พุทธศาสนสุภาษิต

หมวดชีวิต-ความตาย

  • ชีวิตนี้วิปริตผันแปร ไม่แน่นอน

  • วัย หมดไปตามลำดับแห่งวัย

  • หนุ่มก็ตาย แก่ก็ตาย

  • ชีวิต ไม่ถึงร้อยปีก็จะตาย

  • ถ้าอยู่เลยร้อยปี ก็ต้องตายเพราะความแก่เป็นแน่แท้

  • คนโง่ก็ตาย คนฉลาดก็ตาย

  • สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนก้าวเดินไปสู่ความตาย

  • คนถึงคราวตาย หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้

  • ชีวิตนี้น้อยนัก ชีวิตนี้สั้นนัก

  • วันและคืนย่อมผ่านไป

  • เมื่อมีชีวิต วัยแห่งชีวิตก็ร่นเข้ามา

  • เกิด ก็เป็นทุกข์

  • จะตาย ก็ตายไปคนเดียว

  • กาลเวลาล่วงไป ราตรีก็ผ่านไป

  • ตาย ก็เป็นทุกข์

  • แก่ ก็เป็นทุกข์

  • สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น

  • จะวิ่งหนีก็ไม่ทัน (ความตายไม่มีใครหนีได้)

  • สัตว์โลก ถูกชราปิดล้อม

  • เจ็บ ก็เป็นทุกข์

  • จะเกิด ก็เกิดมาคนเดียว

  • ชีวิตนี้คับแค้น และสั้นนิดเดียว

  • ชีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย

  • เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรเกื้อกูลกัน

  • เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน

  • เมื่อคนจะตาย ยังแถมประกอบด้วยทุกข์อีก

  • คนที่ร้องให้ถึงคนตาย เขาก็จะต้องตายด้วย

  • ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก

  • เห็นอยู่เมื่อเช้า สายก็ตาย

  • ที่ตายแล้วก็แล้วไป ไม่ควรเศร้าโศกถึง

  • ปราชญ์ทั้งหลาย บอกแล้วว่าชีวิตนี้น้อยนัก

  • โลกถูกความตายครอบเอาไว้

  • เมื่อความตายมาถึงตัว ก็ไม่มีใครป้องกันได้

  • เมื่อคนตายแล้วสมบัติสักนิดก็ไม่ติดไป

  • ทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วจะต้องแตกสลายในที่สุด

  • ทุกชีวิตจะต้องทอดทิ้งร่ายกายไว้ในโลก

  • ไม่มีใครผัดเพี้ยนกับความตาย ซึ่งมีอำนาจมากได้

  • สถานที่ที่ได้ชื่อว่าไม่มีคนตาย ไม่มีในโลก

  • ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนและไม่ควรประมาท

  • ทั้งหนุ่มและแก่ ล้วนร่างกายแตกดับไปทุกคน

  • สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น ถูกชราปิดล้อม

  • เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน

  • ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย

  • กี่วันผ่านไป ชีวิตก็ยิ่งใกล้ความตาย

  • คนทุกคนต้องตาย

  • วัยสิ้นไปตามคืนและวัน

  • การตายโดยชอบธรรม ดีกว่าการมีชีวิตอยู่โดยไม่ชอบธรรม

  • อายุของคนย่อมหมดสิ้นไป

  • ความตายย่อมมีแก่ผู้เกิด

  • วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุก็เหลือน้อยเข้าทุกที

  • สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไป

  • สายเห็นกันอยู่ รุ่งเช้าอีกวันก็ตาย

  • มีชีวิตอยู่อย่างไม่ถูกต้อง หาประเสริฐไม่

  • เงิน ก็ซื้ออายุให้ยืนยาวไม่ได้

  • สัตว์ทั้งปวง จัดทอดทิ้งร่างไว้ในโลก

  • ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก

  • วัยย่อมเสื่อมลงเรื่อยไป ทุกหลักตา ทุกลืมตา

  • เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดเดียวจะติดตัวไปก็ไม่มี

  • ตายเพื่อความถูกต้องประเสริฐกว่า

  • ถึงคราวตาย บุตรทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้

  • ถึงคราวตาย บิดา ญาติพี่น้องก็ช่วยไม่ได้

  • รวยก็ตาย จนก็ตาย

  • ทรัพย์สมบัติ ก็ซื้อความแก่ไม่ได้

  • สักวันหนึ่ง ก็จะพรากจากกันไป

  • วันคืน ไม่ผ่านไปเปล่า

  • มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสามนี้ดุจไฟลามลุกไหม้

  • ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวความตาย

  • ผู้ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี

  • วันคืนผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมจะเหลือน้อยลง

  • อายุย่อมหมดไปทุกขณะที่หลับตาและลืมตา

  • คนจะมีชีวิตอยู่ได้ก็เพียงร้อยปี หรือจะเกินก็เพียงเล็กน้อย

  • แม้ชีวิตอยู่ร้อยปี ก็ไม่พ้นความตายไปได้ มวลมนุษย์ล้วนมีความตายรออยู่ข้างหน้า

  • ชีวิตของเราเป็นของน้อย ชราและพยาธิก็คอยย่ำยี

  • กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง

  • คนใดร้องให้บ่นเพ้อถึงคนที่ตายไปแล้ว แม้คนที่ร้อนนั้นก็ต้องตายเหมือนกัน

  • เมื่อมาเกิด ก็ไม่มีใครอ้อนวอนมาเกิด เมื่อตายจากโลกนี้ ก็ไม่มีใครอนุญาตให้ไป

  • วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป จากประโยชน์ที่จะทำ

  • ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด

  • ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า

  • รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป แต่ชื่อและโครตไม่เสื่อมสลาย

  • อายุสังขาร ใช่จะประมาทไปตามสัตว์ผู้ยืน นั่ง นอน หรือ เดินอยู่ก็หาไม่

  • สิ่งมีชีวิตทั้งปวง ย่อมกลัวโทษและกลัวความตาย จงทำตนเป็นอุปมา แล้วไม่พึงฆ่าหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า

  • เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท

  • ร่างกายนี้ ไม่นานนัก เมื่อวิญญาณจากไปแล้ว หมู่ญาติก็เกลียดกลัว เอาไปทิ้งในป่าช้าเหมือนท่อนไม้

  • เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณะสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต

  • กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปที่ละตอน ๆ ตามลำดับ

  • อายุของคนนี้น้อยนัก จะต้องจากโลกนี้ไป จึงควรทำกุศล และประพฤติพรหมจรรย์

  • น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของคน ก็ย่อมไม่เวียนไปสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น

  • ชีวิตนี้เป็นสิ่งคับข้อง เป็นสิ่งเล็กน้อย ประกอบด้วยทุกข์ ใครเล่ายังจะอาศัยชีวิตนี้ ไปสร้างเวรกับผู้อื่น

  • ชีวิตนี้น้อยนัก ไม่ถึงร้อยปีก็ตายกันแล้ว ถ้าจะอยู่เกินไป ก็ต้องตายเพราะความแก่

  • วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ ย่อมสิ่นไป เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ฉะนั้น

  • ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุ ไม่ตั้งอยู่ในอรูปธาตุ ย่อมหลุดพ้นไปได้ในในโรธธาตุ, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ละมัจจุได้

  • อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย พึงประพฤติดุจคนมีศรีษะถูกไฟใหม้ มฤตยู (ความตาย) จะไม่มาถึง ย่อมไม่มี

  • ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า

  • ความตายย่อมครอบงำคนเก็บดอกไม้ (กามคุณ) ที่มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่อิ่มในกาม ไว้ในอำนาจ

  • ภัยของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมี เพราะต้องตายแน่นอน เหมือนภัยของผลไม่สุก ย่อมมี เพราะต้องหล่นในเวลาเช้าฉะนั้น

  • ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้ว ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น

  • ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลอง ฉันใด, ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปเช่นกัน ฉันนั้น

  • การร้องให้ ความโศกเศร้า หรื การคร่ำครวญร่ำไรใด ๆ ย่อมไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ตายแล้วก็คงอยู่อย่างเดิมนั้นเอง

  • เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา ไม่ว่าญาติพวกพ้อง มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้ จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี

  • ข้าพเจ้าไม่มีความชั่ว ซึ่งทไว้ ณ ที่ไหน ๆ เลย ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง

  • การร้องให้หรือโศกเศร้า จะช่วยให้จิตใจสงบ สบาย ก็หาไม่ ทุกข์ยิ่งเกิดเพิ่มพูนทับทวี ทั้งร่ายกายก็พลอยทรุดโทรม

  • คนที่รักใคร่ ตายจากไปแล้ว ย่อมไม่ได้พบเห็นอีกเหมือนคนตื่นขึ้นไม่ได้เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน

  • จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง

  • คนที่สละความเศร้าโศกไม่ได้ มัวทอดถอนถึงคนที่จากไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของความโศก ย่อมประสบความทุกข์หนักยิ่งขึ้น

  • ตอนเช้ายังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเห็นบางคนก็ไม่เห็น เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็น

  • ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่แก่ตน (เช่นผู้ที่ตายไปแล้ว เป็นต้น) ไซร้ ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเอง ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา

  • แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น

  • ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด

  • ผลไม้สุกแล้ว ก็หวั่นแต่ละต้องร่วงหลุ่นไปตลอดเวลา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็หวั่นแต่จะตายอยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น

  • อายุของคนน้อยนัก คนดีไม่ควรลืมอายุ ควรระลึกถึงอายุดุจคนถูกไฟไหม้ศรีษะ เพราะการที่ความตายจะไม่มาถึงนั้น ไม่มีเลย

  • ถ้าจะเศร้าโศกถึงคนที่ตายไปแล้ว ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเองด้วย ที่ตกอยู่ในอำนาจของความตายตลอดเวลา

  • ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด, สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น

  • เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอน ของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว พึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไป ก็ทำใจให้ได้ว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้

  • ดูซิ.. ถึงคนอื่น ๆ ที่กำลังเตรียมตัว เดินทางไปตามยถากรรม ที่นี่สัตว์ทั้งหลายเผชิญกับอำนาจ ของพญามัจจุราชเข้าแล้ว กำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น

  • เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกัน ก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรเมตตา เอื้อเอ็นดูกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้

  • วันคืนล่วงไปเท่าไรชีวิตก็พร่องลงไปเท่านั้น เวลาแห่งความตายรุกไล่เข้าไปทุกอิริยาบท ฉะนั้นจึงไม่ควรประมาทเวลา

  • จะอยู่ในอากาศ อยู่กลางมหาสมุทร เข้าไปสู่หลืบเขา ก็ไม่พ้นจากมฤตยูได้ ประเทศคือดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มี

  • กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยล่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้

  • เมื่อเศร้าโศกไป ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง ร่างกายจะผ่ายผอม ผิดพรรณจะซูบซีดหม่นหมอง ส่วนผู้ที่ตายไปแล้ว ก็จะเอาความโศกเศร้านั้นของเรา ไปช่วยอะไรตัวเขาไม่ได้ ความร่ำไรรำพัน ย่อมไร้ประโยชน์

  • ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องให้ เหมือนกับขอพระจันทร์ที่โคจรไปในอากาศ คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา
  • พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดทุกข์-พ้นทุกข์

  • การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก่อให้เกิดทุกข์

  • การพบเห็นสิ่งที่ไม่รัก ทำให้เกิดทุกข์

  • สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง

  • ความจน เป็นทุกข์ในโลก

  • ทุกเสมอด้วยขันธ์ ไม่มี

  • เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้

  • คนไม่มีที่พึ่ง.. อยู่เป็นทุกข์

  • ผู้แพ้.. ย่อมอยู่เป็นทุกข์

  • การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก

  • ทุกข์.. ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล

  • นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง

  • ผู้ดื่มธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข

  • การสะสมบุญ นำสุขมาให้

  • เมื่อหมดกังวล ทุกข์ก็ไม่มี

  • ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข

  • ปฏิบัติชอบต่อมารดา เป็นความสุขในโลก

  • ปฏิบัติชอบต่อบิดา เป็นสุขเช่นกัน

  • การแสดงธรรม ทำให้เกิดสุข

  • ผู้ไม่มีอะไรให้กัลวล สุขจริงหนอ

  • ครองเรื่อนไม่ดี ก็เป็นทุกข์

  • ปฏิบัติชอบต่อสมณะ ย่อมเป็นสุข

  • ท่านผู้ไกลกิเลส ช่างสุขจริงหนอ

  • ศีลก่อให้เกิดสุขตราบเท่าชรา

  • ทุกข์ เท่านั้นเกิด

  • ศรัทธาที่มั่นคง ทำให้เกิดสุข

  • โลกตั้งอยู่บนฐานแห่งความทุกข์

  • คนมีตัณหาเป็นทุกข์บ่อยและนาน

  • ละทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นความสุข

  • เป็นคน พึงทำทุกข์ให้หมดไปได้

  • สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

  • การได้ปัญญา ทำให้เกิดสุข

  • การสะสมบาป เป็นทุกข์

  • การอยู่ร่วมกับคนไม่เสมอกันก็เป็นทุกข์

  • ไม่พบคนที่รักก็เป็นทุกข์

  • พอใจเท่าที่มี เป็นความสุข

  • ผู้ฉลาด พึงละทุกข์ในโลกนี้ให้ได้

  • การไม่เบียดเบียนกัน เป็นทุกข์ในโลก

  • คนโง่ ย่อมได้รักทุกข์บ่อย ๆ

  • กามมีความคับแค้นเป็นราก มีทุกข์เป็นผล

  • ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้

  • สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี

  • บุญให้ความสุขเมื่อถึงคราวตาย

  • การไม่พบคนชั่วเลย มีความสุขทุกเมื่อ

  • ทุกข์ เสมอด้วยขันธ์ไม่มี

  • ผู้แพ้ ย่อมนอนเป็นทุกข์

  • พบคนไม่รัก ก็เป็นทุกข์

  • การไม่ทำชั่ว ทำให้เกิดสุข

  • ความทุกข์ เกิดขึ้นบ่อย ๆ

  • การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์

  • ความจนเป็นทุกข์ในโลก

  • กามทั้งหลายมีสุขน้อย ทุกข์มาก

  • การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดสุข

  • ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป

  • อยากได้สุข เมื่อปฏิบัติถูกทาง ก็ย่อมได้สุข

  • นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ

  • นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด

  • ทุกข์เป็นภัยใหญ่หลวงของโลก
  • พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดบาป-เวร

  • บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกอื่น

  • คนมักทำบาปเพราะความหลง

  • บาปไม่มี แก่ผู้ไม่ทำ

  • คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน

  • พึงละเว้นบาปทั้งหลาย

  • การไม่ทำบาป นำสุขมาให้

  • ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้

  • คนพูดเท็จ จะไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี

  • คนสะอาด ไม่ยินดีในความชั่ว

  • ไม่ควรทำบาป เพราะเห็นแก่กิน

  • สาธุชนย่อมละบาปกรรมด้วยตปะ (ตบะ)

  • เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่แปดเปื้อน

  • แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด, คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วบบาปฉันนั้น

  • ผู้ใดระงับบาปน้อยใหญ่ได้โดยประการทั้งปวง ท่านเรียกผู้นั้นว่าสมณะ เพราะเป็นผู้ระงับบาปทั้งหลายได้

  • คนพูดเท็จ ล่วงสัตยธรรมเสียอย่างหนึ่ง ไม่คำนึงถึงโลกหน้า จะไม่พึงทำบาปเป็นอันไม่มี

  • ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด, บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น

  • ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อย มีทรัพย์มาก เว้นหนทางที่มีภัย และ เหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น

  • บาปกรรม ที่ทำแล้วย่อมไม่มีเปลี่ยนแปลง เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น, บาปย่อมตามเผาคนเขลา เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้

  • เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร

  • เวรของผู้จองเวร ย่อมไม่ระงับ

  • ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมระงับด้วยเวรไม่ได้เลย

  • ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง, เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือนร้อน
  • พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดกิเลส

  • คนทั้งหลาย อันถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้

  • ความอยาก ละได้ยากในโลก

  • กรรมทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์

  • ความอยา ก มีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย

  • ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี

  • แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี

  • ทุกข์อื่นยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี

  • ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป

  • โกรธแล้ว ย่อมมองไม่เห็นธรรม

  • ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก

  • ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน

  • คนโกรธฆ่าได้ แม้แต่มารดาของตน

  • คนมักโกรธย่อมมีผิวพรรณไม่งาม

  • กามทั้งหลายที่ทำให้อิ่มได้ ไม่มีในโลก

  • ฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอนเป็นสุข

  • ความอยาก ย่อมชักพาคนไปต่าง ๆ

  • ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มี เพราะฝนคือ กหาปณะ (คือกามไม่มีที่สิ้นสุด)

  • ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือนร้อน เหมือนถูกไฟใหม้

  • คนโกรธจะผลาญสิ่งใด แม้สิ่งนั้นทำยาก ก็เหมือนทำง่าย

  • ผู้บริโภคกามเป็นอันมาก ไม่สิ้นทะเยอทะยาน เป็นผู้พร่อง อยู่เทียว ละร่างกายไปแท้ (ตายไปทั้งที่หื่นกระหายกาม)

  • ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย

  • คนโลภไม่รู้ทันว่าความโลภนั้น เป็นภัยที่เกิดขึ้นภายในตัวเอง

  • ท่านที่ตัดความอยากเสียได้ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้

  • ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย

  • ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่านไป สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า

  • โลภเข้าแล้ว มองไม่เห็นธรรม เมื่อความโลภเข้าครอบงำคน เวลานั้นมีแต่ความมืดตื้อ

  • ผู้ไม่โกรธตอบคนโกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก

  • ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น

  • ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่านไป สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์

  • ภิกษุผู้ถอนภวตัณหาได้แล้ว มีจิตสงบแล้ว สิ้นความเวียนเกิดแล้ว ย่อมไม่มีภพอีก

  • โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในทุกข์

  • ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก, สัตว์เป็นอันมาก ถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนาจนกถูกบ่วงรัดไว้ฉะนั้น

  • โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้ เพราะกำจัดความอยาก, เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้

  • ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่

  • โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น

  • คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ

  • ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา

  • หมู่สัตว์นี้ประกอบด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัด ถูกมานะมัดไว้ ทำความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ย่อมล่วงสงสารไปไม่ได้

  • สัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว ถูกชราปิดล้อมไว้ ถูกลูกศรคือตัณหาเสียบแล้ว ถูกอิจฉาคุกรุ่นแล้วทุกเมื่อ

  • ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น

  • โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูก มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป เพราะละตัณหาเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกได้ทั้งหมด

  • กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ กามทั้งหลายเป็นที่คนโง่หมกมุ่น เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาล

  • ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ไม่สำคัญตนว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญตนว่าต่ำกว่าเขาในโลก, ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีกิเลศเครื่องฟูขึ้น

  • ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม, ความโลภ เข้าครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น

  • คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่งอกงาม ในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว

  • บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้วย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม

  • เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่นในธรรม อย่าง เมื่อนั้นกิเลศเครื่องตรึงทั้งปวงของพราหณ์ผู้รู้นั้น ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้

  • ผู้ใดไม่มีกังวลว่านี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้นเมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้

  • ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น และมีสติอยู่ทุกอิริยาบถเถิด

  • กามทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั้งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล

  • ผู้ใดข้ามพ้นกามในโลก และเครื่องข้องที่ข้ามได้ยากในโลก, ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก, ชื่อว่าไม่เศร้าโศก ไม่ยินดี

  • คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำ ความหลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้, ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความทะนงตัว

  • เมื่อผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่เราไม่สำนึกบุญคุณ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้

  • พราหมณ์ .. พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน, เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

  • ท่านทั้งหลายจงตัดป่า (กิเลศ) อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดจากป่า ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านจงตัดป่าและสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีป่า เถิด

  • ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้โภคทรัพย์

  • โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฏ เพราะความตระหนี่ (และความประมาท) เรากล่าวความอยากว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก เป็นทุกข์ภัยใหญ่ของโลกนั้น

  • สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำตนให้เป็นอุปมาล้าไม่ฆ่าเขาเอง ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า

  • ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว, ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย

  • ผู้ใดไม่รู้ ย่อมก่ออุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ เพราะฉะนั้น ผู้รู้เห็นแดนเกิดแห่งทุกข์ จึงไม่ควรก่ออุปธิ

  • กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆ กัน บุคคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้วเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด

  • บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง, เพราะทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตาม ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น

  • บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง, เพราะเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตาม ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น

  • ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา ความร่าเริง การเล่น และ เมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย
  • พุทธศาสนสุภาษิต: หมวดกรรม



    • ทำดี ได้ดี 
    • ทำชั่ว ได้ชั่ว
    • ความดี อันคนดีทำง่าย
    • ความดี อันคนชั่วทำยาก
    • ความชั่ว ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
    • ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู
    • ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า
    • คนเราจะเลวเพราะการกระทำ
    • ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ
    • คนเราจะดีเพราะการกระทำ
    • สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้
    • ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ)
    • กรรมชั่วของตน นำตนไปสู่ทุคติ
    • พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ
    • กรรมที่เป็นประโยชน์และดี ทำได้ยากยิ่ง
    • กรรมจำแนกสัตว์ให้ดีเลวแตกต่างกัน
    • ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    • คนชั่ว ย่อมเดือนร้อนเพราะกรรมชั่วของตน
    • พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว
    • ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
    • สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย
    • การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย
    • อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย
    • การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก
    • พึงรักษาความดีของคนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
    • รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว
    • คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นในตนเอง
    • ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
    • บัณฑิตไม่ทำชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว
    • ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้
    • ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย, จึงควรอยู่ในราชการ
    • เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือนร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
    • ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว
    • บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
    • ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น
    • ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
    • ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนแต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย
    • สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข
    • สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข
    • ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือนร้อนในภายหลัง ดุจมานพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น
    • อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ
    • คนพาลทรามปัญญา ย่อมดำเนินชีวิตโดยมีตนเองนั้นแหละเป็นศัตรู
    • กรรมใด ทำไว้ ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือ ด้วยใจ กรรมนั้นแหละเป็นสมบัติของเขา ซึ่งเขาจะพาเอาไป
    • การงาน 1 วิชา 1 ธรรม 1 ศีล 1 ชีวิตอันอุดม 1 คนบริสุทธิ์ด้วยสิ่งทั้ง 5 นี้ หาใช่ด้วยตระกูลหรือ ด้วยทรัพย์ไม่
    • ธัญญาหาร ทรัพย์สิน เงินทอง หรือสมบัติที่ครอบครอง ไม่ว่าอย่างใดที่มีอยู่ คนรับใช้ คนงาน คนอาศัยทั้งหลาย ทุกอย่างล้วนพาเอาไปไม่ได้ ต้องทิ้งไว้ทั้งหมด

    พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดธรรม

  • ธรรม เหมือนห้วงน้ำไม่มีตม

  • สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

  • ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า

  • ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ

  • ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี

  • ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก

  • พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต

  • สัจจะ เป็นรสดียิ่งกว่าประดารสทั้งหลาย

  • บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว

  • ศีล เป็นเกราะอย่างอัศจรรย์

  • บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย

  • เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง มีหวังไปสุคติ

  • ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต

  • การระมัดระวังกาย เป็นความดี

  • การระมัดระวังใจ เป็นความดี

  • ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์

  • ปราชญ์ พึงรักษาศีล

  • คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์

  • ทำได้แล้วค่อยพูด

  • ถึงพูดดี ก็ไม่ควรพูดเกินเวลา

  • โลก ถูกจิตนำไป

  • การฝึกจิต เป็นการดี

  • เมื่อจิตเศร้าหมอง มีหวังไปทุคติ

  • ศีล ยอดเยี่ยมในโลก

  • พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น

  • ความกตัญญูกตเวที เป็นพื้นฐานของคนดี

  • ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน

  • ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิต ย่อมเดือดร้อน

  • ธรรมะ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

  • ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษควรรักษา

  • ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้

  • ควรเคารพสัทธรรม

  • ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล

  • ทำไม่ได้ อย่าพูด

  • ศรัทธา เป็นเพื่อนแท้ของคน

  • ความสะอาด รู้ได้ด้วยคำพูด

  • คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำโชคอยู่ตลอดเวลา

  • ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี

  • พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย

  • ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป

  • ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ

  • ผู้มีปิติในธรรม อยู่เป็นสุข

  • ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข

  • ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า

  • ผู้ตั้งมั่นอยู่ในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง

  • เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม

  • คนมีสติ ย่อมดีขึ้นทุกวัน

  • สติ คือความตื่นในโลก

  • ผู้มีจิตใจตั้งมั่น ย่อมไม่เบียดเบียนคนอื่น และ แม้ตนเอง

  • ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้งอาศัย เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั่วไป ฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์

  • ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดเพ้อ มีปรีชา ไม่หยิ่ง มีใจมั่นคงนั้นแล ย่อมงดงามในธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว

  • สัจจะ ธรรมะ อหิงสะ สัญญมะ และ ทมะ มีอยู่ในผู้ใด อารยชนย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก

  • ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

  • ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง

  • ชนเหล่าใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้น จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก

  • ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี, ผู้นั้นย่อมห่างจากประสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น

  • ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ

  • โสรัจจะ และ อวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง สติ และ สัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า

  • ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ดารดาษด้วยดอกไม้คือวิมุติติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน

  • ผู้มีปัญญาทราม มีจิตใจกระด้าง ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนดินกับฟ้า

  • ผู้ใดสอนธรรมแก่คนที่ปฏิบัติไม่ถูก ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น จะไม่ไปสู่ทุคติ

  • เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก, พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้

  • นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด ปัญญา สติ และนามรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น เพราะวิญญาณดับ

  • กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม คนสามัญไม่อาศัยธรรม ชนทั้ง นั้นละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ

  • ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียรละ ความเกิดความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน

  • กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร จัณฑาล และ คนงานชั้นต่ำ ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์

  • พึงเป็นผู้พอใจ และ ประทับใจ ในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน

  • คนมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวอยู่ช้านาน ไม่ล่วงพ้นสงสารที่กลับกลอกไปได้

  • ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ละกิเลศเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน

  • ผู้ถูกราคะย้อม ถูกกองมืด (อวิชชา) ห่อหุ้มแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม สำหรับฝืนใจอันละเอียดลออ ลึกซึ้ง ซึ่งเห็นได้ยาก

  • บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และ ป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี

  • ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก

  • พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และ ไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้นควรเป็นผู้ทรงธรรม

  • ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

  • เราตถาคต ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และ การสละสิ่งทั้งปวง

  • พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ

  • มหาราช ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรม นอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสุคติ

  • เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ก็ไม่มีภพต่อไปอีก

  • ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว

  • กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกันกระแสเหล่านั้น เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา

  • ผู้ละปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรม ที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

  • ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าผู้ทรงธรรม

  • ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์, ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม อย่าง

  • บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว, ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง, ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง

  • บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ประเสริฐสุด, บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม ประเสริฐสุด, และ บรรดาสัตว์ เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ประเสริฐสุด

  • ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษ กับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้

  • จงเด็ดเยื่อใยของตนเองเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว

  • พึงขจัดปัญหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้น ๆ

  • สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์, แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว (บกพร่อง), เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน แม้ด้วยเหตุนี้ เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมุติของตน ๆ ว่าเป็นจริง

  • เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และ ฝั่งทะเลก็ไกลกัน แต่ธรรมของสัตบุรุษ กับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น

  • ท่านผู้ดับไป (คือปรินิพพาน) แล้ว ไม่มีประมาณ, จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี, เมื่อธรรมทั้งปวง (มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด
  • พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดความสุข


  • ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้


  • ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว หลับและตื่นย่อมเป็นสุข


  • ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี


  • ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก


  • การแสดงสัทธรรม นำความสุขมาให้


  • ความสงบระงับแห่งสังขารนั้น เป็นสุข


  • นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


  • จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล


  • ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง


  • การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุขมาให้เลย


  • ความดี โจรลักไม่ได้


  • คนเรานี้ ถ้ามีอันทำชั่วลงไป ก็อย่าพึงทำความชั่วนั้นซ้ำเข้าอีก


  • บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ


  • ความชั่ว ไม่ทำเสียเลย จะดีกว่า


  • ความดี ทำไว้แล จะดีกว่า


  • อย่าดูหมิ่นความชั่วว่าเล็กน้อย คงจักไม่มีผลมาถึงตัว


  • สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม


  • ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว


  • ธรรมนั่นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม


  • ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำมาซึ่งความสุข


  • ผู้อิ่มในธรรม ย่อมนอนเป็นสุข


  • เกียรติไม่ทิ้งผู้ตั้งอยู่ในธรรม


  • ผู้ประพฤติธรรม ย่อมนอนเป็นสุข


  • กรรมไม่ดี ย่อมเผาผลาญในภายหลัง


  • การสร้างสมความดี นำสุขมาให้


  • ไม่ควรทำบาป แม้เพราะเห็นแก่กิน


  • การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตนนั้นทำง่าย


  • ความดี คนชั่ว ทำยาก


  • ความดี คนดี ทำง่าย


  • ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญ นี้เป็นชื่อของความสุข


  • ถึงคราวจะสิ้นชีพ บุญก็ช่วยให้เป็นสุข


  • การไม่ทำความชั่ว ย่อมก่อให้เกิดความสุข


  • ความชั่ว คนชั่ว ทำง่าย


  • เพราะน้ำหยดทีละน้อย หม้อน้ำก็ยังเต็มได้


  • ความดีที่ทำไว้เองนี้แหละ เป็นทรัพย์ส่วนของตัวโดยเฉพาะ


  • ตายเพราะชอบธรรมดีกว่า อยู่อย่างไม่ชอบธรรม จะมีค่าอะไร


  • กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือ ให้ทราม และประณีต


  • ความดีที่ทำไว้เองเป็นมิตรตามตัวไปเบื้องหน้า


  • ทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลดี


  • อย่าพึงสร้างความพอใจในความชั่วนั้น การสั่งสมความชั่ว เป็นการก่อความทุกข์


  • ทำกรรมใดแล้ว ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลไม่ดี


  • ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จแก่ตน โดยทางไม่ชอบธรรม


  • ธีรชนสร้างความดีทีละน้อย ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี


  • การใดเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง


  • พาลชนสร้างสมความชั่วทีละน้อย ก็เต็มเพียบไปด้วยความชั่ว


  • การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม การชำระจิตของตนให้ผ่องใส สามนี้ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า


  • คนมีความชั่วย่อมเดือนร้อน เพราะกรรมของตน


  • ไม่ได้แต่ชอบธรรมดีกว่า ถึงได้แต่ไม่ชอบธรรมจะดีอะไร


  • บัณฑิตไม่ประกอบความชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว


  • บัณฑิตนั้น ถึงถูกทุกข์กระทบ ถึงพลาดพลั้งลงก็คงสงบอยู่ได้ และ ไม่ละทิ้งธรรมเพราะชอบหรือชัง


  • ช่างดอกไม้ ร้อยพวงมาลัยได้มากมาย จากดอกไม้กองหนึ่ง ฉันใด คนเรา เกิดมาแล้วก็ควร สร้างความดีงามให้มาก ฉันนั้น


  • บุคคลใดเคยทำกรรมชั่วไว้ แล้วกลับตัวได้ หันมาทำดีปิดกั้น บุคคลนั้นย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์อันพ้นจากเมฆหมอก


  • บุคคลใดในกาลก่อนเคยผิดพลาด ครั้นภายหลังเขากลับตัวได้ไม่ประมาท บุคคลนั้น ย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์ อันพ้นจากเมฆหมอก


  • พึงสละทรัพย์ เพื่อเห็นแก่อวัยวะ พึงสละอวัยวะ ในเมื่อจะรักษาชีวิต พึงสละได้หมด ทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และ ชีวิต ในเมื่อคำนึงถึงธรรม
  • พุทธศาสนสุภาษิต: หมวดบุญ

    • บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต
    • บุญ โจรนำไปไม่ได้
    • บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ ในโลกหน้า
    • คนสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
    • ควรทำบุญอันนำสุขมาให้
    • ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
    • สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ , บุญทั้งหลายที่ตนทำเอง บุญนั้นจะเป็นมิตรในสัมปรายภพ
    • ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมยินดีในโลกนี้ ตายแล้ว ย่อมยินดี ชื่อว่าย่อมยินดีในโลกทั้งสอง, เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไปแล้ว ไปสู่สุคติ ย่อมยินดียิ่งขึ้น
    • ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อมบันเทิง ชื่อว่าย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง, เขาเห็นความบริสุทธิ์ แห่งกรรมของตนแล้ว ย่อมบันเทิงปราโมทย์
    • ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อย จักไม่มาถึง, แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลง ฉันใด, ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญฉันนั้น

    พุทธศาสนสุภาษิต: หมวดศรัทธา


    • ศรัทธาเป็นทรัพย์ ประเสริฐของคนในโลกนี้
    • ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียงคือกุศล
    • ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
    • ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน
    • ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้
    • ผู้มีศรัทธาประกอบด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยศและโภคะ จะไปสู่ถิ่นใด ๆ ก็มีคนบูชาในถิ่นนั้น ๆ
    • ผู้ใดใคร่เห็นผู้มีศีล ปรารถนาฟังพระสัทธรรม กำจัดมลทิลคือความตระหนี่ได้, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าผู้มีศรัทธา
    • คนใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวด้วยศรัทธา, คนนั้นย่อมได้ข้าว ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้าเหมือนกัน
    • ผู้มีศรัทธา มีปัญญา ตั้งในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล แม้คนเดียว ย่อมเป็นประโยชน์แก่ญาติ และ พวกพ้องผู้ไม่มีศรัทธา

    พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดปัญญา

  • ผู้มีปัญญา พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา

  • ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบด้วยหลายประการ

  • ปัญญาเป็นรัตนะแห่งนรชน

  • ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา

  • ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจพิจารณา

  • คนเราจะมองเห็นอรรถชัดแจ้งได้ด้วยปัญญา

  • ผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนมาก

  • ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตัว

  • รู้จักฟัง ย่อมได้ปัญญา

  • พึงวิจัยเรื่องราวตลอดสายให้ถึงต้นตอ

  • ความสิ้นปัญญาย่อมเกิดเพราะความไม่ประกอบ

  • คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา

  • ปัญญา ย่อมเกิดเพราะใช้การ

  • ไม่พึงละเลยการใช้ปัญญา

  • ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด

  • คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา

  • ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ได้เล่าเรียน

  • ปัญญาแล ประเสริฐกว่าทรัพย์

  • ปัญญา เป็นดวงแก้วของคน

  • ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก

  • คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ

  • ความพินิจ ไม่มีแก่คนไร้ปัญญา

  • คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐสูงสุด

  • คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา

  • เมื่อขาดปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้

  • ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์

  • ปัญญาย่อมปกครองบุรุษนั้น

  • ผู้มีปัญญา รู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า

  • ปัญญาย่อมเจริญด้วยประการใด ควรตั้งตนไว้ด้วยประการนั้น

  • ราคะ โทสะ ความมัวเมา และ โมหะ เข้าที่ไหน ปัญญาย่อมเข้าไม่ถึงที่นั้น

  • ขาดตาปัญญาเสียแล้ว ก็เหมือนคนตาบอด เหยียบลงไปได้ แม้กระทั่งไฟที่ส่องทาง

  • คนมีปัญญา ถึงสิ้นทรัพย์ ก็ยังเป็นอยู่ได้

  • คนมีปัญญาประเสริฐกว่า คนโง่ถึงจะมียศก็หาประเสริฐไม่

  • คนที่อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาจะครอบงำเอาไว้ในอำนาจไม่ได้

  • ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญา ว่า ประเสริฐสุด

  • คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น

  • ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้, แต่อับปัญญา แม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้

  • ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้

  • ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย

  • ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ฟังแล้ว ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติ และชื่อเสียง คนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้ แม้ในความทุกข์ก็หาความสุขได้

  • บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ, ผู้อิ่มด้วยปัญญานั้นย่อมไม่เดือนร้อนด้วยกาม, ตัณหาครอบงำ ผู้อิ่มด้วยปัญญาไว้ในอำนาจไม่ได้

  • คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ

  • คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตามผู้มีปัญญา

  • ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล ประกอบความสงบใจนั่นแล

  • คนโง่ถึงมียศ ก็กลายเป็นทาสของคนมีปัญญา เมื่อมีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น บัณฑิตจัดการเรื่องใดอันเป็นเรื่องละเอียดก่อน คนโง่ย่อมถึงความหลงใหลในเรื่องนั้น

  • ในเวลาที่ควรลุกขึ้นทำงาน ไม่ลุกขึ้นทำ ทั้งที่ยังหนุ่มแน่น มีกำลัง กลับเฉื่อยชา ปล่อยความคิดให้จมปลัก เกียจคร้าน มัวซึมเซาอยู่ ย่อมไม่ประสบทางแห่งปัญญา

  • เมื่อน้ำใส กระจ่างแจ๋ว ย่อมมองเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และ ฝูงปลาได้ ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว ย่อมมองเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น

  • คนโง่เขลามาประชุมกันแม้ตั้งกว่าพันคน พวกเขาไม่มีปญญา ถึงจะพร่ำคร่ำครวญอยู่ตลอดร้อยปี ก็หามีประโยชน์ไม่ คนมีปัญญารู้เนื้อความแห่งภาษิต คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า

  • สัตบุรุษสรรเสริญปัญญาแน่แท้ คนทั้งหลายชอบทรัพย์สมบัติ จึงใคร่ได้สิริ (ยศ) ก็ความรู้ของท่านผู้รู้ทั้งหลายชั่งไม่ได้ ทรัพย์จึงเกินกว่าปัญญาไปไม่ได้ ไม่ว่ากาลไหน ๆ

  • คนเขลามียศศักดิ์ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา, เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น คนฉลาดจัดการข้อได้แนบเนียน คนเขลาถึงความงมงายในข้อนั้น

  • ผู้ขบคิดปัญหาอันลึกซึ้งด้วยใจ ไม่ทำกรรมชั่วอันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเลย, ไม่ละทางแห่งประโยชน์ที่มาถึงตามเวลา, บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีปัญญา
  • พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดจิต

  • ธรรมทั้งหลาย มีจิตนำหน้า

  • การฝึกจิตเป็นความดี

  • จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้

  • พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน

  • ผู้ประพฤติตามอำนาจของจิต ย่อมลำบาก

  • เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้

  • ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ

  • โลกอันจิตย่อมนำไป

  • จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้

  • จงตามรักษาจิตของตน

  • คนฉลาด ทำจิตของตนให้ซื่อตรง

  • เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง

  • พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน

  • จิตของเรามีธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก

  • จิตนั้นเห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปหาอารมณ์ที่ใคร่

  • ผู้รู้จักควบคุมจิตใจ จะพ้นไปได้จากบ่วงของมาร

  • สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ประเสริฐอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว, ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว

  • ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด, ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น

  • จิตของท่านย่อมเดือนร้อน เพราะเข้าใจผิด, ท่านจงเว้นเครื่องหมายที่สวยงามประกอบด้วยความรัก

  • สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์, ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว

  • ผู้ใดมักหวาดสะดุ้งต่อเสียง เหมือนเนื้อทรายในป่า ท่านเรียกผู้นั้นว่ามีจิตเบา, พรตของเขาย่อมไม่สำเร็จ

  • ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย

  • จิตเกื้อกูลที่อบรมบริบูรณ์ดีแล้ว เป็นจิตหาประมาณมิได้, กรรมใดที่ทำแล้วพอประมาณ กรรมนั้นจักไม่เหลือในจิตนั้น

  • เมื่อมีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์

  • จิตนี้ถูกยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ เพื่อละที่ตั้งแห่งมาร ย่อมดิ้นรน เหมือนปลาถูกจับขึ้นจากน้ำโยนไปบนบกฉะนั้น

  • ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่ประเสริฐล้วนก็ดี ขันติ และ โสรัจจะ ก็ดี จะเป็นผู้สนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้างด้วยน้ำ

  • โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป, สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว

  • การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี, เพราะว่าจิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้

  • โจรกับโจร หรือ ไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน, ส่วนจิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำให้เสียหายยิ่งกว่านั้น

  • ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด, บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น

  • คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก ให้ตรงได้ เหมือนช่างศร ทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น

  • ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่, เพราะว่าจิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้

  • ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีกายเป็นที่อาศัย, ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผูกมารได้

  • จิตที่ตั้งไว้ถูกต้อง ทำคนให้ประเสริฐ ประสบผลดี ยิ่งกว่าที่มารดาบิดา หรือ ญาติทั้งหลายใด ๆ จะทำให้ได้

  • คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุที่เกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้

  • ภิกษุเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น รู้ความเกิด และความเสื่อมแห่งโลกแล้ว มีใจดี ไม่ถูกกิเลศอาศัย มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์ พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้

  • ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์พี่น้อง พ่อแม่ ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา

  • ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด ประพฤติตบะ อันเศร้าหมองตั้งร้อยปี จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้ เขามีตนเลวจะถึงฝั่งไม่ได้

  • เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชา รบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้, เพราะว่าเวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลัง ย่อมสงบระงับ

  • บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว พึงรบมารด้วยอาวุธ คือปัญญา และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้ ไม่พึงยับยั้งอยู่
  • พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดศีล

  • ศีลเป็นเยี่ยมในโลก

  • ศีลพึงรู้ได้เมื่ออยู่ร่วมกัน

  • ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา

  • นักปราชญ์พึงรักษาศีล

  • เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น

  • ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี ท่านว่าศีล เป็นความดี

  • ผู้ไม่มีศีล ไม่มั่นคง ถึงจะเป็นอยู่ตั้งร้อยปี, ส่วนผู้มีศีล เพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสิรฐกว่า

  • เวทมนต์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง นำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้, ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนำสุขมาให้ในสัมปรายภพได้

  • เมื่อภิกษุมีมานะ ประมาทแล้ว มีความหวังในภายนอก, ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์

  • ผู้มีปรีชา มั่นคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อมดีใจในสวรรค์ ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง

  • ถ้าเป็นพหุสูต มั่นคงดีในศีล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขา ด้วยคุณ ประการ คือ ด้วยศีล และ ด้วยสุตะ

  • ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์

  • คนเขลา ไม่มั่นคงในศีล ถูกติเตียนในโลกนี้ และ ละไปแล้วย่อมเสียใจในอบายชื่อว่าย่อมเสียใจในที่ทั้งปวง

  • คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียน และ ความเสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีลธรรม ได้รับชื่อเสียง และ ความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ

  • มารค้นหาอยู่ ย่อมไม่พบช่องทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์ ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะความรู้ชอบของท่าน

  • ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมาก ด้วยความสำรวม ส่วนผู้ไม่มีศีล ประพฤติชั่ว ย่อมแตกจากมิตร

  • ศีลนั้นเทียวเป็นเลิศในโลกนี้ ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ความชนะในหมู่มนุษย์และเทวดา ย่อมมีเพราะศีลและปัญญา

  • พึงรักษาศีลในโลกนี้ เพราะศีลที่รักษาดีแล้ว เสพแล้วในโลกนี้ ย่อมน้อมนำมาซึ่งสมบัติทั้งปวง

  • ศีลเป็นกำลัง ไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริญสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์

  • ศีลเป็นสะพานอันมีศักดิ์ใหญ่ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องขจรไปทั่วทุกทิศ

  • ผู้มีปัญญา เมื่อปรารถนาสุข อย่าง คือ ความสรรเสริญ ความได้ทรัพย์ และ ความละไปบันเทิงในสวรรค์ ก็พึงรักษาศีล

  • ศีลเป็นคุณรวมกำลังอย่างเลิศ ศีลเป็นเสบียงทางอย่างสูงสุด ศีลเป็นผู้นำทาง อย่างประเสริฐสุด เพราะศีล มีกลิ่นขจรไปทั่วทุกทิศ

  • ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และ การสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นสุข, ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ

  • ผู้ใดในโลกนี้ สำรวมทางกาย วาจา และ ใจ ไม่ทำบาปอะไร และ ไม่พูดพล่อย เพราะเหตุแห่งตน , ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีศีล
  • พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดทาน

  • ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก

  • ของที่ให้แล้ว ชื่อว่านำออกไปอย่างดีแล้ว

  • ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก

  • การเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญ

  • เป็นคนควรให้ปันบ้าง ไม่มากก็น้อย

  • คนฉลาด พลอยยินดีการให้ทาน

  • คนดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน

  • คนดี ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น

  • คนใจการุณ ช่วยแก้ไขคนให้หายโศกเศร้า

  • เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี

  • ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข

  • ผู้บูชา ย่อมได้บูชาตอบ

  • ผู้ใดสั่งสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย

  • จงช่วยเหลือคนเดือนร้อน ด้วยความตั้งใจ

  • ให้ของดี ย่อมได้ของดี

  • ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา

  • คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน

  • คนดีจัดการโภคทรัพย์ ทำประโยชน์แก่คนจำนวนมาก

  • ท่านว่า ทานและการรบ เสมอกัน

  • คนควรให้ของที่ควรให้

  • ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ

  • เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น

  • กินคนเดียว ไม่ได้ ความสุข

  • ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ

  • ในโลกนี้ เวรระงับด้วยเวร ไม่เคยมี

  • ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้

  • ไม่พึงบริโภคของอร่อยแต่ผู้เดียว

  • คนมีปัญญาอยู่ครองเรือน ก็เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมาก

  • นอกจากการแบ่งปันเผื่อแผ่กันแล้ว สัตว์ทั้งปวงหามีที่พึ่งอย่างอื่นไม่

  • ของที่ให้แล้ว ชื่อว่าออกผลเป็นความสุขแล้ว ส่วนของที่ยังไม่ได้ให้ ยังไม่มีผลเช่นนั้น

  • พึงนำสมบัติออกด้วยการให้, วัตถุที่ให้แล้วย่อมเป็นอันนำออกดีแล้ว, วัตถุที่ให้แล้วย่อมมีผลเป็นสุข, ส่วนวัตถุที่ยังไม่ได้ให้ก็ไม่เป็นอย่างนั้น

  • คนใด มั่งมีทรัพย์สินเงินทอง มีของกินของใช้มาก แต่บริโภคของอร่อยคนเดียว นั้นเป็นปากทางแห่งความเสื่อม

  • คนใด มารดาบิดาแก่เฒ่า ล้วงพ้นวัยหนุ่มวัยสาวไปแล้ว ตนเองสามารถก็ไม่เลี้ยงดู นั้นคือปากทางแห่งความเสื่อม

  • บัณฑิตสามารถปัดเป่าความเศร้าโศกของคนอื่นได้ จึงจัดว่าเป็นที่พึ่งยอดเยี่ยมของคนทั้งหลาย

  • การให้ทานนั้นปราชญ์สรรเสริญกันโดยมากอย่างแน่นอน แต่ กระนั้น บทธรรมก็ยังประเสริฐกว่าทาน

  • ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด, ทานที่ให้แต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น

  • ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในภพที่ตนเกิด

  • ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหณะ ชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ

  • ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ ให้ทานในคนที่ควรให้ เมื่อผู้นั้นประสบความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมได้สหาย

  • ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ

  • เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศ บุญอันเลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรต สุข และกำลังอันเลิศ ก็เจริญ

  • ให้ทานเป็นเบื้องต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้ เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย

  • ผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ไม่ให้ทานในคนที่ควรให้ เมื่อผู้นั้นถึงความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมไม่ได้สหาย

  • ชนเหล่าใด สร้างสวน ปลูกป่า ให้โรงประปา บ่อน้ำ และ ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้นย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ ทั้งคืนทั้งวัน

  • ตรวจดูด้วยจิต ทั่วทุกทิศแล้ว ไม่พบใครที่ไหน เป็นที่รักยิ่งกว่าตนเลย คนอื่นก็รักตนมากเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ผู้รักตน จึงไม่ควรเบียดเบียนคนอื่น

  • ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้านุ่งห่ม ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสะดวก ผู้ใดให้ที่พำนักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้ทั้งหมด

  • ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี ผู้ให้ของประเสริฐ ย่อมถึงฐานะอันประเสริฐ

  • นกชนิดหนึ่งเที่ยวบินอยู่ตามช่องเขา และ ไหล่เขา มีชื่อว่านกมัยหกะ มันบินไปสู่ต้นเลียบอันมีผลสุก แล้วร้องว่า *ของข้า ๆ* เมื่อนกมัยหกะร้องอยู่อย่างนั้นฝูงนกทั้งหลายก็พากันบินมาจิกกินผลเลียบ แล้วก็พากันบินไป นกมัยหกะก็ยังพร่ำอยู่อย่างเดิมนั้นเอง คนบางคนในโล

  • สัตว์ทั้งปวง ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวความตาย สัตว์ทั้งปวง ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา ชีวิตเป็นที่รักของทุกคน เราฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น สัตว์เหล่านี้ฉันใด เราก็ฉันนั้น นึกถึงเขา เอาตัวเราเข้าเทียบแล้ว ไม่ควรเข่นฆ่า ไม่ควรให้สังหารกัน
  • พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดพบสุข

  • ผู้ไม่มีอะไรให้กังวล ย่อมมีแต่ความสุข

  • ไม่มีอะไรเลย ไม่มีใครเบียดเบียน

  • ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ

  • คนมีห่วงกังวล ย่อมวุ่นวายอยู่

  • ตราบใดยังมีชิ้นเนื้อคาบไว้นิดหน่อย ตราบนั้นก็ยังถูกกลุ้มรุมยื้อแย่ง

  • พวกมนุษย์ผู้อ่อนปัญญา ไม่เห็นอริยธรรม สนทนาถกเถียงกันทั้งวันทั้งคืน แต่ในเรื่องที่ว่า เงินของเรา ทองของเรา

  • ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส

  • ผู้ที่มัวเพลินประมาทอยู่กับสิ่งที่ชอบใจ สิ่งที่รัก และสิ่งที่เป็นสุข จะถูกสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่รักและความทุกข์ เข้าครอบงำ

  • มัวเศร้าโศกอยู่ก็ซูบผอมลง อาหารก็ไม่อยากรับประทาน ศัตรูก็พลอยดึใจ ในเมื่อเขาถูกลูกศรแห่งความโศกเสียบแทงย่ำแย่อยู่

  • ชนทั้งหลายผู้ยังอ่อนปัญญา เฝ้าแต่เพ้อฝัน สิ่งที่ยังไม่มาถึง และหวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงไปแล้วจึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสด ที่เขาถอนขึ้น ทิ้งไว้ในกลางแดด

  • ผู้ใดพอใครถามถึงทุกข์ของตน ก็บอกเขาเรื่อยไป ทั้งที่มิใช้กาลอันควร ผู้นั้นจะมีแต่มิตรชนิดเจ้าสำราญ ส่วนผู้หวังดีต่อเขาก็มีแต่ทุกข์

  • ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ไม่มีความเที่ยงแม้แน่นอน อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม

  • คนฉลาด พึงรู้จักกาลอันสมควร กำหนดเอาคนที่มีความคิด ที่ร่วมใจกันได้แล้ว จึงบอกทุกข์ร้อน โดยกล่าววาจาสละสลวย ได้ถ้อยได้ความ

  • เราเดินทางไปในแดนสัตว์ร้าย ก็ไม่หวาดหวั่น ถึงจะนอนหลับในที่เช่นนั้น ก็ไม่กลัวเกรง คืนวันผ่านไปไม่มีอะไรให้เราเดือดร้อน เรามองไม่เห็นว่ามีอะไรที่จะเสีย ณ ที่ไหน ในโลก เพราะฉะนั้น เราจึงนอนสบาย ใจก็คิดแต่จะช่วยเหลือปวงสัตว์

  • ดอกบัว เกิดและเจริญงอกงามในน้ำแต่ไม่ติดน้ำ ทั้งส่งกลิ่นหอม ชื่นชูใจให้รื่นรมย์ฉันใด พระพุทธเจ้าทรงเกิดในโลก และอยู่ในโลก แต่ไม่ติดโลก เหมือนบัวไม่ติดน้ำฉันนั้น
  • พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดเกื้อกูลสังคม

  • พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ

  • พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต

  • พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต เพื่อรักษาความถูกต้อง

  • ผู้ฉลาดควรสละสุขเล็กน้อย เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
  • พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดสามัคคี

  • สามัคคีของหมู่ทำให้เกิดสุข

  • จงสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน

  • ความเพียรของหมู่ชนผู้พร้อมเพรียงกันทำให้เกิดสุข

  • สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสือโคร่งได้ เพราะใจรวมเป็นอันเดียว

  • ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ

  • พึงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรญเสริญแล้ว ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ

  • ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี

  • ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระ เป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม

  • ผู้ใดรู้โทษที่ตนล่วงละเมิด ผู้ใดย่อมรับรู้โทษ ที่เขามาสารภาพ คนทั้งสองนี้ย่อมพร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น มิตรภาพของเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย

  • ถ้าแม้สัตบุรุษวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อมแตกกันเหมือนภาชนะดิน เขาย่อมไม่ได้ความสงบเวรกันเลย
  • พุทธศาสนสุภาษิต

    หมวดการปกครอง

  • ผู้มีภาระปกครองรัฐ จงอย่าได้ประมาทเลย

  • ถ้าผู้ปกครองทรงธรรม ประเทศชาติก็เป็นสุข

  • การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น

  • พึงระแวง สิ่งที่ควรระแวง

  • ผู้ปกครองชอบธรรมจึงจะดี

  • ผู้บริหารโง่ ถึงจะเข้มแข็ง ก็ไม่ดี

  • พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง

  • เมื่อมีความประมาท ก็เกิดความเสื่อม

  • เมื่อมีความเสื่อม ก็เกิดโทษประดัง

  • สักการะฆ่าคนชั่วได้

  • พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง

  • อิสรภาพ เป็นสุขทั้งสิ้น

  • คนพาล เป็นผู้นำไม่ได้

  • เมื่อมีความมัวเมา ก็เกิดความประมาท

  • ยกย่องผู้ควรยกย่องเป็นอุดมมงคล

  • ผู้บริหารฉลาดและเข้มแข็ง จึงจะดี

  • พึงข่มคนที่ควรข่ม

  • ผู้ปกครองที่ฉลาด พึงแสวงสุขเพื่อประชาชน

  • ผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ ได้ชื่อว่าผู้เที่ยงธรรม

  • ผู้เป็นใหญ่ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ย่อมตกจากอำนาจ

  • โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง

  • ถึงจะเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา ก็ควรมีความถ่อมตน

  • ท่านผู้ครองแผ่นดิน ทั้งหลาย การที่ทำโดยผลีผลามจะแผดเผาตัวได้

  • อย่าสำคัญตนว่า เรามีอำนาจยิ่งใหญ่ แล้วทำให้ประชาชนพลอยพินาศ

  • คนที่เป็นใหญ่ จะต้องใคร่ครวญให้ดีก่อน จึงลงโทษ

  • อำนาจเป็นใหญ่ในโลก

  • ถึงมีกำลังพลน้อย แต่มีความคิด ก็เอาชนะกองทัพใหญ่ที่ไร้ความคิดได้

  • ราชา เป็นสง่าแห่งแคว้น

  • ผู้บริหารหมู่ชน เป็นปราชญ์ และมีกำลังเข้มแข็งจึงจะเป็นผลดี

  • ผู้บริหารหมู่คณะ ถึงจะมีกำลังอำนาจ แต่เป็นคนพาลย่อม ไม่เป็นผลดี

  • ผู้ปกครองต้องทราบรายได้รายจ่ายด้วยตนเอง ต้องทราบกิจการที่ทำแล้ว และยังมิได้ทำด้วยตนเอง

  • ในแว่นแคว้นของราชาผู้มีเมตตา มีธรรมมั่นคง ประชาชนจะนอนเป็นสุข เหมือนนอนอยู่ในบ้านของตัว ในร่มเงาอันเย็นสบาย

  • ผู้ครองแผ่นดินที่เจ้าสำราญ แส่หาแต่กามารมณ์ โภคทรัพย์จะพินาศหมด นี่แลที่เรียกว่าทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน

  • เมื่อผู้ครองแผ่นดินประมาท โภคทรัพย์ในรัฐทั้งหมดย่อมพินาศ นี่แลเรียกว่าทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน

  • ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้โดยพลัน ผู้นั้นจะหลงเข้าไปในอำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนภายหลัง

  • เมื่ออนารชนก่อกรรมชั่ว อารชนใช้อาชญาหักห้าม การกระทำนั้น เป็นการสั่งสอน หาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิตทั้งหลายเข้าใจกันอย่างนี้

  • ดูเถิดมหาราช พระองค์จงเสด็จเที่ยวสดับ ดูความเป็นอยู่ ความเป็นไปในแว่นแคว้นแดนชนบท ครั้นได้เห็นได้ฟังแล้ว จึงปฎิบัติราชกิจนั้นๆ

  • เริ่มแรก แก้ไขข้อที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้เสร็จ ระงับความโกรธกริ้วและความบันเทิงไว้ก่อน จากนั้นจึงสั่งงาน ข้อนี้นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นวัตร(ระเบียบปฎิบัติ) ของผู้ปกครอง

  • ชาวชนบทไม่ได้รับการพิทักษ์รักษา ถูกกดขี่ด้วยค่าธรรมเนียมโดยไม่ชอบธรรม กลางคืนโจรปล้น กลางวันข้าราชการข่มเหง ในแว่นแคว้นผู้ปกครองชั่วร้าย ย่อมมีคนอาธรรม์มากมาย

  • เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้านำโคฝูงไปตรง โคทั้งหมดย่อมว่ายตรงไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนที่เหลือก็เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง ถ้าราชาตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอ

  • เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้านำฝูงไปคด โคทั้งหมดก็ว่ายคดไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าประพฤติอธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนที่เหลือ ถ้าราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมด

  • ผู้ใดทำความชั่วด้วยสำคัญตัวว่า เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ครั้นทำแล้ว ก็ไม่หวั่นเกรงต่อคนทั้งหลาย ผู้นั้นจะดำรงชีพอยู่ยืนยาวด้วยความชั่วนั้นก็หาไม่ แม้เทพทั้งหลาย ก็มองดูเขาด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม