ชาวดัตช์เตรียมฉลอง “พระราชพิธีสืบสันตติวงศ์” ราชวงศ์ทั่วโลกเสด็จฯร่วมพิธี


สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ พร้อมด้วยมกุฎราชกุมาร วิลเลม-อเล็กซานเดอร์ และเจ้าหญิงแม็กซิมา เสด็จฯมายังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงอัมสเตอร์ดัม วานนี้(29) ในการพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแด่สมาชิกราชวงศ์ต่างประเทศที่เสด็จฯมาร่วมพระราชพิธีสืบสันตติวงศ์

เอเอฟพี - มกุฎราชกุมาร วิลเลม-อเล็กซานเดอร์ แห่งเนเธอร์แลนด์ จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งพระชนมายุน้อยที่สุดในภูมิภาคยุโรป หลังจากที่สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ จะทรงสละราชสมบัติแด่พระราชโอรสองค์โตในวันนี้(30) ขณะที่ชาวดัตช์ทั่วประเทศเตรียมงานเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ในโทนสีส้มซึ่งเป็นสีประจำชาติ เพื่อต้อนรับสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์แรกในรอบ 123 ปี
     
       ในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า มกุฎราชกุมาร วิลเลม อเล็กซานเดอร์ พระชันษา 46 ปี จะเสด็จฯขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ดัตช์พระองค์แรกตั้งแต่ปี 1890 เป็นต้นมา และจะทรงเป็น“คลื่นลูกใหม่” ในบรรดากษัตริย์ยุโรป ซึ่งโดยเฉลี่ยมีพระชนมายุเกิน 70 พรรษาขึ้นไปแล้วทั้งสิ้น
     
       กรุงอัมสเตอร์ดัมเตรียมรับผู้มาเยือนอย่างน้อย 800,000 คน ซึ่งจะเดินทางจากทุกสารทิศมาจับจองพื้นที่ริมถนนและแม่น้ำ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในวโรกาสสำคัญที่สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์จะทรงสละราชสมบัติ อันเป็นการปิดฉากรัชสมัยที่ยาวนานถึง 33 ปีของพระองค์ เพื่อให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ทรงสืบทอดตำแหน่งประมุขของชาติต่อไป
     
       สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์จะทรงลงพระนามสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการในเวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (17.00 น. ตามเวลาในไทย) ซึ่งนับแต่นาทีนั้น องค์มกุฎราชกุมารและเจ้าหญิงแม็กซิมา พระชายา ก็จะทรงมีสถานะเป็นกษัตริย์และราชินีพระองค์ใหม่แห่งเนเธอร์แลนด์
     
       ทั้งสามพระองค์จะเสด็จฯออก ณ ระเบียงมุขพระราชวังหลวงในกรุงอัมสเตอร์ดัม เพื่อทรงทักทายพสกนิกรที่มารอเฝ้าฯ ที่ จตุรัส แดม สแควร์
     
       เจ้าชายวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ จะทรงประกอบพิธีสาบานตนแทนการสวมมงกุฎ ณ มหาวิหาร Nieuwe Kerk ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังหลวง โดยมีบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาร่วมเป็นสักขีพยาน
     
       นอกจากพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์ออเรนจ์แล้ว ยังมีสมาชิกราชวงศ์ทั่วโลกอีกราว 20 พระองค์ที่เสด็จฯมาร่วมในพระราชพิธีสืบสันตติวงศ์ในวันนี้ อาทิ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส มกุฏราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร และดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์, เจ้าชายฟิลิเปแห่งสเปน, เจ้าชายโฮกุ้น มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ และเจ้าหญิงเมตเต-มาริต พระชายา รวมถึงเจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฏราชกุมารแห่งญี่ปุ่น และเจ้าหญิงมาซาโกะ พระชายา ซึ่งเสด็จฯเยือนต่างประเทศเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 7 ปี
     
       ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงร่วมพระราชพิธีสืบสันตติวงศ์ ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม
     
       ตามธรรมเนียมปฏิบัติในพระราชพิธีสืบสันตติวงศ์ของเนเธอร์แลนด์ จะมีการทูลเชิญเฉพาะเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงจากต่างแดนที่ยังไม่เสด็จฯขึ้นครองราชย์เข้าร่วมในพิธี
     
       พสกนิกรชาวดัตช์จะพร้อมใจกันเปล่งเสียงร้องเพลง Koningslied ซึ่งเป็นเพลงสดุดีพระเกียรติคุณของกษัตริย์ ก่อนที่ว่าที่สมเด็จพระราชาธิบดีพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ จะประทับเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่อ่าวไอย์ (IJ) ในช่วงเย็นวันนี้(30)
     
       มกุฎราชกุมารแห่งเนเธอร์แลนด์ พระราชทานสัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนว่า ทรงมีพระประสงค์แรงกล้าที่จะสืบทอดสถาบันกษัตริย์ดัตช์ซึ่งยืนยงมานานถึง 200 ปีแล้ว แต่ขณะเดียวกันก็จะทรงเป็นกษัตริย์ในศตวรรษที่ 21 ที่ประชาชนสามารถ “เข้าถึงได้”
     
       “ประการแรก ข้าพเจ้าจะเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี จะสืบทอดธรรมเนียมของบูรพกษัตริย์ซึ่งทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่อง และเสถียรภาพของชาติ”
     
       “ประชาชนจะเรียกข้าพเจ้าเช่นใดก็สุดแล้วแต่ เพราะนั่นจะทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจมากกว่า”
     
       เจ้าชายทรงเน้นด้วยว่า กษัตริย์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของปวงชน และทรงพร้อมที่จะรับบทบาทใดๆก็ตามที่รัฐสภามอบหมาย ทรงตั้งพระทัยที่จะเป็น “กษัตริย์ผู้หลอมรวมสังคมให้เป็นหนึ่ง โดยเป็นตัวแทนและเป็นแรงบันดาลใจแก่สังคมในศตวรรษที่ 21”

 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
 เจ้าชาย อัล-มุห์ตาดี บิลลาห์ โบลเกียห์ มกุฎราชกุมารแห่งบรูไน และเจ้าหญิงซาราห์ พระชายา

 เจ้าฟ้าชายชาร์ลสแห่งสหราชอาณาจักร และ คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์



แหล่งข้อมูล ผู้จัดการออนไลน์

พุทธศาสนสุภาษิต


คำสอนในพระพุทธศาสนามีองค์ 9 ประการ ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และ เวทัลละ พุทธศาสนสุภาษิต ได้มาจากเนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในคำสอนดังกล่าว ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเนื้อความสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้ผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักธรรมประจำใจ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติในแนวทางที่ถูกที่ควร ตรงทางอันจะนำไปสู่ความสุขความเจริญงอกงามในชีวิตของตน และยังเป็นการเสริมสร้างสันติสุขในสังคมโลกอีกด้วย

พุทธศาสนสุภาษิตคือ สุภาษิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งมีคุณค่าสูงส่ง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เตือนใจ หาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย หรือ แม้แต่เตือน สติ ให้เรา หู ตา สว่าง เกิดปัญญาเข้าใจ ได้อุบายที่ดีในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหา และพ้นจากเครื่องเศร้าหมองได้

พุทธศาสนสุภาษิตเป็นที่นิยมของหมู่ชนทั้งหลาย ถึงแม้จะต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนาต่างก็มีสุภาษิตในหมู่ของตน คำสุภาษิตนั้นเป็นคำสั้นๆ จำได้ไม่ยากเย็นอีกทั้งไพเราะ และมีความหมาย ลึก กินใจ มีคุณค่า และประโยชน์ แก่ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ผู้ที่อยู่ในวัยเรียน วัยทำงาน วัยครองเรือน วัยสูงอายุ หากมีเวลา ให้แก่พระศาสนาบ้าง เพียงอ่านและท่องจำวันละบท ศึกษาให้เข้าใจ ทั้งนี้ก็เพื่อน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะบังเกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นโดยทั่วไป



พุทธศาสนสุภาษิต: หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป


  • ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
  • ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
  • สังขารที่ยั่งยืน ไม่มี
  • ภาวะของหญิง รู้ได้ยาก
  • พึงเพิ่มพูนความสละออกให้มากไว้
  • ศรี เป็นที่อาศัยแห่งโภคทรัพย์
  • ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง
  • ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่
  • เมตตา เป็นเครื่องค้ำจุนโลก
  • พึงศึกษาความสงบนั้นแล
  • ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
  • ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก
  • ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก
  • ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก
  • การได้ฟังธรรมจากสัตบุรุษ เป็นการยาก
  • วัยย่อมผ่านพ้นไปทุกขณะทีเดียว
  • มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
  • เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทิน
  • กำลังใจ พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย
  • ได้ยศแล้ว ไม่ควรเมา
  • ผู้อื่นพึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
  • โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
  • ความถึงพร้อมแห่งขณะ หาได้ยาก
  • สิ่งใดไม่ผิด พึงถือเอาสิ่งนั้น
  • เมื่อยังไม่ถึง ไม่ควรพูดอวด
  • ผู้เพ่งสันติ พึงละอามิสในโลกเสีย
  • ในเวลามีข้าวน้ำ ย่อมต้องการคนที่รัก
  • อำนาจ เป็นใหญ่ในโลก
  • ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
  • พรตของผู้บริสุทธิ์ มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ
  • ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
  • กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
  • ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่ม ผู้ทอดทิ้งการงาน
  • ท่านทั้งหลายจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
  • ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก
  • ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ มีเฉพาะตัว
  • สัตบุรุษ ไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา
  • สิ่งใดที่เข้าไปยึดถืออยู่จะพึงหาโทษมิได้ สิ่งนั้นไม่มีในโลก
  • สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมเป็นไปตามปัจจัย
  • ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่ ผู้มัวถือฤกษ์อยู่
  • พึงปรารถนาความไม่มีโรค ซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง
  • การเห็นพระพุทธเจ้าเนือง ๆ เป็นการหาได้ยาก
  • ในบรรดาที่ปรึกษา ย่อมต้องการคนไม่พูดพล่าม
  • หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
  • ต่อหน้าประพฤติเช่นใด ถึงลับหลังก็ให้ประพฤติเช่นนั้น
  • ความเป็นไปของคนไร้ศิลปะ ย่อมฝืดเคือง
  • ความริษยา เป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
  • ขณะเวลา อย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
  • ในเมื่อเรื่องราวเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต
  • ความเกียจคร้าน เป็นมลทินแห่งผิวพรรณ
  • สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ
  • สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย
  • ในเวลาคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า
  • ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
  • บรรดาทางทั้งหลาย ทางที่มีองค์ (มรรค) เป็นทางเกษมให้ถึงอมตธรรม
  • ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับจากทุกข์
  • โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้น
  • ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก
  • รูปโฉม พอลวงคนโง่ให้หลงได้ แต่ลวงคนแสวงหาพระนิพพานไม่ได้เลย
  • ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ
  • ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ
  • ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้เช่นใดเช่นหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
  • อัชฌาสัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณา เป็นลักษณะของมหาบุรุษ
  • สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
  • บุคคลไม่เพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก มีสติดำเนินอยู่อย่างนี้ วิญญาณย่อมดับ
  • พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมณพราหมณ์ และ ฝั่งทะเล ต่างก็มีกำลัง, แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง (เหล่านั้น)
  • ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้
  • กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
  • พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือเพื่อสตรี และ บุรุษผู้ทำตามคำสอน
  • ภิกษุรื่นรมย์ยินดีในธรรม ใคร่ครวญธรรม และระลึกถึงธรรมอยู่เนือง ๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม
  • ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ไม่พึงลุอำนาจของโลภะ พึงกำจัดใจที่ละโมภเสีย
  • โลกถูกมฤตยูกำจัด ถูกชราล้อมไว้ไม่มีผู้ต้านทาน ย่อมเดือนร้อยเป็นนิตย์ ดุจคนต้องโทษ ต้องทำตามอาชญาฉะนั้น
  • กามคุณ ในโลก มีใจเป็นที่ อันท่านชี้แจงไว้แล้ว, บุคคลคลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้
  • ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
  • ผู้ใด ต้องการสุขเพื่อตน ด้วยการก่อทุกข์แก่ผู้อื่น, ผู้นั้นชื่อว่าพัวพันไปด้วยเวร ย่อมไม่พ้นจากเวร
  • พึงศึกษาวิเวก ซึ่งเป็นคุณอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย, ไม่ถือตัวว่าเป็นผู้ประเสริฐเพราะวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่าปฏิบัติใกล้พระนิพพาน
  • สัตว์โลกหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และ ธรรมารมณ์นั้น ล้วนเป็นโลกามิสอันร้ายกาจ
  • คนรู้จักขนบธรรมเนียม ย่อมยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่ ในชาตินี้ก็มีผู้สรรเสริญ ชาติหน้าก็ไปดี
  • สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้, สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้, โภคะของสตรีหรือบุรุษ ที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอาไม่มีเลย
  • คนใด จักทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว คนนั้นจักถึงฝั่งที่สวัสดี เหมือนพ่อค้าถึงฝั่งที่สวัสดีเพราะม้าวลาหก
  • ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่, ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้
  • ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำความชั่วไม่มีในโลก, คนทั้งหลายเห็นเป็นป่า แต่คนเขลาสำคัญที่นั้นว่าเป็นที่ลับ
  • พระราชาดี ที่ทรงยินดีในธรรม, คนดี ที่มีปัญญา, เพื่อนดีที่ไม่ประทุษรายมิตร, สุข อยู่ที่ไม่ทำบาป
  • ควรระแวงภัยที่ควรระแวง พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ผู้ฉลาดย่อมมองดูโลกทั้ง เพราะกลัวต่ออนาคต
  • เมื่อพ้นเพราะรู้ชอบ สงบคงที่แล้ว ใจคอของเขาก็สงบ คำพูดและการกระทำก็สงบ
  • ผู้ใดไม่มีกามอยู่ ผู้ใดไม่มีตัณหา และผู้ใดข้ามความสงสัยได้, ผู้นั้นย่อมมีความพ้น ที่ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่นอีก
  • ผู้ใดผูกอาฆาตว่า เขาได้ด่าเรา เขาได้ฆ่าเรา เขาได้ชนะเรา เขาได้ลักของของเรา ดังนี้ เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ
  • คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ , ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย
  • ถ้าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติภพนี้เป็นทุกข์ สัตว์ก็ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก
  • ผู้เห็นความประมาทเป็นภัย และเห็นควมไม่ประมาทเป็นความปลอดภัยแล้ว พึงเจริญมรรคมีองค์ นี้เป็นพุทธาศาสนี
  • พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และพึงกล่าวแต่คำสัตย์อย่างนี้ ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
  • แม้มีปัญญารุ่งโรจน์อย่างไฟ เมื่ออยู่ในต่างประเทศ ก็ควรอดทนคำขู่เข็ญแม้ของทาส
  • ผู้สงบ เว้นบาป ฉลาดพูด ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมขจัดบาปธรรมเสียได้ เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น
  • คนทำกรรมใดด้วยทาน ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยความสำรวม และ ด้วยการฝึกตน ย่อมมีความสุข เพราะกรรมนั้นย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง
  • คนใดมักหลับ มักคุย และไม่ขยัน เกียจคร้าน มีความมุทะลุ ข้อนั้น เป็นเหตุของผู้ฉิบหาย
  • การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์ และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ เหตุนั้น จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก เพราะความพรากจากสิ่งที่รัก เป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย
  • ธงเป็นเครื่องปรากฎของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฎของไฟ พระราชาเป็นเครื่องปรากฎของแว้นแคว้น สามีเป็นเครื่องปรากฎของสตรี
  • ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่น ที่เขาทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ, ควรพิจารณาดู แต่การงาน ของตนที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำเท่านั้น
  • คนเขลา มีกำลัง หาทรัพย์อย่างผลุนผลัน ไม่ดี, นายนิรยบาล ย่อมฉุดคนโง่มีปัญญาทราม ผู้คร่ำครวญอยู่ ไปสู่นรกอันร้ายกาจ
  • เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เห็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร ผู้มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข
  • บุคคลไม่ความเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง, ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณย่อมผ่องใส
  • บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น, ปรารถนาสิ่งใด ดูหมิ่นสิ่งที่ได้แล้วนั้น, เพราะความต้องการไม่มีที่สุด, พวกเราจงทำความนอบน้อมผู้ปราศจากความต้องการเถิด
  • ในโลกนี้ พวกที่ชอบถือตัว ย่อมไม่มีการฝึกตน, คนมีใจไม่มั่นคง ย่อมไม่มีความรู้, ผู้ประมาทแม้อยู่ในป่าคนเดียว ก็ข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยูไม่ได้
  • ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น มุ่งความสงบ พึงละโลกามินเสีย

พุทธศาสนสุภาษิต: หมวดทุกข์-พ้นทุกข์



  • การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก่อให้เกิดทุกข์
  • การพบเห็นสิ่งที่ไม่รัก ทำให้เกิดทุกข์
  • สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
  • ความจน เป็นทุกข์ในโลก
  • ทุกเสมอด้วยขันธ์ ไม่มี
  • เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
  • คนไม่มีที่พึ่ง.. อยู่เป็นทุกข์
  • ผู้แพ้.. ย่อมอยู่เป็นทุกข์
  • การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
  • ทุกข์.. ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
  • นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง
  • ผู้ดื่มธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข
  • การสะสมบุญ นำสุขมาให้
  • เมื่อหมดกังวล ทุกข์ก็ไม่มี
  • ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข
  • ปฏิบัติชอบต่อมารดา เป็นความสุขในโลก
  • ปฏิบัติชอบต่อบิดา เป็นสุขเช่นกัน
  • การแสดงธรรม ทำให้เกิดสุข
  • ผู้ไม่มีอะไรให้กัลวล สุขจริงหนอ
  • ครองเรื่อนไม่ดี ก็เป็นทุกข์
  • ปฏิบัติชอบต่อสมณะ ย่อมเป็นสุข
  • ท่านผู้ไกลกิเลส ช่างสุขจริงหนอ
  • ศีลก่อให้เกิดสุขตราบเท่าชรา
  • ทุกข์ เท่านั้นเกิด
  • ศรัทธาที่มั่นคง ทำให้เกิดสุข
  • โลกตั้งอยู่บนฐานแห่งความทุกข์
  • คนมีตัณหาเป็นทุกข์บ่อยและนาน
  • ละทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นความสุข
  • เป็นคน พึงทำทุกข์ให้หมดไปได้
  • สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
  • การได้ปัญญา ทำให้เกิดสุข
  • การสะสมบาป เป็นทุกข์
  • การอยู่ร่วมกับคนไม่เสมอกันก็เป็นทุกข์
  • ไม่พบคนที่รักก็เป็นทุกข์
  • พอใจเท่าที่มี เป็นความสุข
  • ผู้ฉลาด พึงละทุกข์ในโลกนี้ให้ได้
  • การไม่เบียดเบียนกัน เป็นทุกข์ในโลก
  • คนโง่ ย่อมได้รักทุกข์บ่อย ๆ 
  • กามมีความคับแค้นเป็นราก มีทุกข์เป็นผล
  • ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้
  • สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี
  • บุญให้ความสุขเมื่อถึงคราวตาย
  • การไม่พบคนชั่วเลย มีความสุขทุกเมื่อ
  • ทุกข์ เสมอด้วยขันธ์ไม่มี
  • ผู้แพ้ ย่อมนอนเป็นทุกข์
  • พบคนไม่รัก ก็เป็นทุกข์
  • การไม่ทำชั่ว ทำให้เกิดสุข
  • ความทุกข์ เกิดขึ้นบ่อย ๆ 
  • การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
  • ความจนเป็นทุกข์ในโลก
  • กามทั้งหลายมีสุขน้อย ทุกข์มาก
  • การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดสุข
  • ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป
  • อยากได้สุข เมื่อปฏิบัติถูกทาง ก็ย่อมได้สุข
  • นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
  • นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด
  • ทุกข์เป็นภัยใหญ่หลวงของโลก

พุทธศาสนสุภาษิต: หมวดปัญญา



  • ผู้มีปัญญา พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา
  • ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบด้วยหลายประการ
  • ปัญญาเป็นรัตนะแห่งนรชน
  • ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา
  • ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจพิจารณา
  • คนเราจะมองเห็นอรรถชัดแจ้งได้ด้วยปัญญา
  • ผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนมาก
  • ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตัว
  • รู้จักฟัง ย่อมได้ปัญญา
  • พึงวิจัยเรื่องราวตลอดสายให้ถึงต้นตอ
  • ความสิ้นปัญญาย่อมเกิดเพราะความไม่ประกอบ
  • คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา
  • ปัญญา ย่อมเกิดเพราะใช้การ
  • ไม่พึงละเลยการใช้ปัญญา
  • ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด
  • คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา
  • ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ได้เล่าเรียน
  • ปัญญาแล ประเสริฐกว่าทรัพย์
  • ปัญญา เป็นดวงแก้วของคน
  • ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
  • คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ
  • ความพินิจ ไม่มีแก่คนไร้ปัญญา
  • คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐสูงสุด
  • คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
  • เมื่อขาดปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้
  • ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์
  • ปัญญาย่อมปกครองบุรุษนั้น
  • ผู้มีปัญญา รู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า
  • ปัญญาย่อมเจริญด้วยประการใด ควรตั้งตนไว้ด้วยประการนั้น
  • ราคะ โทสะ ความมัวเมา และ โมหะ เข้าที่ไหน ปัญญาย่อมเข้าไม่ถึงที่นั้น
  • ขาดตาปัญญาเสียแล้ว ก็เหมือนคนตาบอด เหยียบลงไปได้ แม้กระทั่งไฟที่ส่องทาง
  • คนมีปัญญา ถึงสิ้นทรัพย์ ก็ยังเป็นอยู่ได้
  • คนมีปัญญาประเสริฐกว่า คนโง่ถึงจะมียศก็หาประเสริฐไม่
  • คนที่อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาจะครอบงำเอาไว้ในอำนาจไม่ได้
  • ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญา ว่า ประเสริฐสุด
  • คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น
  • ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้, แต่อับปัญญา แม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้
  • ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้
  • ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
  • ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ฟังแล้ว ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติ และชื่อเสียง  คนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้ แม้ในความทุกข์ก็หาความสุขได้
  • บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ,  ผู้อิ่มด้วยปัญญานั้นย่อมไม่เดือนร้อนด้วยกาม, ตัณหาครอบงำ ผู้อิ่มด้วยปัญญาไว้ในอำนาจไม่ได้
  • คนผู้สดับน้อยนี้  ย่อมแก่ไป  เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ
  • คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ  เหมือนพระจันทร์ ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตามผู้มีปัญญา
  • ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล ประกอบความสงบใจนั่นแล
  • คนโง่ถึงมียศ ก็กลายเป็นทาสของคนมีปัญญา เมื่อมีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น บัณฑิตจัดการเรื่องใดอันเป็นเรื่องละเอียดก่อน คนโง่ย่อมถึงความหลงใหลในเรื่องนั้น
  • ในเวลาที่ควรลุกขึ้นทำงาน ไม่ลุกขึ้นทำ ทั้งที่ยังหนุ่มแน่น มีกำลัง กลับเฉื่อยชา ปล่อยความคิดให้จมปลัก เกียจคร้าน มัวซึมเซาอยู่ ย่อมไม่ประสบทางแห่งปัญญา
  • เมื่อน้ำใส กระจ่างแจ๋ว ย่อมมองเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และ ฝูงปลาได้ ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว ย่อมมองเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
  • คนโง่เขลามาประชุมกันแม้ตั้งกว่าพันคน พวกเขาไม่มีปญญา ถึงจะพร่ำคร่ำครวญอยู่ตลอดร้อยปี ก็หามีประโยชน์ไม่ คนมีปัญญารู้เนื้อความแห่งภาษิต คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า
  • สัตบุรุษสรรเสริญปัญญาแน่แท้  คนทั้งหลายชอบทรัพย์สมบัติ จึงใคร่ได้สิริ (ยศ) ก็ความรู้ของท่านผู้รู้ทั้งหลายชั่งไม่ได้ ทรัพย์จึงเกินกว่าปัญญาไปไม่ได้ ไม่ว่ากาลไหน ๆ 
  • คนเขลามียศศักดิ์ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา, เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น คนฉลาดจัดการข้อได้แนบเนียน คนเขลาถึงความงมงายในข้อนั้น
  • ผู้ขบคิดปัญหาอันลึกซึ้งด้วยใจ  ไม่ทำกรรมชั่วอันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเลย, ไม่ละทางแห่งประโยชน์ที่มาถึงตามเวลา, บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีปัญญา


คิดถึงหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ





















มรณานุสสติ โดยหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ

กสิณ



          กสิณ คือวิธีการปฏิบัติสมาธิแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา มีความหมายว่า เพ่งอารมณ์ เป็นสภาพหยาบ สำหรับให้ผู้ฝึกจับให้ติดตาติดใจ ให้จิตใจจับอยู่ในกสิณใดกสิณหนึ่งใน 10 อย่าง ให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว จิตจะได้อยู่นิ่งไม่ฟุ้งซ่าน มีสภาวะให้จิตจับง่ายมีการทรงฌานถึงฌาน 4 ได้ทั้งหมด กสิณทั้ง 10 เป็นพื้นฐานของอภิญญาสมาบัติ
การเพ่งกสิณนับว่าเป็นอุบายกรรมฐานกองต้นๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าด้วยการปฏิบัติสมาธิภาวนาเพื่ออบรมจิต (อันเป็นแนวทางแห่งการบรรลุสำเร็จมรรคผลนิพพาน หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ออกไปได้) ซึ่งอุบายกรรมฐานมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดสี่สิบกอง ภายใต้กรรมฐานทั้งสี่สิบกองนั้น จะประกอบไปด้วยกรรมฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการเพ่งกสิณอยู่ถึงสิบกองด้วยกัน
การเพ่งกสิณ คือ อาการที่เราเพ่ง (อารมณ์) ไม่ได้หมายถึงเพ่งมอง หรือจ้องมอง ไปยังวัตถุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาทิเช่น พระพุทธรูป เทียน สีต่างๆ หรือแม้กระทั่งอากาศ ฯลฯ แล้วเรียนรู้ รับรู้/บันทึก สภาพหรือคุณสมบัติเฉพาะ ของวัตถุ (ธาตุ) หรือสิ่งๆ นั้นไว้เช่น เนื้อ สี สภาพผิว ความหนาแน่น ความ เย็นในจิตจนกระทั่งเมื่อหลับตาลงจะปรากฏภาพนิมิต (นิมิตกสิณ) ของวัตถุหรือสิ่งๆ นั้นขึ้นมาให้เห็นในจิต หรือแม้กระทั่งยามลืมตาก็ยังสามารถมองเห็นภาพนิมิตกสิณดังกล่าวเป็นภาพติดตา
การเพ่งกสิณจัดเป็นอุบายวิธีในการทำสมาธิที่มีดีอยู่ในตัว กล่าวคือ การเพ่งกสิณเป็นเสมือนทางลัดที่จิตใช้ในการเข้าสู่สมาธิได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายกว่าการเลือกใช้อุบายกรรมฐานกองอื่นๆ มากมายนัก ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางในการปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยการใช้อุบายวิธีการเพ่งกสิณนั้น จิตจะยึดเอาภาพนิมิตกสิณที่เกิดขึ้นมาเป็นเครื่องรู้ของจิต แทนอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในจิต และเมื่อภาพนิมิตกสิณเริ่มรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต จิตก็จะรับเอาภาพนิมิตกสิณนั้นมาเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต
จากนั้นภาพนิมิตกสิณดังกล่าวจะค่อยๆ พัฒนาไปเองตามความละเอียดของจิต ซึ่งจะส่งผลให้เกิดมีความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับภาพนิมิตกสิณนั้น เริ่มตั้งแต่ความคมชัดในการมองเห็นภาพนิมิตกสิณที่ปรากฏขึ้นภายในจิต และสามารถมองเห็นภาพนิมิตกสิณนั้นได้อย่างชัดเจน ราวกับมองเห็นด้วยตาจริงๆ ไปจนกระทั่งการที่จิตสามารถบังคับภาพนิมิตกสิณนั้นให้เลื่อนเข้า-เลื่อนออก หรือหมุนไปทางซ้าย-ทางขวา หรือยืด-หดภาพนิมิตกสิณดังกล่าวได้ อันเป็นพลังจิตที่เกิดขึ้นจากการเพ่งนิมิตกสิณ
แต่ในที่สุดแล้วภาพนิมิตกสิณทั้งหลายก็จะมาถึงจุดแห่งความเป็นอนัตตา อันได้แก่ ความว่างและแสงสว่าง กล่าวคือ ภาพนิมิตทั้งหลายจะหมดไปจากจิต แม้กระทั่งอาการและสัญญาในดวงจิตก็จะจางหายไปด้วย จากนั้นจิตจึงเข้าสู่กระบวนการของสมาธิในขั้นฌานต่อไปตามลำดับ

กสิณทั้ง 10 อย่าง แบ่งออกเป็น 2 พวก

• พวกที่หนึ่ง คือ กสิณกลาง มี 6 อย่าง คนทุกจริตฝึกกสิณได้ทั้ง 6 เพราะเหมาะกับทุกอารมณ์ ทุกอุปนิสัยของคน
  1. ปฐวีกสิณ (ธาตุดิน/ของแข็ง ไม่ใช่เฉพาะดิน) จิตเพ่งดิน โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นดิน หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "ปฐวี" หายใจออกให้ภาวนาว่า "กสิณัง" เมื่อปฏิบัติอยู่ดังนี้ ก็จะข่มนิวรณ์ธรรมเสียได้โดยลำดับ กิเลศก็จะสงบระงับจากสันดาน สมาธิก็จะกล้าขึ้น จิตนั้นก็ชื่อว่าตั้งมั่น เป็นอุปจารสมาธิ เมื่อทำได้สำเร็จปฐมฌานแล้ว ก็พึงปฏิบัติในปฐมฌานนั้นให้ชำนาญคล่องแคล่วด้วยดีก่อนแล้วจึงเจริญทุติยฌานสืบต่อไปได้
  2. เตโชกสิณ (ธาตุไฟ ธาตุร้อน) จิตเพ่งไฟ คือการเพ่งเปลวไฟ โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นไฟ หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "เตโช" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
  3. วาโยกสิณ (ธาตุลม) จิตเพ่งอยู่กับลม นึกถึงภาพลม โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นลม หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "วาโย" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
  4. อากาสกสิณ (ช่องว่าง) จิตเพ่งอยู่กับอากาศ นึกถึงอากาศ คือการเพ่งช่องว่าง โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นช่องว่าง เวลาหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อากาศ" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"
  5. อาโลกสิณ (กสิณแสงสว่าง) จิตเพ่งอยู่กับแสงสว่าง นึกถึงแสงสว่าง วิธีเจริญอาโลกกสิณให้ผู้ปฏิบัติยึดโดยทำความรู้สึกถึงความสว่าง ไม่ใช่เพ่งที่สีของแสงนั้น เวลาหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อาโลก" หายใจออกให้ภาวนาว่า "กสิณัง"
  6. อาโปกสิณ (ธาตุน้ำ/ของเหลว) จิตนึกถึงน้ำเพ่งน้ำไว้ คือการเพ่งน้ำ โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นน้ำ หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อาโป" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง" ให้เลือกภาวนากสิณใดกสิณหนึ่งให้ได้ถึงฌาน 4 หรือฌาน 5 กสิณอื่นๆ ก็ทำได้ง่ายทั้งหมด
• พวกที่สองคือกสิณเฉพาะอุปนิสัยหรือเฉพาะจริตมี 4 อย่าง สำหรับคนโกรธง่าย คือพวกโทสจริต
  1. โลหิตกสิณ เพ่งกสิณ หรือนิมิตสีแดงจะเป็นดอกไม้แดง เลือดแดง หรือผ้าสีแดงก็ได้ทั้งนั้นจิตนึกภาพสีแดงแล้วภาวนาว่า โลหิต กสิณัง
  2. นีลกสิณ ตาดูสีเขียวใบไม้ หญ้า หรืออะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว แล้วหลับตาจิตนึกถึงภาพสีเขียว ภาวนาว่า นีล กสิณัง
  3. ปีตกสิณ จิตเพ่งของอะไรก็ได้ที่เป็นสีเหลือง ภาวนาว่า ปีต กสิณัง
  4. โอทากสิณ ตาเพ่งสีขาวอะไรก็ได้แล้วแต่สะดวก แล้วหลับตานึกถึงภาพสีขาว ภาวนาโอทา กสิณัง จนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่วอกแวกไม่รู้ลมหายใจภาพกสิณชัดเจน
ท่านว่าจิตเข้าถึงฌาน 4 พอถึงฌานที่ 5 ก็เป็นจิตเฉยมีอุเบกขาอยู่กับภาพกสิณต่างๆ ที่จิตจับเอาไว้

อานุภาพกสิณ 10

กสิณ 10 ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติใน กสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตตุถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณกองนั้นมีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน 4 แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่างๆ ตามแบบ กล่าวกันว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าฌานถึงกสิณ

อำนาจฤทธิ์ในกสิณในทางพุทธศาสนามีดังนี้

  • ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น เนรมิตคนๆ เดียวให้เป็นคนมากๆ ได้ ให้คนมากเป็นคนๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้ สามารถย่อแผ่นดินให้ใกล้กำลังการในเดินทาง
  • อาโปกสิณ สามารถเนรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่นอธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ขาดแคลนฝน ให้เกิดมีฝนอย่างนี้เป็นต้น
  • เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้เกิดแก่จักษุญาณ สามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในที่ทุกสถานได้ เมื่ออากาศหนาว สามารถทำให้เกิดความอบอุ่นได้
  • วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลมอธิษฐานให้มีลมได้
  • นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้
  • ปีตกสิณ สามารถเนรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้
  • โลหิตกสิณ สามารถเนรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์
  • โอทากสิณ สามารถเนรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐาน ที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักขุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ
  • อาโลกสิณ เนรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักขุญาณโดยตรง
  • อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นอับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่งมีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ความต้องการได้

วิธีอธิษฐานฤทธิ์


  • วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน 4 ก่อน
  • แล้วออกจากฌาน 4
  • แล้วอธิษฐานจิตในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น
  • แล้วกลับเข้าฌาน 4 อีก
  • ออกจากฌาน 4
  • แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา


  • แหล่งข้อมูล: 

    • อาจารย์บูรพา ผดุงไทย, กสิณไฟ, หจก. ส เจริญการพิมพ์, 2551
    • วิกิพีเดีย
    • youtube.com

    โรงหนังเมเจอร์แถลงขอโทษ เผยผู้จัดการสาวที่ทะเลาะดุเดือดกับลูกค้าลาออกแล้ว (ชมคลิป)



    มติชนออนไลน์..... เมื่อวันที่ 17 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หน้าเฟซบุ๊กของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ปรากฏโพสต์ชี้แจงจากทางผู้บริหาร ดังนี้ "คณะผู้บริหาร และ พนักงานเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ขอแสดงความเสียใจ และ ขออภัยเป็นอย่างสูงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมา ณ โอกาสนี้"


    รูปภาพ 

: คณะผู้บริหาร และ พนักงานเมเจอร์ 
ซีนีเพล็กซ์ ขอแสดงความเสียใจ และ 



ขออภัยเป็นอย่างสูงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมา ณ 
โอกาสนี้

    ทั้งนี้ การโพสต์ขอโทษดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากมีผู้เผยแพร่คลิปในโลกเครือข่ายสังคมออนไลน์ และปรากฎว่ามีชาวเน็ตเข้าไปแสดงความเห็นและโพสต์วิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย โดยคลิปดังกล่าวบันทึกภาพเหตุการณ์ขณะบุคคลซึ่งคาดว่าเป็นผู้จัดการของโรงภาพยนตร์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ พระราม 3 ยืนโต้เถียงตะโกนด่ากับลูกค้าหนุ่มคนหนึ่งอย่างรุนแรง ต้นตอเริ่มมาจากการที่ลูกค้าไปแจ้งว่าแอร์ในพื้นที่ห้างฯ ไม่เย็น กระทั่งเกิดการโต้เถียงขึ้น

    สำหรับคำบรรยายประกอบการโพสต์คลิปดังกล่าว เขียนว่า "หน้าที่ที่ถูกต้องของคนที่ได้ชื่อว่าผู้จั­ดการ คือการแสดงความรับผิดชอบไม่ว่าจะเกิดเหตุก­ารณ์อะไรขึ้นก็ตาม โดยเฉพาะในเหตุการณ์นี้ ผู้หญิงคนนี้ควรเป็นตัวแทนของเมเจอร์ ขอโทษลูกค้าอย่างมีมารยาทและแสดงความรับผิ­ดชอบว่าอากาศร้อนจริง และบอกกับลูกค้าอย่างมีมารยาทว่ากำลังดำเนินการแก้ไขหรือจะรีบปรับปรุงแก้ไข ไม่ใช่แสดงกิริยาแบบนี้

    "วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2013 รอดูพี่มากพระโขนง ที่เซ็นทรัลพระราม3 รอบสี่ทุ่มครึ่ง ชั้น2ที่รอพัก อากาศร้อนอบอ้าวจนลูกค้าบ่นกันเยอะมาก มีลูกค้ารายนี้แจ้งกับฝ่ายผู้รับผิดชอบ ตอนแรกเห็นลูกค้าพูดดีๆอยู่ จู่ๆผู้หญิงที่เรียกตนเองว่าเป็นผู้จัดการ­คนนี้ ก็ขึ้นเสียงตะโกนดังลั่นใส่ลูกค้าคนนี้ แล้วเธอก็เดินเชิดหน้าเอาเรื่องใส่ลูกค้าไ­ปอยู่ตรงกลาง แล้วก็เป็นไปอย่างที่เห็นในวิดีโอ ทุกคนมัวแต่อึ้งกับการกระทำของผู้หญิงคนนี้ ไม่คิดว่าจะมีผู้จัดการใส่ลูกค้าแบบนี้ แถมยังไล่ลูกค้าเมเจอร์ เมเจอร์ควรตรวจสอบและอบรมเพราะสิ่งที่ลูกค้ารายนี้พูดก็เป็นความจริง อากาศมันร้อนมาก สุดท้ายลูกค้าคนนี้ยังมีความอดทนนำเงินทอน­ไปคืนเธอ แต่เธอผู้นี้ควรเรียนรู้หน้าที่ของการเป็น­ผู้จัดการให้ดี ไม่ใช่ทำตัวเหมือนเด็กประถมแบบนี้ ไม่มีเจ้าของธุรกิจคนไหนอยากได้ผู้จัดการแ­บบนี้แน่นอน"

    อังกฤษจัดพิธีศพ "มาการ์เร็ต แธตเชอร์" ยิ่งใหญ่สมเกียรติ


    มติชนออนไลน์.... ทางการอังกฤษเริ่มพิธีศพของนางมาการ์เร็ต แธตเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของอังกฤษอย่างสมเกียรติแล้วในวันนี้ เริ่มต้นที่มหาวิหารเซนต์ พอล ในกรุงลอนดอน โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2  และแขกผู้มีเกียรติ รวมถึงผู้นำและตัวแทนจากทั่วโลกจาก 170 ประเทศเข้าร่วมพิธีกว่า 2,300 คน


    Nearing her final journey: The Union Flag-draped coffin of 

Lady 


Thatcher arrives outside St Paul′s on a horse-drawn carriage


    ศพของนางแทตเชอร์ถูกเคลื่อนออกจากรัฐสภาเพื่อไปประกอบพิธียังมหาวิหารเซนต์พอลโดยมีทหารสามเหล่าทัพ 700 นายในชุดเครื่องแบบเต็มยศยืนเรียงรายตามถนนกรุงลอนดอน และมีตำรวจคอยอารักขาดูแลความปลอดภัยถึง 4,000 นาย ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด หลังเกิดเหตุระเบิดที่งานบอสตัน มาราธอนในสหรัฐฯ และท่ามกลางความวิตกว่ากลุ่มต่อต้านนางแธตเชอร์จะออกมาขัดขวาง


    Down to a T: The former prime minister 




meticulously planned how the farewell service will run, from the singing to who 
gives 
the 

readings


    ด้านนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ เรียกพิธีศพครั้งนี้ว่า เป็นการยกย่องที่เหมาะสมต่อนายกรัฐมนตรีผู้ยิ่งใหญ่  โดยมีฝูงชนจำนวนมากเฝ้าดูพิธีศพอยู่ตาม 2 ข้างถนนเส้นทางเคลื่อนศพ


    Fantastic setting: An overhead view of 




guests attending the ceremonial funeral with the coffin taking centre stage in 
the 
middle


    พิธีศพเริ่มต้นโดยการอ่านคัมภีร์ไบเบิลของนายคาเมรอน และน.ส.อมันดา หลานสาวของนางแธตเชอร์ รวมถึงบทสวดสรรเสริญที่นายคาเมรอนเป็นผู้เลือก


    En route: The gun carriage on its journey from the church 
to the cathedral for the ceremony


    ต่อมาบาทหลวงริชาร์ด ชาร์เทรส บิชอปแห่งลอนดอน ได้กล่าวอุทิศแก่นางแธตเชอร์ ตามคำสั่งเสียครั้งสุดท้ายที่ระบุว่า เธอไม่ต้องการคำกล่าวคำสรรเสริญเยินยอใดๆ โดยข้อความตอนหนึ่งระบุว่า "หลังจากมรสุมแห่งชีวิตท่ามกลางความร้อนแรงทางการเมือง ยังมีความเงียบสงบครั้งยิ่งใหญ่ พายุแห่งความเห็นอันขัดแย้งที่มีศูนย์กลางคือนางแธตเชอร์ ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนทางสัญลักษณ์ แม้จะเป็นความเชื่อ วันนี้ ร่างของมาร์กาเร็ต ฮิลดาตัวจริง ได้อยู่ที่นี่ ที่พิธีศพของเธอ ที่นอนอยู่ ณ ที่นี่ เธอก็เป็นเช่นเดียวกับเรา ผู้มีชะตากรรมเช่นมนุษย์ปุถุชนทั่วไป"


    Sad: The Queen and the Duke of Edinburgh 

look on as the 


bearer party, dressed in their regimental or service uniform, 
bring 
the coffin into the 

cathedral


    โลงศพของอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษ ถูกคลุมด้วยธงชาติอังกฤษยูเนียนแจ็ค วางอยู่บนรถตั้งปืนใหญ่ที่มีม้าสีดำ 6 ตัวเป็นผู้ลาก  มีทหารกองเกียรติยศเดินขนาบทั้ง 2 ข้าง โดยที่ช่อดอกไม้สีขาวเหนือโลงศพ มีการ์ดขนาดเล็กที่มีข้อความจากมาร์คและแครอล บุตรและธิดาฝาแฝดของนางแธตเชอร์ที่มีใจความว่า "แด่มารดาผู้เป็นที่รัก จะอยู่ในใจเราตลอดไป"


    Position: The prime minister paid tribute to the woman who 




won three general elections for the Conservatives


    นางแทตเชอร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 1979-1990 ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 เมษายน เนื่องจากภาวะสมองขาดเลือด ขณะมีอายุได้ 87 ปี


    Solemn: Members of the armed forces carry Baroness Thatcher 




into St Paul′s for her funeral service

    ธ.กลางเกาหลีใต้"สุดอ่วม"ส่อขาดทุนยับ 2.3 หมื่นล้านบ. ลงทุน"ทองคำ"ราคาดิ่งฮวบเป็นประวัติการณ์


    มติชนออนไลน์..... สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 18 เม.ย.ว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ถูกวิจารณ์โจมตี หลังบริหารลงทุนผิดพลาด ด้วยการลงทุนถือครองทองคำเป็นจำนวนมากในสภาพต้องขาดทุนหนัก โดยประเมินว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้อาจต้องขาดทุนจากการซื้อทองคำเป็นจำนวนกว่า 800 ล้านดอลลาร์ (23,200 ล้านบาท) หลังจากเกิดภาวะราคาทองคำตกฮวบในตลาดโลก


    รายงานระบุว่า ที่ผ่านมา ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ลงทุนถือครองทองคำเป็นจำนวน 104.4 ตัน และสถานการณ์ราคาทองคำตก ทำให้เกิดความวิตกและเสียงวิจารณ์ว่า ธนาคารกลางฯอาจประเมินสถานการณ์ลงทุนทองคำผิดพลาด ซื้่อทองคำไม่ถูกช่วงเวลาและทำให้ต้องขาดทุนเป็นเงินจำนวนสูงมาก โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่า หลังจากที่ราคาทองคำปิดที่ 1,361 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือตกลงกว่า 9.3 เปอร์เซนต์ ซึ่งถือว่าตกหนักที่สุดในรอบ 33 ปี ถือเป็นสถานการณ์ที่นักค้าทองคำแตกตื่นอย่างหนัก และเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่เคยเห็นราคาทองดิ่งตกฮวบขนาดนี้มาก่อน

    ที่ผ่านมา ราคาทองคำถือว่าปรบตัวสูงขึ้นอย่างมากเป็นเกือบ 10 ปีที่ผานมา โดยเมื่อปี 2011 ราคาทองคำได้พุ่งเกินกว่าระดับ 1,920 ดอลลาร์ จากเหตุปัจจัยที่นักลงทุนใช้ทองคำเป็นแหล่งพักทรัพย์สินลงทุน หลังเกิดวิกฤตการเงินโลก

    อย่างไรก็ตาม จากราคาทองคำที่ตกฮวบ ทำให้ขณะนี้ธนาคารกลางเกาหลีใต้ ได้ขาดทุนจากการลงทุนถือครองทองคำไปแล้วเป็นมูลค่ากว่า 761 ล้านดอลลาร์ หลังจากซื้อทองคำมาถือครองที่ราคา 1,600 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นับตั้งแต่ปี 2011 ซี่งนักวิเคราะห์มองว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ลงทุนซื้อทองคำผิดช่วงจังหวะ โดยถือในช่วงที่ราคาทองคำถึงจุดสูงสุดไปแล้ว

    ทว่า ด้านเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้ ได้ออกโรงพยายามลดกระแสวิตกต่อผลกระทบจากการขาดทุนในการซื้อทองคำ ระบุว่า การลงทุนนี้ไม่ได้กระทบต่อแผนการถือครองทุนสำรองต่างประเทศของธนาคารกลางเกาหลีใต้ในระยะยาวแต่อย่างใด

    "เทสโก้"ประกาศถอนธุรกิจในสหรัฐ "ขาดทุน"เป็นหนี้สูญกว่า 1,530 ล้านดอลล์

    มติชนออนไลน์.... เทสโก้ กลุ่มธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ประกาศเตรียมถอนตัวออกจากสหรัฐหลังจากประสบปัญหาขาดทุน ทำให้เทสโก้ต้องตัดเป็นหนี้สูญมูลค่ากว่า 1,530 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 44,660.70 ล้านบาท) ทำให้ผลกำไรลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา


    กลุ่มเทสโก้ทำธุรกิจในสหรัฐฯ โดยใช้ชื่อธุรกิจว่า "เฟรชแอนด์อีซี" ซึ่งมีสาขากว่า 199 แห่งทั่วสหรัฐฯ ด้วยเงินลงทุน 1,200 ล้านปอนด์ แต่พบว่าบริษัทไม่เคยมีกำไร

    บริษัทได้ลงบัญชีมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มฯ ในอังกฤษ ลดลง 804 ล้านปอนด์  และลงบัญชีด้วยมูลค่าทางธุรกิจที่ลดลงในโปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และตุรกี เป็นมูลค่ารวมกันกว่า 500 ล้านปอนด์  ส่วนกำไรก่อนหักภาษีของทางกลุ่มในปีที่ผ่านมา ซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 13 กุมภาพันธ์  มีมูลค่า 1,960 ล้านปอนด์ ลดลง 51.5% จากปีก่อนหน้านี้

    เทสโก้เปิดเผยว่า ยอดขายในห้างค้าปลีกในอังกฤษ ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ที่ไม่รวมค่าน้ำมันและภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้น 0.5% ลดลงจากช่วง 6 สัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 5 มกราคม ซึ่งเติบโตราว 1.8% อันเนื่องมาจากเป็นช่วงการจับจ่ายในเทศกาลคริสต์มาส

    ทั้งนี้ เทสโก้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มค้าปลีกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ได้ประกาศปรับโครงสร้างภายใน ภายใต้การนำของนายฟิลิป คลาร์ก ซีอีโอคนใหม่ นอกจากการถอนตัวออกจาสหรัฐฯแล้ว เทสโก้ยังประกาศถอนตัวออกจากญี่ปุ่น แต่เผยว่าบริษัทเตรียมขยายธุรกิจเข้าไปยังจีน

    กลุ่มยังระบุว่า ยอดค้าปลีกทางออนไลน์ของบริษัทประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยมีการเติบโตที่อัตรา 12.8% หรือ 2,300 ล้านปอนด์ ขณะที่ยอดขายรวมตลอดปีในอังกฤษ เพิ่มขึ้น 1.8% หรือมากกว่า 48,000 ล้านปอนด์ 

    อานิสงส์การบวชพระ-บวชชีพราหมณ์ ธรรมวิธีลดเคราะห์ บรรเทา "กรรม"


    ธรรมวิถีลดเคราะห์บรรเทากรรม เสริมดวง สิริมงคลด้วยพลังบุญศักดิ์สิทธิ์

    สิทธิการิยะ พระอาจาริยเจ้าได้ถ่ายทอดธรรมวิ๔เพื่อโปรดสัตว์ให้มีสุข พ้นทุกข์พอสรุปได้ความดังนี้


    • เรื่องบุญเรื่องบาปกรรมกำหนดที่พุทธศาสนา กล่าวไว้เป็นเรื่องจริง เพราะถ้าไม่มีบุญไม่มีบาปแล้ว มนุษย์เราต้องเกิดมาเหมือนกันหมด แต่เพราะมีบุญมีบาป จึงเป็นเช่นนั้น มีดี, ชั่ว, สุข, ทุกข์, รวย, จน, มีโชค, มีเคราะห์ ฯลฯ
    • ดังอธิบายในเบื้องต้นว่าสุข ทุกข์ เกิดจากบุญ บาป กรรมดี กรรมชั่ว ดังนั้นการที่จะหลีกพ้นจากทุกข์โทษเวรภัยเคราะห์ร้ายทั้งหลาย ก็ด้วยพลังของความดีที่ตนเองได้สร้างเป็นหลักแล้ว ยังสามารถพึ่งพระรัตนตรัย ตลอดจน เทวฤทธิ์ รวมพลังบุญศักดิ์เป็นแสงสว่างแก่ชีวิทเป็นย่อเกิดความปห่งความดีงามของตนและคนอื่น
    • แก้ววิเศษ มี่ค่ามหาศาลประมาณค่ามิได้เป็นที่พึ่งได้จริง คือ พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงให้ตั้งนะโม นมัสการบูชาพระ ถึงไตรสรณคมณ์ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สัฃฆัง สะระณัง คัจฉามิ หางศรัทธามั่งคงย่อมเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นแก้วสูงสุดในสามโลก
    • ศีลรักษาให้มีกายวาจาเป็นปรกติ ศีลล่งผลให้เกิดในที่สุขติ เทวดารักษา ไม่ไปในทางเสื่อม บางท่านบอกว่าศีลรักษายาก แต่จริงๆแล้ว ทุกท่านสามารถรักษาได้ อย่างน้อยข้อไดข้อหนึ่งก็ยังดี บางท่านมีปัญญา ก่อนนอนรักษาศีล8 ตื่นนอนรักษาศีล5 อย่างน้อยก็มีกำไรเพราะตอนนอนย่อมรักษาศีลได้อย่างแน่นอน ช่วยชำระกิเลสให้เบาบางลง ปละเป็นบุญสำคัญที่จะรองรับความดีนังให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป
    • ทานส่งผลให้มีทรัพย์ ทานมีหลายระดับแตกต่างกัน ตั้งแต่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ พระอริยะเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระ พุทธเจ้า ย่อมมีอนิสงค์แตกต่างกันไปจนถึงสังฆทาน วิหารทาน ธรรมทาน และ จนถึงที่สุดคือ อภัยทาน ถ้าบำเพ็ญอยู่เสมอย่อมยังผลให้เกิดความคล่องตัว ทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆ คือ หาถาชนะอันสมควรตั้งในที่บูชา แล้วนำเงินไปใส่ไว้ในภาชนะนั้น สวดมนต์ใหว้พระ เจริญพระคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า สะสมไว้จนเต็มหรือมีโอกาศก็นำไปทำบุญ ทำทุกวันเห็นผลทั้งทางโลกและทางธรรม (พระคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระคาถาอื่นๆจะนำลงในเว็บภายหลัง)
    • การเจริญภาวณาก็เป็นบุญกุศลมหาศาล เพราะสามารถปราบกิเลสได้หลายตัว ตั่งแต่เริ่มตั้งตาการสวดมนต์สามารถบำเพ็ญได้ครบทั้งกาย วาจา ใจ เช่น กายพนมมือ นอบน้อม ปากสวดมนต์สรรเสริญคุณพระ ใจระลึกถึงคุณพระ ผุ้ที่สวดด้วยความเคารพตั้งใจเลื่อมใส ยังให้มีบุญประมาณมิได้ ทั้งยังเกิดสวัสดิมงคล
    • ผู้ที่ฆ่าสัตว์ใหญ่ ฆ่ามนุษย์ โดยเฉพาะทำแท้ง เป็นบาปก่อให้เกิดทุกข์อุปสรรคทั้งหลายในชีวิตนานา ประการ ให้ทำบุญด้วยพระพุทธรูปหน้าตัก 5 นิ้วขึ้นไป ผ้าขาว หรือไตรจีวรไร้อมอาหารถวายเป็นสังฆทาน อนิษฐานขอบุญพระพุทธเจ้า บุญศักดิ์สิทธิ์ นำพาดวงจิตไปวิมานบุญ ขออโหสิกรรมนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอให้มีความสุขด้วยพุทธบารมีธรรม (หรืออาจจะสร้างพระพุทธรูปหน้าตัก 5 นิ้ว อนิษฐานเป็นพระพุทธรูปบูชาอโหสิกรรมพิเศษของเราโดยเชิญดวงจิตของบุตรมาเป็นเทพรักษาประจำองค์พระ ทำการอัญเชิญด้วยการสวดพุทธคุณและพระคาถาต่างๆ ขอบุญพรพุทธเจ้าส่องนำทางขอให้อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน) หมั่นสวดมนต์แพร่เมตตามากๆเพื่อชำระให้จิตใจให้ใสสะอาด
    • ผู้ที่เบียดเบียนฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต มีผลให้เกิดโรคถัยไข้เจ็บอายุสั้น ควรทำบุญด้วยการช่วยชีวิตสัตว์อนิษฐานแพร่เมตตาอโหสิกรรม ทำบุญด้วยยารักษาโรค หรือ ทำบุญกับโรงพยาบาลสงฆ์ หรือ ด้านการแพทย์ บำรุงพระเณรปฏิบัติ ผู้อาพาธ เจ็บป่วย
    • ผู้ที่สมบัติฉิบหายด้วยเหตุต่างๆ จงทำใจอย่าเสียดายกับทรัพย์นั้นๆ ทำใจให้เป็นบุญมาแทนที่ให้ อนิษฐานสมบัติทั้งหลายที่สูญไปทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ขอพิจารณาบูชาแก่พระไตรลักษณะญาณ พระ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขอสมบัติทั้งหลายทั้งทางโลก ทางธรรมหลั่งไหลเข้ามาเป็นหมื่นเท่าทวีคูณ และควรให้ทานตามโอกาส
    • บางท่านที่เป็นหนี้สงฆ์ หนี้สินทรัพย์ หนี้สิน หนี้เวรหนี้กรรม กับผู้หนึ่งผู้ได ทั้งชาติก่อน ชาตินี้ ให้อนิษฐานสร้างพระชำระหนี้ ถวายในพระศาสนา อาจจะเป็นพระพุทธรูปตั้งแต่ 5 นิ้วขึ้นไปจนถึง 4 ศอกหรือ มากกว่านั้น อนิษฐานชำระหนี้ และปิดทองคำแท้ที่องค์พระ ตั้งแต่ 3 แผ่นขึ้นไปหรือทั้งองค์ก็ยิ่งดี พร้อมปัจจัยศรัทธา เขียนหน้าซองถวายชำระหนี้สงฆ์ หนี้สินทรัพย์ หนี้สิน หนี้เวรหนี้กรรม ขอให้หมดหนี้มีสินด้วยพระพุทธรัตนไตร เป็นแก้ววิเศษประมาณมิได้
    • ทุกข์เพราะความรัก เพราะเคยทำชั่วเรื่องความรักไว้ ให้ตั้งใจรักษาศีลถือบวชแล้วเจริญปัญญาให้มากๆ ความรักไม่ได้ทำให้ผู้ไดทุกข์ แต่ ทุกข์เพราะการยึดติด ไม่ปล่อยวางปรารถณาที่จะครอบครองจึงเป็นทุกข์ ดังนั้นจึงควรรู้จักให้รู้จักรักโดยไม่หวังผลตอบแทน และที่สำคัญจงรักตนเองให้มากๆ ทำชีวิตให้มีคุณค่าเพื่อตนเองและคนที่เรา
    • ทุกข์เรื่องคู่ครอง ให้พิจรณาว่าอาจจะมีหนี้เวรหนี้กรรม ต้องชดใช้ ให้จุดเทียน 1 คู่ ธูป 5 ดอก ดอกไม้5สี (ถ้าเป็นดอกกุหลาบได้ก็ดี) อนิษฐานบูชาพระ หากแม้นมีหนี้เวรหนี้กรรม ขอให้อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน น้อมจิตระลึกถึงบุญกุศลทีเคยสร้างร่วมกันชักนำดวงจิตให้คิดดีต่อกัน แล้วแผ่เมตตาให้มากมาก ย่อมเกิดผลดี ตลอดทั้งให้พิจารณา สิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน อะไรควรไม่ควร แก้ไขตามเหตุผลไม่ใช้อารมณ์ ต้องแก้ด้วยสติปัญญา
    • ผู้ถูกหลวงลวง เพราะเคยทำกรรมชั่วทางวาจา ให้ตั้งใจรักษาสัจจะในสิ่งที่ดีงามเรื่องไดเรื่องหนึ่งเช่นตั้งสัจจะว่าจะสวดมนต์ทุกวันก็ทำให้ได้ พูดแต่สิ่งที่ดีงาม
    • ผู้สติไม่ดี อาจจะเพราะกรรมชั่วในสิ่งที่มึนเมา จึงให้งดของมึนเมาทั้งหลายเพื่อสร้างสติ อนิษฐานว่าจะดื่มใจจะสูบให้น้อยลงและเลิกละ หากทำได้ก็ชนะตัวเอง
    • ผู้เลี้ยงลูกหลานไม่ได้ดีควรสั่งสมกตัญญูกตเวทิตาธรรม อธิษฐานขอพร พระแจกหนังสือธรรมะ เพื่อสั่งสอนคนให้เป็นคนดี ควรป้อนข้อมูลดีๆ ไม่ควรแช่งด่าลูกหลาน ถ้าใครแช่งด่าไว้มากมากควรสวดมนต์ ขอถอนคำแช่งด่า เปลี่ยนคำอธิษฐานในทางที่ผิดเป็นในทางที่ดี
    • บางท่านที่อยู่อาศัยเป็นทุกข์ ก็ให้ตั้งขันน้ำที่หน้าพระเจริญพระพุทธมนต์ต่างๆ จุดเทียนทำน้ำมนต์ เวลาดับเทียนก็ขอให้ดับความทุกข์เร่าร้อนทั้งหลาย และแพร่เมตตาพรหมวิหาร อุทิศบุญกุศลให้กับระภูมิเจ้าที่ เทวดา สรรพชีวิตทั้งหลาย อนิษฐานขอน้ำพุทธบารมีไปประพรมให้ทั่วบริเวณบ้าน ขอบันดาลให้สิ่งที่ร้ายกลายเป็นดี
    • บางท่านอายุถึงเบญจเพศดวงไม่ดี เนื่องจากสาเหตุไดๆก็ตามไม่ว่า ราหูเข้า พระเสาร์แทรง เราอาจจะทำพอธีบูชารับส่งรวมกันทุกพระองค์พร้อมกันทีเดียวก็ได้ โดยหาเทียนใหญ่พอประมาณ ปิดทองคำแท้ อนิษฐานเป็นเทียนเสริมดวงเสริมสิริมงคล ดวงชะตาชีวิต ให้แต่งดอกไม้ธูปเทียนภาวนา สวดอิติปิโสนพเคราะห์ เต็มสูตร บูชาเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาดวง ขอให้กลับร้ายกลายเป็นดี ที่ดีแล้วก็ให้ดียิ่งขึ้นไป อาจสวดมนต์พระคาถาต่างจนหมดเล่ม หรือ นั่งสมาธิต่อด้วยก็ยิ่งด
    • กิจการค้าขายไม่ประสบสำเร็จ ให้พิจารณาแก้ไขตามเหตุอันสมควร หรือจะใช้วิธีช่วย คือ ธูปอนิษฐาน ให้เอาธูปที่ใช้ทั้งห่อมาทำพิธีสวดอิติปิโสนพเคราะห์และพระคาถาต่างๆ แล้วอนิษฐานขอให้เป็นธูปสารพัดดี เวลาใช้ให้จุดปักกลางแจ้งโดยใช้จำนวนตามกำลังวัน และสวดคาถาบูชาประจำวัน ตามด้วยพระคาถาอื่นๆขอในสิ่งที่ดีงาม ธูปนี้สามารถใช้บูชาพระสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้เป็นอย่างดี (ดูหัวข้อ ทานส่งผลให้มีทรัพย์ ประกอบ)
    • บางท่านมีคนทักว่ามีองค์ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์รักษา ไปรับขันธ์รับพานมาปรากฏว่าไม่ดีขึ้น แย่ลงกว่าเดิม หรือถูกหลอกลวง ให้เสียเงินเสียทองอันนี้ให้พิจารณาให้ดี มีอีกวิธีหนึ่งให้จัดธูป 5 ดอก เทียน 5 เล่ม ดอกบัว 5 ดอก (ดอกอะไรก็ได้ที่หาได้) ตั้งขันธ์บูชาถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาตน องค์ครูบาอาจารย์ทั้ง 108 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกองค์เป็นมิ่งเคารพ ให้ตั้งขันธ์ 5 นี้ในวันดี เช่น วันพฤหัสบดี โดยตั้งชุมนุมเทวดา สมาทานศีล สวดมนต์บูชา และแพร่เมตตา
    • การกินมังสวิรัติ การงดเว้นเนื้อสัตว์นอกจากให้ใจเบากายเบา ย่อมช่วยปริมาณการฆ่าสัตว์ได้ ร่างกายสะอาด เทวดาย่อมรักษา ให้พิจารณาเป็นเพียงธาตุ แพร่เมตตา เพื่อไม่ให้เป็นเวรเป็นกรรมต่อกัน
    • ก่อนนอนสวดมนต์ไหว้พระ ก่อนนอนอย่างสวดมนต์ภาวนา แพร่เมตตา จะยังผลให้จิตใจสบายให้นอนหลับสนิท
    • ผู้ที่นอนผันร้าย แก้ด้วยพระคาถา ดังนี้ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญ จะโยขามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตังพุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯฯ


    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ให้เลือกใช้ตามโอกาส ย้อมสะเดาะเคราะห์ เสริมบารมี มงคลชีวิตได้ ทุกสิ่งในโลกเป็นอนิจจังทั้งหมด อย่ามองแต่ภายนอกให้มองภายในใจของเราบ้าง พระท่านว่าการให้ธรรมทานชนะการให้ทานทั้งปวง มีอานิสงค์สูงสุด การสร้างหนังสือธรรมทุก1ตัวอักษรเปรียบเสมือนการสร้างพระ 1องค์ ย่อมมีเทวดามารักษา กำจัดโรคเวรโรคกรรม บรรเทาหนี้กรรมได้ทำให้เจริญรุ่งเรื่อง อนิษฐานในทางชอบธรรม จะสำเร็จสมปราถณา


    อานิสงส์การบวชพระ-บวชชีพราหมณ์


    ภาพประกอบจาก: เนกขัมมะปฎิบัติ เดินจงกรม 

    [บวชชั่วคราวเพื่อสร้างบุญ, อุทิศให้พ่อแม่-เจ้ากรรมนายเวร]

    1. หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญตามปรารถนา

    2. เจ้ากรรมนายเวรจะอโหสิกรรม หนี้กรรมในอดีตจะคลี่คลาย

    3. สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย

    4. เป็นปัจจัยสู่พระนิพพานในภพต่อๆ ไป

    5. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา

    6. จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต

    7. เป็นที่รักที่เมตตามหานิยมของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่าเทวดา

    8. ทำมาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงินไม่ขาดสายไม่ขาดมือ

    9. โรคภัยของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและรักษาหาย

    10. ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ได้เต็มที่ สำหรับผู้ที่บวชไม่ได้เพราะติดภาระกิจต่างๆ ก็สามารถได้รับอานิสงส์เหล่านี้ได้ ด้วยการสร้างคนให้ได้บวชสนับสนุนส่งเสริมอาสาการให้คนได้บวช

    http://www.dhammajak.net/kram/6.html

    ตาทิพย์ การฝึกกสิณ 10

        ก่อนอื่นต้องอธิบายให้เข้าใจภาวะทิพย์อำนาจก่อน ของทิพย์เป็นของละเอียดอ่อนยิ่งกว่าอณูปรมาณูซึ่งเรียกว่า "มวลสาร" ดังนั้นเมื่อเราจะไปมองเห็นของเล็กๆ เราก็ต้องรวบรวมพลังกายในกายจากการฝึกอบรมจิตให้สงบละเอียดลง จนอยู่ในสภาพภาวะเดียวกันกับมวลสารที่เราจะสัมผัส เหมือนปรับสภาพตัวเราให้เป็นเครื่องรับภาพโทรทัศน์ เพื่อรับภาพที่เป็นกระแสคลื่นอยู่รอบๆตัวเราซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ เมื่อได้ปฐมฌานแล้ว ฝึกต่อไปเรื่อยๆ ก็มีเพียงสงบอยู่นั่น

           แม้บางครั้งอาจจะเกิดฤทธิ์เดชบางอย่างขึ้นมาบ้าง ก็ไม่รู้หนทางที่จะศึกษาให้เจริญขึ้น ไต่ไปสู่การที่จะใช้อำนาจพลังจิตนั้นได้ ดังนั้นการฝึกต่อไปเพื่อพิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับโลกทิพย์ จิตวิญญาณ เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติ "ตายแล้วไม่สูญ" กฏแห่งกรรมมีจริง และยังสามารถมองเห็นที่มาของอุปสรรคที่ขวางกั้นจิตในการเจริญสมาธิ เพื่อจะได้หาทางแก้ไขต่อไป

           เมื่อฝึกปฏิบัติจิตสำเร็จผ่านบทปฐมฌานแล้ว จะมีจิตใจสบาย เห็นดวงแก้วที่เราจดจ่อนั้นค่อยๆเรืองแสง จนค่อยๆสว่างมากขึ้นถึงขั้นแสงจ้าจัดแรงกล้าไม่แพ้ดวงอาทิตย์ และความสว่างนี้จะคงตัวอยู่ได้นานไม่ลดลงไปอีกเมื่อได้ปฏิบัติจิตอย่างสม่ำเสมอ จากนั้นรวมกระแสจิตใจความนึกคิดที่เป็นหนึ่งนั้นค่อยๆบีบรีดให้ปลายแหลมเหมือนเข็ม แล้วค่อยๆน้อมนำกระแสจิตมั่น มุ่งไปเฉพาะที่ส่งเข้าไปที่ศูนย์กลางดวงแก้วนั้นอย่างช้าๆ เรื่อยๆ ไม่ขาดสาย มิช้ามินานก็จะเห็นภาพนั้นเหมือนของจริงที่มองด้วยตาเนื้อ คือเหมือนลืมตามองเห็น คนไม่ฝึกสมาธิจิตจะหยาบ มองเห็นแต่ของหยาบ คนฝึกจิตให้ละเอียดสุขุม ย่อมมองเห็นของละเอียด (ของทิพย์) ได้ ตาทิพย์นั้นมองเห็นได้ ๒ สิ่ง คือ

    ๑. ของทิพย์ เช่น วิญญาณและวิมานหรือนิมิตแห่งทิพย์
    ๒. วัตถุธาตุ คือ วัตถุที่เรามองเห็นด้วยตาเนื้อ คือเหมือนลืมตาดูภาพที่เห็นครั้งแรกจะเป็นพวกทิพย์ คือวิญญาณ

          ส่วนมากเป็นนิมิตที่ยังไม่แน่นอนถูกต้องเสมอเพราะพลังจิตยังอ่อน อาจจะเป็นภาพหลอกหลอนหรือภาพเนรมิตบังเราได้ ขอให้ท่านวางใจเป็นกลางเฉยๆก่อน แล้วส่งกระแสจิตใจความนึกคิดไปเพิ่มที่ภาพนั้น ภาพนั้นก็ค่อยๆชัดขึ้นมา และมองไปโดยไม่ปรุงแต่งแบบไม่มีความอยากรู้ และต้องไม่กลัวภาพที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะน่ากลัว เมื่อฝึกดูเหตุการณ์ในปัจจุบันได้แล้ว และเมื่อฝึกต่อจนเกิดพลังแข็งแกร่งแล้ว ก็จะสามารถมองไปข้ามมิติและเรื่องอนาคตได้

          แต่เรื่องอนาคตนี้จะไม่แน่นอนเสมอไป เพราะยังมีวิบากกรรมเข้ามาปรุงแต่งให้เปลี่ยนแปลงได้ และมองถอยไปในอดีตได้ แต่ยังไม่ลึกพอที่จะระลึกชาติ ซึ่งส่วนมากจะสามารถมองเห็นเหตุการณ์เฉพาะที่เราอธิษฐานจิต เช่น อยากรู้สาเหตุที่นั่งปฏิบัติจิตแล้วจิตไม่สงบ เมื่อน้อมจิตไปตามคำอธิษฐาน ก็จะเห็นภาพเหตุการณ์ที่เป็นเหตุปัญญาไม่ให้บรรลุทางสงบ จำไว้ว่า ถ้าได้เห็นเรื่องของโลกวิญญาณแล้วอย่าได้ทำเป็นปากเปราะ เห็นอะไรเที่ยวพูดเที่ยวเล่าให้ใครต่อใครฟัง คุณต้องพิจารณาว่าสมควรบอกหรือไม่ เพราะถ้าบอกสุ่มๆ อาจจะต้องรับกรรมในฐานะเอาเรื่องของโลกวิญญาณมาเปิดเผย โดยพูดแล้วอาจจะเกิดความเสียหายกับโลกวิญญาณ เหตุทั้งนี้ เพราะว่าการเอาเรื่องอีกโลกหนึ่งมาบอกเล่าให้คนอีกโลกหนึ่งฟัง คนส่วนมากจะไม่เชื่อ แล้วก็จะกล่าวคำพูดหยาบช้าสบประมาทโลกวิญญาณ ทำให้เกิดภาวะกฏแห่งกรรม ลงโทษผู้พูดคำสบประมาทนั้นได้ ซึ่งก็อาจจะพาให้ท่านเดือดร้อนไปด้วย ต่อไปพิสูจน์มองวัตถุด้วยตาทิพย์ คือ เมื่อฝึกจนบรรลุตาทิพย์ หัดหลับตามองเห็นภาพวัตถุต่างๆให้ชัดเหมือนลืมตาดู และจะแน่นอน ต้องฝึกจนถึงขั้นหลับตาอ่านหนังสือได้ไม่ผิดแม้สักตัวเดียว แสดงว่า จบหลักสูตรการฝึกตาทิพย์แล้ว

    ระหว่างฝึกตาทิพย์นี้

    ๑. ใบหน้าและลูกตาจะไม่มีอาการบิดเบี้ยว
    ๒. ประสาททุกส่วนจะไม่มีอาการตึงเครียด
    ๓. จำไว้ว่า นี่คือการฝึกทิพย์อำนาจ ไม่ใช่ฝึกตาเนื้อ ฝึกรักษาโรค โรคภัยไข้เจ็บนั้นเกิดจากกรรม ๒ ประเภท

         ประเภทที่๑ เกิดจากกรรม ในอดีตชาติส่งผลมาตามล้างตามสนองให้วิบากเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือกรรมที่ก่อไว้ในปัจจุบันชาติส่งผลตามทันในชาติเดียวกันนี้

         ประเภทที่ ๒ เกิดจากการเสื่อมโทรมของร่ายกาย ที่เป็นไปตามภาวะธรรมชาติ เกิด แก่ เจ็บ หรือเกิดจากการที่มนุษย์ไม่รู้จักรักษาพยาบาลร่างกายให้แข็งแรง ที่จะไม่ให้ร่างกายเสื่อมเร็วก่อนอายุขัยอันสมควร  การรักษาโรคจึงเป็นการดุลกรรมคนป่วย และส่วนมากคนป่วยเล็กน้อยไม่ค่อยจะหาหมอรักษา จะรักษาต่อเมื่อโรคกำเริบจนอาการหนักแล้ว ถ้าจะช่วยรักษาโรคให้คนป่วยแล้ว ต้องอาศัยตาทิพย์ พิจารณาดูเรื่องกรรมวิบากของเขาก่อน แล้วจึงค่อยๆรักษาให้หายได้ พร้อมกับแนะนำให้สงบควบคู่กับการทำบุญสร้างกุศลช่วยเหลือคนอื่นด้วยกำลัง หรือปัจจัยตามกำลังความสามารถของคนที่จะทำได้ดีที่สุด

    กสิณ ๑๐

    กสิณมีทั้งหมด ๑๐ กองด้วยกันคือ

    ๑.ปฐวีกสิณ เพ่งดิน ๖.โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
    ๒.อาโปกสิณ เพ่งน้ำ ๗.ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง
    ๓.เตโชกสิณ เพ่งไฟ ๘.โอทากสิณ เพ่งสีขาว
    ๔.วาโยกสิณ เพ่งลม ๙.โอโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
    ๕.นีลกสิณ เพ่งสีเขียว ๑๐.อากาสกสิณ เพ่งอากาศ

    อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง ๑๐

    จิตเข้าสู่ระดับฌานเมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว จิตก็เข้าระดับฌาน อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง ๑๐ อย่างนั้นมีอารมณ์ดังนี้ ฌานในกสิณนี้ท่านเรียกฌาน ๔ บ้างฌาน ๕ บ้าง เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าใจผิด ขออธิบายฌาน ๔ และฌาน ๕ ให้เข้าใจเสียก่อน

    ฌาน ๔ ท่านเรียกว่า จตุตถฌาน ที่เรียกว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๔ ท่านจัดไว้อย่างนี้ สำหรับในที่บางแห่งท่านว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๕ ท่านจัดไว้ดังต่อไปนี้

    ๑.ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๒.ทุติยฌานมีองค์ ๔ คือละวิตกเสียได้ คงทรง วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๓.ตติยฌานมีองค์ ๓ คือละวิตก วิจาร เสียได้ คงทรงปีติ สุข เอกัคคตา
    ๔.จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือละวิตก วิจาร ปีติเสียได้ คงทรงสุขกับเอกัคคตา
    ๕.ฌาน ๕ หรือที่เรียกว่าปัญจมฌาน มีองค์เหมือนกัน คือ ละวิตก วิจาร ปีติ สุขเสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา และเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑

         เมื่อพิจารณาดูแล้วฌาน ๔ กับฌาน ๕ ก็มีสภาพอารมณ์เหมือนกัน ผิดกันนิดหน่อยที่ฌาน ๒ ละองค์เดียว ฌาน ๓ ละ ๒ องค์ ฌาน ๔ ละ ๓ องค์ มาถึงฌาน ๕ ก็มีสภาพเหมือนฌาน ๔ ตามนัยนั่นเอง อารมณ์ฌานมีอาการเหมือนกันในตอนสุดท้าย อารมณ์อย่างนี้ ท่านแยกเรียกเป็นฌาน ๔ หรือฌาน ๕ เพื่ออะไรไม่เข้าใจเหมือนกัน กสิณนี้ถ้าท่านผู้ปฏิบัติทำให้ถึงฌาน ๔ หรือฌาน ๕ ซึ่งมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์และอุเบกขารมณ์ไม่ได้ ก็เท่ากับท่านผู้นั้นไม่ได้เจริญในกสิณนั้นเอง เมื่อได้แล้วก็ต้องฝึกการเข้าฌานออกฌานให้คล่องแคล่ว กำหนดเวลาเข้า เวลาออกให้ได้ตามกำหนด จนเกิดความชำนาญ เมื่อออกเมื่อไร ได้ตามใจนึก การเข้าฌานต้องคล่อง ไม่ใช่เนิ่นช้าเสียเวลาแม้แต่ครึ่งนาที พอคิดว่าเราจะเข้าฌานละ ก็เข้าได้ทันที ต้องยึดฌาน ๔ หรือฌาน ๕ คือ เอาฌานที่สุดเป็นสำคัญ เมื่อเข้าฌานคล่องแล้ว ต้องฝึกนิรมิตตามอำนาจกสิณให้ได้คล่องแคล่วว่องไว จึงชื่อว่าได้กสิณกองนั้น ๆ ถ้ายังทำไม่ได้ถึงไม่ควรย้ายไปปฏิบัติในกสิณกองอื่น การทำอย่างนั้นแทนที่จะได้ผลเร็วกลับเสียผล คือของเก่าไม่ทันได้ ทำใหม่ เก่าก็หาย ใหม่ก็ไม่ปรากฏผล ถ้าชำนาญช่ำชองคล่องแคล่วในการนิรมิต อธิษฐาน แล้วเพียงกองเดียว กองอื่นทำไม่ยากเลย เพราะอารมณ์ในการฝึกเหมือนกัน ต่างกันแต่สีเท่านั้น จะเสียเวลาฝึกกองต่อๆไปไม่เกินกองละ ๗ วัน หรือ ๑๕ วัน เป็นอย่างสูง จะนิรมิตอธิษฐานได้สมตามที่ตั้งใจของนักปฏิบัติ จงอย่าใจร้อน พยายามฝึกฝน จนกว่าจะได้ผลสูงสุดเสียก่อน จึงค่อยย้ายกองต่อไป

    องค์ฌานในกสิณทั้ง ๑๐ กอง

    ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก มีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิต กำหนดจิตจับภาพปฏิภาคนิมิตนั้นเป็นอารมณ์ วิจาร พิจารณาปฏิภาคนิมิตนั้น คือพิจารณาว่า รูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงดงาม คล้ายแว่นแก้วที่มีคนชำระสิ่งเปรอะเปื้อนหมดไป เหลือไว้แต่ดวงแก้วที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจากธุลีต่างๆ มีประเภท ๕ คือ

    ๑.ขุททกาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้าและน้ำตาไหล
    ๒.ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ
    ๓.โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง คล้ายเรือที่ถูกคลื่นซัด บางท่านก็นั่งโยกไปโยกมา อย่างนี้เรียกโอกกันติกาปีติ
    ๔.อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยไปได้ไกลหลายๆกิโลก็มี
    ๕.ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าซาบทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายใหญ่สูงขึ้นกว่าปกติสุข มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต

    เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียว คือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติไม่สอดส่ายอารมณ์ออกนอกจากปฏิภาคนิมิต ทั้ง ๕ อย่าง นี้ เป็นปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่นๆ แปลกแต่กสิณมีอารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต จนจิตเข้าสู่จตุตถฌาน หรือปัญจมฌาน

    ทุติยฌานมีองค์ ๓ คือตอนนี้จะเว้นจากการภาวนาไปเอง การกำหนดพิจารณารูปกสิณจะยุติลง คงเหลือแต่ความสดขื่นด้วยอำนาจปีติอารมณ์สงัดมาก ภาพปฏิภาคนิมิตจะสดสวยงามวิจิตรตระการตามากกว่าเดิม มีอารมณ์จิตแนบสนิทเป็นสมาธิมากกว่า

    ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ ตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้ เหลือแต่ความสุขแบบเครียดๆ คือมีอารมณ์ดิ่งแห่งจิต คล้ายใครเอาเชือกมามัดไว้มิให้เคลื่อนไหว ลมหายใจอ่อนระรวยน้อยเต็มที ภาพนิมิตดูงามสง่าราศีละเอียดละมุนละไม มีรัศมีผ่องในเกินกว่าที่ประสบมา อารมณ์ของจิตไม่สนในกับอาการทางกายเลย

    จตุตถฌาน ทรงไว้เพียงเอกัคคตา กับอุเบกขา คือมีอารมณ์ดิ่ง ไม่มีอารมณ์รับความสุขและความทุกข์ใดๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้น มีอุเบกขาวางเฉย ต่ออารมณ์ทั้งมวลมีจิตสว่างโพลง คล้ายใครเอาประทีปที่สว่างมากหลายๆดวงตั้งไว้ในที่ใกล้ ไม่มีอารมณ์รับแม้แต่เสียง ลมหายใจสงัด รูปกสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก ฌานที่ ๔ เป็นฌานสำคัญชั้นยอด ควรกำหนดรู้แบบง่ายๆไว้ว่าเมื่อมีอารมณ์จิตถึงฌาน ๔ จะไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ควรกำหนดไว้ง่ายๆ แบบนี้สะดวกดี

    ท่านทำได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตาม จุดจบกสิณต้องถึงฌาน ๔ และนิมิตอะไรต่ออะไรตามอำนาจกสิณ ถ้าทำไม่ถึงกับนิมิตได้ตามอำนาจกสิณ ก็เป็นเสมือนท่านยังไม่ได้กสิณเลย


    ๑. ปฐวีกสิณ

    กสิณนี้ ท่านเรียกว่า ปฐวีกสิณ เพราะมีการเพ่งดินเป็นอารมณ์ ศัพท์ว่า "ปฐวี" แปลว่า "ดิน" กสิณแปลว่า "เพ่ง" รวมความแล้วได้ว่า "เพ่งดิน"
        อุปกรณ์กสิณ ปฐวีกสิณนี้ มีดินเป็นอุปการณ์ในการเพ่ง จะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดิน ที่ทำให้เตียนสะอาดจากผงธุลี หรือจะทำเป็นสะดึงยกไปมา ได้ก็ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ดินที่จะเอามาทำเป็นดวงกสิณนั้น ท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามเอาดินสีอื่นมาปน ถ้าจำเป็นหาดินสีอรุณไม่ได้มาก ท่านให้เอาดินสีอื่นรองไว้ข้างล่างแล้วเอาดินสีอรุณทาทับไว้ข้างบน ดินสีอรุณนี้ ท่านโบราณาจารย์ท่านว่าหาได้จากดินขุยปุย เพราะปูขุดเอาดินสีอรุณขึ้นไว้ปากช่องรูที่อาศัย เมื่อหาดินได้ครบแล้ว ต้องทำสะดึงตามขนาดดังนี้ ถ้าทำเป็นลายติดพื้นดิน ก็มีขนาดเท่ากัน
        ขนาดดวงกสิณ วงกสิณที่ทำเป็นวงกลมสำหรับเพ่ง อย่างใหญ่ท่านให้ทำไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ คืบ ๔ นิ้ว อย่างเล็กไม่เล็กกว่าขอบขัน ระยะนั่งเพ่งบริกรรม ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า ๒ คืบ ๔ นิ้ว ตั่งที่รองวงกสิณ ท่านให้สูงไม่เกิน ๒ คืบ ๔นิ้ว ท่านว่าเป็นระยะที่พอเหมาะพอดี เพราะจะได้ไม่มองเห็นรอยที่ปรากฏบนดวงกสิณ ที่ท่านจัดว่าเป็นกสิณโทษ เวลาเพ่งกำหนดจดจำ ท่านให้มุ่งจำแต่สีดิน ท่านไม่ให้คำนึงถึงของและริ้วรอยต่าง ๆ
         กิจก่อนการเพ่งกสิณเมื่อจัดเตรียมอุปการณ์เรียบร้อยแล้ว ท่านให้ชำระร่างกายให้สะอาดแล้วนั่งขัดสมาธิที่ตั่งสำหลับนั่ง หลับตาพิจารณาโทษ ของกามคุณ ๕ ประการตามนัยที่กล่าวไว้ในอสุภกรรมฐาน ต้องการทราบละเอียด โปรดดูที่บทว่าด้วยอสุภกรรมฐานจะทราบละเอียด เมื่อพิจารณาโทษของกามคุณจนจิตสงบจากนิวรณ์แล้ว ให้ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณ จดจำให้ดีจนคิดว่าจำได้ ก็หลับตาใหม่ กำหนดภาพกสิณไว้ ในใจภาวนาเป็นเครื่องผูกใจไว้ว่า "ปฐวีกสิณ" เมื่อเห็นว่าภาพกสิณเลือนไปก็ลืมตาดูใหม่ เมื่อจำได้แล้วก็หลับตาภาวนากำหนดจดจำภาพนั้นต่อไป ทำอย่างนี้บ่อยๆ หลายร้อยหลายพันครั้งได้ ไม่จำกัด จนกว่าอารมณ์ของใจจะจดจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี จะเพ่งมองดูหรือไม่ก็ตาม ภาพกสิณนั้น ก็จะติดตาติดใจ นึกเห็นภาพกสิณได้ชัดเจนทุกขณะที่ปรารถนา จะเห็นติดตาติดใจตลอดเวลาอย่างนี้ ท่านเรียกว่า "อุคคหนิมิต " แปลว่านิมิตติดตา อุคคหนิมิตนี้ ท่านว่ายังมีกสิณโทษอยู่มาก คือภาพที่เห็นเป็นภาพดินตามที่ทำไว้และขอบวงกลมของสะดึงย่อมปรากฏริ้วรอยต่างๆ เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตแล้วท่านให้เร่งระมัดระวังรักษาอารมณ์สมาธิและนิมิตนั้นไว้ จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิต ปฏิภาคนิมิตนั้น รูปและสีของกสิณเปลี่ยนจากเดิม คือกสิณทำเป็นวงกลมด้วยดินแดงนั้น จะกลายเป็นเสมือนแว่นแก้ว มีสีใสสะอาดผ่องใสคล้ายน้ำที่กลิ้งอยู่ในใบบัวฉะนั้น รูปนั้นบางท่านกล่าวว่า คล้ายดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกปิดบัง เอากันง่ายๆ ก็คือ เหมือนแก้วที่สะอาดนั่นเอง รูปคล้ายแว่นแก้ว จะกำหนดจิตให้เล็กโตสูงต่ำ ได้ตามความประสงค์ อย่างนี้ ท่านเรียกปฏิภาคนิมิต เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วท่านให้นักปฏิบัติเก็บตัว อย่ามั่วสุมกับนักคุยทั้งหลาย จงรักษาอารมณ์กายใจให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิเป็นอันดี อย่าใส่ใจอารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อยหนึ่ง เพราะแม้นิดเดียวของนิวรณ์ อาจทำอารมณ์สมาธิที่กำลังจะเข้าสู่ระดับฌานนี้สลายตัวได้โดยฉับพลัน ขอท่านนักปฏิบัติจงระมัดระวังอารมณ์ รักษาปฏิภาคนิมิตไว้ คล้ายกับระมัดระวัง บุตรสุดที่รัก ที่เกิดในวันนั้น

    ๒. อาโปกสิณ

    อาโปกสิณ "อาโป" แปลว่า "น้ำ" กสิณแปลว่า "เพ่ง" อาโปกสิณแปลว่า "เพ่งน้ำ" กสิณน้ำมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนยิ่งดี ถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ท่านให้เอาน้ำที่ใส แกว่งสารส้มก็ได้ อย่าเอาน้ำขุ่น หรือสีต่างๆมา ท่านให้ใส่น้ำในภาชนะเท่าที่จะหาได้ ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง การนั่ง หรือเพ่งมีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณจนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิต อุคคหนิมิตของอาโปกสิณนี้ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม สำหรับปฏิภาคนิมิตปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือใสมีประกายระยิบระยับ เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วจงเจริญต่อไปให้ถึงจตุตถฌาน บทภาวนา ภาวนาว่า อาโปกสิณัง

    ๓. เตโชกสิณ

    เตโชกสิณ แปลว่า "ไฟ" กสิณ "เพ่งไฟ" เป็นอารมณ์ กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้จุดไฟให้ไฟลุกโชนแล้วเอาเสื่อหรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้า ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกันกับปฐวีกสิณ การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบที่ปรากฎตามช่องนั้นเป็นอารมณ์ ภาวนาว่า เตโชกสิณัง ๆ ๆ ๆ ๆ หลายๆ ร้อยพันครั้งจนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นมีรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือคล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทองหรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา

    ๔. วาโยกสิณ

    วาโยกสิณ แปลว่า "เพ่งลม" การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการเห็น หรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้ การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา
        การถือด้วยการถูกต้อง ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้ การถือเอาลมกระทบ จะให้พัดลมเป่าแทนลมพัด หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้าต้นไม้ที่ไหวเพราะลมพัด จะใช้ลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้ เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ให้ภาวนาว่า วาโยกสิณัง ๆ ๆ ๆ
        อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหว ๆ คล้ายกับกระไอแห่งการหุงต้มที่มีไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือ มีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้วนั้นเอง มีอาการปรากฎขึ้นอย่างนั้น
    สำหรับปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือคล้ายกับก้อนเมฆบางที่ลอยอยู่คงที่นั้นเอง อาการอื่นนอกนี้เหมือนปฐวีกสิณ

    ๕. นิลกสิณ

    นิลกสิณ แปลว่า "เพ่งสีเขียว" ท่านให้ทำสะดึงขึงด้วยผ้าหรือหนังกระดาษก็ได้แล้วเอาสีเขียวทา หรือจะเพ่งพิจารณาสีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทำเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ
    อุคคหนิมิต เมื่อเพ่งภาวนาว่า นีลกสิณัง ๆ ๆ ๆ อุคคหนิมิตนั้นปรากฏเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง

    ๖. ปีตกสิณ

    ปีตกสิณ แปลว่า "เพ่งสีเหลือง" การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ แต่อุคคหนิมิตเป็นสีเหลือง ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ นอกนั้นเหมือนกันหมด บทภาวนา ภาวนาว่าเป็นปีตกสิณัง ๆ ๆ

    ๗. โลหิตกสิณ

    โลหิตกสิณ แปลว่า ไเพ่งสีแดง" บทภาวนา ภาวนาว่าโลหิตกสิณัง ๆ ๆ ๆ นิมิตที่จัดหามาเพ่ง จะเพ่งดอกไม้สีแดงหรือ เอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้ อุคคหนิมิตเป็นสีแดง ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ

    ๘. โอทากสิณ

    โอทากสิณ แปลว่า "เพ่งสีขาว" บทภาวนา ภาวนาว่า โอทาตกสิณัง ๆ ๆ ๆ สีขาวที่จะเอามาเพ่งนั้น จะหาจากดอกไม้หรืออย่างอื่นก็ได้ ตามแต่จะสะดวก หรือจะทำเป็นสะดึงก็ได้นิมิต ทั้งอุคคหะและปฏิภาคก็เหมือนนีลกสิณ เว้นไว้แต่อุคคหะเป็นสีขาวเท่านั้นเอง

    ๙. อาโลกสิณ

    อาโลกสิณ แปลว่า "เพ่งแสงสว่าง" ท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝาหรือช่องหลังคา หรือเจาะเสื่อลำแพน หรือหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้ว ตามที่กล่าวในปฐวีกสิณ แล้วภาวนาว่า อาโลกสิณัง ๆ ๆ ๆอย่างนี้ จนอุคคหนิมิตปรากฏ อุคคหนิมิตของอาโลกสิณเป็นเสงสว่าง ที่เหมือนรูปเดิมที่เพ่งอยู่ ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏเป็นเสงสว่างหนาทึบ เหมือนกับเอาแสงสว่างมากองรวมกันไว้ที่นั่นแล้ว ต่อไปขอให้นักปฏิบัติ จงพยายามทำให้เข้าถึงจคคุถฌาน เพราะข้อความที่จะกล่าวต่อไปก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ

    ๑๐. อากาศกสิณ

    อากาสกสิณแปลว่า "เพ่งอากาศ" อากาสกสิณนี้ ภาวนาว่า อากาสกสิณัง ๆ ๆ ท่านให้ทำเหมือนในอาโลกกสิณคือ เจาะช่องฝาเสื่อหรือหนัง หรือ มองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมาตามช่องฝา หรือหลังคา หรือตามช่องเสื่อหรือผืนหนัง โดยกำหนดว่า อากาศ ๆ จนเกิดอุคคหนิมิต ซึ่งปรากฏเป็นช่องตามรูปที่กำหนด ปฏิภาคนิมิตนั้น ปรากฏคล้ายอุคคหนิมิต แต่มีพิเศษที่บังคับให้ขยายออกให้ใหญ่เล็ก สูงต่ำได้ตามความประสงค์ อธิบายอื่นก็เหมือนกสิณอื่น


    อานุภาพกสิณ ๑๐

    กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติในกสิณกองใดกองหนึ่ง สำเร็จถึงจคคุถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณกองนั้นมีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน ๔ แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่างๆตามแบบ ท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าฌานถึงกสิณ อำนาจฤทธิ์ในกสิณต่างๆมีดังนี้

    ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น นิรมิตคนๆเดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคนๆเดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้

    อาโปกสิณ สามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่น อธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ฝนแล้งให้เกิดฝนอย่างนี้เป็นต้น

    เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้เกิดแก่จักษุญาณ สามารถเห็นภาพต่างๆในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในที่ทุกสถานได้

    วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลมอธิษฐานให้มีลมได้

    นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้

    ปีตกสิณ สามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้

    โลหิตกสิณ สามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์

    โอทากสิณ สามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐาน ที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักษุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ

    อาโลกสิณ นิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง

    อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นอับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่งมีอากาศสมบรูณ์เพียงพอแก่ความต้องการได้

    วิธีอธิษฐานฤทธิ์

    วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการ ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน ๔ ก่อนแล้วออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานจิตในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้นแล้วกลับเข้าฌาน ๔ อีก ออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา

    (จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน พิมพ์โดย โฮมเพจศรัทธาธรรม)


    แนะกสิณร่วมวิปัสสนาญาณ 

              ท่านผู้ฝึกกสิณ ถ้าประสงค์จะให้ได้อภิญญาหก ก็เจริญไปจนกว่าจะชำนาญทั้ง ๑๐  กอง ถ้าท่านประสงค์ให้ได้รับผลพิเศษเพียงวิชชาสาม  ก็เจริญเฉพาะอาโลกกสิณ หรือเตโชกสิณ หรือโอทาตกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วฝึกทิพยจักษุญาณ  แต่ท่านที่มีความประสงค์จะเร่งรัดให้เข้าสู่พระนิพพานเร็วๆ ไม่มีความประสงค์จะได้ญาณพิเศษเพราะเกรงจะล่าช้าหรืออัชฌาสัยไม่ ปรารถนารู้อะไรจุกจิก ชอบลัดตัดทางเพื่อถึงจุดหมายปลายทางขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

    ๑. สักกายทิฏฐิ เห็นตรงข้ามกับอารมณ์นี้ที่เห็นว่า ร่างกายคือขันธ์  ๕ เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเราเสียได้ โดยเห็นว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา เพราะถ้าขันธ์ ๕ มีในเรา เรามีในขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ จริงแล้ว ในเมื่อเราไม่ต้องการความทุกข์อันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บและการเปลี่ยนแปลง ขันธ์ ๕ ก็ต้องไม่มีการป่วยไข้และเปลี่ยนแปลง เราไม่ต้องการให้ขันธ์ ๕ สลายตัว ขันธ์ ๕ ถ้าเป็นของเราจริงก็ต้องดำรงอยู่ ไม่สลายตัว แต่นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่ กลับเต็มไปด้วยความทุกข์ เปลี่ยนแปลงไม่หยุดยั้ง ทั้ง ๆ ที่เราไม่ต้องการ และพยายามเหนี่ยวรั้งด้วยวิธีการต่างๆ ขันธ์ ๕ ก็มิได้เป็นไปตามความปรารถนา ในที่สุดก็สลายตัวจนได้ เพราะขันธ์ ๕ เป็นสมบัติของกฎธรรมดา กฎธรรมดาต้องการให้เป็นอย่างนั้น ไม่มีใคร
    มีอำนาจเหนือกฎธรรมดา ฝ่าฝืนกฎธรรมดาไม่ได้ เมื่อจิตยอมรับนับถือกฎธรรมดา ไม่หวั่นไหวในเมื่อร่างกายได้รับทุกข์เพราะป่วยไข้ หรือเพราะการงานหนักและอาการเกิดขึ้นเพราะเหตุเกินวิสัย อารมณ์ใจยอมรับนับถือว่า ธรรมดาของผู้ที่เกิดมาในโลกที่หาความแน่นอนไม่ได้ โลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขจริงจังมิได้ ที่เห็นว่าเป็นสุขจากภาวะของโลก ก็เป็นความสุขที่มีผีสิง คือสุขไม่จริง เป็นความสุขอันเกิดจากเหยื่อล่อของความทุกข์ พอพบความสุขความทุกข์ก็ติดตามมาทันที เช่น มีความสุขจากการได้ทรัพย์ พร้อมกันนั้นความทุกข์เพราะการมีทรัพย์ก็เกิด เพราะทรัพย์ที่หามาได้นั้นจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม เมื่อได้มาแล้ว ก็ต้องมีทุกข์ทันทีด้วยการคอยระวังรักษาไม่ให้สูญหายหรือทำลาย เมื่อทรัพย์นั้นเริ่มค่อย ๆ สลายตัวหรือสูญหายทำลายไป ทุกข์เกิดหนักขึ้นเพราะมีความ เสียดายในทรัพย์ แม้แต่ตัวเองก็แบกทุกข์เสียบรรยายไม่ไหว จะเอาอะไรมาเป็นเครื่องบำรุงความสุขได้จริงจัง ไม่ว่าอะไรก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของกฎธรรมดาสิ้น จิตเมื่อเห็นอย่างนี้ ความสงบระงับจากความหวั่นไหวของการเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้น เป็นจิตที่ประกอบไปด้วยเหตุผล ไม่มีน้ำตาไหล ในเมื่อได้ข่าวญาติหรือคนที่รักตาย ไม่หนักใจเมื่อความตายกำลัง คืบคลานมาหาตน และพร้อมเสมอที่จะรอรับความตายที่จะเกิดแก่ตน ตามกฎของธรรมดา รู้อยู่ คิดอยู่ถึงความตายเป็นปกติ ยิ้มต่อความทุกข์และความตายอย่างไม่มีอะไรหนักใจ จิตมีอารมณ์อย่างนี้ ท่านเรียกว่า ละสักกายทิฏฐิได้แล้ว ได้คุณสมบัติของพระโสดาบันไว้ได้หนึ่งอย่าง
          
    ๒.
     วิจิกิจฉา ละความสงสัยในมรรคผลเสียได้ โดยมีสัทธาเกิดขึ้นเที่ยงแท้มั่นคงว่าผลของการปฏิบัตินี้มีผลที่จะพ้นจากวัฏทุกข์ได้จริง

    ๓.
     สีลัพพตปรามาส  ถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด ไม่ยอมให้ศีลบกพร่อง เมื่อมีคุณสมบัติครบสามประการดังนี้ ท่านก็เป็นพระโสดาบันแล้ว ไม่ต้องรอให้ใครบอก และออกใบประกาศโฆษณา  

    องค์ของพระโสดาบัน 

              เพื่อสะดวกแก่การพิจารณาตัวเอง ขอบอกองค์ของพระโสดาบันไว้ เพราะรู้ไว้เป็นคู่มือพิจารณาตัวเอง
     
              ๑. รักษาศีล ๕ เป็นปกติ  ไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยตลอดชีวิต
     
              ๒. เคารพพระรัตนตรัยอย่างเคร่งครัด  ไม่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย  แม้แต่จะพูดเล่นๆ ก็ไม่พูด
     
              ๓. มีอารมณ์รักใคร่ในพระนิพพานเป็นปกติ ไม่มีความปรารถนาอย่างอื่นนอกจากพระนิพพาน
     

              พระโสดาบันตามปกติมีอารมณ์สามประการดังกล่าวมานี้  ถ้าท่านได้  ท่านเป็นพระโสดา ท่านก็จะเห็นว่าอาการที่กล่าวมานี้เป็นความรู้สึกธรรมดาไม่หนัก  แต่ถ้าอารมณ์อะไรตอนใดในสามอย่างนี้ยังมีความหนักอยู่บ้าง ก็อย่าเพ่อคิดว่าท่านเป็นพระโสดาบันเสียก่อน
    สำเร็จ จะเป็นผลร้ายแก่ตัวท่านเอง ต้องได้จริงถึงจริง แม้ได้แล้วถึงแล้ว ก็ควรก้าวต่อไปอย่าหยุดยั้งเพียงนี้  เพราะมรรคผลเบื้องสูงยังมีต่อไปอีก

    แหล่งข้อมูล horasaadrevision.com