักวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เมื่อสุขภาพร่างกายมีความสมบูรณ์แล้ว จึงมีความคิดต่อว่า ทำอย่างไรถึงจะควบคุมจิตใจให้มีความสงบสุขได้ จากนั้นได้หันไปค้นคว้าอ่านหนังสือทางพวกฮินดู เซน ฯลฯ ขณะเดียวก็เข้าไปฝึกปฏิบัติธรรมโดยสมัครเป็นลูกศิษย์สำนักต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างจะได้ผล แต่ไม่มีข้อยุติเพราะได้แค่เรื่องสมาธิเท่านั้น

เธอเล่าต่อว่า ครั้งได้รู้จักกับนักเผยแพร่เรื่องสมาธิจากผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อทอง (พระเทพพรหมวชิรญาณ) วัดพระธาตุจอมทอง เมื่อปฏิบัติได้ ระยะหนึ่งเห็นว่าลูกศิษย์ของหลวงพ่อทอง ไม่สามารถอธิบายให้ความรู้เรื่องการกำหนดจิตสร้างสมาธิให้ซาบซึ้งได้ จึงลงทุนซื้อตั๋วเครื่องบินตั้งใจว่าจะมาเรียนกับหลวงพ่อทองโดยตรง

เมื่อมาถึงประเทศไทยได้เรียนกับลูกศิษย์หลวงพ่อทองเท่านั้น เนื่องจากท่านเป็นพระผู้ใหญ่จึงไม่มีเวลามาสอนโดยตรง ความตั้งใจที่จะมาเรียนกับอาจารย์โดยตรงแต่กลับมาได้เรียนกับลูกศิษย์ เมื่อเป็นเช่นนี้ความตั้งใจเดิมที่จะมาเรียนสัก ๑ ปี ก็เหลือเพียง ๒ เดือนเท่านั้น

ขณะเดียวกันก็พยายามค้นคว้าอ่านหนังสือจากห้องสมุดที่วัดตโปทาราม ในที่สุดก็ไปอ่านหนังสือของหลวงตาโสบิน ส.นามโท (Insight Meditation Practical Steps to Ultimate Truth) โดยอ่านถึง ๓ รอบ จากนั้นจึงมีความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติสมาธิกำหนดจิต

จากนั้นก็ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ วัดถ้ำตอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดวิปัสสนาฯ ใครไปอยู่วัดแห่งนี้ต้อง ปฏิบัติวิปัสสนาฯ เท่านั้น โดยนำหนังสือของ หลวงตาโสบินไปเป็นคู่มือด้วย ทั้งนี้ได้ฝึกปฏิบัติอยู่เป็นเวลา ๒ เดือน แต่ก็ยังมีข้อสงสัยบางประการ จึงตัดสินใจไปตามหาหลวงตาโสบินซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าว ซึ่งขณะนั้นยังเป็นฆราวาสอยู่ และเมื่อได้ฝึกปฏิบัติแล้วก็สามารถไขข้อข้องใจต่างได้ ขณะเดียวก็ติดต่อหลวงตาโสบินให้ไปสอนในศูนย์สุขภาพที่แม็กซิโก ซึ่งมีสมาชิกอยู่ประมาณ ๓๐๐ คน

รูปแบบของการปฏิบัติของสำนักทั่วๆ ไปส่วนใหญ่ จะเป็นความสงบสุขที่เกิดจากจินตนาการมากกว่า ไม่ได้เกิดจากการฝึกปฏิบัติสมาธิจริงๆ เป็นความสุข ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเท่านั้น ปัญหาของ การฝึกปฏิบัติของชาวต่างชาติ คือ ไม่รู้ว่าจะเข้าหาความรู้จากพระได้มากแค่ไหน ขณะเดียวกันพระก็ไม่มีความรู้ความสามารถ ในการอธิบายธรรมะมากน้อยเพียงใด

เมื่อถามถึงความเป็นพุทธ ศ.ดร.คาโลร่า ตอบว่า “เป็นพุทธหรือไม่เป็นพุทธไม่ใช่สาระสำคัญ ที่สำคัญ คือ เลื่อมใสในหลักธรรมและหลักปฏิบัติในแนวพุทธ เมื่อปฏิบัติแล้วจะมีผลต่อสุขภาพอย่างไร การ ศึกษาแสวงหาและปฏิบัติเพื่อทำให้ชีวิต ดีขึ้นไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ทุกคนมีสิทธิศึกษาหลักปฏิบัติของทุกศาสนา ส่วนจะดีขึ้นหรือไม่นั้นมันขึ้นอยู่กับคนๆ นั้น”

ส่วนเหตุที่ทำให้คนไทยไม่สนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมนั้น ศ.ดร.คาโลร่า มองว่า คนไทยเห็นพระ เห็นวัด ได้รับการปลูกฝังเรื่องหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่เกิด จึงมีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที่สำคัญ คือ สิ่งเหล่านี้เป็นของฟรีทุกคนสามารถเข้าถึงได้ จึงเห็นเรื่องการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องธรรมดา ในขณะที่ชาวต่างชาติต้องดิ้นรนแสวงหาเท่านั้น หนังสือธรรมะดีๆ สักเล่มก็หาอ่านยาก รวมทั้งอาจารย์ผู้สอนก็ยากยิ่งกว่า นอกจากนี้แล้วทุกอย่างต้อเสียเงินซื้อทั้งนั้น การได้เดินมาปฏิบัติธรรมในครั้งนี้จึงมีความพิเศษมาก แม้ว่าจะต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาคนละซีกโลก แต่มันคุ้มเกินคุ้มที่ จะแสวงหาประโยชน์จากการ่วมปฏิบัติธรรมในครั้งนี้

ขณะเดียวกัน ศ.ดร.คาโลร่า พูดไว้อย่างน่าคิดว่า “คนไทยมีบุญที่ได้เกิดอยู่ในเมืองพุทธ เมืองที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด แต่คนไทยไม่มีวาสนาที่จะเข้าถึงหลักธรรมหลักการปฏิบัติที่แท้จริง คนไทยส่วนใหญ่จะติดในพิธีกรรมทางศาสนามากเกินไป จนลืมแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คนไทยไม่ค่อยเข้าถึงหลักธรรมเท่าไรนัก แต่จะเน้นเรื่องประเพณีและพิธีกรรมมากกว่า แต่ตัวเองเริ่มต้นจากการเรียนรู้คำสอนก่อน ส่วนประเพณีและพิธีกรรมมาเรียนรู้ทีหลัง ถึงไม่ได้เกิดในเมืองพุทธแต่ก็มีวาสนาที่ได้เข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา”



เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก[4]

สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2543
เขียนโดย ธรรมสถานวิจันท์โล ที่ 23:03

http://wijunlo.blogspot.com/2010/01/blog-post.html



Thai | English | 中文 | 日本語




Search?VideoบทความGoogle User :
Password :
Login
สมัครใหม่ | ลืมรหัสผ่าน

HomeLive สด Videoธรรมะ Dhammaสมาธิ MeditationWebboardAbout DMC.
พุทธศาสนาในสายตาคนดังทั่วโลก
บทความ Articles > DMC NEWS
[ 11 ต.ค. 2549 ] - [ ผู้อ่าน : 608 ]
Share Facebook
พิมพ์บทความนี้
ทอม ครูซ (Tom Cruise) ชาวอเมริกัน พระเอกหนุ่มเนื้อหอม ผู้มี ชื่อเสียงโด่งดังจากภาพยนต์เรื่อง “Misson Impossible” ได้กล่าวยกย่องพุทธศาสนา ในการแถลงข่าวงานเปิดรอบปฐมทัศน์ของหนังเรื่องใหม่ที่เขาแสดงนำคือ “The Last Samurai” ณ โรงแรมริซท์ กลางใจกรุงปารีส ว่า หลังจากที่ตนได้ศึกษาบทนำจากหนังเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้อง ทำความเข้าใจในปรัชญาตะวันออก ทั้งพุทธศาสนาและศิลปะบูชิโดของญี่ปุ่น ทำให้ตนได้เรียนรู้หลักการดำเนินชีวิต ที่เรียบง่าย และยืดหยุ่น ซึ่งสามารถนำ มาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างน่าเหลือเชื่อ นอกจากนี้เขายังได้กล่าวยกย่องศาสนาพุทธว่าเป็นศาสนาที่เป็นรากฐานของวิทยา ศาสตร์ทั้งหมด ซึ่งสอนให้คนรู้จักตนเองและมอบความรักเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้ และถือว่าการได้สัมผัสกับพุทธศาสนาเป็นประสบการณ์ทีี่่มีค่ายิ่งในชีวิตของ เขา



ริชาร์ด เกียร์ (Richard Gere) ดาราชื่อก้องชาวอเมริกัน ได้ชื่อว่าเป็นดาราหนุ่มที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่งในปี 1980-1990 ภาพยนต์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากก็คือ Pretty Woman(1990) และเมื่อปี 2546 ที่ผ่านมา เขาก็คว้ารางวัลลูกโลกทองคำ ครั้งที่ 60 ในฐานะดารานำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนต์เรื่อง ชิคาโก



ริชาร์ด เกียร์ หันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง จนพบว่าศาสนาพุทธให้คำตอบกับชีวิตของเขาได้ ด้วยเหตุนี้เองเขาจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และใช้เวลานอกจอช่วยเหลืองานขององค์ทะ ไลลามะ ในการเผยแผ่ศาสนา และเมื่อครั้งที่มีการประกาศรางวัลออสการ์ปี 1993 ท่ามกลางสายตาของผู้ชมนับล้านๆ คู่ ริชาร์ด เกียร์ ก็ใช้เวทีนี้เรียกร้องความรักและสัจธรรมให้กับมวลมนุษย์ และในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ถล่มตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 44 นั้น ริชาร์ด เกียร์ ให้สัมภาษณ์ว่า เขากำลังศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ที่รัฐแมสซาชูเซตส์



สตีเว่น ซีกัล (Steven Seagal) พระเอกนักบู๊ชื่อดังของฮอลลีวู้ด ชาวอเมริกัน โด่งดังขึ้นมาในฮอลลีวู้ดในฐานะพระเอกหนังแอ๊คชั่น หนังเรื่องล่าสุดของเขา คือ Exit Wounds ซีกัลได้ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งมีลามะในทิเบตบางรูปพูดถึงเขาว่า เขาเป็นอดีตลามะองค์สำคัญที่กลับชาติมาเกิดทีเดียว



โรเแบร์โต บาจโจ (Roberto Baggio) นักฟุตบอลชื่อดังชาวอิตาลี หันมาสนใจพุทธศาสนา หลังผ่าตัดเข่าข้างขวา และต้องหยุดเล่นนานถึง 2 ปี ช่วงนี้เขาต้องฝึกกายภาพ ด้วยความหวังที่เลือนลาง และไม่มีความสุข หงุดหงิด อารมณ์เสียบ่อยครั้ง เมาริซิโอ โบลดรินี เจ้าของร้านขายแผ่นซีดี ซึ่งโรเบอโต้เป็นลูกค้าประจำที่ร้าน จึงได้แนะนำให้เขาสวดมนต์ บาจโจรู้สึกดีขึ้นมาก และหันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนา จนนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง กระทั่งอาการบาดเจ็บที่เข่าของเขาค่อยทุเลาลง และสามารถกลับมาเล่นฟุตบอลได้อีกครั้ง



อาร์เธอร์ โชเพนเฮาว์ (ค.ศ.1788-1860) นักปรัชญาชาวเยอรมัน กล่าวว่า “ถ้าข้าพเจ้าจะถือเอาผลแห่งปรัชญาของข้าพเจ้าว่าเป็นมาตรฐานแห่งความจริง ข้าพเจ้าก็ควรมีข้อผูกพันที่ต้องยอมรับพระพุทธศาสนาว่าเด่นเป็นพิเศษเหนือ ศาสนาที่เหลือ อย่างไรก็ตาม ก็จะต้องเป็นที่น่ายินดีสำหรับข้าพเจ้าที่ได้พบว่า คำสอนของข้าพเจ้าเข้ากันได้อย่างใกล้ชิดกับศาสนาซึ่งมนุษย์ส่วนมากนับถือ การเข้ากันได้นี้ ต้องเป็นที่น่าพอใจมาก เพราะในการคิดปรัชญานั้น ข้าพเจ้ามิได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนานั้น(พระพุทธศาสนา)อย่างแน่นอน”



แมกซมึลเลอร์ (ค.ศ.1823-1900) ศาสตราจารย์ทางนิรุกติศาสตร์ ชาวเยอรมัน ผู้นำในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับตะวันออก กล่าวว่า “ประมวลศีลธรรมของพระพุทธเจ้า สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยรู้จักมา”



เอช. จี. เวลส์ (ค.ศ.1866-1946) นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ และนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ริเริ่มการเขียนนวนิยายทางวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “พระพุทธศาสนาได้กระทำไว้มาก ยิ่งกว่าอิทธิพลอื่นใดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพื่อความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมของโลก และวัฒนธรรมที่แท้จริง”



เบอร์ทรันด์ รัสเซล (ค.ศ.1872-1970) นักปรัชญา นักเขียน นักคณิตศาสตร์ และนักต่อสู้คัดค้านอาวุธนิวเคลียร์ ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1950 กล่าวว่า“พระพุทธศาสนาเป็นการ รวมกันของปรัชญาแบบพินิจความจริง กับวิทยาศาสตร์ ศาสนานั้นสนับสนุน วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และติดตามวิธีการนั้นจนถึงที่สุด ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นศาสนาแห่งเหตุผล ในพระพุทธศาสนาเราจะได้พบคำตอบที่น่าสนใจ เช่น จิตใจกับวัตถุคืออะไร? ระหว่างจิตใจกับวัตถุนั้นอย่างไหนสำคัญมากกว่ากัน? เอกภพเคลื่อนไปหาจุดหมาย ปลายทางหรือไม่? พระพุทธศาสนาพูด ถึงเรื่องที่วิทยาศาสตร์ยังหานำทางไปได้ไม่ เพราะความจำกัดแห่งเครื่องมือ ของวิทยาศาสตร์ ชัยชนะของพระพุทธ ศาสนาเป็นชัยชนะทางจิตใจ”



ศาสตราจารย์คาร์ล กุสตาฟ จุง (ค.ศ.1875-1961) นักจิตวิทยา ชาว สวิสส์ กล่าวว่า “ในฐานะเป็นนักศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สมบูรณ์มากที่สุดที่โลกเคยพบเห็น มา ปรัชญาของพระพุทธเจ้า ทฤษฎีวิวัฒนาการและกฎแห่งกรรม (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) ยิ่งใหญ่เหนือลัทธิอื่นอย่างห่างไกล”



อัลแบร์ต ชไวเซอร์ (ค.ศ.1875-1965) แพทย์นักสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส นักเทววิทยา และนักดนตรี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 1952 (พ.ศ.2495)บอกว่า “พระองค์ (พระพุทธเจ้า)ได้ทรงแสดงออกซึ่ง สัจธรรมอันมีคุณค่าเป็นนิรันดร และได้ ทำให้จริยธรรมมิใช่ของอินเดียเท่านั้น แต่ของมนุษยชาติก้าวหน้าไป พระพุทธ เจ้าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาอัจฉริยมนุษย์ทางศีลธรรม ที่โลกเคยได้มา”



อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ (ค.ศ.1879-1955) นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ กล่าวว่า “ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา (คืออ้างเทวดา เป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนความสำนึกทางศาสนาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้ง ปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจ อย่างเป็นหน่วยรวมที่มี ความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้ ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา”



อัลดัส ฮักซลี่ย์ (ค.ศ.1894-1963) นักเขียนนวนิยาย ชาวอังกฤษ กล่าวว่า “ในบรรดาศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของโลกทั้งหมด พระพุทธศาสนาเพียงศาสนาเดียว ที่ดำเนินไปโดยปราศจากการเบียดเบียนทางศาสนา การตรวจควบคุม และการซักถามสอบสวน (ซึ่งมีลูกขุนหรือเจ้าหน้าที่ดำเนินการ เพื่อจะเอาผิด หรือควบคุมผู้ไม่นับถือ) ในแง่เหล่านี้ทั้งหมด ประวัติของพระพุทธ ศาสนายิ่งใหญ่มากเหนือศาสนาอื่นซึ่งดำเนินไปในระหว่างประชาชน ผู้ติดอยู่ กับระบบทหาร”



เจ.โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ (ค.ศ. 1904-1976) นักฟิสิกส์ ชาวอเมริกัน ผู้นำในการพัฒนาระเบิดปรมาณู กล่าวว่า “ขอยกตัวอย่าง เช่นเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเป็นอันเดียวกันใช่หรือ ไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่า ฐานะของอิเล็กตรอนเปลี่ยนไปพร้อมกับกาลเวลาใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบ ว่าไม่ ถ้าถามว่า อิเล็กตรอนหยุดพักใช่ หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ ถ้าเราถามว่ามันเคลื่อนไหวใช่หรือไม่? เราจะต้องตอบว่าไม่ พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานคำตอบเช่นเดียวกัน เมื่อทรงได้รับคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ของตัวตนของมนุษย์ภายหลังความตาย แต่คำตอบเหล่านั้นมิใช่คำตอบที่คุ้นกับจารีตประเพณีของวิทยาศาสตร์ สมัยศตวรรษที่ 17และ 18”


---
Ref: /www.dmc.tv
หนึ่งในคอลัมน์ของธรรมจักษุ เรื่องริชาร์ด เกียร์ ให้สัมภาษณ์เล่าถึง
ชีวิตของเขาที่ปฏิบัติตามวิถีพุทธ

รายงานโดย...พิพัฒน์ บุญยง
พิมพ์ลงในนิตยสาร “ธรรมจักษุ”
ปีที่ 88 ฉบับที่ 10 เดือน กรกฎาคม 2547

องค์ดาไลลามะ


ประมุขแห่งประชาชน และคณะสงฆ์ธิเบต

ประสูติเมื่อวันที่ ๖ ก.ค. ค.ศ.๑๙๓๕ (พ.ศ. ๒๔๗๘) ที่ "ตักเซอร์" หมู่บ้านเล็ก ๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของธิเบต และทรงถูกค้นพบ ด้วยวิธีการ ตามประเพณีของธิเบต เมื่ออายุได้ ๒ พรรษา กว่า ว่าเป็นองค์ทะไลลามะองค์ที่ ๑๓ กลับชาติมาประสูติ
พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ เป็นผู้นำประเทศ ธิเบต เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๔๐ (พ.ศ. ๒๔๘๓)
เริ่ม การศึกษา เมื่อชนมายุได้ ๖ พรรษา ทรงสอบมหาวิทยาลัย เมื่อทรงพรรษาได้ ๒๔ และเมื่ออายุได้ ๒๕ พรรษา ทรงจบปริญญาเอก ทางปรัชญาของธิเบต ชื่อ เกเช ลารามปา

ทรงได้รับตำแหน่ง และอำนาจทางการเมือง อย่างสมบูรณ์ เป็นผู้นำประมุขของชาติ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๕๐ หลัง จากที่กองทหารจีน ได้บุกเข้าโจมตีธิเบต พระองค์ได้เดินทาง ไปปักกิ่งในปี ค.ศ. ๑๙๕๔ (พ.ศ. ๒๔๙๗) เพื่อเจรจาสันติภาพ กับเหมา เจ๋อ ตุง และผู้นำอื่น ๆ ของประเทศจีน เช่น โจว เอินไหล และ เติ้ง เสี่ยว ผิง ๒ ปี ถัดมาได้เดินทาง ไปอินเดียเพื่อเข้าร่วมงาน ฉลอง "๒๕๐๐ ปี พุทธชยันตี" และได้ปรึกษา กับนายกรัฐมนตรีเนรู ถึงสถานการณ์ทิเบต ที่เลวร้ายลง

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๕๙ (พ.ศ.๒๕๐๒) ได้เกิด การประท้วงครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ทิเบต ที่ลาซา เมืองหลวงของธิเบต ผู้ประท้วงชาวธิเบต จำนวนมาก ถูกกองทหารจีน จับกุมและสังหาร องค์ทะไล ลามะได้เดินทางลี้ภัย ไปประเทศอินเดีย โดยมีชาวทิเบต ประมาณ ๘๐,๐๐๐ คนติดตาม พระองค์ไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๕๙ (พ.ศ. ๒๕๐๒) พระองค์ได้พำนักอาศัย ที่ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ปัจจุบัน พระองค์มีพระชนมายุได้ ๗๑ พรรษา

ทะไล ลามะ คือ ใคร ?

ทะไลลามะ หรือทะไล ลามะ คือพระสงฆ์ ผู้เป็นผู้นำสูงสุดของชาวธิเบต
ฐานะทางบ้านเมือง เท่ากับตำแหน่งในเมืองไทยเรา คือ พระเจ้าแผ่นดิน
ฐานะทางศาสนา เท่ากับตำแหน่งในเมืองไทยเรา คือตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช

องค์ทะไล ลามะ มีพระนามว่าอย่างไร ?

พระ นามตอนเป็นเด็กคือ ลาโม ดอนดุป เมื่อบรรพชาเป็นสามเณร จึงถูกเปลี่ยน พระนามตามประเพณี เป็น จัมเพล เยเช และต่อมา ก็ใส่ชื่ออื่น ๆ ด้วย จึงมีพระนามเต็มว่า จัมเฟล นาวัง ลบซัง เยเช เทนซิน เกิยตโซ

ทำไมจึงเรียกพระองค์ว่า "ทะไล ลามะ"

คำว่า "ทะไล" เป็นคำจากภาษามองโกล แปลว่า ทะเลอันกว้างใหญ่ หรือมหาสมุทร
"ลามะ" เป็นภาษาธิเบต หมายถึง ผู้มีความรู้
"ทะไล ลามะ" จึง หมายถึง มหาสมุทรแห่งปัญญา
แต่นั่น องค์ทะไลลามะ ตรัสว่า แต่เดิมคำว่า ทะไล แปลมาจากคำว่า "เกิยตโซ" ในพระนามขององค์ทะไล ลามะ องค์ที่ ๓ ซึ่งแปลว่า มหาสมุทร
ชาว ธิเบต เรียกว่าพระองค์ว่า "เกิยลวา รินโปเช" , "คุนดุน" หรือ "เยเช นอรบ" ? แต่ปัจจุบันก็เรียก "ทะไลลามะ" ตามที่รู้จักกันในคำสากล

ทำไมจึงเรียกว่า "ทะไล ลามะ ที่ ๑๔" ?

เพราะ นับตามความเชื่อของธิเบต ทะไลลามะองค์ที่ ๓ ได้รับพระนาม "ทะไลลามะ" เป็นองค์แรก จากผู้ครองมองโกเลีย แต่ท่านถวาย ย้อนไปยังตุลกู ๒ องค์แรกให้เป็นทะไล ลามะ ที่ ๑ และที่ ๒ แล้วท่านนับ ตัวท่านเองเป็นองค์ที่ ๓ องค์ทะไลลามะ ปัจจุบันเป็นองค์ที่ ๑๔

การสืบทอดตำแหน่ง"ทะไล ลามะ"อย่างไร ?

ก่อน ที่องค์ทะไลลามะ จะสิ้นพระชนม์นั้น จะทรงแสดงสัญญาณ บางอย่างเพื่อบอกเป็นนัย ๆ ว่า จะทรงกลับมาเกิดอีก คณะลามะ ผู้คงแก่เรียน ก็จะร่วมกัน ออกค้นหา ตามสัญญาณ ที่ถูกตีความนั้น โดยจะค้นหาเด็ก ที่เกิดมาพร้อมกับ นิมิตหมาย บางอย่าง และเด็กที่มีลักษณะพิเศษ บางอย่าง ตามร่างกาย อันเป็นลักษณะของ พระโพธิสัตว์ ซึ่งแตกต่างออกไป จากคนธรรมดา เช่น ตาและคิ้วเรียวยาวโค้ง ขึ้นบนทั้งสองข้าง มีหูใหญ่ทั้ง ๒ ข้าง มีลายคล้ายก้นหอย บนฝ่ามือข้างหนึ่ง เป็นต้น

เด็กจะเป็นลูกเศรษฐี ลูกชาวนา ยาจก บางครั้ง จะได้เด็ก ที่อยู่ในข่าย ที่จะเป็นอวตาร ๓ หรือ ๔ คน คณะลามะ จะนำเครื่องใช้ประจำตัว ของทะไลลามะองค์ก่อน และสิ่งของอย่างเดียวกัน ที่ทำขึ้นใหม่ หรือของคนอื่นมาวางรวมไว้ ให้เด็กเลือกหยิบ เด็กคนใดหยิบ สิ่งของเครื่องใช้ขององค์ ทะไลลามะถูกต้อง ให้ถือว่า ดวงวิญญาณ ขององค์ทะไลลามะ อวตารมาสถิต ในร่างเด็กนั้น ให้เชิญเด็กนั้น เป็นองค์ทะไลลามะ

ในคราวเลือกทะไลลามะ องค์ที่ ๑๔ เล่ากันว่า เมื่อองค์ทะไล ลามะ องค์ที่ ๑๓ สิ้นพระชนม์แล้ว ผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ ได้เห็นภาพ ในสมาธิ เห็นอักษรธิเบต ๓ ตัว ชัดเจน คือ อ ก และ ม จากนั้นเห็นภาพตึก ๓ ชั้น หลังคาสีฟ้า เห็นบ้านหลังเล็ก มีรางน้ำรูปร่างแปลก และข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ของชาวธิเบต เที่ยวออกค้นหา องค์อวตาร ของพระโพธิสัตว์ ไปตามบ้านเมือง น้อยใหญ่ เป็นเวลาหลายปี จนเกือบหมด ความพยายาม จึงพากันกลับ ไปตั้งอธิษฐาน ต่อหน้าพระศพ ขององค์ทะไลลามะ องค์ที่ ๑๓ ซึ่งเก็บรักษา ไว้ในพระราชวังโปตลา รุ่งขึ้นพระศพ ขององค์ทะไลลามะ ซึ่งประดิษฐาน หันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ กลับหันพระพักตร์ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลามะชั้นผู้ใหญ่ เห็นเป็นนิมิต จึงส่งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ออกเดินทางไป รอนแรม อยู่หลายสิบราตรี ในที่สุด ก็เดินทางถึง หมู่บ้านตำบลอัมโด ซึ่งน่าจะหมายถึง อักษร อ เห็นวัด เป็นตึกสามชั้น หลังคาสีฟ้า ชื่อวัดกุมบุม ซึ่งน่าจะหมายถึงอักษร ก จึงพากัน หาบ้านหลังเล็ก ที่มีรางน้ำรูปร่าง แปลกในหมู่บ้านต่าง ๆ ในละแวกนั้น จนพบ และขออาศัย จำวัดในบ้านนั้น โดยมิได้แจ้ง จุดประสงค์ที่แท้จริง ให้เจ้าของบ้านทราบ หัวหน้าคณะ ค้นหานั้น เป็นพระสงฆ์ตำแหน่งสูง แต่ปลอมตัว เป็นคนใช้ และใช้เวลาส่วนใหญ่ ในตอนเย็นเล่น อยู่กับลูกคนเล็กอายุ ๒ ขวบกว่า ของครอบครัว ชื่อลาโม ดอนดุบ เด็กเกิดจำคนใช้ปลอม คนนั้นได้และเรียกว่า "ลามะจากวัดเซร่า" รุ่งขึ้น จึงเดินทางกลับ และกลับมาอีกใน ๒-๓ วันต่อมา พร้อมกับนำสิ่ง ของขององค์ทะไลลามะ องค์ที่ ๑๓ มาด้วย แล้ววางปนกับ สิ่งของหลายอย่าง ให้เด็กเลือกจับ ซึ่งเด็กก็เลือกได้ถูกต้อง ทั้งยังบอกว่า "ของฉัน ของฉัน" ทำให้คณะค้นหา มั่นใจว่าได้พบแล้ว แต่ก็ยังมีเด็กอีกคนหนึ่ง ที่อยู่ในข่าย ที่ต้องไปพิสูจน์ แต่ท้ายที่สุด เด็กน้อยลาโม ดอนดุบ ก็ได้รับ การยอมรับว่า เป็นทะไลลามะ องค์ที่ ๑๔

เมื่อค้นพบ ทะไล ลามะ องค์ใหม่แล้ว จะดำเนินการ ต่ออย่างไร ?

หลังการค้นพบ และทดสอบแล้ว เด็กจะถูกนำไปอยู่วัด และได้รับ การบำรุงเลี้ยง จากพระ ซึ่งต้องเอาใจใส่ พิถีพิถัน และเข้มงวดกวดขันมาก เพื่อให้จิตใจ ของเด็กน้อย ได้ตระหนัก ถึงต้นกำเนิดอันศักดิ์สิทธิ์ และภาระหน้าที่ อันยิ่งใหญ่ ที่รออยู่เบื้องหน้า เมื่อเด็กมีอายุได้ ราว ๑๖-๑๘ ปี ก็จะได้รับ การสถาปนาให้เป็น "เกียลวา รินโปเช่" หรือ "องค์ทะไลลามะ" ปกครองทิเบต ทั้งฝ่ายบ้านเมือง และฝ่ายศาสนา

ทะไล ลามะ ประทับอยู่ที่ไหน ?

พระองค์ ประทับอยู่ ในทิเบต จนพระชนมายุ ๑๙ เมื่อจีนเข้ายึดธิเบต พระองค์พร้อมด้วย คณะผู้ลี้ภัยจึงหนีออกมา ในพ.ศ. ๒๕๐๒ และได้ตั้ง รัฐบาลอยู่ที่เมือง ธรรมศาลา (ดะรัมศาลา- Dharamsala) แคว้นหิมาจัลประเทศ ตอนเหนือของประเทศอินเดีย และมีหน่วยงาน ในต่างประเทศ เช่น ที่ปารีส, เจนีวา, ลอนดอน, บูดาเปสท์ เป็นต้น

ทะไล ลามะ ได้รับการยอมรับ จากชาวโลกอย่างไร ?

ในด้านความรู้ มหาวิทยาลัย และสถาบัน ในประเทศตะวันตก เป็นจำนวนมาก ได้ทูลถวายรางวัลสันติภาพ และ ถวายปริญญาบัตรแด่พระองค์

ในเรื่องรางวัลระดับโลก คณะกรรมการรางวัลโนเบล ประเทศนอรเวย์ ได้มอบ "รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ" แด่พระองค์ ใน ปี ค.ศ. ๑๙๘๙ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ด้วยเหตุผลว่า "คณะกรรมการ ต้องการเน้นความเป็นจริงที่ องค์ทะไลลามะ ได้พยายามต่อสู้ อย่างต่อเนื่อง และอย่างสันต ิเพื่อปลดปล่อยธิเบต ทรงเสนอหนทาง แก้ไขปัญหา โดยเน้น เรื่องความอดทน และการเคารพ ซึ่งกันและกัน เพื่อคุ้มครองมรดก ทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของประชาชนทิเบต"

ทะไล ลามะ ทรงดำเนินชีวิตอย่างไร ?

พระองค์ตรัสเสมอว่า "ข้าพเจ้า เป็นเพียงพระสงฆ์ธรรมดา ไม่มีอะไรมากกว่านี้ และน้อยกว่านี้"
พระองค์ ทรงปฏิบัติตน ในฐานะเป็นพระสงฆ์ พำนักอาศัย ในกระท่อมในธรรมศาลา ทรงดำเนินชีวิต อย่างเรียบง่าย ดังที่พระองค์ ได้ตรัสเล่าไว้ว่า...

"ตามปกติอาตมาตื่นนอนตีสี่ พอลุกขึ้นมาก็สวดมนต์ภาษาธิเบต อุทิศส่วนกุศลที่ได้ทำ ได้พูด ได้คิด ของทั้งวัน เป็นการแผ่ส่วนบุญ เพื่อช่วยเหลือ เกื้อกูลผู้อื่น อาตมาก็เหมือนพระทุกรูป คือ อยู่กับความจน ไม่มีสมบัติส่วนตัว ในห้องนอนมีแต่เตียง เวลาลุกขึ้น สิ่งแรกที่ได้เห็นคือ พระพักตร์ของพระพุทธเจ้า จากพระพุทธรูป เวลาตื่น ขึ้นมานั้น หนาวเย็นนัก จึงต้องออกกำลังกาย และรีบอาบน้ำ แต่งตัวอย่างรวดเร็ว อาตมานุ่งจีวรสีแดงเข้ม เช่นนี้ดุจพระองค์อื่น ๆ ผ้าหยาบ ๆ มีปะชุน หากเป็น ผ้าผืนเดียว ก็จะเอาไปขาย หรือแลกเปลี่ยน กับอะไรได้ การนุ่งห่มผ้า อย่างนี้เอาไปขายไม่ได้ เป็นการยืนหยัด ปรัชญาของเรา ที่สอนให้ไม่ติดยึด ในสิ่งของต่าง ๆ ทางโลก
อาตมาภาวนา จนถึงตีห้าครึ่ง จากนั้นก็ทำพุทธบูชา กราบแบบ อัษฎางคประดิษฐ์ (คือกราบโดย ให้อวัยวะ ๘ ส่วนสัมผัสพื้น นอนคว่ำหน้าราบกับพื้น และปลงอาบัติ เพื่อสำรวจตรวจดู ความผิดของเราที่แล้ว ๆ มา เพื่อแถลง ให้สงฆ์ทราบ แล้วสวดมนต์ให้พร เพื่อความสวัสดี ของสรรพสัตว์

พอสว่างอากาศดี อาตมาจะลงสวน เวลาเช่นนี้ นับว่าวิเศษมาก สำหรับอาตมา อาตมาจะมองดูฟ้า ที่กระจ่าง มองเห็นดวงดาวมากมาย ทำให้เกิด ความรู้สึกพิเศษว่า เราแทบไม่มีความสำคัญ อันใดเลย ในจักรวาล ทำให้ชาวพุทธ ตระหนักใน ความไม่เที่ยงแท้ นับว่าเหมาะ แก่การพักผ่อน บางครั้งอาตมา ไม่คิดเลย อาตมามีความสุข กับยามรุ่งอรุณ และเสียงนกร้อง

จากนั้นพระ จะนำอาหารเช้า มาถวาย ขณะฉันเช้า อาตมาจะฟังวิทยุ บีบีซี ราว ๆ ย่ำรุ่ง อาตมาจะย้าย ไปยังอีกห้องหนึ่ง เพื่อภาวนาจน ๐๙.๐๐ น. การภาวนาน ี้เป็นพุทธวิธี ที่ช่วยตั้งกระแสจิต ไปในทางที่สุจริต หรือสัมมาทิฏฐิ เพราะให้เกิดความกรุณา การให้อภัย และความมีใจกว้าง อาตมาภาวนาราว ๆ วันละ ๖-๗ ครั้ง

เก้าโมงจนเที่ยง อาตมาศึกษา พระธรรมจากคัมภีร์ พุทธศาสนานั้น ลึกซึ้งมาก แม้อาตมาจะได้ศึกษา มาจนตลอดชีวิต ก็ยังต้องศึกษาอีกมาก อาตมา พยายามอ่านหนังสือ ของผู้รู้ฝรั่งด้วย อาตมาอยากเรียนรู้ ปรัชญาตะวันตก และวิทยาศาสตร์ของฝรั่ง โดยเฉพาะ นิวเคลียร์ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ประสาท-ชีววิทยา บางครั้ง อาตมาก็ทำงาน ด้านเครื่องยนต์กลไก เช่น เปลี่ยนแบตเตอรี่ สำหรับวิทยุ หรือแก้เครื่อง

เวลาเที่ยงครึ่ง อาตมาฉันอาหาร ซึ่งมีเนื้อด้วย แม้อาตมา จะชอบอาหารมังสวิรัติก็ตาม พระย่อมฉัน เท่าที่เขาถวายมา
บ่าย เป็นงานราชการ พบปะ กับพวกรัฐมนตรี ที่ลี้ภัย ออกมาด้วยกัน และตัวแทน จากรัฐบาลของธิเบต นอกจากนี้ ก็ยังมีคน มาขอพบเสมอ ส่วนมาก มาจากธิเบต ส่วนมาก ไม่ได้รับอนุญาต จากจีนคอมมิวนิสต์ คนกล้าพวกนี้ หนีออกมา จากช่องแคบ แถบเชิงเขา หิมาลัยกว่า ๑๗,๐๐๐ คนแล้ว

เวลาย่ำค่ำ อาตมาฉันน้ำชา ตอน ๑ ทุ่ม เป็นเวลาดูโทรทัศน์ อาตมา ชอบดูรายการบีบีซี ที่ว่าด้วยอารยธรรมตะวันตก และรายการต่าง ๆ แล้ว ก็ถึงเวลาที่กำหนด เป็นเวลาภาวนา และบูชาพระ อาตมาหลับง่าย ๆ ตอน ๒ ทุ่มครึ่ง หรือ ๓ ทุ่ม แต่ถ้ามีพระจันทร์ อาตมาจะนึกถึงว่า มีพระจันทร์มองลงมายัง ประชากรของอาตมา ที่ถูกขังดังติดคุก อยู่ในธิเบต แม้อาตมา จะเป็นผู้ลี้ภัย แต่ก็เสรีภาพ ในการพูด เพื่อประชากร ของอาตมา ทุกวัน อาตมาสวดอ้อนวอน ต่อ พระอวโลกิเตศวร โพธิสัตว์ ผู้เป็นองค์พิทักษ์ ของธิเบต ขอให้ทรงปกปักรักษา พวกเขาทุกชั่วโมง ที่กินอยู่ อาตมานึกเสมอ ถึงความทุกข์ยาก ของประชากร ของอาตมา ซึ่งถูกเขากางกั้นเอาไว้ (ในอุ้งมือจีนคอมมิวนิสต์) ? ..

หมายเหตุ ข้อมูล เพิ่มเติม เกี่ยวกับธิเบต หรือองค์ทะไลลามะ หจาก ภาพยนตร์ ซึ่งปัจจุบัน ที่มีพอจะหาดูได้ ก็คือภาพยนตร์เรื่อง "๗ ปีในธิเบต" เป็นเรื่องราวของไฮน์ริค ฮาร์เรอร์ (Heinrich Harrer) ชาวออสเตรีย ที่ถูกจับ เป็นเชลย ในสงครามโลก ครั้งที่ ๒ แล้วหนีออกจากค่าย ในอินเดียเข้าไปธิเบต อยู่ที่นั่นเจ็ดปี ได้เฝ้า และได้ช่วย สอนภาษาอังกฤษ ให้องค์ทะไลลามะ เมื่อจีนเข้ายึด ธิเบต เขาจึง กลับบ้านเกิด (ปัจจุบันอาศัย อยู่ที่ราชรัฐลิคเทนชไตน์ ประเทศเล็ก ๆ ติดสวิตเซอร์แลนด์.)

อีกเรื่อง ชื่อ "คุนดุน" เป็นชีวประวัติขององค์ทะไลลามะ ซึ่งบทภาพยนตร์ ได้รับการตรวจทาน จากสำนักงาน ขององค์ทะไลลามะ ก่อนถ่ายทำ และก่อนออกฉาย เรื่องเริ่มตั้งแต่ ตอนทะไลลามะ ประสูติ เป็นลูกชาวนา ได้รับเลือก ให้เป็นประมุขของธิเบต และดำเนินเรื่อง ไปจนจีน ยึดครองธิเบต อย่างโหดร้าย เป็นเหตุ ให้ต้อง เสด็จลี้ภัย ไปอินเดีย พร้อมคณะผู้ลี้ภัย..."

Ref: องค์ดาไลลามะ