สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์
ขออนุญาตอัญเชิญพระราชประวัติ
ในราชกุลแห่งพระบรมจักรีวงศ์ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ นับแต่กรุงเทพพระมหานครได้สร้างมาบรรจบครบ ๗๘ ปี ราชกุมารีพระองค์หนึ่งได้ทรงกำเนิดขึ้นภายใต้พระมหาเศวตฉัตรในปราสาทราชมณเฑียรแห่งพระบรมมหาราชวัง
ราชกุมารีพระองค์นี้เป็นพระบรมราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระปิยมาวดีพัชรินทรมาตา ( เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ) แม้ว่าในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงมีเจ้าจอมอยู่หลายพระอ งค์ก็จริง แต่ก็ปรากฏความจริงด้วยการยืนยันของขุนนางข้าราชสำนักในสมัยนั้ นว่าเจ้าจอมมารดาเปี่ยม เป็นเจ้าจอมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนิทเสน่ห ายิ่งกว่าเจ้าจอมพระองค์อื่นๆ พระราชกุมารและพระราชกุมารีที่ประสูติจากเจาจอมมารดาเปี่ยมจึงเ ป็นที่รักใคร่อย่างที่สุดในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชกุมารีพระองค์ใหญ่ของพระองค์ คือสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เสด็จพระราชสมภพ ณ วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๐๓
ตรงกับวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก ณ พระบรมมหาราชวัง พระองค์ท่านเป็นธิดาลำดับที่ ๕๐ ( พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา , พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ , พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงษ์ , พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย )
ในพระราชหัตถเลขา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีไปถึงพระองค์เจ้าปัทมาชนั้นมีตอนหนึ่งว่า
"ปีนี้กระหม่อมฉันมีบุตรชายอีก ๒ คน บุตรหญิง ๑ บุตรชาย ๒ คนนั้น คนหนึ่งชื่อเจริญรุ่งราษี เป็นน้องมารดาเดียวกับชายทองกองทองแถม ออกเมื่อเดือน ๔ อีกคนหนึ่งชื่อสวัสดิประวัติ ออกเมื่อเดือน ๑๐ มารดาชื่อหุ่น มิใช่เมขลา เสด็จไม่ทรงรู้จักดอก ด้วยเป็นคนใหม่ หญิงคนหนึ่งนั้นชื่อ สุนันทากุมารีรัตน์ เป็นน้องมารดาเดียวกับชายอุณากรรณ และชายเทวัญอุทัยวงศ์ ออกเมื่อเดือน ๑๒ "
พระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ : พระนามาภิไธยย่อ "ส" (สุนันทากุมารีรัตน์) ภายใต้มงกุฎขัตติยนารี ที่ด้านใต้ของพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระราชวังบางปะอิน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระราชทางทรัพย์สิน และพระบรมราโชวาทให้แก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ดังต่อไปนี้
"…ผู้พระบิดาของพระองค์ เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์บุตรี จะขอสั่งสอนผู้บุตรไว้ว่า พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์เอ๋ย พ่อขอสั่งแก่ตัวเจ้าไว้ ทรัพย์ที่มีหางว่าวผูกติดกับหนังสือนี้ "มีตราของพ่อผูกปิดไว้เป็นสำคัญเท่านี้ พ่อให้แก่เจ้าคนเดียว ตัวเจ้าเมื่อโตใหญ่ อายุได้ ๑๖ ปีแล้ว จงคิดอ่านเอาเป็นทุนทำมาหากินแลเลี้ยงตัวต่อไป แลใช้สอยตามสมควรเถิด แต่พ่อขอเสียเป็นอันขาดทีเดียว คิดถึงคำพ่อสั่งให้มากนักหนา
"อย่าเล่นเพื่อนกับใครเลย มีผัวมีเถิด แต่อย่าให้ปอกลอกเอาทรัพย์ของเจ้าไปได้นัก จงรักษาทุนของพ่อให้ไว้นี้ เป็นเกียรติยศชั่วลูกชั่วหลาน เอาแต่กำไรใช้สอย เจ้าจงอย่าเล่นเบี้ย เล่นโด เล่นหวยเลยเป็นอันขาด แลอย่าทำสุรุ่ยสุร่ายใช้เงินทองง่ายไม่คิดหน้าคิดหลัง จงคิดอ่านทำมาหากิน ตริตรองให้ดี อย่าให้นักเลงคนโกงมักหลอกลวงได้จะเสียทรัพย์ด้วย อายเขาด้วย "
เมื่อสืบไปภายหน้า นานกว่าจะสิ้นอายุตัวเจ้า ตัวเจ้าจะตกเป็นข้าแผ่นดินใดใดเท่าใด ก็จงอุตสาหตั้งใจทำราชการแผ่นดินให้ดี อย่ามีความเกียจคร้านแชเชือนแลเป็นอย่างอื่น ๆ บรรดาที่ไม่ควรเจ้าอย่าทำ อย่าประพฤติให้ต้องตำหนิติเตียนตลอดถึงพ่อด้วย ว่าสั่งสอนลูกไม่ดี จงเอาทรัพย์ที่พ่อให้ไว้นี้เป็นกำลังตั้งเป็นทุน เอากำไรใช้การบุญ แลอุดหนุนตัวทำราชการแผ่นดินเทอญ" ถ้าทรัพย์เท่านี้พ่อให้ไว้ ไปขัดขวางฤาร่อยหรอไปด้วยเหตุมีผู้ข่มเหงผิด ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เจ้าจงเอาหนังสือคำสั่งของพ่อนี้ กับคำประกาศที่ให้ไว้ด้วยนั้น ให้เจ้านายแลท่านผู้ใหญ่ข้างในข้างหน้าดูด้วยกันให้หลายแห่งปฤก ษาหารือ อ้อนวอนขอความกรุณาเมตตา แลสติปัญญาท่านทั้งปวงให้อนุเคราะห์โดยสมควรเถิด เล่าความเล่าเหตุที่เป็นอย่างไรนั้น ให้ท่านทั้งปวงฟังโดยจริง ๆ พูดจาให้เรียบร้อยเบา ๆ อย่าทำให้ท่านที่เป็นใหญ่ในแผ่นดินขัดเคืองกริ้วกราดชิงชังได้ จงระวังความผิดให้มาก
"อย่างตามใจมารดาแลคนรักมาก ทรัพย์นี้ของพ่อให้เจ้าดอก ไม่ใช่มารดาเจ้าแลคนอื่นเข้าทุนด้วย จงคิดถึงพ่อคนเดียวให้มาก เจ้าเกิดเมื่อพ่อสูงอายุแล้ว พ่อไม่ประมาทจึงจัดแจงให้ไว้แต่เดิม ถ้าพ่อยังมีชีวิตอยู่ อันตรายมีแก่เจ้าก่อน ถ้าอายุถึง ๑๖ ปีแล้วสั่งให้ใคร พ่อจะให้ผู้นั้นถ้ายังไม่ถึงกำหนดฤาไม่ได้สั่ง พ่อขอเอาคืน จะทำบุญให้ทาน ถ้าพ่อมีชีวิตและอำนาจไปนาน ทำมาหาได้ ก็จะเพิ่มเติมให้อีก แล้วจะแก้หางว่าง"
พระบรมราโชวาทนี้ พิมพ์ด้วยแผ่นดิน พระราชทางพร้อมกับเงิน ๑๐๐ ชั่ง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ สวรรคต สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ มีพระชนม์เพียง ๘ พรรษา และเมื่อพระชนมายุ ๑๕-๑๖ พรรษา ก็ได้เป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรก ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ และประสูติเจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๒๑ ในการประสูติพระราชธิดาครั้งนี้ ทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ดังต่อไปนี้
"…เวลา ๕ ทุ่ม ๑๑ นาที กับ ๒๕ วินาที พระองค์เจ้าสุนันทาประสูติพระราชบุตรี รกติดอยู่ประมาณ ๑๕ นาทีจึงออก เราอยู่ที่วังสมเด็จกรมพระ สมเด็จกรมพระกับเราเข้าไป รับสั่งให้เราแขวนกระโจมอย่างคราวก่อน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงนั้น มีติ่งที่ริมพระกรรณข้างขวาหน้าออกมาตรงพระปราง ติ่งนั้นยาวประมาณ ๓ กระเบียดน้อย เมื่อเรากลับออกมากับสมเด็จกระนั้น ฝนตกเวลา ๗ ทุ่ม ๔๕ มินิต ถึงบ้าน"
และเนื่องในการประสูติคราวนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันว่า
"เราถวายสายนาฬิกาเพชรทรงซื้อราคา ๑๕ ชั่ง พระราชทางพระองค์เจ้าสุนันทาประสูติ กับรับสั่งให้เติมแหวนที่ทรงซื้อเงินพระคลังข้างที่อีก ๒ วง ที่ราคาวงละ ๑๙ ชั่ง รวม ๓๘ ชั่ง ขายเงินงวดตามธรรมเนียม
ขอย้อนกลับถึงเหตุการณ์ และสถานที่อันเป็นรอยจารึกแห่งความเศร้าในประวัติศาสตร์ สถานที่สำคัญคือ " พระราชวังบางปะอิน " พระราชวังบางปะอินนั้น จัดเป็นที่ประพาสต้นของพระมหากษัตริย์ครั้นสมัยกรุงศรีอยุธยามา ก่อน พระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ได้เสด็จประพาส และพอพระราชหฤทัยถึงกับทรงสร้างพระราชวังขึ้นครั้งแรก คือสมเด็จพระเจ้าประสาททอง ในครั้นกระโน้นคือสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี บางปะอินเป็นเพียงตำบลหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งอยู่ในแขวงเมืองกรุงเก่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้เสด็จประพาสมาถึงที่นั่น ทรงเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสมในการที่จะได้เสด็จมาทรงพระสำราญ เปลี่ยนอิริยาบถ จึงรับสั่งให้สร้างพระราชวังขึ้น มีพระราชวังและสถานที่สำหรับพระราชวงศ์ทั้งฝ่ายนอกฝ่ายในเสด็จไ ปตากอากาศพร้อมกันได้ จากนั้นมา " บางปะอิน " ก็กลายเป็นสถานที่ ๆ พระมหากษัติย์ทุกพระองค์ใช้เป็นที่ประทับในฤดูร้อนสืบเนื่องกัน มาทุกรัชกาล จนกระทั่งครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยา ถูกพม่าเข้าตีในสมัยนั้น
เวลาล่วงมาถึงพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรี ได้ย้ายราชธานีมาตั้งที่กรุงเทพพระมหานคร พระราชวังบางปะอินจึงถูกทอดทิ้ง เป็นราชวังร้างชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพราะเหตุการณ์บ้านเมืองในสมัยนั้น ไม่สามารถที่จะให้พระมหากษัตริย์เสด็จประพาสต้นได้สะดวกนัก จนกระทั่งย่างเข้ารัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวังบางปะอินจึงกลับงดงามขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากนั้นได้ถูกทอดทิ้งอีกครั้ง เป็นเวลานานถึง ๘๐ ปี เพราะสถานการณ์บ้านเมืองบังคับ
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้นเป็นที่รู้กันแล้วว่าอารยธรรมของยุโรปกำลังหลั่งไหลเข้ามาส ู่สยามประเทศ วิทยาศาสตร์แผนใหม่เริ่มเข้าสู่ความก้าวหน้า ครั้งกระนั้น เรือรบและเรือพระที่นั่งใช้ระบบไอน้ำขับเคลื่อน ใช้เครื่องจักรแทนฝีพาย และเรือที่ใช้ลำแรกคือเรือพระที่นั่ง " อรสุมพล " และเรือพระที่นั่งอรสุมพลนี้เองที่ได้รับใช้พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นประพาสต้น ถึงตำบลบางปะอินเป็นครั้งแรก เมื่อได้ทรงทอดพระเนตรเห็นพระราชวังบางปะอินอยู่ในสภาพชำรุดทรุ ดโทรม สลักหักพังรกร้าง ปกคลุมไปด้วยบรรดาหมู่ไม้เถาวัลย์ ดังนั้นพระองค์ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้บูรณะ และสถาปนาพระราชวังบางปะอินขึ้นมาใหม่ แต่มิได้ทรงสร้างพระราชวังขึ้นใหม่ เพียงแต่ตกแต่งสถานที่เดิมและบูรณะให้เป็นที่ประทับได้ชั่วคราว ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสและประท ับที่พระราชวังบางปะอินอยู่เสมอมิได้ขาด บรรดาพระเจ้าลูกยาเธอ อันมีเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ( พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ) ก็ได้เสด็จตามพระราชบิดาอยู่เนืองๆ
ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ขึ้นครองราช ก็ได้ทรงสนพระทัยต่อพระราชวังบางปะอิน เช่นเดียวกับสมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงเสด็จไปพักผ่อนและเปลี่ยนอิริยาบถในฤดูร้อนเป็นประจำ โดยเฉพาะสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ก็เคยตามเสด็จไปประทับที่พระราชวังบางปะอินอยู่มิได้ขาด กล่าวกันว่าในบริเวณพระราชวังบางปะอิน ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ได้สร้างขึ้นตามพระทัยของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พร ะปิยมเหสี โดยเฉพาะในอุทยานบริเวณหน้าพระตำหนัก ปรากฏว่าสถานที่นั้นเป็นที่พอพระทัยของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์มากกว่าแห่งอื่น ในเวลาเย็นสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ได้เสด็จพระราชดำเนินชมพฤกษาชาติอันขึ้นสลับซับซ้อนหลายหลากสี ทำให้อุทยานบริเวณนั้นร่มรื่นอยู่เสมอ
เมื่อความปรากฏว่า สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทรงพอพระทัยต่อสถานที่นั้น จนเป็นที่รู้จักกันดี ในหมู่ข้าราชบริพารทั้งหลาย เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเก ล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์จารึกพระอักษรไว้ด้วยพระองค์เอง เพื่อให้เป็นที่ระลึกแก่พระปิยมเหสีและพระราชธิดา ยังให้เกิดความเศร้าโศกใจแก่ผู้ที่ได้ไปเที่ยวพระราชวังบางปะอิ นในสมัยปัจจุบัน จนกล่าวกันว่าเป็นอนุสาวรีย์แห่งรักนิรันดร
ข้อความที่จารึก ณ อนุสาวรีย์แห่งพระราชวังบางปะอิน มีดังนี้
ที่ระลึกถึงความรักแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
พระบรมราชเทวีอรรคมเหสี อันเสด็จทิวงคตแล้ว
ซึ่งเธอเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยความสุขสบาย
และเป็นที่เบิกบานใจ พร้อมด้วยผู้ซึ่งเป็นที่รัก
และที่สนิทอย่างยิ่งของเธอ
อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้น
โดยจุฬาลงกรณ์ บรมราช
ผู้เป็นสามี อันได้รับความเศร้าโศกเพราะความทุกข์
อันแรงกล้าในเวลานั้นแทบจะถึงแก่ชีวิต
ถึงกระนั้นก็ยังมิได้หักหาย
จุลศักราช ๑๒๔๓
............................................................ ................
แม้ว่าการเสด็จประพาสพระราชวังบางประอินในครั้งนั้น จะเป็นการเสด็จเป็นประจำในช่วงฤดูร้อน และเป็นขบวนเสด็จพยุหยาตราชลมารคเป็นการใหญ่ก็ตาม แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกรณีกิจเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ทรงกริ่งเกรงไปว่าบบรรดาเรือขบวนตามเสด็จทั้งหลายจะไปถึงพระราช วังบางปะอินมืดค่ำ อันเป็นการไม่สะดวก พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้ขบวนเรือตามเสด็จทั้งหลาย อันเป็นเรือพระที่นั่งของพระเหสีเคลื่อนขบวนล่วงหน้าไปก่อน พร้อมด้วยเรือประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน รวมทั้งตำรวจหลวงและกรมวังก็ได้ประจำอยู่ในเรือพระประเทียบโดยพ ร้อมมูล
การเสด็จโดยขบวนเรือคนละเวลาเช่นนี้ เป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นอกจากพระราชกรณีกิจเกี่ยวกับงานของแผ่นดิน ซึ่งพระองค์จะรีบปฏิบัติเสียในตอนเช้าแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยังมีพระราชประสงค์ที่จะไม่ให้บังเกิดควาทยุ่งยากแก่ผู้ตามเสด็ จ เพราะเมื่อขบวนเรือส่วนใหญ่ได้ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว เรือพระที่นั่งของพระองค์จะได้แล่นไปได้อย่างเต็มฝีจักร โดยไม่ต้องรอเสียเวลาคอยเรือพระที่นั่ง
การเปลี่ยนวิธีการเสด็จนี้เองอาจเป็นลางร้ายอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่มีใครคาดคิด พระเชื่อว่าพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะคุ้มครองไปถึง โดยเฉพาะ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เองไม่สู้ปรารถนาที่จะตามเสด็จพระราชวังบางปะอินครั้งนี ้เท่าไหรนัก เพราะก่อนหน้าที่จะได้รับหมายกำหนดการ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ได้ทรงพระสุบินนิมิตรก่อนวันเสด็จสักสองเพลา
ในพระสุบินนิมิตรนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ได้ทรงมีพระราชปรารภกับ พระเจ้าน้องนางเธอพระองค์เจ้าประดิษฐาสารี และเจ้านายพระองค์อื่น ๆ เป็นทำนองขอให้ทรงแก้ฝัน
" ในพระสุบินนิมิตนั้น มีเรื่องเล่าว่า พระองค์ฯพร้อมกับลูกน้อยเจ้าฟ้าหญิงฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาท ข้ามสะพานแห่งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ได้พลัดตกลงไปจากสะพานนั้น ลงไปในน้ำ พระองค์ได้ทรงฉุดด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองขึ้นมาได้ครั้งหนึ่ง ด้วยความตระหนักพระทัย แต่แล้วพระเจ้าลูกยาเธอฯ ก็กลับหลุดพระหัตถ์ตกไปในน้ำอีกครั้งหนึ่ง สมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็คว้าพระหัตถ์จะฉุดเจ้าฟ้าหญิงอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้พระองค์เสียหลัก เลยพลัดตกลงไปในน้ำนั้น พร้อมกับเจ้าฟ้าหญิงราชธิดา "
พระสุบินนี้เป็นลางร้าย ซึ่งทำให้ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ไม่อยากเสด็จไปไหนแต่ก็ขัดพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์จึงได้แต่ทรงอธิษฐานขอบารมีของพระบรมราชสามีคุ้มครอง
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (พระนางเรือล่ม)
เช้าวันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๒๔๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัยมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พระยามหามนตรี สมุหราชองค์รักษ์จัดเรือพระที่นั่งโสภณภควดีเป็นเรือทรง และเรือพระพระประเทียบทั้งหลาย สำหรับเป็นเรือทรงของเจ้านายฝ่ายใน
พระองค์เจ้าสว่างวัฒนาและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุ ณหิศ เสด็จประทับเรือพระที่นั่งใหญ่
๒ ชั้น ลำ ๑
เรือปานมารุต เป็นเรือกลไฟจูงเรือเก๋งกุดั่น ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์
เพชรรัตนโสภางค์ทัศนียลักษณอรรควรราชกุมารี ลำ ๑
เรือกลไฟโสรขจร จูงเรือเก๋งพระที่นั่งพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี ลำ ๑
เรือกลไฟราชสีห์จูงเรือพระที่นั่งพระองค์เจ้าสุขุมมาลย์มารศรี ลำ ๑
เรือยอร์ชพระที่นั่ง ของกรมหลวงวรศักดา จูงเรือกรมสมเด็จพระสุดารัตนประยูร ลำ ๑
เป็นเรือขบวนตามเสด็จ
ในขบวนเรือพระประเทียบนั้น เรือกลไฟราชสีห์ ซึ่งเป็นเรือลางจูงเรือพระประเทียบ ของพระองค์เจ้าสุขุมาลย์ มารศรี เป็นเรือที่มีฝีจักรสูง จึงแล่นนำหน้าขบวนเรือพระประเทียบทั้งหลาย เรือกลไฟราชสีห์ แล่นขนานฝั่งไปทางทิศตะวันออก เรือกลไฟยอร์ชซึ่งจูงเรือพระประเทียบกรมสมเด็จพระสุดารัตน์ราชป ระยูร แล่นขนานไปกับเรือราชสีห์ แต่คนละฝั่งแม่น้ำ ส่วนเรือกลไฟโสรขจรนั้น แล่นตามหลังเรือกลไฟราชสีห์ รักษาระดับในระยะพอสมควร สำหรับเรือกลไฟปานมารุตซึ่งเป็นเรือจูงเรือพระประเทียบเก๋งกุดั ่น ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์นั้น แล่นตามเรือกลไฟทั้งหมด ในท่ามกลางสายตาของประชาชนผ่านความสับสนจอแจของชาวเรือ ในแม่น้ำเจ้าพระยาย่านพระมหานครนั้นอัตราความเร็วของเรือพอสมคว ร ครั้นออกนอกเขตพระมหานครเรือกลไฟแต่ละลำก็เร่งสตรีมความเร็วสูง ขึ้น เมื่อผ่านอ้อมเกร็ดไปแล้ว ท้องแม่น้ำเจ้าพระยาในตอนนั้นกว้างและเวิ้งว้าง เห็นทิวไม้ข้างฝั่งอยู่ลิบ ๆ ปราศจากเรือเล็กเรือน้อย นอกจากเรือมอญของชาวรามัญอาศัยอยู่ในถิ่นนั้น ทิ้งสมอลอยลำอยู่กลางน้ำ เพื่อดำทรายเอามาขายในกรุงเทพฯ ความเวิ้งว้างของท้องน้ำ ประกอบด้วยเรือกลไฟเหล่านั้นมีฝีจักรกำลังสูง เมื่อแล่นเร็วก็ทำให้เกิดคลื่นซัดเข้าหากัน
ลางร้ายอันมีจากพระสุบินนิมิต ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์นั้น มิได้มีวี่แววว่าจะมีเหตุเภทภัยอันใดเกิดขึ้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ ประทับอยู่ในเก๋งเรือ ทรงพระประชวรเล็กน้อยจากเพิ่งทรงพระครรภ์ใหม่ครั้งที่สอง ส่วนพระราชธิดาเจ้าฟ้าหญิงฯ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์ เพชรรัตนโสภางค์ทัศนียลักษณอรรควรราชกุมารี นั้น ทรงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระพี่เลี้ยง ชื่อ " แก้ว " ซึ่งได้ถวายความอารักขาเป็นพิเศษ ด้วยเหตุว่าเจ้าฟ้าหญิงฯ มีพระชันษาเพียง ๑ ปี ๑๐ เดือนเศษเท่านั้น
เรือพระประเทียบของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ปิดหน้าต่างเก๋งทุก ๆ ด้าน ได้ยินแต่เสียงลมและเสียงหัวเรือพระที่นั่งแหวกน้ำดังซ่า ๆ และมีระลอกอันเกิดจากเรือลำอื่นมาปะทะเรือทำให้เรือโคลงเคลงในบ างครั้งบางคราว เจ้าฟ้าหญิงบรรทมหลับ ส่วนของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทรงพระสำราญอยู่อย่างเงียบ ๆ ทรงเคลิ้ม ๆ คล้ายจะบรรทมหลับไปงีบหนึ่ง เจ้าฟ้าหญิงฯ ยังคงบรรทมอยู่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้ทรงชำเลืองพระราชธิดาแล้วก็ทรงหลับพระเนตรต่อดังเดิม ฝ่ายเรือพระที่นั่งก็แหวกน้ำไปข้างหน้าทวีความเร็วขึ้นเป็นลำดั บ จนกระทั่งเรือกลไฟปานมารุต ซึ่งจูงเรือพระประเทียบ ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ แล่นทันขบวนเรือข้างหน้า พอดีถึงตำบลบางพูด เหนืออ้อมเกร็ดขึ้นไปเล็กน้อย
อันตำบลบางพูดนั้น แม้กระทังทุกวันนี้ก็ยังปรากฏว่าเป็นตำบลที่สำแดงฤทธิ์เดชแก่ชา วเรือที่ผ่านไปมาอยู่เนือง ๆ เพราะท้องน้ำในบริเวณนั้นเวิ้งว้างกว้างใหญ่ ปราศจากบ้านเรือนของประชาชนริมฝั่ง นอกจากวัดเก่า ๆ วัดหนึ่ง ท้องน้ำตรงนั้นเป็นท้องน้ำที่สายน้ำขึ้นหนุนจากท้องทะเล และน้ำจากเหนือไหลมาบรรจบกันทำให้กระแสน้ำในตอนนั้นหยุดนิ่ง ไม่ไหลไปสู่ทิศใด ด้วยเหตุนี้น้ำเหนือซึ่งพ้ดเอาทรายมาตามสายน้ำจึงไหลรวมกันในบร ิเวณนั้น ทำให้ตื้นเขิน การเดินเรือในท้องน้ำบริเวณนั้นจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิ เศษ เพราะส่วนหนึ่งท้องน้ำเป็นโคลน ซึ่งเรือกลไฟแล่นผ่านไปได้สะดวก แต่อีกด้านเป็นทรายซึ่งจมพอกพูนอยู่ชั่วนาตาปี ทำให้ตื้นเขิน เรือกลไฟแล่นผ่านไม่ได้ สำหรับเรือมอญของชาวรามัญ ซึ่งเป็นราษฎรในย่านนั้น กำลังจอดทอดสมองมหาทรายเป็นอาชีพอยู่ ก็จอดเรืออยู่กลางแม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งทรายพิเศษ และมีความตื้นกว่าช่วงอื่น ๆ ของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนนั้น
ในพระสุบินนิมิตรนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ได้ทรงมีพระราชปรารภกับ พระเจ้าน้องนางเธอพระองค์เจ้าประดิษฐาสารี และเจ้านายพระองค์อื่น ๆ เป็นทำนองขอให้ทรงแก้ฝัน
" ในพระสุบินนิมิตนั้น มีเรื่องเล่าว่า พระองค์ฯพร้อมกับลูกน้อยเจ้าฟ้าหญิงฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาท ข้ามสะพานแห่งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ได้พลัดตกลงไปจากสะพานนั้น ลงไปในน้ำ พระองค์ได้ทรงฉุดด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองขึ้นมาได้ครั้งหนึ่ง ด้วยความตระหนักพระทัย แต่แล้วพระเจ้าลูกยาเธอฯ ก็กลับหลุดพระหัตถ์ตกไปในน้ำอีกครั้งหนึ่ง สมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็คว้าพระหัตถ์จะฉุดเจ้าฟ้าหญิงอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้พระองค์เสียหลัก เลยพลัดตกลงไปในน้ำนั้น พร้อมกับเจ้าฟ้าหญิงราชธิดา "
พระสุบินนี้เป็นลางร้าย ซึ่งทำให้ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ไม่อยากเสด็จไปไหนแต่ก็ขัดพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์จึงได้แต่ทรงอธิษฐานขอบารมีของพระบรมราชสามีคุ้มครอง
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (พระนางเรือล่ม)
เช้าวันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๒๔๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัยมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พระยามหามนตรี สมุหราชองค์รักษ์จัดเรือพระที่นั่งโสภณภควดีเป็นเรือทรง และเรือพระพระประเทียบทั้งหลาย สำหรับเป็นเรือทรงของเจ้านายฝ่ายใน
พระองค์เจ้าสว่างวัฒนาและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุ ณหิศ เสด็จประทับเรือพระที่นั่งใหญ่
๒ ชั้น ลำ ๑
เรือปานมารุต เป็นเรือกลไฟจูงเรือเก๋งกุดั่น ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์
เพชรรัตนโสภางค์ทัศนียลักษณอรรควรราชกุมารี ลำ ๑
เรือกลไฟโสรขจร จูงเรือเก๋งพระที่นั่งพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี ลำ ๑
เรือกลไฟราชสีห์จูงเรือพระที่นั่งพระองค์เจ้าสุขุมมาลย์มารศรี ลำ ๑
เรือยอร์ชพระที่นั่ง ของกรมหลวงวรศักดา จูงเรือกรมสมเด็จพระสุดารัตนประยูร ลำ ๑
เป็นเรือขบวนตามเสด็จ
ในขบวนเรือพระประเทียบนั้น เรือกลไฟราชสีห์ ซึ่งเป็นเรือลางจูงเรือพระประเทียบ ของพระองค์เจ้าสุขุมาลย์ มารศรี เป็นเรือที่มีฝีจักรสูง จึงแล่นนำหน้าขบวนเรือพระประเทียบทั้งหลาย เรือกลไฟราชสีห์ แล่นขนานฝั่งไปทางทิศตะวันออก เรือกลไฟยอร์ชซึ่งจูงเรือพระประเทียบกรมสมเด็จพระสุดารัตน์ราชป ระยูร แล่นขนานไปกับเรือราชสีห์ แต่คนละฝั่งแม่น้ำ ส่วนเรือกลไฟโสรขจรนั้น แล่นตามหลังเรือกลไฟราชสีห์ รักษาระดับในระยะพอสมควร สำหรับเรือกลไฟปานมารุตซึ่งเป็นเรือจูงเรือพระประเทียบเก๋งกุดั ่น ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์นั้น แล่นตามเรือกลไฟทั้งหมด ในท่ามกลางสายตาของประชาชนผ่านความสับสนจอแจของชาวเรือ ในแม่น้ำเจ้าพระยาย่านพระมหานครนั้นอัตราความเร็วของเรือพอสมคว ร ครั้นออกนอกเขตพระมหานครเรือกลไฟแต่ละลำก็เร่งสตรีมความเร็วสูง ขึ้น เมื่อผ่านอ้อมเกร็ดไปแล้ว ท้องแม่น้ำเจ้าพระยาในตอนนั้นกว้างและเวิ้งว้าง เห็นทิวไม้ข้างฝั่งอยู่ลิบ ๆ ปราศจากเรือเล็กเรือน้อย นอกจากเรือมอญของชาวรามัญอาศัยอยู่ในถิ่นนั้น ทิ้งสมอลอยลำอยู่กลางน้ำ เพื่อดำทรายเอามาขายในกรุงเทพฯ ความเวิ้งว้างของท้องน้ำ ประกอบด้วยเรือกลไฟเหล่านั้นมีฝีจักรกำลังสูง เมื่อแล่นเร็วก็ทำให้เกิดคลื่นซัดเข้าหากัน
ลางร้ายอันมีจากพระสุบินนิมิต ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์นั้น มิได้มีวี่แววว่าจะมีเหตุเภทภัยอันใดเกิดขึ้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ ประทับอยู่ในเก๋งเรือ ทรงพระประชวรเล็กน้อยจากเพิ่งทรงพระครรภ์ใหม่ครั้งที่สอง ส่วนพระราชธิดาเจ้าฟ้าหญิงฯ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์ เพชรรัตนโสภางค์ทัศนียลักษณอรรควรราชกุมารี นั้น ทรงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระพี่เลี้ยง ชื่อ " แก้ว " ซึ่งได้ถวายความอารักขาเป็นพิเศษ ด้วยเหตุว่าเจ้าฟ้าหญิงฯ มีพระชันษาเพียง ๑ ปี ๑๐ เดือนเศษเท่านั้น
เรือพระประเทียบของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ปิดหน้าต่างเก๋งทุก ๆ ด้าน ได้ยินแต่เสียงลมและเสียงหัวเรือพระที่นั่งแหวกน้ำดังซ่า ๆ และมีระลอกอันเกิดจากเรือลำอื่นมาปะทะเรือทำให้เรือโคลงเคลงในบ างครั้งบางคราว เจ้าฟ้าหญิงบรรทมหลับ ส่วนของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทรงพระสำราญอยู่อย่างเงียบ ๆ ทรงเคลิ้ม ๆ คล้ายจะบรรทมหลับไปงีบหนึ่ง เจ้าฟ้าหญิงฯ ยังคงบรรทมอยู่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้ทรงชำเลืองพระราชธิดาแล้วก็ทรงหลับพระเนตรต่อดังเดิม ฝ่ายเรือพระที่นั่งก็แหวกน้ำไปข้างหน้าทวีความเร็วขึ้นเป็นลำดั บ จนกระทั่งเรือกลไฟปานมารุต ซึ่งจูงเรือพระประเทียบ ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ แล่นทันขบวนเรือข้างหน้า พอดีถึงตำบลบางพูด เหนืออ้อมเกร็ดขึ้นไปเล็กน้อย
อันตำบลบางพูดนั้น แม้กระทังทุกวันนี้ก็ยังปรากฏว่าเป็นตำบลที่สำแดงฤทธิ์เดชแก่ชา วเรือที่ผ่านไปมาอยู่เนือง ๆ เพราะท้องน้ำในบริเวณนั้นเวิ้งว้างกว้างใหญ่ ปราศจากบ้านเรือนของประชาชนริมฝั่ง นอกจากวัดเก่า ๆ วัดหนึ่ง ท้องน้ำตรงนั้นเป็นท้องน้ำที่สายน้ำขึ้นหนุนจากท้องทะเล และน้ำจากเหนือไหลมาบรรจบกันทำให้กระแสน้ำในตอนนั้นหยุดนิ่ง ไม่ไหลไปสู่ทิศใด ด้วยเหตุนี้น้ำเหนือซึ่งพ้ดเอาทรายมาตามสายน้ำจึงไหลรวมกันในบร ิเวณนั้น ทำให้ตื้นเขิน การเดินเรือในท้องน้ำบริเวณนั้นจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิ เศษ เพราะส่วนหนึ่งท้องน้ำเป็นโคลน ซึ่งเรือกลไฟแล่นผ่านไปได้สะดวก แต่อีกด้านเป็นทรายซึ่งจมพอกพูนอยู่ชั่วนาตาปี ทำให้ตื้นเขิน เรือกลไฟแล่นผ่านไม่ได้ สำหรับเรือมอญของชาวรามัญ ซึ่งเป็นราษฎรในย่านนั้น กำลังจอดทอดสมองมหาทรายเป็นอาชีพอยู่ ก็จอดเรืออยู่กลางแม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งทรายพิเศษ และมีความตื้นกว่าช่วงอื่น ๆ ของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนนั้น
เมื่อเรือกลไฟราชสีห์ ซึ่งเป็นเรือลำหน้ากำลังผ่านวัด ๆ หนึ่ง ( ต่อมาได้ชื่อว่า " วัดกู้ " ) ก็เบนหัวเรือเล่นเข้าไปเลียบฝั่งตะวันออก เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์ที่ประทับในเรือได้ทอดพระเนตรทิวทัศน์ ริ่มฝั่ง และเพื่อที่จะหลีกทางมิให้ระลอกคลื่นไปรบกวนชาวเรือที่กำลังงมห าทรายกันอยู่ ส่วนเรือยอร์ชก็แล่นเทียบขึ้นมาขนานกับเรือราชสีห์ เป็นทำนองแข่งความเร็วกันอยู่
สำหรับเรือปานมารุต ที่เป็นเรือจูงเรือพระประเทียบของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมาร ีรัตน์นั้น นายท้ายเรือ คือ " นายอิน " เมื่อเห็นเรือทั้งหลายบ่ายหัวเข้าไปใกล้ฝั่งก็เร่งฝีจักรเข้าไป ใกล้ และจะเป็นไปด้วยความคึกคะนอง หรือความประมาทอย่างหนึ่งอย่างใดไม่เป็นที่ทราบชัดได้ เรือปานมารุตจึงพยายามเร่งฝีจักรให้ทันเรือราชสีห์ และเรือยอร์ช และแล้วความพยายามเบนหัวเรือแทรกขึ้นไปในระหว่างกลาง ด้วยความรีบร้อน จึงไม่ได้กังวลถึงเรือกลไฟโสรขจร ซึ่งแล่นตามหลังเรือราชสีห์มาอย่างกระชั้นชิด และอยู่เป็นลำในกว่าเรือปานมารุต
แต่ทันใดนั้นเองผู้ถือท้ายเรือโสรขจรก็รู้สึกว่าได้แล่นผิดร่องน้ำ เสียงพรืดพราดหลายครั้ง ๆ แสดงว่าใบจักรเรือได้พัดเอาทรายเข้าแล้ว และเรือโสรขจรก็ทำท่าว่าจะติดทราย ด้วยสัญชาติญาณของนายท้ายเรือ จึลเบนหัวเรือออกเพื่อหลบการเกยตื้น สถานการณ์เช่นนี้ยิ่งทำให้เรือทั้ง ๔ ลำ อยู่ในลักษณะเทียบลำใกล้กันเข้ามาอีก เสียงข้าหลวงในเรือเจี๊ยวจ๊าวขึ้นเพราะเห็นเรือทั้ง ๔ ลำ ใกล้เข้ามาเกือบติดกันจนระลอกคลื่นของเรือซัดเข้าหากันเป็นฟองซู่ซ่า
เมื่อเรือโสรขจรเบนหักหลบการเกยตื้นเช่นนั้น เรือปานมารุตซึ่งกำลังเร่งเพื่อเข้าแทรกระหว่างกลางของเรือราชส ีห์ และเรือยอร์ชก็ต้องเบนหลบตามออกไปทันที การเบนหัวเรือกลไฟหลบออกกันเป็นฉากๆนั้น ถ้าเป็นเรือกลไฟที่ไม่ได้ลากจูงจะสู้ไม่เป็นอันตรายมากนัก หากแต่ว่าเรือกลไฟปานมารุตจูงเรือพระประเทียบ และการลากจูงนั้นก็ปรากฏว่าได้ทิ้งระยะเชือกที่ลากจูงยาวกว่าลำ อื่น เนื่องด้วยในเรือพระประเทียบนั้นมีพระราชธิดาซึ่งยังอ่อนพระชัน ษาอยู่ เกรงว่าควันไฟและลูกไฟจากปล่องเรือจะมารบกวนพระอนามัย
นายท้ายเรืออิน เมื่อเบนหัวเรือหนีแล้วก็ยังมิได้ชะลอความเร็ว เพื่อให้เรือพระประเทียบที่พ่วงมาตั้งลำก่อน แต่กลับเร่งความเร็วเพิ่งขึ้น เพื่อจะหนีหัวเรือของเรือโสรขจรที่พุ่งออกมา หักเป็นมุม ๔๕ องศา
ทันใดนั้นก็มีเสียง โครมมม... เนื่องด้วยเรือโสรขจรได้ปะทะเข้ากับเรือปานมารุตแล้ว เสียงหวีดร้องดังขึ้นทั้งลำเรือ พอเรือโสรขจรหักหัวเรือให้ตั้งลำอีกครั้งหนึ่ง ก็พอดีกับเรือพระประเทียบของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน ์ ที่กำลังถูกลากจูงยังมิสามารถตั้งลำได้ ลูกคลื่นอันเกิดจากเรือโสรขจรกระท้อนเข้าหาเรือพระที่นั่งของสม เด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เรือพระที่นั่งเริ่มโคลงซ้าย โคลงขวา ลูกคลื่นลูกใหญ่ซัดประดังเข้ามากดหัวเรือพระที่นั่งให้โยนขึ้นล ง เอียงไปมาอย่างน่าประหวั่นพรั่นพรึง
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทรงตกพระทัย เรือพระที่นั่งยิ่งโคลงใหญ่ เพราะลูกคลื่นได้ซัดเข้ามาไม่หยุด ด้วยพระสัญชาติญาณแห่งความเป็น " แม่ " สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงอุ้มพระราชธิดาเข้ามาไว้ในอ้อมประอุระ ทรงผวาและตื่นเต้นกับจังหวะของเรือที่โยนขึ้นลง และแล้วน้ำก็พรั่งพรูเข้ามาทางหัวเรือซู่ใหญ่ พระพี่เลี้ยงแก้วร้องไห้ด้วยความตกใจและตกตะลึงทำอะไรไม่ถูก ชั่วระยะเวลาไม่ถึง ๕ นาทีเสียงอื้ออึงก็ดังก้องท้อง
น้ำ
" เรือพระนางล่ม "
อนิจจา ! เรือพระนางล่มคว่ำลงไปทันที เรือปานมารุตหยุดเครื่อง และเรือกลไฟลำอื่น ๆ ก็หยุดตามทันที
เสียงระเบ็งเซ็งแซ่ไม่ได้ศัพท์ดังขึ้นที่ชายฝั่ง ชาวบ้านย่านนั้นต่างลงเรือมาช่วย ชาวเรือดำทรายต่างละหน้าที่เมื่อประจักาษ์เหตุการณ์เฉพาะหน้าว่ า อันตรายได้เกิดขึ้นกับเรือขบวนที่เพิ่งจะผ่านไปหยก ๆ จะเป็นเรือของใครไม่ว่า เป็นไพร่หรือเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินก็ตาม ความหมายคือการช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ขณะนั้นเป็นเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กำลังเสด็จลงเรือพระที่นั่งโสภณภควดี หลังจากที่ได้ทรงจุดธูปเทียนนมัสการพระพุทธมหาปฏิมากรแก้วมรกตแ ละทรงบูชาเทวดาอันเป็นพระราชพิธีแล้ว เรือพระที่นั้งอันมีสมเด็จพระองค์น้อยกรมหมื่นนเรศวร , พระองค์เจ้าเทวัญ , พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร , พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กับหัวหมื่นพระนายไวยศรเพชร์ , หลวงนายฤทธิ์ ซึ่งตามเสด็จไปในเรือพระที่นั่ง ส่วนเรือตามเสด็จนั้นเป็นเรือกลไฟล้วน ๆ มีเรือพระที่นั่งรองเวสาตรี , เรือกระมุทรมาลา , เรือไรซิงซัน , เรือบางปะอินอุดมทวีป , เรือทัศนากรศุภฤกษ์ เคลื่อนลำออกจากท่าเรือนั้นคือเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ซึ่งเกือบจะเป็นเวลาเดียวกับ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สิ้นพระชนม์
การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขบวนตามเสด็จอันมีพระมเหสีและพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จด้วยเรือ เก๋งกุดั่นนั้น ก็เนื่องด้วยพระองค์ทรงเห็นว่า การเสด็จด้วยเรือเก๋งกุดั่นจูงลากด้วยเรือกลไฟนั้นเป็นที่สบาย และทรงสำราญมากกว่าที่จะเสด็จด้วยเรือกลไฟ เพราะจะได้ไม่เป็นการสะเทือน และไม่ต้องอยู่ปนกับสามัญชนอื่น ๆ อันเป็นเจ้าหน้าที่ประจำเรือประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่ง การเสด็จด้วยเรือเก๋งลูงลากนั้นช้ากว่าเรือกลไฟ บรรดาพระมเหสีและพระบรมวงศานุวงศ์ จะได้ทรงมีโอกาสทัศนาทิวทัศน์ของสองฝากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์ทรงเชื่อว่าอันตรายที่เสด็จอย่างเชื่องช้าค่อยแล่นค่อยไ ปนั้น คงจะไม่มีเป็นแน่แท้ ซึ่งคราวนี้พระองค์ทรงคาดผิด เพราะอุปัทวเหตุย่อมมีเกิดขึ้นได้ทุกเวลาไม่ว่าในหรือนอกพระราช ฐาน
ขณะที่เรือพระที่นั่งของพระเจ้าอยู่หัวกำลังบ่ายหน้าไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา อีกด้านหนึ่งที่ตำบลบางพูด ก็กำลังโกลาหลอลหม่านกันอย่างใหญ่หลวง ด้วยว่าเรือพระประเทียบของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ไ ด้ควำลง ทุก ๆ ชีวิตที่อยู่ในเรือขบวนเสด็จนั้น ตกตะลึงพรึงพริดทำอะไรไม่ถูก เพราะไม่คาดฝันว่าเหตุการณ์ร้ายแรงเช่นนี้จะบังเกิดขึ้นปัจจุบั นทันด่วน
ข้าหลวงที่ตามเสด็จมาในเรือพระประเทียบซึ่งติดอยู่ในเก๋งเรือคร อบที่มีกำลังวังชาแข็งแรง ก็พยายามมุดหาทางออกมาจากเก๋ง และว่ายน้ำไปเกาะที่เรือลำอื่น เพราะปรากฏว่าในตอนนั้นกระแสน้ำมิได้ไหลเชี่ยว ประกอบกับเป็นที่ตื้น
สำหรับสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์นั้น ไม่สามารถจะหาทางออกจากเก๋งเรือที่ครอบอยู่ได้เพราะทรงมีพระอาก ารไม่ปกติอยู่แล้ว เนื่องด้วยทรงพระครรภ์และทรงห่วงพระราชธิดา และเป็นที่ปรากฏว่าขณะที่เรือล่มครอบนั้น เจ้าฟ้าหญิงฯได้หลุดออกจากพระหัตถ์หายไปในทันทีด้วย การที่ไม่เสด็จออกจากเก๋งเรือ จึงอาจจะเป็นด้วยห่วงพระราชธิดา และทำการค้นหาอยู่ภายใต้ท้องน้ำ และภายในเก๋งเรือ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ก็เป็นได้
ขณะที่เรือพระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ล่ม เรือพระประเทียบของพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา และสมเด็จพระเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ได้เสด็จล่วงหน้าไปก่อน ขบวนเรือที่อยู่ในการช่วยเหลือจึงขาดไปเสียลำหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามพวกมหาดเล็กและข้าหลวงทั้งหลายในเรือลำอื่นก็ไม ่สามารถทำการช่วยเหลือได้ถนัด โดยเฉพาะแก่สมเด็จพระนางเจ้าฯ
ทั้งนี้เพราะเหตุว่าพระยามหามนตรี( อ่ำ ) สมุหราชองครักษ์ได้ออกคำสั่งโดยฉับพลันทันทีไม่ให้คนหนึ่งคนใดลงไปช่วยเนื่องด้วยขัดกับกฏมณเฑียรบาล แม้แต่ชาวบ้านสามัญที่ไม่รู้เรื่องว่ากฏมณเฑียรบาลคืออะไรที่หักหาญเข้ามาช่วยเหลือก็ช่วยได้แต่เพียงนางข้าหลวง สำหรับเรือพระที่นั้งแล้วพระยามหามนตรีออกคำสั่งเด็ดขาดไม่ให้เ ข้าใกล้แตะต้อง ถึงกับมีผู้กล่าวว่าตัวพระยามหามนตรีเองชักดาบยืนตะโกนออกคำสั่งสำทับอยู่ที่หัวเรือ ทำให้พวกชาวบ้านงงงวยนัก และเพียงแต่ช่วยพวกข้าหลวงให้ขึ้นเรือที่พายออกไปช่วยแล้วนำส่งขึ้นเรือใหญ่ ส่วนพวกที่ว่ายน้ำไม่เป็นก็จมหายไปนั้นก็ได้งมช่วยขึ้นมาทันท่วงที
และแก้ไขให้พ้นอันตรายเป็นจำนวนมาก
กฏมณเฑียรบาลซึ่งมิใช่จะประหารชีวิตผู้ทำความช่วยเหลือทั้งนั้น แต่เป็นการประหารล้างโคตร จึงอาจจะกล่าวได้ทีเดียวว่า สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สิ้นพระชนม์ไปเพราะกฏมณเฑียรบาล กฏหมายอันมีมาแต่โบราณกาล กฏมณเฑียรบาลตอนนี้ มีความว่า
" ถ้าเรือประเทียบล่มให้ชาวเรือว่ายน้ำหนี ถ้าอยู่กับเรือโทษถึงตาย ภูดาษแลชาวเรือยื่นเสร้า แลซัดหมากพร้าวให้เกาะ ตามแต่จะเกาะได้ ถ้ามิได้อย่ายืด ถ้ายืดขึ่นให้รอด โทษถึงตาย ถ้าซัดหมากพร้าวให้รอด รางวัลเงินสิบตำลึง ขันทองหนึ่ง ถ้าเรือประเทียบล่ม มีผู้อื่นเห็น แลซัดหมากพร้าวเอาขึ้นให้รอด โทษทวีคูณตายทั้งโคตร์
"อนึ่งเรือประเทียบล่ม แลซัดหมากพร้าวเข้าไปริมฝั่ง โทษฟันคอริบเรือน
"อนึ่ง ตัดเรือประเทียบโทษถึงตาย ข้ามเรือจวนประเทียบ โทษถึงตาย
"อนึ่งถ้าเสด็จไล่เรือ แลเรือลูกขุนผู้ใด ไปโดยทางลัดเลี้ยว มิมาให้ทัน พระที่นั่ง โทษฟันคอริบเรือน
"อนึ่ง ท้าวพระยามนตรีมุขลูกขุน หัวหมื่นหัวพันทั้งปวง ฝ่ายประเทียบก็ดี ตัดประเทียบชั่วลำเรือก็ดี โทษฟันคอริบเรือน
"อนึ่ง ผู้ใดตีด่ากัน เข้ามาตัดหน้านางเทพี โทษเท่าฝ่าประเทียบ"
เป็นคราวเคราะห์และมหาวิบัติของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีร ัตน์โดยแท้ เพราะชั่วเวลาที่เรือพระที่นั่งล่ม เวลาแห่งการช่วงเหลือ ที่พวกชาวบ้านจะเข้ามาได้นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเรียกได้ว่าช่วยเหลือได้ทันท่วงที เพราะเพียงแต่ว่าช่วยหงายเรือพระที่นั่งขึ้นก่อน ที่จะคำนึงถึงกฏมณเฑียรบาล สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ก็คงจะไม่มีอันตรายถึงแก่สิ้นพระชนม์ หานึกไม่ว่ามนุษยธรรมนั้นย่อมอยู่เหนือกฏใดๆ
แต่เมื่อว่าถึงชาวบ้านแล้วก็น่าเห็นใจอยู่เป็นอันมากที่พวกเขาไม่มีโอกาสแสดงความเป็นผู้มีมนุษยธรรมได้เต็มที่ เพราะการที่เข้ามาช่วยเหลือนั้นเข้ามาด้วยเจตนาดี แต่เมื่อเข้ามาแล้วกลับได้เห็นดาบเป็นเงาวับ พร้อมคำสั่งสำทับกำกับหมายเอาชีวิตให้ใครให้การช่วยเหลือ ใครเล่าจะกล้าแกว่งคอไปหาดาบผู้มีอำนาจราชศักดิ์
ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์จึงต้องสูญเสียพระชนม์พร้อมลูกน้อยในพระครรภ์ นอกจากนั้นยังมีเจ้าฟ้าหญิงพระราชธิดาฯ อันเป็นดังดวงหฤทัย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกพระองค์หนึ่งด้วย ขณะนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทรงมีพระชนม์ ได้ ๑๙ ปี ๖เดือน ๒๒ วัน ตรงกับวันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๒๓ ทรงพระครรภ์อยู่ได้ ๕ เดือนเต็ม พระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์ เพชรรัตน์ พระชนม์ อายุได้ ๑ ปี ๙ เดือน ๒๐ วัน
อาการแสดงตัวในฐานะสมุหราชองครักษ์ซึ่งเคร่งต้อกฏมณเฑียรบาลจนล ืมความจงรักภักดีและมนุยธรรม และยิ่งกว่านั้นยังหาความดีความชอบใส่ตัว ด้วยการทูลเท็จต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในที่สุดกรรมก็ตามทันอย่างทันตาเห็น ภายหลังที่ได้ชำระคดีแล้ว สมุหราชองครักษ์ก็ถูกถอดออกจากยศศักดิ์อรรคฐาน ถูกตัดสินจำคุกต้องโทษ ๓ ปี ตั้งแต่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๒๓ และในการที่เคยเป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับเข้ารับราชกาลอีกครั้งหลังพ้นโทษ และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาพิชัยสงคราม ตำแหน่งเจ้ากรมอาสา
เมื่อออกคำสั่งให้คนทั้งหลายหงายเรือเก๋งพระที่นั่งขึ้นมาก็ปรา กฏว่าสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สิ้นพระชนม์เสียแล้ว พร้อมด้วยพระพี่เลี้ยงแก้ว ส่วนพระราชธิดาเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ฯ ไม่ปรากฏว่าติดค้างอยู่ในเก๋งเรือ เหตุที่พระราชธิดาเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ ได้หายไปเช่นนั้น ต่างคนต่างดำหากันเป็นเจ้าละหวั่น พระยามหามนตรีเองไม่ได้สนใจอะไร มากไปกว่าได้ออกคำสั่งให้หงายเรือพระประเทียบ
ในขบวนเรือเสด็จนั้นมีหนุ่มคนหนึ่งชำนาญในการว่ายน้ำดำน้ำมาด้ว ยคนหนึ่งชื่อว่า " เถอะ " เป็นข้าส่วนพระองค์ของพระองค์เจ้าชายเทวัญอุทัยวงศ์ เรียกกันในขณะนั้นว่า " ไอ้เถอะ " และไอ้เถอะนี้เองได้แสดงความสามารถ ในการดำน้ำหาพระศพของพระราชธิดาเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ ได้ ซึ่งพระยามหามนตรีเท็จทูลเอาความชอบใส่ตัวเองว่า ตนเองเป็นผู้ดำควานลงไปพบพระศพ ความจริงข้อนี้กระจ่างภายหลัง ด้วยประจักษ์พยานหลายปาก เป็นผลให้ไอ้เถอะได้รับเหรียญตรา แต่พระยามหามนตรีกลับได้ตรวนไปแทน
เมื่อปรากฏว่าเหตุการณ์ทุกๆ อย่างเข้าสู่ขั้นร้ายแรงและวิบัติขณะที่มีการแก้ไขสมเด็จพระนาง เจ้าฯ เพื่อให้ทรงฟื้นพระชนม์ชีพนั้น พระยามหามนตรีได้จัดส่งเรือราชสีห์กลับลำ ล่องไปกราบทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทราบถึงอุปัทวเหตุที่เกิดขึ้น ดังนั้นเรือกลไฟราชสีห์ จึงบ่ายหน้ากลับพระนครอย่างเต็มกำลัง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับขบวนเรือพระที่นั่งโสภณภควดีและขบวนตามเสด ็จกำลังแล่นออกจากพระนครอย่างรีบร้อนเช่นเดียวกัน เรือพระที่นั่งได้สวนกับเรือกลไฟราชสีห์ ตรงที่จะเข้าอ้อมเกร็ด ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา ๔ โมงเช้าครึ่ง เมื่อได้ให้สัญาณให้หยุด และเรือราชสีห์เข้าเทียบเรือพระที่นั่งแล้ว หมื่นทิพยเสนากับปลัดวังซ้ายได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลอย่างละล่ำ ละลักทั้งน้ำตา
"บัดนี้ได้เกิดอุปัทวเหตุอันตรายร้ายแรงด้วยเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ล่มลงที่ตำบลบางพูด สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ได้สิ้นพระชนม์แล้ว"
ยิ่งเสียกว่าสายฟ้าฟาด ยิ่งเสียกว่าแผ่นดินแยก ดั่งดวงพระราชหฤทัยแตกสลาย เมื่อหมื่นทิพเสนาและปลัดวังซ้ายขวาได้กราบบังคมทูลแล้วก็ก้มหน ้านิ่ง พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตกพระทัย เมื่อได้ทราบข่าวพระราชหฤทัยก็แทบว่าจะหยุดเต้น ความรื่นรมย์ที่หวังจะได้รับจากการแปรพระราชอิริยาบถ กลายเป็นความทุกข์โทมนัสทันที แต่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ยังหาได้ทรงกริ้วทันที หรือทรงซักไซ้ไล่เรียงรายละเอียดที่เกิดขึ้นแต่ประการใดไม่ เพราะในขณะนั้นไม่ใช่เวลา ที่ต้องทำการชันสูตรพระศพ เมื่อได้รับคำกราบบังคมทูลแล้ว ก็ทรงมีพระราชโองการดำรัสสั่งให้เรือพระที่นั่งแล่นขึ้นไปยังตำ บล ที่เกิดเหตุอันร้ายแรงอย่างเต็มฝีจักร และตลอดเวลาที่เรือพระที่นั่งแล่น ความที่ได้ทรงรับข่าวประกอบกับความเวิ้งว้างของลำน้ำเจ้าพระยา ทำให้พระองค์ฯทรงบังเกิดพระอาการทุกขกิริยา ทรงประทับนิ่ง พระวรกายตั้งพระเนตรทรงเหม่อมองไปเบื้องหน้า มิได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้ใด
ประมาณครึ่งชั่วโมง เรือพระที่นั่งโสภณภควดีก็ได้มาถึงยังจุดอันเป็นเหตุ พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งฯให้เรือพระที่นั่งเข้าเทียบเรือพระประเท ียบปานมารุต ซึ่งขณะนั้นได้จอดอยู่ห่างฝั่งพอสมควร พร้อมกับเรือพระประเทียบลำอื่น ๆ ที่จอดคอยอยู่ส่วนเรือพระประเทียบปานมารุตจอดบริเวณหน้าวัด เมื่อเรือพระที่นั่งฯเทียบลำเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นอดิศรและพระยามหามนตรีเข้าเฝ้า และทรงซักไซ้ไล่เรียงด้วยพระองค์เอง
อนิจจาในขณะนั้นพระองค์คาดผิดไปว่า พระราชธิดาสิ้นพระชนม์แต่เพียงพระองค์เดียว แต่เมื่อทรงซักไซ้ จนได้ความแล้วประมาณ ๑๐ นาที ก็ยังไม่ได้ทรงเห็นพระบรมราชเทวีสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารี รัตน์ และในขณะนั้นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อย ก็ได้ขึ้นมากราบบังคมทูลตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงชำเลืองพระเนตรเพื่อจะหาพระบรมราชเทวีสมเด็จพระนางเจ้าสุนัน ทากุมารีรัตน์ แต่ก็ไม่ปรากฏ จึงทรงเฉลียวพระหฤทัย แต่ก็ทรงคิดว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ คงจะโศกเศร้าในการสิ้นพระชนม์ของพระราชธิดาฯ ยังคงจะไม่ได้เข้าเฝ้าในขณะนั้นด้วย
เจ้านายทุกพระองค์และข้าราชบริพารทุกคนที่เข้าเฝ้าอยู่เฉพาะพระพักตร์ขณะนั้นต่างก้มหน้านิ่งมิได้มีใครกล้าที่จะกราบบังคมทูลความจริงและคงจนด้วยเกล้าฯ ในการที่จะกราบทูล เพราะเห็นสีพระพักตร์ของมหาชีวิตทรงบึ้ง ไม่แน่ใจว่าจะทรงพระพิโรธขึ้นมาเมื่อใด แต่ในขณะเดียวกันพระศพของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ นั้นทรงบรรทมอยู่หน้าศาลาวัด หลวงราโชแพทย์ หลวงประจำพระองค์ กำลังทำหน้าที่แก้ไขอย่างสุดความสามารถ แต่ก็มิมีหวังว่าสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ จะทรงฟื้นคืนพระชนม์ชีพขึ้นมาได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเฉลียวพระหฤทัยอยู่ก่อนแล้ว เมื่อยิ่งได้เห็นสีหน้าของทุกคน นิ่งและอ้ำอึ้ง ดังถูกมนตราสะกดอยู่ พระองค์ฯจึงมีพระราชดำรัสถามถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีร ัตน์ ขึ้นมาทันที แต่ถึงกระนั้นก็ตาม บรรดาเจ้านายหลายพระองค์ จะมีใครกล้ากราบบังคมทูลก็หาไม่ จนกระทั่งเจ้านายบางพระองค์ ซึ่งได้ไปเฝ้าดูการแก้ไขสมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จขึ้นมาบนเรือพระที่นั่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งถาม จึงได้กราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมาว่า " พระบรมราชเทวีสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ " ได้เสด็จสิ้นพระชนม์แล้ว แต่ก็ยังมีหวังที่นายแพทย์จะแก้ไขให้ฟื้นคืนพระชนม์ชีพมาได้ "
ทันทีที่ได้รับคำกราบบังคมทูล พระอาการที่ทรงประทับยืนอยู่ก็โงนเงนประดุจจะล้มลงไปทั้งยืน ทรุดพระวรกายลงประทับบนพระที่นั่งอย่างหมดเรี่ยวแรง ทรงอ้ำอึ่งอยู่ครู่หนึ่ง จึงมีพระราชดำรัสให้ไปบอกนาบแพทย์ว่าให้ทำการแก้ไขอย่างสุดกำลั งและความสามารถ แต่นายแพทย์ก็ไม่สามารถที่จะสนองพระเดชพระคุณให้เป็นที่เรียบร้ อยสมพระประสงค์ได้ เพราะได้เพียรแก้ไขมาเป็นเวลาช้านาน ก็ไม่มีพระอาการว่าจะฟื้นคืนพระชนม์ชีพขึ้นมาได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสะท้อนพระราชหฤทัย น้ำพระอัสสุชลเปี่ยมอยู่ที่พระเนตร รำรำจะไหลออกมา เพราะความรักและความสงสารพระปิยมเหสีที่ทรงจากพระองค์ไปโดยมิได ้เห็นพระทัย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ยังคงหวังว่านายแพทย์จะแก้ไขให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ ให้ฟื้นพระชนม์ชีพขึ้นมาได้ จึงมีพระราชดำรัสไล่เรียงบรรดานางข้าหลวงทั้งหลายที่ส่วนใหญ่รอ ดเพราะความช่วยเหลือของชาวบ้าน เมื่อมีผู้กราบบังคมทูลว่า มีพวกชาวบ้านสองคนซึ่งมีวิธีแก้ไขคนจมน้ำตายตามแบบของเขา และได้แก้ไขพวกข้าหลวงหลายคนให้ฟื้นขึ้นมาได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงรับสั่งให้เบิกตัวชาวบ้านสองคนนั้นมาเข้าเฝ้าและมีพระดำรัสให้ไปทำการแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง
แต่ถึงอย่างไรความสามารถของชาวบ้านทั้งสอง ก็มิได้มีความหมายต่อพระชนม์ชีพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ เพราะได้เพียรแก้ไขต่อจากเวลาใกล้เที่ยง จวบจนบ่ายสองโมงเศษ ก็ยังหาพระชนม์ชีพขึ้นมาไม่ คราวนี้เป็นการแน่นอนว่า ดวงพระวิญญาณของพระปิยมเหสีฯ ได้เสด็จสู่สรวงสวรรค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้ทรงจากพระองค์ไปแล้ว อย่างไม่มีวันเสด็จกลับ
เมื่อเป็นที่แน่พระราชหฤทัยว่า พระบรมราชเทวีสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ สิ้นพระชนม์เป็นการแน่แล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อันเชิญพระศพสมเด ็จพระนางเจ้าฯ ขึ้นมาบนเรือปานมารุต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จจากระที่นั่ง ออกไปรับพระศพด้วยพระเนตรอันแดงไปด้วยพระอัสสุชล และพระราชอิริยาบถอันอ่อนระโหยโรยแรงด้วยพระหัตถ์อันสั่นสะท้าน ที่ทรงเอื้อมไปเปิดพระแกล ทันใดนั้นพระเนตรของพระองค์ท่าน ก็ได้ยลพระพักตร์พระปิยมเหสีเป็นครั้งสุดท้าย ไม่มีวันใดอีกแล้วที่พระองค์จะได้เสวยความสุขความรัก และความอภิรมย์ชมชื่น จากพระปิยมเหสีคู่ทุกข์คู่ยาก ของพระองค์ ไม่มีวันใดอีกแล้วที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ จะเสด็จเข้าไปดำเนินในพระราชอุทยานพระราชวังบางปะอิน ไม่มีวันใดอีกแล้ว
พระศพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงอยู่ในพระอิริยบถอันแน่นิ่งราวกับเพิ่งบรรทมหลับ ไม่มีริ้วรอยแห่งความหมายว่า ได้สิ้นพระอัสสาสะแต่ประการใด เคียงข้างกับพระศพของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์ เพชรรัตน์ ก็ได้ประทับอยู่ข้างพระราชมารดา
พระมเหสีที่สิ้นพระชนม์ก็ทรงนับว่าทรงโทรมนัสสาหัสใหญ่หลวงพออย ู่แล้วที่ปุถุชนสุดจะทนทานได้ ยังกระหน่ำซ้ำเติมด้วยพระราชธิดาที่เพิ่งจะทรงน่ารักน่าชม เพิ่งพูดได้จ้อแจ้เหมือนทารกทั้งหลาย และยังพระราชบุตรที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงพระครรภ์อีก ซึ่งแม้กระนั้นจะยังไม่ทรงทราบว่า เป็นพระราชโอรสหรือพระธิดาก็ตาม การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ จึงเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ขณะทรงทอดพระเนตรด้วยสายพระเนตรอันเต็มตื้นไปด้วยความโทรมนัส ไปยังสริร่างของพระมเหสี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประทับอึ้งคล้ายกับว่าพระองค์เองปราศจากความรู้สึก ที่สำคัญที่สุดซึ่งพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโทรมนัสทวียิ่ง ก็คือพระกรของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทั้งสองยังคงสวมของขวัญ ในวันประสูติเจ้าฟ้าหญิงฯ อยู่อย่างครบบริบูรณ์ พระกรซ้ายทรงประดับนาฬิกาข้อมือเพชร นิ้วก้อยทั้งสองพระกร ยังคงสวมพระธำมรงค์ที่พระราชสวามีพระราชทานเป็นของขวัญในวันเดี ยวกัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้สวมของขวัญอันมีค่าเหล่านั้น ติดพระองค์จวบจนพระชนม์สลาย ซึ่งเป็นการแสดงถึงความรัก ต่อองค์พระราชสวามี ในการที่ได้ทรงมีโอกาสสนองพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยความจงรักภักดีอย่างใกล้ชิดพระยุคลบาทตลอดมา
เมื่อเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ ได้เสด็จสวรรคตแม้จะเพียรพยายามแก้ไขอย่างไรก็มิอาจฟื้นพระชนม์ขึ้นมาได้ บรรดาข้าหลวงและพนักงานทั้งปวง ตลอดจนพระบรมวงศานุวศ์ ก็ถอยห่างออกจากพระศพ คงเหลือแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์เดียวที่ประทับอยู่เคียงพระศพ ทรงทอดพระเนตรพระพักตร์ของพระปิยมเหสีใกล้ชิดอีกครั้งหนึ่ง คล้าย ๆ กับจะทรงเก็บภาพนั้นไว้ในพระราชหฤทัย อย่างมิมีวันลืมเลือน ทอดพระเนตรพระมหเสีแล้วก็ทรงทอดพระเนตรพระราชธิดา ซึ่งบรรทมหลับนิรันดรเคียงข้างพระราชมารดา แต่ถึงกระนั้นความรู้สึกของทุกคนในที่นั้น ก็เห็นว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร ที่จะมีเหตุเช่นนี้เกิดขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงถอนพระราชหฤทัยยาวอีกครั้ง และเอื้อมพระหัตถ์ไปต้องพระวรกายของสมเด็จพระนางเจ้าฯ และทรงฝืนพระทัยเสด็จกัลไปประทับยังพระที่นั่ง และมีราชโองการให้งดการเสด็จพระราชวังบางปะอิน ในเพลาเดียวกันนั้นด้วย
เป็นที่ปรากฏแก่บรรดาผู้ที่เฝ้าเสด็จอยู่ในขณะนั้นว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมิได้พิโรธ และมิได้ทรงกราดเกรี้ยวแก่ผู้หนึ่งผู้ใดในวันนั้น มิได้ทรงโทษดินฟ้าอากาศและโชคชะตาวาสนา ทรงประทับอึ้งบึ้งตึงอยู่แต่พระองค์เดียว ความโทรมนัสนั้นมีท่วมท้นพระราชหฤทัย การที่พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวฯ ต้องสูญเสียพระมเหสี และพระราชธิดา พร้อมกันทีเดียวสามพระองค์เช่นนี้ ย่อมจะต้องถือว่าเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวง ของใครคนใดคนหนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่งที่ตามขบวนเสด็จนั้น แต่ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นั้นมิได้ทรงเอาผิดแก่ผู้ใด ทั้งสิ้น ตลอดจนซกไซ้ไล่เรียงรายละเอียดของเหตุที่เกิด และพอทรงทราบเรื่องที่เกิดพระพักตร์ที่ทรงแสดงนั้นคือเศร้าอย่างเดียว
ขณะนั้นลมเริ่มกระโชกแสงทินกรเคลื่ยนคล้อยต่ำไปตามทิวยอดไม้ น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสงบนิ่งราวกับแสดงถึงความอาลัยอาวรณ์ ในบริเวณท้องน้ำตอนนั้นสงบเสียงร่ำไห้ของนางข้าหลวง และเสียงสะอึกสะอื้นของบรรดาผู้ตามเสด็จนั้น มีเสียงอยู่ห่างไปจากเรือพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยังไม่รับสั่งให้เคลื่อนขบวนเรือ เพราะมีราชประสงค์จะคอยเรือพระที่นั่งของพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ซึ่งได้แล่นล่วงหน้าไปพระราชวังบางปะอินก่อน จึงได้มีกระแสรับสั่งให้จัดเรือไปตามลงมาพร้อมกัน เพื่อที่จะได้จัดขบวนเรือ กลับพระมหานครพร้อมกันเสียทีเดียว เมื่อได้ส่งเรือขึ้นไปตามแล้ว ก็ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ จัดเรือพระที่นั่งเวสาตรีเป็นเรือรับพระศพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ และพระราชธิดา
พิธีอันเชิญพระศพของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ ขึ้นไปบนเรือเวสาตรีนั้นเป็นไปอย่างเรียบร้อย เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ได้เป็นธุระในการรับเสด็จพระศพ โดยถูกกำหนดให้ร่วมไปในเรือพระที่นั่งเวสาตรีพร้อมกันหมด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นแม่งานด้วยพระองค์เอง เชิญพระศพขึ้นไปบนเรือพระที่นั่งเวสาตรีก็เป็นเวลาย่ำค่ำพอดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ใช้ห้องซาลูน อันเป็นห้องที่ปรับทับส่วนพระองค์ จัดเป็นห้องไว้พระศพและทรงรับสั่งให้รอเวลา เพื่อจะได้ทรงหารือกับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ คือสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลากรมพระบำราบปรปักษ์ เกี่ยวกับเรื่องจัดงานพระศพ แต่ขณะนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลากรมพระบำราบปรปักษ์ ได้เสด็จล่วงหน้าไปยังพระราชวังบางปะอินก่อนแล้ว ยังกลับลงมาไม่ถึง
ครั้นเวลาประมาณสามยามเศษ เรือพระที่นั่งของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลากรมพระบำราบปรปักษ์ จึงมาถึง เมื่อทรงทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วก็เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพร ะเจ้าอยู่หัวฯ และได้ทรงปรึกษาเกี่ยวกับพระศพอยู่เป็นเวลาช้านาน เมื่อเป็นที่รู้เรื่องกันดีแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ เสด็จล่วงหน้ามายังกรุงเทพพระมหานครก่อน เพื่อที่จะได้เตรียมการต้อนรับพระศพตามราชประเพณี ส่วนขบวนเรือพระที่นั่งส่วนใหญ่ยังไม่เคลื่อนขบวน เพราะเรือพระที่นั่งของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุณห ิศและพระองค์เจ้าสว่างวัฒนานั้นยังมาไม่ถึง จนกระทั่งเวลาผ่านไปถึง ๒๒.๐๐ นาฬิกา เรือทุกลำจึงมาพร้อมกัน
ครั้นได้เวลา ๒๒.๓๐ นาฬิกา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยากำลังไหลขึ้น ท้องฟ้ามืดมิดเหมือนม่านดำผืนมหึมาทาบทับอยู่ เพราะเป็นเวลาข้างแรม ๘ ค่ำ เดือนมืดสนิท นอกจากแสงดาราซึ่งดาระดาษอยู่บนแผ่นฟ้า และแสงโคมไฟในเรือพระที่นั่ง ครั้นได้เวลาพรักพร้อมดีแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯให้เคลื่อนขบวนเรือ ดังนี้ ให้เรือพระที่นั่งเวสาตรี อันเป็นเรือประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ และพระศพ เคลื่อนล่วงหน้าไปก่อน ทรงรับสั่งให้นายท้ายขับไปอย่างช้า ๆ และระมัดระวังเพราะเป็นคืนเดือนมืด และน้ำกำลังไหลขึ้น ส่วนเรือพระประเทียบและเรือเก๋งทั้งปวงให้พระยาประภากรวงศ์ เป็นแม่กองควบคุม ยังไม่ให้ติดตามทันที ให้กักไว้ก่อน จนกว่าจะถึงเวลาน้ำลงจึงปล่อยเรือไปได้ เพราะเกรงว่าจะเป็นการเกะกะ เนื่องด้วยเรือมีจำนวนมากด้วยกัน
ภายในเรือพระที่นั่งเวสาตรีขณะเมื่อเคลื่อนลำอย่างแช่มช้า ทุกชีวิตภายในเรือสงบเยือกเย็นอ้างว้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประทับอยู่ใกล้ ๆ กับพระบรมศพของพระปิยมเหสี สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในยามวิกาลนั้น ถูกความมืดปกคลุมดำทมึน ทิวไม้สองฝากฝั่งถูกกลืนอยู่ในความมืดมิดเงียบสงบ เสียงเครื่องยนต์เรือพระที่นั่งแหวกน้ำไปอย่างช้า ๆ เสียงสะอื้นของบรรดานางข้าหลวงดังขึ้นเป็นครั้งคราว ไม่มีใครหลับ เพราะต้องอยู่เป็นเพื่อนพระศพ เรือเวสาตรีแล่นเข้าสู่พระมหานคร ก็เป็นเวลาสองยามเศษ น้ำยังไม่ไหลคืนสู่อ่าวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้เรือพระที่นั่งเทียบท่าให้พอดีกับระดับ น้ำ ซึ่งไม่สูงและไม่ต่ำเกินกว่าตำหนักแพจน
ในยามนี้จะมีใครคนใดในพระมหานครรู้บ้างว่า ขณะนั้นเมื่อเรือพระที่นั่งเวสาตรีซึ่งได้แล่นออกจากท่าราชวรดิ ตถ์ ในยามเช้าท่ามกลางความชื่นชมยินดีของพศกนิกร ที่ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระพักตร์ยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงว่าทรงสดชื่นและรื่นรมย์ ท่ามกลางการส่งเสด็จอย่างหนาแน่นของข้าราชบริพาร และพระบรมวงศานุวงศ์ ในพระราชวโรกาสที่เสด็จไปเปลี่ยนพระราชอิริยบถ เพื่อทรงพักผ่อนในการที่ทรงตรากตำราชการงานเมืองมาตลอดฤดู แต่ใครจะนึกบ้างว่าชั่วเวลาไม่กี่ชั่วโมง ที่ผู้คนประชาชนพลเมือง พระญาติพระวงศ์ของพระองค์กำลังนอนหลับสนิทและบรรทมอย่างเป็นสุข นั้น จะมีใครรู้ว่า เรือพระที่นั่งลำเดียวกันกับที่แล่นออกจากพระนครรวดเร็วในตอนเช ้านั้น จะกลับมาด้วยความเชื่องช้า พร้อมกับความโศกสลด ของบรรดาอยู่ที่อยู่ในเรืออย่างถ้วนหน้า
พอเรือพระที่นั่งเทียบท่าเรียบร้อย สมเด็จกรมหลวงวรศักดาและเจ้าพระยาสุรวงศ์ ซึ่งได้รู้ล่วงหน้าโดยสมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ ได้เสด็จล่วงหน้ามาสั่งราชการก่อนแล้ว ก็มาเฝ้ารับเสด็จทันที เมื่อถวายความจงรักภักดีและถวายบังคมพระบรมศพเรียบร้อยแล้ว ก็ได้กราบบังคมทูลรับสนองพระเดชพระคุณในเรื่องการจัดพระเมรุทุก อย่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งให้จัดเป็นไปตามพระราชประเพณีทุกอย่างทุกประการ จนกระทั่งใกล้รุ่ง และขณะที่กำหนดการพระเมรุอยู่นั้น ก็เป็เวลาที่ต้องคอย เครื่องสำหรับเชิญพระศพซึ่งขณะนั้นยังมาไม่ถึง ตลอดเวลาตั้งแต่เรือพระที่นั่งเวสาตรีเทียบท่า บรรดาข้าราชและพระบรมวงศานุวงศ์ก็ได้ทยอยกันมา และประชุมพร้อมกันที่ตำหนักแพ เพื่อถวายบังคมพระศพอยู่เป็นจำนวนมาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จลงจากเรือพระที่นั่ง ไปประทับ ณ ตำหนักแพ เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ส่วนหมายกำหนดการสรงน้ำพระศพนั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สรงในห้องซาลูน ในเรือพระที่นั่งเวสาตรี เลยทีเดียว
ครั้นพอรุ่งสว่าง สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลากรมพระบำราบปรปักษ์ ก็เสด็จไปยังตำหนักแพ พร้อมด้วยเครื่องทรงพระศพ แต่ในขณะนั้นภูษามาลา ซึ่งไม่ได้เตรียมล่วงหน้ามาก่อนในการที่จะมีพระศพ ในยามผิดปกติ แะลเป็นราชการด่วนจี๋เช่นนั้น มาปฏิบัติราชการไม่ทัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นนเรศวรฯ พระองค์เจ้าเทวัญฯ และพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ช่วยกันทรงเครื่องพระศพเสียก่อน
ตามพระราชประเพณีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะต้องเป็นผู้สรงน้ำพระศพของพระมเหสี และพระราชธิดาเป็นพระองค์แรก แต่ด้วยความโศกเศร้า ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จเข้าไปเห็นพระพักตร์ของพระปิยมเหส ี และพระราชธิดา เกรงว่าจะระงับพระราชหฤทัยไว้ไม่อยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าเทวัญอุทัยวงศ์ พระเชษฐาของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เชิญพระสุคนธ์ มาสรงน้ำพระปิยมเหสีและพระราชธิดา แทนพระองค์ สว่นพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ตำหนักแพ มิไดเสด็จขึ้นพระบรมมหาราชวัง หรือเสด็จเคลื่อนพระองค์ไปจากที่ประทับนั้นเลย และไม่ปรากฏว่าตลอดเวลาทั้งคืนจะเสด็จเข้าที่บรรทม แม้แต่เอนพระวรกาย สักนิดเดียว
การสรงน้ำพระศพได้เรียบร้อยทุกคนถ้วนหน้า เมื่อเวลาใกล้สองโมงเช้า ก็ได้มีพระราชพิธีอัญเชิญพระยรมศพลงพระโกศ ตลอดจนกำหนดเวลาที่จะอัญเชิญพระโกศ ขึ้นจากเรือพระที่นั่งเวสาตรี สู่พระบรมมหาราชวัง
วันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๒๓ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ขบวนแห่พระโกศสองพระโกศ ได้เคลื่อนขบวนจากเรือพระที่นั่งเวสาตรีอย่างช้า ๆ ขบวนแห่ได้ตั้งขบวนยาวเหยียด ที่ท่าฉนวนตำหนักแพ ตรงเข้าไปประตูศรีสุนทรและตรงไปยังหอธรรมสังเวช ซึ่งได้จัดเตรียมขึ้นอย่างกระทันหัน พระโกศของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ นั้น พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณกับพระองค์เจ้าไชยันต์มงคล ทรงประคอง ส่วนพระโกศของพระราชธิดานั้นหม่อมเจ้ากรรเจียกกับหม่อมเจ้าเล็ก ในกรมหมื่นมเหศวรเป็นผู้ประคอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนินตามพระโกศ จนกระทั่งเมื่ออัญเชิญพระโกศไปประดิษฐานที่หอธรรมสังเวช ตั้งแว่นฟ้า ๓ ชั้น ประกอบพระเกศ ทรงประกอบทองน้อย ประดับเฟื่องดอกไม้แก่พระโกศของสมเด็จพระนางเจ้าฯ และทรงประกอบทองมณฑปเล็กของพระราชธิดา ตลอดจนตั้งเครื่องสูง ชุมเครื่อง ๕ และชุมสายนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ประทับทอดพระเนตรอยู่ตลอดเวลาที่ประกอบพระโกศ
ในขณะนั้นทรงมีพระราชประสงค์ให้นำเอาพระแท่นประสูติของพระราชธิ ดาซึ่งสิ้นพระชนม์มาตั้งประกอบด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยานรรัตน์ไปยกแท่นประสูติและเมื่อมาทอดพระเนตรใกล้ ๆ แล้ว ก็ยิ่งทรงไม่สบายพระราชหฤทัย เป็นอันมาก ทรงสังเวชและสลดพระราชหฤทัยเมื่อทรงรำลึกถึงความหลัง พระอาการได้แสดงออกมาอย่างเปิดเผย แต่เพื่อที่จะคลายความวิปโยค อันกัดกินอยู่ในพระราชหฤทัยอย่างมิรู้เหือดหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงมีกระแสรับสั่งให้ นิมนต์พระสงฆ์สมณศักดิ์ ๖๐ องค์มาสวดอภิธรรม เสร็จแล้วทรงสดัปกรณ์ พระภูษาโยง ๒ องค์ ผ้าไตร ๖๐ ผ้าขาวนับพับ ๖๐ เมื่อเสร็จพระราชพิธีนั้นแล้ว จึงค่อยคลายพระราชหฤทัย พระอาการค่อย ๆ ทรงผ่องแผ้วขึ้น เสด็จขึ้นจากที่นั้น เมื่อเวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา แต่ก็หาได้เสด็จเข้าที่ประทับในพระที่อย่างที่เคยไม่ แต่ได้เสด็จประทับในห้องเขียว และเนื่องจากทรงตรากตรำพระวรกายมาตลอดวันตลอดคืน ประกอบกับเสียพระทัยอย่างใหญ่หลวง ในการสูญเสียพระปิยมเหสี และพระราชธิดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระประชวรเล็กน้อย พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ , พระยานรรัตน์ , หลวงราโช , พระนายไวย , นายเล่ห์อาวุธ ได้เข้าประจำอยู่ในพระที่นั่งตลอดเวลาที่ทรงบรรทมอยู่ แต่ก็มิได้ปรากฏว่าทรงพระบรรทมหลับ ทรงรำพึงถึงความชำรุดทรุดโทรมของหอธรรมสังเวช ซึ่งต้องใช้เป็นสถานที่ตั้งพระโกศ เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ จึงได้รับสั่งให้ซ่อมแซมหอธรรมสังเวชขึ้นโดยรีบด่วน ในการซ่อมแซมนี้ให้สมเด็จกรมหลวงวรศักดาพิศาล กับสมเด็จพระองค์น้อยเป็นแม่กองตกแต่งให้สวยงาม มั่นคงแข็งแรง และโปรดเกล้าฯ ให้เอาฉากญี่ปุ่นของพระองค์เจ้าเทวัญอุทัยวงศ์มากั้นพระศพเสีย
เวลาบ่ายทรงมีพระบรมราชโองการให้ไว้ทุกข์ เจ้านายทั่วไปให้ทรงดำ ส่วนข้าราชการนั้นให้พันแขนทุกข์ดำ ต่อจากนั้นพระองค์เจ้ามนุษย์นาค และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ กับพระราชาคณะรวมด้วยกัน ๗ รูป มาเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพระที่นั่งทรงมีพระราชปฏิสันฐานตามควรด้วยพระราชอัธยาศัย และหลังจากนั้นพระอาการที่เศร้าโศกก็ค่อยทุเลาดีขึ้น และได้ทรงพักผ่อนจนกระทั่งยามค่ำจึงเสด็จพระราชดำเนินออกมายังห อธรรมสังเวชอีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้ทรงสำรวจตรวจตราสถานที่เพื่อควาทเรียบร้อยด้วยพระองค์เ องแล้ว ก็ยังทรงเห้นว่า ควรจะทำอาสนสงฆ์เสริมให้เต็มส่นที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งธรรมมาสน์พระแท่นสวดบนนั้น และในวันเดียวกันนั้นเอง ก็ทรงได้รับหนังสือจากกงสุลอังกฤษ ถามข่าวสมเด็จพระนางเจ้าฯ สวรรคตด้วยอุปัทวเหตุ เนื่องด้วยมีข่าวแพร่หลายออกไปทั้วกรุงเทพฯ
บัดนี้ข่าวได้ลือกระฉ่อนไปทั่วกรุงเทพมหานครแล้ว ว่าสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และพระราชธิดาได้สิ้นพระชนม์เสียแล้ว ด้วยเรือพระที่นั่งล่มกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ทีแรกประชาชนที่ได้รับข่าว นั้นไม่เชื่อว่าเป็นความจริงเพราะเหตุว่าได้รับข่าวว่าสมเด็จพร ะนางเจ้าฯ ได้เสด็จประพาสพระราชวังบางประอินเมื่อก่อนหน้าเพียงวันเดียว แต่เหตุใดอุปัทวเหตุอันร้ายแรงจึงจำเพาะเจาะจงต่อพระองค์และพระ ราชธิดาอย่างโหดร้ายเช่นนนั้น แต่ต่อมาก็ปรากฏว่าเป็นความจริงทุกประการ ความเล่าลือในพระราชจริยาวัตรของสมเด็จพระนางเจ้าฯ นั้น ประกอบด้วยความอ่อนหวานน่ารัก ทั้งพระมารดาและพระราชธิดา กับทั้งยังปราชญ์เปรื่องรอบรู้ในอักษรภาษาไทยอย่างยากยิ่ง ที่กุลสตรีใดจะเสมือน จึงทำให้เหล่าพศกนิกรเศร้าโศกกันทั้งแผ่นดิน
รุ่งเช้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตื่นจากยรรทมแล้วก็เสด็จออกมายังหอธรรมสังเวชทันที เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ทรงเสด็จมาเลี้ยงพระสงฆ์สมณศักดิ์ที่สวดอภิธรรม ๘ รูป เมื่อเสร็จพระราชพิธีแล้ว มีพระบรมราชโองการดปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการเข้าเฝ้ารับสั่ง ให้จัดดำเนินการ หล่อพระนาคปรกประจำวัน ซึ่งเป้นพระประจำพระองค์ ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และพระปางห้ามสมุทร อันเป็นพระประจำวันของ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ ด้วยทองคำ กับรับสั่งให้หล่อฉลองพระองค์เท่าขนาดของจริงทั้งสองพระองค์พร้ อมกันอีกด้วย และยังพระราชทานทองสายรัดพระองค์ให้เอาไปหล่อพระเสีย เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่พระมเหสีและพระราชธิดา ในคราวเดียวกัน
ทรงรับสั่งในเรื่องเกี่ยวกับพระราชกุศล ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็เสด็จขึ้นในตอนกลางวันนั้นเอง ทรงกลัดกลุ้มครุ่นแต่รำลึกถึงพระมเหสีและพระราชธิดาอยู่ตลอดเวล า จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นพิชิตปรีชากร เข้าเฝ้าอ่านหนังสือถวาย ด้วยว่ากรมหมื่นพิชิตปรีชากร พระองค์นี้ เป็นพระอนุชาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดในทางที่สบพระราชอัธยาศัยอยู่เนือง ๆ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ทรงยังเวียนคิดถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ จึงมีรับสั่งให้ กรมหมื่นนเรศวรฯ เข้าเฝ้าอีกพระองค์หนึ่ง ทั้งนี้เพื่อจะทรงหารือเรื่องทำโกศบรรจุพระอัฐิ ให้แก่พระมเหสีและพระราชธิดาเป็นพิเศษ กล่าวคือ จะสร้างโกศแล้วเอาธำรงค์ประดับรอบ ๆ โกศเป็นดอกไม้ ส่วนเครื่องประกอบ ก็ทรงคิดว่าจะหาเครื่องประกอบอื่น ๆ อันวิจิตรให้สวยงามยิ่ง จึงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระยารัตนโกษาที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ในขณะนั้น ขอให้พระยารัตนโกษจัดเครื่องประดับโกศ สำหรับบรรจุพระอัฐฺตามรายการที่พระองค์ท่านส่งบัญชีแนบไปให้ และขอให้ส่งมาโดยเร็วเพื่อจะให้ทันการ และขณะนั้นทรงพระราชดำริว่า พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ได้รับทราบ ถึงความทุกข์ของพระองค์ว่าในปัจจุบันนี้มีมากน้อยเพียงใด
ความทุกข์ของเจ้ามหาชีวิตในขณะนั้น แม้จะสาหัสเพียงใดก็ตาม เมื่อกาลล่วงไปพระองค์ยังมิได้ทรงทราบความจริง แม้จะทรงระงับด้วยวิธีใดก็หาหายไม่ และความเกรงพระทัยต่อบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งทุกพระองค์ทรงมีงานล้นมือเกี่ยวกับการจัดพระราชพิธีพระศพขอ งพระปิยมเหสี และพระราชธิดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงมิได้มีรับสั่งให้ชำระคดีที่เกิดขึ้นแต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านไ ปถึง ๓ วันทรงเห็นว่าเวลาได้เนิ่นนานพอควรที่จะหามูลเหตุที่เกิดขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ไปทูลสมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ สมเด็จกรมหลวงวรศักดาพิศาล สมเด็จพระองค์น้อย ขอให้ ๓ พระองค์ได้เมตตาพระองค์ ชำระความตามเหตุที่เกิดขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงยากทราบโดยด่วน และทรงมีรับสั่งไปด้วยว่า
" กาลข้างหน้ายังมีที่ไปอีกมาก หาผู้ที่จะฝากชีวิตกับผู้ใดได้ไม่ จะขอฝากกับท่านทั้ง ๓ แล้วแต่ท่านจะเมตตา "
กระแสพระราชดำรัสครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงทุกข์ระทมชอกช้ำมาก
วันที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๒๓ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออกจากหอธรรมสังเวช เลี้ยงพระ ๕ โมงเช้าเสร็จแล้วจึงได้เสด็จขึ้น และตอนกลางวันนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้รับสั่งตามหลวงราโช ซึ่งตามเสด็จไปในขณะที่เรือพระประเทียบล่ม และเป็นผู้หนึ่งที่ได้เห็นเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะสอบถามความจริงอันเกี่ยวกับยามหามนตรีที่ได้ตอบพระรา ชกระทู้ไว้ ขณะที่หลวงราโชกำลังกราบถวายบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวฯ นั้น ปรากฏว่าหลวงนายสิทธิ์ ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่ตามเสด็จในขบวนเรือพระนางเจ้าฯด้วย และในขณะนั้นกำลังอยู่ในงานถวายพัดได้สอดกราบถวายบังคมทูลขึ้นม าทันควัน เป็นการสอดเรื่องแก้แทนพระยามหามนตรี โดยอ้างว่าพระยามหามนตรีนั้นไม่ใช่ผู้ผิดในเรื่องที่เกิดขึ้น หากแต่เกิดจากความประมาทของนายท้ายเรือมากกว่า ด้วยเหตุว่าขณะนั้นนายท้านอิน ซึ่งเป็นคนถือท้ายเรือปานมารุตเมาสุรา จึงปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาด และด้วยความคึกคะนอง จึงเป็นเหตุให้เรือพระที่นี่งล่ม หาใช่ความผิดของพระยามหามนตรีไม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ฟังหลวงนายสิทธิ์ ทูลสอดขึ้นมาโดยมิได้มีรับสั่งให้ทูล ก็ทรงพิโรธขึ้นมาทันที
หลวงนายสิทธิ์ทูลสอดขึ้นมาในเวลาที่ไม่ได้รับสั่งถามประการหนึ่ ง กับอีกประการหนึ่งคือหลวงนายสิทธิ์มีเจตนาจะเข้าด้วยพระยามหามน ตรี ซึ่งเป็นคนผิด เพราะได้สารภาพความผิดต่อพระองค์แล้ว และเนื่องด้วยหลวงนายสิทธิ์ผู้นี้เคยมีเหตุในพระราชสำนักมาแล้ว แต่ความผิดนั้นยังจับไม่ได้ถนัด ความผิดดังกล่าวคือเหตุลักพาข้าหลวงของสมเด็จพระนางเจ้าฯ มาก่อน เมื่อยังไม่สำนึกในความผิดและพระมหากรุณาธิคุณที่เคยมีมา ซ้ำยังบังอาจทูลสอดโดยไม่เกรงพระบารมีเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไล่หลวงนายสิทธิ์ออกไปจากหน้าพระที่นั่ง และถอดออกจากราชการเดี๋ยวนั้นทันที และทรงโปรดเกล้าฯ ตามหลังถอดยศบรรดาศักดิ์หลวงนายสิทธิ์ออกเสียด้วย และทรงสั่งสัญญาบัตรแต่งตั้งนายจ่ายงเป็นหลวงนายสิทธิ์อาวุธ เป็นนายจ่ายงในวันนั้น เมื่อทรงหายกริ้วแล้ว ทรงรับสั่งถามเรื่องราวจากหลวงราโชต่อไปอีกตามสมควร
ในวันเดียวกันนั้นได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เบิกตัว "ไอ้เถอะ" เข้ามาเฝ้า ไอ้เถอะคนนี้เอง ซึ่งเป็นข้าช่วงใช้ของพระองค์เจ้าเทวัญอุทัยวงศ์ เป็นประดาน้ำที่มีความจงรักภักดีและมีความสามารถเป็นพิเศษ เพราะเป็นผู้ที่ดำลงไปความหาพระศพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ าหญิงฯ ขึ้นมาได้ เพราะขณะที่เรือพระประเทียบปานมารุต ล่มนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงได้หลุดจากพระกรของสมเด็จพระนางเจ้าฯ จมน้ำหายไป พระยามหามนตรีเป้นผู้กราบบังคมทูลที่เอาความดีความชอบในกรณีนี้ ที่อ้างว่าตนเองเป็นผู้งมพระศพของเจ้าฟ้าหญิงฯ ได้ แต่ประจักษ์พยานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นั้น ไอ้เถอะนั้นเป็นผู้ที่เจอพระศพเจ้าฟ้าหญิงฯ และอันเชิญพระศพเจ้าฟ้าหญิงขึ้นมาจากใต้ท้องน้ำเจ้าพระยา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงมีความโสมนัส มีพระกระแสรับสั่งชมเชยไอ้เถอะเป็นอันมาก ตลอดจนความภักดีและความกล้าหาญ กล้าตัดสินใจในกรณีที่ควรและไม่ควรดีกว่าพระยามหามนตรี ซึ่งมีตำแหน่งสูงถึงเป็นสมุหราชองครักษ์ จึงพระราชทานเงินแก่ไอ้เถอะ เป็นความชอบ ๑๐ ชั่ง ส่วนความชอบไม่ปรากฏ เพราะไอ้เถอะนั้นเป็นข้าส่วนพระองค์ของพระองค์เจ้าเทวัญอุทัยวงศ์ หาได้เป็นข้าราชการหรือข้าราชสำนักอย่างคนอื่นไม่ ส่วนหลวงราโช กับข้าหลวงทั้งหลายที่ตามเสด็จ และได้มีส่วนในการรับเคราะห์กรรม กับสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และพระเจ้าลูกยาเธอฯ ยังเคราะห์ดีที่ได้รับการช่วยเหลือทันท่วงทีไม่ถึงแก่ชีวิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินรางวัลให้ทั่วถึงกัน
นับตั้งแต่พระราชทานรางวัลแก่ไอ้เถอะ และบุคลลอื่น ๆ แล้ว ก็ทรงมิได้ทรงเอาผิดกับผู้หนึ่งผู้ใดเกี่ยวกับอุปัทวเหตุเรือพร ะประเทียบล่มนี้ นับตั้งแต่ได้ชำระเอาตัวผู้ควรแก่ความผิดเป็นโทษไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ได้ทรงตั้งพระทัยบำเพ็ญพระราชกุศลให้แก่พระมเหสีและพระราชธิด า แม้จะมิได้คลายความโศกเศร้า แต่ก็ยังคงถือเป็นกิจวัตรของพระองค์ในการที่จะเสด็จไปเยี่ยมพระ ศพ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระโกศ ตลอดเวลาที่พระโกศ ประดิษฐานอยู่ ณ หอธรรมสังเวชเป็นเวลา ๙ เดือนเศษ
ในตอนเช้าพระองค์เสด็จออกมาที่หอธรรมสังเวช ทรงสดับสมณศักดิ์ และฐานาเปรียนทั้งหลาย ถวายกัณฑ์เทศน์ ทั้งนี้นอกจากจะเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลให้แก่สมเด็จพระนางเจ้าฯและพระราชธิดาแล้ว ยังทรงถือเป็นเครื่องดับทุกข์อันแสนสาหัสอันเกิดจากความโศกเศร้า ให้บรรเทาเบาบางลงได้บ้าง แม้ว่าพระองค์จะเป็นผู้ทรงรู้ว่า เป็นการยากเหลือเกินที่จะลืมๆความทุกข์โศกในเวลาอันรวดเร็ว การบำเพ็ญพระราชกุศลทุกวันๆ ทำให้ทรงเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเป็นอันมาก ยิ่งในวันที่มีการชำระคดีเรือพระประเทียบล่มด้วยแล้ว ปรากฏว่าตลอดวันคืนมิได้ทรงรับการพักผ่อนเลย เมื่อทรงเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าขึ้นมาเมื่อใด ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตามนายแพทย์หลวงมาถวายนวดบนพระที่นั่งทรงธรรมนั่นเอง
กาลเวลาที่ผ่านพ้นมา นับแต่วันเกิดเหตุมหาวิปโยค นับแต่เวลาจากนั้นเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน ตลอดเวลาที่พระโกศทั้งสองพระองค์ประดิษฐานอยู่ ณ หอธรรมสังเวช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกและทรงเป็นพระธุระในราชการของพระศพอย่างใกล้ชิด ด้วยพระองค์เอง มิได้ทรงพักผ่อน แม้จะมีพระราชภาระ ทงการบ้านเมืองมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในด้านการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายต่อพระมเหสีและพระราชธิด าแล้ว ได้เสด็จออกประทับอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๒๓ เป็นต้นมากระทั่งถึงวันที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๒๔ ถ้าจะคิดเป็นเวลากันแล้วก็เป็นเวลา ๙ เดือนเศษ และตลอดเวลา ๙ เดือนเศษ นั้น ทุกวัน ๆ จะเสด็จพระราชดำเนินมาบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยพระองค์เองเป็นประจำ บางวันเสด็จออกถึงสองสามเวลา นอกจากพระราชกรณียกิจในการบำเพ็ญพระราชกุศลแล้ว บางเวลาเสด็จออกมาเยี่ยมพระโกศเป็นส่วนพระองค์อย่างเงียบ ๆ ความรักความอาลัยที่เคยมีต่อสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ นั้นมีอยู่อย่างมิเปลี่ยนแปลง บางคราวทรงรำพึงกับผู้ใกล้ชิดพระยุคลบาทว่า " ทรงรู้สึกว้าเหว่เหลือเกิน "
ในขณะเดียวกันก็ได้มีพระบรมราชโองการให้นายช่างสร้างพระเมรุมาศ ขึ้น เพื่อที่จะได้ถวายพระเพลิงพระศพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ และพระราชธิดา พระเมรุมาศนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกลางพระนคร คือที่ทุ่งพระเมรุมาศ ได้โปรดเกล้าให้ออกแบบเช่นเดียวกับพระเมรุมาศถวายพระเพลิง พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ และรับสั่งให้จัดงานพระศพครั้งนี้ให้เป็นที่สนุกสนานรื่นเริง โปรดเกล้าฯ ใหประชาชานได้ขึ้นถวายพระเพลิงพระปิยมเหสีด้วย เพราะสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ นั้น ปรากฏว่าพระองค์เป็นที่รักใคร่ของประชาชนอยู่เป็นอันมาก การควบคุมการก่อสร้างพระเมรุมาศนั้น แม้จะได้ทรงมอบหมายราชการน้อยใหญ่ไปปฏิบัติไปแล้วก็ตาม แต่ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงปลีกเวลาไปทอดพระเนตรด้วยพระองค์เองอยู่เนือง ๆ
นอกจากนั้น เพื่อที่จะฉลองพระบรมราชศัทธาให้ปรากฏแก่แผ่นดินไทย ในฐานะที่ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านพระพุทธศาสนา และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชประสงค์จะทรงสร้างหนังสือสวดมนต์รวมพระสูตร และพระปริตต่าง ๆ ลงพิมพ์ผูกเป็นเล่ม เพื่อพระราชทานแด่พระสงฆ์ไปทุกอาราม เพื่อเป็นพระราชกุศลในวันถวายพระเพลิงพระศพ
ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสอาราธนาสมเด็จพระพุทธโฆษาจาร์ญาฯ อดุลย์ สุนทร นายก สถิตย ณ วัดราชประดิษฐมหาสีมารามวรวิหาร พระอารามหลวง ให้จัดรวบรวมพระสูตรและพระปริตต่าง ๆ ที่ได้จัดพิมพ์ไว้บ้างแล้ว และจัดพิมพ์เพิ่มเติมขึ้นใหม่บ้าง ให้เพียงพอสำเร็จประโยชน์ มนการที่พระภิกษุสงฆ์สามเณร ท่องสวดทั้งคณะธรรมยุตินิกาย และมหานิกายทั่วไป และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมขุนบดินทร์ไพศาลโสภณ เป็นแม่กลองลงพิมพ์อักษรไทยแทนขอมใช้ตามมคธภาษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิ์ปวัติ เป็นผู้ตรวจสอบให้ถูกถ้วนบริบูรณ์ ได้ตีพิมพ์ ณ โรงพิมพ์หลวง ในพระบรมมหาราชวัง จำนวน แสนฉบับ ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ได้ทำการพิมพ์มากมายถึงขนาดนั้น
เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ส่งไปแจกจ่ายให้ทั่วทุกอาราม ส่วนที่เหลือจากการนั้น ทรงโปนดเกล้าฯ พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และเจ้านายผู้ใหญ่ผู้น้อย ตลอดจนข้าราชการทั้งปวง ในวันถวายพระเพลิงพระศพของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์แ ละพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ เพื่อเป็นพระราชกุศล
นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำของชำร่วยสำหรับพระราชทานแจกแก่บรรดาเจ้านายและขุนนางข้าร าชกาล เช่น ตลับเงินใส่ยานัตถุ์ สลักข้อความ " งานพระเมรุ สกร. " เชิงเทียนทำด้วยแก้วใสมีโป๊ะไฟครอบตัวโป๊ะ สลัก " งานพระเมรุ สกร. " เช่นกันนอกจากนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำตาลปัตรพระลงนามาภิไธยย่อ " สกร. " เป็นเครื่องสังเค็ดด้วย และที่สำคัญทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งทำโคมไฟระย้า สลักข้อความ " งานพระเมรุ สกร. " แขวนบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
หนังสือพระสูตร และพระปริตต่าง ๆ ที่พิมพ์แจกในงานพระศพคราวนี้ นับเป็นหนังสือที่พิมพ์แจกเป็นครั้งแรก และเป็นธรรมเนียมประเพณีของการแจกหนังสือต่าง ๆ ในงานศพของประชาชนชาวไทย ธรรมเนียมประเพณีนี้ยังใช้กันมาถึงปัจจุบัน
เมื่อพระเมรุมาศได้สำเร็จเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงกำหนดเวลาที่จะพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนางเจ้าฯ และพระราชธิดา ทรงกำหนดวันที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๒๔ ซึ่งตรงกับ วันพุธ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง ในวันนั้นเมื่อได้เคลื่อนพระศพ พนักงานเชิญพระศพออกถวายการชำระพระศพแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นทอดผ้าไตรบนปากพระโกศ พระสงฆ์สดัปกรณ์ แล้วจึงอัญเชิญพระโกศขึ้นประดิษฐานบนพระจิตกาธาร เวลา ๕ โมงเย็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นพระราชทานเพระเพลิง และต่อจากนั้นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ มีพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งฝ่ายหน้า ฝ่ายใน ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คณะทูตานุทูตตามลำดับ จนกระทั่งสุดท้ายคือประชาชน ซึ่งได้มาร่วมกันถวายพระเพลิงพระศพ เป็นจำนวนมาก นอกจากจะแสดงความจงรักภักดีอย่างใกล้ยิ่งกว่าที่เคยมีแล้ว ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่เศร้าสลดในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางคนถึงกับร้องไห้สอึกสอื้นด้วยความจงรักภักดีและอาลัยต่อสมเด ็จพระนางเจ้าฯ และเมื่อมีเสียงร้องไห้เกรียวกราวขึ้น ขณะที่พระเพลิงกำลังไหม้พระศพ เสียงได้ดังไปถึงพระกรรณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ยิ่งทำให้พระองค์ทรงเกิดความเศร้าสลดทับถมขึ้นอีก ทรงเบือนพระพักตร์ ในจดหมายเหตุพระราชกรณียกิจรายวันที่ได้ทรงบันทึกไว้ในวันนั้น ได้บันทึกยืนยันเป็นใจความว่า " เสียงร่ำไห้ของประชาชนกึกก้องระงมไปทั้งนั้น " จนกระทั่งเพลิงไหม้เหลือแต่ควัน ประชาชนจึงทะยอยกันกลับ
ครั้นเมื่อได้พระราชทานเพลิงศพของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ยังหาได้คลายทุกข์ไม่ ทรงมีพระราชปรารภว่า " สมเด็จพระนางเจ้าฯอันเป็นมิ่งมเหสีที่มีความรัก และความจงรักภักดีต่อพระองค์เป็นที่สุด ไม่ว่าจะเสด็จไปไหน ณ ที่แห่งใด สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้ตามเสด็จไปร่วมทุกข์ร่วมสุข กับเรามาหลายครั้ง เมื่อก่อนจะตายจากกันนั้น ได้ติดตามไป ประพาสน้ำตกพลิ้วที่จันทบุรี ครั้งหนึ่ง ซึ่งน้องสุนันทาโปรดปรานพลิ้วนี้มาก " ในการเสด็จประพาส ตลอดจนความสนุกสนานเบิกบานพระทัยที่ได้รับร่วมกับพระองค์ มักจะมีอยู่เป็นนิตย์และก่อนที่จะสิ้นพระชนม์เพียงเล็กน้อย ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสน้ำตกพริ้ ว แขวงเมืองจันทบุรี สมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็ได้ทรงตามเสด็จด้วย และปรากฏว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้ทรงโปรดปรานน้ำตกพริ้วนี้มาก ถึงกับพอพระราชหฤทัยประทับที่นั่นนานและด้วยทรงพระเกษมสำราญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงมีพระราชดำริที่จะสร้างที่ระลึกไว้ที่นั่น และได้ตกลงพระราชหฤทัยสร้างพระเจดีย์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ขึ้น และเพื่อที่จะให้เจ้านายทุกพระองค์ที่เสด็จประพาสพร้อมกันนั้น ได้มีส่วนร่วมในการสร้างพระเจดีย์เป็นเครื่องระลึกในการเสด็จคร ั้งนั้น จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เรี่ยไรทรัพย์ในหมู่เจ้านายฝ่ายหน้า ฝ่ายใน ตลอดจนข้าราชบริพารทั้งหลายทั้งปวง ที่ได้ตามเสด็จไป ณ ที่นั่น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทรงได้บริจาคพระราชทรัพย์ ในการครั้งนี้ด้วย จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจันทบุรีเจ้าเมือง เป็นแม่กลองสร้างพระเจดีย์ด้วย " ศิลาแลง " ล้วนทั้งองค์ ใกล็กับบริเวณน้ำตกพริ้ว และได้พระราชทานนามว่า " อลงกรณ์เจดีย์ "
ครั้นเมื่อได้พระราชทานเพลิงพระศพของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรำลึกถึงว่า เมื่อสมัยที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ ยังทรงมีพระชนม์อยู่นั้น พระองค์พอพระทัยต่น้ำตกพริ้วนี้เป็นอันมาก ถึงกับทรงปรารภกับพระองค์ว่า " อยากเสด็จประพาสอีก " แต่เผอิญทรงถึงเคราะห์กรรมเสียก่อน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงระลึกถึงเรื่องนี้ จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง เป็นพระเจดีย์รูปปิรามิด เคียงข้างกับอลงกรณ์เจดีย์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกคำนึงถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมาร ีรัตน์ อนุสาวรีย์ปิรามิดนี้สร้างด้วยอิฐหน้าวัว เมื่อได้สร้างเสร็จแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานอัญเชิญพระอัฐิาว่นพนึ่งของของพระปิยมเหสีมาบรรจ ุไว้ในเจดีย์นี้ด้วย และทรงจารึกแสดงความอาลัยด้วยลายพระหัตถ์ โปรดเกล้าฯ ให้ช่างนำคำจารึกมาสลักไว้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริว่า "ทำเป็นรูปอื่นอาจไม่คงทนถาวร เพราะตั้งอยู่กลางป่าเขาลำเนาไพร อันไม่มีผู้ดูแล ฉะนั้น เมื่อปิรามิดของอียิปต์ยืนยงคงทนอยู่ได้ฉันใด ปิรามิดน้อยนี้ก็จะยืนยงคงทนอยู่เช่นกัน ณ ท่ามกลางป่าเขาและเสียงไหลรินของธารพลิ้ว"
ที่ระลึกถึงความรักแห่ง
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
พระบรมราชเทวี อัครมเหสี ซึ่งเสด็จทิวงคตแล้ว
ด้วยเธอได้มาถึงที่นี่ เมื่อ จุลศักราช ๑๒๓๖
โดยความยินดีชอบใจมาก อนุสาวรีย์นี้
สร้างขึ้นโดย จุฬาลงกรณ์ บรมราช
ผู้เป็นพระราชสามี
ข้อมูลอ้างอิง
- " พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ( พระนางเรือล่ม ) " คุณอดุลย์ บางลำภูการพิมพ์
- " สวนสุนันทาในอดีต " หนังสือในงานเฉลิมฉลองวันสถาปนาวิทยาลัยครูสวนสุนันทา ครบรอบ ๕๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๙
- " สวนสุนันทา ใต้ร่มพระบารมี ๗๐ ปี สวนสุนันทา " หนังสือบันทึกพระราชประวัติและความเป็นมาของมหาวิทยาลัยราชภัฎส วนสุนันทา
- " พระราชพิธีถวายพระเพลิงศพ_พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์.jpg (432 ? 288 pixel, file size: 11 KB, MIME type: image/jpeg) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- กองทัพเรือ " http://www.navy.mi.th/nrdo/Chakri/king9.htm "
- phatrsamon.blogspot.com