ตำราพิชัยสงครามซุนวู (The Art of War )





ตำราพิชัยสงครามของซุนวู (จีนตัวเต็ม: 孫子兵法; จีนตัวย่อ: 孙子兵法; พินอิน: Sūn Zǐ Bīng Fǎ; ซุนจื่อปิงฝ่า, อังกฤษ: The Art of War; อาจแปลเป็นไทยได้ว่า "ศิลปะแห่งการยุทธ") เป็นตำรายุทธศาสตร์การทหารหรือตำราพิชัยสงครามของจีน ซึ่งถูกเขียนขึ้นเมื่อราวหกร้อยปีก่อนคริสตกาลโดยซุนวู นักยุทธศาสตร์คนสำคัญในยุครณรัฐของจีน เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามฉบับนี้มี 13 บท แต่ละบทเน้นถึงแต่ละแง่มุมของการสงคราม

ตำราพิชัยสงครามของซุนวูเป็นหนึ่งในตำรายุทธศาสตร์การทหารเล่มหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนับได้ว่าเป็นตำราเล่มแรกและเล่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเชิงยุทธศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อแนวคิดทางการทหาร กลยุทธทางธุรกิจ และแนวคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ซุนวูถือเป็นบุคคลแรกที่ตระหนักในความสำคัญของตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งจากเงื่อนไขเชิงรุกในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความคิดเชิงรับของฝ่ายคู่แข่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เขาได้สอนว่า ยุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงการวางแผนกำหนดสิ่งที่จะลงมือทำเท่านั้น แต่ยังต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใน สถานการณ์ต่างๆ ด้วย

ตำราพิชัยสงครามเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาตะวันตกครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1782 (พ.ศ. 2325) ซึ่งเป็นการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสโดยบาทหลวงฌอง โชแซฟท์ มารี อามีโอต์ (Jean Joseph Marie Amiot) นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายเยซูอิต ในปัจจุบันนี้ นอกจากการประยุกต์ใช้ในด้านการทหารแล้ว หลักการในตำราพิชัยสงครามของซุนวูยังได้มีการนำมาปรับใช้ในกลยุทธ์เชิงธุรกิจและด้านการจัดการอีกด้วย


ตำราพิชัยสงครามแบ่งเนื้อหาออกเป็น 13 บรรพ ดังนี้

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 1 วางแผน

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 2 การดำเนินสงคราม

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 3 ยุทธโธบาย

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 4 ลักษณะการยุทธ

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 5 ยุทธานุภาพ

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 6 ความตื้นลึกหนาบาง

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 7 การสัประยุทธ์ชิงชัย

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 8 นานาวิการ

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 9 การเดินทัพ

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 10 พื้นภูมิ

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 11 นวภูมิ


ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 12 พิฆาตด้วยเพลิง

ตำราพิชัยสงครามซุนวู บรรพ 13 การใช้จารชน





แปลและเรียบเรียง : เสถียร วีรกุล พ.ศ. 2495
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2495
พิมพ์ครั้งที่สองแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2529

ทะยานขึ้นตึก(ที่เคย)สูงที่สุดในโลก ด้วยลิฟต์(ที่ยัง)เร็วที่สุดในโลก

สิ่งหนึ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการ "Taiwan Study Camp for Future Leaders from Australia, New Zealand, and Southeast Asians Countries" ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงต่างประเทศของไต้หวัน เห็นตลอดการเดินทางไปมาในกรุงไทเปตลอด 10 วัน คือ "ตึก ไทเป 101" (Taipei one-o-one) ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ในเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะอยู่มุมใดก็ต้องเห็นตึกสีฟ้าเขียว ขณะที่ยอดตึกหายไปในกลุ่มเมฆบนผืนฟ้า


ตึกไทเป 101 มีชื่อมาจากจำนวนชั้นทั้งหมด 101 ชั้น โดยถูกออกแบบบนพื้นฐานเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อลดอันตรายจากแรงลมและแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยบนเกาะนี้ นอกจากนี้ ตึกนี้ยังเคย เป็น "ตึกที่สูงที่สุดในโลก" ด้วยความสูง 509 เมตร ตั้งแต่เริ่มเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2547 จนกระทั่งถึงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ตึกนี้ได้ถูกตึก "บูร์จคาลิฟา" ของดูไบ เบียดขึ้นมาครองแชมป์ด้วยความสูง 828 เมตรอย่างเฉียดฉิว


ถึงแม้จะไม่ได้เป็นตึกที่สูงที่สุดในโลก แต่ตึกนี้ยังครองแชมป์ "ลิฟต์ที่เร็วที่สุดในโลก" ที่มีป้ายอ้างไว้ว่าใช้เวลาเพียง 37 วินาที ทะยานด้วยความเร็ว 37.7 ไมล์จากชั่วโมง จากขั้น 5 ถึงชั้น 89 ซึ่งเป็นชั้นชมวิวในอาคารแบบ 360 องศา


แต่ลิฟต์ตัวประวัติศาสตร์นี้ไม่ได้อยู่ชั้นล่างเหมือนตึกทั่วไป เราต้องเดินวนบันไดเลื่อนผ่านร้านแบรนด์เนมถึง 5 ชั้นก่อน และต่อคิวร่วมกับนักท่องเที่ยวที่แห่มาพิสูจน์ความเร็ว เมื่อลิฟท์มาถึง เราก็พุ่งเข้าไปหาที่ยืนในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ อย่างไม่รอช้า และนับเวลาถอยหลังเตรียมตัวเหินฟ้า


ถ้าไม่มีมีอาการหูอื้อ และจอแสดงตำแหน่งของลิฟต์ตัวนี้ คงไม่แน่ใจว่าเราอยู่ในลิฟต์ที่เร็วที่สุดในโลกจริงหรือเปล่า แต่ก็ต้องเชื่อ เพราะพริบตาเดียว เรามาโผล่ที่ชั้น 89 จริงๆ ทุกคนในลิฟต์ต่างลงความเห็นว่า นอกจากเร็วแล้ว ลิฟต์ตัวนี้ยังน่าจะได้แชมป์ลิฟต์ที่นุ่มที่สุดด้วย


เดินขึ้นไปถึงชั้น 91 ซึ่งเป็นลานชมวิว เพื่อชมความงามของกรุงไทเปได้ไม่นาน จากม่านหมอก กลายเป็นละอองน้ำ และเริ่มเปลี่ยนเป็นเม็ดฝนเม็ดใหญ่ในที่สุด บดบังทัศนียภาพอันกว้างไกลไปจนไม่เห็นอะไร ก่อนตัดสินใจหันหลังกลับเดินลงมาบันได มาใช้ลิฟต์ที่เร็วที่สุดในโลกดิ่งกลับสู่พื้นผิวโลกอีกครั้ง


ระหว่างอยู่ในลิฟต์ คิดถึงสัจธรรมข้อหนึ่ง ..

"มีขึ้นก็ย่อมมีลง" จากที่ 1 ก็เหลือแค่เคยเป็น แล้วนับประสาอะไรกับชีวิตคนเรา..


มติชนออนไลน์

ผลสำรวจมะกันเผย"เฟซบุ๊ค"เป็นสาเหตุทำให้ชาวอเมริกัน 1 ใน 5 ต้องหย่าร้าง




"รอยลิปสติกเคยเป็นหลักฐานมัดความนอกใจ แต่ปัจจุบันกลายเป็นเฟซบุ๊ค "

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าผลการสำรวจกระทำโดยหน่วยงานด้านทนายความของสหรัฐระบุว่า เว็บไซต์เครือข่ายชุมชนออนไลน์ยอดฮิต"เฟซบุ๊ค"มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้ ชาวอเมริกัน 1 ใน 5 ต้องหย่าร้างกัน เนื่องจากคู่สามีภรรยาต่างพบข้อความจีบเกี้ยวของอีกฝ่าย นำไปสู่การใช้เป็นหลักฐานอ้างพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ของอีกฝ่าย หรือทำให้เกิดความขัดแย้งที่ไม่สามารถประนีประนอมกันได้

นอกจากนี้ในหลายกรณียังพบว่า เฟซบุ๊คเป็นต้นตอทำให้คู่สามีภรรยาหันไปติดต่อกับ"ถ่านไฟเก่า"ที่พวกเขาไม่ได้เจอหน้ากันเป็นเวลาหลายปีด้วย

รายงานระบุว่าผลสำรวจพบว่าเฟซบุ๊คเป็นเครือข่ายชุมชนออนไลน์ ที่คุกคามชีวิตคู่ชาวอเมริกันมากที่สุด โดยทนายความ 66 % อ้างว่าข้อความหรือรูปถ่ายในเฟซบุ๊คของสามีภรรยาชาวอเมริกันที่จับได้ว่าอีกฝ่ายไม่ ซื่อสัตย์ ถูกนำไปเป็นหลักฐานในคดีฟ้องหย่า รองลงมาคือ มายสเปซ 15 เปอร์เซนต์ ขณะที่กรณีเช่นนี้ยังเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน กับเหตุการณ์หย่าร้างครึกโครมของดาราดัง "อีว่า ลองโกเลีย"ที่ประกาศหย่าโทนี่ ปาร์กเกอร์ สามีนักบาสเกตบอลชื่อดัง ภายหลังเธอรู้ว่าเขาได้ติดต่อกับหญิงอื่นผ่านเฟซบุ๊คด้วย

ด้านนักวิชาการชี้ว่าเขาเชื่อว่าผู้ใช้บางคนใช้เฟซบุ๊ค เพื่อสร้างโลกจินตนาการส่วนตัว และเพื่อหนีตัวเองจากภาวะไม่สมหวังในโลกปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เขาชี้ว่าผู้คนไม่ควรตำหนิเฟซบุ๊คว่าเป็นสาเหตุของการหย่าร้าง เพราะจริง ๆ แล้วมันเป็นเทคโนโลยีธรรมดาประเภทหนึ่ง เมื่อพิจารณาจากก่อนหน้านี้ที่โลกก็มีอีเมล์ และโทรศัพท์ ที่สามารถทำให้คนเราล่วงรู้ความสัมพันธ์นอกใจของคู่สมรสได้เช่นกัน


มติชนออนไลน์

กลุ่มผู้แปรพักตร์ "เกาหลีเหนือ" เผย ชาวโสมแดงนับพัน ถูกสั่งจำคุกเพราะ "ติดซีรีส์เกาหลี"


กลุ่มชาวเกาหลีเหนือซึ่งแปรพักตร์มาอยู่กับเกาหลีใต้ กล่าวในวันนี้ (6 ธค.) ว่า ประชาชนชาวเกาหลีเหนือมากกว่า 1,000 คน ถูกจับกุม หลังจากแอบดูรายการและละครทางโทรทัศน์จากเกาหลีใต้ ซึ่งสืบเนื่องจากนโยบายอันเข้มงวดของรัฐบาลในการรับสื่อต่างๆจากโลกภายนอก

โดยกลุ่มเอกภาพปัญญาชนเกาหลีเหนือ กล่าวว่า แหล่งข่าวกล่าวว่า ประชาชนประมาณ 1,200 รายถูกสั่งจำคุกในเรือนจำที่เมืองแกชอน ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเกาหลีเหนือ ในความผิดดังกล่าว

การรับเอาวัฒนธรรมจากต่างชาติเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับประชาชนทั่วไปใน เกาหลีเหนือ โดยผู้ที่ละเมิดข้อห้ามดังกล่าวอาจถูกปรับหรือถูกจำคุก แต่ด้วยกระแสความนิยมในการบริโภคแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ และซีดีเพลงที่ผิดกฏหมายจากประเทศจีน ซึ่งเป็นพันธมิตรและคู่ค้าที่สำคัญของเกาหลีเหนือ ทำให้กระแสความนิยมในการเสพวัฒนธรรมด้านต่างๆจากเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเป็น อย่างมาก

"ทางเรือนจำกล่าวว่านี่เป็นครั้งแรก ที่จำนวนผู้ต้องขังจากความผิดในการลักลอบดูละครของเกาหลีใต้ มีจำนวนสูงกว่า 1,000 ราย และตอนนี้นักโทษในคดีดังกล่าวก็เกือบจะล้นเรือนจำอยู่แล้ว" กลุ่มเอกภาพฯกล่าว

โดยกลุ่มอ้างถึงแหล่งข่าวในกรุงเปียงยาง ซึ่งระบุว่า ทางการได้ทำการจัดตั้งกองตำรวจเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งทำหน้าที่ปราบปรามผู้กระทำผิดในข้อหาดังกล่าว ซึ่งถูกเรียกว่า "จิตวิญญาณอันเสื่อมทราม" และผู้ที่ถูกจับกุมได้อาจต้องโทษระหว่าง 2-5 ปี และอาจถูกลงโทษด้วยวิธีการที่รุนแรกว่านักโทษในคดีอื่นๆ

กลุ่มผู้แปรพักตร์ชาวเกาหลีเหนือยังกล่าวอีกว่า แม้ว่าทางการเกาหลีเหนือพยายามโดดเดี่ยวตนเองหรือตั้งกฏข้อบังคับอันเข้มงวด มากเพียงใด แต่ก็คงไม่อาจต้าน "คลื่นวัฒนธรรมเกาหลี" หรือ “Hallyu” ที่แพร่ระบาดไปทั่วภูมิภาคเอเชียได้

เว็บไซด์หนังสือพิมพ์เดลี่ เอ็นเค ของเกาหลีใต้ เปิดเผยเมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า ทางการเกาหลีเหนือเตรียมมาตรการลงโทษขั้นรุนแรงต่อสตรี ที่พยายามเลียนแบบรูปลักษณ์และทรงผมของนักร้องและนักแสดงหญิงของเกาหลีใต้ โดยเรียกการกระทำเช่นนี้ว่า "รูปลักษณ์ของเด็กผู้เหลวไหลแห่งเกาหลีใต้"

มติชนออนไลน์

แดนโรตีแจ้งเกิดกระแส"คนรวยช่วยคนจน"อภิมหาเศรษฐี"ทุบโต๊ะปัง"บริจาค 5.79 หมื่นล.บาท

กระแสรวยแล้วให้สังคมเริ่มแจ้งเกิดมากขึ้นในสังคมอินเดีย ล่าสุด นายอาซิม เปรมจี ประธาน"ไวโปร"ผู้ส่งออกบริการซอฟท์แวร์ รายใหญ่อันดับสามของประเทศ และอภิมหาเศรษฐี ได้บริจาคเงินเข้ากองทุนการกุศลด้านการศึกษาเพื่อเด็กไร้โอกาสในย่านชนบท เป็นเงินมูลค่า 1,270 พันล้านปอนด์ หรือราว 5.76 หมื่นล้านบาท และนายปรานาบมุเฮอจี รัฐมนตรีกระทรวงคลังอินเดีย กล่าวชื่นชนสดุดี ระบุ่า การบริจาคดังกล่าว ได้ส่งสารด้านบวกที่ดี และเขารู้สึกยินดียิ่ง

รายงานระบุว่า นายเปรมจี ซึ่งเป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับสามของอินเดีย ซึ่งฟอร์บส์ระบุว่า มีทรัพย์สินมูลค่า 12,600 ล้านปอนด์ ได้เป็นหนึ่งในเศรษฐีอินเดียในช่วงเร็ว ๆ นี้ ที่ได้เริ่มต้นกระแสบริจาคคนรวยช่วยคน อย่างไรก็ตาม ผู้สันทัดกรณีระบุว่า คนรวยผู้มั่งมีอินเดีย ยังมีการบริจาคเงินช่วยเหลือคนจนในระดับต่ำสุด หรือคิดว่า 1.6 % ของรายได้ครัวเรือน

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีเศรษฐีอินเดียรายคนบริจาคเงินช่วยเหลือคนจน ได้แก่ นายนานดาน นิเลกานี ผู้ก่อตั้งบริษัทซอฟท์แวร์ดัง"Infosys"ซึ่งมอบเงินให้แก่มหาวิทยาลัยเยลเป็น จำนวน 3.6 ล้านปอนด์ และนายนารายานา เมอร์ธี ซึ่งบริจาคเงินเป็นจำนวน 3.25 ล้านปอนด์ให้แก่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มติชนออนไลน์