พุทธศาสนสุภาษิต
หมวดบุคคล
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
ผู้มีความรู้ในทางที่ชั่ว เป็นผู้เสื่อม
ผู้มีความรู้ในทางที่ดี เป็นผู้เจริญ
พวกโจร เป็นเสนียดของโลก
ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม
ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ
สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์
ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีความเคารพตนเอง
ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น
ความสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย
คนย่อมเป็นที่เกลียดชัง เพราะขอมาก
ผู้ถึงพร้อมด้วยองคคุณ หาได้ยาก
คนเมื่อโกรธแล้ว มักพูดมาก
คนเมื่อรักแล้ว มักพูดมาก
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
วิญญูชนตำหนิ ดีกว่าคนพาลสรรเสริญ
บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก
ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย
บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่ดี
พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
สัตบุรุษ ไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา
กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย
สัตบุรุษ ไม่ปราศรัยเพราะความได้กาม
ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ
มีบางคนในโลกที่ยับยั้งการกระทำด้วยความละอาย
คนจะประเสริฐ ก็เพราะการกระทำ และ ความประพฤติ
อ่อนไป ก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไป ก็มีภัยเวร
คนได้เกียรติ เพราะความสัตย์
บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์
พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบ ย่อมสง่า
สมณะในศาสนานี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก
บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง
ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ
บุตรเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย
บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
สมณะ พึงตั้งอยู่ในภาวะแห่งสมณะ
คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย
ไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา
ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ
คนซื่อตรง ไม่พูดคลาดความจริง
ผู้มีปัญญาย่อมไม่ขอเลย
คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข
สามีเป็นเครื่องปรากฎของสตรี
ผู้ไหว้ ย่อมได้รับการไหว้ตอบ
ผู้ทำสักการะ ย่อมได้รับการสักการะ
ไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน
คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน
คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น
มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
สตรี เป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย
ผู้รักษา ควรมีสติรักษา
ได้สิ่งใด พึงพอใจในสิ่งนั้น
สมณะ พึงเป็นสมณะที่ดี
อสัตบุรุษ ย่อมไปนรก
ผู้บูชา ย่อมได้รับการบูชา
สติ เป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
สติจำเป็นในที่ทั้งปวง
คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ
พระราชา เป็นประมุขของประชาชน
ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ
อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฎ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน
ฤษีทั้งหลาย มีสุภาษิตเป็นธงชัย
ผู้ประกอบด้วยทมะ และ สัจจะนั้นแล ควรครองผ้ากาสาวะ
พึงตามรักษาความสัตย์
สัตบุรุษมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
ปราชญ์ มีกำลังบริหารหมู่ให้ประโยชน์สำเร็จได้
ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำสุขมาให้
คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำในทางที่ไม่ควรแนะนำ
พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น
ความสงัดของผู้สันโดษมีธรรมปรากฎ เห็นอยู่ นำสุขมาให้
สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์
ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข
มารดา บิดา ท่านว่าเป็นพรหมของบุตร
สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะใคร่กาม
ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้สิ่งที่เขาขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ขอ
คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ
บรรพชิตฆ่าผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นสมณะเลย
คนโง่ มีกำลังบริหารหมู่ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์
คนฉลาด ย่อมละบาป
พึงประพฤติให้พอเหมาะพอดี
ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบากที่จะได้ประโยชน์นั้น
ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล
คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
คนแข็งกระด้างก็มีเวร
กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหวนทวนลมได้
ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ย่อมประกอบด้วยกรุณายิ่งใหญ่
ภริยาผู้ฉลาด ย่อมนับถือสามี และ คนที่ควรเคารพทั้งปวง
มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์ (ของบุตร)
ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ
สัตบุรุษได้ตั้งมั่นในความสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม
ผู้ปราศจากทมะ และ สัจจะ ไม่ควรครองผ้ากาสาวะ
อสัตบุรุษย่อมไปนรก
คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบการอันไม่ใช่ธุระ
ผู้มีความดีจงรักษาความดีของตนไว้
มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร
สาธุชนย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข
สัตบุรุษ ยินดีในการเกื้อกูลสัตว์
สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์
สัตบุรุษ ย่อมขจรไปทั่วทุกทิศ
ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
คนมีปัญญา ย่อมแนะนำในทางที่ควรแนะนำ
บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด
คนโง่รู้สึกว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟที่ส่องทางสว่าง
บุรุษจะเป็นบัณฑิตในทุกสถานก็หาไม่ สตรีคิดการได้ฉับไวก็เป็นบัณฑิต
ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่น ย่อมไม่บรรลุสมาธิ
ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าท่านไม่รักทุกข์ ก็อย่าทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
ผู้ใดเป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีอุปธิ ไม่ติดในกาม ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ดับแล้ว อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ
ชนเหล่าใดฉลาดในขนบธรรมเนียมโบราณ และประกอบด้วยจารีตประเพณีดี ชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคคติ
ผู้ใดจักไม่ทำตามโอวาทที่ผู้รู้ได้บอกแล้ว ผู้นั้นจักถึงความย่อยยับ เหมือนพ่อค้า ถึงความย่อยยับเพราะพวกโจรสลัดฉะนั้น
ผู้ใดรีบในกาลที่ควรช้า และ ช้าในกาลที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมถึงทุกข์ เพราะการจัดทำโดยไม่แยบคาย
ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ ด้วยกรรมดี ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
ผู้ใดช้าในการที่ควรช้า และ รีบในการที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาด ย่อมถึงสุข เพราะการจัดทำโดยแยบคาย
ผู้บรรลุธรรมอย่างสูงสุดไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศกในความตาย เหมือนผู้ออกพ้นจากเรือนที่ถูกไฟใหม้
ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
ผู้ใดไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ถึงความหมดจด มีทิฏฐิสมบูรณ์ มีปัญญา พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ
ใคร่ครวญติ คนฉลาดจะประพฤติไม่ขาด ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล ประดุจแท่งทองชมพูนุท
ผู้ใดยกย่องตน และดูหมิ่นผู้อื่น เป็นคนเลว เพราะการถือตัวเอง พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว
ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นชื่อว่ามีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง และ ไม่มีเวรกับใคร ๆ
ผู้ไม่โกรธ ฝึกตนแล้ว เป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ สงบระงับ และ คงที่ จะมีความโกรธมาแต่ไหน
มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมทางกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่สถานไม่จุติ ที่ไปแล้วไม่ต้องเศร้าโศก
ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้, ผู้นั้นถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข
ถ้าเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์ สงบและยินดีในทางสงบแล้ว จึงชื่อว่าชนะมาร พร้อมทั้งพาหนะ ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด
ผู้ที่มารดาบิดาเลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดาย่อมเข้าถึงนรก
ความโกรธเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาไม่รู้แจ้ง เพราะความแข่งดี เขาย่อมถูกความโกรธนั้นแลเผา
ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา และประทุษร้ายภริยาของคนอื่น นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม
คนไม่มีโชค มีศิลป์หรือไม่มีศิลป์ก็ตาม ขวนขวายรวบรวมทรัพย์ใดไว้ได้เป็นอันมาก ส่วนคนมีโชค ย่อมบริโภคทรัพย์เหล่านั้น
ราคะ โทสะ และอวิชชา อันผู้ใดหลุดพ้นแล้ว, ผู้นั้นเป็นผู้คงที่ มีสายล่ามขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูก ย่อมไม่ติดในที่นั้น
นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นในกาม ทำบาปทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงทุคคติ
ผู้ใดมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว มีความเห็นวิบัติ มีมายา พึงรู้ว่าคนนั้นเป็นคนเลว
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงผู้นิ่งทางกาย นิ่งทางวาจา นิ่งทางใจ ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ผู้ละสิ่งทั้งปวงได้ ว่าเป็นมุนี
บุคคลไม่ควรนิยมการกล่าวคำเท็จ ไม่ควรทำความเสน่หาในรูปโฉม ควรกำหนดรู้มานะ และ ประพฤติงดเว้นจากความผลุนผลัน
บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่, แม้สตรีก็เป็นบัณฑิต มีปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น ๆ ได้เหมือนกัน
ผู้ตั้งใจประพฤติตนเป็นคนโสด เขารู้กันว่าเป็นบัณฑิต, ส่วนคนโง่ฝักใฝ่ในเมถุน ย่อมเศร้าหมอง
คนเขลาคิดว่าเรามีบุตร เรามีทรัพย์ เขาจึงเดือนร้อน ที่แท้ตนของตนก็ไม่มี จะมีบุตร มีทรัพย์มาแต่ไหนเล่า
ผู้ใดไม่มีความอาลัย รู้แล้ว หาความสงสัยมิได้ เราเรียกผู้หยั่งลงสู่อมตะบรรลุประโยชน์แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
คนเหล่าใดเขลา มีปัญญาทราม มีความคิดเลว ถูกความหลงปกคลุม, คนเช่นนั้น ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น
บัณฑิตกล่าวถึงผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยความสะอาดล้างบาปแล้ว ท่านว่าเป็นผู้สะอาด
ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความเมา บรรเทาความโศก เปลื้องสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพ
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น
ผู้เป็นคนขัดเคืองเหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย และ ไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว
บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ, ไม่ขุ่นเครือง เพราะเสื่อมลาภ, ไม่ยินดียินร้ายเพราะตัณหา และ ไม่ติดในรสทั้งหลาย
เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก, อสัตบุรุษย่อมทำตามไม่ได้ เพราะธรรมของสัตบุรุษ ยากทีอสัตบุรุษจะประพฤติตาม
บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่ แต่เป็นคนเลวเพราะการกระทำ เป็นผู้ประเสริฐเพราะการกระทำ
คนเหล่าใด อันเทวทูตตักเตือนแล้วยังประมาทอยู่ คนเหล่านั้นเข้าถึงกายอันเลว ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
บัณฑิตขัดขวางโจรผู้นำของไป, ส่วนสมณะนำไปย่อมเป็นที่รัก, บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับสมณะผู้มาบ่อย ๆ
ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ, เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
สัตบุรุษย่อมปรากฎได้ในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์ อสัตบุรุษถึงนั่งอยู่ในที่นี้ก็ไม่ปรากฎ เหมือนกับลูกศรที่ยิงไปกลางคืน
ผู้ถูกมานะหลอกลวง เศร้าหมองอยู่ในสังขาร ถูกลาภและความเสื่อมย่ำยี ย่อมไม่ลุถึงสมาธิ
ผู้ใดเห็นศีล ปัญญา และสุตะ ในตน, ผู้นั้นย่อมประพฤติประโยชน์ตน และ ผู้อื่นทั้ง ฝ่าย
ผู้ใดมีสติเฉพาะหน้า เจริญเมตตาไม่มีประมาณ, สังโยชน์ของผู้เห็นความสิ้นแห่งอุปธินั้นย่อมเบาบาง
ความปรารถนาลามก ไม่ละอาย ไม่เอื้อเฟื้อ เพราะเหตุใด, เขาย่อมสร้างบาป เพราะเหตุนั้น เขาไปสู่อบายเพราะเหตุนั้น
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไปสู่แว้นแคว้น ตำบล หรือ เมืองหลวงใด ๆ ก็ตาม ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง
ผู้มีปัญญาเหล่าใด ประกอบด้วยศึล ยินดีในความสงบด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาเหล่านั้น เว้นไกลจากความชั่วแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม เป็นบูรพาจารย์ เป็นที่นับถือของบุตร และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร
ผู้ใดมีความสัตย์ มีธรรม มีความไม่เบียดเบียน มีความสำรวม และมีความข่มใจ ผู้นั้นแลชื่อว่าผู้มีปัญญา หมดมลทิน เขาเรียกท่านว่า เถระ
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว ไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์
ผู้ไม่ระเริงในอารมณ์ที่ชอบใจ ไม่ประกอบในความดูหมิ่น เป็นผู้ละเอียดเฉียบแหลม ย่อมไม่เชื่อง่าย ไม่หน่ายแหนง
สมณะภายนอกไม่มี, สังขารเที่ยงไม่มี, ความหวั่นไหวของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี, เหมือนรอยเท้าในอากาศ
ผู้มีสติย่อมหลีกออก ท่านไม่ยินดีในที่อยู่ ท่านย่อมละที่อยู่ได้ ดุจหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น
พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด คือบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์
คนทรามปัญญาได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติแต่การอันไม่เกิดคุณค่าแก่ตน ปฏิบัติแต่ในทางที่เบียดเบียน ทั้งตน และ คนอื่น
เหตุอย่างหนึ่ง ทำให้คนหนึ่งได้รับการสรรเสริญ เหตุอย่างเดียวกันนั้น ทำให้อีกคนหนึ่งได้รับการนินทา
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมด ได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายจะทำให้เหมือนกันหมดทุกคนก็ไม่ได้ฉันนั้น
ผู้ใด วิญญูชนพิจารณาดูอยู่ทุกวัน ๆ แล้วกล่าวสรรเสริญ ผู้นั้น ใครเล่าจะควรติเตียนเขาได้
คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือ ได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว ไม่เคยมีมา แล้วจักไม่มีต่อไป ถึงในขณะนี้ก็ไม่มี
คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพียงเพราะมีผมหงอกก็หาไม่ ถึงวัยของเขาจะหง่อม ก็เรียกว่าแก่เปล่า
สิ่งเดียวกันนั่นแหละดีสำหรับคนหนึ่ง แต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นสิ่งใด ๆ มิใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด และ ก็มิใช่จะเสียไปทั้งหมด
บุคคล รู้แจ้งธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น
ผู้มีปัญญาเหล่าใด ขวนขวายในฌาน ยินดีในความสงบ อันเกิดจากเนกขัมมะ เทวดาทั้งหลายก็พอใจ ต่อผู้มีปัญญา ผู้รู้ดีแล้ว และ ผู้มีสติเหล่านั้น
ผู้ประกอบตนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ และ ไม่ประกอบตนในสิ่งที่ควรประกอบ ละประโยชน์เสียถือตามชอบใจ ย่อมเป็นที่กระหยิ่มต่อผู้ประกอบตนเนือง ๆ
ผู้ใดทำ ราคะ โทสะ มานะ และ มักขะ ให้ตกไป เหมือนทำให้เมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม, เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์
การบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ฉลาดในประโยชน์ จะนำความสุขมาให้ไม่ได้เลย ผู้มีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์ ดุจลิงเฝ้าสวนฉะนั้น
บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว (พระอรหันตผล) ไม่สะดุ้ง ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลศเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว ร่างกายนี้จึงชื่อว่ามีในที่สุด
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณจาล และ คนงานชั้นต่ำทั้งปวง สงบเสงี่ยมแล้ว ฝึกตนแล้ว ก็ปรินิพพานเหมือนกันหมด
ผู้ดับกิเลสได้แล้วหมดความหวั่นไหวนั้นรู้ที่สุด ทั้ง แล้ว ย่อมไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา, เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นละตัณหา เครื่องเย็บร้อยใจในโลกนี้ได้แล้ว
ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่าของเรา ในนามรูปโดยประการทั้งปวง และ ผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปที่ไม่มีอยู่, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าภิกษุ
นรชนใดไม่เชื่อ (ตามเขาว่า) รู้จักพระนิพพาน อันอะไร ๆ ทำไม่ได้ ตัดเงื่อนต่อได้ มีโอกาสอันขจัดแล้ว และ คายความหวังแล้ว, ผู้นั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด
ผู้ติดใจในการบริโภคกาม ยินดีหมกมุ่นในกามทั้งหลาย ย่อมไม่รู้สึกซึ่งความถลำตัว เหมือนปลาถลันเข้าลอบที่เขาดักไว้ไม่รู้สึกตัว ฉะนั้น
ผู้ฉลาดหลักแหลม แสดงเหตุและไม่ใช้เหตุได้แจ่มแจ้ง และ คาดเห็นผลประจักษ์ ย่อมเปลี้องตน (จากทุกข์) ได้ฉับพลัน อย่ากลัวเลย เขาจักกลับมาได้
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อยู่อย่างนี้ ความกลัว ความครั้นคร้าม ขนพองสยองเกล้าจักไม่มี
ผู้ใดละมานะ มีตนตั้งมั่นดีแล้ว มีใจดี หลุดพ้นในที่ทั้งปวง อยู่ในป่าคนเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท, ผู้นั้นพึงข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยู
ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษ และ ของสัตบุรุษ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีเทวดา และ มนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง ผู้นั้นจึงล่วงข่ายคือเครื่องข้องได้ และ เป็นมุนี
ภิกษุไม่ควรหวั่นไหวเพราะนินทา ได้รับสรรเสริญ ก็ไม่ควรเหิมใจ พึงบรรเทาความโลภกับความตระหนี่ ความโกรธ และ ความส่อเสียดเสีย
คนบางจำพวกเหล่าใดไม่สำรวมในกาม ยังไม่ปราศจากราคะ เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้, คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ ลอยไปตามกระแส (ตัณหา) ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป
โจรผู้มีความชั่ว ถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า ย่อมเดือนร้อนเพราะกรรมของตนฉันใด ประชาชนผู้มีความชั่ว ละไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนในโลกหน้าฉันนั้น
บัณฑิตละราคะ โทสะ และ โมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ย่อมไม่หวาดเสียวในการสิ้นชีวิต, พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้ ไม่เสพกามและบาป พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้ ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส
บัณฑิต ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน, สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้องแม้พลาดพลั้งไป ก็ไม่ยอมละธรรม เพราะฉันทาคติ และ โทสาคติ
ผู้ฉลาดละเครื่องกั้นจิต ประการ กำจัดอุปกิเลสทั้งหมด ตัดรักและชังแล้ว อันตัณหา และทิฏฐิอาศัยไม่ได้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น
เราคิดค้นหาทุกทิศแล้ว ก็ไม่พบผู้อื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหน ๆ , ถึงผู้อื่นก็มีตนเป็นที่รักมากอย่างนี้ เพราะฉะนั้นผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น
ผู้ไม่ละโมภ ไม่อำพราง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่ ขจัดโมหะ ดุจน้ำฝาดแล้ว ไม่มีความมุ่งหวัง ครอบงำโลกทั้งหมด ควรเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
ผู้ใดปราศจากการติดในกามทั้งปวง ล่วงฌานอื่นได้แล้ว อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อันประเสริฐ ผู้นั้นจะพึงอยู่ในอากิญจัญญานตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อม
เมื่อใดบัณฑิตรู้ว่าชรา และ มรณะเป็นทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งปุถุขน มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น
คนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้ ผู้ฝึกตน มีความเพียร กินดื่มพอประมาณ ไม่ทำบาป เพราะอาหาร ท่านเรียกคนนั้นแล ว่าสมณะในโลก
ผู้มีปัญญานั้น ย่อมเล็งเห็นกามคุณ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นโรค, ผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกาม อันเป็นทุกข์ เป็นภัยใหญ่ได้
บุคคลไม่ควรทำบาปซึ่งเป็นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง ด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ มีสติสัมปชัญญะ ละกามทั้งหลายได้แล้ว ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์
ผู้ใดพิจารณาเห็นความยิ่งและหย่อนในโลกแล้ว ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ไหน ๆ ในโลก, เรากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้สงบ ไม่มีกิเลสดุจควันไฟ ไม่มีทุกข์ ปราศจากตัณหา ข้ามชาติชราได้
ผู้ติดในส่งที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมละความโศกเศร้า ความรำพัน และ ความตระหนี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดภัย จึงละความยึดถือไปได้
ผู้ใด ระมัดระวังอินทรีย์เหล่านั้น รู้จักอินทรีย์ ตั้งอยู่ในธรรม ยินดีในความซื่อตรง และ ความอ่อนโยน ล่วงกิเลสเครื่องข้องเสียได้ ละทุกข์ได้ทั้งหมด เที่ยวไป, ผู้นั้น เป็นธีรชน ย่อมไม่ติดในสิ่งที่เห็นแล้ว และ ได้ฟังแล้ว
ผู้ปราศจากราคะ และกำจัดโทสะได้แล้วนั้น พึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณ ผู้นั้น งดอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสถานอันประเสริฐ
คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นอารมณ์ อันประจวบด้วยความฝันฉันใด คนผู้อยู่ ย่อมไม่เห็นชน อันตนรักทำกาละล่วงไปแล้วฉันนั้น
ผู้ใดมีจิตคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของพระชินเจ้า ผู้นั้นชื่อว่าให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งอกุปปธรรม, บรรลุความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีอาสวะ ย่อมดับสนิท
เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต
ขุมกำลังของคนพาล คือการจ้องหาโทษของคนอื่น ขุมกำลังของบัณฑิต คือการไตร่ตรองโดยพินิจ
ผู้ครองเรือนขยัน ดีข้อหนึ่ง มีโภคทรัพย์แล้วแบ่งปัน ดีข้อสอง ถึงทีได้ผลสมหมาย ไม่มัวเมา ดีข้อสาม ถึงคราวสูญเสียประโยชน์ ไม่หมดกำลังใจ ดีครบสี่
คฤหัสถ์ชาวบ้าน เกียจคร้าน ไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวม ไม่ดี ผู้ครองแผ่นดินไม่ใคร่ครวญก่อนทำ ไม่ดี บัณฑิตมักโกรธ ไม่ดี
คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา คนพูดมาก เขาก็นินทา แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
ผู้ใดใช้ทรัพย์จำนวนพันประกอบพิธีบูชาทุกเดือน สม่ำเสมอ ตลอดเวลาร้อยปี การบูชานั้นจะมีค่ามากมายอะไร การยกบูชาบุคคลที่อบรมตนแล้ว คนหนึ่งแม้เพียงครู่เดียวประเสริฐกว่า
มิใช่การประพฤติตนเป็นชีเปลือย มิใช่การเกล้าผมทรงชฎา มิใช่การบำเพ็ญตบะ นอนในโคลนตม มิใช้การอดอาหาร มิใช่การนอนกับดิน มิใช่การเอาฝุ่นทาตัว มิใช่การตั้งท่านั่งดอก ที่จะทำคนให้บริสุทธิ์ได้ ในเมื่อความสงสัยยังไม่สิ้น
ส่วนผู้ใด ถึงจะตกแต่งกาย สวมใส่อาภรณ์ แต่หากประพฤติชอบ เป็นผู้สงบ ฝึกอบรมตนแน่วแน่ เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ เลิกละการเบียดเบียนปวงสัตว์ทั้งหมดแล้ว ผู้นั้นแล จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ หรือ เป็นภิกษุ ก็ได้ทั้งสิ้น