วรภัทร โตธนะเกษม : นักกฏหมาย Vs นักเศรษฐศาสตร์
ข้อมูลบุคคล
ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่น จำกัด (ทริส)
เกิด วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
สถานภาพ สมรสกับ นางกิตติยา โตธนะเกษม มีธิดา 1 คน
ประวัติการศึกษา :
- ปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ University of Illinois Urbana- Champaign สหรัฐอเมริกา
- ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ University of Illinois Urbana – Champaign สหรัฐอเมริกา
- ปริญญาโทบริหารธุรกิจ Kellogg School of Management Northwestern University Evanston Illinois สหรัฐอเมริกา
- ปริญญาตรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมดีมาก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปูมหลัง ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม
เด็ก หนุ่มที่เติบโตจากต่างจังหวัด บุคลิกไม่เปลี่ยนแปลง เป็นนักวิชาการใจดี ใส่แว่นตาหนาเตอะ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารองค์กรที่มีความสำคัญต่อตลาดทุน นอกจากฝีมือล้วนๆ โชคต้องเข้าข้างด้วย ดร.วรภัทร โตธนะเกษม กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยเรตติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส หรือทริส
ดร.วรภัทร เกิดเมื่อ 30 พฤษภาคม 2492 ที่ตำบล บ้านบุ่ง จ.พิจิตร ที่ไม่มีน้ำประปา ไม่มีไฟฟ้า จึงต้องอาศัยน้ำจากแม่น้ำน่านเป็นทั้งน้ำดื่มและน้ำใช้ในเวลาเดียวกัน เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนสี่คนของเกียงู่-วิง แซ่โตว บิดาเป็นชาวไหหลำเดินทางมาตั้งรกรากที่เมือง ชาละวัน ส่วนมารดาเป็นชาวพิจิตร
ดร.วรภัทร เติบโตและเรียนระดับชั้นประถมที่โรงเรียนบ้านวังกลม จนถึงชั้นประถม 4 ต้องเดินทางไกลเป็นครั้งแรกในชีวิต เมื่อพี่สาวแต่งงานกับคนอยุธยาจึงย้ายตามมาด้วย และเข้าเรียนต่อชั้นประถม 5 ที่โรงเรียนสุนทรวิทยา
เรียนต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนอยุธยา วิทยาลัย ด้วยนิสัยที่เคร่งขรึม ไม่พูดไม่จาส่งผลให้การเรียนอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่ไม่เก่งเลย และชีวิตของเขาจุดประกายเมื่อเรียนอยู่มัธยม 5 บังเอิญ ครูไพรัช คล้ายมุข ที่จบจากอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มาสอนที่นี่ ชีวิตของดร.วรภัทรจึงเริ่มสดใส เมื่อชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษ ครูคนนี้ได้ตั้งคำถาม และชี้ไปที่เด็กชายวรภัทรให้ลุกขึ้นตอบ บังเอิญ เขาตอบคำถามถูกจึงได้รับคำชมจากครู ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่านั่นคือ การเดา จากคำชมวันนั้นเป็นต้นมา ดร.วรภัทรมีกำลังใจและมุ่งมั่นอ่านภาษาอังกฤษ เปิดดิกชันนารี เขียนไดอารี่เป็นภาษาอังกฤษ
บังเอิญ ในปีเดียวกัน ซีดริค แซมป์สัน อาสาสมัครชาวอเมริกันมาสอนที่โรงเรียน เขาจึงมีโอกาสฝึกฝนภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา จนกระทั่งสามารถสอบได้ที่ 1 ในโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน AFS ระหว่างเรียนอยู่มัธยม 6 เมื่อสอบติดต้องมาสอบสัมภาษณ์ที่สถาบันเอยูเอ เป็นการเข้าเมืองกรุงครั้งแรกและเขาสอบสัมภาษณ์ผ่าน
ถึงแม้ว่าจะ เรียนไม่เก่ง แต่ ดร.วรภัทร สามารถสอบเอ็นทรานซ์เข้าคณะบัญชี ธรรมศาสตร์ได้ นับเป็นการใช้ชีวิตในเมืองกรุงอย่างเป็นกิจจะลักษณะครั้งแรกด้วย นั่งเรียนได้ 2 เดือน ก็เดินทางไปอเมริกา 2 เดือน ตามโครงการ AFS ใน ปี 2509
หลังกลับจากอเมริกาก็กลับเข้าเรียนต่อในคณะบัญชี แต่ครั้งนี้เริ่มเบื่อการเรียนและรู้สึกว้าเหว่ จึงตัดสินใจวางแผนชีวิตตัวเองใหม่ เขาคิดและถามตัวเองว่าอนาคตอยากเป็นอะไร และจากการเป็นคนที่มีมุมมองกว้างและยาวไกล มีปรัชญาในชีวิต จึงมี 2 ทางเลือก คือ นักกฎหมายและ นักเศรษฐศาสตร์
ดร.วรภัทรตัดสินใจเดินไป คณะนิติศาสตร์ บังเอิญ ที่นั่งเรียนเต็ม จึงต้องเข้าเรียนเศรษฐศาสตร์ สมัยนั้น ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์เป็นคณบดี และเขาก็เรียนจบที่นี่
ช่วงที่ เรียนอยู่ปีสุดท้าย ธนาคารกสิกรไทยประกาศสอบชิงทุน แต่เขาไม่คิดจะสอบเพราะรู้สึกว่าค่าสมัครสอบแพงมาก (100 บาท) จึงเดินทางกลับไปเยี่ยมพี่สาวที่อยุธยา
เขาเล่าให้พี่สาวฟัง พี่สาวจึงให้เงิน 100 บาทแล้วบังคับให้มาสอบ และเขาก็สอบได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้อ่านหนังสือแม้แต่หน้าเดียวเพราะช่วงนั้นหัวคิดของ ดร.วรภัทรมีแต่การเมืองและประชาธิปไตย
หลังจากสอบข้อเขียนผ่าน ด่านต่อไป คือ สอบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ โดยมีคุณหญิงสุภาพ วิเศษสุรการ, ศ.ดร.ประชุม โฉมฉาย, บัญชา ล่ำซำ และผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศอีก 3 คนเป็นคณะกรรมการสอบ
"ในอนาคตอยากเป็นอะไร" คุณหญิงสุภาพถาม
"ผมอยากเป็นนักการเมืองที่ดี"
"อยากเป็นนักการเมืองแล้วมาขอทุนแบงก์ทำไม" คุณหญิงสุภาพสงสัย
"ผม อยากทำงานเพื่อสังคม อยากให้คนไทยมีชีวิต ที่ดีขึ้น หากปล่อยไว้เช่นนี้แล้วใครจะลงไปช่วย และการสัมภาษณ์วันนี้คิดว่าผมไม่ได้ทุนหรอก" ดร.วรภัทรตอบ จากปรัชญาแนวคิดของตน
ครึ่งชั่วโมงผ่านไป บัญชา ล่ำซำไม่ถามสักคำถาม ปล่อยให้คุณหญิงสุภาพถามคนเดียว แต่ก่อนที่จะลุกจากเก้าอี้บัญชาเอ่ยปากถามว่า "แล้วคิดหรือไม่ว่าเป็นนายแบงก์นี่ก็ช่วยเหลือสังคมได้"
"ได้แน่นอนครับ แต่ไม่มากนัก" ดร.วรภัทรตอบคำถาม
หลังจากสอบสัมภาษณ์เสร็จสิ้น เขามั่นใจว่าไม่ได้แน่นอน แต่แล้วบ่ายวันนั้นผลประกาศออกมาเขาสอบได้ ซึ่งตนเองก็ยังงงๆ กับผลการสอบ
เมื่อ จบปริญญาตรีที่ธรรมศาสตร์ ปี 2514 เขากลับไปอเมริกาอีกครั้งเพื่อศึกษาต่อด้วยทุนกสิกรไทย โดยเลือกศึกษาที่มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น
เอ็มบีเอ (การเงินและการบริหารอุตสาหกรรม) เป็นหลักสูตรที่เลือกเรียน แต่ไม่รู้ว่าเอ็มบีเอคืออะไร และไม่รู้จะลงเรียนวิชาอะไร พูดง่ายๆ เขาให้ทุนไปก็ไป ความรู้สึกผิดหวังในตัวเองจึงเกิดขึ้นถึงขนาดจะกลับบ้าน แต่ก็เกิดขึ้น ชั่วครู่เท่านั้น จึงทนเรียนจนจบปริญญาโทในปี 2516
ดร.วรภัทร เข้าฝึกงานที่ธนาคารคอนติเนนทัลเป็นเวลา 1 ปี และปี 2517 กลับเมืองไทยก็ทำงานใช้ทุนที่ธนาคารกสิกรไทยในตำแหน่งพนักงานชั้นกลางฝ่าย ต่างประเทศ โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และณรงค์ ศรีสอ้าน เป็นผู้บังคับบัญชา เพียงแค่หนึ่งปีก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าส่วนประจำสำนักบริหาร
นอก จากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษ ที่คณะพาณิชย-ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามคำเชิญของอาจารย์สังเวียน อินทรวิชัย นอกจากจะเป็นแบงเกอร์และอาจารย์แล้วยังได้เป็นลูกศิษย์ในคณะนิติศาสตร์ ภาคค่ำที่ธรรมศาสตร์ด้วย
ทำงานที่ธนาคารกสิกรไทยได้ 6 ปีก็ได้รับโปรโมตให้เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย ถึงตรงนี้ ดร.วรภัทรไม่ต้องการอะไรในชีวิตอีกแล้ว จึงตัดสินใจบินกลับไปอเมริกาเพื่อศึกษาระดับปริญญาเอกในปี 2523
เขา ใช้เวลาเพียง 2 ปี 8 เดือนก็จบระดับปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ พร้อมกับปริญญาโทด้านอุตสาหกรรมองค์กรอีกด้วย เดินทางกลับเมืองไทยอีกครั้ง ดำเนินชีวิตเหมือนเดิมทั้งเป็นแบงเกอร์ และอาจารย์ และในปี 2535 ก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ดูแลสายงานสินเชื่อบุคคล
ด้วยบุคลิกที่เป็นนักวิชาการที่มีความเชื่อ มั่นตลอดเวลา จึงเกิดความรู้สึกว่างานที่ธนาคารกสิกรไทยเริ่มย่ำอยู่กับที่ จึงตัดสินใจลาออกในปี 2539 ไปเป็นนักวิชาการเต็มตัว พร้อมกับรับเป็นประธานให้กับองค์กรต่างๆ อาทิ ประธานกรรมการบริหารโครงการปริญญาโทบริหารธุรกิจ ธรรมศาสตร์, ที่ปรึกษาบริษัทในกลุ่มบางปะกงอินดัสเตรียล พาร์ค หรือประธานกรรมการบริหารด้านหลักทรัพย์ บงล. ซิทก้า
ทำงานเป็น วิชาการอิสระไม่ทันไรก็เกิดวิกฤติเศรษฐกิจพร้อมกับความรู้สึกเดิมๆ กลับมาอีกครั้ง จนกระทั่งได้พบกับ ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ ทริส ซึ่งกำลังจะรีไทร์ตนเองจึงขอให้ ดร.วรภัทรมาช่วย งานแทน กุมภาพันธ์ 2541 เข้ารับช่วงแทน ดร.วุฒิพงษ์ และเป็นช่วงที่ทริสกำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติ แต่เขาก็ ประคับประคององค์กรให้อยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้
ในความรู้สึกของ ดร.วรภัทร บรรยากาศ และรูปแบบการทำงานของทริสมีความลงตัวที่สุด เพราะอยู่ตรงกลางระหว่างปรัชญา วิชาการ และโลกธุรกิจ เขาพอใจและมีความสุข และจะมีมากขึ้นหากทริสก้าวไปด้วยความมั่นคงมากกว่าทุกวันนี้
Career Hightlight
ตำแหน่งงานในอดีต:
-อนุกรรมการ ปรับปรุงบทบาทภารกิจ และวิธีการบริหารงานภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.
-กรรมการ ร่างพระราชบัญญัติแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ กระทรวงการคลัง
-กรรมการ การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กระทรวงการคลัง
-กรรมการ คณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างระบบแรงจูงใจพนักงานรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง
-กรรมการ คณะกรรมการพัฒนาระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-กรรมการ การจัดทำและเผยแพร่ดัชนีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
-คณะทำงานยกร่างกฎหมายจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
-อนุกรรมการ รับหลักทรัพย์จดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-หัวหน้าคณะทำงานร่าง “จรรยาบรรณธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทย” สมาคมธนาคารไทย
-รองประธานกรรมการ สมาคมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
-เลขาธิการ สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย
-ประธาน ชมรมธุรกิจบัตรเครดิต สังกัดสมาคมธนาคารไทย
-บรรณาธิการวารสาร “ธนาคาร” ของสมาคมธนาคารไทย
-กรรมการสภา มหาวิทยาลัยทักษิณ
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทางด้านวิชาการประจำภาค/สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-ที่ปรึกษา ฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-ประธานกรรมการบริหาร โครงการปริญญาโทบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-กรรมการที่ปรึกษา โครงการการตลาดภาคภาษาอังกฤษ (MIM) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-กรรมการ โครงการปริญญาโทสำหรับนักบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-กรรมการ โครงการปริญญาโททางบริหารธุรกิจ (Yonok MBA) วิทยาลัยโนก
-ที่ปรึกษา โครงการปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
-กรรมการบริหาร โครงการบัณฑิตศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-กรรมการ โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา
-กรรมการมูลนิธิบูรณะพัฒนาชนบท
-ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (2538)
(source: SEC,MGR)