พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดธรรม

  • ธรรม เหมือนห้วงน้ำไม่มีตม

  • สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

  • ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า

  • ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ

  • ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี

  • ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก

  • พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต

  • สัจจะ เป็นรสดียิ่งกว่าประดารสทั้งหลาย

  • บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว

  • ศีล เป็นเกราะอย่างอัศจรรย์

  • บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย

  • เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง มีหวังไปสุคติ

  • ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต

  • การระมัดระวังกาย เป็นความดี

  • การระมัดระวังใจ เป็นความดี

  • ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์

  • ปราชญ์ พึงรักษาศีล

  • คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์

  • ทำได้แล้วค่อยพูด

  • ถึงพูดดี ก็ไม่ควรพูดเกินเวลา

  • โลก ถูกจิตนำไป

  • การฝึกจิต เป็นการดี

  • เมื่อจิตเศร้าหมอง มีหวังไปทุคติ

  • ศีล ยอดเยี่ยมในโลก

  • พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น

  • ความกตัญญูกตเวที เป็นพื้นฐานของคนดี

  • ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน

  • ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิต ย่อมเดือดร้อน

  • ธรรมะ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

  • ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษควรรักษา

  • ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้

  • ควรเคารพสัทธรรม

  • ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล

  • ทำไม่ได้ อย่าพูด

  • ศรัทธา เป็นเพื่อนแท้ของคน

  • ความสะอาด รู้ได้ด้วยคำพูด

  • คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำโชคอยู่ตลอดเวลา

  • ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี

  • พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย

  • ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป

  • ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ

  • ผู้มีปิติในธรรม อยู่เป็นสุข

  • ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข

  • ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า

  • ผู้ตั้งมั่นอยู่ในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง

  • เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม

  • คนมีสติ ย่อมดีขึ้นทุกวัน

  • สติ คือความตื่นในโลก

  • ผู้มีจิตใจตั้งมั่น ย่อมไม่เบียดเบียนคนอื่น และ แม้ตนเอง

  • ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้งอาศัย เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั่วไป ฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์

  • ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดเพ้อ มีปรีชา ไม่หยิ่ง มีใจมั่นคงนั้นแล ย่อมงดงามในธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว

  • สัจจะ ธรรมะ อหิงสะ สัญญมะ และ ทมะ มีอยู่ในผู้ใด อารยชนย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก

  • ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

  • ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง

  • ชนเหล่าใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้น จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก

  • ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี, ผู้นั้นย่อมห่างจากประสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น

  • ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ

  • โสรัจจะ และ อวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง สติ และ สัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า

  • ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ดารดาษด้วยดอกไม้คือวิมุติติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน

  • ผู้มีปัญญาทราม มีจิตใจกระด้าง ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนดินกับฟ้า

  • ผู้ใดสอนธรรมแก่คนที่ปฏิบัติไม่ถูก ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น จะไม่ไปสู่ทุคติ

  • เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก, พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้

  • นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด ปัญญา สติ และนามรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น เพราะวิญญาณดับ

  • กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม คนสามัญไม่อาศัยธรรม ชนทั้ง นั้นละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ

  • ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียรละ ความเกิดความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน

  • กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร จัณฑาล และ คนงานชั้นต่ำ ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์

  • พึงเป็นผู้พอใจ และ ประทับใจ ในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน

  • คนมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวอยู่ช้านาน ไม่ล่วงพ้นสงสารที่กลับกลอกไปได้

  • ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ละกิเลศเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน

  • ผู้ถูกราคะย้อม ถูกกองมืด (อวิชชา) ห่อหุ้มแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม สำหรับฝืนใจอันละเอียดลออ ลึกซึ้ง ซึ่งเห็นได้ยาก

  • บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และ ป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี

  • ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก

  • พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และ ไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้นควรเป็นผู้ทรงธรรม

  • ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

  • เราตถาคต ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และ การสละสิ่งทั้งปวง

  • พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ

  • มหาราช ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรม นอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสุคติ

  • เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ก็ไม่มีภพต่อไปอีก

  • ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว

  • กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกันกระแสเหล่านั้น เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา

  • ผู้ละปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรม ที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

  • ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าผู้ทรงธรรม

  • ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์, ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม อย่าง

  • บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว, ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง, ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง

  • บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ประเสริฐสุด, บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม ประเสริฐสุด, และ บรรดาสัตว์ เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ประเสริฐสุด

  • ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษ กับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้

  • จงเด็ดเยื่อใยของตนเองเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว

  • พึงขจัดปัญหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้น ๆ

  • สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์, แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว (บกพร่อง), เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน แม้ด้วยเหตุนี้ เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมุติของตน ๆ ว่าเป็นจริง

  • เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และ ฝั่งทะเลก็ไกลกัน แต่ธรรมของสัตบุรุษ กับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น

  • ท่านผู้ดับไป (คือปรินิพพาน) แล้ว ไม่มีประมาณ, จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี, เมื่อธรรมทั้งปวง (มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด