ทำไมเราถึงเฉลิมฉลองการฆ่า(บิน ลาดิน)?

เมื่อเร็ว ๆ นี้ โจนาธาน ไฮดท์ แห่ง "นิวยอร์ค ไทมส์" ได้เขียนบทความชื่อว่า “Why We Celebrate a Killing” ซึ่งมีเนื้่อหาเกี่ยวกับการปลิดชีพ นายโอซามา บิน ลาดิน หัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายอัล เคด้า "มติชน ออนไลน์" ได้แปลบทความดังกล่าวมาเผยแพร่ต่อ ดังนี้

......................................................................................................................................

ชายคนหนึ่งถูกยิงตาย และ 7,000ไมล์ห่างจากนั้นก็ได้มีการเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริก

แม้ว่าชาวอเมริกันจะเห็นว่าการตายของโอซามา บิน ลาดิน เป็นเรื่องดี แต่ก็มีชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกไม่สบายใจกับความครึกครื้นดังกล่าว เราควรจะถามหาความยุติธรรมมิใช่หรือ ไม่ใช่การล้างแค้น … ไม่ใช่ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง หรอกหรือ ที่กล่าวว่า "ข้าพเจ้าจะไว้อาลัยให้กับการสูญเสียชีวิตอันมีค่านับพันชีวิต แต่ข้าพเจ้าจะไม่ร่าเริงยินดีกับความตายของชีวิตสักชีวิตหนึ่ง แม้ว่าชีวิตนั้นจะเป็นของศัตรูก็ตาม"

ทำไมชาวอเมริกันจำนวนมากถึงไม่ค่อยเต็มใจจะเข้าร่วม“งานปาร์ตี้”ครั้งนี้ นัก ในฐานะจิตแพทย์ ผมเชื่อว่าหนึ่งในสาเหตุสำคัญก็คือ พวกเราบางคนมีความเห็นต่อเหตุการณ์ระดับชาติครั้งนี้โดยใช้สัญชาตญาณทาง ศีลธรรมแบบเดียวกับที่เราใช้ในกรณีของอาชญากรทั่วๆไป ตัวอย่างเช่น คุณลองจินตนาการดูสิ ว่ามันเหมาะสมหรือไม่ ที่พ่อแม่จะเฉลิมฉลองการประหารชีวิตชายผู้ฆ่าลูกสาวของตน ด้วยการฉีดยาพิษ

แน่นอน คนที่เป็นพ่อแม่คงจะรู้สึกโล่งใจและ บางที อาจจะแอบดีอกดีใจเป็นการส่วนตัวด้วยซ้ำ แต่ทว่า พวกเขาจะจัดงานปาร์ตี้ที่หน้าประตูคุกละหรือ พวกเขาจะเปิดขวดแชมเปญขณะที่ยาพิษกำลังจะถูกฉีดเข้าไปในเส้นเลือดอาชญากรน่ะ หรือ ถ้าพวกเขาทำเช่นนั้น นี่ก็จะเป็นการเฉลิมฉลองให้กับความตายและการแก้แค้น มิใช่ให้กับความยุติธรรม แต่นี่คือสิ่งที่เราได้เห็นในคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ท่ามกลางผู้คนที่ดีอกดีใจทั้งหลาย ท่ามกลางขวดเบียร์ คนเหล่านี้ต่างมารวมตัวกันอยู่ที่ไทมส์สแควร์ และหน้าทำเนียบขาว

แต่คุณไม่สามารถเอากรอบคิดในเชิงศีลธรรมในระดับปัจเจกมาใช้ในระดับกลุ่ม คนหรือประเทศชาติได้ เพราะหากคุณทำเช่นนั้น คุณก็จะบางสิ่งบางอย่างที่ดีๆที่เกิดขึ้นในงานฉลองเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไป

การที่มีผู้คนที่ไม่สบายใจกับการเฉลิมฉลองดัง กล่าว นั่นเป็นเพราะว่า คนเหล่านี้กลัวว่าความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นอันตราย เพราะว่ามันจะทำให้ชาวอเมริกาชื่นชอบสงครามมากขึ้น และมีอคติต่อคนในประเทศอื่นมากขึ้น ขณะที่กลุ่มผู้เข้าร่วมการเฉลิมฉลองต่างกู่ร้องตะโกนพร้อมกันว่า "U.S.A! U.S.A!"หรือว่าร่วมกันร้องเพลง “God Bless America พวกเราไม่ได้กำลังแสดงกรอบคิดแบ่งเขาแบ่งเราที่น่ารังเกียจหรอกหรือ

อีกครั้งหนึ่งที่ผมขอตอบว่าไม่ ไม่เลย นักจิตวิทยาสังคมหลายต่อหลายคนแยกความแตกต่างระหว่าง"ความรักชาติ" อันเป็นความรักที่ประชาชนมีต่อประเทศของตน ออกจาก แนวคิดชาตินิยม ซึ่งเป็นแนวคิดที่มองว่าประเทศของตนนั้นเหนือกว่า และควรจะมีอำนาจเหนือประเทศอื่นๆ ชาตินิยมมักเกี่ยวข้องกับลัทธิเหยียดผิวและการมุ่งร้ายต่อผู้อื่น แต่ความรักชาติ โดยตัวมันเองไม่ได้เป็นเช่นนั้น

จากการศึกษาของนักจิตวิทยา"ลินดา สคิตกา"พบว่า พฤติกรรม ของผู้คนที่ออกมาโบกธงชาติในเหตุการณ์9/11นั้น "แสดงให้เห็นถึงความรักชาติและความปรารถนาที่จะแสดงออกซึ่งความสามัคคีกับ เพื่อนร่วมชาติ มากกว่าที่จะเป็นความปรารถนาที่จะแสดงออกซึ่งการมุ่งร้ายต่อผู้ที่ไม่ใช่พวก เดียวกับตน"

นี่คือเหตุผลที่ผมเชื่อว่า การเฉลิมฉลองเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่ดีต่อจิตใจของชาวอเมริกัน อเมริกาได้บรรลุบททดสอบแล้ว... อย่างกล้าหาญและแน่วแน่ หลังจากช่วงเวลา10ปีอันเจ็บปวด ประชาชนที่รักในประเทศของพวกเขาได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อแบ่งปันความมี ชีวิตชีวา ในที่สุดพวกเขาก็ได้ก้าวออกมาจากความหมกมุ่นในตัวเอง

ช่วงเวลาของความสามัคคีเช่นนี้จะไม่ดำรงอยู่นานนัก แต่อย่างน้อย นี่ก็ทำให้พวกเราหลายคนรู้สึกได้ว่า อเมริกาก็ยังมีศักยภาพในการรับมือกับการข่มขู่คุกคามและบททดสอบที่ยิ่งใหญ่ กว่าโอซามา บิน ลาดิน

มติชนออนไลน์